(๑๓) โมหวิเฉทนี: เสสติกสังวัณณนา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 27 มิถุนายน 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    เสสติกสังวัณณนา


    [๘๔] บัดนี้ อรรถวรรณนาแห่งติกะมีเวทนาติกะเป็นต้น ได้ถึงโดยลำดับถัดจากกุสลติกะ; แต่เพราะนัยแห่งการวินิจฉัยที่เราได้ตั้งมาติกาโดยนัยมีอาทิว่า
    <O:p“พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถ, โดยความต่างแห่งภูมิ,
    โดยสัมปโยคแต่ละอย่าง, โดยธัมมุทเทส,
    โดยแยกแยะลักษณะเป็นต้น”
    ดังนี้แล้วกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า “ธรรมที่เป็นกุศลจัดตามความต่างแห่งภูมิเป็น ๔ อย่าง คือ กามาวจร ฯลฯ โลกุตตร” สำหรับกุลสติกนั่นแหละ สำเร็จได้ตามควรแม้แก่ติกะและทุกะที่เหลือ; จริงอย่างนั้น บัณฑิตอาจที่จะกำหนดนัยแห่งการวินิจฉัย แม้สำหรับติกะและทุกกะทั้งปวงโดยลำดับมีอาทิว่า “บรรดาธรรมเหล่านี้ ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา จัดโดยภูมิเป็น ๓ อย่าง คือ กามาวจร, รูปาวจร, โลกุตตร”ดังนี้; ฉะนั้น เราจึงพึงเว้นวิตถารนัยนั้นเสีย แล้วศึกษา ให้รู้แจ้งวินิจฉัยแห่งติกะและทุกะมีเวทนาติกะเป็นต้น โดยนัยอันไม่ย่อและพิสดารเกินไป โดยครรลองพระบาลีที่ตรัสไว้ในนิกเขปกัณฑ์และในอัตถุทธารกัณฑ์ คือ
    <O:p</O:p
    โดยอรรถแห่งบท, <O:p</O:p
    โดยสรุปของอรรถแห่งบทนั้น,<O:p</O:p
    โดยการจำแนกธรรมที่ไม่พึงกล่าวถึง, ในติกะและทุกะนั้นๆ ตามควร.<O:p</O:p

    สังวัณนาแห่งเวทนาติกะ
    <O:p</O:p

    วินิจฉัยโดยอรรถแห่งบท
    <O:p</O:p

    [๘๕] บรรดาติกะและทุกะมีเวทนาติกะเป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยในเวทนาติกะ โดยอรรถแห่งบทก่อน: อรรถแห่งบทในคำว่า ธรรมประกอบด้วยสุขเวทนา เป็นต้น: ศัพท์ว่า สุขปรากฏในอรรถทั้งหลาย มีสุขเวทนา, สุขมูล, สุขารัมมณะ, เหตุแห่งสุข, สถานที่เป็นปัจจัยแห่งความสุข, ความไม่เบียดเบียน, และนิพพาน เป็นต้น. แท้จริงศัพท์ว่า สุข นี้ปรากฏในสุขเวทนา เช่น ในบาลีประเทศว่า “ความบังเกิดแห่งพระพุทธะทั้งหลายเป็นสุข”; ในสุขารัมมณะเช่นในบาลีประเทศว่า “ดูก่อนมหาลี เหตุใดแลรูปเป็นสุข อันสุขตกตามแล้ว อันสุขหยั่งลงแล้ว”; ในเหตุแห่งความสุขเช่นในบาลีประเทศว่า “ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นชื่อของความสุขคือบุญทั้งหลาย”; ในสถานที่เป็นปัจจัยแห่งความสุข เช่นในบาลีประเทศว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การที่จะกล่าวถึงสวรรค์ว่าเป็นสุขเพียงใด ให้ถึงที่สุดนี้ มิใช่การที่จะทำได้โดยง่าย” “ชนเหล่าใดไม่เห็นสวนนันทนวัน, ชนเหล่านั้นไม่รู้จักความสุข”; ในความไม่เบียดเบียนเช่นในบาลีประเทศว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน;” ในนิพพานเช่นในบาลีประเทศว่า “นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”. แต่ในที่นี้ คำว่า สุข นี้ พึงเห็นในสุขเวทนาเท่านั้น.


    ศัพท์ว่า เวทนา เป็นไปในอรรถว่า การเสวยอารมณ์ เท่านั้น เช่นในบาลีประเทศว่า “เวทนา คือการเสวยอารมณ์ ยังเกิดแก่เรา”


    ศัพท์ว่า ทุกขะ ปรากฏในอรรถทั้งหลายมีทุกขเวทนา, ทุกขวัตถุ, ทุกขารัมมณะ, ทุกขปัจจัย,และสถานที่เป็นทุกขปัจจัยเป็นต้น. แท้จริง ศัพท์ว่ทุกข์นี้ปรากฏในทุกขเวทนา เช่นในบาลีประเทศว่า “และเพราะละเสียได้ซึ่งทุกข์”; ในทุกขวัตถุเช่นในบาลีประเทศว่า “แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์”; ในทุกขารัมมณเช่นในบาลีประเทศว่า “ดูก่อนมหาลี เหตุใดแลรูปเป็นทุกข์อันทุกข์ตกตามแล้ว อันทุกข์หยั่งเอาแล้ว”; ในทุกขปัจจัยเช่นในบาลีประเทศว่า “ความสั่งสมขึ้นแห่งบาปเป็นทุกข์”; ในสถานที่เป็นทุกขปัจจัยเช่นในบาลีประเทศว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การที่จะกล่าวถึงนรกว่าเป็นทุกข์เพียงใดให้ถึงที่สุดนี้ มิใช่การที่จะทำได้ง่าย “. แต่ในที่นี้ คำว่า ทุกข์ นี้พึงเห็นในทุกขเวทนาเท่านั้น.

    ส่วนอรรถแห่งคำ ในคำว่า ธรรมประกอบด้วยสุขเวทนาเป็นต้นนี้ พึงทราบดังนี้: ชื่อว่า สุขา โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ยังสัตว์ให้สำราญ หรือเคี้ยวกินหรือขุดด้วยดี ซึ่งความเบียดเบียนทางกายและทางใจ; คำนี้เป็นชื่อของสุขและโสมนัสที่เป็นไปทางกายและที่เป็นไปทางจิต. ชื่อว่า ทุกขา โดยอรรถวิเคราะห์ว่ายังสัตว์ให้ลำบาก; คำนี้เป็นชื่อของทุกข์และโทมนัสที่เป็นไปทางกายและที่เป็นไปทางจิต. ชื่อว่า อทุกฺขมสุขา โดยอรรถวิเคราะห์ว่าไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข. คำนี้เป็นชื่อ ของอุเบกขาเวทนา. ม อักษรเป็นปทสนธิ. เวทนา ๕ พระผู้มีพระภาคทรงถือเอาแล้วด้วยบททั้ง ๓ อย่างนี้. เวทนาแม้ทั้ง ๕ ชื่อว่า เวทนา โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เสวยรสแห่งอารมณ์. ส่วนศัพท์ว่า สัมปยุต ในบททั้ง ๓ มีอรรถว่า ชื่อว่า สัมปยุต โดยอรรถวิเคราะห์ว่าประกอบเสมอ คือ โดยประการ. โดยประการไหนบ้าง? โดยประการ ๔ มีความบังเกิดร่วมกันเป็นต้น ที่ท่านได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า “มีธรรมบางเหล่า สหรคตเกิดร่วมกัน ระคนกัน คือมีความบังเกิดร่วมกัน มีความดับร่วมกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับธรรมบางเหล่า” (อภิ.กถาวัตถุ. สยามรัฎฐเตปิฏก ๓๗/๓๖๕) อนึ่ง อุกกัฏฐนิทเทส ในอรูปาวจรธรรม มีดังนี้: การประกอบยังได้อยู่นั่นแล แม้จะเว้นความมีวัตถุเป็นอันเดียวกัน. คำอธิบายที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.


    นี้เป็นวินิจฉัยโดยอรรถแห่งบท ในเวทนาติกะนี้ก่อน.

    <O:p</O:p



    วินิจฉัยโดยสรุป

    [๘๖] บทว่า โดยสรุปของอรรถแห่งบทนั้น โดยอรรถว่า โดยการแสดงเพียงสรุปของอรรถแห่งบทนั้น. บรรดาบททั้ง ๓ นั้น จิต ๖๓ ดวง คือ กายวิญญาณอันสหรคตด้วยสุขเวทนา ๑, กามาวจรจิต ๑๘ อันสหรคตด้วยโสมนัสเวทนา, และรูปาวจรจิตกับโลกุตตรจิต ๔๔ อันเป็นไปในปฐม-ทุติย-ตติย-จตุตถฌาน ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา. อย่างเดียวกัน จิต ๓ ดวง คือ กายวิญญาณอันสหรคตด้วยทุกขเวทนา ๑, และจิตอันสหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา. จิต ๕๕ ดวง อันสหรคตด้วยอุเบากขาเวทนาที่เหลือ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกฺขมสุขเวทนา. ก็ความประกอบด้วยสุขเวทนาเป็นต้นแห่งจิตทั้งหลาย เป็นได้ฉันใด; แม้แห่งเจตสิกอันสัปมยุตด้วยจิตนั้นๆ ก็เป็นได้ฉันนั้น. ไม่เฉพาะแต่ในเวทนาติกะนี้เท่านั้น แม้ในบรรดาติกะและทุกะ เบื้องหน้าแต่นี้ ก็พึงทราบการสงเคราะห์แม้แห่งเจตสิก ด้วยสามารถจิตที่เจตสิกนั้นสัมปยุตด้วยนั่นเทียว. แต่ในที่ใดมีความต่างกัน, ในที่นั้นข้าพเจ้าจักกล่าว.


    ก็ในเวทนาติกะนี้ มีความต่างกันดังนี้: เจตสิก ๖ กับทั้งปีติเว้นเวทนาเท่านั้นเป็นธรรมสัมปยุตด้วยเวทนาทั้ง ๕; ส่วนเจตสิกนอกนี้เป็นธรรมสัมปยุตด้วยเวทนา ๓ เท่านั้น เว้นสุขและทุกข์อันเป็นไปทางกาย. บรรดาเจตสิกเหล่านั้น เจตสิก ๑๑ เหล่านี้ คือ เจตสิกอันเป็นไปตามที่ควร ๕ เว้นปีติ, โมหะ, อหิริกะ, อโนตตัปปะ, อุทธัจจะ, ถีนะ, และมิทธะ เป็นธรรมสัมปยุตด้วยเวทนาทั้ง ๓ ตามควร. แม้บรรดาเจตสิกเหล่านั้น วิตก และ วิจาร เป็นธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา อันเป็นมหัคคตะและเป็นโลกุตตระเท่านั้น; โทสะ อิสสา, มัจเฉระ, และกุกกุจจะ เป็นธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเท่านั้น; วิจิกิจฉาเป็นธรรมสัมปยุตด้วย อุเบกขาเวทนาเท่านั้น; เจตสิก ๒๘ ที่เหลือเป็นธรรมสัมปยุตด้วยโสมนัสสเวทนาและอุเบกขาเวทนาเทานั้น. แม้บรรดาเจตสิกหล่านั้น กรุณาและมุทิตา เป็นธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนาอันเป็นมหัคคตะเท่านั้น. ความประกอบแห่งเจตสิกที่เหลือเหมือนกันกับความประกอบแห่งจิต. นี้เป็นวินิจฉัยโดยสรุป.


    วินิจฉัยโดยการจำแนกธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง


    </O:p
    พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า โดยการจำแนกธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง: ธรรมเหล่านี้คือ เวทนาทั้งปวง รูปทั้งปวง นิพพาน น สมมุติทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือว่า สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือว่า สัมปยุตด้วยอทุกฺขมสุขเวทนา ในติกะนี้. แท้จริงเวทนาไม่เป็นธรรมสัมปยุตด้วยเวทนา. หรือรูป เป็นต้นก็เหมือนกัน; เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านี้จึงไม่ได้ในติกะนี้. อนึ่งติกะนี้เป็นสัปปเทสัตติกะ (ติกะที่ยังมีส่วนเหลือ) การประกอบธรรมที่ไม่พึงกล่าวถึงแม้ในติกะและทุกะทั้งหลายเบื้องหน้าแต่เวทนาติกะนี้ก็เหมือนเวทนาติกะนี้. ในติกะหรือทุกะใดยังมีสิ่งใดที่มิได้ตรัสถึง พึงทราบว่า ติกะหรือทุกะนั้นเป็นสัปเทส. อนึ่ง เบื้องหน้าแต่นี้ ในติกะหรือทุกะใดยังธรรมที่มิได้สงเคราะห์ไว้; ในติกะหรือทุกะนั้น เราจักแสดงการจำแนกธรรมเหล่านั้น แล้วจักกล่าวแต่เพียงว่า “ธรรมเหล่านี้ ไม่พึงกล่าวถึง” ดังนี้เท่านั้น. ด้วยคำนั้น พึงทราบความที่ติกะหรือทุกะนั้นเป็น “สัปเทส” ด้วย. ส่วนในติกะหรือทุกะใดไม่มีธรรมที่มิได้สงเคราะห์ไว้. เราจักกล่าวติกะหรือทุกะนั้นว่า “นิปเทส” (ไม่มีส่วนเหลือ). ด้วยคำนั้น พึงทราบชัดถึงความไม่มีธรรมที่ไม่พึงกล่าวถึงในติกะหรือทุกะนั้นด้วย. อนึ่ง ในติกะและทุกะทั้งปวง เราจักไม่ยกมาติกาขึ้นเลย จักกล่าวอรรถแห่งบทและการจำแนกสรุปของอรรถแห่งบทนั้น.
    นี้เป็นวินิจฉัยโดยการจำแนกธรรมที่ไม่พึงกล่าวถึง.
    <O:p

    เวทนาติกะ จบ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2011
  2. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณณนาแห่งวิปาติกะ



    [๘๗] วิปากติกะ: ธรรมชื่อว่า วิบาก โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นผลอันสุกของกุศลและอกุศลอันพิเศษกว่ากันและกัน. คำว่า วิบากนี้เป็นชื่อของอรูปธรรมทั้งหลายอันถึงความเป็นธรรมสุกแล้ว. แม้รูปธรรมที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานราวกะอรูปธรรมก็มี อยู่โดยแท้; ถึงอย่างนั้น รูปธรรมเหล่านั้นก็ไม่เป็นธรรมคล้ายกับกรรม เพราะเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ เพราะฉะนั้น อรูปธรรมอันมีอารมณ์แหละท่านกล่าวว่า วิบาก เพราะเป็นธรรมคล้ายกับกรรม ราวกะผลอันคล้ายกับพืช. เหมือนอย่างรวงที่ออกจากพืชข้าวสาลีเท่านั้น เขาเรียกกันว่า ผลข้าวสาลี, หน่อเป็นต้นเขาไม่เรียกว่า ผลข้าวสาลี; แต่หน่อเป็นต้นเหล่านั้น เขาเรียกกันว่า สาลีชาต-กำเนิดแต่ข้าวสาลีและว่า สาลินิพพัตต์-เกิดแต่ข้าวสาลี. อรูปธรรมอันเช่นกันกับกรรมแหละ ท่านกล่าวว่า วิบาก อย่างนี้. ส่วนรูปธรรมที่เกิดแต่กรรม ท่านกล่าวว่า อุปาทินนะ (ธรรมอันกรรมที่ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ถือครอง). ธรรมที่มีวิบากเป็นสภาวะชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก. เหมือนอย่างว่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชาติและชราเป็นสภาวะ ท่านกล่าวว่า ชาติธัมมะ, ชราธัมมะ ฉันใด; ธรรมชื่อว่ามีวิบากเป็นสภาวะ อธิบายว่า มีวิบากเป็นปรกติเพราะความเป็นธรรมยังวิบากให้เกิด ท่านก็กล่าวว่า วิปากธัมมะ (เป็นเหตุแห่งวิบาก) ฉันนั้น. บทที่ ๓- ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก ตรัสโดยปฏิเสธสภาวะทั้งสอง. นี้เป็นอรรถแห่งบท.

    <O:pบรรดาบททั้ง ๓ นั้น วิบากจิต ๓๖ ดวงในภูมิ ๔ ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก. อย่างเดียวกัน จิต ๓๓ ดวงคือกุศลจิต ๒๑ อกุศลจิต ๑๒ ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก. ธรรมเหล่านี้คือกิริยาจิต ๒๐ ดวงในภูมิ ๓, รูปทั้งหมด, และนิพพาน ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก. ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบากเท่านั้น. วิรัติเจตสิก ๓ ดวงชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เท่านั้น. วิรัติเจตสิก ๓ ดวงชื่อว่า ธรรมเป็นวิบากก็มี, ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก ก็มี. ส่วนเจตสิกที่เหลือจากนั้นชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก ก็มี, ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก ก็มี, ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก ก็มี. เพราะฉะนั้น เจตสิกจึงเป็นไปได้ ทั้ง ๓ อย่างดุจจิตฉะนี้แล. นี้เป็นความต่างกัน. คำอธิบายที่เหลือเหมือนกับจิต. อนึ่ง วิปากติกะนี้ พึงทราบว่า เป็นนิปปเทสติกะ.

    <O:p

    วิปากติกะ จบ
    <O:p</O:p


    สังวัณณาแห่งอุปาทินนุปาทานิยติกะ

    <O:p

    [๘๘] ธรรมชื่อว่า อุปาทินนะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า อันกรรมที่ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิถือครอง คือ ยึดโดยความเป็นผลด้วยอำนาจการกระทำให้เป็นอารมณ์. ชื่อว่า อุปาทานิยะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เกื้อกูลแก่อุปาทานะ โดยสัมพันธ์กับอุปาทานะ เพราะเข้าถึงความเป็นอารมณ์; คำนี้เป็นชื่อของธรรมอันเป็นปัจจัยโดยความเป็นอารมณ์ของอุปาทานะ. ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิยะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกรรมที่ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิถือครองด้วย. เกื้อกูลแก่อุปาทานด้วย; คำนี้เป็นชื่อของรูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดแต่กรรม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ. แม้ในบทที่เหลืออีก ๒ บท ก็พึงทราบความอันประกอบคำปฏิเสธ โดยนัยนี้.

    <O:pบรรดาบททั้ง ๓ นั้น วิปากจิตฝ่ายโลกิยะ ๓๒ ดวง, และรูปพวกกัมมชกลาป ๙ กลาป ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิยะ. โลกิยจิตที่เหลือและอกัมมชรูปกลาป ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยะ (ธรรมอันกรรมที่ประกอบด้วยตัณหาและทิฎฐิมิได้ถือครอง แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน). โลกุตตรจิตและนิพพาน ชื่อว่า อนุปาทินนอนุปาทานิยะ. อุปาทานขันธ์ของพระขีณาสพ เป็นปัจจัยโดยความเป็นอารมณ์ของอุปาทานแก่ชนอื่นๆ โดยนัยมีคำว่า "พระเถระหลวงลุงของเรา” ดังนี้เป็นต้นได้ก็จริง; แต่มรรค ผล นิพพานเป็นธรรมอันอุปาทานะไม่เข้าไปถือครองเลยทีเดียว ราวกะก้อนเหล็กที่ร้อนโชนตลอดวัน เป็นของอันแมลงวันไม่เข้าไปไต่ตอมเพราะเป็นของมีความร้อนสูง ฉะนั้น. แม้ในอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ก็นัยนี้นั่นแหละ. ส่วนบรรดาเจตสิก กุศลเจตสิกเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะเท่านั้น กรุณาและมุทิตาเป็นอุปปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี. เจตสิกที่เหลือเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง ราวกะจิต. อนึ่ง อุปาทินฺนุปาทานิยติกะนี้ พึงทราบว่าเป็นนิปปเทสัตติกะ.

    <O:p

    อุปาทินนุปาทานิยติกะ จบ

    <O:p</O:p
     
  3. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณนาแห่งสังกิลิฏฐสังกิเลสิกติกะ



    [๘๙] ชื่อว่า สังกิเลส โดยอรรถวิเคราะห์ว่า สภาวะเศร้าหมอง, อธิบายว่า เบียดเบียน คือเข้าไปเผาลน. ธรรมอันประกอบด้วยสังกิเลส ชื่อว่า สังกิลิฏฐะ อธิบายว่า ร่วมด้วยสังกิเลส. ธรรมชื่อว่า สังกิเสสิกะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ควรซึ่งสังกิเลส โดยการทำตนให้เป็นอารมณ์เป็นไป, หรือว่า ประกอบเข้าในสังกิเลส โดยไม่ก้าวล่วงความเป็นอารมณ์ของสังกิเลสนั้นไปได้. คำนี้เป็นชื่อของธรรมอันเป็นปัจจัยโดยความเป็นอารมณ์ของสังกิเลส. ชื่อว่า สังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ธรรมเหล่านั้น ทั้งประกอบด้วยสังกิเลส ทั้งควรซึ่งสังกิเลส. บทที่เหลืออีก ๒ บทพึงทราบ โดยนัยที่กล่าวแล้วในติกะก่อนนั่นแล.


    บรรดาบททั้ง ๓ นั้น อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวงชื่อว่า สังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ. โลกียจิตที่เหลือและรูปทั้งหมด ชื่อว่า อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ. โลกุตตรจิตและนิพพาน ชื่อว่า อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกะ. ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกเป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสสิกะทีเดียว. กรุณาและมุทิตา เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสสิกะทีเดียว. เจตสิกที่เป็นกุศลและอัพยากฤต(เจตสิกที่เป็นกุศลและอพยากฤต ดูอธิบายในข้อ ๕๙) ที่เหลือ เป็นไปได้ทั้ง ๓ อย่าง คือ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ ก็มี, เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี, เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกะก็มี. และติกะนี้เป็น นิปปเทสัตติกะ.


