ประโยชน์ของการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ลุงเจ, 8 กันยายน 2010.

  1. ลุงเจ

    ลุงเจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +598
    ประโยชน์ของการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    มีประโยชน์มากมายเหลือที่จะนับได้ จะยกมาแสดงตามที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกสักเล็กน้อย ดังนี้
    สัตตานัง วิสุทธิยา ทำกายวาจาใจของสรรพสัตว์ให้บริสุทธิ์ หมดจด
    โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ ดับความเศร้าโศก ปริเทวนาการต่างๆ
    ทุกขะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมายะ ดับความทุกข์กาย ดับความทุกข์ใจ
    ญาณัสสะ อะธิคะมายะ เพื่อบรรลุมรรคผล
    นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
    ยังมีอีกมาก เช่น
    1. ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท
    2. ชื่อว่าเป็นผู้ได้ป้องกันภัยในอบายภูมิทั้งสี่
    3. ชื่อว่าบำเพ็ญไตรสิกขา
    4. ชื่อว่าได้เดินทางสายกลาง คือ มรรค 8
    5. ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยการบูชาอย่างสูงสุด
    6. ชื่อว่าได้บำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็นอุปนิสัยปัจจัยไปในภายหน้า
    7. ชื่อว่าได้ปฎิบัติถูกต้องตามพระไตรปิฎกโดยแท้จริง
    8. ชื่อว่าเป็นผู้มีชีวิต ไม่เปล่าประโยชน์ทั้งสาม
    9. ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างถูกต้อง
    10. ชื่อว่าได้สั่งสมอริยทรัพย์ไว้ภายใน
    11. ชื่อว่าได้ปฎิบัติเพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ 16
    12. ชื่อว่าเป็นผู้มาดี ไปดี อยู่ดี กินดี ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
    13. ชื่อว่าได้รักษาอมตมรดกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เป็นอย่างดี
    14. ชื่อว่าได้ช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไปอีก
    15. ชื่อว่าได้เป็นตัวอย่างอันดีงามแก่อนุชนรุ่นหลัง
    16. ชื่อว่าตนเองได้มีธนาคารบุญติดตัวไปทุกฝีก้าว

    เห็นว่าดี มีประโยชน์ จึงเก็บมาฝากทุกท่านเพื่อการปฎิบัติดี ขอพลังบุญและความสว่างจงเกิดแก่ท่านที่ได้อ่าน และมองเห็นธรรมะ

    จากหนังสือคู่มือการฝึกอบรมจิต วัดอัมพวัน จ.สิงหบุรี โดย พ.ท.วิง รอดเฉย ปี พ.ศ.2529
    :cool:
     
  2. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เขาทำกันอย่างไรบ้างครับ ...........
     
  3. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    [FONT=Microsoft Sans Serif, sans-serif]ขอหยิบยกคำพูดหลวงพ่อจากกฎแห่งกรรม เล่ม13 ขยายความอีกนิด[/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, sans-serif]"การปฏิบัติสมาธิตามแนววิปัสสนากรรมฐานมีเป้าหมายสูงกว่าประโยชน์ทางโลกียะ" คือ มีเป้าหมายให้จิตของผู้ปฏิบัติหลุดพ้นจากอำนาจกิเลสตัณหาต่าง ๆ มีโลภ โกรธ หลง เป็นสำคัญ อันจะทำให้ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป ประโยชน์ประเภทนี้เรียกว่า ประโยชน์ทางโลกุตระ[/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, sans-serif]โดยเหตุที่เป้าหมายการปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนาแตกต่างจากเป้าหมายที่มีอยู่ในศาสนาอื่น ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเรียกสมาธิที่อยู่เหนือระดับความสงบ หรือ อิทธิฤทธิ์ และที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นว่า [FONT=Microsoft Sans Serif, sans-serif]“วิปัสสนากรรมฐาน”[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, sans-serif] เพราะเป็นการทำให้จิตใจสว่างด้วยแสงของปัญญา ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์รูปและนามในลักษณะต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนจนมองเห็นไตรลักษณ์ของสรรพสิ่งทั้งหลาย และ [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, sans-serif]ดับ “อัตตา” [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, sans-serif]ได้ในที่สุด[/FONT][/FONT]



