พิธีกวนข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) ๘๓ กระทะ ในงานวันวิสาขบูชาโลก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 21 เมษายน 2009.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    พิธีกวนข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) ๘๓ กระทะ
    เทศน์มหาชาติ เฉลิมพระเกียรติ
    และพิธีไถ่ชีวิตโค-กระบือ
    เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในงานวันวิสาขบูชาโลก


    วันที่ ๒๔ เมษายน ถึง ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒

    ณ โรงพิธีท้องสนามหลวง (ฝั่งวัดมหาธาตุ-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

    วันศุกร์ ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ (ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖)

    ๑๘.๓๐ น. พิธีไถ่ชีวิตโค-กระบือ เพื่อถวายพระราชกุศล
    ดร.ยวต- ม.ร.ว.(หญิง) จันทิพย์สุดา สุขสวัสดิ์ เป็นประธาน

    ๑๗.๐๙ น. ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธี ถึงมณฑลพิธีโรงข้าวทิพย์
    พลเรือโทฆนัท ทองพูล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ ผู้แทนวัดอรุณราชวราราม
    กล่าวรายงานต่อประธานฯ คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน สาวพรหมจารี คณะดาราอาวุโส คุณเศรษฐา-คุณอรัญญา ศิริฉายา คุณทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา คุณดามพ์ ดัสกร คุณดวงชีวัน โกมลเสน คณะผู้จัดละครและดาราทีวีสีช่อง ๓ องคมนตรีจุดเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวด เนื้อนวโลหะ เปิดให้ประชาชนได้บูชา เพื่อนำเงินไปซื้อเสื้อเกราะส่งไป ๓ จังหวัดชายแิดนภาคใต้

    ๑๙.๐๐ น. พิธีมังคลาภิเษกข้าวทิพย์ และพิธีสวดคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาชีวิต โดยพระมหาคง ญานวโร เจ้าอาวาสวัดดอนพุทรา จ.นครปฐม ปลุกเสกเดี่ยวโดยพระครูปลัดอารยเดช จารุวณฺโณ รองเจ้าอาวาสวัดทอง เขตบางพลัด กรุงเทพฯ เจ้าพิธีทำน้ำมนต์ สาวน้ำตาเทียน และแจกผ้ายันต์มหาลาภ ดาราอาวุโส คุณดามพ์ ดัสกร เป็นประธาน

    ๒๔.๐๐ น.
    ประธานสงฆ์ ประกอบพิธีนำน้ำผึ้งลงกระทะ พระราชาคณะเปรียญธรรม ๙ ประโยค ๙ รูป เจริญชัยมงคลคาถาและคณาจารย์ประกอบพิธีกวนข้าวทิพย์จนถึงสว่าง คุณสมถวิล ยังอยู่ ผู้ช่วยเลขานุการในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นประธาน



     
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๒

    ๐๔.๐๐ น. พระครูศรีชยาภิวัฒน์ และคณะสาวพรหมจารี นำข้าวหอมมะลิ และเครื่องข้าวทิพย์ลงกระทะ

    ๐๘.๐๙ น. อาจารย์ฉัตรชัย ทองสวัสดิ์ เจ้าพิธีประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดา โดยพลโท ถนอมศักดิ์ รอดสว่าง , พลตำรวจตรี พีระภัทร์ อุทกภาชน์ เป็นประธานในพิธี

    พิเศษ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน-อาทิตย์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒


    ๑๙.๐๐ น
    . พิธีสวดคาถา โดยพระมหามงคล ญานวโร เจ้าอาวาสวัดดอนพุทรา ปลุกเสกเดี่ยวโดย พระครูพิพัฒน์วรคุณ (หลวงพ่อสำราญ) เจ้าอาวาสวัดมะกอก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ลงนะหน้าทอง สาลิกาลิ้นทอง และแจกตะกรุดลูกปืน ดาราอาวุโส คุณดามพ์ ดัสกร เป็นประธาน

    ๒๔.๐๐ น. ประธานสงฆ์ ประกอบพิธีนำน้ำผึ้งลงกระทะ พระราชาคณะเปรียญธรรม ๙ ประโยค ๙ รูป เจริญชัยมงคลคาถา คุณไพโรจน์ หาดแก้ว หัวหน้าฝ่ายศุภรัต กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เป็นประธาน


     
  3. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    วันที่ ๒๗ เมษายน ถึง วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒

    ๐๖.๐๐ น. สาวพรหมจารี ห่อข้าวทิพย์ ตามโบราณพิธีของพระธรรมสิริชัย ณ กุฎิเจ้าอาวาสวัดอรุณฯ คณะ ๑


