รวมมงคลวัตถุ"พระแก้วมรกต"สุดยอดพิธีกรรมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 21 พฤศจิกายน 2009.

  1. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    กระทู้แนะนำเชิงสาระความรู้ เกี่ยวกับวัตถุมงคลพระแก้วมรกตทุกรุ่น ทุกแบบ ทุกผู้จัดสร้างที่มีพิธีกรรมดี เชิญเพื่อนๆสมาชิกช่วยเพิ่มเติมข้อมูลด้วยนะครับ
     
  2. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2475 เหรียญฉลองกรุง150ปี และล็อกเกต(บล็อคนอก)พระแก้วมรกต

    [​IMG]


    จากใบประกาศบอกบุญในการปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ.2473 บ่งบอก ให้ทราบว่า การดำเนินการจัดสร้างเหรียญพระแก้วมรกตนั้น มีการดำเนินการ ในช่วงระยะก่อน จะทำการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และได้เปิดให้ประชาชน ได้ร่วมสมทบทุนร่วม บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ.2473 ดังปรากฏข้อความ ในใบประกาศบอกบุญว่า
    โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จ และเหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึก ตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้
    1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
    2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
    3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
    4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง.......
    อย่างไรก็ตามประกาศระเบียบการรับเงินเรี่ยไรการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอรัษฏากรพิพัฒน์ 16 กันยายน พ.ศ.2473 ยังได้กล่าวไว้ว่า
    ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ
    เหรียญพระแก้วมรกต ที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี เป็นเหรียญปั๊มพิมพ์กลมแบน ขอบเรียบ
    ด้านหน้าเหรียญ ภายในซุ้มเรือนแก้วเป็นรูป พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย และดอกไม้อยู่โดยรอบ
    ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปยันต์กงจักร มีอักษรจารึก มรรค 8 อักขระขอมที่ปรากฏ คือ
    ทิ คือ สัมมาทิฐิ
    สํ คือ สัมมาสังกัปโป
    วา คือ สัมมาวาจา
    กํ คือ สัมมากัมมันโต
    อา คือ สัม อาชิโว
    วา คือ สัมมา วายาโม
    ส คือ สัมมา สติ
    สํ คือ สัมมาสมาธิ
    ที่ริมขอบเหรียญด้านหลังบางเหรียญ จะมีชื่อผู้ผลิตดังนี้ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร ฮั่งเตียนเซ้ง และ Georges Hantz Geneve U.G.D.
    นอกจากนั้นยังมี เหรียญพระแก้วมรกต อีกแบบหนึ่งซึ่งพบเห็นกันน้อยมาก เป็นเหรียญกลม มีหูเชื่อม ลักษณะพิมพ์ด้านหน้า เหมือนกับเหรียญ พระแก้วมรกตที่ได้กล่าวไปแล้ว หากแต่ในส่วนของด้านหลัง จะมีความแปลก ต่างไปจากกัน คือ เป็นข้อความอักษรเรียงกัน 5 บรรทัด ว่า ที่ระฤก ในงานฉลอง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครบรอบ ๑๕๐ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ อักษรมีทั้งแบบตัวนูน และแบบตัวลึกลงไปในเนื้อเหรียญ พบเห็นมี 2 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อเงิน และ ทองแดงกะไหล่ทอง เหรียญพิมพ์นี้ เนื้อเงินเช่าหากันที่หลักหมื่นเศษๆ ส่วนเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง อยู่ในหลักพันแก่ ๆ
    สำหรับ เหรียญพระแก้วมรกต ที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี บล็อกที่สั่งทำจาก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีอักษรบ่งบอกอยู่ที่ด้านหลังเหรียญไว้ว่า Georges Hantz Geneve U.G.D. หรือที่นักสะสมพระเครื่องเรียกกันว่า "บล็อกนอก" เป็นที่นิยมมากที่สุด และมีมูลค่าการสะสมสูงกว่าเหรียญ "บล็อกใน" มาก
    กล่าวคือ "บล็อกนอก" เนื้อทองคำอยู่ที่หลายแสนบาท เนื้อเงินสวยๆหลายหมื่นบาท เนื้ออัลปาก้า ก็อยู่ในหลักหมื่นเศษ ๆ
    ส่วนเหรียญ"บล็อกใน" เนื้อทองคำ หลายหมื่นบาท เนื้อเงิน หลักพันกลาง ๆ เนื้อทองและเนื้อนิเกิล (อัลปาก้า) อยู่ในหลักพันกว่าบาทเท่าๆ กัน จะถูกแพงกว่ากันก็อยู่ที่ความสวยงามคมชัดเท่านั้น
    จาก คม ชัด ลึก 31 มค. 2545


    รายนามคณาจารย์ปลุกเสก ( อ้างอิงจากสำนักงานวัดพระแก้ว )

    1. พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิตร
    2. สมเด็จพระวันรัต ( แพ ตสสเทโว ) วัดสุทัศน์
    3. พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม
    4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์
    5. หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
    6. หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี
    7. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    8. หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
    9. หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลฯ
    10. หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี
    11. หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี
    12. เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส
    13. หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สุมทรสงคราม
    14. หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี
    15. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
    16. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
    17. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
    18. หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี
    19. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
    20. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
    21. หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สุมทรสงคราม
    22. หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี
    23. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
    24. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
    25. หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์
    26. หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี
    27. หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    28. หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม สุมทรสงคราม
    29. หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
    30. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สุมทรสงคราม
    31. หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์
    32. หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
    33. หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี
    34. หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง
    35. หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
    36. หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี
    37. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    38. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
    39. หลวงพ่อพิธ วัดฆะฆัง พิจิตร
    40. หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
    41. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    42. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
    43. หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์

    จากศักดิ์สิทธิ์ ฉบับที่ 220 ( สืบหาพระเครื่องดี )


    [​IMG]
     
  3. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2500 พระแก้วมรกตขนาดบูชา พิธี 25 ศตวรรษ

    [​IMG]
    มีบล็อคไทย บล็อดเจแปน และบล็อคอินเดีย
    วัตถุประสงค์ เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑล

    วัตถุมงคล รุ่น ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ จัดว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่นหนึ่งที่มีความยิ่งใหญ่ ทั้งเจตนาการจัดสร้าง มวลสาร และพิธีปลุกเสก ดั่งรายนามคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนโดยทั่ว จำนวน 108 รูป ดังนี้
    <table style="font-size: 11pt;" align="center"><tbody><tr><td>1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร</td></tr><tr><td>11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร </td></tr><tr><td>12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร</td></tr><tr><td>13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร</td></tr><tr><td>20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร</td></tr><tr><td>21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร</td></tr><tr><td>22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร</td></tr><tr><td>23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร</td></tr><tr><td>24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร</td></tr><tr><td>25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี</td></tr><tr><td>29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี</td></tr><tr><td>43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี</td></tr><tr><td>44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี</td></tr><tr><td>45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี</td></tr><tr><td>46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี</td></tr><tr><td>47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี</td></tr><tr><td>48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี</td></tr><tr><td>49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี</td></tr><tr><td>50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม</td></tr><tr><td>51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม</td></tr><tr><td>52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม</td></tr><tr><td>53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม</td></tr><tr><td>54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี</td></tr><tr><td>55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี</td></tr><tr><td>56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี</td></tr><tr><td>57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี</td></tr><tr><td>58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี</td></tr><tr><td>59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี</td></tr><tr><td>60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช</td></tr><tr><td>61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช</td></tr><tr><td>62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ</td></tr><tr><td>63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ</td></tr><tr><td>64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ</td></tr><tr><td>65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม</td></tr><tr><td>66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม</td></tr><tr><td>67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม</td></tr><tr><td>68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม</td></tr><tr><td>69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร</td></tr><tr><td>70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร</td></tr><tr><td>71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี</td></tr><tr><td>72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี</td></tr><tr><td>73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี</td></tr><tr><td>74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี</td></tr><tr><td>75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี</td></tr><tr><td>76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี</td></tr><tr><td>77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี</td></tr><tr><td>78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี</td></tr><tr><td>79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี</td></tr><tr><td>80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี</td></tr><tr><td>81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี</td></tr><tr><td>82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท</td></tr><tr><td>83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง</td></tr><tr><td>84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง</td></tr><tr><td>85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี</td></tr><tr><td>86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี</td></tr><tr><td>87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก</td></tr><tr><td>88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก</td></tr><tr><td>89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่</td></tr><tr><td>90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนงค์</td></tr><tr><td>91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา </td></tr><tr><td>101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา</td></tr><tr><td>102. พระครูศุข วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี</td></tr><tr><td>103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี</td></tr><tr><td>104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์</td></tr><tr><td>105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย</td></tr><tr><td>106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย</td></tr><tr><td>107. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย</td></tr><tr><td>108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม</td></tr></tbody></table>


    วัตถุมงคลอื่นๆ ที่เข้าร่วมพิธี




    [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  4. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2509 พระผงแก้วมรกต วัดบ้านโป่ง

    “สร้างปี พ.ศ.2509 เป้าหมายจะหาทุนบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบ้านโป่ง ในการรวบรวมมวลสารต้องใช้เวลากว่า 5 ปี มีมวลสารหลักดังนี้ ผงว่าน 108, ผงวิเศษจากเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ 108 สำนัก, เกสรดอกไม้ 108, ดินหลักเมืองและดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง, ดิน 7 โป่ง 7 ท่า, ดอกไม้แห้งจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 108 แห่ง, ผงกรุต่าง ๆ 108 กรุ, น้ำพระพุทธมนต์ 108 โบสถ์ และน้ำมนต์ในพิธี 25 พุทธศตวรรษ”

    พิมพ์สามเหลี่ยม และพิมพ์สี่เหลี่ยม มีลักษณะของเนื้อพระออกจะแก่ว่านและผงเกสรดอกไม้ สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง พระดูไม่ค่อยแกร่งนักอาจกะเทาะได้ง่าย แต่โดยรวมแล้วพระยึดตัวดีพอสมควร

    พระแก้วมรกตวัดบ้านโป่ง ออกจะเป็นพระว่านมากกว่าพระปูน

    มีส่วนผสมของปูนน้อยกว่าเกสรและว่าน

    มีน้ำหนักเบามีความงดงามอยู่ในตัวเองไม่น้อยกว่าพระแก้วมรกตของสำนักอื่น ๆ ทั้งเก่าหรือใหม่ (เสียดายที่ภาพประกอบไม่ชัดเจนเท่าที่ควร รักษ์ มีแสง ได้พยายามถ่ายภาพด้วยตัวเองอย่างที่สุดแล้ว)

    ในการกระทำพิธีพุทธาภิเษกพระแก้วมรกตวัดบ้านโป่ง ได้ทำอย่างจริงจังถึง 4 ครั้ง ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้


    ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2509 เวลา 10.20 น. คือฤกษ์จุดเทียนชัย

    และมีคณาจารย์นั่งปรกอยู่ 14 รูป เป็นจำนวนตัวเลขมหาจักรพรรดิ
    เจ้าคุณราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม
    หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
    เจ้าคุณอินทเขมาจารย์ วัดช่องลม
    เจ้าคุณพิบูลย์ธรรมวาที วัดปากท่อ
    เจ้าคุณโพธารามคณารักษ์ วัดเฉลิมอาศน์
    พระครูสาธุกิจวิมล วัดหนองดินแดง
    พระครูปราสาทลังวรกิจ (หลวงพ่ออินทร์) วัดโบสถ์
    พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร
    พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง
    พระครูประสิทธิ์ วัดอุบลวรรณาราม
    พระครูอาจารโสภณ วัดกลางวังเย็น
    หลวงพ่อแก้ว วัดหนองเอี่ยน
    หลวงพ่ออ๊อด วัดโกสินารายณ์
    และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
    คณาจารย์ทั้งหมดมีสำนักอยู่ในจังหวัดราชบุรีเป็นส่วนใหญ่ มีมาจากนครปฐมกับกาญจนบุรีเพียงองค์สององค์


    ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 10 เดือนปีเดียวกัน 9.30 น. จุดเทียนชัย

    เจ้าคุณเทพลังวรภวิมล วัดเจริญสุธาราม สมุทรสงคราม
    เจ้าคุณสมุทรสุธี วัดช่องลม ราชบุรี
    เจ้าคุณอินทเขมาจารย์ วัดช่องลม
    พระครูโพธาภิรมย์ (วัดบ้านเลือก) ราชบุรี
    เจ้าคุณราชวชิราภรณ์ วัดยาง เพชรบุรี
    พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี
    พระครูพรหมวิหารธรรม วัดพรหมวิหาร เพชรบุรี
    พระครูอาจารโสภณ วัดกลางวังเย็น ราชบุรี
    พระครูอาทรวชิรธรรม วัดพลับพลาชัย เพชรบุรี
    พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม ราชบุรี
    พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร ราชบุรี
    หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม ราชบุรี
    พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
    หลวงพ่ออ๊อด วัดโกสินารายณ์
    พระครูปึก วัดสวนหลวง ราชบุรี
    และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม กาญจนบุรี
    รวมทั้งหมด 17 รูป


    ครั้งที่ 3 วันเสาร์ที่ 17 กันยายน เวลา 11.50 น. จุดเทียนชัย

    หลวงพ่อแก้ว วัดป่า(เจ้าคุณวรพตปัญญาจารย์) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    พระครูโสภณประชานาถ (หลวงพ่อนาถ) วัดศรีโลหะราษฏร์บำรุง
    หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้ กาญจนบุรี
    หลวงพ่อหอม วัดซากมาก ระยอง
    พระครูสถาพรพุทธมนต์ (หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวัน นครปฐม
    พระครูวิจิตรสารคุณ วัดลาดบัวขาว ราชบุรี
    พระครูสุวรรสาธุกิจ (หลวงพ่อแดง) วัดทุ่งคอกสุพรรณบุรี
    หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม ราชบุรี
    พระครูเมธาธิการ วัดโพธิบัลลังก์ บ้านโป่งราชบุรี
    พระอาจารย์เงิน วัดจันทราม ราชบุรี
    พระครูโพธาภิรมณ์ วัดบ้านเลือก ราชบุรี
    พระอาจารย์ขันธ์ วัดศรีอารีย์ ราชบุรี
    พระครูอนุรักษ์วรคุณ วัดหนองม่วง ราชบุรี
    หลวงพ่อพิมพ์ วัดหุบมะกล่ำ ราชบุรี
    หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี
    พระอาจารย์แสวง วัดหนองหญ้าปล้อง ราชบุรี
    พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร
    หลวงพ่อทอง วัดหมอสอ กาญจนบุรี
    พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม ราชบุรี
    และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
    รวมทั้งหมด 20 รูป


    ครั้งที่ 4 วาระสุดท้าย วันที่ 8 ตุลาคม 2509 เวลา 10.30 น.

