ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ทั่วอากาศ ทั่วพื้นน้ำและบนบกเต็มไปด้วยกาม
    กามตันหน้า ภวตันหู วิภวตันใจ
    ถ้าขยายออกไป มันก็ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก…กาม
    เพราะความพอใจและไม่พอใจก็เกิดจากกามทั้งสิ้น.

    โอวาทธรรม หลวงปู่แหวน สุจิณโณ….

    -ทั่วพื้นน้ำแล.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ความจริงกับความจำ
    ผลต่างกันราวฟ้ากับดิน
    .
    วิสุทธิมรรค นั้นมีอะไร
    มีศีลนิเทศ สมาธินิเทศ ปัญญานิเทศ
    นิเทศ..นี้คืออะไร,ก็คือนิทาน
    เป็นนิทานเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา
    ไม่ใช่ความจริงของศีล สมาธิ ปัญญาหรอกถ้าต้องการรู้ความจริง
    ต้องปฏิบัติให้มีขึ้นในกาย วาจา ใจของตน

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    อาจารย์สิริปันโน (Ajahn Siripanno) หรือ Ven Siripanyo
    เป็นลูกชายคนเดียวของมหาเศรษฐี ที. อนันดากริชนัน
    (Tan Sri Ananda Krishnan) เป็นมหาเศรษฐี
    ผู้ใจบุญสุนทานชาวศรีลังกาเชื้อสายทมิฬ
    ซึ่ง Forbes จัดอันดับความรวยเป็นอันดับ 2 ของมาเลเซีย
    และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
    (2nd richest man in Malaysia & Southeast Asia and 89th in the world according to Forbes.)
    ครอบครัวนี้มีลูกสาว 2 คน และมีลูกชายเพียง 1 คน
    คือ อาจารย์สิริปันโน
    ท่านจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ
    และสามารถพูดได้ถึง 8 ภาษา

    ท่านได้เลือกที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ 18 ปีที่แล้ว
    และไม่เคยมองย้อนกลับมาอยากใช้ชีวิตฆราวาส
    ท่านปฏิเสธโอกาสที่จะทำงานเพื่อเข้ามาดูแล
    และขยายอาณาจักรธุรกิจของบิดา
    รวมทั้งปฏิเสธที่จะรับมรดกของครอบครัว
    ซึ่งมูลค่าราว 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ($9.5 billion -2011)
    แต่กลับเลือกเดินบนเส้นทางของการเจริญสมาธิภาวนา
    ตามแนวปฏิบัติสายพระวัดหนองป่าพง ปัจจุบันท่านจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์เต่าดำ จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นสาขาของวัดป่านานาชาติ

    -ajahn-siripanno-หรือ.jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “เรารักตัวเรา คนอื่นทุกคนก็รักตัวเขา
    เราไม่อยากให้ใครทำอะไรตัวเรา
    คนอื่นทุกคนก็ไม่อยากให้เราทำเช่นนั้นแก่ตัวเขาเหมือนกัน

    เราอยากให้ใครทำดีกับตัวเราอย่างไร
    คนอื่นทุกคนก็อยากให้เราทำดีกับตัวเขาอย่างนั้น”

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    -คนอื่นทุกค.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    โอวาทธรรมครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ญ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ประมวลภาพ ชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดโครงการธรรมะสัญจรวัดป่ากรรมฐาน ครั้งที่ 9 จำนวน 12 วัด ในวันที่ 10-13 สิงหาคม พ.ศ.2561 ณ จังหวัดเลย-อุดรธานี-สกลนคร

    -ชุมนุมพุทธธรร.jpg
    ประมวลภาพ ชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดโครงการธรรมะสัญจรวัดป่ากรรมฐาน ครั้งที่ 9 จำนวน 12 วัด ในวันที่ 10-13 สิงหาคม พ.ศ.2561 ณ จังหวัดเลย-อุดรธานี-สกลนคร