    หมายเหตุ :
    เพื่ออำนวยความสดวก ขอเชิญสั่งจองบูชาข้าวทิพย์ทางไปรษณีย์ได้ในราคาข้าวทิพย์ห่อละ ๒๐ บาท โดยส่งเงินทางธนาณัติสั่งจ่าย ณ ไปรษณีย์บางกอกใหญ่ ไปที่
    พระครูศรีชยาภิวัฒน์ วัดอรุณราชวราราม คณะ ๑
    แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ ๑๐๖๐๐
    โทรศัพท์ ๐๘-๑๘๓๘-๓๑๒๘
    โทรสาร ๐๒-๔๖๖-๖๗๕๒







     
  4. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประวัติข้าวทิพย์ (ภัตตาหารของเทวดา)

    ข้าวมธุปายาส (ข้าวสุกหุงด้วยนมโคเจือด้วยน้ำผึ้ง) ก่อนพุทธกาล (๒๖๓๒ ปี) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารได้เสด็จออกทรงผนวช ได้เสวยข้าวทิพย์ของนางสุชาดา บุตรีมหาเศรษฐีแห่งบ้านเสนานิคม ซึ่งก่อนแต่งงานได้ไปบนกับเทวดาที่ต้นไทรว่าขอให้ได้แต่งงานกับชายที่มีสกุลและฐานะเสมอกัน และได้บุตรคนแรกเป็นชาย เมื่อได้แล้ว จึงได้ปรุงข้าวทิพย์ไปแก้บน ได้พบเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร (นักบวช) คิดว่าเป็นเทวดา จึงทำพิธีแก้บนถวายด้วยข้าวทิพย์

    นางเป็นสตรีคนแรกของโลกที่ถวายภัตตาหารมื้อแรก พระพุทธองค์เสวยข้าวทิพย์ ๔๙ ก้อนแล้ว ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา (ตามศิลาจารึก ๑ วัดพระเชตุพน) กล่าวถึงชาวรามัญหุงข้าวทิพย์บูชาเทวดาผู้มีฤทธิ์เดช ๕ องค์ ให้มาอภิบาลรักษาและนำทิพย์โอชามาเจือลงในสิ่งของที่จะกวนข้าวทิพย์ กับอาราธนาพระสงฆ์ให้เจริญพุทธมนต์

    เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้รับประทาน ข้าวทิพย์นี้ได้ประกอบพิธีกวนกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) โปรดให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งของในการกวนถึง ๖๐ กว่าชนิด เช่น ถั่วงา , ลูกเดือย เป็นต้น การกวนข้าวทิพย์เนื่องในพระราชพิธีนั้น ทรงกระทำในเดือน ๑๐ เริ่มเวลาบ่าย นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในพระราชวัง สาวพรหมจารีต้องนุ่งขาวห่มขาวนั่งอยู่ในฉาก มีสายสิญจน์โยงมงคลเหมือนอย่างเจ้านายทำพิธีโสกันต์ (โกนจุก) อาลักษณ์อ่านคำประกาศว่า "การกวนข้าวทิพย์เป็นพระราชพิธีเคยทำมาแต่โบราณ ขอให้พระสงฆ์มีจิตตั้งมั่นด้วยเมตตาได้เจริญสมาธิเจริญพุทธมนต์ตลอดวันตลอดคืนทำให้เกิดพุทธคุณ ผู้รับประทานข้าวทิพย์ ด้วยคุณพระศรีรัตนตรัยขอให้เกิดมงคลและระงับโรคภัยไข้เจ็บ เคราะห์กรรมต่าง ๆ ไม่เจ็บไม่จน แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานข้าวทิพย์นี้ นำไปรับประทาน และพระราชกุศลที่ทรงบำเพ็ญนี้ ขอให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเป็นที่เกรงขามแก่เหล่าศัตรู และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล"

    เสร็จแล้วพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ พระราชทานน้ำมหาสังข์ใบมะตูมและทรงเจิมสาวพรหมจารีที่เป็นหม่อมราชวงศ์ โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอทรงรินน้ำส้มและเติมเนยตามไปจนตลอด เสร็จแล้วพวกท้าวปลัดเทียบวิเศษ ซึ่งประจำกระทะำจึงเทถุงเครื่องที่จะกวนลงในกระทะ มีกะทิและน้ำตาลซึ่งเคี่ยวได้ที่แล้ว สาวพรหมจารีจึงจับพายลงมือกวน ประโคมแตรสังข์ฆ้องชัย พิณพาทย์ มโหรี พระมหาราชครูพิธีรดน้ำสังข์ทุกกระทะแล้วเสด็จขึ้น พอเสร็จผู้ที่จะได้รับพระราชทานข้าวทิพย์ก็คือฝีพายผู้ที่กวน รุ่งเช้าเสด็จออกถวายภัตตาหารพระสงฆ์แล้วพระราชทานข้าวทิพย์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการตามศักดิ์ และประชาชนทั่วไป