    สังกลิฏฐสังกิเลสสิกติกะ จบ




    สังวัณนาแห่งวิตักกติกะ

    <O:p</O:p

    [๙๐] ธรรมชื่อว่า สวิตักกะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่าเป็นไปกับด้วยวิตกอันเป็นไปอยู่โดยการประกอบ. ชื่อว่า สวิจาระ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นไปกับด้วยวิจารโดยประการนั้น. ชื่อว่า สวิตักกสวิจาระ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ทั้งเป็นไปกับด้วยวิตก ทั้งเป็นไปกับด้วยวิจาร. ธรรมที่เว้นจากธรรมทั้งสองชื่อว่า อวิตักกอวิจาระ. ธรรมชื่อว่า วิจารมัตตะ โดยอรรถวิเคราห์ว่า บรรดาวิตกและวิจาร วิจารเป็นมาตรคือเป็นประมาณของธรรมเหล่านี้. อธิบายว่า ธรรมเหล่านี้ไม่ถึงการประกอบกับวิตก เบื้องหน้าแต่วิจาร. ธรรมชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ไม่มีวิตก แต่มีวิจารเป็นประมาณ.

    </O:p
    บรรดาบททั้ง ๓ นั้น กามาวจรจิตเว้นปัญจวิญญาณทั้งสอง, จิตที่เป็นไปในปฐมฌานทั้งมหัคคตจะและโลกตตระ ๑๑ ดวง (มหัคคตะ ๓ ดวง [ กุศล วิบาก กิริยา] ,โลกุตตระ ๘ ดวง [มรรค ๔ ผล ๔] ) , และบรรดาเจตสิกธรรมที่ประกอบด้วยจิตนั้นๆ ที่เหลือ เว้นวิตกและวิจารชื่อว่า สวิตักกสวิจาระ. บรรดาธรรมเหล่านั้น วิตก, มหัคคตจิตและโลกุตตรจิตที่เป็นไปในทุติยฌาน ๑๑ ดวง, และบรรดาเจตสิกธรรมที่ประกอบด้วยจิตนั้นๆ ที่เหลือเว้นวิจาร ชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตะ, บรรดาธรรมที่เป็นไปในทุติยฌาน วิจาร, มหัคคตจิตและโลกุตตรจิต ๔๕ ดวงที่เหลือ(ตติย-จตุตถ ปัญจมัชฌานิกจิต ที่เป็นมหัคคตะ ๙ ดวง (๓x๓) และที่เป็นโลกุตตระ ๒๓ ดวง (๓x๘) กับ อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง (๔x๓), ปัญจวิญญาณทั้งสอง, เจตสิกธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตนั้นๆ , รูปทั้งหมด,และนิพพานชื่อว่า อวิตักกอวิจาระ. อีกอย่างหนึ่ง กุลเจตสิกทั้งหลายเป็นสวิตักกสวิจาระเทียว, วิตกเป็นอวิตักกวิจารมัตตะเทียว; ส่วนวิจารในธรรมที่เป็นไปในทุติยฌาน เป็นอวิตักกอวิจาร ก็มี; ในจิตที่มีวิตกเป็นธรรมที่ไม่ภึงกล่าวถึงก็มี. ส่วนเจตสิกธรรมทั้งปวงที่เหลือ เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. ก็ในติกะนี้ วิจารที่เกิดร่วมกับวิตกเป็นธรรมที่ไม่พึงกล่าถึง.


    <O:pวิตักกติกะ จบ

    <O:pสังวัณณนาแห่งปีติติกะ
    <O:p</O:p
    [๙๑] ธรรมชื่อว่า สหรคตด้วยปีติ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ถึงซึ่งภาวะมีการเกิดด้วยกันเป็นต้นกับด้วยปีติ; อธิบายว่า ประกอบด้วยปีติ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้นั่นแหละ, ก็ในที่นี้ตรัสอทุกขมสุขเวทนาว่า อุเบกขา; แท้จริง อทุกขมสุขเวทนานั้น ชื่อว่า อุเบกขาโดยอรรถวิเคราะห์ว่า เพ่งโดยอุปบัติ ซึ่งความเป็นไปโดยการอาการแห่งสุขและทุกข์ คือ ชื่อว่าเป็นไปโดยอาการนั้นเพราะตั้งอยู่ด้วยดีในอาการแห่งความเป็นกลาง. พระผู้มีพระภาคทรงยกเฉพาะ ๒ บทจากเวทนาติกมาตรัสติกะนี้ โดยทรงแสดงความที่สุขอันไม่มีปีติเป็นเวทนาพิเศษกว่าสุขอันมีปีติ ด้วยประการฉะนี้

    บรรดาธรรมเหล่านั้น ปีติ เป็น ๕ อย่างคือ ขุททิกา, ขณิกา, โอกกันติกา, อุพฺเพคา, ผรณา. ใน ๕ อย่างนั้นหนา
    ขุททิกาปีติอาจที่จะทำอาการเพียงขนพองในสรีระ,
    ขณิกาปีติ มีอาการเช่นกับฟ้าแลบในขณะๆ .
    โอกกันติกาปีติ หยั่งลงๆ สู่กายแล้วแตกไปราวกะคลื่นกระทบฝั่งทะเล.
    อุพฺเพคาปีติ เป็นธรรมชาติมีกำลัง ถึงซึ่งอาการมีการยังกายให้โลดลอยไปในอากาศเป็นประมาณ,
    ส่วนผรณาปีติเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป่าสรีระทั้งสิ้นแผ่สร้านรอบไปโดยลำดับราวกะหัวไส้ที่ให้เต็มแล้ว และราวกะท้องภูเขาอันห้วงน้ำใหญ่แล่นรอดไปฉะนั้น.
    บรรดาปีติ ๕ อย่างนั้น ผรณาปีติเป็นรูปาวจระและโลกุตตระเทียว; ส่วนปีติที่เหลือเป็นกามวจระ.

    ส่วนสุขเป็น ๒ อย่างคือ กายิกสุขและเจตสิกสุข. แม้ในเมื่อความไม่แยกกันแห่งปีติและสุข ในที่บางแห่งจะมีอยู่ก็ดี, ความยินดีในการได้อิฏฐารมณ์ ชื่อว่า ปีติ; ความเสวยรสของอิฏฐารมณ์ที่ได้แล้ว ชื่อว่า สุข. ปีติมีในที่ใด, ความสุขก็มีในที่นั้น; ความสุขมีในที่ใด, ปีติไม่แน่ว่าจะมีในที่นั้น. ปีติท่านสงเคราะห์ในสังขารขันธ์ สุขท่านสงเคราะห์ในเวทนาขันธ์. ปีติ คล้ายกับอาการที่ปรากฏแก่คนผู้เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร ในเพราะการเห็นและฟังชายป่าและน้ำ; สุขคล้ายกับอาการที่ปรากฏแก่เขาในเพราะการเข้าสู่เงาป่าและการบริโภคน้ำ. แท้จริงคำว่าปีติและสุขนี้ พึงทราบว่าตรัสเพราะความเป็นอาการปรากฏในสมัยนั้นๆ.<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    บรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา และธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ได้กล่าวมาแล้วในเวทนติกะนั่นแหละ. ส่วนธรรมที่เหลือเว้นกายวิญญาณอันสหรคตด้วยสุขเวทนา และบรรดาจิตอันเป็นไปในจุตตฺถฌาน ทั้งที่เป็นมหัคคตะและกุตตระ ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ. บรรดาธรรมเหล่านี้ ปีติไม่เป็นธรรมสหรคตด้วยปีติ; เป็นธรรมสหรคตด้วยสุขเท่านั้น. ส่วนสุข สหรคตด้วยปีติก็มี ไม่สรหคตด้วยปีติก้มี. ในติกะนี้ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสทั้งสอง, กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์, รูป และนิพพานเป็นธรรมที่ไม่พึงกล่าวถึง. ส่วนบรรดาเจตสิก ปีติ เป็นธรรมสหรคตด้วยสุขเท่านี้น; วิจิกิจฉา เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเท่านั้น. โลภะ ทิฏฐิ มานะ และกุศล-อัพยากตธรรม ๒๕(ดูอธิบายในข้อ ๕๙) เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. เจตสิกสุข เป็นธรรมสหรคตด้วยปีติก้มี ในบรรดาเจตสิกที่เป็นไปในปฐม- ทุติย- ตติยฌาน; เป็นธรรมที่ไม่พึงกล่าวถึงก็มีในบรรดาเจตสิกที่เป็นไปในจตุตถฌาน. ส่วนกายิกสุข-ทุกข์, โทมัส,และอุเบกขา ทั้งหมด, โทสะ, อิสสา, มัจฉริยะ,และกุกกุจจะ เป็นธรรมที่ไม่พึงกล่าวถึงเท่านั้น. ธรรม ๑๗ ที่เหลือเป็นได้ทั้ง ๓ อย่างบ้าง. เป็นธรรมที่ไม่พึงกล่าวถึงบ้าง. คำที่เหลือเข้าใจง่ายทีเดียว. ปีติติกะจบ



    <O:p</O:p
     
  4. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณณนาแห่งทัสสเนนปหาตัพพติกะ

    [๙๒] บทว่า ทสฺสเนน โดยอรรถว่า อันโสดาปัตติมรรค. ก็โสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทัสสนะ เพราะเห็นนิพพานครั้งแรก. ส่วนโคตรภู เห็นนิพพานครั้งแรกก็จริง; ถึงอย่างนั้น ก็ไม่เรียกว่า เห็น เพราะไม่มีการประหาณ (การละ) กิเลส อันเป็นกิจที่พึงเห็นนิพพานทำ, เหมือนอย่างบุรุษผ้าสู่ราชสำนักด้วยกรณียะเฉพาะบางอย่าง แม้ได้เห็นพระราชาซึ่งเสด็จทรงช้างไปตามถนนแต่ไกลเทียว เมื่อถูกถามว่า “ท่านได้เฝ้า พระราชาแล้วหรือ” (คำว่า เฝ้า หรือเข้าเฝ้า ในภาษาบาลี ใช้กริยาศัพท์เดียวกันกับ เห็น นั่นเอง เพราะเฝ้า หรือเข้าเฝ้า ก็คือเห็น หรือพบนั่นเอง) ก็ย่อมจะตอบว่า “ยังไม่ได้เฝ้า” เพราะยังมิได้ทำกิจที่พึงเข้าเฝ้า กระทำฉันใด, ก็ฉันนั้น นั่นแหละ. แท้จริง โคตรภูญาณนั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะของมรรค. บทว่า ภาวนา โดยอรรถว่า มรรค ๓ ที่เหลือ. ก็มรรค ๓ ที่เหลือ บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจภาวนา ในธรรมที่ปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นเอง. ไม่ได้เห็นธรรมอะไรๆ ที่ปฐมมรรคไม่เคยได้เห็น; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ภาวนา. บทที่ ๓ ตรัสโดยการปฏิเสธบททั้ง ๒.

    บรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง และที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาดวงหนึ่ง รวม ๕ ดวง เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค (ทัสสนะ) พึงประหาณ (พึงละ) เทียว. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นธรรมอันใรรค ๓ ที่เหลือ (ภาวนา) พึงประหาณ นั่นเทียว. อกุศลจิตตุปบาท ๖ ที่เหลือ ทั้งที่เป็นไปและไม่เป็นไปโดยความเป็นเหตุแห่งอบาย เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ก็มี, เป็นธรรมอันมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ ก็มี. ส่วนจิตตุปบาททั้งปวงเว้นอกุศล, รูป,และนิพพาน เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ. ส่วนบรรดาเจตสิก ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อิสสา มัจฉริยะและกุกกุจจะ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณเทียว. อกุศลที่เหลือ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณก็มี. เป็นธรรมอันมรรค ๓ ที่เหลือพึงประหาณก็มี; เจตสิกที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว ๑๓ อย่าง อันมีชาติ ๓ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือ ไม่พึงประหาณเทียว. ส่วนการประหาณแม้ซึ่งกุศลและอัพยากฤตที่ท่านอนุญาตไว้โดยนัยมีคำว่า “นามและรูปที่พึงบังเกิดในสังสารวัฏ อันไม่รู้เงื่อนต้นเงื่อนปลายเว้น ๗ ภพ ย่อมดับลงในที่นี้เพราะอภิสังขารวิญญาณดับลงด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ” ดังนี้เป็นต้น นั้นท่านกล่าวหมายปริยายนี้ว่า เพราะได้ประหาณบรรดากิเลสอันเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งนามและรูปที่พึงบังเกิดขึ้นเพราะมิได้ยังมรรคนั้นๆ ให้เกิด. อนึ่ง ติกะนี้เป็นนิปปเทสัตติกะ. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ จบ

    <O:pสังวัณณนาแห่งทัสสเนนปกาตัพพเหตุกติกะ

    <O:p[๙๓] ธรรมชื่อว่า มีเหตุอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เหตุของธรรมเหล่านี้ อันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้นั่นแหละ. แต่ในบทที่ ๓ ไม่พึงถือเอาอรรถอย่างนี้ว่า เหตุของธรรมเหล่านี้อันโสดาปัตติมรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ; แต่พึงถืออาอรรถอย่างนี้ว่า เหตุอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือ พึงประหาณ ไม่มีแก่ธรรมเหล่านี้. อนึ่ง แม้อรรถรูปทั้งสองนี้ว่า “ก็การถือเอาธรรมที่ไม่มีเหตุพึงมีโดยประการนอกนี้, เพราะว่า เฉพาะเหตุที่พึงเป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค หรือ มรรค ๓ ที่เหลือ พึงประหาณเท่านั้น ไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น. แม้ในพวกธรรมที่มีเหตุ ก็ต้องการแต่การประหาณธรรม นอกจากเหตุ; ไม่ต้องการประหาณเหตุ. เพราะว่า เฉพาะเหตุของธรรมเหล่านั้นเท่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ; ส่วนธรรมเหล่านั้นมิได้ตรัส” ดังนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพระประสงค์. เพราะฉะนั้น จึงพึงถือเอาอรรถโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

    <O:pวินิจฉัยทั้งปวงเบื้องหน้าแต่นี้ ก็เช่นกับติกะในลำดับ (ทัสสเนน ปหาตัพพติกะ) เทียว. มีความต่างกันแต่เพียงว่า บรรดาเจตสิกธรรม โมหะอันสัมปยุตด้วยจิตอันสหรคตด้วยวิจิกิจฉาหรืออุทธัจจะไม่เข้าไปในธรรมที่มีเหตุอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ทีเหลือพึงประหาณ เพราะไม่มีเหตุอื่นที่เกิดร่วม; แต่เข้าไปในธรรมที่ไม่มีเหตุอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือพึงประหาณ. ส่วนบรรดาเหตุในจิตที่มีโลภะและโทสะเป็นมูล โมหะเป็นธรรมมีเหตุโดยโลภะและโทสะ, โลภะและโทสะก็เป็นธรรมมีเหตุโดยโมหะ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านี้จึงได้เข้าไปในบทคือ ปหาตัพพเหตุกะ ดังนี้เท่านั้น. อรรถรูปที่เหลือก็เช่นนั้นนั่นเทียวแล.



    <O:pทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ จบ
    <O:p</O:p
     
  5. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณณนาแห่งอาจยคามิติกะ

    [๙๔] สภาวะชื่อว่า อาจยะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า อันกรรมและกิเลสก่อ; คำว่า อาจยะ นี้เป็นชื่อของขันธ์ที่เป็นอุปาทินนะ กล่าวคือปฏิสนธิ จุติ คติ และปวัตติ. ธรรมเชื่อว่า อาจยคามี โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ไปสู่อาจยะนั้น โดยเป็นเหตุยังอาจยะนั้นให้สำเร็จหรือว่า ยังบุคคลที่มีธรรมเหล่านี้เป็นไปให้ไปสู่อาจยะ ตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. นิพพานชื่อว่า อปจยะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ไปปราศจากอจยะ เพราะเป็นสภาวะปราศจากจยะ กล่าวคืออจยะนั้นนั่นแหละ. ธรรมชื่อว่า อปจยคามีโดยอรรถวิเคราะห์ว่าไปสู่อปจยะ โดยทำอปจยะนั้นให้เป็นอารมณ์เป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่า อาจยคามี โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ก่อปวัตตะไป ราวกะช่างอิฐ (ช่างปูน) ก่อกำแพง ฉะนั้น. ชื่อว่า อปจยคามี โดยอรรถวิเคราะห์ว่า รื้อปวัตตะนั้นนั่นแหละเป็นไป ราวกะบุรุษรื้ออยู่ซึ่งกำแพงที่ช่างนั้นนั่นแหละก่อแล้วๆ ฉะนั้น. บทที่ ๓ ตรัสโดยนัยเป็นปฏิปักษ์ต่อสองบทนั้น

    <O:pบรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น โลกิยกุศล และอกุศล ชื่อว่า อาจยคามี. มรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามี. วิปากจิต ผลจิต และกิริยาจิตทั้งสิ้น, รูปและนิพพาน ชื่อว่า เนวาจยคามีนาปจยคามี (ธรรมไม่เป็นทั้งอาจยคามีและอปจยคามีป. ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกเป็นอาจยคามี ทั้งนั้น; กรุณาและมุฑิตา เป็นอาจยมคามี ก็มีไม่เป็นทั้งอาจยคามีและอปจยคามี ก็มี; เจตสิกธรรมที่เหลือ เป็นได้ทั้ง ๒ อย่าง.
    อจายคามิติกะ จบ
    <O:p

    สังวัณณนาแห่งเสกขติกะ
    <O:p</O:p
    [๙๕] ธรรมชื่อว่า เสกขะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เกิดในสิกขาสาม, หรือเป็นธรรมของพระเสกขะ ๗ จำพวก ดังนี้บ้าง, ชื่อว่า เสกขะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ศึกษาเองทีเดียว เพราะยังไม่จบการศึกษาดังนี้บ้าง. ธรรมชื่อวา อเสกขะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่าไม่ต้องศึกษา โดยไม่มีธรรมที่พึงศึกษาในเบื้องบน, หรือว่า ชื่อว่า อเสกขะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเสกขะอันถึงความเจริญ (เป็นเสกขะใหญ๋). บทที่ ๓ ตรัสโดยนัยเป็นปฏิปักษ์ต่อบททั้งสอง.

    <O:pบรรดาบททั้ง ๓ นั้น โลกุตตรกุศล ๔ และสามัญผล ๓ เบื้องต่ำ รวมเป็น ธรรม ๗ อย่างชื่อว่า เสกขะ; อรหัตผล ชื่อว่า อเสกขะ, โลกิยจิตทั้งหลาย, รูปและนิพพาน ชื่อว่า เนวเสกขนาเสกขะ (ธรรมไม่เป็นทั้งเสกขะและอเสกขะ). ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกและอัปปมัญญาไม่เป็นทั้งเสกขะและอเสกขะ. เจตสิกธรรมที่เหลือ เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. อนึ่ง ติกะนี้เป็นนิปปเทสัตติกะ.

    <O:pเสกขติกะ จบ

    <O:p</O:p
    สังวัณนาแห่งปริตตติกะ

    <O:p[๙๖] วัตถุมีประมาณน้อยเพราะเป็นท่อนโดยรอบ ท่านกล่าวว่า ปริตตะ (เล็กน้อย)ราวกะในประโยค เช่น “ปริตตํ โคมย-ปิณฺฑํ” (ก้อนโคมัย เล็ก-น้อย). ก็กามาวจรธรรมชื่อว่า ปริตตะ โดยอรรถเวคราะห์ว่า ราวกะเล็ก-น้อย เพราะเป็นธรรมมีอานุภาพน้อย. ธรรมชื่อว่า มหัคคตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ถึงความเป็นธรรมใหญ่ เพราะเป็นธรรมสามารถในการข่มกิเลส, เพราะเป็นธรรมไพบูลย์ นับว่าใหญ่และเพราะเป็นธรรมมีความสืบต่ออันยาว หรือว่าไป คือดำเนินไป ด้วยคุณธรรมอันใหญ่ คือด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันกว้างขวาง. ธรรมอันทำการประมาณได้มีจาคะเป็นต้น ชื่อว่า ปมาณะ; ธรรมชื่อว่า อัปปมาณะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ไม่มีปมาณะ โดยอารมณ์ หรือโดยสัมปโยค ดังนี้บ้าง และว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อมาณะ ดังนี้บ้าง.

    บรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น กามาวจรจิต ๕๕ ดวงและรูปชื่อว่าปริตตะ. รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต รวม ๒๗ ดวง ชื่อว่า มหัคคตะ. โลกุตตรจิตและนิพพาน ชื่อว่า อัปปมาณะ. ส่วนบรรดาเจตสิก อุกศลเจตสิกเป็นปริตตะเท่านั้น. อัปปมัญญา เป็นปริตตะหรือมหัคคตะเท่านั้น. วิรัติเป็นปริตตะหรืออัปปมาณะเท่านั้น. เจตสิกธรรมที่เหลือเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. และติกะนี้เป็นนิปเทสัตติกะ.

    <O:pปริตตติกะ จบ

    <O:pสังวัณนาแห่งปริตตารัมมณติกะ

    <O:p[๙๗] ธรรมชื่อว่า ปริตรตารัมมณะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้นั่นแหละ. ธรรมทั้งหลายตัวเองจะเป็นปริตตะ หรือมหัคคตะก็ตามเถิด; เมื่อปรารภธรรมมีปริตตะเป็นต้นเป็นไปแล้ว ท่านก็กล่าวว่า มีธรรมนั้นๆ เป็นอารมณ์.