    พระครูพิศิษย์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดจันดี นครศรีธรรมราช
    พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
    เจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กทม.
    หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา พัทลุง
    หลวงพ่อเยื้อง วัดชะอวด นครศรีธรรมราช
    หลวงพ่อวัน วัดรัตนาราม พัทลุง
    พระใบฏีกาจำปี วัดโปรตุเกศ ปากเกร็ด นนทบุรี
    พระอาจารย์แสวง วัดหนองหญ้าปล้อง
    หลวงพ่อแง วัดเจริญสุทธาราม สมุทรสาคร
    หลวงพ่อชื้น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    เจ้าคุณสมุทรสุธี วัดกลางเหนือ สมุทรสงคราม
    พระครูพิศาลถาวรกิจ วัดบ้านหม้อ ราชบุรี
    พระอาจารย์เล็ก วัดเขาดิน กาญจนบุรี
    พระครูเมธาการ วัดโพธิบัลลังก์, หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง
    พระครูวรพตธาดา วัดตาลปากลัด ราชบุรี
    พระครูวราภิวัฒน์ วัดบ้านม่วง ราชบุรี
    หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้ กาญจนบุรี
    พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม
    หลวงพ่อแก้ว วัดหนองเอี่ยม
    หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม
    พระครูล้น วัดหัวหิน ราชบุรี
    และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
    รวม 24 รูป

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG] <SMALL></SMALL>
    </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]



    ขอบคุณที่มา เว็บของคุณอำพลเจน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2518 พระแก้วมรกต พิธีจตุรพิธพรชัย ที่วัดรัตนชัย

    ประวัติการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้น่าสนใจมากเพียงแต่คนจะทราบรายละเอียดค่อนข้างน้อยทำให้หลายคนมองข้ามของดีในพิธีนี้ไปอย่างน่าเสียดายครับ ประวัติมีอยู่ว่าเนื่องจากนายเรียน นุ่มดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ดู่ วัดสะแก) ในสมัยนั้นท่านกำลังใกล้จะเกษียณอายุราชการและจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดที่อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดใกล้บ้านเกิดนั้นมีสภาพทรุดโทรม เสนาสนะก็ไม่ได้รับการบูรณะมานานมาก ดังนั้นนายเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะหารายได้จำนวนหนึ่งไปปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ให้สวยงาม พร้อมทั้งสร้างวิหารจตุรพิธพรชัยขึ้นใหม่ จึงได้นำความมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ท่านว่าจะทำอย่างไรดี หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคลตลอดจนการนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีนี้อย่างละเอียด โดยพิธีพุทธาภิเษกถูกหนดขึ้นที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ

    1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
    2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
    6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
    7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
    8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
    10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
    11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
    13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)


    ส่วนวัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้มีอยู่ 4 ประเภท (ไม่นับรวมของฝากในพิธีนี้) คือ

    1. เหรียญ 9 พระอาจารย์ - จัดสร้าง 5,599 เหรียญ แบ่งออกเป็นอีกสองเนื้อคือ เนื้อเงิน (มีเพียงบางพระอาจารย์เท่านั้น) และเนื้อทองแดง มีทั้งแบบที่บรรจุในกล่องกำมะหยี่และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ที่นิยมเรียกว่า "เหรียญ 9 พระอาจารย์" นั้นเพราะว่าทางคณะกรรมการจัดทำเป็นเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่ด้านหน้า และประทับยันต์ครูของท่านที่ด้านหลัง รวม 9 แบบ คือ หลวงพ่อนอ วัดกลาง หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม โดยเมื่อปั๊มเหรียญเสร็จจากโรงงาน คณะกรรมการได้นำเหรียญของแต่ละพระอาจารย์ไปมอบให้ที่วัดเพื่อให้ท่านปลุกเสกเหรียญของท่านล่วงหน้า 1 เดือนก่อนพิธีพุทธาภิเษกใหญ่

    2. พระสมเด็จ 9 ชั้น - จัดสร้างเป็นเนื้อผงแก่น้ำมัน จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ ตามประวัติกล่าวว่าพระชุดนี้หลวงปู่ดู่ท่านตั้งใจออกแบบพิมพ์และมวลสาร เพื่อถวายให้หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคเป็นกรณีพิเศษ โดยด้านหน้าจะล้อพิมพ์พระสมเด็จวัดไชโย ด้านหลังเป็นยันต์ครูของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค และมีคำว่า "วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี" ประทับอยู่ใต้ยันต์ครู โดยหลวงปู่ดู่ท่านได้มอบผงมหาจักรพรรดิ์จำนวนหนึ่งไปผสมเป็นมวลสาร จากนั้นนายเรียนจึงนำเรื่องนี้ได้กราบเรียนหลวงปู่สีทราบ ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและอนุญาตตามนั้นและได้มอบผงวิเศษของท่านมาอีกจำนวนหนึ่ง สุดท้ายหลังจากได้มวลสารและกดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ดู่ท่านได้บอกให้นายเรียนนำพระสมเด็จชุดนี้กลับไปให้หลวงปุ่สีท่านปลุกเสกเป็นปฐม ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ 1 เดือน (เป็นพระอีกชุดหนึ่งของสายนี้ที่ปลุกเสกนานมาก) เสร็จแล้วจึงให้นายเรียนมารับกลับไปเพื่อรอเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่

    3. พระแก้ว 3 ฤดู - จัดสร้างเป็นเนื้อผงและมีการลงสีเขียวที่พระวรกาย ปิดทองที่เครื่องทรง เฉกเช่นเดียวกับพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ มีทั้งแบบบรรจุกล่อง (ครบ 3 ฤดู) และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องตามฤดู (ร้อน / ฝน / หนาว) ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า "วัดรัตนชัย (จีน) อยุธยา"

    4. พระสามสมัย - จัดสร้างเป็นเนื้อผงโดยแบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ คือ เชียงแสน สุโขทัย อู่ท่อง จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปและที่ใต้พระพุทธรูปจะมีคำอธิบายศิลปะของพระพุทธรูปไว้ด้วย คือ เชียงแสน หรือ สุโขทัย หรือ อู่ทอง ด้านหลังประทับยันต์นะปถมัง และมีคำว่า "วัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี" ( ขนาดองค์พระประมาณ 2.5 * 3 เซนติเมตร )

    [​IMG]
     
  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2522 พระแก้วมรกตหมดห่วงรุ่นที่ 1 อ.สุธันย์ สุนทรเสวี

    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR><TD class=row2>[​IMG]
    <!-- DSC08869.JPG [ 144.9 KiB | เปิดดู 561 ครั้ง ] -->
    </TD></TR><TR><TD class=row1>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เหรียญพระแก้วมรกตรุ่นแรก รุ่นหมดห่วง สร้างโดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี พ.ศ.2522-2523 เนื้อทองแดง สร้าง 3,999 เหรียญ โดยคุณสุธันย์ ได้รวบรวมชนวนโลหะและแผ่นยันต์ต่างๆที่ได้เก็บรวบรวมไว้จำนวนมากหลายร้อยแผ่น ที่ลงอักขระเลขยันต์โดยเกจิที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศ นำชนวนโลหะทั้งหมดมาหลอมรีดเป็นแผ่นก่อนนำมาปั๊มเป็นเหรียญพระแก้วมรกต ไม่มีห่วง (เอาเคล็ดว่าหมดห่วง)รายการชนวนจากแผ่นกระดาษพิมพ์ดีดของคุณสุธันย์
    1.ทองชนวนพระกริ่ง สำนักวัดสุทัศน์ กรุงเทพ
    2. ทองชนวนพระกริ่ง อรหัง วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    3. ทองชนวนพระกริ่ง ชินบัญชร วัดละหารไร่ ระยอง
    4. ทองชนวนพระกริ่ง ช่องลม วัดช่องลม สมุทรสาคร
    5. ทองชนวนพระกริ่ง ถ้ำแก้ว วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี
    6. ทองชนวนพระกริ่งสังวรวิมล วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    7. ทองชนวนพระชัยวัฒน์ ท่านเจ้ามา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม.
    8. ทองชนวนพระชัยวัฒน์ เจ้าคุณผล วัดหนัง กทม.
    9. ทองชนวนพระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    10.ทองชนวนพระพุทธชินราชจำลอง สำนักวัดสุทัศน์ กรุงเทพ
    11.ทองชนวนรูปเหมือนพระเจ้าตาก กรมอู่ทหารเรือ กทม.
    12.โลหะทองจังโก บุพระธาตุองค์สำคัญ
    13.โลหะทองระฆัง วัดช่องแค นครสวรรค์
    14.โลหะทองยอดเจดีย์ สมัยเชียงแสน
    15.ตะกรุดพระเถราจารย์ไม่ทราบสำนักจำนวนมาก
    16.แผ่นพระยันต์ คาถาศักดิ์สิทธิ์จากพระเถราจารย์ 65 องค์ ได้แก่ หลวงปู่โต๊ะ,หลวงปู่ธูป,หลวงพ่ออุตตมะ,หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิต,หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว,หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง,หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา,พระญาณโพธิ(เข็ม) วัดสุทัศน์,หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางฯ,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ,หลวงปู่หล้า วัดป่าตึง,หลวงปู่สิม,หลวงพ่อสงฆ์,หลวงพ่อผาง,หลวงปู่แหวน,หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ,หลวงปู่กินนรี,หลวงปู่นิล วัดครบุรี,หลวงปู่ตื้อ,หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ,หลวงพ่อแจ้ง วัดใหม่สุนทร,หลวงปู่จันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ,หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง,หลวงพ่อมุ่ย วัดบางบูชา,หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค,หลวงพ่อโอด วัดจันเสน,หลวงปู่หนูจันทร์ วัดพัทธเสมา,หลวงพ่อเส็ง วัดหงนา ปทุมธานี,หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช,หลวงพ่อทองอยู่ วัดเกยชัย นครสวรรค์,หลวงพ่อบุญทา วัดดอนตัน น่าน,หลวงพ่อบุญเทียม วัดลาดหลุมแก้ว,พ่อท่านนำ วัดดอนศาลา,พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันตก,พ่อท่านเล็ก วัดประดู่เรียง,หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ,หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า,หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่,หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า,หลวงปู่ศรี มหาวีโร ร้อยเอ็ด,หลวงปู่ทองมา วัดสว่างท่าสี,หลวง ปู่บุญ วัดวังมะนาว,หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม,หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง,ครูบาชุ่ม วัดวังมุย,ครูบาพรหมา วัดพระบาทตากผ้า,หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดสุทธาวาส, หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาปิ้ง,หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่,หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี,หลวงพ่อแก้ว วัดสุทธิวาตาราม,หลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ,หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองอนงค์,หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม,หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง,หลวงพ่อหง วัดหนองพลับ,หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง, หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล,หลวงปู่อ่อน วัดนิโครธาราม,หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิหาร,พระราชอุทัยกวี(พุฒ) วัดมณีสถิตย์ อุทัยธานี,พระสุธรรมญาณเถร(วีระ) วัดจันทาราม อุทัยธานี,หลวงพ่อโทน วัดบูรพา อุบลธานี,และหลวงปู่ดู่ วัดสะแก ได้เมตตาลงแผ่นยันต์และตะกรุดพระมหาจักรพรรดิตราธิราช จำนวน 9 แผ่น

    ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์องค์พระ ซึ่งเป็นของเก่าผูกยันต์โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ จากนั้นจึงนำเหรียญพระแก้วมรกตไปเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกและนำไปให้พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงปลุกเสกเดี่ยว ดังนี้
    • เข้าพุทธาภิเษกนั้นมี 2 แห่ง คือที่ วัดเฟื้อสุธรรม จ.เพชรบุรี วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2523 และที่วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2523 จากนั้นก็เริ่มการเสกเดี่ยวตลอดทั้งปี
    • 1. พระครูเนกขัมมาภินันท์ หรือหลวงพ่อบุญหา วัดดอนตัน อ.ท่าวังผา จ.น่าน เสกในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2523 ท่านองค์นี้เป็นที่เชื่อถือของชาวทหารมาก ขนาดว่ารถจิ๊ปถูกทิ้งระเบิดใส่นายทหารกระเด็นกระดอนเหมือนจับขว้าง ไม่เป็นอะไรเลย ไม่ตาย ไม่บาดเจ็บ ผมเห็นรูปถ่ายของรถและคนแล้วไม่น่าเชื่อว่าจะรอดได้ คนในรถมีผ้ายันต์กับเหรียญท่านติดตัวคนละชุดครับ
    • 2. พระพุทธมนต์โชติคุณ (ยศ) วัดศรีบุญเรือง จ.น่าน เสก 22 กุมภาพันธ์ 2523
    • 3. พระเทพวงศาจารย์ หรือหลวงปู่อินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี เสกวันที่ 14 มีนาคม 2523 หลวงปู่อินทร์นี้ อาจารย์ผมก็เป็นลูกศิษย์ท่าน อาจารย์ผมก็เป็นลูกศิษย์ท่าน อาจารย์เล่าว่าหลวงปู่เก่งไล่ผีถอนคุณไสยมาก และวิชาไม้สะแกกันภัยของท่านนี่ชั้นหนึ่งลงว่าบ้านใครได้ฝังไม้สะแกของท่านละก็ฟืนไฟไม่ได้ไหม้ ขโมยไม่ได้ขึ้นแน่นอน
    • 4. พระครูภาวนาวัชโรภาส (แผ่ว ปัณฑิโต) วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี เสกวันที่ 15 มีนาคม 2523 หลวงพ่อแผ่วท่านเป็นศิษย์ผู้พี่ของอาจารย์ผม เพราะท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักในหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เหมือนกัน หลวงพ่อแผ่วเก่งมาก อาจารย์ผมว่ายังงั้น
    • 5. พระครูฌานาภิรัต (ฉิน) วัดชะอำคีรี จ.เพชรบุรี เสกวันที่ 15 มีนาคม 2523
    • 6. หลวงพ่อไท สุนทโร วัดบางทะลุ จ.เพชรบุรี เสกวันที่ 15 มีนาคม 2523
    • 7. พระครูมงคลธรรมสุนทร หรือหลวงปู่เส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี เสกวันที่ 18 ถึง 28 มีนาคม 2523 รวม 11 วัน ท่านองค์นี้เก่งตะกรุดโทน และของแปลกคือ พญาครุฑมหาอำนาจ เคยเอาพญาครุฑท่านไปผูกไม้จี้ใส่งู ปรากฏว่างูไม่ฉกเลย นอนเฉยเหมือนหมดแรง ท่านขลังใช่เล่น หมูทองแดงก็เป็นเครื่องรางหนึ่งที่หนุนชื่อท่านให้ลือไปไกล
    • 8. หลวงปู่แก้ว สุทโธ วัดดอยโมคคัลลาน์ จ.เชียงใหม่ อธิษฐานจิตวันที่ 2 ถึง 4 เมษายน 2523 รวม 3 วัน หลวงปู่แก้วได้รับคำชมจากหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ มากมาย โดยเฉพาะข้อที่ว่าไม่ต้องมาหาเรา ไปหาหลวงปู่แก้ว ดอยโมคคัลาน์ เหมือนเราทุกอย่าง เหมือนดังหลวงปู่แหวนว่าไม่ใช่หน้าตาก็แล้วกัน
    • 9. หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อธิษฐานจิตวันที่ 6 ถึง 11 เมษายน 2523 รวม 6 วัน หลวงปู่ดู่เป็นพระที่ผมไม่จำเป็นต้องเล่าอะไรอีก นอกจากจะบอกว่า ท่านคือสุดยอดโดยแท้ และถ้าหาพระเครื่องของท่านไม่ได้ เหรียญพระแก้วหมดห่วงไม่แพ้รุ่นใด ๆ ของท่านแน่นอน
    • 10. หลวงปู่สี พิณทสุวัณโณ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เสกวันที่ 12 เมษายน 2523 หลวงปู่เป็นลูกศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ดู่ในอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อกลั่น ธัมมโชโต วัดพระญาติการาม และเป็นพระที่ขลังสุด ๆ ขนาดคนสักยันต์อะไรก็ตามเดินผ่านหน้ากุฏิท่าน ของเหล่านั้นยังมาขึ้นที่ท่านน่าอัศจรรย์แท้ ใส่พระอะไรท่านก็รู้ได้โดยไม่ต้องเอาออกจากเสื้อ ท่านบอกว่าวิชาที่พระอาจารย์เหล่านั้นเสกจะมาปรากฏขึ้นที่จิตท่านเอง เสกให้เป็นไปทางไหนก็รู้ เสกด้วยพระคาถาอะไรก็รู้ และสวดให้ฟังได้ทันที ทั้งที่ท่านไม่เคยเรียนมาก่อน อู๊ย เก่งจนน่าขนลุก
    • 11. พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ เสกวันที่ 13 ถึง 16 เมษายน 2523 รวม 4 วัน ได้วิชาในสายวัดสุทัศน์ฯ มาประจุก็ครั้งนี้ เพราะท่านเป็นศิษย์ในสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว)
    • 12. พระมหาเมธังกร (รส) วัดหนองม่วงไข่ จ.แพร่ เสกถึงวันที่ 18 ถึง 20 เมษายน 2523 รวม 3 วัน
    • 13. ครูบาแก้ว อินทจักโก วัดเขื่อนคำลือ จ.แพร่ เสกวันที่ 22 ถึง 24 เมษายน 2523 รวม 3 วัน
    • 14. พระครูบริรักษ์ธรรมากร หรือหลวงพ่อบุญเทียม ภูริปัญโญ วัดลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เสกวันที่ 26 เมษายน 2523 ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2523 รวม 10 วัน ท่านองค์นี้เป็นสหธรรมิกกับอาจารย์ของผม หลวงพ่อบุญเทียมท่านเป็นพระที่ขลังองค์หนึ่งเหมือนกัน โดยเฉพาะตะกรุดหนังเสือ เป็นที่ยอมรับ และแสวงหากันมากในหมู่ศิษย์ ท่านเคยนั่งทางในดูบ้านให้ศิษย์คนหนึ่ง ซึ่งมาเล่าให้ท่านฟังว่า มันช่างร้อนรุ่ม อยู่ไม่ได้ มีแต่เรื่องตลอดเวลา ท่านดูแล้วเสกข้าวตอกดอกไม้ให้ สั่งว่าเอาไปโปรยให้ทั่วบนบ้าน ทิ้งไว้สักชั่วโมง คอยกวาดออก เธอคนนั้นก็ทำตาม ปรากฏว่าพื้นดินใต้ถุนบ้าน ซึ่งยกสูงเกิดปริแยกออกจากกัน แล้วตอไม้ใหญ่อันหนึ่งก็ค่อย ๆผุดขึ้นมาน่าอัศจรรย์ ไปกราบเรียนท่าน ท่านจึงว่านี่แหละอย่าปลูกเรือนคร่อมตอ มันไม่ดีอย่างนี้ โอ้ ขลังจริง ๆ
    • 15. พระครูสุวรรณศีลาจารย์ หรือหลวงพ่อทอง สุวัณโณ วัดก้อนแก้ว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เสกวันที่ 10 ถึง 14 พฤษภาคม 2523 รวม 5 วัน หลวงพ่อทองนี่เป็นสุดยอดพระภาคตะวันออกองค์หนึ่งเลย วัตถุมงคลท่านช่วยชีวิตคนแปดริ้วมากต่อมาก เรื่องอยู่มีดอยู่ปืนนี่เป็นเอกลักษณ์ในของขลังแห่งท่านไปแล้ว ตอนคุณสุธันย์ไปถวาย ท่านถามว่า เอาคืนเมื่อไร คุณสุธันย์เรียนท่านว่า นิมนต์เสกตามอัธยาศัยเลยครับ ท่านก็ให้ยกเข้าไปวางหน้าโต๊ะพระ คุณสุธันย์นำลังเล็กบรรจุพระวางลงบนพื้น หลวงพ่อท่านรีบบอกว่า ไม่ได้ ๆให้วางบนเก้าอี้สูง ๆ มิฉะนั้นตอนท่านนั่งสมาธิ ท่านจะนั่งบนอาสนะ และจะเป็นเหตุให้ท่านนั่งสูงกว่าเหรียญ ท่านใส่ใจดีจริง ๆ
    • 16. พระเทพวราลังการ หรือหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดเลยหลง อ.เมือง จ.เลย อธิษฐานจิตวันที่ 17 พฤษภาคม 2523 หลวงปู่เป็นศิษย์รุ่นใหญ่องค์หนึ่งในท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเป็นพระมหาเถระที่ทำให้ผมหายซื่อบื้อไปได้เยอะ เมื่อสมัยที่ผมยังเข้าใจว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ เป็นพระภิกษุรูปเดียวในโลกที่สามารถนั่งฟังเทศน์ และอธิษฐานจิตวัตถุมงคลได้ตลอดรุ่ง หรืออย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง ในแต่ละคราวได้อย่างมหัศจรรย์สุดแสน ทั้งนี้โดยไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนอิริยาบถเลยแม้แต่น้อย แล้ววันหนึ่งในปี พ.ศ. 2518 เมื่อวัดศรีสุทธาวาส หรือวัดเลยหลง ของท่านเองกรรมการวัดได้ขอร้องท่านทำแหรียญรุ่นแรกอย่างเป็นทางการ และจัดพุทธาภิเษกแบบยิ่งใหญ่ หลวงปู่ศรีจันทร์เป็นองค์ประธานแล้วท่านก็กระทำมหาอภินิหาร นั่นคือ นั่งบนธรรมาสน์ จับสายสิญจน์สงบจิตสู่องค์ฌาน ตั้งแต่ 6 โมงเย็นวันนี้ จนกระทั่ง 6 โมงเช้ารุ่งขึ้น รวมเวลา 12 ชั่วโมงเต็ม โดยไม่ขยับสรีระใด ๆ เลย สมาธิจิตอันแข็งแกร่งเยี่ยงนี้แหละที่ท่านได้ถ่ายทอดไว้แล้วในเหรียญหมดห่วงรุ่นนี้
    • 17. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย อธิษฐานจิตวันที่ 17 พฤษภาคม 2523 คงไม่ต้องบรรยายถึงพระอรหันต์ผู้เป็นที่เคารพยิ่งในหมู่เทวดา ขนาดหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ยังปรารภเบา ๆว่า “เทวดารักท่านชอบมาก อันที่จริงจะมากกว่าท่านพระอาจารย์มั่นด้วยซ้ำไป”
    • 18. พระครูญาณทัสสี หรือหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่นิมิตร อ.เมือง จ.เลย อธิษฐานจิตวันที่ 17 พฤษภาคม 2523 หลวงปู่คำดีเป็นศิษย์ในท่านพระอาจารย์มั่นที่มีบารมีมาก ทราบมาว่าคุณลุงคนหนึ่งบ้านอยู่ใกล้วัด เป็นศิษย์ที่นับถือหลวงปู่คำดีสุดหัวใจ ขนาดที่ว่ากระโถนบ้วนน้ำหมาก น้ำลาย และล้างมือของหลวงปู่ คุณลุงคนนี้ก่อนลากลับบ้านจะยกขึ้นดื่มกินจนหมดอย่างไม่รังเกียจ ใครๆก็พากันขนลุกกับการกระทำของแก วันหนึ่งแกถูกดักทำร้าย ทั้งมีดทั้งปืนแกกลับไม่เป็นอะไรเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่ตัวแกมิได้แขวนพระใดๆทั้งสิ้น นี่เป็นเรื่องมหัศจรรย์จริง ๆ อำนาจอย่างนี้ก็มีอยู่ในเหรียญหมดห่วงแล้วไม่ต้องสงสัย
    • 19. หลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกันตศิลาวาส จ.นครพนม อธิษฐานจิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 หลวงปู่กินรีเป็นศิษย์ในท่านพระอาจารย์มั่นอีกองค์หนึ่ง ที่เป็นพระมหานิกายนับต่อได้จากหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล และเป็นอาจารย์องค์ที่สามของหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง หลวงปู่กินรีเป็นพระที่ชอบสันโดษ มักอยู่ลำพังองค์เดียวเงียบ ๆ แต่คนตาดีก็ยังอุตส่าห์ไปหาท่าน เห็นเงียบอย่างนี้ จิตตานุภาพท่านไม่เงียบด้วยนะ เห็นกันจะๆเมื่อไฟไหม้บ้านศิษย์คนหนึ่งของท่านจนหมดสิ้น ยังเหลือแต่หน้าต่างไม้บานหนึ่งไม่ไหม้ไฟ เพราะแปะผ้ายันต์ที่ท่านเขียนไว้ให้ส่วนว่าแล้วทำไมไฟยังไหม้บ้าน บอกได้อย่างเดียว วิบากกรรมนั่นแล
    • 20. พระครูสังวรพุฒิคุณ (ทองสุข) วัดอัมพวัน จ.นครพนม อธิษฐานจิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2523
    • 21. พระครูพนมสมณกิจ หรือหลวงปู่บัว เตมิโย วัดหลักศิลามงคล จ.นครพนม อธิษฐานจิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 ท่านองค์นี้เก่งมาก ทั้งด้านวิปัสสนา และสมถที่เป็นบ่อเกิดของอภินิหารทั้งปวง วัตถุมงคลท่านก็หายากพอสมควร
    • 22. พระอาจารย์สนธิ์ เขมิโย วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม อธิษฐานจิตวันที่ 20 พฤษภาคม 2523
    • 23. พระครูสันติวรญาณ หรือหลวงป่สิม พุทธาจาโร วัดสันติสังฆาราม จ.สกลนคร อธิษฐานจิตวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 กิตติคุณในหลวงปู่สิม ผมคงไม่ต้องกล่าวอะไรอีก
    • 24. หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น อธิษฐานจิตวันที่ 22 พฤษภาคม 2523 หลวงปู่ผางเป็นศิษย์ในท่านพระอาจารย์มั่นองค์หนึ่งที่มีอภินิหารมากมายเหลือจะกล่าว ขนาดจระเข้ในวัด ท่านยังทำให้เชื่องได้ เดินเหยียบหัวมันทีละตัว ข้ามไปอีกฝั่งหนองได้สบาย ๆ เคยพบภูตผีเทวดาสิ่งลึกลับในป่ามากต่อมาก ท่านมีบารมีมิใช่น้อย วัตถุมงคลที่เป็นของท่านมีประสบการณ์อย่างโชกโชนทีเดียว ใครเก็บได้รีบเก็บเถิด แต่อย่าไปเอาเหรียญรุ่นแรกนะแพงหูดับเลยละ
    • 25. หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วัดสระแก้ว อ.เมือง จ.นครราชสีมา อธิษฐานจิตวันที่ 14 มิถุนายน 2523 ถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2523 รวม 21 วัน สำหรับหลวงพ่อพุธ พระมหาเถระที่เคยตัดต้นมะพร้าวเป็นสามท่อนด้วยอำนาจจิต คงไม่เป็นการยาก หากจะทำเหรียญตรงหน้าให้เปี่ยมพลานุภาพ และท่านยังสรรเสริญหลวงพ่อคูณด้วยว่า “ถ้าเรื่องเหนียวล่ะก็ หลวงตาคูณนี่แน่นอนนัก”
    • 27. พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนทโร) หรือหลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อธิษฐานจิตวันที่ 5 ถึง 18 กรกฎาคม 2523 รวม 14 วัน ท่านเป็นศิษย์ในท่านพระอาจารย์มั่นที่ได้สืบทอด “พระคาถาเมตตาหลวง” ต่อจากหลวงปู่ขาว อนาลโย เพียงองค์เดียว เพราะเหตุนี้สานุศิษย์จึงได้กล่าวนามท่านโดยเคารพว่า หลวงปู่เมตตาหลวง ด้วยท่านจะให้ศิษย์ทุกคนสวดพระคาถาเมตตาหลวงเป็นประจำ และพิมพ์แจกเป็นธรรมทานเสมอ ประสบการณ์ในของ ๆ ท่านก็มีไม่น้อยเลย
    • 28. พระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ดูลย์ อนุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ อธิษฐานจิตตลอดไตรมาสระหว่างเข้าพรรษา คือ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2523 รวมเวลา 3 เดือน หลวงปู่ดูลย์เป็นพระมหาเถระรุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น และแม้ท่านจะเป็นพระที่ชื่อว่าไม่มาเกิดอีกก็ตาม แต่เมื่อดำรงขันธ์อยู่นั้นท่านก็เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในวิชามหัศจรรย์อยู่ไม่น้อย และท่านเป็นพระมหาเถระรูปเดียว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงใช้น้ำพระพุทธมนต์ที่หลวงปู่ดูลย์อธิษฐานพรทูลเกล้าฯ ถวายล้างพระพักตร์ทุกวัน ที่สุดก่อนเข้าสู่นิพพาน หลวงปู่ได้ทำแผ่นเงิน 9 แผ่น จารึกอักขระขอมด้วยพระพุทธมนต์ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นวาระสุดท้าย ถวายพระพรว่า เมื่อนำลงแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ตลอดคืน น้ำนั้นจะเป็นน้ำพระพุทธมนต์มีอานุภาพดุจเดียวกับที่หลวงปู่อธิษฐานถวายทุกประการ แม้อานุภาพเช่นนั้น จะไม่ปรากฏในเหรียญนี้ด้วยเป็นของเฉพาะ แต่เชื่อเถิดว่าตลอดไตรมาสสามเดือน กำลังฤทธิ์แห่งพระอรหันตเจ้าเช่นท่านย่อมไม่ทำให้เหรียญพระแก้วมรกตนี้เป็นอธิษฐานจิตธรรมดาแน่นอน
    • 29. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก อ.เมือง จ.สุรินทร์ อธิษฐานจิตวันที่ 26 ตุลาคม 2523 ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2523 รวม 22 วัน ด้วยเวลาเกือบเดือนสำหรับพระมหาเถระที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุอย่างหลวงปู่สาม คงไม่ต้องถามว่าเหรียญพระแก้วหมดห่วงนี้ จะดีวิเศษแค่ไหน ลำพังของที่ทำไม่กี่นาทีจากหลวงปู่ยังปรากฏอภิหารให้คนวิ่งหากันจ้าละหวั่น ก็ไม่ต้องสงสัยกับ 22 วันแห่งเหรียญที่วางอยู่ข้างที่นอน
    • 30. พระโพธิญาณเถระ หรือหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อธิษฐานจิตวันที่ 18 พฤศจิกายน 2523 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2523 รวม 18 วัน รู้ ๆกันอยู่ว่า หลวงพ่อชาเป็นครูบาอาจารย์ของครูอำพลและครูอำพลก็เคยเขียนประวัติพร้อมบุญญาภินิหารในหลวงพ่อชาลง “ศักดิ์สิทธิ์” มาแล้วอย่างไม่มีที่ไหนทำมาก่อน เชื่อว่าหลายท่านอาจรู้จักหลวงพ่อดี ผมจึงขอผ่าน แนะนำสักนิดว่าถ้ากลัวกับเหรียญรุ่นแรกที่ปลอมชนิด “เซียนตาย” แขวนเหรียญนี้ไปเถิด นอกจากหลวงพ่อจะอธิษฐานพรให้ตลอด 18 ราตรีแล้ว เรายังได้พระสุปฏิปันโนรูปอื่น ๆ มาเสริมพลังให้ยิ่งๆขึ้นไป มองไม่เห็นเลยว่า ไม่คู่ควรจะแขวนกับชาวเราชาวท่านที่ตรงไหน
    • นี่ยังไม่นับถึงสุดยอดพระอย่าง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ที่เมตตาอธิษฐานจิตให้ถึง 10 ครั้ง ด้วยกันยังมีพระสุพรหมญาณเถร หรือครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ที่ตลอดการอธิษฐานจิต 3 วาระ จำทำให้คุณสุธันย์ตื่นใจไปกับนัยน์ตาที่เปลี่ยนเป็นสีฟ้าไปได้หมด ทั้งลูกตาดำ พอเป่าพ้วงลงที่ลังใส่พระ ดวงตาท่านก็คืนสภาพเป็นปรกติ
    • และหลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พระอรหันต์แห่งเขลางค์นคร ยังเมตตามนต์ให้เป็นกรณีพิเศษ ถึง 10 ครั้ง ด้วยกันอะไรจะดีอย่างนี้อีกข้อมูลจากหนังสือ“ศักดิ์สิทธ์” ฉบับ 280 วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2537


