เรียนเชิญปฏิบัติธรรม วันมาฆบูชา แนววิชชากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 6 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    เรียนเชิญกุลบุตร กุลธิดา เข้าร่วมการปฏิบัติธรรม วันมาฆบูชา
    แนววิชชากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓
    ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓
    ณ สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ)
    แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

    [​IMG]<O:p</O:p



    ด้วยสำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จัดกิจกรรมการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญ เนื่องในวันมาฆบูชา วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือวันจาตุรงคสันนิบาต สืบเนื่องพระพุทธองค์สมณโคดมได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา เป็นพุทธบูชา และบำเพ็ญน้อมถวายเป็นพระกุศลเฉลิมพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ




    [​IMG]



    <O:p</O:pสำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) เป็นสำนักการเรียนรู้ฝึกจิตภาวนา เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีงามแห่งสุขภาวะทางปัญญา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตามสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางสายวิชชาประจำกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสายวิชชาที่สืบสานมาแต่โบราณ นับแต่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (เจ้าประคุณสุก ไก่เถื่อน) บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำรัตนโกสินทร์ โดย พระสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ผจล. ชอ.วิ.) พระอาจารย์บอกพระกรรมฐาน และคณะธรรมทายาท ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (วัดพลับ) ดังมีกำหนดการ



    [​IMG]



    วันเสาร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
    เวลา ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียนผู้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม
    เวลา ๐๙.๐๐ น. พิธีขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (พิธีโบราณ)
    เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. รับศีล ๘ ขึ้นพระกรรมฐาน เจริญภาวนา และสอบอารมณ์กรรมฐาน
    เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน / พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. ฟังบรรยายธรรม และถาม/ตอบปัญหาธรรม
    เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. พักดื่มน้ำปานะ / พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา ๑๔.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. นั่งเจริญพระกรรมฐาน เดินจงกรม และสอบอารมณ์กรรมฐาน
    เวลา ๑๖.๐๐ น. สวดมนต์ ทำวัตรเย็น เจริญพระกรรมฐาน (กลับบ้านหรือค้างวัด)


    [​IMG]



    วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓<O:p</O:p
    เวลา ๐๖.๓๐ – ๐๗.๓๐ น. สวดมนต์ ทำวัตรเช้า เดินจงกรม<O:p</O:p
    เวลา ๐๗.๓๐ – ๐๙.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า
    เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. นั่งเจริญกรรมฐาน เดินจงกรม และสอบอารมณ์กรรมฐาน
    เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน / พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. ฟังบรรยายธรรม และถาม/ตอบปัญหาธรรม
    เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. พักดื่มน้ำปานะ / พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา ๑๔.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. นั่งเจริญพระกรรมฐาน เดินจงกรม และสอบอารมณ์กรรมฐาน
    เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. สวดมนต์ ทำวัตรเย็น เจริญพระกรรมฐาน / พักผ่อนตามอัธยาศัย<O:p</O:p
    เวลา ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ฟังเทศนธรรม – เวียนเทียนรอบพระอุโบสถ (กลับบ้านหรือค้างวัด)


    [​IMG]



    <O:p</O:p
    <O:p
    วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓<O:p</O:p
    เวลา ๐๖.๓๐ – ๐๗.๓๐ น. สวดมนต์ ทำวัตรเช้า เดินจงกรม<O:p</O:p
    เวลา ๐๗.๓๐ – ๐๙.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า
    เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. นั่งเจริญกรรมฐาน เดินจงกรม และสอบอารมณ์กรรมฐาน
    เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน / พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. ฟังบรรยายธรรม และถาม/ตอบปัญหาธรรม
    เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. พักดื่มน้ำปานะ / พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา ๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย (หรือเจริญพระกรรมฐานตามอัธยาศัย)
    เวลา ๑๕.๐๐ น. ลาศีล เดินทางกลับบ้าน


    [​IMG]


    <O:p</O:p
    <O:p

    จึงขอเรียนเชิญกุลบุตร กุลธิดา ผู้สนใจใฝ่บำเพ็ญเพียร เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เพื่อเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันมาฆบูชานี้ ทั้งนี้ การฝึกเจริญภาวนาเป็นไปอย่างเรียบง่าย เพียงสามารถแต่งกายสุภาพ (สีขาว) ความสะดวกในอิริยาบถการปฏิบัติธรรม และสามารถเข้าร่วมแบบไป/กลับ หรือพักค้างคืนได้ตามสะดวก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด ที่สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (วัดพลับ) ถนนอิสรภาพ ซอย ๒๓ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ โทร. ๐๘๔ ๖๕๑ ๗๐๒๓

    http://somdechsuk.com/



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.715051/[/MUSIC]​


    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2010
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    วันมาฆบูชา “วันกตัญญูแห่งชาติ”

    [​IMG]


    วันมาฆบูชา “วันกตัญญูแห่งชาติ"
    ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓
    <O:p