    <O:pบรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น กามาวจรวิบาก ๒๓ ดวง, (คือกุศลวิบาก ๗ ดวง, อเหตุกวิบาก ๘ ดวงและมหาวิบาก ๘ ดวง.) กิริยามโนธาตุ (ได้แก่ปัญจทวาราวัชชนจิต.) และ อเหตุกชวนะ (ได้แก่หสิตุปฺปาทจิต [มโนวิญญาณธาตุ สหรคตดด้วยโสมนัส] ซึ่งเป็นอเหตุกชวนจิตที่เกิดแก่พระอรหันต์.) เป็นปริตตารมณ์เทียว. วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ ทั้งกุศล วิบากและกิริยาเป็นมหัคคตารมณ์เทียว. โลกุตตรจิต ๘ ดวงเป็นอัปปมาณารมณ์เทียว. อกุศลจิตและญาณวิปปยุตตชวนะ ๘ ดวง (แก่มหากุศลจิตและมหากิริยาจิตที่เป็นญาณวิปยุตอย่างละ ๔ ดวง.) เป็นปริตตารมณ์ก็มี, เป็นมหัคคตารมณ์ก็มี. ชื่อว่าเป็นธรรมไม่พึงกล่าวถึงเพราะมีธรรมไม่พึงกล่าวถึงเป็นอารมณ์ก็มี ; ไม่เป็นอัปปมาณารมณ์ในกาลไหนๆ . ญาณสัมปยูตตกามาวจรชวนะ ๘ ดวง (ได้แก่มหากุศลจิตและมหากิริยาจิตที่เป็นญาณสัมปยุตอย่างละ ๔ ดวง), อภิญญา (อภิญญา ๒ ดวงคือกุศลและกิริยา) และมโนทวาราวัชชนะ (ได้แก่มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา[ อเหตุกกิริยา] ดูข้อ ๕๕ ) รวม ๑๑ ดวง เป็นได้ทั้ง ๓ อย่างบ้าง, เป็นธรรมไม่พึงกล่าวถึงบ้าง, บรรดาจิต ๑๑ ดวงนั้น กุศลจิต ๕ ดวง (ได้แก่มหากุศลจิต ๔ ดวงและกุสลาภิญญาดวงหนึ่ง.) มีธรรมทั้งปวงเว้นอรหัตตมรรคและอรหํตตผล เป็นอารมณ์. แม้บรรดาธรรม (กุศลจิต ๕ ดวง) เหล่านั้น มรรคและผล ก็เป็นอารมณ์ของเสกขธรรมนั้นๆ ตามของตนเท่านั้น. กิริยาจิต ๖ ดวง (ได้แก่มหากิริยาจิต ๔ ดวง, กิริยาภิญญา และมโนทวาราวัชชนะ.) มีธรรมทั้งปวงเป็นอารมณ์ แม้โดยประการทั้งปวง. รูปาวจรจิตเว้นอภิญญา, และอากาสานัญจายตนจิต อากิญจัญญายตนะจิต ๖ ดวง (ที่เป็นกุศล วิบากแลกิริยาอย่างละ ๒ ดวง) พึงทราบว่าเป็นธรรมไม่พึงกล่าวถึงโดยประการทั้งปวง เพราะเป็นธรรมมีบัญญัติเป็นอารมณ์โดยนิยม, อนึ่ง รูปแลนิพพานก็พึงทราบว่าเป็นธรรมไม่พึงกล่าวถึงโดยประการทั้งปวง เพราะเป็นธรรมไม่มีอารมณ์. ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกเช่นกับอกุศลจิตเทียว. วิรัติเป็นปริตตารมณ์ก็มี, เป็นอัปปมาณารมณ์ก็มี. กรุณาและมุทิตา เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเทียว. เจตสิกธรรมที่เหลือเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง, เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงก็มีบ้าง. คำที่เหลือควรเข้าใจง่ายทีเดียว.

    <O:pปริตตตารัมมณติกะ จบ
    <O:p</O:p
     
  6. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวันณาแห่งหีนติกะ

    <O:p</O:p
    [๙๘] บทว่า หีนะ โดยอรรถว่า ต่ำทราม; คืออกุศลธรรม. ธรรมมีในท่ามกลางแห่งหีนะและปณีตะ ชื่อว่า มัชฌิมะ; คือรูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือเทียว. ธรรมชื่อว่า ปณีตะ โดยอรรถว่าสูงสุด และโดยอรรถว่าไม่ทำให้เดือดร้อน; คือ โลกุตตรจิต และนิพพาน. ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกเป็นหีนะ เทียว; กรุณาและมุทิตา เป็นมัชฌิมะ. เจตสิกที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ที่เหลือ เป็นมัชฌิมะและปณีตะ. เจตสิกธรรมที่เหลือเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. อนึ่ง ติกะนี้ เป็นนิปปเทสัตติกะ. คำที่เหลือควรเข้าใจง่ายทีเดียว. หีนติกะ จบ

    <O:p</O:p
    สังวัณนาแห่งมิจฉัตตนิยตติกะ

    <O:p</O:p
    [๙๙] ธรรมชื่อว่า มิจฉัตตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า มีความผิดเป็นสภาวะ เพราะแม้บุคคลจะได้หวังไว้อย่างนี้ว่า “ธรรมเหล่านี้จักเป็นธรรมนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาแก่เรา” ก็ไม่เป็นอย่างนั้น และเพราะเป็นไปโดยวิปริต มีเห็นว่างามเป็นต้นในสิ่งอันไม่งามเป็นต้นนั่นแหละ ชื่อว่า นิยตะ (แน่นอน) เพราะเมื่อมีการให้ผล ก็ให้ผลในลำดับแห่งการทำลายขันธ์ทีเดียว. ชื่อว่า มิจฉัตตะ-นิยตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ธรรมเหล่านั้น ทั้งเป็นมิจฉัตตะ ทั้งเป็นนิยตะ. ชื่ว่า สัมมัตตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า มีความถูกความชอบเป็นสภาวะ โดยอรรถตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว. ชื่อว่า สัมมัตตนิยตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ธรรมเหล่านั้น ทั้งเป็นสัมมัตตะทั้งเป็นนิยตะ. ชื่อว่า อนิยตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่าไม่เป็นนิยตะ แม้โดยประการทั้งสอง. ธรรมทั้งหลายพึงเป็น มิจฉัตตนิยตะ ในเพราะความเป็นไปโดยความเป็นธรรมให้ผลในอัตภาพถัดไป. พึงเป็น อนิยตะ ในเพราะความเป็นไปโดยประการอื่นน. ก็บรรดาอเหตุกทิฏฐิ อกิริยาทิฏฐิและนัตถิกทิฏฐิ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลใดเป็นนิยตะ, พระพุทธเจ้าแม้ตั้ง ๑๐๐ องค์ก็ไม่อาจที่จะยังบุคคลนั้นให้ตรัสรู้ธรรมพิเศษได้. อนึ่ง บรรดากรรม ๕ อย่างกล่าว คือ มาตุฆาตก์ (ฆ่ามารดา) ปิตุฆาตก์ (ฆ่าบิดา) อรหัตฆาตก์ (ฆ่าพระอรหันต์) สังฆเภทก์ (ยังสงฆ์ให้แตกกัน) และโลหิตุปบาทก์ (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนยังพระโลหิตให้ห้อ) อันชื่อว่า อานันตริกะ เพราะให้ผลในอัตภาพถัดไปเทียว บุคคลใดได้กระทำกรรมแม้อย่างหนึ่ง ด้วยปฏิฆจิต, บุคคลนั้นแม้สร้างสถูปทองแม้เท่าภูเขาสิเนรุ แล้วบำรุงภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขซึ่งนั่งเต็มจักรวาลทั้งสิ้นด้วยปัจจัย ๔ ตลอดชีวิต ก็ไม่อาจที่จะห้ามวิบากของอานันตริกกรรมด้วยกุศลนั้นได้. แต่ด้วยอานันตริกะอันยิ่ง ก็ห้ามอานันตริกะได้. เพราะฉะนั้น นิยตมิจฉาทิฏฐิ จึงเป็นอานันตริกะด้วย, เป็นธรรมชื่อว่า มิจฉัตตนิยตะ เพราะเป็นธรรมห้ามมรรคผลและมหัคคตะ, เพราะให้วิบากในนิรยะติดต่อไปทีเดียวด้วย. ส่วนมรรค ๔ ชื่อว่า สัมมัตตนิยตะ. จิตที่เหลือรูป และนิพพาน ชื่อว่า อนิยตะ. ส่วนบรรดาเจตสิก โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โลภะ ทิฏฐิ โทสะ ถีนะ มิทธะ ๙ อย่างนี้เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี, เป็นอนิยตะก็มี. อกุศลเจตสิกที่เหลือ, กรุณา และมุทิตา เป็นอนิยตะเท่านั้น. เจตสิกที่เป็นกุศลและอัพยากฤต (ได้แก่เจตสิก ๒๕ มีสัทธาเป็นต้น ดูข้อ ๕๙) ที่เหลือ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี, เป็นอนิยตะก็มี; ส่วนเจตสิกที่มีชาติสาม (มีชาติ ๓ คือ เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๑๓ มีผัสสะเป็นต้น ดูข้อ ๕๙) เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. อนึ่ง ติกะนี้เป็น นิปปเทสัตติกะ. มิจฉัตตนิยตติกะ จบ

    <O:pสังวัณนาแห่งมัคคารัมณติกะ

    <O:p[๑๐๐] ชื่อว่า มัคคะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า แสวงหานิพพาน หรือว่า ฆ่ากิเลสไป, ได้แก่อริยมรรค. มัคคะนั้นเป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มัคคารัมมณะ มีมรรคเป็นอารมณ์. แม้มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นโลกียะ ก็เป็นเหตุโดยอรรถว่าเป็นปัจจัยของธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า มัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหตุ), ได้แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรค. หรือธรรมเหล่าใดเป็นหตุในมรรค เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า มัคคเหตุ, ได้แก่กุศลมูลมีอโลภะเป็นต้น. มัคคเหตุนั้นนั่นแหละเป็นเหตุของธรรม เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อ มัคคเหตุกะ (มีมัคคเหตุเป็นเหตุ). สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรคเองและเป็นเหตุ; ธรรมที่เป็นมรรคอย่างนี้เป็นเหตุของธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มัคคเหตุกะ (มีธรรมที่เป็นมรรค เป็นเหตุ), ได้แก่ธรรมฝ่ายโลกุตตระเทียว. มรรคเป็นอธิบดี คือเป็นอารมณ์หรือเป็นสหชาต โดยอรรถว่า ครอบงำเป็นไป ของธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านี้จึงชื่อว่า มัคคาธิปติ (มีมรรคเป็นอธิบดี) ได้แก่ธรรมทั้งสองฝ่าย (ฝ่ายโลกิยะและฝ่ายโลกุตตระ)