    วัดอรุณราชวราราม ได้จัดพิธีกวนข้าวทิพย์ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ในงานวันวิสาขบูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน


    ขอบคุณที่มา: พระครูศรีชยาภิวัฒน์ วัดอรุณราชวราราม
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2009
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ประเพณีกวนข้าวกระยาทิพย์ หรือข้าวยาคูมธุปายาส

    ประเพณีกวนข้าวมธุปายาสยาคู เชื่อกันว่าแต่เดิมนั้นกระทำโดยพราหมณ์ ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เพราะพุทธศาสนาเกิดขึ้นท่ามกลางอิทธิพลพราหมณ์ ซึ่งเจริญมาก่อน เมื่อมีพราหมณ์เป็นจำนวนมากเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ก็นำเอาพิธีการต่าง ๆ ที่ตนเคยทำมาปฏิบัติต่อไปด้วยความเคยชิน พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าพิธีการ ทางศาสนาพราหมณ์บางพิธีนั้นไม่ทำให้เสียหายแก่ผู้ปฏิบัติ กลับทำให้เกิดความศรัทธา ในความดีงามและบำรุงกำลังใจ ก็ไม่ทรงห้ามการปฏิบัติกิจเหล่านั้นแต่ประการใด ดังนั้น พุทธศาสนิกชน สมัยหลัง ๆ มาจึงพบว่าประเพณีพราหมณ์ เข้ามาปะปนอยู่ในพุทธศาสนามาก จนบางครั้งก็ไม่รู้ว่าในชั้นต้นนั้นเป็นประเพณีอันเนื่องด้วยศาสนาพุทธหรือศาสนาพราหมณ์กันแน่
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่มาของประเพณีกวนข้าวมธุปายาสยาคูนั้นมีผู้สันนิษฐานต่างกันออกไปเป็น ๒ แนว คือ
    <O:p</O:p
    แนวแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกล่าวไว้ในพระราชพิธี สิบสองเดือนว่า ประเพณีนี้มีที่มาปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ธรรมบทแห่งหนึ่งและในคัมภีร์ มโนถบุรณีอีกแห่งหนึ่ง ทั้งสองคัมภีร์นี้ มีเนื้อความตรงกันว่า
    <O:p
    พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงบุรพชาติของอัญญาโกญทัญญะ ซึ่งมีความประสงค์อันแน่วแน่ที่จะศึกษาธรรมเพื่อให้บรรลุ พระอรหันต์ก่อนผู้อื่น จุดมุ่งหมายในการแสดงของพระพุทธองค์ก็เพื่อที่จะให้พระภิกษุได้ฟังพระองค์ได้ทรงแสดงว่า เมื่อพระพุทธวิปัตสีอุบัติขึ้นในโลก มีกุมพี สองคนพี่น้อง คนพี่ชื่อมหากาฬ คนน้องชื่อว่าจุลกาฬ ทั้งสองคนทำนาข้าวสาลีในนาแปลงเดียวกันเมื่อข้าวกำลังจะออกรวง (ท้อง) จุลกาฬไปในนา เอาท้องข้าวนั้นไปกินก็รู้ว่าหวานอร่อยมาก เลยจะเอาข้าวนั้นไปถวายพระภิกษุ จึงไปบอกพี่ชาย พี่ชายก็ไม่เห็นด้วย อ้างว่าไม่มีใครเคยทำ ทำไปก็สูญเสียข้าวไปเปล่า ๆ แต่จุลกาฬก็รบเร้าอยู่ทุกวัน จนมหากาฬไม่พอใจขึ้นมากทุกที ในที่สุดก็ให้แบ่งนาออกเป็น ๒ ส่วน แบ่งกันคนละส่วน จุลกาฬให้ชาวบ้านช่วยกันเก็บข้าวของตนซึ่งกำลังตั้งท้องนั้น ไปผ่าแล้วนำไปต้มด้วยน้ำนมสด ไม่มีน้ำปะปนเลย ผสมเนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด เป็นต้น นำไปถวายพระพุทธองค์และพระสาวก

