" สัจจะ " ที่ท่านหนุมานประกาศไว้คืออะไรกันหนอ?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย where?, 1 เมษายน 2010.

  1. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    [​IMG]
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐
    <O:p</O:p

    “…ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น
    จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ
    และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย
    การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญ
    ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด...”
    <O:p</O:p
    http://forum.thaiza.com/news/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%20%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B2_1212_22838_1212_.html<O:p</O:p
     
  2. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    เนื่องจากช่วงนี้ข้าพเจ้าสนใจศึกษาข้อมูลความรู้ว่าด้วยเรื่องของ " สัจจะ "
    แต่บังเอิญว่าถ้าข้าพเจ้าสนใจศึกษาข้อมูลความรู้ด้านไหนก็จะต้องรู้ให้ถึงแก่น
    จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่มีความรู้ด้านนี้มาช่วยกันให้ความรู้แก่ข้าพเจ้าด้วย
    โดยเฉพาะท่าน " หนุมาน ผู้นำสาร " ซึ่งไม่รู้จะเข้ามาอีกเมื่อไหร่?
    วันก่อนมีความฝันบอกว่าถ้าอยากจะเรียนรู้อะไร..
    ให้เราทำตัวให้เหมือนเด็กทารกที่ไม่รู้อะไรมาก่อน
    เพื่อจะสามารถรับข้อมูลความรู้นั้นได้เต็มที่.. เหมือนแก้วน้ำที่ว่างเปล่าประมาณนั้น
    ระหว่างนี้ข้าพเจ้าก็จะขอหาความรู้ไปพลางๆ ก่อนนะคะ..:'(

    [​IMG]
     
  3. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    สัจจะคือความจริงคือความเที่ยง 1ในคุณธรรมสัมพันธ์5 มีเมตตาธรรม มโนธรรม จริยธรรม กตัญญุตาธรรม และสัจจะธรรม
    ผู้มีธรรมเหล่านี้คือมนุษย์ประเสริฐผู้ปกติ ผู้ขาดธรรมเหล่านี้คือมนุษย์ ผู้ไม่มีธรรมเหล่านี้คือปุถุชน
     
  4. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    "สัจจะ" แปลว่า ความสัตย์ ความซื่อ ถ้าขยายความตามศัพท์แยกได้ 3 ลักษณะคือ มีความจริง ความตรง และความแท้ จริง คือ ไม่เล่น ตรง คือ ความประพฤติทางกาย วาจา ตรงไม่บิดพลิ้ว ไม่บ่ายเบี่ยง แท้ คือ ไม่เหลวไหล แต่ถ้าในทางปฏิบัติสัจจะ คือ ความรับผิดชอบ หมายความว่า ถ้าจะทำอะไรแล้ว ต้องตั้งใจทำจริง ทำอย่างสุดความสามารถให้เป็นผลสำเร็จ การที่ใครจะสามารถสร้างตัวขึ้นมาได้นั้น ต้องมีสัจจะเป็นพื้นฐาน เพราะคนที่มีสัจจะ เป็นพื้นฐานจะมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำทุกอย่าง ไม่ปล่อยผ่านกับสิ่งที่ได้รับมา จะทำทุกสิ่ง ที่มาถึงมืออย่างสุดกำลัง และเต็มความสามารถ
    <O:p</O:p
    1. ลักษณะของสัจจะ มีด้วยกัน 5 ประการ คือ <O:p</O:p
    ประการที่ 1 สัจจะต่อความดี
    ก็คือ การประพฤติตนเป็นคนเที่ยงแท้ มั่นคงต่อความดีไม่หันเหไปในทางชั่ว ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เช่นไร ในทางปฏิบัติ การจะมีสัจจะต่อความดีได้นั้น ต้องคิดให้เห็นถึงคุณความดีได้อย่างแจ่มแจ้ง และเห็นโทษของความชั่วได้ชัดเจน พยายามรักษาความดีในตนไว้ ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องละ กรรมกิเลส 4, อคติ 4, อบายมุข 6 และต้องปรับความเห็นของตนให้ถูก ให้เป็นสัมมาทิฏฐิให้ได้ หากเป็นพระก็ต้องรักษาสิกขาวินัย สืบทอดพระพุทธศาสนา หากเป็นฆราวาส ก็ต้องทำมาหากินตั้งตนให้ได้ สร้างหลักฐานให้กับวงศ์ตระกูล ใครจะอยู่ในหน้าที่อะไรก็ต้องพยายามหาดีของตนให้ได้ หากหาดีนอกทางเสียแล้วก็จะเสียความจริงต่อความดี

    ประการที่ 2 สัจจะต่อหน้าที่
    คือ การที่ใครก็ตามที่เกิดมาย่อมมีหน้าที่ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้น จึงควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ใครเป็นสามีก็รับผิดชอบต่อหน้าที่สามี เลี้ยงครอบครัวให้ดี ไม่ปันใจให้หญิงอื่น จริงใจกับภรรยา ใครเป็นภรรยาก็จริงใจต่อหน้าที่ของภรรยา ดูแลการงานในบ้านให้เรียบร้อย ไม่เที่ยวเตร่ ไม่เล่นการพนันเผาผลาญทรัพย์ เป็นลูกก็ต้องมีความรับผิดชอบว่า เราเป็นลูกมีหน้าที่รักษาวงศ์ตระกูลให้ดี ถ้าพ่อแม่แก่เฒ่า ก็ต้องเลี้ยงดูท่าน ทหารก็จริงใจลงไปในหน้าที่ทหาร เป็นตำรวจก็รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตำรวจ ไม่ว่าใครจะเป็นอะไร ก็ทุ่มไปกับหน้าที่ของตัวให้เต็มที่ หากทำเช่นนี้ได้จึงเรียกว่า มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

    ประการที่ 3 สัจจะต่อการงาน
    สัจจะต่อการงาน ก็คือการตั้งสัจจะลงไปในงาน หมายถึงการทำงานนั้นต้องทำจริง ไม่ทำเหยาะๆ แหยะๆ หรือทำเล่นๆ ดังนั้น เมื่อมีหน้าที่แล้วก็ย่อมมีงานตามมา สามีก็มีงานของสามี คืองานหาเลี้ยงครอบครัว เป็นภรรยาก็มีงานของภรรยา เป็นลูกก็มีงานของลูก เป็นพระก็มีงานของพระ จะเป็นอะไรก็มี หน้าที่และมีงานตามมา ยิ่งอายุมาก หน้าที่ก็ยิ่งมากเป็นเงาตามตัว เมื่อหน้าที่มาก งานก็มากด้วยเช่นกัน คนที่ไม่จริงต่อการงาน มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ
    <O:p</O:p
    1. พวก "ทุจฺจริตํ" คือ พวกที่ทำงานเสีย<O:p</O:p
    2. พวก "สิถิลํ" คือ พวกที่ทำงานเหลาะแหละ<O:p</O:p
    3. พวก "อากุลํ" คือ พวกที่ทำงานคั่งค้าง
    <O:p</O:p
    หากทำอย่างนี้จะเสียสัจจะต่อการงาน วิธีแก้ก็คือ ทำให้ดี ทำให้เคร่งครัด ทำให้เสร็จสิ้น หากทำได้ก็จะกลายเป็นสัจจะต่อการงานอีกประการหนึ่ง เรามักได้ยินคำพังเพยว่า "เรือล่มเมื่อจอด" คำนี้ใช้กับผู้ที่เคยทำดีมาแล้ว แต่ประมาทเมื่อปลายมือ เพราะไม่ตั้งใจทำให้ดีที่สุดหรือทำสักแต่ว่าทำ เพราะฉะนั้น เมื่อทำความดีแล้ว ต้องทำให้ดีพร้อม จนใครๆ ก็ทำให้ดีกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว คือ ต้องทำงานชิ้นนั้นให้สำเร็จให้ได้และให้ดีที่สุด นี่คือความรับผิดชอบของคนที่มีสัจจะต่อการงาน<O:p</O:p