    ข้อมูลจาก บล็อคพระศักดิ์สิทธิ์
     
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2525 เหรียญพระแก้วมรกต ภปร ฉลองกรุง 200 ปี

    พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นปีที่มีงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปีอย่างยิ่งใหญ่ หนึ่งในภาระกิจหลักในวาระนั้นคือการบูรณะปฏิสังขรวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธาน และเพื่อเป็นทั้งที่ระลึก และสมนาคุณการระดมทุนบริจาคเพื่อการนี้ คณะกรรมการฯได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานจัดสร้างเหรียญพระแก้วมรกตหลัง ภปร ขึ้นเป็นการเฉพาะอย่างปราณีตบรรจงทั้งในรูปลักษณะและพระราชพิธีพุทธาภิเษก

    พระราชพิธีพุทธาภิเษกมีขึ้นในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย พระมหาเถระจำนวน ๑๐ รูป ประกอบด้วย สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศิลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมังกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ เข้านั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตในมณฑลพิธีราชวัตรฉัตรธง ประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่อไป

    โดยในเวลาเดียวกันนี้พระภาวนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วราชอาณาจักรอีก ๙๐รูป ได้ร่วมพิธีนั่งปรกเจริญภาวนาแผ่จิตตานุภาพ รวมไว้เป็นหนึ่งส่งพลังจิตตภาวนา ณ วัดที่ประจำอยู่ เป็นการรวมกระแสพลังจิตให้เป็นหนึ่งเดียวส่งไปยัง “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) มีอาทิ หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี พ่อเนื่อง วัดจุฬา มณี จ.สมุทรสงคราม หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย หลวงพ่อไพบูลย์ วัดรัตนวนาราม (อนาลโย) จ.พะเยา หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ จ.ชลบุรี ฯลฯ

    เหรียญจำนวนล้านถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของมหาชน เป็นเหตุให้คณะกรรมการต้องกราบบังคมทูลขอพระราชทานสร้างชุดที่ ๒ โดยพระราชทานพระราชวินิจฉัยโปรดฯให้เพิ่มข้อความ “พระราชศรัทธา” ไว้ใต้ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” เพื่อเป็นการจำแนกความแตกต่างระหว่างการสร้าง “ครั้งแรก” กับการสร้างใน “ครั้งที่สอง” ที่ประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกใน วันพุธที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยพระมหาเถระ ๙ รูป ดังนี้ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วีน ธัมมสาโร) วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา หลวงปู่ครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน หลวงพ่อผิว วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี พระครูถาวรชัยคุณ หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง จ.พัทลุง

    ได้เงินสมทบทุนโดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งสิ้นถึง ๒๒๐ ล้านบาทเศษ

    แม้ไม่พบหลักฐานว่าพระเดชพระคุณพระราชพรหมยานเถร(หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีพุทธาภิเษกด้วยหรือไม่ แต่การปฏิวัติรูปแบบพระราชพิธีพุทธาภิเษกที่ใช้วิธีอาราธนานิมนต์ให้พระมหาเถรานุเถระต่างอธิษฐานจิตอยู่กับวัด ส่งพลังจิตตานุภาพมาอย่างเต็มกำลังด้วยไม่ต้องทนฝืนทรมานสังขารเดินทางมาเบียดเสียด อดนอน อดข้าว อดน้ำ ทนร้อน คร่ำเครียดในเขตพิธีอันจำกัด เป็นรูปแบบที่เหล่าสานุศิษย์ของหลวงพ่อทราบกันดีว่าน่าจะมีเหตุจากพระเดชพระคุณหลวงพ่ออย่างที่สุด ประกอบกับการนำมาบอกกล่าวกับเหล่าศิษย์อย่างเฉพาะเจาะจง จึงชวนให้เชื่อว่าหลวงพ่อคงมีส่วนในงานนี้ไม่น้อย

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้กล่าวไว้ในบทความ ”ไทยไม่มีวันสิ้นชาติ” ถึงเหรียญพระแก้วมรกต ภปร นี้ว่า

    “...อาตมาเห็นว่า พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระแก้วมรกต เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าท่านพุทธบริษัทชายหญิงมีไว้บูชา อาตมาคิดว่าจะเป็นมงคลอย่างสูงทั้งนี้เพราะว่า ตราบใดที่เรายังมี "พระแก้วมรกต" บูชาอยู่ ขณะนั้นอาตมาขอยืนยันว่าประเทศไทยยังเป็นเอกราชต่อไป….”

    “...พระรูปพระโฉมหรือพระรูปเปรียบขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์คือ "พระแก้วมรกต" จัดว่าเป็นมิ่งขวัญของคนไทยมานาน บูชาไว้ รูปที่ปลุกเสกที่ทำไว้ถ้าใครมีไว้ในบ้านละก็ จงอย่าเอาออกไปไหน ติดตัวไว้เสมอๆ จะเป็นมิ่งขวัญใหญ่ ขณะใดที่เรายังรัก "พระแก้วมรกต" รักความดีของ "พระแก้วมรกต" คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถึงซึ่งความตัดความชั่วทรงความดี ทำจิตให้ผ่องใส รับรองว่าคนไทยทั้งชาติจะต้องเป็นไท และเป็นคนไทยที่มีความสุข มีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป...”

    เหรียญพระแก้วมรกต ภปร นี้ นับเป็นสุดยอดวัตถุมงคลของแผ่นดิน อันทั้งเป็นนิมิตหมายแห่งการผนึกพลัง ชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทั้งถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” อย่างไม่เป็นสองรองของดีของวิเศษอื่นใดในปฐพี

    [​IMG]

    ขอบคุณข้อมูลจาก กระดานสนทนาอินทราพงษ์
     
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    แล้วจะ update เพิ่มจนถึง ปี 2552 ล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2009
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2527 พระแก้วมรกตเนื้อผงปฐวีธาตุ

    ผู้สร้าง อ.อนันต์ สหัสดิเสวี และ อ.สุวัฒน์ พบร่มเย็น
    [​IMG]

    มวลสาร ทรายเสก 32 คณาจารย์ (หลวงปู่ชู วัดนาคปรก หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เจ้าคุณสุนทร เจ้าคุณสนิท หลวงพ่อจง เป็นต้น) ที่เหลือจากพระกริ่งปฐวีธาตุ (108 องค์ ตอนี้ราคาหลักแสนแล้ว) พร้อมกับผงหลวงปู่โต๊ะ และหลวงพ่อสด วัดปากน้ำเป็นต้น

    พิธีกรรมการปลุกเสก ไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านพิธีกรรมใหญ่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสุทัศน์ วัดราชบพิธ ไม่ต่ำกว่า 20 วาระ คณาจารย์เสกเดี่ยวไม่ต่ำกว่า 30 องค์ (เช่น สมเด็จพระญาณสังวร หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม หลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม ครูบาธรรมชัย หลวงพ่อเกษม และหลวงปู่ดู่ เป็นต้น)

    ปัจจุบันพระรุ่นนี้แทบไม่หมุนเวียนในตลาดเลย ตั้งแต่ทราบว่าเฉพาะมวลสารก็ทำให้เครื่องบดแร่ของประเทศญี่ปุ่นเสียเลยทีเดียว

    ที่มารูป เว็บพรครูบา

    ........................................................
    ในปีเดียวกันนี้แล้ว อ.เบิ้มได้ร่วมสร้างพระพิพม์นี้ในเนื้อโลหะกับ อ.สุธันย์ โดยต่างจากพระแก้ววิสุทธิพร ตรงที่การตอกโค้ต ซึ่งว่ากันว่า มวลสารจากที่เป็นชนวนเหลือจากพระแก้วมรกตหมดห่วงรุ่นแรก รวมทั้งชนวนของ อ.เบิ้ม พิธีกรรมการปลุกเสกมากกว่า 100 พิธี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2009
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    จองกระทู้ไว้ก่อน สำหรับพระแก้วมรกตกลีบบัวพิมพ์วิสุทธิพร ที่ผ่านพิธีเกือบ 200 พิธี และชนวนอลังการที่สุดของคุณสุธันย์ (ชนวนเป็นเอกสารขนาด A5 1 เล่ม) เทียบกับพระองค์ปลายนิ้วก้อยแล้ว เข้มข้นมากๆ มีให้บูชา 2 องค์ โปรดติดต่อ PM จะนำเงินไปต่อบุญถวายหลวงปู่หลวงพ่อที่ปลุกเสกพระให้
     
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2529 พระแก้วมรกตพิมพ์กลีบบัวแดง

