เรื่องเด่น “เจ้าคณะนครพนม-มจร”ลุยน้ำช่วยโยมสบภัยนาแก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 4 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    วันพฤหัสบดี ที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2560, 10.28 น.

    “เจ้าคณะนครพนม-มจร”ลุยน้ำช่วยโยมสบภัยนาแก


    ขณะที่น้ำดื่มสันติศึกษาชุดแรกซับน้ำตาชาวอีสานเรียบร้อยแล้ว ด้านพระลงพื้นที่เผยความรู้สึก “มจร” มองเรื่องของคนเรื่องใหญ่แต่เรื่องของการรักษาจิตใหญ่ยิ่งกว่า

    วันที่ 3 ส.ค.2560 จากเหตุการณ์อุทกภัยพิษพายุโซนร้อน “เซินกา” ถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดสกลนคร หลายภาคส่วนได้ออกมาช่วยเหลือในด้านต่างๆ ร่วมถึงคณะสงฆ์ทุกระดับได้สั่งการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งให้อาหารทางกายและอาหารใจ และขณะนี้มวลน้ำได้ไหลบ่าเข้าพื้นที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พระเถระระดับเจ้าคณะจังหวัดมิได้นิ่งนอนใจได้ลงพื้นที่ทั้งเดินทางไปช่วยเหลือจังหวัดสกลนครโดยลงเรือเยี่ยมชาวบ้านคู่กับเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร หลังจากนั้นได้เดินทางกลับดูแลญาติโยมในจังหวัด

    เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2560 พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้นำเครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นต้น นำมาสมทบช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขต อ.วังยาง อ.นาแก. ณ วัดศรีสะอาด ต.หนองสังข์ อ.นาแก จ.นครพนม

    0b893e0b8b0e0b899e0b884e0b8a3e0b89ee0b899e0b8a1-e0b8a1e0b888e0b8a3e0b8a5e0b8b8e0b8a2e0b899e0b989.jpg

    ขณะที่พระในใต้บังคับบัญชาอย่างเช่นพระครูปริยัติโพธิคุณ เจ้าอาวาสวัดน้อยโพธิ์คำ เจ้าคณะตำบลในเมือง อ.วังยาง ได้นำเครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง สมทบช่วยเหลืออีกแรงโดยมีพระครูวิชิตวรเขต เจ้าคณะอำเภอวังยาง.. ได้รับไว้เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป.. ณ วัดศรีสะอาด ด้วยในการนี้มี และพระครูวิชิตวรเขต และนายพงษ์พันธ์ อุบลธรรม นายอำเภอวังยาง ได้ร่วมกันดูแล ประสานงาน อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัย และผู้มีน้ำใจ มีจิตศรัทธา นำสิ่งของมาบริจาค แจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย.. ณ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราว โรงเรียนบ้านนาขามส้มป่อย บ้านนาขาม ต.วังยาง อ.วังยาง

    ตามที่พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส กรรมการมส. ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้มีคำสั่งให้ มจร ทุกวิทยาเขต ดำเนินการให้ความช่วยเหลือวัด และประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ด้วยนั้น เมื่อวันที่ 2 ส.ค. คณะ มจร ได้ลงพื้นที่ 4 จุด ดังนี้ 1. บ้านโนนกรุง อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร 2. บ้านท่านางคอย .โพนนาแก้ว 3. บ้านท่ายาง อ.นาแก และ 4. ตำบลนาแก อ.นาแก ขณะวันนี้(3ส.ค.) คณะ มจร ลงพื้นที่ บ้านดอนว่าน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ

    893e0b8b0e0b899e0b884e0b8a3e0b89ee0b899e0b8a1-e0b8a1e0b888e0b8a3e0b8a5e0b8b8e0b8a2e0b899e0b989-1.jpg

