10 วิธีรักษาโรคกระเพาะ ที่คนเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน !

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 22 มิถุนายน 2017.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,310
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    stomach-pain00.jpg

    ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่บนความเร่งรีบต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะรีบไปเรียน รีบไปทำงาน หรือรีบไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เราอาจละเลยการทานอาหารไปบ้าง ทานไม่ตรงเวลาบ้าง พอรู้ตัวอีกทีก็เลยเวลามื้ออาหารนั้น ๆ ไปเสียแล้ว รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมที่ดูเหมือนเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ อาจส่งผลให้คุณกลายเป็น ‘โรคกระเพาะ’ ได้โดยไม่รู้ตัว ?

    โรคกระเพาะ มักมีอาการปวดแสบ ปวดแบบจุกเสียด บริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเหล่านี้ สามารถเป็นได้ทั้งก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร รวมถึงเมื่อเวลาท้องว่างด้วย โดยอาการปวดนั้นเกิดขึ้นมาจากภาวะมีกรดในกระเพาะอาหารมาก กรดนี้จะไประคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลที่ผนังของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กตอนบน ซึ่งอาการปวดนั้นจะเป็น ๆ หาย ๆ หรือมักจะปวดนานติดต่อกัน 15-30 นาที โดยเราสามารถทานยาลดกรด ทานข้าว หรือดื่มน้ำ เพื่อบรรเทาอาการปวดนั้นได้

    คนที่เป็นโรคกระเพาะหากไม่ดูแลตัวเองให้ถูกต้อง ก็จะส่งผลอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ในภายหลัง เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุ กระเพาะลำไส้ตีบตัน เป็นต้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคกระเพาะ ควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

    1. ทานอาหารให้ตรงเวลา

    ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากเราทานอาหารตรงต่อเวลา น้ำย่อยและกรดที่หลั่งออกมา ก็จะทำหน้าที่ในการย่อยอาหารแทนที่จะมากัดหรือทำลายเยื้อบุกระเพาะของเรา

    2. ทานอาหารที่ย่อยง่ายและทานให้ครบ 5 หมู่

    หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกของทอด หรืออาหารผัดที่ใช้น้ำมันมาก ๆ เพราะอาหารประเภทนี้จะย่อยยาก ให้ทานอาหารจำพวกข้าว หรือแป้งแทน สำหรับเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ได้แก่ ปลา กุ้ง ไก่ และที่สำคัญให้เคี้ยวอาหารอย่างละเอียดก่อนกลืน

    stomach-pain01.jpg

    3. ทานอาหารในปริมาณที่พอดี

    เราไม่ควรทานอาหารมากจนเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะของเราทำงานหนักขึ้น เมื่อทานอาหารเสร็จให้นั่งหรือยืนไว้ก่อนเป็นวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการทานจุกจิก เพราะจะทำให้ร่ายกายกระตุ้นการหลั่งกรดและน้ำย่อยออกมา ซึ่งจะทำให้แผลในกระเพาะหายช้าลง

    4. หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นการผลิตน้ำย่อย

    อาหารบางประเภทสามารถกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยได้ดี เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือหวานจัด ของดอง ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลังชนิดต่าง ๆ เราควรหลีกเลี่ยงจนกว่าอาการจะหายขาดเป็นปกติ หรือหากเป็นไปได้ให้ลดปริมาณในการทานลง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคกระเพาะอีก

    5. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป จะส่งผลให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหารได้ ที่สำคัญไม่ควรดื่มในขณะที่ท้องว่างเด็ดขาด

    6. เลิกหรือลดการสูบบุหรี่

    การสูบบุหรี่มีผลทำให้แผลในกระเพาะนั้นหายช้าลง และมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่

    stomach-pain02.jpg

    7. ผ่อนคลาย ไม่เครียด

    เคยได้ยินคนพูดว่าเครียดจนลงกระเพาะมาบ้างใช่ไหมล่ะ ? เพราะฉะนั้นเราควรหากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพื่อเป็นการผ่อนคลายสมอง จิตใจ และตัวของเราเอง เช่น การวาดภาพ ร้องเพลง หรือออกกำลังกาย เป็นต้น

    8. ทานยาเมื่อมีอาการ

    เมื่อมีอาการปวดในลักษณะของการเป็นโรคกระเพาะ ให้ทานยาจำพวกยาลดกรด ยาเคลือบเยื่อบุกระเพาะ หรือแม้กระทั่งสมุนไพร เช่น ขมิ้นชัน กล้วย ว่านหางจระเข้ เป็นต้น ซึ่งยาพวกนี้สามารถบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ และควรทานยาติดต่อกันเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ เพื่อรักษาอาการปวดและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้อีก

    9. หลีกเลี่ยงการทายาแก้ปวดทุกชนิด

    หากมีความจำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคกระดูก ไขข้ออักเสบ ก็ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ซึ่งอาจจำเป็นต้องกินยาป้องกันโรคกระเพาะร่วมไปด้วย

    10. ระมัดระวังเรื่องการทานอาหาร

    ถึงแม้ว่าอาการจะหายขาดไปแล้ว แต่เราก็ยังคงต้องใส่ใจเรื่องการทานอาหารเป็นพิเศษ เพราะเราอาจจะกลับมาเป็นซ้ำอีกก็ได้ หากยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทานของเราเอง

    อุปนิสัยการทานอาหารที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะลงได้ เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่ยังใช้ชีวิตแบบเร่งรีบจนลืมทานอาหารไป ลองเปลี่ยนมาใส่ใจสุขภาพของตนเองสักนิด จะได้ไม่ต้องกังวลกับโรคที่จะมากวนใจเราอีกต่อไป

    stomach-pain03.jpg

    ที่มา : www.doctor.or.th

    เรียบเรียงโดย Women Mthai Team

    https://health.mthai.com/knowledge/...campaign=home-highlight-hots&utm_medium=hot-5
     

แชร์หน้านี้

Loading...