    ****************************

    1. วัดป่าม่วงไข่ ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย (หลวงปู่ขันตี ญาณวโร)
    2. วัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร)
    3. วัดป่าสัมมานุสรณ์ ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย (หลวงปู่ชอบ ฐานสโม , หลวงปู่ดาด สิริปุญโญ)
    4. วัดป่าหนองแซง ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี (หลวงปู่บัว สิริปุณโณ , หลวงปู่เสน ปัญญาธโร)
    5. วัดถ้ำสหาย ต.ทับกุง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี (หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร)
    6. วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน , หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน)
    7. วัดป่าอินทสิริ ต.โนนสะอาด อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี (วัดสาขาหลวงตาสิริ อินทสิริ)
    8. วัดป่าสีห์พนม ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม)
    9. วัดใหม่บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ)
    10. วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร (พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม)
    11. วัดป่านาคนิมิตต์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร (หลวงปู่อว้าน เขมโก)
    12. วัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร (หลวงปู่แบน ธนากโร)

    ****************************

    กำหนดการ

    -:- วัน ศุกร์ ที่ 10 สิงหาคม 2561 -:-

    เวลา 18.30 น. เริ่มลงทะเบียนที่หน้าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
    เวลา 19.00 น. สวดมนต์ก่อนออกเดินทาง
    เวลา 19.30 น. จัดที่นั่งบนรถ
    เวลา 20.00 น. รถบัสออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

    -:- วัน เสาร์ ที่ 11 สิงหาคม 2561 -:-

    เวลา 07.00 น. ถึงวัดป่าม่วงไข่ ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย , ตักบาตรและนมัสการหลวงปู่ขันตี ญาณวโร , รับประทานอาหารเช้าที่วัด
    เวลา 09.30 น. ออกเดินทางไปวัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย
    เวลา 11.00 น. ถึงวัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย , กราบสรีระสังขารหลวงปู่ท่อน ญาณธโร , รับประทานอาหารเที่ยงที่วัด
    เวลา 12.30 น. ออกเดินทางไปวัดป่าสัมมานุสรณ์ ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย
    เวลา 13.45 น. ถึงวัดป่าสัมมานุสรณ์ ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย , สักการะเจดีย์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และนมัสการหลวงปู่ดาด สิริปุญโญ
    เวลา 15.30 น. ออกเดินทางไปวัดป่าหนองแซง ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    เวลา 18.00 น. ถึงวัดป่าหนองแซง ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี , สักการะเจดีย์หลวงปู่บัว สิริปุณโณ , นมัสการหลวงปู่เสน ปัญญาธโร , เก็บสัมภาระเข้าที่พัก , ทำภารกิจส่วนตัว
    เวลา 19.00 น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น , อบรมธรรมะ , นั่งสมาธิภาวนา , ตอบปัญหาธรรมะ
    เวลา 20.30 น. แยกย้ายกันพักผ่อนตามอัธยาศัย

    -:- วัน อาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม 2561 -:-

    เวลา 04.30 น. ตื่นนอน , ทำภารกิจส่วนตัว
    เวลา 05.30 น. ออกเดินทางไปวัดถ้ำสหาย ต.ทับกุง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี
    เวลา 06.30 น. ถึงวัดถ้ำสหาย ต.ทับกุง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี , ถวายภัตตาหารและนมัสการหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร , รับประทานอาหารเช้าที่วัด
    เวลา 09.30 น. ออกเดินทางไปวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    เวลา 10.30 น. ถึงวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี , ร่วมงานครบรอบ 105 ปี ชาตกาลหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน , นมัสการหลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน และพ่อแม่ครูอาจารย์ที่มาร่วมในงาน
    เวลา 12.00 น. ออกเดินทางไปวัดป่าอินทสิริ ต.โนนสะอาด อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี
    เวลา 13.30 น. ถึงวัดป่าอินทสิริ ต.โนนสะอาด อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี , ทอดผ้าป่าสามัคคี , รับประทานอาหารเที่ยงที่วัด
    เวลา 15.15 น. ออกเดินทางไปวัดป่าสีห์พนม ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    เวลา 17.00 น. ถึงวัดป่าสีห์พนม ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร , นมัสการหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม , เก็บสัมภาระเข้าที่พัก , ทำภารกิจส่วนตัว
    เวลา 19.00 น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น , อบรมธรรมะ , นั่งสมาธิภาวนา ,ตอบปัญหาธรรมะ
    เวลา 20.30 น. แยกย้ายกันพักผ่อนตามอัธยาศัย