    น้ำดื่มสันติศึกษาชุดแรกซับน้ำตาชาวอีสานแล้ว

    พระอาจารย์หรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับป.โท-เอก หลังจากแจ้งให้นิสิตหลักสูตรสันติศึกษาทุกคนให้พี่น้องเราชาวภาคอีสานเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดสกลนครและใกล้เคียง ซึ่งเรื่องน้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้นำน้ำสันติศึกษาชุดแรก จำนวน 100,000 ขวด ลงพื้นที่ที่วัดสะพานคำ อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งมีพระมหาคาวี เจ้าอาวาสวัดสะพานคำ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    893e0b8b0e0b899e0b884e0b8a3e0b89ee0b899e0b8a1-e0b8a1e0b888e0b8a3e0b8a5e0b8b8e0b8a2e0b899e0b989-2.jpg

    “มจร”เยียวยาผู้ประสบภัยมุ่งรักษาจิตใหญ่ยิ่งกว่า

    พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ซึ่งลงพื้นที่ช่วยญาติโยมด้วย แสดงความรู้สึกผ่านเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat ความว่า มหาจุฬาฯเยียวยาผู้ประสบภัย : เรื่องของคนเรื่องใหญ่แต่เรื่องของการรักษาจิตใหญ่ยิ่งกว่า : หนึ่งดวงจิตแต่มีสองคุณภาพ : วิธีเข้าถึงพระพุทธเจ้าที่ดีที่สุดกลับมาดูแลจิตของตน : ฝ่ายจิตที่เป็นบาปเป็นมารจะมองความดีของคนอื่นไม่เห็น : ชีวิตมีค่าเมื่อเราได้ทำหน้าที่ต่อเพื่อนมนุษย์ “

    ถ้าทุกคนในโลกใบนี้ต่างคนต่างรักษาดูแลดวงจิตของตนเอง โลกใบนี้เกิดสันติสุขอย่างแน่นอน เพราะจิตของคนนั้นมี ๒ ฝ่าย คือ จิตฝ่ายที่เป็นบุญ และ จิตฝ่ายที่เป็นบาป หรือเป็นมาร โดยเฉพาะฝ่ายจิตที่เป็นมาร จะทำร้ายตนเองและทำร้ายคนอื่นได้ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ” อย่าเปิดโอกาสแก่มาร ” หมายถึง หมั่นรักษาดูแลจิตใจของตนเองอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพราะวิชากรรมฐานเป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ดีที่สุด เมื่อจิตของเรา รู้ ตื่น และเบิกบาน นั่นคือ หนทางสู่สันติสุข จึงมีคำกล่าวว่า “ใครระยำ…ไม่เท่า…เรากระทำ ” เราสามารถกำหนดว่าชีวิตด้วยการกระทำของเราเอง เพราะสรรพสิ่งบรรดามีที่ยังคงอยู่ในโลกนี้อย่างมีความหมาย มีชีวิตชีวา นั่นเป็นเพราะว่า สิ่งเหล่านั้นต่างทำหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี เมื่อใดก็ตามที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหยุดทำหน้าที่ของตัวเองสิ่งนั้นๆ ก็จะหมดความหมายไร้ซึ่งชีวิตชีวา เราทุกคนต่างก็มีหน้าที่ด้วยกัน

    หน้าที่หนึ่งที่เราทุกคนขาดไม่ได้ คือ หน้าที่ในการดูแลจิตของตนเอง ดูแลตนเองให้ดีที่สุด ก่อนจะไปดูแลคนอื่น เพราะชีวิตเราจะมีค่าก็ต่อเมื่อเราทำหน้าที่ของเราต่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่ง “หน้าที่ของคนต่อคนอื่น: One’s Duties towards Others เป็นสังคหวัตถุธรรม มี 4 ประการ คือ