    ภาวนาแบบเจริญสติปัฏฐาน4 คือทางสายเอกของการภาวนา ซึ่งเปนที่นิยมกันในปัจจุบันและให้ผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาความทุกข์และเศร้าหมองได้ชัดเจน
    เอาสติแนบกับจิตตลอดเวลาเพื่อรู้หรือพิจารณา:cool:
    1. กายในกาย
    2. เวทนาในเวทนา
    3. จิตในจิต
    4. ธรรมะที่ละเอียดลึกเข้าไป :)ได้จากผลการปฏิบัติข้อ1-2-3)
    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR title="โพส 3764679" vAlign=top><TD class=alt1></TD></TR><TR><TD class=thead colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    วิปัสสนาแก้ปัญหาชีวิตในปัญหาโลก ๆ ไม่ได้เลยหรือ ???????????? ใช้วิธีใด?? ข้อไหน???...........
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    วิปัสสนา จริงๆ แล้ว ควรจะต้องแก้ปัญหาทางโลก ได้ทุกปัญหา

    เนื่องจาก จะทำให้ คนได้เห็น เหตุปัจจัยที่แท้จริงในใจเรา

    ปัญหาทางโลก ก็เลยกลายเป็นขี้ผง เพราะว่า หากว่าเราทำใจเราเท่านั้น เรื่องภายนอกมันก็เป็นเรื่องภายนอก

    เช่น บางคนทุกข์ใจมาก แต่พอมาพิจารณาที่ใจตน ก็จะทำให้ตั้งสติได้ และสามารถ นำสตินั้น ค่อยๆ คิดอ่าน ค่อยๆหาทางออกที่เหมาะสม ไม่ตีโพยตีพาย ตีตนไปก่อนไข้

    และ การที่ เราค่อยๆ ขัดเกลาตัวเรา เราก็จะมีนิสัยที่ดีขึ้น ก็จะมีปัญหาทางโลก น้อยลง

    เพราะเดินในทางที่ถูก
     
  6. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +3,165
    เห็นเหตุ ผลเป็นไป ปัญญาใช้ตัดได้จริง

    มีผลย่อมมีเหตุ เมื่อตัดเหตุผลไม่มี
    ปัจจัยยกออกซี ปัญหานี้ตัดขาดกัน
    มีเหตุย่อมมีผล รู้ใจจนแจ้งจึงมี
    ปัจจัยใดไม่ดี ปัญญานี้ตัดขาดมัน

    ผลเหตุย่อมเกี่ยวเนื่อง พินิจเรื่องใดใดหนา
    ปัจจัยพิจารณา ใช้ปัญญาผ่าขาดพลัน

    สาธุ
    เป็นแต่เพียงสีสัน ผ่านตาครับ
     
  7. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    อ้างอิง.........

    เช่น บางคนทุกข์ใจมาก แต่พอมาพิจารณาที่ใจตน ก็จะทำให้ตั้งสติได้ และสามารถ นำสตินั้น ค่อยๆ คิดอ่าน ค่อยๆหาทางออกที่เหมาะสม ไม่ตีโพยตีพาย ตีตนไปก่อนไข้


    ความทุกข์ใจ มันต้องมีเหตุให้ทุกข์ ทำไมจึงต้องมาพิจารณาที่ใจตน ?????? แล้วต้นเหตุที่มันทำให้เกิดทุกข์ เราปล่อยมันหรือ???????
     
  8. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ไฟสิ้นเชื้อ เมื่อไม่เติมฟืน
    ไตรลักษณ์ ใดฝืน ยืนอยู่ได้

    ไฟหมดภัย เมื่อไม่ ถือไว้
    ผู้ได้ยกใส่ ผู้นั้น พองพลัน

    สีสัน ผ่านตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2010
  9. ธรรมมนุษย์

    ธรรมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +1,908
    บางทีหากดูตำราอ่านปริยัติมากก็สับสนนะครับ
    รูป-นาม ท่านเข้าใจแยกได้เพราะด้วยปริยัติ แต่วิปัสนาญาณไม่เกิด
    อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ท่านเข้าใจได้เพราะปริยัติ แต่วิปัสนาญาณไม่เกิด