    -:- วัน จันทร์ ที่ 13 สิงหาคม 2561 -:-

    เวลา 05.00 น. ตื่นนอน , ทำภารกิจส่วนตัว
    เวลา 06.00 น. ออกเดินทางไปวัดใหม่บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    เวลา 07.15 น. ถึงวัดใหม่บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร , ตักบาตรและนมัสการหลวงคำบ่อ ฐิตปัญโญ , รับประทานอาหารเช้าที่วัด
    เวลา 09.30 น. ออกเดินทางไปวัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร
    เวลา 11.30 น. ถึงวัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร , นมัสการพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม , รับประทานอาหารเที่ยงที่วัด
    เวลา 13.00 น. ออกเดินทางไปวัดป่านาคนิมิตต์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    เวลา 14.00 น. ถึงวัดป่านาคนิมิตต์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร , นมัสการหลวงปู่อว้าน เขมโก
    เวลา 15.15 น. ออกเดินทางไปวัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    เวลา 15.45 น. ถึงวัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร , นมัสการหลวงปู่แบน ธนากโร
    เวลา 17.00 น. ออกเดินทางกลับอุบลราชธานี
    เวลา 22.00 น. ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยสวัสดิภาพ

    ****************************

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พรรษา ๑๗-๑๙ พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๖ ในรัศมีบารมีพ่อแม่ครูจารย์
    พ.ศ. ๒๔๘๔ จำพรรษา ณ บ้านห้วยหีบ อ.ศรีสุวรรณ จ.สกลนคร
    พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖ จำพรรษา ณ บ้านอุ่นโคก
    และชายป่าใกล้สำนักวัดป่าบ้านนามน

    หลวงปู่เล่าว่า ในระหว่างเวลาจากออกพรรษาปี ๒๔๘๓ มาจนถึงระยะก่อนจะเข้าพรรษาปี ๒๔๘๔ ท่านได้เวียนเข้าออกอยู่ใกล้ชิดท่านพระอาจารย์มั่นเพื่อรับฟังการอบรม นับแต่จากท่านพระอาจารย์เสาร์มาแต่เมื่อปีที่จำพรรษาอยู่ด้วยท่านที่วัดป่าสุทธาวาสแล้ว จิตของท่านก็ต้องพึ่งตนเองมาโดยตลอด อยู่คนเดียวการภาวนาติดขัดอะไร ก็ต้องปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง แก้ไขไปเอง ไม่รู้ผิดไม่รู้ถูก ได้แต่คาดเดาเอาจริงอยู่ พยายามจะใช้ไตรลักษณ์เข้ากำกับ แต่ก็ยังดูเลือนลางไม่หนักแน่น เด่นชัดเพียรทำ เพียรแก้ แต่ก็ดูคล้ายกับลิงติดตัง ยุ่งอีนังตังนุง เชือกที่ควรจะผ่อนคลายกลับรัดตัวแน่นเข้า การได้วิชา “ม้างกาย” ซึ่งท่านฝึกหัดทำอย่างคล่องแคล่วเป็นปฏิภาคนิมิต กำหนดแยกส่วนกายได้ทุกระยะ ก็เป็นเพียงหนักไปทางด้านสมถะ เป็นเอกทางสมถะเท่านั้น

    ท่านทราบดีว่า ท่านควรต้องอยู่ไม่ห่างครูบาอาจารย์ เพื่อรับอุบายธรรมจากท่าน จิตของท่านคล้ายกับผู้ที่ตกอยู่ทะเลทราย กระหายน้ำมาช้านาน ได้พบบ่อน้ำวิเศษ ก็เข้าดื่มกินโสรจทรงอมฤตธรรมอย่างเต็มที่

    พรรษาปี ๒๔๘๔ ท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่โนนนิเวศน์ อุดรธานี เป็นพรรษาที่สอง หลวงปู่คิดว่า ท่านรับอุบายธรรมมาระยะหนึ่งแล้ว ควรจะลองมา “ฝึกเดี่ยว” เองบ้าง ประกอบกับท่านได้ยินข่าวว่า ในปีพรรษาหน้านี้ ศรัทธาญาติโยมทางสกลนครหมายมั่นปั้นมือกันมากว่าจะกราบเท้าอ้อนวอนท่านพระอาจารย์มั่น นิมนต์ให้ท่านไปโปรดทางจังหวัดสกลนคร ถิ่นซึ่งท่านเคยอยู่มาก่อนบ้าง ศรัทธาญาติโยมเหล่านั้นล้วนเป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน และท่านเคยเมตตามากด้วย จึงเชื่อว่าออกพรรษาปี ๒๔๘๔ นี้ ท่านพระอาจารย์มั่นคงจะเมตตารับอาราธนานิมนต์ศรัทธาทางสกลนคร หลวงปู่จึงคิดมุ่งจะไปหาที่จำพรรษารออยู่ที่สกลนครก่อน

