เรื่องเด่น “ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม”

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 30 ตุลาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8a3e0b8ade0b887e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b982e0b894e0b8a2e0b897e0b8a8e0b89e.jpg

    ทศพิธราชธรรม ราชธรรม 10 ประการ แห่งองค์อริยราชัน

    เรื่อง : วันพรรษา อภิรัฐนานนท์ ภาพ : อภิชาติ จินากุล

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2489 พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

    คำว่า “ครองแผ่นดินโดยธรรม” หมายถึง “ครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม” ความหมายของธรรมะแห่งพระราชา ที่ขอเชิญชวนชาว 40+ใคร่ครวญให้ถึงแก่น

    พระพรหมบัณฑิต พระมหาประยูร ธมฺมจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ให้ความหมายของการครองแผ่นดินโดยธรรมไว้อย่างแยบยล เมื่อในคราวประชุมสงฆ์ พระนักเทศน์และนักเผยแผ่ทั่วประเทศ เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะในเรื่องของทาน

    “ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแฝงด้วยคติธรรมเป็นเครื่องเตือนใจในเรื่องต่างๆ แก่พสกนิกรตามสถานะและวาระโอกาสอยู่เสมอ ในท้องถิ่นที่ต้องการความรู้ ได้พระราชทานความรู้และตรัสแนะนำในสิ่งอันจะทำประโยชน์มาให้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงช่วยดับทุกข์ความเดือดร้อนในจิตใจของประชาชนทั้งมวล”

    นอกจากธรรมทานแล้ว “อามิสทาน” หรือ “วัตถุทาน” ก็ทรงมีพระเมตตาคุณในพระราชหฤทัยเป็นล้นพ้น ได้พระราชทานพระราชทรัพย์และวัตถุสิ่งของต่างๆ เพื่อแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางกายให้แก่พสกนิกรเสมอมา

    ในการบำเพ็ญทางบารมีนี้ ได้ทรงบำเพ็ญตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนทุกประการ คือ ทรงบำเพ็ญครบถ้วนตามคุณสมบัติของทาน 3 ประการ ได้แก่ คุณสมบัติของทานประการที่หนึ่ง คือ การพระราชทานให้แก่บุคคลที่สมควรได้รับการอนุเคราะห์โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติหรือศาสนา

    คุณสมบัติของทานประการที่สอง คือ ถึงพร้อมด้วยเจตนาโดยทรงมีพระเมตตาคุณเปี่ยมล้นในพระราชหฤทัยทั้งก่อนการพระราชทาน ขณะพระราชทาน และหลังการพระราชทานแล้ว

    คุณสมบัติประการที่สาม คือ วัตถุที่พระราชทานนั้นล้วนเป็นประโยชน์แก่ราษฎรผู้รับพระราชทาน ให้พ้นจากการขาดแคลนได้อย่างไม่มีข้อสงสัย

    นอกจากนี้ยังทรงบำเพ็ญทานให้เป็นบุญตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ คือ บำเพ็ญให้เป็นเครื่องชำระกิเลสอันมีความละโมบ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น สวนหลวง ร.9 ซึ่งชาวไทยร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นราชสักการะ ก็มิได้ทรงสงวนไว้สำหรับพระองค์แต่ได้พระราชทานให้เป็นสาธารณสถาน เพื่อประโยชน์สุขแห่งปวงชนชาวไทยทั้งมวล

    ส่วนโครงการหลวง โครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่มีอยู่นับพันโครงการทั่วประเทศ รวมทั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ซึ่งโปรดให้ตั้งขึ้นในภาคต่าง ๆ เพื่อศึกษาพื้นที่และวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชผลให้เหมาะแก่ท้องถิ่น อันเป็นการแก้ไขต้นเหตุแห่งปัญหาเพื่อพัฒนาประเทศให้ได้ผลนั้น จัดเป็นการบำเพ็ญทานให้เป็นกุศล

    “ทรงบำเพ็จกิจของคนดีคนมีปัญญา ถูกกาลสมัย เหมาะแก่ความต้องการของผู้รับ ไม่ทำให้พระองค์หรือผู้ใดเดือดร้อน การบำเพ็ญทานให้เป็นกุศลของในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงยังผลให้ไพร่ฟ้าหน้าใสได้โดยทั่วหน้ากัน”

    ลำดับเขียนโดย : พระมหาสุรชัย สุรทสฺสี

    ขอขอบคุณที่มา
    https://40plus.posttoday.com/dhamma/13143/
     

แชร์หน้านี้

Loading...