    1) เกื้อกูลกันด้วยการให้ (ทาน) เช่น การลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ถือว่าเป็นเกื้อกูลกัน รวมไปถึงการให้กำลังใจ ให้โอกาสคนอื่น พระพุทธเจ้าจึงส่งเสริมสนับสนุนเรื่องของการสร้างทานบารมี ด้วยการเริ่มจากการแบ่งปัน เป็นจุดเริ่มของการสละ ดั่งพระเวสสันดรชาดก

    2)รู้จักใช้วาจามาประสาน (ปิยวาจา) เช่น การลงพื้นที่น้ำท่วมในภาวะอันเกิดความทุกข์ยาก การใช้วาจาการสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญยิ่ง ต้องเป็นวาจาที่นำมาซึ่งความสามัคคี ไม่ไปทำร้ายใครด้วยวาจา หรือ การสื่อสารทางออนไลน์ก็ตามพึงมีสติในการสื่อสาร

    3)ร่วมสร้างสรรค์สังคมอุดมการณ์ (อตฺถจริยา) เช่น การลงพื้นที่น้ำท่วมเป็นสร้างสังคหธุระ เป็นพระพุทธศาสนาในรูปแบบของสังคม สังคมกับศาสนาจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของคนในสังคม เพราะถ้าท้องไม่อิ่มการจะให้ธรรมะย่อมมีปัญหาอย่างแน่นอน ขอให้เราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมดีขึ้น พึงระวังตนเองจะเป็นส่วนหนึ่งท่ทำให้สังคมแย่ลง

    4)สมานตนร่วมสุขทุกข์ในทุกยาม (สมานตฺตตา) เช่น การลงพื้นที่น้ำท่วมได้เห็นมิติของการเยียวยาคนในสังคม คุณยายท่านหนึ่งบอกเล่าว่า ” เกิดมาอายุ 70 ปีแล้ว ยังไม่เคยเห็นน้ำท่วมมากขนาดนี้มาก่อน ” พอเห็นพระสงฆ์เห็นผู้คนลงพื้นที่มาช่วยเหลือ ทำให้ผู้คนมีกำลังใจ เหมือนมีใครสักคนร่วมสุขร่วมทุกข์ในยามทุกข์ยาก ทำให้คนเหล่านี้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว แม้น้ำจะท่วมบ้าน

    “ฉะนั้น เราจึงต้องหมั่นเตือนตนเสมอว่า ” หนักแค่ไหนก็ไม่ทุกข์ สุขเพียงใดก็ไม่พลั้ง” มหาจุฬาฯ จึงมีการเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม มิใช่แค่แจกสิ่งของเท่านั้น แต่เยียวยาจิตใจให้ธรรมะในการบริหารชีวิต เข้าใจชีวิต เพื่อจะใช้ชีวิตต่อไป เพราะเวลาผู้คนเกิดความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สูญเสียทรัพย์ อันเกิดจากภัยธรรมชาติจะต้องเผชิญความทุกข์แล้วจะมีแนวคิดว่า ” ปฏิเสธความจริง ประวิงเวลา โทษเทวดาฟ้าดิน ถวิลหาร่ำไห้ ทำใจยอมรับ ” ต้องพัฒนาไปถึงทำใจยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ไปโทษใคร ฝึกอยู่กับปัจจุบันว่าเราจะดำเนินชีวิตอย่างไรต่อจากนี้ไป ทำอย่างไรใจของเราจะไม่เสีย ท่ามกลางภาวะที่ทรัพย์สินเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้ จึงมองว่าการลงพื้นที่น้ำท่วมในครั้งนี้ มิใช่แค่แจกของเท่านั้น แต่เป็นการเยียวยาสภาพจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อผู้คนเจ็บปวดมามาก ถึงเวลาหรือยังเราจะช่วยสร้างสังคหวัตถุธรรมขึ้นภายในใจ ซึ่งดีกว่าการมานั่งจับผิดในบรรยากาศของความทุกข์ของผู้คน” พระอาจารย์ปราโมทย์ระบุ




    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/region/87217
     

แชร์หน้านี้

Loading...