เรื่องเด่น ‘อุทกวิทยาไทย’เตือนฝนตกมากอาจเกิดน้ำท่วมทั่วโลก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 31 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    news_UmcrDUKMET174534_533.jpg

    เมื่อวันที่ 31 ส.ค.นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยว่าสถานการณ์ฝนจะไม่น้อยลง ขอให้ประชาชนติดตามการประกาศคำเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้กำลังมีพายุก่อตัวในทะเลจีนใต้ ดูทิศทางเคลื่อนตัวเข้าประเทศเวียดนาม และประเทศลาว ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในอีก2-3 วันข้างหน้า โดยเฉพาะพื้นที่ท่วมอยู่แล้วได้รับผลกระทบมากขึ้น เช่นพื้นที่ลุ่มต่ำภาคกลาง ที่มีน้ำหลากจากทางเหนือลงมาด้วย ประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 4-8 ก.ย. รวมถึงกรุงเทพฯและปริมณฑล อาจมีน้ำท่วมบางพื้นที่

    ประธานมูลนิธิภัยพิบัติฯ กล่าวว่าจะเกิดสภาพอากาศแปรปรวนไปทั่วมีแนวโน้มที่จะเกิดน้ำท่วมทั่วโลก เพราะปริมาณฝนตกมากขึ้นผิดปกติ ทั้งนี้สมาคมอุทกวิทยาไทย จะจัดประชุมระดมผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และทุกหน่วยงานด้านน้ำ มาร่วมหารือรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ ที่หอประชุมชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ที่จัดขึ้นเร็วๆนี้ เพื่อตอบโจทย์ถึงปริมาณฝนที่ตกมากขึ้น วิเคาระห์ถึงสาเหตุเกิดจากอะไร เพื่อมาใช้ในการคาดการณ์สภาพอากาศให้แม่นยำยิ่งขึ้น เช่น ตกอย่างไร ที่ไหน เพื่อให้ข้อมูล ถูกต้อง รวดเร็วต่อประชาชน ในการแจ้งเตือนภัย ซึ่งถ้าแจ้งเตือนแล้วไม่เชื่อก็ต้องเดือดร้อนกัน

    news_xDtbFmsked174113_533.jpg


    ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้กรมชลประทานติดตามสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมอย่างใกล้ชิด หากเกิดปัญหาให้รีบดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยการติดตามสภาพอากาศของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) ได้รับรายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ในช่วงนี้จนถึงวัน 3 ก.ย. ร่องมรสุมเคลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 4 – 5 ก.ย. 60 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ดังนั้น การระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จึงยังคงอยู่ในอัตราไม่เกิน 1,500 ลบ.ม./วินาที ตามแผนการระบายน้ำที่ได้วางไว้ ซึ่งจะไม่ทำให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจากปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ทางด้านท้ายเขื่อนซึ่งจะมีปริมาณน้ำไม่มากนัก

    รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าทั้งนี้ในช่วงวันที่ 4 – 8 ก.ย. จะเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง มีผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร หลังจากวันที่ 8 กันยายน 2560 ก็จะปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ โดยกรมชลประทาน ได้มีหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ให้ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดแล้ว



    “มีปริมาณน้ำเหนือ ไหลผ่านอ.เมือง จ.นครสวรรค์ 1,835 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งมี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง คาดว่าปริมาณน้ำสูงสุดจะไหลผ่านประมาณ 2,014 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 4 ก.ย. นี้ ในขณะที่ปัจจุบันมีการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 1,498 ลบ.ม./วินาที โดยบริเวณเหนือเขื่อนได้แบ่งรับน้ำเข้าสู่คลองฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก รวมทั้งสองฝั่งวันละประมาณ 438 ลบ.ม./วินาที ซึ่งกรมชลประทานจะบริหารน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ให้เข้าคลองชลประทานให้มากที่สุดตามศักยภาพของพื้นที่ พร้อมกับทดระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาที่ไหลมาจากจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อชะลอน้ำไว้บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในระดับการควบคุม”นายทองเปลว กล่าว



    ขณะที่น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน มีปริมาณ 51,190 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 68 เป็นน้ำใช้การได้ 27,370 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 53 สามารถรองรับน้ำได้อีก 24,024 ล้าน ลบ. ส่วนมีเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม 9 แห่ง ดังนี้ เขื่อนกิ่วลม เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนบางพระ อย่างไรก็ตาม มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ระหว่างร้อยละ 80 – 100 มีทั้งสิ้น 155 แห่ง และอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าระดับเก็บกัก มีจำนวน 80 แห่ง กรมชลประทาน ได้ให้ทุกโครงการชลประทาน บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยลดระดับน้ำในอ่างฯให้อยู่ในเกณฑ์การบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ อย่างเคร่งครัด.




    ขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/politics/595434
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...