    <O:p</O:p
    [๑๐๑] บรรดาธรรมทั้งสามนั้น รูปาวจรจตุตถฌาน ทั้งกุศลและกิริยาที่เป็นอภิญญา, และมโนทวาราวัชชนะ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นธรรมไม่พึงกล่าวถึงก็มี. ก็เจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณของพระอริยะทั้งหลายเป็นมัคคารัมมณะในเวลาที่รู้มรรคจิตของพระอริยอื่นๆ เท่านั้น. ส่วนปุพเพนิวาสญาณและมโนทวาราวัชชนะ เป็นมัคคารัมมณะในเวลาที่รู้มรรคจิตทั้งของตนและของบุคคลอื่น; แต่เป็นธรรมพึงกล่าวถึงในเวลาที่มีธรรมอื่นจากมรรคจิตนั้นเป็นอารมณ์. ก็แล เพราะเจโตปริยญาณ เป็นญาณมีจิตของผู้อื่นเป็นอารมณ์โดยนิยม พระอริยะทั้งหลายจึงไม่อาจที่จะหน่วงมรรคที่ตนบรรลุด้วยเจโตปริยญาณนั้นได้. อนึ่ง ไม่อาจที่จะหน่วงมรรคที่ตนพึงบรรลุด้วยอนาคตังสญาณได้ เพราะมรรคในเบื้องบนที่จะบังเกิดแต่ตนในอนาคตเป็นธรรมมิใช่อารมณ์. แท้จริงพระอริยะทั้งหลายอาจที่จะรู้มรรคผลตามชั้นของตนและเบื้องล่างได้; ไม่อาจที่จะรู้มรรคผลเบื้องบนได้. อนึ่ง อภิญญาชวนะ เหล่านั้น ไม่เป็นมัคคเหตุกะ เพราะเป็นธรรมไม่เกิดร่วมด้วยมรรค, ไม่เป็นมัคคาธิบดีเพราะไม่ทำมรรคให้หนักเป็นไป. แท้จริง อภิญญาชวนะเหล่านั้น ย่อมไม่ทำอารมณ์อะไรๆ ให้หนัก, โดยที่สุดแม้เป็นโลกุตตรธรรม. เพราะเหตุไร? เพราะความที่ตนเป็นมหัคคตะ, ราวกะชนกชนนีของพระราชาเห็นพระราชานั้น . ส่วนมโนทวาราวัชชนะ ไม่ทำอารมณ์อะไรๆ ให้หนัก, โดยที่สุดแม้เป็นโลกุตตรธรรม, เพราะความที่ตนเป็นอเหตุกะ, ราวกะคนค่อมและคนรับใช้เป็นต้นเห็นพระราชา.

    <O:pจิตของท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ดวง เป็นมัคคเหตุกะเท่านั้นในกาลทุกเมื่อ. อนึ่ง จิต ๔ ดวงนั้นนั่นแล พึงเป็นมัคคาธิบดี ในเพราะการเป็นไปโดยความที่วิมังสา (ปัญญาเครื่องพิจารณา) และวิริยะ เป็นอธิบดี; พึงเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในเพราะการเป็นไปโดยความที่ ฉันทะ (ความพอใจ) และจิตตะ (จิตมั่นคง) เป็นอธิบดี. กามาวจรชวนะที่สัมปยุตด้วยญาณ ๘ ดวง เป็นมัคคารัมมณะก็มี, เป็นมัคคาธิบดีก็มี, เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงก็มี. ก็กามาวจรชวนะที่สัมปยุตด้วยญาณ ๘ ดวงนั้น เป็นมัคครัมมณะในเวลาที่พิจารณามรรคของตนทำให้หนัก, และเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในเพราะการไม่เป็นโดยประการนั้น. ก็พระอริยะทั้งหลายพิจารณามรรคผลของพระอริยอื่นๆ แม้เมื่อทำให้หนัก ก็ไม่ทำให้หนักราวกะมรรคผลของตน, แม้จะเป็นมรรคผลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตาม. บรรดาพระอริยะเหล่านั้น พระโสดาบันอาจที่จะทราบได้ แต่มรรคผลของพระโสดาบันทั้งหลายเท่านั้น; ไม่อาจที่จะทราบมรรคผลของพระอริยะชั้นอื่นๆ ได้. ส่วนพระสกทาคามี อาจที่จะทราบมรรคผลแม้ของพระสกทาคามี; ไม่อาจที่จะทราบมรรคผลของพระอนาคามีได้. พระอนาคามีอาจที่จะทราบมรรคผลแม้ของพระอนาคามี; ไม่อาจที่จะทราบมรรคผลของพระอรหันต์ได้. ส่วนพระอรหันต์ทราบมรรคผลของพระอริยะแม้ทุกชั้น. โสภณโลกิยจิต, รูป และนิพพาน ไม่พึงกล่าวถึงทีเดียว. ส่วนบรรดาเจตสิก วิรัติในโลกุตตรกุศลจิตเป็นธรรมเช่นกับมรรค, ในจิตอื่นๆ ไม่พึงกล่าวถึง. กรุณา มุทิตา และอกุศลเจตสิก ไม่พึงกล่าวถึง. เจตสิกธรรมที่เหลือเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง, และเป็นธรรมอันไม่ภึงกล่าวถึง. คำที่เหลือพึงเข้าใจง่ายทีเดียวแล.
    มัคคารัมณติกะ จบ





    ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคี



    วัดนาหนองใหญ่ บ้านนาหนองใหญ่ ตำบลไร่สีสุก อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
    ในวันที่อาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔


    วัดสมานสังฆวิเวก หมู่ ๖ บ้านโนนก่อ ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
    ในวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔


    <!-- google_ad_section_end --><O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  7. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณนาแห่งอุปปันนติกะ

    [๑๐๒] พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อุปปันนะ ดังนี้ : อุปปันนะ (ธรรมเกิดขึ้นแล้ว) เป็นธรรมมีประเภทมิใช่น้อย โดยเป็นวัตตมานะ, ภูตาปคตะ, โอกาสกตะ และภูมิลัทธะ. บรรดาอุปปันนะเหล่านั้น นามรูปแม้ทั้งหมด ชื่อว่า วัตตมานุปปันนะ (บังเกิดขึ้นแล้วโดยอาการที่เป็นไปอยู่) กล่าวคือ ความพร้อมเพรียงแห่งความบังเกิด ความคร่ำคร่า และความสลาย. ก็กุศลและอกุศลอันเสวยรสของอารมณ์แล้วดับไป กล่าวคือ อนุภูตาปคตะ (ปราศจากการเสวย), อันถึงภาวะมีความบังเกิดเป็นต้นโดยลำดับแล้วดับไป กล่าวคือ ภูตาปคตะ (ปราศจากความเป็น) และกล่าวคือ โอกาสกตะ เป็นต้นที่เหลือชื่อว่า ภูตาปคตุปปันนะ (บังเกิดขึ้นแล้วโดยปราศจากความเป็น). กรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า “กรรมทั้งหลายของเขาที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน” ดังนี้ แม้เป็นกรรมอดีต ก็ชื่อว่า โอกาสกุตุปปันนะ (บังเกิดขึ้นแล้วโดยมีโอกาสอันกระทำแล้ว) เพราะเป็นกรรมห้ามวิบากอื่นแล้วกระทำโอกาสแก่วิบากของตนตั้งอยู่แล้ว และวิบากที่มีโอกาสอันกรรมกระทำแล้วอย่างนั้น. ก็ชื่อว่า โอกาสกตุปปันนะ (บังเกิดขึ้นแล้วโดยมีโอกาสอันกรรมกระทำแล้ว) เพราะจะบังเกิดขึ้นโดยส่วนเดียว. อกุศลอันยังไม่ได้เพิกถอนในภูมินั้นชื่อว่า ภูมิลัทธุปปันนะ (บังเกิดขึ้นแล้วโดยมีภูมิอันได้แล้ว). ก็ในบทว่าภูมิลัทธุปปันนะนี้ เบญจขันธ์อันเป็นไปในภูมิสาม ที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาชื่อว่า ภูมิ. กิเลสชาตอันควรบังเกิดในเพราะขันธ์เหล่านั้นชื่อว่า ภูมิลัทธะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ภูมินั้น อันกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว. บรรดาอุปันนะดังบรรยายมานี้ วัตตมานุปปันนะ พระผู้มีพระภาคทรงพระประสงค์ในอุปปันนัตติกะนี้.

    <O:p</O:p
    อรรถแห่งคำในอุปปันนัตติกะนั้น ดังนี้: ธรรมเหล่าใดถึงแล้ว คือไปแล้ว, เป็นไปแล้ว จำเดิมแต่ความบังเกิดขึ้นในเบื้องต้นตราบเท่าความสลาย เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อุปปันนะ(บังเกิดขึ้นแล้ว) อธิบายว่าเป็นปัจจุบัน. ธรรมเหล่าใดไม่ใช่ธรรมบังเกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนุปปันนะ, ธรรมเหล่าใดจักบังเกิดขึ้นแน่แท้ เพราะมีเอกเทศแห่งเหตุอันสำเร็จแล้วเพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปปาที (มีอันจะบังเกิดขึ้นเป็นปกติ). ธรรมเป็นอนาคตเทียวทรงแสดงแล้ว แม้ด้วยบททั้งสอง. แท้จริงติกะนี้ ทรงแสดงให้เต็มความโดยอัทธานะ ๒ (ปัจจุบันและอนาคต). ก็วิบากของกรรมที่มีโอกาสอันได้แล้ว ชื่อว่า อุปปาที. ก็ผิว่ากุศล-อกุศลกรรมที่ได้พยายามแล้วทั้งหมดพึงให้วิบากไซร้; โอกาสก็จะไม่พึงมีแก่วิบากนั้น. อนึ่ง กรรมนั้นเป็นสองอย่าง: ธุววิปากะ (มีวิบากยั่งยืน) และอัทธุววิปากะ (มีวิบากไม่ยั่งยืน). บรรดากรรม ๒ อย่างนั้น อานันตริกกรรม ๕, สมาบัติ ๘, มรรค ๔ เป็นอาทิ ชื่อว่า ธุววิปากะ. อนึ่ง กรรมนั้น ที่ถึงขณะแล้วก็มี, ที่ยังไม่ถึงก็มี. บรรดากรรม ๓ อย่างนั้น กรรมที่ถึงขณะแล้วชื่อว่า อุปปันนะ; ที่ยังไม่ถึงชื่อว่า อนุปปันนะ. และวิบากของกรรม ๒ อย่างนั้น ก็เป็น ๒ อย่าง: ถึงขณะแล้วและยังไม่ถึง. บรรดาวิบาก ๒ อย่างนั้น วิบากที่ถึงขณะแล้วชื่อว่า อุปปันนะ; วิบากที่ยังไม่ถึง จะบังเกิดในลำดับแห่งจิตก็ตาม, ในกาลที่ล่วงไปถึงแสนกัลป์ก็ตาม, เป็นวิบากชื่อว่า อุปปาที. มรรคของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ เป็นธรรมชื่อว่า อนุปปันนะ; ผลเป็นธรรมชื่อว่า อุปปาที.