    ปกติหลวงปู่อาจจะเป็นผู้อยู่ไปคล่อง หรือกล่าวตามคำของปุถุชนก็ต้องว่าเป็นคนใจร้อน ถ้าคิดจะไป ก็แต่งของใส่บาตร แบกกลด สะพายย่ามไปเลย ไปทันทีไม่รีรอ-รอใคร อยู่ง่าย ไปเร็ว เป็นคติของท่าน เมื่อจากถ้ำโพนงาม มาอุดรฯ ท่านใช้เวลาเพียงวันเดียว แต่ขากลับ จากอุดรฯ ไปสกลนคร นี้ ท่านธุดงค์ไปเรื่อยๆ แบบตามสบาย ระยะนั้นกำลังเป็นเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองไทยเพิ่งผ่านสงครามอินโดจีนมาหมาดๆ สงครามโลกยังไม่แผ่ขยายมาถึงเมืองไทย แต่ก็อยู่ในระยะคุกรุ่นเต็มที่ เพราะหลังจากวันเข้าพรรษาไปเพียง ๔-๕ เดือน กองทัพญี่ปุ่นก็บุกเข้ามาในประเทศไทย ทำให้บ้านเมืองของเราเข้าสู่ภาวะสงครามติดต่อไปอีกเกือบ ๔ ปีเต็ม

    ถนนจากอุดรธานีไปสกลนครมีแล้ว แต่ยังเป็นทางซึ่งมิได้ลาดยางดีเช่นทุกวันนี้ รถยนต์ก็มิได้วิ่งไปมาไม่ขาดสายดังปัจจุบัน ท่านไม่ได้คิดพึ่งรถยนต์ แต่อาศัยยานพาหนะของตนคือขา เดินธุดงค์รอนแรมเลี่ยงทางถนน มาตามทางทิวเขาภูพานอย่างไม่รีบร้อน ค่ำในนาก็พักในนา ค่ำในสวนก็พักในสวน ค่ำในป่าก็พักในป่า ค่ำบนเขาก็พักบนเขา ระหว่างเดินทางภาวนาไปด้วยในตัว การเดินทางจึงเป็นการเดินจงกรมกำหนดให้สติอยู่กับจิต จะก้าวเดินเร็วหรือจะย่างเท้าช้า ก็เป็นไปตามวิถีของจิตที่กำลังภาวนาเป็นไป หลายต่อหลายครั้งที่ท่านหวนคำนึงถึงโอวาทที่ได้รับมาระหว่างไปกราบท่านพระอาจารย์มั่นที่โนนนิเวศน์และหนองน้ำเค็ม โดยเฉพาะตอนที่เทศนาของท่านจะกวาดเอาตัวท่านแล้วไปด้วยแรงพายุกล้า

    ท่านว่า ท่านพระอาจารย์มั่นคงรู้ว่า ท่านมีมานะกล้า ถือดี ติดดี เวลาเทศน์ท่านจึงแฉลบมาว่า

    “ท่านอาจารย์บุญเอาตัวรอดได้ แต่ลูกศิษย์ไม่ได้สักคน และไม่ได้นิสัยด้วย”

    ท่านว่า พลางชำเลืองมองมาทางหลวงปู่ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์บุญอยู่องค์เดียวในที่นั้น นัยน์ตาท่านอาจารย์คมปลาบราวกับแสงเพชร แล้วท่านก็ว่าต่อไป

    “แก้ติดดีนี้แก้ยาก เพราะความไม่ดีนั้นแก้ง่าย เพราะเห็นว่าไม่ดีอยู่แล้ว ผู้ที่ติดดีต้องพยายามแก้หลายอย่าง เพราะมันเป็นชั้นปัญญาที่เกิดขึ้นภายใน มีพร้อมทั้งเหตุผลจนทำให้เชื่อจนได้ วิปัสสนาไปสู่อริยสัจอยู่แล้ว แต่ดำเนินไม่มีความรู้รอบพอก็เลยเป็นวิปัสสนูไป ท่านอาจารย์มั่นห้ามไม่ให้ติดฌานและญาณ”

    ดูราวกับท่านจงใจจะว่าเราโดยเฉพาะ…!