    ท่านต้องพัฒนาสติเพื่อนำไปขัดเกลาพัฒนายกระดับจิตของท่าน ท่านไม่ใช่คนคิดให้เห็นเป็นรูปเป็นนามแต่จิตท่านต้องคิดต้องเรียนรู้เองให้เข้าใจในนามรูปที่เห็นว่ามันมีแค่นั้นตัวตนท่านมันไม่มีนอกจากแค่รูปกับนาม หากจิตท่านเข้าใจในนามรูปท่านจะละตัวตนอัตตาของท่านลงมาก หากท่านละตัวตนท่านลงได้ทุกข์ท่านก็น้อยลงเพราะท่านเห็นแล้วว่าทุกข์มันเกิดขึ้นมาเพราะขันธ์5 นั้นก็คือรูป1กับนาม4 หากท่านไม่ยึดในรูปและนามแล้วทุกข์มันจะทนอยู่ได้อย่างไร เพราะตัวตนที่มีให้ท่านยึดนั้นมันน้อยลงน้อยลงหรือไม่มีเลยแล้วแล้วทุกข์ที่เกิดขึ้นมามันจะยึดเอามาเป็นของท่านได้ยังไงเพราะว่ามันไม่แน่ (ไม่เที่ยง/มันเป็นอนัตตา) อันนี้คือต้องทำให้จิตท่านเข้าใจไม่ใช่ท่านเข้าใจครับ

    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  10. Nok Nok

    Nok Nok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +3,297
    ประโยชน์ของการเจริญวิปัสสนา ๕ ประการ
    <!-- Main -->[SIZE=-1]ประโยชน์ของ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยสรุปมี ๕ ประการด้วยกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1]๑. ทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจผ่องใส[/SIZE]
    [SIZE=-1]๒. ทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่มั่นคง หนักแน่น มากขึ้นกว่าเดิม[/SIZE]
    [SIZE=-1]๓. ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา เกิดความเฉลียวฉลาดมากขึ้น[/SIZE]
    [SIZE=-1]๔. ทำให้ผู้ปฏิบัติหายจากโรคประจำตัวซึ่งไม่สามารถรักษาได้[/SIZE]
    [SIZE=-1]๕. ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงความพ้นทุกข์คือ มรรค ผล นิพพานอันเป็นจุดประสงค์สูงสุดในพระพุทธศาสนาได้[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑. ทําให้จิตของผู้ปฏิบัติผ่องใส ทั้งนี้เพราะ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติมีสติตามกําหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ เช่นขณะกําหนดว่า “พองหนอ…ยุบหนอ…นั่งหนอ…ถูกหนอ” หรือกําหนดว่า “ขวาย่างหนอ…ซ้ายย่างหนอ” ฯลฯ อยู่นั้น จิตของผู้ปฏิบัติจะประกอบด้วยกุศลเพราะสติเป็นกุศลธรรม ขณะที่สติอันเป็นกุศลธรรมเกิดขึ้นอยู่นั้น อกุศลธรรม (กิเลสธรรมต่างๆ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเย่อหยิ่ง ความถือตัว ความทะนงตน ฯลฯ) ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น กิเลสธรรมเหล่านี้เป็นสภาวธรรมทางจิตที่ทําให้จิตเศร้าหมอง ในระหว่างที่ผู้ปฏิบัติมีสติตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ กิเลสดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้ เปรียบได้กับขณะที่มีแสงสว่างเกิดขึ้น ความมืดย่อมจะอันตรธานหายไปในทางกลับกันขณะที่มีความมืดเกิดขึ้น ความสว่างก็ย่อมจะอันตรธานหายไปเช่นกัน ขณะใดก็ตามที่ผู้ปฏิบัติมีสติตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ ย่อมเปรียบได้กับขณะที่มีแสงสว่างเกิดขึ้น อกุศลธรรมซึ่งทําให้จิตเศร้าหมองอันเปรียบได้กับความมืดย่อมจะเกิดขึ้นไม่ ได้ในขณะนั้น ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจึงได้รับประโยชน์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานประการแรก คือทําให้จิตผ่องใส เพราะเมื่อไม่มีอกุศลที่ทําให้จิตเศร้าหมอง จิตก็จะผ่องใสนั่นเอง หากเราเจริญสติอย่างนี้ไปตลอด เมื่อตายลงในขณะจิตที่เป็นกุศลนั้น ก็จะไปเกิดในสุคติภูมิอย่างแน่นอน[/SIZE]