    ประการที่ 4 สัจจะต่อวาจา
    สัจจะต่อวาจา คือ จริงต่อวาจา นั่นก็คือคำพูดของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูดด้วยปาก หรือการเขียน ตลอดจนการแสดงอาการที่เป็นการปฏิญาณต่อผู้อื่นก็ตาม จัดอยู่ในเรื่องของวาจาได้ สัจจะต่อวาจามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
    <O:p</O:p
    1. พูดอย่างไรทำอย่างนั้น คือ เมื่อพูดออกไปแล้วก็ต้องพยายามทำให้ได้จริงตามที่พูด <O:p</O:p
    2. ทำอย่างไรพูดอย่างนั้น คือ การพูดคำจริง เมื่อเราทำอะไรลงไปก็พูดไปตามนั้น การกระทำต้องตรงกับคำพูดของตัวเองเสมอ <O:p</O:p

    ประการที่ 5 สัจจะต่อบุคคล<O:p</O:p
    สัจจะต่อบุคคล คือ ต้องจริงต่อบุคคล ในที่นี้คือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตัวเราจริงต่อบุคคลนั้น หมายถึง การเป็นผู้ที่ประพฤติต่อคนอื่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่กลับกลอก และความจริงต่อบุคคลจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยความจริงใจต่อกัน ถ้าเราอยากให้คนอื่นเขาจริงใจต่อเรา เราก็ต้องให้ความจริงกับเขาด้วย
    <O:p</O:p
    คนเรามักชอบบ่นว่า "ผมน่ะไม่มีเพื่อนจริงสักคน" ความจริงแล้ว ตัวเองต่างหากที่ไม่จริงกับเขาก่อน แล้วเขาจะมาจริงใจกับเราได้อย่างไร เวลาคบกับใครก็บอกเขาว่า "มีธุระเดือดร้อนอะไรละก็ บอกนะ จะช่วยเต็มที่" แต่พอเขาจะมาพึ่งพาให้ช่วยเหลือ กลับบิดพลิ้ว สารพัดจะหาเหตุผลมาอ้าง มาแก้ตัว อย่างนี้ก็ไม่มีใครเขาจริงใจด้วย ขอฝากเป็นข้อคิดไว้ คือ ถ้ารักจะคบเป็นเพื่อนกันตลอดไป อย่าเล่นแชร์เล่นไพ่กับเพื่อน เพราะสองอย่างนี้พอเล่นจะเอาผลประโยชน์กัน แล้วจะมีความจริงใจต่อกันได้อย่างไร เพื่อนกัน มีอะไรต้องช่วยเหลือจุนเจือกัน เพื่อนติดขัดเรื่องเงินเรื่องทอง ก็ตัดเงินส่วนที่ไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนให้ไปเลย ไม่ต้องไปคิดเรื่องดอกเบี้ย จะคิดถูกคิดแพงก็ถือว่าไม่จริงใจต่อกันทั้งนั้นหรือเป็นตำรวจ จับผู้ต้องหาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ก็อย่าไปแก้แค้นด้วยการซ้อมคนไม่มีทางสู้ มีหน้าที่สอบสวน เจอผู้ร้ายปากแข็งชักช้าอย่างไรก็ต้องทน ต้องพยายามใช้ปัญญา อย่าใช้วิธีทารุณบีบคั้นให้เขารับสารภาพ ต้องนึกถึงคุณธรรมความดีให้มาก
    <O:p</O:p
    สรุปความได้ว่า คนที่มีสัจจะคือคนที่ทำอะไรทุ่มสุดตัว จะทำงานชิ้นใดก็ทุ่มทำให้ดีที่สุด คบใครก็คบกันจริงๆ ไม่ใช่ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา ถ้าจะคบก็คือคบ ถ้าไม่คบก็ตัดบัญชี กันไปเลย ฝึกทุ่มหมดตัวอย่างนี้ ไม่ช้าก็จะได้เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา วันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ พอนั่งสมาธิคู้บัลลังก์แล้ว ก็ทรงตั้งสัจจะอธิษฐานทุ่มชีวิตเลยว่า แม้เลือดเนื้อในร่างกายจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็นกระดูก ก็ตามที หากยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เราจะไม่ยอมลุกขึ้นเป็นอันขาด พระบรมศาสดาของเรา ทุ่มสุดตัวอย่างนี้ เราเป็นลูกศิษย์ท่านต้องทำตาม({)