    เป็นพระที่คุณสุธันย์ สุนทรเสวี สสจ.สมุทรสงคราม จัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2529
    ขนาดองค์พระ 2.0 x 2.8 ซม.
    <SUP></SUP>
    <SUP>พระแก้วมรกต พิมพ์กลีบบัวนี้ สถาปนาขึ้นจากผงพระพุทธคุณสำคัญ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากทั่วประเทศ เช่น</SUP><SUP>-</SUP><SUP>ผงที่เหลือจากการสร้างพระนางพญา สก. และนางพญาอุณาโลม</SUP> <SUP>วัดบวรนิเวศ ปี พ.ศ.</SUP><SUP>2519 </SUP><SUP>ซึ่งมวลสารหลักเป็นกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ</SUP> <SUP>วัดบวรนิเวศซึ่งกำลังดำเนินการปฏิสังขรณ์อยู่ในปีดังกล่าว </SUP><SUP>โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งขณะเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลที่วัดบวรนิเวศ ได้ทอดพระเนตรเห็นกองกระเบื้องซึ่งช่างได้ทำการรื้อจากหลังคาพระอุโบสถเพื่อทำการเปลี่ยน โดยมีพระราชดำริว่า กระเบื้องหลังคาพระอุโบสถนี้น่าจะนำมาทำให้เกิดประโยชน์โดยนำมาบดสร้างพระพิมพ์</SUP><SUP> </SUP><SUP>เพื่อตอบแทนแก่ผู้ที่บริจาคเงินเพื่อบูรณะพระอาราม</SUP> <SUP>ด้วยเหตุผลที่ว่ากระเบื้องหลังคาพระอุโบสถนี้ย่อมต้องได้รับ </SUP><SUP>“</SUP><SUP>พลังบริสุทธิ์</SUP><SUP>” </SUP><SUP>จากการสวดมนต์ทำวัตรของพระภิกษุเป็นประจำ หากเอ่ยชื่อพระมหาเถระที่ได้บำเพ็ญสมณกิจที่พระอารามแห่งนี้แล้วย่อมทำให้เห็นว่ากระเบื้องมวลสารนี้ย่อมต้องไม่ธรรมดาทีเดียว เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์</SUP><SUP> , </SUP><SUP>สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส และ สมเด็จสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ </SUP><SUP></SUP><SUP>อีกทั้งในยามที่มีพิธีมหาพุทธภิเษกย่อมต้องอาราธนาพระเถรานุเถระที่สำคัญมาเจริญพระพุทธมนต์ที่พระอุโบสถนี้ด้วยเช่นกัน</SUP> <SUP>โดยนัยแห่งความเป็นมงคลนี้ จึงได้มีการบดกระเบื้องดังกล่าวเพื่อมาประกอบเป็นมวลสารสำคัญในการสร้างพระนางพญา ส.ก. และพระนางพญาอุณาโลมในกาลนี้</SUP> <SUP>โดยมวลสารที่เหลือได้นำมาผสมสร้างพระแก้วมรกตเนื้อผงพิมพ์กลีบบัวนี้ด้วย</SUP> <SUP>เป็นเหตุให้พระพิมพ์นี้เมื่อเสร็จสิ้นเป็นองค์พระที่สมบูรณ์จึงมีลักษณะสีโทนแดงตามสีของกระเบื้องที่นำมาบดผสมนั้นแล</SUP><SUP> </SUP><SUP>ไม่ได้เกิดจากสีสังเคราะห์ที่ผมลงไปแต่อย่างใด</SUP>
    <SUP>-</SUP><SUP>มวลสารสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับองค์พระแก้วมรกตมาผสมอีกด้วย </SUP><SUP>เช่น</SUP> <SUP>ผงชันเพชรจากองค์มหาบุษบกทองคำที่ประทับองค์พระแก้วมรกต ผงกระเบื้อง โมเสส</SUP> <SUP>กระจก ปูน ของพระอุโบสถ และพระเจดีย์องค์สำคัญในบริเวณวัดพระแก้วที่ได้มาเมื่อคราว</SUP> <SUP>บูรณะใหญ่ตอนฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ </SUP><SUP>200 </SUP><SUP>ปี</SUP>
    <SUP></SUP><SUP>-</SUP><SUP>นอกจากผงสำคัญที่กล่าวไว้ในข้างต้นเป็นส่วนผสมหลักของพระแก้วรุ่นนี้ราว </SUP><SUP>70 </SUP><SUP>เปอร์เซ็นต์แล้ว</SUP> <SUP>ผู้สร้างยังได้นำผงพุทธคุณที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในสายกรรมฐาน</SUP><SUP>อีกหลายองค์ราว </SUP><SUP>30 </SUP><SUP>เปอร์เซ็นต์มาผสมรวมกันเพื่อสถาปนาขึ้นเป็นพระแก้วรุ่นนี้ได้ประมาณ</SUP> <SUP>1,300 </SUP><SUP>องค์ โดยเริ่มทำการสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.</SUP><SUP>2529 </SUP><SUP>ก่อนจะนำออกให้บูชากันในปี พ.ศ.</SUP><SUP>2530</SUP>
    [​IMG]
    การปลุกเสก 1.หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา โดยหลวงปู่ดู่ได้อธิษฐานจิตให้เป็นพิเศษในวันเกิดของท่าน ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา ( 11 พฤษภาคม 2530 ) พร้อมกับเหรียญพระแก้วมรกตนิราศภัย ในขณะปลุกเสกและอธิษฐานจิตท่านได้กล่าวว่า ได้อัญเชิญพุทธบารมีขององค์พระแก้วมรกตมาบรรจุให้ และอัญเชิญพระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ทั้งแสนโกฏิจักรวาลมาร่วมปลุกเสก พระแก้วมรกตนี้คุ้มครองได้ทั้ง 3 โลก
    2.หลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง โดยหลวงปู่ได้เมตตามนต์ให้ ณ โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2530 โดยท่านได้เมตตามนต์ให้เป็นการเจาะจง โดยท่านได้สั่งให้เปิดกล่องเหรียญออกและได้มอบพวงมาลัยดอกมะลิมาบูชาพระแก้วมรกตทั้งเหรียญและพระผงนี้ด้วย
    3.หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรีฯลฯ
    จัดได้ว่าเป้นพระเครื่องดีอีกรุ่นหนึ่งที่หลวงปู่ออกปากการันตีด้วยตนเอง ( นอกเหนือไปจากเหรียญและพระผงดวงยันต์ดวง พระเหนือพรหม พระขุนแผน และเหรียญเศรษฐี ) ใครมีไว้เสมือนหนึ่งมีพระแก้วมรกตองค์จริงติดตัวเพราะหลวงปู่ดู่ได้ขออัญเชิญพระพุทธบารมีจากองค์จริงมาเต็มๆ

    ที่มา เว็บพุทธานุภาพ
     
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2532 พระแก้วมรกตพิมพ์สี่เหลี่ยม เนื้อแดง

    [​IMG]

    พระเครื่องรุ่นนี้คือ สมเด็จพระแก้วมรกต หลังเรียบครับ ผู้สร้างคือ อ.สุวัฒน์ พบร่มเย็น หรือ อ.เบิ้ม ครับ โดยสร้างทั้งหมดประมาณ 530 องค์ วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อนำไปแจกเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพของเพื่อนท่านหนึ่ง จึงได้ดำริจัดสร้างวัตถุมงคลนี้ขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้มาร่วมงาน



    มวลสารสำคัญที่ประกอบขึ้นเป็นองค์พระ ประกอบด้วย

    ๑. ผงพระแตกหักของพระชุดแช่น้ำมนต์รุ่นแรกของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

    ๒. ผงสำเร็จ หรือผงวัดวิเวก ซึ่งผ่านการอธิษฐานจิตจากพระภิกษุพระยานรรัตน์ราชมานิต (ท่านเจ้าคุณนรฯ) วัดเทพศิรินทร์ นานถึง ๑ พรรษา

    ๓. ผงพระแตกหักพระสมเด็จรุ่น ๓ และ ๔ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    ๔. ผงทรายเสกและผงพุทธคุณ (รวมถึงผงพระจิตรลดา ที่ได้รับประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ) ที่เหลือจากการสร้างพระกริ่งปฐวีธาตุ ปี ๒๕๒๗

    ๕. ผง ๑๒ คัมภีร์ รวมถึงผงสุริยประภา และผงจันทรประภา ที่ผ่านการลบจากท่าน อ.รอด สุขเจริญ ศิษย์ในองค์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท (อ.รอด สุขเจริญ นี้แม้แต่หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ยังให้ความนับถืออย่างมาก)
    จำนวนสร้างทั้งหมดประมาณ 530 องค์
    การปลุกเสก
    1. หลวงปู่ดู่ อธิษฐานเชิญบารมีพระแก้วมรกต ท่านยังกล่าวว่าใครไม่เชื่อก็นั่งตามข้ามาตอนนี้พระแก้วลอยอยู่เต็มฟ้าเลย อธิษฐานก่อนมรณภาพ 7 วัน
    2. หลวงปู่สิม อธิษฐานให้แบบตั้งใจโดยท่านเอามือโกยพระแล้วอธิษฐานนานเป็นพิเศษ

    รุ่นนี้มีองค์อธิษฐานเพียง 2 องค์ครับ

    ที่มารูปและข้อมูลบางส่วน คุณUltrachai เว็บบอร์ดพรครูบา
     
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2525 พระแก้วมรกตจัดสร้างโดยธนาคารกรุงไทย

    เหรียญพระแก้วมรกต ๓ ฤดู ของธนาคารกรุงไทย สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในพิธีเปิดที่ทำการสำนักงานใหญ่ เมื่อ 26 พ.ย. 2525
    พิธีการสร้าง ส่ง แผ่นเงินและแผ่นทอง ถวายสมเด้จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะ ลงอักขระมงคลร้อยแปดและบริกรรมแผ่เมตตาบารมี
    ส่งแผ่นทองแดง ให้กับสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำไปให้พระภิกษุสงฆ์ที่ทรงคุณวุฒิ มีพุทธคุณสูงเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ลงอักขระมงคลร้อยแปดและปลุเสกแผ่นวัตถุมงคล
    พระเกจิอาจารย์ที่ลงแผ่นวัตถุมงคลทั่วประเทศรวม 359 รูป จำนวนแผ่นวัตถุมงคลรวม 456 แผ่น พิธีมหาพุทธาภิเษก ประกอบขึ้นเมื่อ 2 พ.ย. 2525
    ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธาน โดยมีรายนามพระคณาจารย์เข้าร่วมพิธีปลุกเสก ดังนี้ สมเด็จพระญาณสังวร พระราชญาณดิลก วัดเขาเต่า
    หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน หลวงพ่ออุตตมะ พระปัญญาภิมณฑ์มุนี กรุงเทพ หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศน์ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    หลวงพ่อเปลื้อง วัดใหญ่ชัยมงคล หลวงพ่อปกาศิตบุญเย็น ฐานธมฺโม หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม หลวงปู่สิม สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พระเทพกวี หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
    พระครูประสาทธรรมจักร พิษณุโลก หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส พระครูประดิษฐ-นวการ(หลวงพ่อบุญ) ราชบุรี หลวงพ่อเพิ่ม วัดสรรเพชญ์ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะ
    พระมหาศิริพงศ์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ และคณะผู้สร้างยังได้นำวัตถุมงคลทั้งหมดไปให้หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อธิษฐานจิตปลุกเสกให้ด้วย
    [​IMG]
     
  14. Na_mo_

    Na_mo_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +4,750
    ขอบคุณที่ นำเรื่องดีๆ มาแนะนำครับ

    จะติดตามครับผม ถ้ามีโอกาศจะนำ ที่มีมาลงบ้างครับ
     
  15. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2536 พระแก้วรัตนาภรณ์

    พระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ในเมืองไทยจริงๆ ก็มีอยู่หลาบองค์ แต่ที่มีคนนิยมสร้างขึ้นเพื่อไว้สักการะบูชากันมากก็เห้นจะไม่มีใดเกินไปกว่า พระแก้วมรกต พระพุทธชินราช และหลวงพ่อโสธรเป็นแน่แท้ โดยเฉพาะองค์พระแก้วมรกตด้วยแล้ว มีพระบรมสารีริกธาตุเสด็จเข้าไปประทับอยุ่ในองค์พระถึง 7 พระองค์ด้วยกัน และยังมีเทพมเหศักดิ์ผู้ทรงฤทธิ์เฝ้าดูแลรักษา จึงถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเลยทีเดียว

    วัตถุมงคลที่สร้างเป็นรุปพระแก้วมรกตนั้นมีอยุ่มากมาย แต่ที่เห็นจะเด่นชัดก็คือในคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พ.ศ. 2475 ที่ได้มีการจัดสร้างเหรียญพระแก้วมรกตเป็นที่ระลึก ซึ่งมีทั้งบล๊อคในและบล๊อคนอก โดยกระทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ( วัดพระแก้ว ) โดยมีพระคณาจารย์ที่ถือได้ว่าเป็นชั้นแนวหน้าในสมัยนั้นเข้าร่วมกระทำพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งทุกวันนี้เหรียญดังกล่าวก็หาได้ยาก ใครมีไว้ต่างก้หวงแหน และของปลอมก็มีมาเนิ่นนานแล้วด้วย

    สำหรับผู้ที่พลาดหวังจากเหรียญพระแก้วดังกล่าว ก็ยังไม่สิ้นหวังทีเดียวนักสำหรับผู้ทีต้องการได้วัตถุมงคลอันเป็นรูปลักษณาการแห่งองค์พระแก้วมรกตที่ผ่านพิธีอย่างดีและมีมวลสารอันเกี่ยวเนื่องด้วยองค์พระแก้วมรกตโดยตรง เสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์ท่านเลยทีเดียว

    พระแก้วดังกล่าวคือ พระแก้วรัตนาภรณ์

    พระแก้วรัตนาภรณ์ เป็นพระเครื่องที่คุณสุธันย์ สุนทรเสวีได้จัดสร้างขึ้นด้วยเจตนาดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทุนสร้างเขื่อนดินกันน้ำเซาะตลิ่งพัง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายกับตัวอาคารของสถานีอนามัยปากสมุทร ที่คุณสุธันย์ดูแลรับผิดชอบอยู่ได้ เพราะตัวสถานีอนามัยอยู่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง และยังเพื่อจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยด้านการรักษาพยาบาล