    <O:p</O:pโดยอธิฐานว่าผลทานนั้นจงเป็นเครื่องให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนคนทั้งปวง เมื่อจุลกาฬทำทานแล้วกลับไปดูนา เห็นเต็มไปด้วยข้าวสาลี ก็ยินดียิ่งนัก หลังจากนั้นก็ทำบุญในวาระต่าง ๆ อีก ๙ ครั้ง จุลกาฬซึ่งมาเป็นพระอัญญาโกญทัญญะ ก็ทำทานและมีความมุ่งมั่นเช่นเดิมมาโดยตลอดจนในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหันต์ก่อนพุทธสาวก ทั้งปวง จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าประเพณีการกวนข้าวมธุปายาส น่าจะเนื่องมาจากอรรถกถา ที่กล่าวมาแล้วนี้<O:p

    แนวที่สอง เป็นความเชื่อของชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นความเชื่อที่เนื่องกับ พระพุทธศาสนามาเช่นกัน เป็นความเชื่อที่สอดคล้องกับพุทธประวัติตอนที่นางสุชาดาถวาย ข้าวมธุปายาสก่อนอภิสัมโพธิกาล ดังหลักฐานที่ปรากฏในพุทธประวัติเล่ม ๑ ปริมกาล ปุริจเฉทที่ ๕ ตอนหนึ่งว่า
    <O:p
    " ในเช้าวันนั้นนางสุชาดาบุตรีกุฏมพีนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ณ ต.อุรุเวลา ปรารถนาจะทำการบวงสรวงเทวดา หุงข้าวมธุปายาสคือข้าวสุกหุงด้วยน้ำนมโคล้วนเสร็จแล้ว จัดลงในถาดทองนำไปที่โพธิพฤกษ์ เห็นพระมหาบุรุษนั่งอยู่ สำคัญว่าเทวดาจึงน้อมข้าวปายาสเข้าไปถวาย ในเวลานั้นบาตรของพระองค์เผอิญอันตรธานหาย พระองค์จึงทรงรับข้าวปายาสนั้นทั้งถาดด้วยพระหัตถ์แล้วทอดพระเนตรแลดูนาง นางทราบพระอาการจึงทูลถวายทั้งถาดแล้ว กลับไป พระมหาบุรุษทรงถือถาดข้าวปายาสเสด็จไปสู่ท่าแห่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงแล้วเสวยข้าวปายาสหมดแล้วทรงลอยถาดเสียในกระแส……"

    หลังจากพระองค์ทรงเสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาแล้วก็ทรงบรรลุ อภิสัมโพธิญาณในคืนนั้นเอง เหตุนี้ชาวพุทธโดยทั่วไปในเมืองนคร จึงเชื่อกันว่า ข้าวมธุปายาส นี่เองที่ส่งผลให้พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ จึงเห็นข้าวมธุปายาสเป็นของดีวิเศษที่บันดาลความสำเร็จได้อย่างเอก เพราะเห็นว่าเมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยข้าวมธุปายาสแล้วทำให้พระองค์ เห็นแจ้งในธรรม แสดงว่าข้าวมธุปายาสช่วยเพิ่มพูนพลังจึงก่อให้เกิดปัญญา สมองแจ่มใส ปลอดโปร่งเป็นอย่างยิ่ง จึงเห็นได้ว่าข้าวมธุปายาสก็คือยาขนานวิเศษนั่นเอง

    ด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้ ประเพณีกวนมธุปายาสยาคูจึงเป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างแน่นแฟ้น แต่มีข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกันไปจากเดิมบ้าง กล่าวคือ แต่เดิมนั้นการกวนข้าวมธุปายาสจะกระทำในเดือนสิบบ้าง เดือนหกบ้าง แต่ปัจจุบันนี้ทำกันในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ การกระทำนั้นแต่เดิมใช้ผู้หญิงพราหมณ์และเชื้อพระวงศ์ผู้หญิงซึ่งเป็นพรหมจารีเป็นผู้กวน แต่ต่อมาได้ได้มีการยึดถือในเรื่องนี้กันนัก ซึ่งในปัจจุบันนี้ชาวเมืองมักจะหาเครื่องปรุงมาร่วมกันที่วัดแทนที่จะเป็นตามบ้านเรือนของแต่ละคน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ที่มาข้อมูล : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณวโรรส, พุทธประวัติ เล่ม ๑ ปุริมกาล ปฐมโพธิกาล พิมพ์ครั้งที่ ๔๓, กรุงเทพฯ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย , ๒๕๑๖ ,หน้า ๔๔-๔๕.<O:p</O:p


    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...