    [SIZE=-1]อนึ่ง จิตของคนเรานั้นสามารถรับรู้อารมณ์ได้เพียงอารมณ์เดียวในแต่ละขณะ เราไม่สามารถคิดเรื่องสองเรื่องได้ในขณะจิตเดียวกัน ขณะที่ผู้ปฏิบัติตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ เป็นต้นว่า ขณะที่กําหนดว่า “พองหนอ…ยุบหนอ…นั่งหนอ…ถูกหนอ” อยู่ขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติกําลังรับรู้อารมณ์อันได้แก่อาการเคลื่อนไหวของ ท้อง-อาการตั้งตรงของร่างกายส่วนบน-อาการถูก เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของผู้ปฏิบัติจัดว่าประกอบด้วยกุศลธรรม กิเลสต่างๆ (ความโลภ ความปรารถนา ความอยากได้ ความต้องการในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนผูกพันอยู่ รวมทั้งความโกรธ ความไม่ต้องการ ความไม่ปรารถนาอารมณ์ที่ตนเองไม่พึงพอใจอย่างใดอย่างหนึ่ง) จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น เพราะขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติรับรู้สักแต่ว่ามีอาการเคลื่อนไหว-สักแต่ว่ามี อาการตั้งตรงของร่างกาย-หรือสักแต่ว่ามีอาการถูก การที่จิตของผู้ปฏิบัติมีสติตามกําหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์จนกระทั่งความโลภ (ความต้องการในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง) หรือความโกรธ (ความไม่ต้องการอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง) ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น จัดว่าเป็นการกําจัดกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ โดยชั่วขณะ เมื่อเป็นเช่นนั้นจะทําให้จิตของผู้ปฏิบัติเกิดความผ่องใส เกิดความสบายใจ แม้กระทั่งหลังจากที่ปฏิบัติไปแล้ว และไม่ได้กําลังตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ก็ตาม ก็ยังคงสามารถรับรู้ถึงความผ่องใสความเบิกบานใจแห่งจิตของตนได้[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒. ทําให้จิตของผู้ปฏิบัติเกิดความมั่นคงหนักแน่นยิ่งกว่าเดิม หมายความว่า ก่อนจะมาปฏิบัติธรรม เราทั้งหลายอาจจะขาดสติที่ตามกําหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ บางขณะอาจเกิดความโลภ-ความปรารถนา-ความต้องการต่าง ๆ ครอบงําจิตใจของเรา เมื่อไม่ได้มาตามที่ต้องการก็เกิดความไม่พึงพอใจ แต่ถ้าได้สิ่งที่ต้องการมาก็เกิดความหลงใหลพอใจ เมื่อประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ก็เกิดความโกรธ-ความไม่พึงพอใจในสิ่งนั้น บุคคลที่ถูกความโลภ-ความโกรธครอบงําจิตใจจัดว่าเป็นบุคคลที่มีจิตใจไม่มั่น คง เพราะในขณะนั้นจิตจะซัดส่ายหวั่นไหวอยู่กับอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่า ปรารถนาเหล่านั้น หากเมื่อท่านทั้งหลายได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ โดยมีสติตามกําหนดรู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ ความโลภ (ความปรารถนาในอารมณ์ที่ต้องการ) หรือความโกรธ (ความไม่ปรารถนาในอารมณ์ที่ไม่ต้องการ) ก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านสาธุชนทั้งหลายก็จัดว่าเป็นบุคคลที่มีจิตใจมั่นคงขึ้น กว่าเดิม เมื่อประสบกับอารมณ์ที่ปรารถนาก็จะไม่เกิดความโลภ และเมื่อกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาก็จะไม่เกิดความโกรธ ประโยชน์ข้อที่สองนี้จึงเป็นประโยชน์ที่ท่านทั้งหลายจะได้รับจากการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน คือ ทําให้จิตของเรามั่นคงไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมมากขึ้น[/SIZE]

    [SIZE=-1]ผู้ ปฏิบัติที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานและบรรลุวิปัสสนาญาณขั้นต่าง ๆ จนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว จะไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะพบกับอารมณ์ที่ตนปรารถนาหรือกระทบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาก็ตาม ขณะนั้นผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์เหล่านั้น คือไม่มีความปรารถนาต่ออารมณ์ที่ต้องการและไม่มีความไม่พึงพอใจหรือความโกรธ ต่ออารมณ์ที่ตนไม่ต้องการ นอกจากนั้น แม้ประสบกับอารมณ์ที่น่าหวาดกลัว-น่าสะดุ้งกลัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัติก็จะรู้เท่าทันอารมณ์นั้นตามที่เป็นจริง ไม่เกิดความกลัว ไม่เกิดความสะดุ้งแต่อย่างใด[/SIZE]