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<O:p</O:p


    <O:p</O:p
     
  5. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    ขอบคุณค่ะคุณดอน มาช่วยกันหาความจริงด้วยกันค่ะ^^:cool:
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    สัจจบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    "สัจจบารมี" เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมีซึ่งเป็นชาดกกล่าวถึงเรื่องของการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเสด็จออกบวชจนกระทั่งทรงบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด คำว่า "สัจจะ" หมายถึง "จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์", "จริงวาจา คือ พูดจริง" และ "จริงการ คือ ทำจริง" ส่วนคำว่า "บารมี" หรือ "ปารมี" มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ "อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด" และ "คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง"
    "สัจจบารมี" จึงหมายความว่า "บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง"
    นอกจาก "สัจจบารมี" แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กันเสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ "อธิษฐานบารมี"
    คำว่า "อธิษฐาน" หมายถึง "ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน" คำนี้มักถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า "สัตย์" ซึ่งเรียกรวมกันว่า "สัตยาธิษฐาน หรือ ตั้งสัตย์อธิษฐาน"
    ในการตั้งสัตยาธิษฐานเพื่อให้บรรลุผลตามที่ได้ตั้งจิตปรารถนาไว้นั้น จะบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อในคำอธิษฐานนั้น ได้มีการกล่าวอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นความจริง และหรือ คุณธรรมที่ตนเชื่อมั่น และได้ถือปฏิบัติอย่างจริงจัง
    พระสูตร หรือ พระปริตร เป็นบทสวดมนต์ที่พระภิกษุสงฆ์นำมาสวด หรือ เจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมงคลต่างๆเป็นการตั้งสัตยาธิษฐาน หรือ การกล่าวสัจจวาจาของผู้สวดเพื่ออวยพรแก่เจ้าภาพ และผู้ที่มาร่วมพิธี เช่น บทสวดที่ว่า
    นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
    พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยคำกล่าวสัตย์นี้
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เป็นต้น
    อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์จะปรากฏผลได้ ก็ต่อเมื่อผู้สวด
    ได้ถือปฏิบัติตามข้อความ หรือ สัจจวาจาที่ได้แสดงไว้ในบทสวดนั้นได้จริงๆ กล่าวคือ ผู้สวดจะ
    ต้องมีความเคารพ เชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ มิใช่กล่าวออกไปเฉยๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น
    การกล่าวสัจจวาจานั้น ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงคุณพระรัตนตรัยเสมอไป ผู้กล่าวจะอ้างอิงความจริงในเรื่องอื่นๆ ของตนก็ได้ เช่นอ้างเรื่องการบำเพ็ญบุญกิริยาของตน คือ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา เป็นต้น เมื่อได้กล่าวอ้างอิงถึงความจริงแล้ว ก็ให้อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาสิ่งที่พึงเป็นไปได้ไว้ในใจเช่น อธิษฐานขอความคุ้มครองให้ตนพ้นจากทุกข์โศกโรคภัย มีบทสวดมนต์บทหนึ่งในบทสวด ๗ และ ๑๒ ตำนาน คือ วัฏฏปริตร ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า อัตถิ โลเก สีเลคุโณ บทสวดนี้ เป็นที่รู้จัก และนับถือกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันว่า "คาถา(นกคุ่ม)ดับไฟ"
    บทสวดมนต์ หรือ คาถาดังกล่าวนี้มีตำนานว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จไปจำพรรษาที่ตำบลหนึ่งในแคว้นมคธ เช้าวันหนึ่ง ได้เสด็จออกบิณฑบาต ระหว่างทาง ได้เกิดไฟป่าลุกไหม้ และไฟได้ลามมาใกล้ที่ประทับของพระพุทธองค์ แต่ก็ได้ดับลงไปเองอย่างน่าอัศจรรย์ บรรดาพระภิกษุสงฆ์จึงได้ขอให้พระสาริบุตรทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเล่าวัฏฏชาดกซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดมาแล้วในอดีตเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้เสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ่ม (บางทีเรียกว่า นกคุ่มไฟ) ว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดไฟป่าไหม้มาโดยรอบรังนกที่อาศัยอยู่ในป่า และรังหนึ่งเป็นรังของนกคุ่มผัวเมีย มีลูกเล็กๆ อาศัยอยู่ด้วย เมื่อไฟป่าได้ลุกลามมาใกล้จะถึง บรรดานกทั้งหลายก็พากันบินหนี รวมทั้งนกคุ่มที่เป็นพ่อแม่ด้วย ปล่อยให้ลูกนกคุ่มที่ยังเดินไม่ได้ บินไม่ได้รอความตายอยู่ในรัง ลูกนกคุ่มนั้นจึงได้ตั้งสัจจกิริยา คือ การกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างอิงถึงคุณของศีล รวมทั้งคุณธรรมอื่นที่มีอยู่ ที่ได้กระทำมาในอดีตชาติ คุณของพระพุทธเจ้า รวมทั้งความจริงที่เกี่ยวกับตัวเอง คือ มีปีกก็ยังบินไม่ได้ มีเท้าก็ยังเดินหนีไปไม่ได้ แล้วจึงอธิษฐานอยู่ในใจว่า ขอให้อำนาจแห่งความจริงต่างๆ ที่ตนได้กล่าวไว้จงดลบันดาลให้เกิดผลคือ ขอให้ไฟป่าที่กำลังลุกลามเข้ามาใกล้รอบตัวได้ดับลง
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงแปล มีข้อความตอนหนึ่งในบทสวดนี้ไว้ว่า "คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตย์ความสะอาดและความเอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก ด้วยคำสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจะทำสัจจกิริยาอันเยี่ยม ข้าพเจ้ารำลึกถึงกำลังแห่งธรรม รำลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังแห่งสัจจะ ขอทำสัจจกิริยา ปีกทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ แต่ก็ยังบินไปไม่ได้ เท้าทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้ มารดาและบิดาของข้าพเจ้าก็ออกไปแล้ว ดูก่อนไฟป่า ขอท่านจงถอยไป ครั้นเมื่อสัจจะอันข้าพเจ้าทำแล้ว เปลวไฟอันลุกโพลงมากก็สงบ.… ประหนึ่งเปลวไฟที่ตกถึงน้ำ สิ่งใดเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา"
    ผู้ที่สามารถรักษาสัจจวาจาได้จนเป็นนิสัย ก็เท่ากับผู้นั้นได้มีโอกาสบำเพ็ญ
    สะสมสัจจบารมีของตนให้มากขึ้นโดยลำดับ และเมื่อนำมาประกอบกับอธิษฐานบารมี บารมีที่ได้สะสมไว้ทั้งสองประการย่อมมีพลังรุนแรง แสดงผลให้ได้ทันตาเห็น ดังที่ได้แสดงไว้ในบทสวดวัฏฏปริตรดังกล่าวข้างต้น
    เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่น่าระทึกใจยิ่งครั้งหนึ่งคือ ภัยพิบัติที่เกิดแก่หลายจังหวัดในภาคใต้ตอนบน อันเนื่องจากพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” พัดผ่าน
    พายุนี้ได้เริ่มก่อตัวในทะเลจีนตอนใต้ห่างจากแหลมญวนไม่มากนัก โดยเริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำมาเป็นดีเปรสชันเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ แล้วได้ทวีความ
    รุนแรงกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ต่อจากนั้นได้แปรสภาพเป็นพายุ ไต้ฝุ่นมีความเร็วสูงสุดรอบศูนย์กลางประมาณ ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนที่ผ่านแหลมญวน เข้าสู่อ่าวไทย มุ่งหน้าเข้าสู่บางจังหวัดในภาคใต้ตอนบนซึ่งได้แก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร ลักษณะการก่อตัว ความรุนแรง และทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุใต้ฝุ่นนี้คล้ายกับพายุใต้ฝุ่น “เกย์” ซึ่งได้เคยก่อภัยพิบัติให้แก่จังหวัดเหล่านี้มาแล้วอย่างมหาศาลเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
    ด้วยความเป็นห่วงใยต่อพสกนิกรที่พำนักอาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่พายุ "ลินดา" จะเคลื่อนที่ผ่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงเฝ้าติดตามสังเกตการณ์การก่อตัว การเปลี่ยนแปลงของพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” ตั้งแต่จุดเริ่มต้นอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด
    คำพยากรณ์ที่ได้รับรายงานจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาทั่วโลกระบุอย่างแน่ชัดว่า ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ตามเวลาท้องถิ่น ๑๙.๐๐ น. พายุนี้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด ๑๐.๘ องศาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐.๘ องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดที่จุดศูนย์กลางรุนแรงถึง ๗๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเคลื่อนที่มาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความ เร็วประมาณ ๑๑ นอต หรือ ๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตรงเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร โดยอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ ๒๘ กิโลเมตร และจะเคลื่อนที่ถึงฝั่งภายใน ๑ ชั่วโมงเศษเท่านั้น หากเป็นเช่นคำพยากรณ์ ทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพรคงจะถูกกวาดล้างโดยพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” จนหมดสิ้น สิ่งบอกเหตุดังกล่าวนี้จึงได้สร้างความกังวลและความเคร่งเครียดพระทัยให้แก่
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง
    แต่โดยที่มิได้คาดคิด อีกไม่กี่นาทีก่อนที่จะเคลื่อนที่มาถึงฝั่ง พายุนี้ได้กลับอ่อนกำลังลงโดยฉับพลันมาเป็นพายุโซนร้อนมีความเร็วสูงสุดที่จุดศูนย์กลางเพียง ๕๐ นอต หรือ ๙๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ทั้งทิศทางการเคลื่อนที่กลับเบี่ยงเบนขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อยและถึงฝั่งที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เวลา ๐๒.๐๐ น.จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพรจึงได้รับภัยพิบัติจากพายุนี้ไม่รุนแรงนัก
    ดูจะเป็นการผิดปกติอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของพายุไต้ฝุ่นใน
    ลักษณะนี้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ถ้าพายุยังเคลื่อนที่อยู่เหนือพื้นน้ำทะเลหรือมหาสมุทร พายุนั้นจะเพิ่มความแรง ความเร็วที่จุดศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น และจะลดลงเมื่อเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งแล้ว พายุโซนร้อน “ลินดา” นี้ก็เช่นกัน เมื่อเคลื่อนที่พ้นจากประเทศไทยลงสู่ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย ก็ได้เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้นตามลำดับแปรสภาพกลับไปเป็นพายุไต้ฝุ่น หรือ ไซโคลน อีกครั้งหนึ่งในวันเวลาต่อมา
    เหตุการณ์ครั้งนี้ เมื่อได้พิจารณาดูแล้ว จะไม่แตกต่างกับเหตุการณ์ที่ได้มีแสดงไว้ในวัฏฏปริตร จึงน่าจะยืนยันได้ว่า การที่พายุไต้ฝุ่น "ลินดา" ได้เปลี่ยนทิศทางโดยกระทันหันเป็นมหัศจรรย์ในครั้งนั้น เป็นผลมาจากพลังสัจจบารมี และอธิษฐานบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงสะสมมาตั้งแต่ในอดีตพระชาติ และที่ได้ทรงบำเพ็ญสะสมเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างยิ่งใหญ่มหาศาลในพระชาติปัจจุบันได้ส่งเสริมกันจนเป็นพลังที่รุนแรง สามารถมีส่วนช่วยให้ประเทศชาติ พสกนิกรรอดพ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติในครั้งนั้นได้
    ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดีที่ได้มีพระมหากษัตราธิราชซึ่งทรงสมบูรณ์ด้วยพระบารมี และทศพิธราชธรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพ
    สูงส่ง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พวกเราเหลือคณานับ ดังนั้นในวโรกาสที่สำคัญยิ่งวัน
    เฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ท่านที่จะเวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราชาวไทยทุกคนจะร่วมกันตั้งสัตยาธิษฐาน ด้วยการระลึกถึงคุณธรรมที่เป็นความจริงต่างๆ ซึ่งตนได้บำเพ็ญมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การรักษาศีล การบริจาคทาน การ
    ภาวนา เป็นต้น เป็นสัจจบารมี แล้วตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรว่า ขอให้สัจจบารมีที่ตนได้
    บำเพ็ญมาโดยตลอดนั้นจงบังเกิดเป็นพระราชกุศลให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานตลอดไป

    http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003844.htm]003844
     
  7. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    แต่สัจจะของคุณหนุมาน โดนแบนแล้วครับ ก็อยากรู้เหมือนกันว่าทำไม ไปลงความเห็นอะไรไว้
     