    “ท่านแนะนำอย่าหลงฌาน ผู้จะพ้นทุกข์จริงแล้วไม่หลง ญาณ คือความรู้วิเศษที่เกิดขึ้นจากสมาธิสงบระลึกชาติหนหลังได้ ๑ ญาณเหตุการณ์อดีต ๑ ญาณรู้จักอนาคต ๑ รู้จักความนึกคิดของคนอื่นเป็นต้น เป็นวิชาที่อัศจรรย์ทั้งนั้น เมื่อติดอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ล่าช้า เข้าสู่อริยสัจธรรม ฌานเหล่านี้เป็นอุปกรณ์วิเศษ แต่สมัยนั้นเทวทัตติดกลับเสื่อมได้ เกิดทิฐิมานะแข่งขันสู้พระพุทธเจ้า ท่านอาจารย์มั่นว่าฌานเหล่านี้มันน่าคิดจริง วิเศษได้ทางโลกีย์ ฉะนั้น ท่านฤๅษีทั้งหลายติดฌานอันนี้ ท่านอาจารย์หนูใหญ่ติดฌานอันนี้เอง เสื่อมแล้วก็สึกกันเท่านั้น”

    “ท่านเห็นความรู้นั้นว่าธาตุจริง ฌานร้จริง มันจริงทางวิปัสสนู แต่ทำความรู้นั้นให้ยิ่งจึงเป็นวิปัสสนา เครื่องเย็นใจ ท่านอาจารย์มั่นสอนศิษย์ในทางอย่าหลงฌาน อย่าหลงญาณ โยคาวจรเจ้าติดในตอนนี้มาก ติดพรหมโลก อ่อนทางวิปัสสนา”

    ท่านเดินไปครุ่นคำนึงไป เมื่อสมัยเกือบห้าสิบปีก่อน หมู่บ้านยังอยู่ห่างกัน ไม่แออัดด้วยผู้คนและบ้านเรือนเช่นสมัยปัจจุบัน ป่ายังคงเป็นป่า เขายังคงเป็นเขา

    …ป่ายังคงเป็นป่า…ต้นไม้ขึ้นเบียดเสียด สูงชะเงื้อม แผ่กิ่งก้านสาขา กิ่งหนาใบดกเขียวครึ้มระก่ายกัน เดินอยู่ตามทางในป่าแทบจะไม่เห็นแสงเดือนแสงตะวัน ไม้ตะเคียน ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้โป่งเปือยหรือตะแบก อินทนิน ยูง ยาง แต่ละต้นมีลำต้นใหญ่ขนาดคนสองสามคนจึงจะโอบรอบ

    …เขายังคงเป็นเขา…ภูเขายังเป็นสีเขียวขจีด้วยคลื่นแมกไม้น้อยใหญ่ ไม่ล้านเลี่ยนเป็นภูเขาหัวโล้นสีน้ำตาลลูกแล้วลูกเล่า อย่างน่าสลดใจดังในทุกวันนี้

    …ท่อธารละหานห้วย…ยังมีน้ำใสไหลเย็นแทบตลอดปี น้ำห้วยน้ำซับมีให้ได้พบเห็น ได้อาศัยอาบกินเป็นระยะๆ ไม่เคยอด แตกต่างกับสภาพโขดหินที่แตกระแหงแห้งน้ำเช่นปัจจุบัน

    …สัตว์ป่าก็อุดมสมบูรณ์ เสือ ช้าง กวาง เม่น หมี ลิง บ่าง ค่าง ชะนี นกยูง ก็ยังมีให้ประสบพบเห็นบ่อยๆ ในราวป่า อย่างน้อยไม่ต้องพานพบประสบตัวให้กลัวเกรงอย่างเสือ อย่างช้าง แต่ก็ได้ยินเสียงกระหึ่มคำรามของเสือ เสียงหักกิ่งไม้ของพญาคชสารดังแหวกความวิเวกมาให้ได้ยินไม่เว้นวาง

    เดินไปตามทางซึ่งยังมีร่องรอยของพรานป่า แต่บางครั้งก็หลงทิศ ต้องหยุดกำหนดจิตตั้งทิศทางที่จะดำเนินต่อไป แล้วก็อดที่ระลึกถึงความรู้ความเห็นของครูบาอาจารย์ต่อไปมิได้ ด้วยความซาบซึ้งเหลือจะกล่าว