    [SIZE=-1]๓. ทําให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา เกิดความเฉลียวฉลาดมากขึ้น มีความเข้าใจในหลักธรรมมากขึ้น หมายความว่า ก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะได้มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อาจจะได้อ่านหนังสือธรรมะอย่างใดอย่างหนึ่งมาบ้างแล้ว-โดยเฉพาะหนังสือที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม แต่อาจยังไม่เข้าใจแจ่มชัด ขาดความกระจ่างในหลักวิชาการ ซึ่งเกี่ยวกับธรรมะในพระพุทธศาสนา หลังจากที่ท่านทั้งหลายได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เช่น ประมาณ ๑๐ วันหรือ ๑ เดือน เมื่อกลับไปอ่านหนังสือธรรมะนั้นอีกก็จะพบว่า ตนเองมีความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนามากขึ้นกว่าเดิม และเมื่อได้อ่านธรรมะขั้นสูงเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมก็จะสามารถเกิดความ กระจ่าง เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้ปฏิบัติธรรม การที่ผู้ปฏิบัติสามารถเกิดความเข้าใจ-ความกระจ่างในการอ่านหนังสือเป็นผล ของการปฏิบัติธรรม คือ มีปัญญาได้แก่ความเข้าใจมากขึ้น จึงจัดว่าเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน[/SIZE]

    [SIZE=-1]๔. ทําให้ผู้ปฏิบัติหายจากโรคประจําตัวซึ่งไม่สามารถรักษาได้ หมายความว่า ขณะที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีสติตามกําหนดรู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ มีสมาธิมากขึ้นแล้ว สติที่ประกอบด้วยสมาธินี้จะเป็นสภาวธรรมที่ซักฟอกจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จาก กิเลส และเมื่อจิตมีความผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลส รูปธรรมซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับจิตก็จะเป็นรูปธรรมที่สะอาดผ่องใสและได้รับการ ซักฟอกอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนั้นโรคประจําตัวต่างๆที่เคยเกิดขึ้นมาและมาปรากฏในขณะที่ เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ หากผู้ปฏิบัติได้พยายามปฏิบัติจนบรรลุถึงอุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาณ ที่ ๔) แล้ว โรคต่าง ๆ เหล่านั้นมักจะหายไป ผู้ปฏิบัติบางท่านมีโรคประจําตัว คือ โรคปวดต้นคอบ้าง โรคปวดที่ไหล่บ้าง โรคปวดที่หลังบ้าง โรคปวดเอวบ้าง โรคลมที่ปวดท้องบ้างอยู่เสมอ ๆ เมื่อผู้ปฏิบัติเหล่านั้นได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุถึงอุทยัพพยญาณแล้ว โรคดังกล่าวมักจะอันตรธานหายไปด้วยอํานาจสมาธิของผู้ปฏิบัตินั่นเอง นอกจากนั้น หากหมั่นทําความเพียรพยายามปฏิบัติจนบรรลุถึงสังขารุเปกขาญาณ เมื่อนั้น โรคประจําตัวที่แม้กระทั่งหมอยังรักษาไม่ได่ เช่น โรคมะเร็ง ก็สามารถหายไปได้เช่นเดียวกัน เพราะขณะนั้นสมาธิของผู้ปฏิบัติสูงมาก จนสามารถทําให้โรคดังกล่าวอันตรธานไปได้ด้วยอํานาจของสมาธินั้น[/SIZE]

    [SIZE=-1]อนึ่ง ถ้าโรคประจําตัวดังกล่าวไม่รุนแรงมากจนเกินไป เมื่อบรรลุถึงสังขารุเปกขา ญาณ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่าโรคประจําตัวนั้นได้แสดงอาการออกมา อาจมีอาการปวดเจ็บ-ชา จิตของผู้ปฏิบัติจะสามารถกําหนดรู้เท่าทันอาการซึ่งเกิดขึ้นได้และจะรู้สึก ว่าจิตได้แนบสนิทไปกับอาการปวด-เจ็บ-ชา ซึ่งเกิดขึ้นตรงบริเวณที่มีโรคประจําตัว หลังจากปฏิบัติได้สักระยะหนึ่งและมีสมาธิมากขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติหลายท่านก็สามารถหายจากโรคประจําตัวเหล่านั้นได้[/SIZE]