  8. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    นั่นสิครับ ทำไมถึงแบนคุณ หนุมานผู้นำสาร เห็นแล้วก็ตกใจ แม้บางเรื่องจะไม่เห็นด้วย แต่ก็เคารพในความเห็นที่คุณหมุมานแสดงออกมา ตกลงแล้วมันเป็นเพราะอะไรหรือครับ ร้ายแรงขนาดไหนเลยโดนแบน เพื่อนสมาชิกหายไปก็ใจหายครับ
     
  9. Sopasiri

    Sopasiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    449
    ค่าพลัง:
    +912
    ไปอ่านมา เห็นเค้าแจ้งเตือนใบแดงว่าหมิ่นเบื้องสูงน่ะค่ะ
     
  10. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ในความคิดของผมสัจจะของคุณหนุมานน่าจะหมายถึง การใช้สัจจะจัดการกับนิสัย
    ที่ไม่ดีนะครับ เช่น ขี้เกียจสวดมนนั่งสมาธิ ทำบ้างไม่ทำบ้าง
    ก็ตั้งสัจจะไว้ว่าจะทำทุกววันวันละ ช.ม. กี่วันกี่เดือนก็ว่าไป

    ใครคิดเหมือนผมมั่งเปล่า ผมทำเเบบนี้ เเต่พอหมดเวลาสัจจะ..เน่าเหมือนเดิมหุๆ
     
  11. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    สัจจะคือความจริง ไม่ใช่คำพูด ไม่ใช่การปฏิบัติ แต่คือความจริงทั้งหมด
     
  12. สตธศร

    สตธศร Namo Amithapho

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,537
    ^^ พี่หนุมานก็คงหมายถึงแบบนี้ด๊วย
     
  13. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    ...คุณหนุมานใช้คำว่าให้ "ลดราชาทิษฐิ" ครับ เลยโดนแบน...
     
  14. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    แหม.. ข้าพเจ้าเองก็ไม่ค่อยถนัดภาษาบาลีสันสกฤตซะด้วย
    แต่คนเราบางครั้งก็อาจมีผิดพลาดกันบ้าง? ก็น่าจะให้อภัยกันบ้างนะคะ
    แล้วถ้าโดนใบแดงแล้วยังสามารถเข้ามาสนทนากันได้อีกรึเปล่าก็ไม่รู้เน๊อะ?

    เมื่อคืนรู้สึกได้ถึงกระแสพลังของท่านหนุมานแล้ว.. รุนแรงแล้วคมชัดมาก
    เอาเป็นว่าท่านหนุมานรับทราบแล้วว่าพวกเราตามหากันอยู่..
    ถ้าคิดไม่ผิดท่านหนุมานน่าจะกำลังมีภาระกิจบางอย่างอยู่ช่วงต้นเดือนนี้
    คงไม่สามารถเข้ามาอ่านได้ ( Verb to เดาเอา ) อิอิ:cool:
     
  15. LnWLnW

    LnWLnW เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +936
    คิดถึงพี่หนุมานผู้นำสาร


    Y-Y

    ยกเลิกแบนเถอะนะคะ
     
  16. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    [​IMG]
    ๑. คำว่า สัจจะ แปลว่า ความสัตย์ซื่อต่อกัน มีลักษณะ ๓ อย่างคือ
    ๑) สัจจะ มีลักษณะเป็นความจริง ไม่หลอกไม่ลวง เป็นของจริง
    ๒) สัจจะ มีลักษณะเป็นความตรง มีความประพฤติทางกาย
    ทางวาจาและทางใจ ซื่อตรงไม่คดโกงหรือบิดพริ้วเบี่ยงบ่าย
    จากความถูกหรือความเที่ยง
    ๓) สัจจะ มีลักษณะเป็นความแท้ ไม่ปลอม
    ไม่เหลาะแหละในกิจกรรมอันเป็นหน้าที่ชัดเจน

    สัจจะซึ่งมีลักษณะดังกล่าวนี้
    ผู้ครองเรือนพึงตั้งหรือกำหนดใน ๕ สถานนี้คือ
    ๑) ตรงต่อหน้าที่ คือปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่
    ๒) ตรงต่อการงาน คือตั้งใจทำงานให้ดี
    ๓) ตรงต่อวาจา คือรักษาคำมั่นสัญญา
    ๔) ตรงต่อบุคคล คือประพฤติดีต่อคนอื่น
    ๕) ตรงต่อความดี คือยึดมั่นอยู่ในความประพฤติปฏิบัติ

    อีกประการหนึ่งก็คือ สัจจะคือความจริงใจ
    ซึ่งหมายความว่า ความเป็นคนมีจิตใจแน่วแน่
    มุ่งมั่นในสิ่งที่ตนปรารถนา แล้วก็ทำตนเห็นผล
    เช่น เป็นนักเรียนเรียนวิชาใดก็เรียนจนได้ความรู้จริงในวิชานั้น
    ผู้รักษาศีลประการใดก็ตั้งใจรักษาศีลประภทนั้นให้จงได้ ให้ได้จริง
    หรือผู้เป็นนักบวชที่ดีจริง เป็นต้น ไม่ใช่บวชปลอม
    เดี๋ยวนี้บวชปลอมกันมาก

    คุณธรรม คือ สัจจะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทั้งทางโลก ทางธรรม
    จึงกล่าวได้ว่า ใครก็ตามที่ขาดสัจจะในใจเสียอย่างเดียว เอาดีไม่ได้เลย
    จะเล่าเรียนก็ไม่จริงจัง จะรักใคร ๆ ก็รักไม่จริงจัง
    จะแต่งงานกับใครก็ไม่จริงจัง จะเป็นพลเมืองของประเทศใดก็ไม่จริงจัง

    จะปฏิบัติธรรมก็ไม่จริงจัง เป็นต้น คนประเภทนี้จะเอาดีได้อย่างไร
    ในทางตรงกันข้าม คือ คนที่มีสัจจะ คุณธรรม คือสัจจะนั่นเอง
    จะเป็นหลักประกันประจำตัวให้คนอื่นเชื่อถือไว้วางใจ
    จะทำการสิ่งใดก็เจริญ เพราะได้รับการสนับสนุนจากคนทั้งหลาย

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ จิตใจที่มีสัจจะ อันอบรมดีแล้ว
    คือ การเจริญพระกรรมฐานดีตลอดมา
    คือมีความจริงใจจนติดเป็นนิสัยมั่นคง
    ความจริงใจนั้นจะเป็นเหตุ ทำให้จิตใจมีพลัง
    ฟันฝ่าอุปสรรคเหมือนกระสุนที่ถูกยิงไปด้วยพลังอย่างสูง
    ย่อมแหวกว่ายเจาะไชเอาชนะสิ่งที่ขวางหน้าไปจนได้
    และเพราะค่าที่สัจจะเป็นกำลังส่งจิตใจให้บรรลุเป้าหมายได้
    แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ได้บรรลุพระอรหันต์สัมมาสัมโพธิญาณ ก็ด้วยสัจจะนี้