    <TABLE style="BACKGROUND: #cccccc; mso-cellspacing: .7pt; mso-yfti-tbllook: 1184; mso-table-lspace: 2.25pt; mso-table-rspace: 2.25pt; mso-table-anchor-vertical: paragraph; mso-table-anchor-horizontal: column; mso-table-left: right; mso-table-top: middle; mso-padding-alt: 2.25pt 2.25pt 2.25pt 2.25pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 align=right><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 2.25pt; PADDING-LEFT: 2.25pt; PADDING-RIGHT: 2.25pt; BACKGROUND: white; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 2.25pt"></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชา จึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป




    [​IMG]


    คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
    ๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
    ๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
    ๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
    ๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
    การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี
    <O:p
    ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย
    <O:p</O:p
    ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์ หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน
    <O:p</O:p
    สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ
    <O:p</O:p
    อนุโมทนาที่มาข้อมูล: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2010
  3. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

    สาธุ ครับ
     
  4. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,662
    ค่าพลัง:
    +9,236
    [​IMG]

    ขออนุโมทนาบุญด้วยทุกประการค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2010
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เกี่ยวกับวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ


    [​IMG]


    "พระราหุลเถรเจ้า"

    พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติสืบ ๆต่อ ๆ กันมาช้านานนับแต่ครั้งพุทธกาล โดย "พระราหุลเถรเจ้า" ท่านทรงเป็นต้นสาย ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้าสู่แผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยพระโสณะเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระบวรพระพุทธศาสนา พร้อมพระสมถะ – วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมา จนถึงยุคศรีทวาราวดี

    การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบต่อมาจนถึงยุคศรีทวาราวดี ยุคสุโขทัย ยุคศรีอยุธยา และยุคศรีกรุงรัตนโกสินทร์ และในยุคกรุงศรีรัตนโกสินทร์นี้เอง สายวิชชานี้ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ออกนอกลู่ นอกทางจากต้นแบบแผนก่อนเก่า คือ ไม่ปฏิบัติเป็นขั้นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติเสื่อมถอยลง

    จนปัจจุบัน จากความรู้ไม่ทั่วถึง จึงสมควรที่สาธุพุทธศาสนิกชนจะมาช่วยกันฟื้นฟู ผดุงรักษา แบบอย่างคำสอนแต่โบราณมิให้ถอยหาย เสื่อมสูญไป สาธุค่ะ
     
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สายวิชชาที่รวมลำดับ @ สมถะกรรมฐาน & วิปัสสนากรรมฐาน

    ขั้นตอนของการปฏิบัติ สายวิชชามัชฌิมากรรมฐาน แบบลำดับ


    จะรวมทั้งลำดับหมวดสมถะกรรมฐาน และลำดับหมวดวิปัสสนากรรมฐานเข้าไว้ด้วยกัน อย่างต่อเนื่อง

    โดยเริ่ม ผู้มีจิตศรัทราในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    เมื่อแรกเรียน จิตยังไม่ตั้งมั่น เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย แรกเรียนใหม่ๆ จะต้องได้รับฝึกฝนให้เรียนเอายังพระกรรมฐานที่มีอานุภาพเล็กน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย มีอารมณ์แคบสั้น เป็นอนุสติ เป็นราก เป็นเง้า เป็นเค้า เป็นมูล ของพระกรรมฐานที่จะเปิดบานประตูไปสู่พระกรรมฐานอื่นๆ ได้ง่าย

    ผู้ปฏิบัติจะต้องได้รับการฝึกฝนเริ่มจากลำดับสมถะ ( ซึ่งจะประกอบไปด้วยพระกรรมฐาน จำนวน ๓ ห้องพระกรรมฐาน ) เป็นการฝึกฝนตั้งกำลังสมาธิ เป็นพระกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง ของจิต จากจิตหยาบ

    ไปหาจิตที่ละเอียด เข้าลำดับพระวิปัสสนา จนสมาธิเต็มขั้น หรือรูปเทียมของปฐมญาณ เพื่อจะยังอารมณ์ใจเข้าถึงองค์ปิติธรรม ซึ่งแต่ละองค์ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน เพื่อเป็นราก เป็นเค้า เป็นมูล เป็นบาทฐานสมาธิเบื้องสูงต่อ ๆ ไป

    คัดความจากหนังสือ “หลักปฏิบัติสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) สุดยอดแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ขององค์ปฐมวิปัสสนาจารย์ประจำยุครัตนโกสินทร์<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,285
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิตทุกท่าน ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ
     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    อนุโมทนา สาธุการค่ะ



    ประมาณปีพระพุทธศักราช๒๕๖-๒๗๔ พระเจ้าอโศกมหาราชส่ง คณะพระโสณเถรเจ้าพระอุตระเถรเจ้าพร้อมพระสงฆ์ทศวรรคเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือไทยพม่าลาวเขมรในปัจจุบันนี้พระสงฆ์ได้สืบทอดพระพุทธศาสนาและพระธรรมวินัยสืบกันเรื่อยมา

    จวบจนถึงปัจจุบันนี้


    พระสงฆ์ที่อยู่วัดใกล้บ้านเรียกว่าพระสงฆ์คามวาสี
    พระสงฆ์ที่อยู่วัดในป่าเรียกว่าพระสงฆ์อรัญวาสี


    พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสีและวัดอรัญวาสีต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไปไม่มีการแบ่งแยกทางการศึกษาว่าจะศึกษาทางไหนก่อนหลังแต่ถ้าจะศึกษาทางปฏิบัติต้องไปยังสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่อันเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติพระกรรมฐานเจริญภาวนาในยุคต่างๆ เช่น
    <O:p</O:p
    ยุคสุวรรณภูมิ สำนักกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดท้าวอู่ทองเมืองสุวรรณสังข์ (เมืองอู่ทอง) มีพระโสณเถรพระอุตรเถรเป็นเจ้าสำนัก และเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคสุวรรณภูมิ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ยุคกรุงศรีทวาราวดี สำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดแสนท้าวโคตรกรุงศรีทวาราวดี มีพระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้าเป็นเจ้าสำนักเป็นศูนย์กลางของพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรศรีทวาราวดีสำนักเล็ก คือ วัดพญารามศรีทวาราวดี วัดสุวรรณารามกรุงศรีทวาราวดียุคศรีทวาราวดีพระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า(เพชร)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ยุคกรุงสุโขทัยสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดป่าแก้ว มีพระวันรัตมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนักเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรสุโขทัยสำนักพระกรรมฐานเล็กในยุคสุโขทัย เช่น วัดป่ารัตนาพระครูญาณไตรโลก เป็นเจ้าสำนักวัดสุทธาวาสพระครูญาณสิทธิเป็นเจ้าสำนักฯ ยุคสุโขทัย พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ยุคกรุงศรีอยุธยา วัดป่าแก้ว หรือเรียกกันอีกอย่างว่า วัดเจ้าพญาไท เป็นสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่พระพนรัตนพระสังฆราชฝ่ายซ้าย เป็นพระอาจารย์ใหญ่เป็นเจ้าสำนักเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรอยุธยามีสำนักพระกรรมฐานเล็กๆสิบกว่าวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถรเป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดโบสถ์ราชเดชะพระพุทธาจารย์เป็นเจ้าสำนัก วัดโรงธรรม พระญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดกุฎพระอุบาลีเป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดเจ้ามอนพระญาณโพธิเป็นเจ้าสำนัก วัดประดู่พระธรรมโกษาเป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดกุฎีดาวพระเทพมุนีเป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดสมณะโกฎพระเทพโมฬีเป็นเจ้าสำนัก วัดมเหยงค์พระธรรมกิติเป็นเจ้าสำนัก ๑

    นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกรรมฐานมากเปรียบเทียบได้ว่ามีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนามาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ยุคอยุธยา พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุค คือ พระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่าพระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่ ๑ วัด คือ วัดราชสิทธาราม(พลับ) สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก) เป็นเจ้าสำนักเป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำกรุงรัตนโกสินทร์วัดราชสิทธาราม จึงเป็นศูนย์กลางของกรรมฐานมัชฌิมาประจำกรุงรัตนโกสินทร์มีสำนักเล็กคือวัดราชาธิวาส พระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) เป็นเจ้าสำนักยุครัตนโกสินทร์
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะนั้น คือ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก) จึงนับได้ว่ากรุงรัตนโกสินทร์มีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนาเพียงแห่ง สำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้นเมื่อพระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) มรณะภาพลงแล้ว พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับก็เสื่อมลงเรื่อยๆซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้ว มีแบบแผนใหม่เข้ามาแทนที่เนื่องจากอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า (ฝั่งกรุงเทพฯ) ด้วยความเจริญของสมัยใหม่เข้ามาเร็วและไม่มีการบำรุงรักษาแบบแผนเดิมไว้

    ต่อมาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม(พลับ) เพียงวัดเดียว ที่รักษาแบบแผนและความเป็นสำนักพระกรรมฐานใหญ่สำนักพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเป็นหลัก แทนสำนักเดิม ๆ คือ วัดแสนท้าวโคตรยุคทวาราวดีแทนวัดป่าแก้วยุคสุโขทัยแทนวัดป่าแก้วยุคกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ยาวนานที่สุด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ความจากหนังสือประวัติสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เกื่อน หน้า ๒๕ – ๒๖<O:p</O:p
    <O:p</O:p

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2010
  9. วิชา ละ

    วิชา ละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +2,416
    ขออนุโมทนาสาธุ

    ขออนุโมทนาสาธุกับทุกบุญกุศลบุญบารมี ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของคุณบุญญสิกขา ด้วยครับ
    ขอพรจากพระ ให้ท่านบุญญสิกขาได้ในปัจจุบันมี อายุ(พลังสืบต่อชีวิต คืออิทธิบาท๔) วรรณะ(ความงาม คือศีล) สุขะ(ความสุข คือสภาพจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ปราโมทย์จนถึงฌาน๔) โภคะ(พรหมวิหาร๔) พละ(ศัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาเป็นอิสระ)
    ขอให้ท่านอโหสิกรรม อดโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด หากเคยล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ตราบเข้าสู่พระนิพพาน เร็ววันด้วยเถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...