    อันตัวคุณสุธันย์นั้นเป็นผู้ที่พิถีพิถันในเรื่องการสร้างพระมาก เห็นจะเป็นด้วยถูกปลุกฝังมาแต่เด็ก เนื่องจากสมัยก่อนนั้นบิดาของคุณสุธันย์ก็ชอบสร้างพระถวายครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่นกัน และได้เก็บรวบรวมมวลสารสำคัญๆ ต่างๆ และผงของครูบาอาจารย์ต่างๆ ไว้มาก จนมาถึงยุคของคุณสุธันย์ก็ได้เจริญรอยตามบิดา อีกทั้งอาศัยอยู่ในแวดวงสาธารณสุข ซึ่งก้มีบุคลากรกระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงได้ขอความร่วมมือจากพรรคพวกในแวดวงสาธารณสุขให้ช่วยกันรวบรวมมวลสารสำคัญๆ ทั้งจากสถานที่สำคัญและครุบาอาจารย์ต่างๆ ในแต่ละจังหวัด ดังนั้นในเรื่องของมวลสารแล้วขึ้นชื่อว่ามือคุณสุธันย์แล้วเป็นอันเชื่อใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคราวที่บูรณะวัดพระแก้ว ได้มีเศษกระเบื้อง ผงชันเพชรจากองค์บุษบกที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่กองๆ ทิ้งไว้โดยไม่รู้ค่า ก็ได้ถูกผู้มองเห็นการณ์ไกลว่าของเหล่านี้เป็นของที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกมานับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึงป่านนี้ ขนาดเศษกระจกสีแผ่นเล็กๆ ที่หลุดออกมาแล้วเจอชาวต่างชาติที่รู้ไม่ถึงการณ์เก็บติดตัวนำกลับไปประเทศของตน ก็ยังโดนตามทวงซะจนต้องส่งคืนมา ก็เป็นเครื่องยืนยันการันตีได้ว่าของเหล่านี้แม้จะเป็นแค่เศษอิฐหรือเศษปูนที่กระเทาะออกมาต่างก็ถือได้ว่าเป้นของดีทั้งนั้น มีเทวดาเฝ้ารักษา ซึ่งมวลสารดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาบดผสมเป้นมวลสารหลักขององค์พระที่สถาปนาขึ้น

    พระแก้วรัตนาภรณ์ เป็น 1 ในชุดพระผงของขวัญพิมพ์พระแก้วมรกตทึ่คุณสุธันย์ สุนทรเสวี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2536 โดยมีขนาดกว้าง 1.6 ซม. สูง 2.3 ซม. ขนาดเท่าๆ กับพระของขวัญวัดปากน้ำ ด้านหน้าแกะพิมพ์เป็นรูปพระแก้วมรกตมีพระฉัพพรรรณรังษีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายโดยรอบ ด้านหลัง เป็นมณฑปพระพุทธบาท 4 รอย ประทับอุณาโลมอยู่ข้างใน เนื้อหาวรรณะออกไปทางโทนสีขาวซึ่งมีมวลสารหลักเป็นผงจิตรลดา ผสมกับผงจากครูบาอาจารย์ต่างๆ ทั่วประเทศ

    เมื่อสถาปนาเป้นองค์พระเรียบร้อยแล้ว ทางผู้สร้างก้ได้นำพระแก้วดังกล่าวเข้าพิธีพุทธาภิเษกหลายครั้ง หลายวาระ ทั้งพิธีที่วัดพระแก้ว วัดบวรนิเวศ วัดสุทัศน์ ฯลฯ หลังจากนั้นยังได้นำไปกราบขอความเมตตาจากครุบาอาจารย์ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์และปริสุทธิจิตอธิษฐานจิตเพิ่มเติมโดย

    1.หลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง [SIZE=+0]([/SIZE] พระใจเพชร ตามคำกล่าวของหลวงปุ่ดู่ เพราะวัตรปฏิบัติอันอุกฤษฏ์ของท่าน ยากจะหาผู้ที่มีสมาธิจิตและความเด็ดเดี่ยวเเน่วแน่แห่งดวงจิตเช่นท่านได้ ) ซึ่งแม้แต่พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงของพวกเราชนชาวไทยทั้งหลายก็ยังเคยเสด็จพระราชดำเนินไปกราบนมัสการท่านเมื่อปี 2521 และmi'ยอมรับนับถือท่านเป็นพะรอาจารย์ ดังมีเรื่องเล่าว่า

    เมื่อครั้งที่หลวงปู่เกษม เขมโก อาพาธเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์ลำปางนั้น วาระหนึ่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ
    พระราชดำเนินเป้นการส่วนพระองค์ เพื่อทรงเยี่ยมหลวงปู่เป้นการเฉพาะ

    ตอนหนึ่งของการสนทนาทรงตรัสว่า " หลวงพ่อเก่งวาโยกสิณ "
    หลวงปู่ถามกลับว่า " มหาบพิตรตรัสว่าอย่างไรนะ "
    ในหลวงก็รับสั่งย้ำว่า " หลวงพ่อเก่งวาโยกสิณ "

    หลวงปู่เกษมจึงถามว่าเพราะอะไรจึงตรัสเช่นนั้น ในหลวงก็รับสั่งเล่าให้ฟังว่า

    เมื่อครั้งที่ทรงเรือใบ " มด "
    แข่งขันที่สัตหีบ เรือใบของพระองค์ถูกคลื่นลมซัดพาออกนอกเส้นทางไปไกลในทะเล จะทรงเพียรหันเรือ
    กลับอย่างไรก็ไม่เป้นผล ขณะที่ห่างฝั่งออกไปเรื่อยๆ นั้น ก็ทรงตั้งพระทัยระลึกถึงหลวงพ่อเกษม
    ทันใดน้นก็ทรงทอดพระเนตรเห็นหลวงพอ่เกษมปรากฏกายยืนอยู่ในอากาศ จากนั้นกระแสลมก้เปลี่ยนทิศทางทันที พัดพาเรือใบเข้าสุ่ฝั่ง
    อย่างรวดเร็ว และสามารถเอาชนะคนอื่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    สมัยหนึ่งเมื่อหลวงปู่ดู่ วัดสะแกยังทรงสังขารอยู่ได้เคยใศษยืที่ปฏิบัติได้ดีจนมี " ตาใน " หลายคนช่วยกันดูว่า
    " พวกแกลองดูทีซิว่า มีพระรูปไหนอยู่กับในหลวงบ้าง "
    ศิษย์ท่านหนึ่งก้เข้าที่ตามหลวงปุ่สั่ง พักหนึ่งก็ลืมตาแล้วตอบว่า " หลวงพ่อเกษมครับ "
    หลวงปู่ยิ้มแล้วว่า " นั่นองค์หนึ่งล่ะ มีใครอีก "
    ศิษย์อีกคนก้ตอบทันที " หลวงพ่อนั่นแหละครับ "
    ท่านมองหน้าแล้วก้ถามว่า " ทำไมแกจึงว่าอย่างนั้น "
    ศิษย์จอมซนอธิบายว่า " อ้าว ก็หลวงพ่อรู้ได้ว่ามีองค์นั้น องค์นี้อยู่กับในหลวง แสดงว่าหลวงพ่อก็ต้องไปมาด้วยน่ะสิ
    ไม่อย่างนั้ยนจะรู้ได้อย่างไร "
    เมื่อเข้าเนื้อ จึงโบกมือให้ยุติเรื่องทันที


    2.ลป.ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เลย หลวงปุ่ชอบนี้เป้นพระที่เทวดารักมาก และอัฐิธาตุก็ได้แปรเป็นพรธาตุแสดงให้เห็นถึงคุณธรรมของท่านเป็นอย่างดี
    3.พระครูเกษมธรรมนันนท์ ( แช่ม ) วัดดอนยายหอม นครปฐม ท่านสำเร็จกสิณไฟตั้งแต่เริ่มบวชใหม่ๆ จนหลวงพ่อเงินยังวต้องปรามท่านเ เพราะเกรงว่าไฟจะไหม้กุฏิ เคยมีพิธีพุทธาภิเษกอยุ่ครั้งหนึ่งที่วัดบวรนิเวศน์ บาตรน้ำมนต์ที่อยู่ตรงหน้าท่านได้เกิดหมุนวนเป้นที่น่าอัศจรรย์ แสดงให้เห้นถึงจิตตานุภาพของท่าน
    4.พระครูสุตพลวิจิตร ( คร่ำ ) วัดวังหว้า ระยอง เจ้าตำรับยันต์พัดโบก ( ยันต์แม่ทัพ ) อันลือลั่น ในสมัยนั้นท่านดังมากจริงๆ
    5.พระครูอินทคณานุสิชฌ์ ( เจ๊ก ) วัดระนาม สิงห์บุรี ท่านเป็นผู้หนึ่งที่สืบทอดวิชาอาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลายคนจะรู้จักท่านแต่เพียงอาคมขลัง สมาธิแก่กล้า แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าท่านเป็นพระอริยบุคคล
    6.พระครูฐาปนกิจสุนทร ( เปิ่น ) วัดบางพระ นครปฐม สุดยอดแห่งความคงกระพัน โดยเฉพาะยันต์เสือเผ่น
    7.พระครูสุจิณธรรมวิมล ( ม่น ) วัดเนินตามาก ชลบุรี เป็นพระอริยบุคคลที่กระแสจิตเย็นยิ่งรูปหนึ่ง ขนาดมีผุ้ทรงคุณท่านหนึ่งกล่าวว่า กระแสจิตของลป.ม่นนี้เกือบใกล้เคียงกับท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เลยทีเดียว
    8.หระครูนิมมานการโสภณ ( สร้อย ) วัดมงคลคีรีเขตร์ ตาก เทพเจ้าของชาวกะเหรี่ยงและพม่า ชานหมากของท่านเป้นที่เลื่องลือนัก
    9.พระราชสังวรญาณ ( พุธ ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา พระอริยเจ้าผู้ทรงญาณ มีเจโตปริญาณที่แจ่มใสมาก เมื่อมรณภาพแล้วอัฐิท่านก้แปรเป็นพระธาตุให้เห้นเป็นที่อัศจรรย์เช่นเดียวกัน

    พระชุดนี้แทบจะไม่ค่อยพบตามสนามพระส่วนใหญ่เลย ซึ่งส่วนที่นำออกมาให้บูชานี้ได้รับมาจากผู้จัดสร้างโดยตรง ซึ่งเมื่อได้รับมาแล้วก็ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกพระของหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต หนองคาย อีกหลายวาระ นอกจากนั้นยังได้กราบขอความเมตตาจากพระป่าสายพระอาจารย์มั่นอธิษฐานจิตเพิ่มเติมให้อีกดังนี้ เช่น

    1.หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต หนองคาย แม้สรีระของท่านจะยังไม่ได้ประชุมเพลิง แต่เศษหลังที่ลอกจากริมฝีปากที่แตกของท่านตอนหน้าหนาว กับเกศาก็ได้แปรเป็นพระธาตุเป็นที่อัศจรรย์
    2.หลวงปุ่พวง สุวีโร วัดป่าปูลู อุดรธานี ( เหรียญรุ่นแรกของท่านมีประสบการณ์มาก ศพที่มีหรียญท่านติดตัวอยู่เผาไม่ไหม้ จนสัปเหร่อเอะใจ มาเขี่ยศพดูก็เห็นเหรียญอยู่ที่คอ พอเขี่ยเหรียญออกเท่านั้น พระเพลิงก้ทำหน้าที่ของท่านได้ตามปกติ อีกครั้งตอนที่ตำรวจโรงพักหนองแขมยกกำลังกันไปล้อมจับบังรอน หนึ่งในนายตำรวจที่ไปในวันนั้นเจอโดนระเบิดปาเข้าใส่ ปรากฏว่าระเบิดตกใส่หลังคารถปิคอัพที่นายตำรวจคนนั้นหมอบหลบอยู่แล้วกระดอนกลับไปหาตัวคนขว้างเป้นที่น่าอัศจรรย์ รุ่งขึ้นอีกวันตำรวจทั้งโรงพักต่างก็แห่กันมาเอาเสื้อยืดคอกลมสีขาวมาฝากให้ท่านลงยันต์ให้ ) ตอนมรณภาพท่านได้นั่งเข้าสมาธิมรณภาพสมดังคำกล่าวที่ท่านเคยบอกไว้สมัยที่ท่านยังดำรงสังขารดีอยู่ว่า

    " ถ้าเป็นเรา เราจะเข้าสมาธิถอดจิตทิ้งกายไปเลย "

    3.หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อุดรธานี ท่านมีจริตแบบหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี คือไม่ค่อยชอบเรื่องการให้สร้างพระเครื่องนักแต่ท่านก็อนุโลมอธิษฐานจิตให้ พระเครื่องของท่านมีน้อยรุ่นมาก
    4.หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดป่าอภัยวัน เลย
    5.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง
    6.หลวงปู่บุญพิน วัดป่าผาเทพนิมิต สกลนคร
    7.หลวงปู่บุญมา วัดป่าสีห์พนม สกลนคร
    8.หลวงเตี่ยสุรเสียง วัดป่าเลิงจาน มหาสารคาม
    9.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น
    10.หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม สกลนคร

    ฯลฯ

    นอกจากนี้ยังได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติมอีกหลายวาระ ถือได้ว่าเป็นพระชุดเล็กที่น่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับพระใหม่ในขณะนี้
    [​IMG]
    [​IMG]


    ขอบคุณข้อมูล เว็บพุทธานุภาพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2536 พระแก้ววิสุทธิพร

    [​IMG]
    พระวิสุทธิพร (พรของผู้บริสุทธิ์)



    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อเป็นพุทธานุสสติ หนึ่งในกัมมัฏฐาน 40 กอง

    ตามพระพุทธฎีกา และเป็นมหากุศลสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา



    2.เพื่อเป็นของขวัญสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อร่วมจัดตั้งกองทุนพัฒนาสถานีอนามัย จ.สมุทรสงคราม



    พุทธลักษณะ

    ด้านหน้าเป็นรูป พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

    ทรงเครื่องฤดูร้อน ด้านหลังเรียบ ตอกโค้ดรูปดอกบัว

    ขนาดกว้าง 0.90 ซ.ม. สูง 1.30 ซ.ม.