    ดังนั้นสัจจะท่านจึงจัดไว้เป็นบารมีอย่างหนึ่งในบารมีสิบประการ
    ที่พระโพธิสัตว์จะขาดเสียมิได้ เรียกว่า พระโพธิสัตว์บารมี

    วิธีตั้งสัจจะไว้ในใจมี ๒ วิธีคือ
    ๑. สัจจะธิษฐาน คือ อธิษฐานด้วยใจ
    ตั้งใจให้แน่วแน่ว่า ตนมีความปรารถนาอย่างนั้น
    โดยทั่วไปนิยมตั้งสัจจาธิษฐาน ต่อจากได้ไหว้พระสวดมนต์ประจำวัน
    หรือได้ทำบุญสุนทานแล้ว
    ดังจะเห็นได้จากคำถวายทานต่าง ๆ
    ซึ่งมักจะมีคำสัจจานิษฐานลงท้ายเสมอ
    เช่น “อาสวกฺขยาวหํ นิพฺพานํ โหตุ” หรือ “นิพฺพานปัจฺจโย โหตุ”
    ซึ่งแปลว่า ขอให้ผลบุญนี้ทำให้ตนสิ้นกิเลสาสวะ
    บรรลุพระนิพพานเถิด ความปรารถนาเหล่านี้
    บางคนเข้าใจว่าเป็นคำอ้อนวอนแบบศาสนาอื่นอ้อนวอนพระเจ้า
    แต่ความจริงไม่ใช่ ที่ถูกแล้วเราปฏิบัติตามคุณธรรม คือ สัจจะนี้ นั่นเอง

    ๒. สัจจะปฏิญาณ คือ การเปล่งวาจา
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายโปรดพินิจพิจารณาด้วย
    อันออกด้วยวาจาให้คนอื่นได้ยิน
    เหมือนอย่างเช่น โยมกรวดน้ำต้องพูดให้ได้ยิน เปรตถึงจะได้รับผล
    ถ้าหากพูดไม่ได้ยิน เปรตไม่รู้เรื่อง ไม่ได้อะไรเลย
    ตรงนี้ชาวพุทธโปรดพิจารณาด้วย
    การที่ต้องทำอย่างนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้อื่นด้วย
    และเพื่อให้เกิดความละอายแก่ใจของตน
    เมื่อจะพลั้งเผลอ ละเมิด สัจจะนั้น
    คือ ความนึกคิดที่ตั้งไว้ในใจนั่นเอง ให้เกิดความรู้สึกละอายใจ

    คุณของความมีสัจจะ เช่น
    ๑. เป็นคนหนักแน่น อดทน
    ๒. มีความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจ
    ๓. การงานหรือกิจที่ทำนั้นได้ผลดีเป็นพิเศษ
    ๔. มีคนเชื่อถือ และยำเกรง
    ๕. ทำความมั่นคงให้เกิดแก่ครอบครัวของตน
    ๖. ทำดีไม่ท้อถอย

    โทษของการขาดสัจจะ เช่น
    ๑. เหลาะแหละ เหลวไหล
    ๒. ตกต่ำ หายนะ
    ๓. ล้มเหลว กิจการล้มเหลวหมด
    ๔. คนเหยียดหยาม ไม่เชื่อถือ
    ๕. ความเจริญใจบรรดามีตั้งอยู่ไม่ได้
    ๖. หาความสุขในครอบครัวไม่ได้

    ๒. คำว่า ทมะ แปลได้หลายอย่าง
    แปลว่า ฝึก, ข่ม รวมความแล้วก็คือ
    การปรับปรุงตัวเองให้ก้าวหน้าเหมาะสมกับการงาน และสังคม นั่นเอง
    ในทางปฏิบัติ ทมะมีลักษณะ ๓ อย่างคือ
    ๑. ทมะ มีลักษณะเป็นความฝึก
    ๒. ทมะ มีลักษณะเป็นความหยุด
    ๓. ทมะ มีลักษณะเป็นความข่ม

    ทมะ มีลักษณะเป็นความฝึก หมายความว่า ฝึกทำงานให้เป็น
    เพราะในสังคมนั้นมีงานมากมายหลายอย่างต่างๆ กัน
    เช่น งานทำนา งานทำสวน งานช่างไม้ งานช่างเหล็ก
    งานช่างปูน เป็นต้น
    ถ้าเราเองเกิดมาในลักษณะเป็นคนทำงานไม่เป็น
    และเราก็มีชีวิตอยู่ในสังคมทั้งๆ ที่เราทำงานไม่เป็นอย่างนี้
    ย่อมเป็นอันตรายแก่ตัวเอง และเป็นภาระแก่สังคมอย่างยิ่ง
    เพราะคนที่ทำอะไรไม่เป็นเลยนั้น จะทำได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง
    คือ ทำความลำบากแก่คนอื่น
    เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มี ทมะ
    คือ ฝึกหัดอบรมตนเองให้เป็นงาน นำมาหาเลี้ยงชีพเป็น
    จะฝึกตนได้อย่างนี้ ก็ต้องข่มใจ ฝึกใจตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ
    คือ พระกรรมฐาน กำหนดอยู่ตลอดเวลารับรองได้ผลแน่
    ข่มจิตตึ้งจิตตั้งสติหันเหไปในทางที่ผิดหนักเข้า
    ก็จะนำความลำบากเดือดร้อนกลับมาสู่ตนและครอบครัว
    ตลอดจนสังคม เช่นถ้าตัวเราจะกลายเป็นคนติดสุรา
    เป็นนักเลงการพนัน เป็นนักเลงเจ้าชู้ เป็นต้น
    เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ทั้งนั้น

    ถ้าเราไม่รู้จักยับยั้งตัวเอง ความหยุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
    ในคราวที่เราจะถลำไปสู่ความชั่ว ในคราวผิดพลาด
    ตัวอย่างเช่นในคราวทะเลาะวิวาทกั้น จะคิดทำทุจริต
    จะตกไปสู่อบายมุขและจะหันไปสู่ความเป็นคนเลว
    เมื่อถึงคราวอย่างนั้นก็จะต้องรู้จักหยุดข่มใจตัวเองตั้งสติไว้
    รู้หนอ… รู้หนอ… นี่มันชั่วอย่าทำ
    คิดหนอ… คิดหนอ… อย่าทำ
    คิดแต่ดี นี่คือข่มใจของตัวเอง นี่คือ พระกรรมฐาน
    ฝึกใจเพื่อตนเองให้กลับไปสู่ทางที่ดี ที่ถูกที่ควร
    หรือเหมาะสมตามฐานะของตนเองโดยทั่วกัน

    ท่านทั้งหลายเอ๋ยโปรดพิจารณาตัวเองนี่คือ พระกรรมฐานทั้งนั้น
    แต่ท่านไม่เคยกำหนดจิต สติท่านไม่ดีจะหละหลวมเหลาะแหละ
    เหลวไหลชัดเจน ทมะจึงมีลักษณะเป็นความข่ม
    หมายความว่า การข่มใจ ข่มตัวอย่าให้กำเริบเสิบสานจนเกินไป
    ตามปกติตัวของเราถ้าปล่อยไปตามอำเภอใจ
    ตามยถากรรมก็จะมีความจองหองพองขนขึ้นไปมาก
    ทั้งในการกินอยู่ การเที่ยวเตร่
    หนักเข้าตัวเองก็จะไม่สามารถปรนเปรอให้แก่ตัวเองได้
    กลายเป็นคนมีความเป็นอยู่สูงเกินฐานะ
    ผู้ที่เป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นคนอยู่ในอุปการะของคนอื่นก็นำความเดือดร้อน
    อิดหนาระอาใจแก่อุปการะเลี้ยงดู
    ก็แม้ว่าเป็นผู้หาเลี้ยงตัวเอง ก็ไม่วายเดือดร้อน รายจ่ายเกินรายได้
    หนักเข้าก็กู้หนี้ยืมสินรุงรังตั้งตัวไม่ติด
    ยิ่งถ้าเป็นคนมีครอบครัว ก็จะพากันระส่ำระส่ายไปทั้งครอบครัว