    [SIZE=-1]๕. ทําให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงความพ้นทุกข์คือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นจุดประสงค์สูงสุดในพระพุทธศาสนาได้ เมื่อ ผู้ปฏิบัติบรรลุถึงสังขารุเปกขาญาณ และมีบารมีแก่กล้าเพียงพอที่จะบรรลุถึงอริยมรรคอริยผลได้ก็จะบรรลุถึงอนุโลม ญาณ…ถึงโคตรภูญาณ…และจากนั้นก็จะบรรลุถึง โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติจะรับรู้พระนิพพานอันเป็นสภาพดับสังขารธรรม (คือรูปธรรมกับนามธรรมเป็นอารมณ์) จัดว่าผู้ปฏิบัติได้สามารถบรรลุถึงพระนิพพานซึ่งเป็นประโยชน์ประการสุดท้าย อันเป็นประโยชน์ที่สําคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรมเมื่อได้บรรลุโสดาปัตติ มรรคโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันในพระพุทธศาสนาแล้ว จัดว่าเป็นบุคคลผู้ปิดประตูอบายได้ หมายถึง จะไม่ตกไปในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก-เปรต-อสูรกาย-และสัตว์เดรัจฉานอีกต่อไป ผู้ปฏิบัติที่บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันย่อมปราศจากความลังเลสงสัยในเรื่องนี้ คือ มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และรับรู้ด้วยตนเองว่า เมื่อตนได้เสียชีวิตลงแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอย่างแน่นอน ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจะเกิดขึ้นกับพระโสดาบัน นี้ก็เป็นผลจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง แต่สําหรับบุคคลอื่นที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันก็อาจจะไปเกิดใน อบายภูมิได้[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระโสดาบันนั้นย่อมจะทราบว่าหลังจากตนได้เสียชีวิตแล้ว ย่อมจะได้ไปเกิดใน ภพภูมิที่ดีกว่าปัจจุบัน อันหมายความว่า แม้หากไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่งก็จะไปเกิดในตระกูล ที่สูงกว่าภพ ปัจจุบัน ไปเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์สมบัติมากกว่าตระกูลที่เกิดในปัจจุบัน และจะเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความเชื่อมั่น มีความตั้งมั่นในพระพุทธศาสนามากกว่าบุคคลอื่น หรือหากไปเกิดเป็นเทวดาก็จะเป็นเทพบุตรหรือเทพธิดาที่มีอานุภาพ มียศ มีบริวารมากกว่าเทพบุตรหรือเทพธิดาอื่น นี่คืออานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานสําหรับบุคคลที่บรรลุเป็นพระ โสดาบันแล้ว แม้ในบางขณะพระโสดาบันนั้นอาจเกิดความประมาท เกิดความลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในภพบ้าง แต่ท่านก็จะไม่เกิดเกินกว่า ๗ ชาติ เว้นเสียแต่ได้อธิฐานไว้ว่า “ขอให้เกิดมาอีกมากกว่า ๗ ชาติ” อย่างนางวิสาขา เป็นต้น เพราะในขณะที่ยังท่องเที่ยวเกิดในกามภูมิพระโสดาบันมีภพชาติอีกเพียงไม่เกิน ๗ ชาติเท่านั้น เมื่อท่านได้ปฏิสนธิถือกําเนิดจนครบ ๗ ชาติแล้ว ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์โดยไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป[/SIZE]

    [SIZE=-1]ขอให้ ท่านสาธุชนคนดีทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่เข้าเยี่ยมชมเว็บนี้ มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติและประกอบด้วยความเข้าใจในประโยชน์ของการเจริญ วิปัสสนากรรมฐานทั้ง ๕ ประการ หมั่นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสามารถบรรลุถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพาน ตามสมควรแก่บารมีของตน ๆ ด้วยเทอญฯ [/SIZE]

    ขอบพระคุณที่มาค่ะ
    BlogGang.com : : Jormthepcyber : ����ª���ͧ������ԭ�Ի��ʹ� � ��С��
     

แชร์หน้านี้

Loading...