    </O:p
    บรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น วิบากในภูมิ ๔ และรูปเกิดแต่กรรม ชื่อว่า วัตตมานุปปันนะ. ธรรมอันควรบังเกิดขึ้น ชื่อว่า อุปปาที; แต่ไม่พึงกล่าวว่า อนุปปันนะ. กุศล,อกุศล,กิริยา และรูปเกิดแต่กรรม เป็นอุปันนะก็มี, เป็นอนุปปันนะก็มี; ไม่พึงกล่าวว่าอุปปาที. บรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกเป็นเช่นกับอกุศลจิต เจตสิกที่เหลือ เป็นได้ทั้ง ๒ อย่าง. ส่วนธรรมที่เป็นอดีตและนิพพานเป็นธรรมอันไม่ถึงกล่าวถึงในติกะนี้. คำที่เหลือพึงเข้าใจง่ายทีเดียวแล.<O:p</O:p
    อุปปันนติกะ จบ

    <O:pสังวัณนาแห่งอดีตติกะ

    [๑๐๓] ธรรมชื่อว่า อดีต โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ถึงสภาวะของตนหรืออุปปาทขณะแล้วไป คือเป็นไปล่วงสภาวะของตน หรืออุปปาทขณะนั้นแล้ว; ชื่อว่า อนาคต โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ยังไม่มาถึงแม้ทั้งทั้งสองอย่างนั้น, ชื่อว่า ปัจจุบัน โดยอรรถวิเคราะห์ว่า อาศัยเหตุนั้นๆ บังเกิดขึ้นแล้ว; ทั้งนี้ได้แก่ธรรม คือนามและรูปชื่อว่ามีถึงความเป็นธรรมเป็นไปในกาล ๓; สังขตธรรมเหล่านั้นนทั้งหมดจึงเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. ส่วนนิพพาน เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในติกะนี้.
    <O:pอดีตติกะ จบ

    <O:p</O:p
    สังวัณนาแห่งอตีตารัมมณติกะ
    <O:p</O:p
    [๑๐๔] อดีตเป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านี้ชื่อว่ อตีตารัมมณะ (มีอดีตเป็นอารมณ์). แม้ใน ๒บทที่เหลือ ก็นัยนี้นั่นแหละ. บรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น วิญญานัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ อันเป็น ๖ อย่าง โดยเป็นกุศล วิบากและกิริยา ชื่อว่า อตีตารัมมณะ เพราะปรารภสมาบัติที่เป็นไปล่วงแล้วในหนหลังเป็นไป. วิญญาณ ๕ ทั้งสองและมโนธาตุ (มโนธาตุ ๓. สัมปฏิจฉนะ –อกุศลวิบากจิต, สัมปฎิจฉนะ –กุศลวิบาอเหตุกจิต,และปัญจทวราวัชชนะ-อเหตุกกริยาจิต.) เป็นปัจจุปันนารัมมณะเทียว. กามาวจรวิบาก ๑๑ ดวงที่เหลือ (มหาวิบากจิต ๘ ดวง และสันตีรณจิต ๓ ดวง) และอเหตุกหสนจิต เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. กามาวจรจิตที่เหลือทั้งกุศลและอกุศลและรูปาวจรจตุตถฌานที่เป็นอภิญญาทั้งกุศลและกิริยา เป็นได้ทั้ง ๓ อย่างและเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง.
    <O:p</O:p
    บรรดาจิตเหล่านั้น วิภาคของความเป็นไปในอารมณ์ ๖ ที่เป็นอดีตเป็นต้นแห่งกามาวจรจิต ได้กล่าวแล้วในหนหลังเทียว. (กล่าวไว้ในข้อ ๒๓) ส่วนความเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงแห่งชวนจิตที่เป็นญาณวิปยุตและอกุศลจิตในพวกกามาวจรจิตนั้น พึงทราบด้วยสามารถอารมณ์คือบัญญัติเท่านั้น; ในพวกกามาวจรจิตนั้น พึงทราบด้วยสามารถอารมณ์คือบัญญัติเท่านั้น; ไม่ใช่ด้วยสามารถามรมณ์คือนิพพาน. อนึ่ง ในพวกกามาวจรจิตนั้นพึงทราบความเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงแห่งชวนะและอาวัชชนะที่เป็นไตรเหตุ แม้ด้วยความเป็นปุเรจาริกของมรรคผลและรูป – อรูปฌาน, และแห่งจิตอันมีนิพพานหรือฌาน ๔ เป็นอารมณ์ แม้ด้วยความเป็นปัจจเวกขณญาณ.

    <O:p</O:p
    [๑๐๕] ส่วนบรรดาอภิญญา พึงทราบอารมณ์ของอิทธิวิธญาณก่อนว่า เมื่อพระโยคาวจรน้อมจิตไปด้วยสามารถกาย ทำให้อาศัยกายมีกายปรากฏไปอยู่ อิทธิวิธญาณชื่อว่า อตีตตารัมมณะ (มีอดีตเป็นอารมณ์) เพราะปรารภจิตคือปาทกฌานอันเป็นอดีต; เมื่อพระโยคาวจรอธิษฐานว่า “รูปทั้งหลายจงเป็นอย่างนี้ในอนาคต” อิทธิวิธญาณก็มีอนาคตเป็นอารมณ์; แต่ในเวลาที่พระโยคาวจรทำกายให้อาศัยจิตมีกายไม่ปรากฏอยู่ไป และในเวลาที่พระโยคาวจรนิรมิตรูปปัจจุบัน ภายในตนมีรูปจำแลงกุมารเป็นต้น, ในภายนอกมีปราสาทและเรือนยอดเป็นต้น; อิทธิวิธญาณก็มีปัจจุบันเป็นอารมณ์. เพราะฉะนั้นอารมณ์ของอิทธิวิธญาณอันเป็นไปใน ๓ กาล ทั้งภายในและภายนอกจึงเป็น ๖ อย่างด้วยประการฉะนี้.
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สัททายตนะ ที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น ที่มีในภายในซึ่งอยู่ในท้องและที่มีในภายนอก เป็นอารมณ์ของิทพโสต. จิตของคนอื่นเท่านั้นที่เป็นอดีตและที่เป็นอนาคต ภายใน ๗ วันอดีต, ภายใน ๗ วันอนาคต, เป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ. ก็เจโตปริยญาณนี้ไม่อาจที่จะรู้จิตของคนอื่นในเวลาที่เกิน ๗ วันไป. เพราะนั่นเป็นวิสัยของ อตีตังสญาณและอนาคตังสญาณ; ไม่เป็นวิสัยของเจโตปริยญาณนี้. อนึ่ง จิตของคนอื่น ที่เป็นปัจจุบันเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณนั้น ในเวลาที่รู้จิตปัจจุบัน. ก็ขึ้นชื่อว่า ปัจจุบันนี้เป็น ๓ อย่าง คือ ขณปัจจุบัน, สันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบัน. บรรดา ปัจจุบัน ๓ อย่างนั้น นามรูปที่ถึงอุปปาทขณะ ฐิติขณะ และภังคขณะแล้ว ชื่อว่า ขณปัจจุบัน. ก็สันตติปัจจุบันเป็น ๒ อย่างโดยรูปและอรูป. บรรดาสันตติ ๒ อย่างนั้น บุคคลมาจากที่แดดแล้วเข้าไปสู่ห้องมีอาการตามืดยังไม่ปราศไปเพียงใด หรืออยู่ในภายในห้องแล้วแลดูที่แดดในกลางวัน มีอาการไหวของนัยน์ตายังไม่สงบเพียงใด, นี้ชื่อว่า รูปสันตติ; ชวนวาระ ๒-๓ ชื่อ อรูปสันตติ. สันตติทั้งสองนั้น พึงทราบว่า สันตติปัจจุบัน. ปัจจุบันที่กำหนดด้วยภพหนึ่ง ชื่อว่า อัทธาปัจจุบัน; แต่ในอารมณ์ของเจโตปริยญาณนี้ ชวนวาระเล็กน้อยชื่อว่า อัทธาปัจจุบัน. บรรดาปัจจุบัน ๓ อย่างนั้น จิตที่เป็นขณปัจจุบันไม่เป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณเพราะดับไปพร้อมอาวัชชนะ. ในเจโตปริยญาณนี้ ความที่อาวัชชนะและชวนะเป็นจิตมีอารมณ์ต่างกันไม่ชอบเลย. ก็รูปสันตติปัจจุบัน, อัทธาปัจจุบันอันกำหนดด้วยชวนวาระเล็กน้อยเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณนั้น. แท้จริง ท่านผู้มีฤทธิเป็นผู้ใคร่จะรู้จิตของผู้อื่นนึกถึงอยู่; อาวัชชนจิตนั้นทำจิตที่เป็นปัจจุบันในขณะที่นึกถึงให้เป็นอารมณ์ แล้วดับไปพร้อมจิตนั้นนั่นเทียว. ลำดับนั้น ชวนะ ๔ หรือ ๕ ดวง หน่วงจิตที่ดับแล้วนั้นนั่นแหละบังเกิดขึ้น. ชวนะดวงสุดท้ายแห่งชวนะเหล่านั้นเป็นอิทธิจิต; ที่เหลือ เป็น กามาวจรชวนะ. ก็แม้ในเมื่อชวนะเหล่านั้นเป็นจิตมีอารมณ์เดียวกัน ชวนะดวงที่เป็นอิทธิจิตเท่านั้น รู้จิตของผู้อื่น; ชวนะนอกนี้ ไม่รู้; เหมือนอย่างในจักขุทวารวิถี จักขุวิญญาณเท่านั้นเห็นรูป, วิถีจิตนอกนี้ไม่เห็น ฉะนั้น. อนึ่ง พึงถือความสันนิษฐานว่า บรรดาจิตเหล่านั้น อาวัชชนะ เท่านั้นมีปัจจุบันเป็นอารมณ์ โดยนิปปริยาย; ส่วนชวนะนอกนี้มีปัจจุบันเป็นอารมณ์โดยปริยาย ด้วยสามารถอัทธาสันตติ. ด้วยประการฉะนี้ จิตทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันนั่นเดียวเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณนี้ได้; ก็จิตนั้นแล เป็นจิตของผู้อื่น ไม่ใช่จิตของตน.