    จำนวนการสร้าง

    เนื้อเงิน 700 องค์

    เนื้อนวโลหะ 1,337 องค์

    เนื้อทองแดง 500 องค์

    รวม 2,537 องค์
    การดำเนินการสร้าง

    พระวิสุทธิพรนี้สร้างขึ้นจากทองชนวนพระกริ่งพิธีสำคัญของสำนักวัดสุทัศน์เทพวรารามหลายวาระ

    ทองชนวนพระกริ่งที่มีชื่อเสียงอีกหลายสำนัก

    และโลหะบริสุทธิ์ 9 ชนิด ตามตำราการสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ของสำนักวัดป่าแก้ว พระนครศรีอยุธยา

    รวมทั้งแผ่นยันต์ของพระเถราจารย์เจ้า ทุกภาคทั่วประเทศ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นองค์พระ



    การบรรจุอิทธิ-พุทธานุภาพ

    พระวิสุทธิพรนี้ได้ผ่านการบรรจุอิทธิ-พุทธานุภาพ

    เป็นขั้นตอนดังนี้

    มหาพุทธาภิเษก

    1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พิธีพระนางพญา ส.ก.

    2. วัดบวรนิเวศน์วิหาร พิธีพระกริ่งโภคทรัพย์

    3. วัดบวรนิเวศน์วิหาร พิธีพระพุทธชินราช ญสส.

    4. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พิธีมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

    5. วัดบวรนิเวศน์วิหาร พิธี 100 ปี ร.ร.วัดบวรนิเวศน์

    การปลุกเสก และอธิษฐานจิตเดี่ยว

    คณะผู้จัดสร้างได้นำพระวิสุทธิพรนี้ไปขอความเมตตาจากพระอริยะเจ้าที่บริบูรณ์ด้วยวิชชาและวิมุตติ

    เพื่อเจริญบริกรรมภาวนาและอธิษฐานจิต บรรจุพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

    และอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ตามอัธยาศัย ดังต่อไปนี้

    1. หลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ รวม 5 วาระ

    2. พระราชนิโรธรังสี (เทศก์) วัดหินหมากเป้ง

    3. หลวงปู่น้อย จิตตคุตโต วัดภูกำพร้า มุกดาหาร รวม 3 วาระ

    4. พระครูจันทสมานคุณ (หล้า) วัดป่าตึง เชียงใหม่

    5. พระญาณสิทธาจารย์ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ รวม 3 วาระ

    (ในพิธีล็อกเก็ตพุทธาจาโร)

    6. พระสุธรรมคณาจารย์ (เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย

    7. พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม

    8. สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ) วัดบวรนิเวศน์วิหาร รวม 4 วาระ

    9. พระราชอุดมสังวร (ศรี) วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด รวม 2 วาระ

    10. พระเทพสิงหบุราจารย์ (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

    11. หลวงปู่พรหมา เขมจาโร สำนักสงฆ์สวนหินแก้ว อุบลราชธานี

    12. พระครูนิมมานการโสภณ (สร้อย) วัดมงคลคีรีเขต ตาก

    13. พระครูปราสาทพรหมคุณ (หงษ์) วัดเพชรบุรี สุรินทร์

    14. พระสุนทรธรรมากร (คำพันธ์) วัดธาตุมหาชัย นครพนม

    15. พระนิมมานโกวิท (ทองดำ) วัดท่าทอง อุตรดิตถ์ รวม 2 วาระ

    16. พระธรรมวราลังการ (ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส เลย



    รวมทั้งสิ้น 16 องค์ โดยใช้เวลาตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2535 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2536

    โดยเรียงตามลำดับข้างต้น

    หมายเหตุ : สำหรับเหรียญเนื้อเงิน ใช้ชนวนจากแผ่นพระยันต์เนื้อเงินที่ผ่านการลงอักขระและปลุกเสกจากพระเถราจารย์เจ้าทั่วประเทศ
     
  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2538 พระแก้วมรกตทรง 3 ฤดู พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  18. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2538 พระแก้วรัตนฤทธิ์

    [​IMG]
    พระผงของขวัญ พระแก้วมรกตรัตนฤทธิ์ เป็นพระพิมพ์ของขวัญ สี่เหลี่ยม ขนาด กว้าง 1.9 ซม. ยาว 2.3 ซม. มวลสารประกอบไปด้วย
    ผงชันเพชรจากองค์มหาบุษบกที่ประทับพระแก้วมรกต
    ผงกระเบื้องหลังคา ผงโมเสส และกระจกหน้าบันพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    พวงมาลัย ดอกไม้ และธูปจากที่บูชาพระแก้วมรกต หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    น้ำพระสุคนธสาคร ที่ใช้สรงพระแก้วมรกต ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดู
    ผงพระสมเด็จจิตรลดา
    ผงดินสังเวชนียสถานสำคัญ
    ผง่วานมงคล
    ผงปฐวีธาตุ และทรายเสก
    เส้นเกษา พระเกจิอาจารย์ 108 ท่าน
    พลอยเสก โดย พระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ เช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงพ่อเกษม หลวงปู่ดู่ หลวงปู่บุดดา หลวงปู่สิม เป็นต้น
    พิธีปลุกเสก ในวัดพระแก้ว
    พิธีเหรียญพระพุทธรูปเขาชีจันทร์ ชลบุรี 2538
    พิธีพระแก้วกรมทหารราบที่ 7 ร้อยเอ็ด
    พิธีพระพุทธนวราชบพิตร
    พิธีพีบรมรูป ร.9 วัดศรีสุดาราม
    พิธีปลุกเสก ในวัดสุทัศน์
    พิธีพระพุทธชินราชย้อนยุค
    พิธีพระกริ่ง ทรัพย์เพิ่มพูน
    การปลุกเสกเดี่ยว
    หลวงพ่ออุตตมะ
    หลวงพ่อแพ
    หลวงพ่อแร่ วัดเชิดสำราญ ชลบุรี
    หลวงปู่ม่น
    หลวงพ่อ คง วัดตะคร้อ
    หลวงพ่อนนท์ วัดเหนือวน
    หลวงพ่อพัฒน์ วัดแสนเกษม
    หลวงพ่อชม วัดนางใน
    หลวงพ่อเจริญ วัดธัญญวารี
    หลวงพ่อหรุ่ม วัดบางจัก
    หลวงพ่อทองเบิ้ม วัดวังยาว
    หลวงพ่อชอบ วัดเขารังเสือ
    หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม
    หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    หลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง
    ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง
    หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร

    ขอบคุณที่มารูปของคุณsomsakk
     
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ปี 2540 พระแก้วมรกตหมดห่วงรุ่น 2

    [​IMG]
    [​IMG]
    ที่มารูป เว็บยูอมูเล็ท (คุณสุวัฒน์)