    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ท่านจึงสอนให้บำเพ็ญทมะ คือ รู้จักข่มตัว
    คือการเจริญสติข่มตัวเองไว้มิให้เห่อเหิมเกินฐานะตัวเอง
    จะเสียท่าเสียกาลเวลา

    คุณแห่งความมีทมะ เช่น
    ๑. ทำให้มีความสามารถในการทำงาน
    ๒. ไม่เป็นที่รังเกียจของคนอื่น
    ๓. ไม่มีเวรภัยกับใคร
    ๔. มิตรภาพมั่นคง
    ๕. ยั้งตัวไว้ได้ เมื่อจะทำผิด
    ๖. ตั้งตัวได้

    โทษแห่งความไม่มีทมะ เช่น
    ๑ จะตกเป็นกาฝากสังคม
    ๒. จะตกเป็นอาชญากร
    ๓. จะจมลงสู่อบายมุข
    ๔. เต็มไปด้วยการทะเลาะวิวาท
    ๕. เพื่อนฝูงรังเกียจ
    ๖. ตั้งตัวได้ยาก
    ๗. ครอบครัวเดือดร้อน

    ๓. คำว่า ขันติ แปลว่า ความอดทน
    เป็นลักษณะความเข้มแข็งของจิตใจในการพยายามทำความดี
    และถอนตัวออกจากความชั่ว

    ที่ว่า อดทน ก็ความอดทนนั้น
    ขอให้เข้าใจว่า มีความอดทนต่อฝ่ายที่ไม่ดี
    เพื่อยืนหยัดอยู่ในทางที่ดีให้ได้
    ไม่ใช่หมายความว่า ใครตกอยู่ในสภาพเดิมนั้น เสมอไปหามิได้
    เช่น เป็นคนยากจนแล้วก็ทนอยู่ในความยากจนอยู่อย่างนั้น
    หรือ หมากรุก ๖๔ ตา เดินอยู่ตาจนอย่างนั้นตลอดรายการ
    ไม่รู้จักเปลี่ยนตาเดิน คนประเภทนี้ไม่ใช่นักกรรมฐาน
    ไม่พยายามขวนขวายหาทรัพย์
    หรือตัวเองเป็นคนขี้เกียจคร้านงานการไม่ทำ
    แม้จะถูกคนอื่นสับโขกอย่างไรก็ทนเอา อย่างนี้ไม่ใช่ขันติ
    ไม่ใช่ความอดทนตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา
    เป็นลักษณะความ “ตายด้าน” ความอดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย
    บางคนมักจะแสดงมารยาทอันไม่สมควรออกมา
    เช่น เจ็บปวดไม่พอจะร้องก็ร้อง ไม่พอจะครางก็คราง
    มีอาการกระบิดกระบวนเป็นคนเจ้ามารยา โทโสโมโหง่าย
    บางคนอ้างความป่วยเป็นเลิศ สร้างความชั่วต่าง ๆ ก็มี
    แต่ผู้มีขันติย่อมรู้จักอดกลั้น อดทนไม่ปล่อยตัวไปได้เสีย
    หรือตกไปในความชั่วดังกล่าวนั้น

    ความอดทนต่อความเจ็บใจ หมายความว่า
    เมื่อถูกผู้อื่นกระทำล่วงเกินให้เป็นที่ขัดใจ
    เช่น ถูกด่าว่า หรือสบประมาท ผู้ขาดขันติ
    ย่อมเดือดดาลแล้วทำร้ายตอบ ด้วยการกระทำอันร้ายแรงเกินเหตุ
    เช่นว่า เหน็บแนมด้วยวาจาหยาบคายหรือก่อความวิวาท
    ตีรันฟันแทง สร้างเวรกรรมไม่สิ้นสุด
    เป็นทางนำมาซึ่งความหายนะแก่ตัวและครอบครัว
    แต่ผู้มีขันติ ย่อมรู้จักอดทนสอนใจตัวเอง
    หาวิธีแก้ไขให้เรียบร้อย เป็นผลดีด้วยความสงบดังที่กล่าวแล้ว
    ความอดทนต่อความเจ็บใจนี้
    เป็นความอดทนต่ออารมณ์ข้างฝ่ายเพลิดเพลิน
    เช่น ความสนุก การเที่ยวเตร่ที่ไม่เหมาะไม่สมควร

    ความอดทนต่ออำนาจกิเลส หมายความว่า
    ความอดทนต่ออารมณ์ที่น่ารักน่าพอใจ
    ดูก็ไม่น่าจะต้องใช้ความอดทนอะไร เพราะไม่ทำให้เราลำบาก
    แต่ที่ต้องใช้ความอดทน เพราะทำให้เราเสียหายได้
    คนที่ไม่มีขันติ มักจะทำกรรมอันน่าบัดสีต่างๆ ได้
    เพราะอยากได้สิ่งที่ตนรัก เช่น รับสินบน ผิดลูกเมียเขา
    เห็นเงินตาโต รู้มาก เห่อเหิม เมาอำนาจ ขี้โอ่โอ้อวด เป็นต้น
    ก็การอดทนต่ออำนาจกิเลสเหล่านี้
    ว่าโดยย่อๆ คือ อดทนต่ออำนาจความอยาก นั่นเอง

    คุณแห่งความมีขันติ เช่น
    ๑. ทำงานได้ผลดี
    ๒. บำเพ็ญตนเป็นหลักแห่งบริวารชน
    ๓. ไม่มีการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน
    ๔. ไม่ทำผิด เพราะเห็นแก่ความอยาก

    โทษแห่งความขาดขันติ เช่น
    ๑. ทำงานคั่งค้าง จับจด
    ๒. เสียความไว้วางใจของผู้อื่น
    ๓. เต็มไปด้วยศัตรู
    ๔. จะกลายเป็นอาชญากร

    ๔. คำว่า จาคะ แปลว่า ความเสียสละ
    หมายถึง ความตัดใจ หรือตัดกรรมสิทธิ์ของตน
    ตัดความยึดถือเสีย
    ความเสียสละในคำว่า จาคะนี้มี ๒ นัย
    คือ สละวัตถุและสละอารมณ์

    สละวัตถุ หมายความว่า สละทรัพย์สิ่งของของตน
    เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น เช่น สละเงินสมทบทำสะพาน
    สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน ซื้อรถดับเพลิง
    บำรุงการทหารของชาติ บำรุงศาสนา บำรุงการศึกษา
    ตลอดจนบริจาคสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ตกทุกข์ได้ยากต่างๆ
    ผู้ครองเรือนย่อมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสังคม
    นับตั้งแต่การทำมาหากิน ตลอดการดำรงชีพในแง่ต่าง ๆ
    เพราะฉะนั้น ผู้ครองเรือนจึงจำเป็นต้องถือเป็นหน้าที่
    ในการบริจาคช่วยเหลือสังคมตามกำลังความสามารถ
    กล่าวคือ เมื่อสังคมเป็นฝ่ายให้แล้ว เราจะให้อะไรบ้างแก่สังคม
    คนที่อยู่ในสังคมได้รับประโยชน์ต่อสังคม แต่ไม่อุดหนุนบำรุงสังคม
    ก็ย่อมเป็นคนที่สังคมรังเกียจ
    ในฐานะเป็นคนรู้มากและเป็นกาฝากของสังคม
    สังคมใดมีคนประเภทกาฝากมาก สังคมนั้นย่อมจะมีความมั่นคงน้อย
    ฉะนั้นหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงสอนให้มีจาคะทั่วกัน