    <O:p</O:p
    ส่วน ปุพเพนิวาสญาณ เป็นธรรมมีธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเป็นอารมณ์ ในเพราะการระลึกถึงนามและโคตร กสิณ และบัญญัติเป็นต้น, และในเพราะการระลึกถึงนิพพาน; เป็นธรรมมีอดีตเป็นอารมณ์เท่านั้น ในเพราะการระลึกถึงสังขตธรรม. แท้จริงบรรดาธรรมทั้งที่มีอาสวะและไม่มีอาสวะ ทั้งที่มีในภายในและมีในภายนอก อันเป็นอดีต ธรรมอะไรๆ ที่ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ ไม่มีแก่ปุพเพนิวาสญาณนั้น; ปุพเพนิวาสญาณนั้นจึงเป็นญาณมีคติเสมอด้วย สัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


    ในอรรถกถาทั้งหลายได้กล่าวว่า “ธรรมสักว่าเจตนาอันเป็นกุศลและอกุศล ที่เป็นอดีต ทั้งมีในภายในและมีในภายนอกเท่านั้น เป็นอารมณ์ของ ยถากัมมูปคญาณ. จิตเท่านั้น เป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ; ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาและจิตนั้นไม่เป็นอารมณ์” ดังนี้; แต่เพราะในปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า “ขันธ์ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย ของอิทธิวิธญาณ, เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, ยถากัมมูปคญาณ, อนาคตังสญาณ” ดังนี้ จึงพึงเห็นอรรถรูปว่า ขันธ์ ๔ ทั้งที่สัมปยุตด้วยจิต ทั้งที่สัมปยุตด้วยเจตนา เป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณและยถากัมมูปคญาณ.

    <O:pส่วน ทิพพจักขุญาณ มีวรรณายตนะ ที่เป็นปัจจุบัน ทั้งที่มีในภายในและที่มีในภายนอกเท่านั้น เป็นอารมณ์. อนาคตังสญาณ มีอายตนะทั้ง ๖ อย่างที่เป็นอนาคตเท่านั้น ทั้งที่มีในภายในและที่มีในภายนอกเป็นอารมณ์. แม้อนาคตังสญาณนี้ ก็เป็นญาณเช่นกับสัพพัญญุตญาณในส่วนอนาคตราวกะปุพเพนิวาสญาณแล.

    <O:pความเป็นไปตามควรในเพราะอารมณ์ ๖ ทั้งที่มีในภายในและที่มีในภายนอก ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งที่เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงแห่งอภิญญาทั้งหลาย พึงทราบด้วยประการฉะนี้.

    <O:pจิตที่เหลือ คือ รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง, อากาสานัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนะ ทั้งที่เป็นกุศล วิบาก และกิริยา, โลกุตตรจิต ๘ ดวง, กับรูป และนิพพาน เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. ส่วนบรรดาเจตสิก อัปปมัญญา เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเทียว. คำที่เหลือ พึงเข้าใจง่ายทีเดียว.

    <O:pอตีตารัมมณติกะ จบ




    ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคี





    วัดนาหนองใหญ่ บ้านนาหนองใหญ่ ตำบลไร่สีสุก อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
    ในวันที่อาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔



    วัดสมานสังฆวิเวก หมู่ ๖ บ้านโนนก่อ ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
    ในวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  8. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณนาแห่งอัชฌัตตติกะ
    <O:p</O:p
    [๑๐๖] ธรรมเหล่าใดเป็นไปทับซึ่งตนราวกะด้วยความประสงค์ว่า “เราผู้เป็นไปอยู่อย่างนี้จักถึงการถือครองตน” เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า อัชฌัตตะ (เป็นไปทับซึ่งตน, = ภายใน) ก็ศัพท์คือ อัชฌัตตะนี้ ปรากฏอยู่ในอรรถ ๔ อย่าง คือ โคจรัชฌัตตะ, นิยกัชฌัตตะ, อัชฌัตตัชฌัตตะ, วิสยัชฌัตตะ. ดังจะกล่าวโดยย่อ อัชฌัตตศัพท์นี้ในบาลีมีคำว่า “ อชฺฌตฺตรโต สมาหิโต [ที. มหา.มหาจุฒาเตปิฏก ๑๐/๙๐ : มหาปรินิพพานสูตรตอนปลงอายุสังขาร] (มนี เป็นผู้ยินดีแล้ว ในภายใน มีจิตตั้งมั่น)” ดังนี้เป็นต้น ปรากฏอยู่ในอรรถว่า โคจรรัชฌัตตะ (ภายในอารมณ์); ในบาลีมีคำว่า “อชฺฌตตํ วา ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ [ที.มหา.มหาจุฬาเตปิฏก ๑๐/๒๕๗: มหาสติปัฏฐานสูตร] (ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายในอยู่ก็ดี)” ดังนี้เป็นต้น ปรากฏอยู่ในอรรถว่า นิยกัชฌัตตะ (ภายในแน่นอน); ในบาลีมีคำว่า “ฉ อชฺฌตฺติกานิ อายตนานิ (อายตนะเป็นไปในภายใน ๖)” ดังนี้ เป็นต้น ปรากฏอยู่ในอรรถอัชฌัตตัชฌัตตะ (ภายในโดยภายใน); ในบาลีมีคำว่า “อชฺฌตฺตํ สุญฺญตํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ[ ,มัช.อุ.สยามรัฏฐเตปิฏก ๑๔/๒๓๖ :มหาสุญญตสูตร] (พระตถาคตเข้าถึงสุญญตาในภายในอยู่) ดังนี้เป็นต้น ปรากฏอยู่ในอรรถว่า วิสยัชฌัตตะ (ภายในโดยวิสัย), อธิบายว่า ในอิสริยฐาน; แท้จริงผลสมาบัติ ชื่อว่าอิสริยฐาน (ฐานะที่มีความเป็นอิสระ) ของพระพุทธะทั้งหลาย.

    <O:pแต่ในติกะนี้ อัชฌัตตศัพท์นี้เป็นไปในนิยกัชฌัตตะ เพราะฉะนั้น รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันเป็นของเฉพาะบุคคล ที่เป็นไปในสันดานแห่งตน พึงทราบว่า อัชฌัตตะ (ธรรมภายใน) ในติกะนี้; รูปธรรม อรูปธรรม และบัญญัติทั้งหลายอันเนื่องด้วยอินทรีย์หรือไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ที่เกิดในภายนอกแต่สันดานตนนั้นชื่อว่า พหิทธา (ธรรมภายนอก).

    <O:pบรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น จิตและเจตสิกทั้งปวง และรูปอันเนื่องด้วยอินทรีย์เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์, นิพพาน, และบัญญัติทั้งหลาย เป็นธรรมภายนอก เทียว. แท้จริง แม้บัญญัติทั้งหลายที่ไม่ได้ในกุสลติกะ ก็ได้ในติกะนี้ เว้นไว้แต่จิตที่มีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์. จิตที่มีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์นั้นเท่านั้น เป็นธรรมไม่พึงกล่าวถึงในติกะนี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอรรถรูปว่า จิตมีกาม- รูปาวจรจิตเป็นต้น อันมีบัญญัติมีกสิณเป็นต้นเป็นอารมณ์ เป็นพหิทธารัมมณะ; ส่วนอากิญจัญญายตนะ เป็นธรรมไม่พึงกล่าวถึงดังนี้ไว้ในติกะถัดไป ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ. อนึ่ง ติกะนี้เป็นนิปปเทสัตติกะ.

    อัชชตติกะ จบ

    <O:pสังวัณนาแห่งอัชฌัตตารัมมณติกะ

    <O:p</O:p
    [๑๐๗] ติกะนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยสามารถธรรมอันหน่วงธรรม ๓ อย่าง มีธรรมภายในเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วเป็นอารมณ์. บรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น วิญญาณัญจายตนจิต และเนวสัญญานาสัญญายตนจิต ๖ อย่าง (อรูปฌาน ๒ นั้น อย่างละ ๓ คือ กุศล, วิบาก,และกิริยา) เป็นอัชฌัตตารัมมณะ (มีธรรมภายในเป็นอารมณ์) เท่านั้น. อากาสานัญจายตนะ ทั้ง ๓ และรูปาวจรจิต, โลกุตตรจิต เป็นพหิทธารัมมณะ (มีธรรมภายนอกเป็นอารมณ์) เท่านั้น. อเหตุกจิตเว้นโวฏฐปนะ และมหาวิปากจิต เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง. ส่วนธรรมที่เหลือ, อวัชชนะและชวนะเว้นอากิจัญญายตนะ, และอภิญญาเป็นได้ทั้ง ๓ อย่างก็มี. ความที่ธรรมที่มีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง พึงมีในเพราะการเป็นไปโดยความเป็นอาวัชชนะ, บริกรรมและปัจจเวกขณญาณเป็นต้น. ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมมีธรรมภายในเป็นต้นเป็นอารมณ์พึงทราบโดยอนุโลมตามนัยที่กล่าวแล้ว ในติกะถัดไปและในหนหลัง ส่วน อากิญจัญญายตนะ และรูป, นิพพาน เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเทียว. ส่วนบรรดาเจตสิก อัปปมัญญาและวิรัติ เป็นธรรมมีธรรมภายนอกเป็นอารมณ์เทียว. เจตสิกธรรมที่เหลือเป็นได้ทั้ง ๓ อย่างและเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. คำที่เหลือ ควรเข้าใจง่ายทีเดียว.

    อัชฌัตตารัมมณติกะ จบ.<O:p

    </O:p
    สังวัณนาแห่งสนิทัสสนติกะ
    <O:p</O:p
    [๑๐๘] ธรรมชื่อว่า สนิทัสสนะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่าเป็นไปกับด้วยนิทัสสนะ กล่าวคือ ความเป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็น. ชื่อว่า สัปปฏิฆะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นไปกับด้วย ปฏิฆะ กล่าวคือความเป็นธรรมอันบุคคลกระทบได้. ชื่อว่า สนิทัสสนปัปปฏิฆะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า รรมเหล่านี้เป็นทั้งสนิทัสสนะและสัปปฏิฆะ (ทั้งพึงเห็นและกระทบได้) คือรูปายตนะ นั้นเอง; นิเทศเป็นพหุวจนะ หมายถึงประเภทมีสีเขียว เป็นต้น. ธรรมชื่อว่า อนิทัสสนะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า นิทัสสนะ กล่าวคือความเป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็น ไม่มีแก่ธรรมเหล่านี้ (เห็นไม่ได้). ชื่อว่า อนิทัสสนสัปปฏิฆะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นทั้งอนิทัสสนะและสัปปฏิฆะ โดยนัยที่กล่าวแล้ว (เห็นไม่ได้แต่กระทบได้) คือ โอฬาริกรูปที่เหลือ. บทที่ ๓ ตรัสโดยนัยเป็นปฏิปักษ์ต่อบททั้งสองนั้น. สุขุมรูป ,จิต, เจตสิกและนิพพาน ชื่อว่า อนิทัสสนอัปปฏิฆะ (เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้) ติกะนี้ พึงทราบว่าเป็นนิปปเทสัตติกะ.
    <O:p</O:p
    สนิทัสสนติกะ จบ
    <O:p</O:p
    พรรณนาความแห่งติกมาติกา จบ<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...