    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า
    การถวายนาม
    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า
    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อเป็นพุทธานุสสติหนึ่งในกรรมฐาน 40 กอง ตามพุทธฎีกา และเป็นมหากุศลสืบต่ออายุพระศาสนาต่อไปในอนาคต
    2. เพื่อต้องการสร้างเหรียญพระแก้วมรกตที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยพิธีกรรมแต่โบราณ
    พุทธลักษณะ
    เป็นเหรียญกลม ไม่มีห่วง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3 ซ.ม.ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระแก้วมรกต ทรงเครื่องฤดูฝนประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์บัว 2 ชั้น อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วและรายล้อมด้วยดอกไม้ โดยเลียนแบบจากรูปลักษณ์จากเหรียญพระแก้ว มรกต รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี
    ด้านหลัง เป็นยันต์มหาจักร ซึ่งผูกจากพระคาถาจักรแก้วพระพุทธเจ้า
    “ อิติปิโสภควา เอกจกกํ มารเปตวา พุทธจกโก เวหาสคนตวา”
    หมุนออกจากแกนกลางวนแบบทักษิณาวัตร (หมุนวนขวามือ)
    พิธีกรรมการจัดสร้าง ได้ยึดรูปแบบที่พระโบราณจารย์ ถือปฏิบัติสืบต่อมาคือ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ วัน เริ่มเวลา ๐๘.๐๙ น. ตั้งแต่การบวงสรวงครูบาอาจารย์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยดาอารักษ์ หลอมทองชนวน การรีดแผ่นโลหะ และการปั๊มเหรียญ ทั้ง ๓ ชนิด คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะกลับดำ แล้วเสร็จในเวลา ๒๓.๐๙ น. ได้เหรียญรวมทั้งสิ้นรวม ๒,๒๒๒ เหรียญ แยกเป็นเนื้อทองคำ ๕ เหรียญ เนื้อเงิน ๑๘๑ เหรียญ และเหรียญนวโลหะกลับดำ ๒,๐๓๖ เหรียญ
    จำนวนการสร้าง รวมทั้งสิ้น 2,222 เหรียญ
    แยกตามเนื้อโลหะดังนี้
    * เนื้อโลหะทองคำ 5 เหรียญ
    * เนื้อเงิน 181 เหรียญ
    * เนื้อนวโลหะ 2,036 เหรียญ
    การดำเนินการสร้าง
    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า เนื้อนวโลหะนี้
    โดยคณะผู้จัดสร้างได้รวบรวมโลหะทองชนวน พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ หลายวาระ
    ทองชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และครอบน้ำมนต์ที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก,ตะกรุดและแผ่นยันต์ของพระอริยสงฆ์
    และพระอภิญญาจารย์เจ้าทุกภาคทั่วประเทศและโลหะบริสุทธิ์ 9 ชนิดได้แก่ รวมทั้งแผ่นพระยันต์ 108 ดวง และนะปัถมัง 14
    นะอันเป็นพระยันต์บังคับตามตำราการสร้าง พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระพันรัตน์วัดป่าแก้ว กรุงเก่า ดังรายละเอียดดังนี้
    1.ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    1.1 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2482 (หน้าอินเดีย)
    1.2 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2483 (ฉลองพระชนม์)
    1.3 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2484 (พุทธนิมิตร)
    1.4 พิธีวันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2485 (น้ำท่วม)
    1.5 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2486 (เชียงตุง)
    1.6 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2487 (หลักชัย)
    1.7 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2489 (จาตุรงคมุนี)
    1.8 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2490 (นวโลกุตรญาณมุนี)
    1.3 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2490 (เทโว)
    1.10 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2495 (ทองทิพย์)
    1.11 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2506 ( หลังปิ )
    2. ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์
    2.1ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สมเด็จย่า90” วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ
    2.2 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เศวตฉัตร” วัดเศวตฉัตร กรุงเทพฯ
    2.3 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สังวรวิมลเถร”วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    2.4 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “บวรรังสี” วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2.5 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ปวเรศ” วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2.6 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “นเรศวรเมืองงาย” วัดราชนัดดากรุงเทพฯ
    2.7 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อู่ทอง” วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    2.8 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “พุทธปริต” วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    2.9 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อโยธยา” วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    2.10 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ติสสเทว” วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
    2.11 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรสรณาคม” วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    2.12 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ปรโม” วัดจุกเฌอ ชลบุรี
    2.13 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชินบัญชร” วัดละหารไร่ ระยอง
    2.14 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรโลกนาถ” วัดวังหว้า ระยอง
    2.15 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เงินล้าน” วัดบางพระ นครปฐม
    2.16 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ฐิตคุโณ” วัดบางพระ นครปฐม
    2.17 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “พุทธรัตนะ” วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    2.18 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชินวํโส” วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    2.19 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “จักรพรรดิอุตตมะ” วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    2.20 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชุติมนโต” วัดใหม่กลอ นครราชสีมา
    2.21 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ธาตุมหาชัย” วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    2.22 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สมปรารถนา” วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    2.23 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรลักษณ์” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.24 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เขมโกมุนี” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.25 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เขมนันท์” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.26 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อรหัง” วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    2.27 ทองชนวนพระกริ่ง “นิมมานโกวิท” วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
    2.28 ทองชนวนพระกริ่ง “สุริยะวรมัน” วัดมงคลคีรีเขตต์ ตาก
    2.29 ทองชนวนพระกริ่ง “สุจิตโต” วัดมะปริง สุราษฎร์ธานี
    2.30 ทองชนวนพระกริ่ง “ทักษิณชินวโร” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.31 ทองชนวนพระกริ่ง “มหามงคล” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.32 ทองชนวนพระกริ่ง “ศรีเพชรรัตน์” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.33 ทองชนวนพระกริ่ง “อนันตคุณ” กรุงเทพฯ
    2.34 ทองชนวนพระกริ่ง “นวโลกุตรญาณมุนี” กรุงเทพฯ
    2.35 ทองชนวนพระกริ่ง “สามภพพ่าย” กรุงเทพฯ
    2.36 ทองชนวนพระกริ่ง “วัฒนะ” กรุงเทพฯ
    2.37 ทองชนวนพระกริ่ง “ธนบดี” กรุงเทพฯ
    3. ทองชนวนพระชัยวัฒน์
    1. 3.1 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ3.2 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม3.3 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดหนัง กรุงเทพฯ
      4. ทองชนวนพระพุทธชินสีห์ ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
      5. ทองชนวนพระศาสดา ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
      6. ทองชนวนพระไพรีพินาศ ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
      7. ทองชนวนพระนาคปรก สธ (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
      8. ทองชนวนพระพุทธชินราชจำลอง 2485 วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
      9. ทองชนวนพระกลางลาน วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
      10. ทองชนวนพระปิดตามหาอุตตโม วัดท่าแหน ลำปาง
      11. ทองชนวนพระปิดตาราชาอุตตโม สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
      12. ทองชนวนพระปิดตาพุทธคง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
      13. ทองชนวนพระปิดตาราเมศวร วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
      14. ทองชนวนพระปิดตามหามงคล วัดดอนศาลา พัทลุง
      15. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
      16. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ (ใหญ่) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
      17. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ (เล็ก) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
      18. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
      19. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (นวโลหะ) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
      20. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (นวโลหะ) วัดช้างไห้ ปัตตานี
      21. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (สัตตโลหะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
      22. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (เบญจโลหะ) วัดทรายขาว ปัตตานี
    23.ทองชนวนเหรียญพระประทานพร 25 ปี ธนาคารศรีนคร กรุงเทพฯ
    24.ทองชนวนเหรียญหล่อสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    1. 25. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ26. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์พระเทพสิทธินายก (เลียบ) วัดเลา กรุงเทพฯ27. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์หลวงพ่ออบ อินทวิริโย วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี
      28. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
      29. ทองสัมฤทธิ์จากองค์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา
      30. ทองสัมฤทธิ์พระเกศมาลาของพระศรีศากยทศพลญาณ พุทธมณฑล นครปฐม
      31. ทองสัมฤทธิ์จากเทวรูปขอมโบราณ
      32. ทองสัมฤทธิ์ยอดปราสาท
      33. ทองสัมฤทธิ์ยอดเจดีย์
      34. โลหะชินลูกแก้ว วัดญาณเสน พระนครศรีอยุธยา
      35. โลหะทองระฆัง วัดช่องแค นครสวรรค์
      36. โลหะทองจังโก วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
      37. เงินพดด้วงสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์
      38. เงินบาท สมันรัชกาลที่ 4,5 และ6
      39. สตางค์แดง พ.ศ. 2466 – 2484
      40. แผ่นยันต์มหาจักรพรรดิ์ตราธิราช หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อำเภออุทัย พระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ปลุกเสก
      41. แผ่นยันต์ตามตำราวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท โดยท่านพระอาจารย์มหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดสุวรรณโคตมาราม อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาทเป็นผู้ลงและปลุกเสก
      42. แผ่นพระคาถาชินบัญชร ลงและปลุกเสกโดยพระวิมลธรรมภาณ (วิเวียร) วัดดวงแข เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
      43. แผ่นพระคาถามหาธรณีสาร ลงและปลุกเสกโดยพระครูจันทสมานคุณ (หล้า) วัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่
    ตะกรุดสำคัญของพระเถราจารย์เจ้า1 ตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ตราธิราช- พระวิสุทธาจารย์เถร (เทียม) วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    - หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    - หลวงพ่อสละ เถรปัญโญ วัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา
    - หลวงพ่อเฉลิม เขมทสสี วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา
    2 ตะกรุดโสฬสมหามงคล
    - พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    - พระครูนนทกิจโสภณ (ทองสุข) วัดสะพานสูง ปทุมธานี
    - พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา พัทลุง
    3 ตะกรุดเกราะเพชร
    - พระมงคลวราจารย์ (เชิญ) วัดโคกทอง พระนครศรีอยุธยา
    - พระมหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดสุวรรโคตมาราม ชัยนาท
    - พระปฐมเจติยาธร (บูญธรรม) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    - พระราชพรหมยานเถร (วีระ) วัดจันทาราม อุทัยธานี
    4 ตะกรุดตรีนิสิงเห
    - พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    - พระครูบริรักษ์ธรรมกร (บุญเทียม) วัดลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี
    5 ตะกรุดโทน
    - พระครูสุชัยบุญญาคม (เชื้อ) วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท
    - พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง
    6 ตะกรุดพระเจ้า 16 พระองค์
    - พระครูเวชคามบริรักษ์ (ตาบ) วัดมะขามเรียง สระบุรี
    - พระครูบรรหารศีลคุณ (แร่) วัดเชิดสำราญ ชลบุรี
    - พระครูสุนทรธรรมานุศาสตร์ (รวย) วัดท่าเรือแกลง ระยอง
    -พระครูศีลกิตติวัฒน์ (หนู) วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
    7 ตะกรุดลูกอม
    - พระวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน) วัดไชยชนะชุมพล กาญจนบุรี
    - พระมงคลเทพรังษี (ดี) วัดเทวสังฆราม กาญจนบุรี
    - พระโสภณคณาจารย์ (เหรียญ) วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี
    - พระมงคลราชวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    - พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    - พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    8 ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ พระครูสุชาติเมธาจารย์ (กุน) วัดพระนอน เพชรบุรี
    9 ตะกรุดมหาปราบ หลวงพ่อคง ธมมโชโต วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
    10 ตะกรุดมหาปราบ พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง)วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    11 ตะกรุดมหาคงคา หลวงพ่อบ่าย ธมมโชโต วัดช่องลม สมุทรสงคราม
    12 ตะกรุดปราบทาสามหาระงับ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ)วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    13 ตะกรุดฟ้าลั่น พระครูศรีฉฬงคสังวรเถร (เริ่ม) วัดจุกเฌอ ชลบุรี
    14 ตะกรุดมหานิทรา พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง
    15 ตะกรุดแม่ทัพ พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง
    16 ตะกรุดชิงกรุง พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง
    17 ตะกรุดมหากำบัง พระครูสรรค์การวิชิต (พิมพ์) วัดสนามชัย ชัยนาท
    18 ตะกรุดฝนแสนห่า พระมหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดคลองมอญ ชัยนาท
    19 ตะกรุดเทพรัญจวร พระครูอุทัยธรรมกิจ (ตี๋) วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี
    20 ตะกรุดมหาเถร 108 พระครูวิมลศีลาภรณ์(สุรินทร์) วัดศรีเตี้ย ลำพูน
    21 ตะกรุดสลีกัญชัย พระครูอุดมขันติธรรม(ขันแก้ว) วัดป่ายาง ลำพูน
    22 ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป พระครูธรรมกิจโกศล(นอง) วัดทรายขาว ปัตตานี
    23 ตะกรุดจันทร์เพ็ญ (ทองคำ) หลวงปู่ผูก จันทโชโต วัดเกาะ เพชรบุรี
    การบรรจุอิทธิ – พุทธานุภาพ
    1). พิธีมหาพุทธาภิเษก
    1. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระบรมรูป ร.5 4 ตุลาคม 2540
    2. วัดสุทัศฯเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีทรัพย์เพิ่มพูน 7 พฤศจิกายน 2540
    3. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พิธีพระเศรษฐีนวโกฏิ 15 พฤศจิกายน 2540
    4. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระพิฆเณศวร ศิลปากร 8 มกราคม 2541
    5. วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี พิธีเหรียญพระรูป ร.5 23 ตุลาคม 2541
    6. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธปัญญา 30 สิงหาคม 2542
    7. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีพระกริ่งอัตตรักโข 23 ตุลาคม 2542
    8. วัดยางงาม ราชบุรี พิธี 100 ปี ปากท่อ 27 ตุลาคม 2542
    9. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธสุขสิริ 6 พฤศจิกายน 2542
    10. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีเสาร์ 5 8 เมษายน 2543
    11. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีเสาร์ 5 8 เมษายน 2543
    12. วัดช้าง นครนายก พิธีพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ “สาธารณสุข” 9 มิถุนายน 2543
    13. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีพระพุทธนิรามัย 27 มิถุนายน 2543
    14. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีสมโภชรูปเหมือนหลวงพ่อจ่าง 23 ตุลาคม 2543
    15. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีวันเพ็ญ เดือน 12 พฤศจิกายน 2543
    16. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีพระกริ่งเพชรกลับ วชิรเวท 7 ธันวาคม 2543
    17. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธยอดฟ้า 31 ธันวาคม 2543
    18. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีรูปเหมือนสะดุ้งกลับ หลวงพ่อพูล 18 มกราคม 2544
    19. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งจอมไทย 19-27 มกราคม 2544
    20. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีมงคลอายุวัฒน์ 90 10 กุมภาพันธ์ 2544
    21. วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม พิธีชัยมังคลาภิเษก 25 เมษายน 2545
    22. วัดเลา กรุงเทพฯ ….………………. 27 เมษายน 2545
    23. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีหลวงปู่ทวด กระทรวงกลาโหม 10 พฤศจิกายน 2545
    24. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีพระพุทธนิรโรคันตราย 11 พฤศจิกายน 2545
    25. วัดเลา กรุงเทพฯ ….……………….. 13 พฤศจิกายน 2545
    26. วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ พิธีหลวงพ่อทวด 19 พฤศจิกายน 2545
    2) การปลุกเสก – อธิษฐานจิตเดี่ยว
    1. พระครูภัทรธรรมรัติ (ภัทร) วัดโคกสูง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 6-7 กันยายน 2540
    2. พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (เจริญ) วัดธัญญวารี อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 22 กันยายน 2540
    3. พระครูวิทิตพัฒนาทร (จ้อย) วัดหนองน้ำเขียว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 28 มกราคม 2540
    4. พระครูปราสาทพรหมคุณ (หงส์) วัดเพชรบุรี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 1 กุมภาพันธ์ 2540
    5. พระธรรมมุนี (แพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี 12 เมษายน 2541
    6. พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 12 เมษายน 2541
    4 มกราคม – 31 มีนาคม 2542
    7. พระภาวนานุสิชฌ์เถร (หรุ่ม) วัดบางจักร อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
    12 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2541,27 มกราคม 2544,3 มีนาคม 2544
    8. พระนิมมานโกวิท (ทองคำ) วัดท่าทอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 5 พฤษภาคม 2541และ13 – 14 พฤษภาคม 2547
    9. พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์(วงศา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน 6 พฤษภาคม 2541
    10. พระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำตวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 6 พฤษภาคม 2541
    11. พระครูวรวุฒิคุณ (อิน) วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    12. พระครูพิศิษฐสังฆการ (ผัด) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    13. พระครูสิริศีลสังวร (น้อย) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    14. พระครูชัยยะวงศ์วิวัฒน์ (หน่อย) วัดบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    15. ครูบาเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    16. พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม) วัดคูหาสุวรรณ อ.เมืองฯ จ.สุโขทัย 8 พฤษภาคม 2541
    17. พระครูศีลสารสัมปัน (อ่อน) วัดเนินมะเกลือ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 8 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2541
    18. พระครูสุนทรวชิรเวท (จ่าง) วัดเขื่อนเพชร อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 8 กรกฎาคม – 5 ตุลาคม 2541
    (ไตรมาส 2541 )
    19. พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี 18 ธันวาคม 2541,13 พฤษภาคม 2542 ,และ 14 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2542
    20. พระครูสถิตย์โชติคุณ (ไสว) วัดปรีดาราม อ.สามพราน จ.นครปฐม 3 – 21 มิถุนายน 2542
    21. พระครูสุนทรจริยวัตร (ม่วง) วัดยางงาม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 22 มิถุนายน – 23 ตุลาคม 2542
    ( พรรษา 2542 )
    22. พระครูสังวรานุโยค (ช่อ) วัดโคกเกตุ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 11 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2542,1 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2544และ1 มกราคม – 30 เมษายน 2547
    23. พระครูปุริมานุรักษ์(พูล) วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม 8 เมษายน 2543 (เสาร์5) 15 กรกฎาคม – 13 ตุลาคม 2543(ไตรมาส 2543 )
    24. พระอาจารย์ธรรมนูญ ฐิตวัฒฑโน วัดมณีชลขันธุ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี 27 มกราคม – 2 มีนาคม 2544
    25. พระอาจารย์ใย สัญญาโม วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 2 มีนาคม – 5 พฤษภาคม 2544
    26. หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 3 มีนาคม 2544,6 พฤษภาคม 2544และ24 มิถุนายน 2545
    27. พระครูวินัยวชิรกิจ (อุ้น) วัดตาลกง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 1 กรกฎาคม – ตุลาคม 2544(ไตรมาส 2544)
    28. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (สมโภช) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 14 กุมภาพันธ์ – 20 เมษายน 2545
    29. พระราชวิทยาคมเถร (คูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (ไตรมาส 2545 ) 22 กรกฎาคม – 21 ตุลาคม 2545และ 23 ตุลาคม 2545
    30. พระครูวิชัยกิจอารักษ์ (อุดม) วัดพิชัยสงคราม อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 17 มีนาคม – 10 กรกฎาคม 2546
    31. พระอาจารย์เมือง พลวัฒทโณ วัดป่ามัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ (ไตรมาส 2546) 13 กรกฎาคม – 2 พฤศจิกายน 2546
    32. พระอาจารย์สมบูรณ์ กนตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาตตระการ จ.พิษณุโลก 14 พฤษภาคม – 27 ตุลาคม 2547( ไตรมาส 2547 )
    เหรียญนี้ เข้าพิธีมานานถึง 7 ปี

    นำมาจาก กระทู้ของคุณChaiและ บทความในสวนขลังดอทคอม
    บทความในคมชัดลึก และบล็อคพระศักดิ์สิทธิ์
    <!--adcode-->
     
  20. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รวมรุ่นตกหล่น

    [​IMG]
    [​IMG]
    เหรียญพระแก้ววัดเหนือ จังหวัดมหาสารคามปี 73 เนื้อเงินสุดยอดเหรียญหายากของภาคอีสาน เป็นเหรียญต้นแบบของเหรียญพระแก้วปี 85 คราวฉลองกรุงครบ 150 ปีที่เราพบเห็นกันทั่วไป เหรียญนี้จัดทำเป็นทีระลึกสำหรับผู้ที่บริจาคสมทบทุนสร้างพระประธานวัดเหนือ ปลุกเสกหมู่โดยเกจิอาจารย์สายอีสาน นับว่าเป็นเหรียญศักสิทธิเหรียญหนึ่งที่ปัจจุบันพบเห็นยาก
    ขอบคุณข้อมูล เว็บตลาดพระศูนย์มรดกไทย กรุงเทพฯ




    ---------------------------------------------------------------------------------------------
    [​IMG]

    เหรียญพระแก้วมรกตแผนที่ประเทศไทย พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร สร้างโดยคุณอ๋า ร้าน jacob ถวายพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร อธิฐานจิตให้เมื่อปี พ.ศ.2519 เพื่อแจกในปี พ.ศ.2520 ซึ่งตามทำเนียบเหรียญพระอาจารย์ฝั้นมีจำนวน 120 รุ่น ดังนั้น เหรียญรุ่นนี้จึงอาจจะถือเป็นรุ่นที่ 121 โดยอนุโลม นับเป็นเหรียญที่ออกแบบได้สวยงามอย่างยิ่ง ความหมายก็ดีเป็นอย่างมาก โดยแกะเป็นรูปแผนที่ประเทศไทย ดินแดมรูปขวานทองของเรา มีรูปองค์พระแก้วมรกต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ด้านหลังเขียนว่า "ทำดีย่อมได้ดี พระอาจารย์ฝั้นสอนไว้" ซึ่งเป็นสัจจะธรรมของโลก
    ขอบคุณข้อมูล จาก คุณต๊อกพระเครื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...