    สละอารมณ์ หมายความว่า เป็นคนรู้จักปล่อยวางอารมณ์
    ที่เป็นข้าศึกต่อความสงบใจ
    เช่น ความโกรธเคืองขัดใจกับคนอื่น จะเป็นกับภรรยาสามี
    กับเพื่อนฝูง หรือกับเพื่อนบ้านก็ตาม
    ซึ่งเป็นเรื่องที่คนชาวบ้านจะหลีกเลี่ยงเสียมิได้
    แต่การเก็บอารมณ์เหล่านี้ หมักหมมไว้ในใจ
    ย่อมนำมาซึ่งความร้าวรานไม่สิ้นสุด
    และทำให้ตนเองเป็นทุกข์เดือดร้อน
    เมื่อสั่งสมไว้นานๆ หรือมากๆ ก็จะเป็นสาเหตุของโรคประสาทได้
    เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มีจาคะ คือ ให้เสียสละ
    ปล่อยวางอารมณ์ประเภทนี้เสีย
    การปล่อยวางอารมณ์อย่างนี้ ก็เป็นจาคะอย่างหนึ่ง

    คุณของความมีจาคะ เช่น
    ๑. ทำความปลอดภัยแก่ตนเอง
    ๒. ทำความมั่นคงแก่สังคม ประเทศชาติ
    ๓. เป็นที่นับหน้าถือตาของคนอื่น
    ๔. ทำความสงบสุขแก่ครอบครัว สังคม
    ๕. จิตใจเป็นสุข

    โทษของการขาดจาคะ เช่น
    ๑. บั่นทอนความมั่นคงของตน และของประเทศชาติ
    ๒. ได้รับความครหาติเตียน
    ๓. ทุกข์ใจ

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายเอ๋ย
    การเจริญพระกรรมฐานเป็นการแก้ไขปัญหาชีวิตนั่นเอง
    อาตมาจึงได้เขียนเป็นคำคล้องจองสั้นๆ ว่า
    “เสียสละ สัจจะ เมตตา สามัคคี มีวินัย
    ซึ่งตรงกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าชัดเจนมาก

    การเจริญพระกรรมฐานจึงมี ๓ ประการ
    ระลึกชาติได้ ท่านจะรู้เหตุผลว่า เราทำกรรมอะไรไว้
    อย่าได้สร้างเวรสร้างกรรม สร้างศัตรูต่อกัน
    ก็ให้มีจาคะแบ่งปันซึ่งกันและกัน
    เราช่วยเหลือคนโน้น ช่วยเหลือคนนี้ ช่วยเหลือคนนั้น
    โดยไม่เหลือวิสัย ก็จะเกิดแก้ปัญหา มีแต่มิตรภาพ จะไม่สร้างศัตรู
    จะสร้างแต่ความเป็นมิตรซึ่งกันและกัน
    ความสามัคคีก็เกิดขึ้น ในเมื่อความสามัคคีเกิดขึ้นแล้ว
    ความเป็นอยู่ก็อยู่ดีกินดี มั่งมีศรีสุข
    วันเวลาที่ล่วงไปจะสร้างแต่ความดีตลอดกัลปาวสาน

    สัจจะ สามัคคี มีวินัย ท่านจะมีจิตใจเป็นปัญญาภาวนา
    เรียกว่า สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการสดับตรับฟัง
    จินตมยปัญญา ปีญญาที่เกิดจากความคิด จากพระกรรมฐาน
    คิดหนอ… คิดหนอ… เกิดปัญญาจากความคิดดีขึ้น
    ไม่เสียหายแต่ประการใด ปัญญาจากการคิด จากการฟัง
    ยังไม่เท่ากับภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาก็ได้ผลชัดเจน
    เกิดขึ้นมาในดวงใจใสสะอาด ในเมื่อผุดขึ้นมาในดวงใจแล้ว
    มันจะออกมา ไหลมาจากปัญญา นั่นคือ ปัญญาแก้ไขปัญหาได้
    สามารถจะทำให้จิตใจใสสะอาดบริสุทธิ์ได้ ก็คือ สัจจะ เมตตา
    สามัคคี มีวินัย นั่นเอง มีทั้งสัจจะ มีทั้งความเป็นอยู่ของชีวิตดี
    คือ จาคะ ให้แบ่งปันกัน คือ เฉลี่ยความสุขให้คนอื่นเขา
    มีอะไรก็แบ่งกันกินแบ่งกันใช้

    ของกินไม่แบ่งกินแบ่งใช้ก็เน่า เรื่องเก่าไม่เล่ามันก็ลืม
    และจะเสียค่าเวลาของท่านเหล่านั้น ท่านเสียสละได้
    ให้เขาได้เขาก็รักเราสมัครสมานสามัคคีปรองดองกับเรา
    เรียกว่า ความสามัคคี ความสามัคคีเกิดขึ้นที่ใด
    ที่นั่นมีวินัย ที่ไหนไม่มีความสามัคคีกัน
    แตกกันคนละหัวคนละหาง ไม่มีวินัยในหมู่นั้น
    จะแตกแยกกันไปตลอดรายการ
    ความเป็นระเบียบ ความมีระเบียบ หมดโอกาสที่จะดีได้

    คัดลอกจาก...
    http://www.jarun.org
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2010
  17. ไม่ลืมตัว

    ไม่ลืมตัว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    หนุมาน ผู้นำสาร ตัวจริง และที่กำลังใช้ชื่ออื่นมาโพสกระทู้นี้ และ ตั้งกระทู้
    อื่นที่ใกล้และหมิ่นเหม่ต่อการละเมิด ปรามาส
    คุณอาจนำเสนอสิ่งดีๆไว้มาก มีทั้งถูกและผิด ทั้งที่คิดพิจารณาและคัดลอกมา
    ก็ตาม ความดีของคุณก็มี

    แต่อย่าลืมว่า
    พระรัตนตรัยและสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่อาจล่วงละเมิดได้
    นี่ก็เป็นความจริงพื้นฐานตามกฏหมายและคุณธรรมพื้นฐานที่ไม่ควรลืม



    <TABLE id=post3113000 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid" class=thead>[​IMG] 25-03-2010, 12:29 AM </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=thead align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2 width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด.<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3113000", true); </SCRIPT>
    ทีมผู้ดูแลเว็บบอรด์

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jul 2008
    ข้อความ: 632
    Groans: 2
    Groaned at 14 Times in 8 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 43
    ได้รับอนุโมทนา 1,119 ครั้ง ใน 271 โพส
    พลังการให้คะแนน: 403 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_3113000 class=alt1><CENTER><!-- google_ad_section_start -->ทำผิดกฏ (ใบแดง) สำหรับ คุณ หนุมาน ผู้นำสาร: หมิ่นเบื้องสูง<!-- google_ad_section_end -->

    </CENTER>
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ost: อยากให้คนไทยทุกคนได้อ่านครับ, ในหลวงของเราทุกคน
    User: หนุมาน ผู้นำสาร
    Infraction: หมิ่นเบื้องสูง
    Points: 3

    Administrative Note: อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ควรระมัดระวังที่สุด </TD></TR></TBODY></TABLE>

    Message to User: อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>
    ห้ามหมิ่นเบื้องสูงทุกกรณี


    องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพสัก การะผู้ใดจะละเมิดมิได้

    ที่มา มาตรา 8


    .................

    ขอสมาชิกทุกท่านช่วยกันสอดส่องดูแล

    พบเห็นกดปุ่ม [​IMG] แจ้งทุกเวลา


    บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้

    ที่มา มาตรา 70

    ที่มารวม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    เว็บพลังจิต อ่านกระทู้นี้ให้เข้าใจเป็นพิเศษ ดูให้ตรงห้องก่อนตั้งกระทู้




    ขอบคุณทุกๆท่าน
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    Original Post: อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>*** ตัดลดปลดกิเลสนิสัย ตัญหา ราคะ ราชามานะทิฐิ ****

    พระพุทธเจ้า...ประกาศ สัจจะเป็นคำสอน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร " </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    ข้าพเจ้าขออนุญาติไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้
    เนื่องจากไม่ได้ศึกษาธรรมะตามแนวทางบาลีสันสกฤต
    ที่ข้าพเจ้าเปิดกระทู้นี้ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านหนุมาน
    ซึ่งข้าพเจ้าสัมผัสได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ตามแนวศาสนาพุทธที่เข้าใจถึงระดับจิตวิญญาณ
    แต่ข้าพเจ้าเรียนรู้พุทธศาสนาจากการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
    ไม่ได้ศึกษาหรือเรียนรู้ตามแนวอภิธรรมหรือพระไตรปิฏก

    มีข้อคิดอีกแง่หนึ่งคือ เราใช้อะไรเป็นตัวตัดสินผู้อื่นว่าผิดหรือถูก
    เอาแค่สังคมเล็กๆ ในเว็ปพลังจิตนี้ ไม่ว่าใครจะคิดเช่นไร? มันก็ถูกของเค้า
    แม้แต่ข้าพเจ้าเองมีครูบาอาจารย์ที่เคารพรักหลายท่าน
    หากมีใครสักคนมาตะโกนหรือชี้หน้าด่าอาจารย์ต่อหน้าข้าพเจ้า
    ข้าพเจ้าก็จะไม่รู้สึกโกรธ เพราะคิดได้ว่าถ้าหากเค้าคนนั้นไปตะโกนหรือชี้หน้า
    ด่าอาจารย์ต่อหน้าท่าน ท่านก็คงจะไม่แสดงอาการโกรธออกมาให้เห็นไปแน่
    ตรงกันข้ามท่านจะต้องแสดงออกถึงความรักความเมตตาต่อความไม่รู้ของบุคคลนั้น
    แต่ถ้าหากเราโกรธก็แสดงว่าตัวเราต่างหากที่โกรธ ไม่ใช่อาจารย์เลย..({)
     
  19. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
  20. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    [​IMG]
    สัจจะตัวเดียวมีทั้งอภินิหารทาน ศีล ภาวนา
    ...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม...

    สัจจะตัวเดียวนี้มีอภินิหารทั้งทาน ศีล ภาวนา
    สัจจะตัวเดียวมีอภินิหารมาก
    อภินิหารแผลงฤทธิ์ได้ด้วย
    อยู่ยงคงกระพันเสียด้วย
    แล้วสามารถจะทำงานสำเร็จทั้งคดีโลกคดีธรรม
    ตัวอย่างว่าญาติโยมมีสัจจะไหม
    มีความจริงในชีวิตไหม
    ถ้าไม่มีขอให้สร้างเสียแต่บัดนี้
    ไม่ใช่มานั่งหลับหูหลับตาเลย
    ข้าพเจ้าจะเดินจงกรม
    ข้าพเจ้าจะนั่งภาวนา ๑ ชั่วโมง
    ไม่ถึง ๑ ชั่วโมงข้าพเจ้าจะไม่เลิก
    วันนี้ข้าพเจ้าตั้งใจจะตักน้ำซัก ๒ หาบ
    ต้องตักให้เต็ม ๒ หาบ ถึงจะมีสัจจะ

    คนชาวพุทธส่วนมากทำอะไรไม่ได้ผล
    เพราะเสียสัจจะ
    สัจจะตัวเดียวเท่านั้น
    ไม่ต้องไปเอาตักบาตร
    ทำบุญให้ทานมากมายหรอก

    อาตมาเคยเห็นมาหลายคนแล้ว
    ตั้งใจว่าข้าพเจ้าจะเดินจงกรม ๑ ชั่วโมง
    นั่งภาวนา ๑ ชั่วโมง พอนั่งไปได้สัก ๔๐ นาที
    ก็ว่าสายหน่อยค่อยนั่งต่อไป
    หลายคนบางทีนั่งไปก็ว่านอนก่อนเถอะ
    หรือให้เด็กมันหลับก่อนค่อยปฏิบัติต่อเถอะ
    อย่างนี้ไม่ได้อะไรเลยนะ ไม่ได้จริงๆ ด้วย
    เพราะเสียสัจจะ สัจจะลบหมดเลย
    ไม่ต้องไปสร้างที่ไหนแล้ว
    แล้วไม่ต้องสร้างบารมีต่อไป
    ทานก็ไม่มี ศีลก็ไม่เกิด นี่ธรรมะก็ไม่เกิดด้วย
    ปัญญาบารมีจะเกิดได้อย่างไร เพราะขาดสัจจะ
    เดี๋ยวนี้ขาดตัวนี้ไม่ต้องไปเอาอะไรอย่างอื่นหรอก
    สัจจะไม่มีเลย
    คนที่มีสัจจะนี่ ปืนยิงไม่ออก ระเบิดก็ไม่ระเบิดเสียด้วย
    นี่ ตัวสัจจะ สำคัญมาก

    ญาติโยมโปรดทราบเถิดว่า
    หัวใจของเราคือสัจจะ มรรคสัจจะ
    สัจจะในองค์มรรค
    ถ้าเราไม่มีสัจจะ มรรคไม่เกิด ไม่เกิดแน่
    จะนั่งวิปัสสนา มรรคไม่เกิดแน่

    อาตมาเคยเดินธุดงค์กับหลวงพ่อดำในป่า
    ก็ต้องใช้สัจจะอีก หลวงพ่อดำอายุกี่ร้อยปีนะ
    อาตมาก็เคยเดินธุดงค์ไปกับท่านในป่า
    อาตมายังไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อแล้ว
    ท่านบอกว่าคุณเป็นคนจริงหรือเปล่า
    เราก็ยังไม่รู้ความหมาย ก็ตอบท่านว่าไม่ทราบ
    ท่านจึงบอก จำไว้ถ้ามีสัจจะ เป็นคนจริง
    ถ้าไม่มีสัจจะ จะใช้อะไรไม่ได้เลย
    ทุกอย่างเสียหมดแล้ว
    ไม่ต้องอธิษฐานอะไร ไม่ขึ้นจริงๆ ท่านว่าอย่างนี้
    นี่โยมคงเคยได้ยินชื่อหลวงพ่อดำ
    ท่านไม่ได้ชื่อดำหรอกนะ ไม่ทราบว่าท่านชื่ออะไร
    แต่อาตมาเรียกท่านอย่างนั้นเอง
    ไม่ทราบว่าอายุกี่ร้อยปี แล้วยังอยู่ด้วยนะ
    มีสัจจะก็จะเห็นนะ ไม่มีสัจจะก็จะไปไม่ถึง
    องค์นี้หรือ อาตมาจะไม่ขอกล่าวต่อไป

    คนไหนไม่มีสัจจะจะเกิดมรรคไม่ได้ มรรคมรรคาไม่ได้
    ต้องมีมรรค ๘ ในทฤษฎี แต่โยมขาดสัจจะ
    ก็มีมัก ๒ มักเกิดเลย โยมรู้ไหมว่า มัก ๒ มัก คืออะไร
    คือมักง่าย กับมักได้แน่นอน

    คนไม่มีมรรคสัจจ์ คนนั้นมี ๒ มัก
    โยมไปสังเกตดู คนไหนทำอะไรง่ายๆ ส่งเดชไป
    ก็มักจะมักได้เสียด้วย เอาแต่ได้แต่ไม่ยอมเสีย
    แต่พอหันมุมกลับ คนไหนเสียสละได้
    เสียสละเพื่อได้ ได้อะไร ได้บุญ ได้คุณประโยชน์
    นี่ถึงอย่างงี้นา เห็นแก่ได้เลย ๒ มักนั้นแทนจำไว้
    มรรคสัจจ์ คือสัจจะเป็นมรรค
    ถ้าคนไหนไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริงแล้ว
    ไม่ได้มรรค ไม่ได้ผล ไม่ได้นิพพาน ไม่ต้องไปหานะ
    จะเห็นผลไปเรื่อยๆ โยมนั่งเป็นยังไง สบายมากเลย
    นั่งถึงหนึ่งชั่วโมงไหม ฉันก็ตั้งสัจจะทุก ๑ ชั่วโมง
    เวลาจะเลิกไม่ถึงทุกที
    นี่ไม่มีสัจจะ จะตายก็ให้มันตายซิ
    เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไป ข้าพเจ้าขอยอมตาย
    เอาปณิธานของพระพุทธเจ้ามาใช้สิ

    คัดลอกมาจาก...
    http://www.geocities.com/skychicus/luangpor_sajja.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...