    “ความรู้ของท่านที่มั่นคงอยู่นั้นสุดวิสัยของสัตว์ที่จะรู้ตามเห็นตามเพราะฝ่าอันตรายลงไปหลายชั้นหลายเชิง จึงเห็นธรรมของท่านลึกลับสุขุมคัมภีรภาพ จึงเห็นคุณธรรมของท่านเกิดขึ้นในเฉพาะหน้า ถ้าจิตฟูตามกิเลส ไม่เห็นคุณธรรมของท่านเลยเพราะอยู่คนละโลกเสียแล้ว จะเห็นหน้าท่านได้อย่างไร”

    “คนอื่นจะฟังเทศน์ท่านเข้าใจนั้น เมื่อจิตหดแล้ว รีบทำความรู้ความเห็นจิตของตัว อย่านอนใจความวุ่นความวายในจิตของตัวได้แล้วทวนกระแสของจิตเข้าไป ตั้งใจฟังเรื่อยๆ ก็จะเห็นอานิสงส์ดูดดื่มธรรมรสนั้นทีเดียว เต็มทีอย่างเดียวมันยุ่งนำหัวใจของตน กรรมของตน ไม่เปิดออกจะรับธรรมได้อย่างไร”

    “สติของท่านจับจิตอยู่เสมอ ท่านทำการงานอะไรลงไปไม่ผิด”

    “ท่านไม่ส่งจิตออกนอก เกรงจะเป็นมิจฉาทิฐิ ท่านพิจารณาแต่กายกับจิต แสบตาตกตำ เพราะท่านสำรวม ท่านทำสัญญาและสติดล่องแคล่วชำนิชำนาญมาก ความรู้ความเห็นของท่านหนักแน่นมาก ไม่มีที่จะชอนเข็มฉะนั้นท่านพูดธรรมได้ไม่มีใครชอนเข็มคัดค้านได้เลย (นี้เป็นอัศจรรย์อันใหญ่หลวง) เรียกว่าท่านมีนิทัศบุญาณภายในแจ่มแจ้ง ท่านพิจารณาดูโลกไม่มีผู้หญิงผู้ชาย เพราะกรรมเป็นสภาพธรรมอันเดียว ไม่มีนอกไม่มีใน ไม่มีไป ไม่มีมา โลกเป็นอยู่เช่นนั้น ส่วนรู้เห็นธรรมก็รู้เห็นอยู่เช่นนั้น”

    หลวงปู่คุยให้ฟังว่า ท่านเพลินคิด เพลินนึก ตรึกถึงธรรมะที่ได้รับถ่ายทอดมาทุกคืนวัน จิตทรงเป็นสมาธิ นับเป็นสังฆานุสติได้เป็นอย่างดี เดินวิเวกมาถึงสกลนครได้อย่างไม่ทันรู้ตัว

    ปี ๒๔๘๔ นั้นท่านได้จำพรรษาที่บ้านห้วยหีบ อำเภอศรีสุวรรณ จังหวัดสกลนคร และก็จริงดังคาด ออกพรรษาแล้ว คณะศรัทธาทางสกลนครก็พร้อมกันจัดรถไปอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นให้มาโปรดพวกคณะญาติโยมทางนั้น ปลายปี ๒๔๘๔ ท่านพระอาจารย์มั่นไปพักที่วัดป่าสุทธาวาสชั่วระยะหนึ่ง มีพระเณรมากราบนมัสการและฟังโอวาทท่านมิได้ขาด จากนั้นท่านก็ออกเดินทางไปพักที่สำนักป่าบ้านนามนซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งมีป่าไม้ร่มรื่นดี เหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม ท่านพักบ้านนามนเทศนาอบรมพระเณรและญาติโยมผู้ศรัทธามาฝึกสมาธิภาวนาตามควร แล้วก็มาพักและจำพรรษาปี ๒๔๘๕ ที่บ้านโคก ซึ่งที่อยู่ไกลออกไปจากบ้านนามนไม่กี่กิโลเมตร

    ออกพรรษาปี ๒๔๘๕ ท่านย้อนกลับไปพักที่บ้านนามนอีก และจำพรรษาปี ๒๔๘๖ ณ ที่บ้านนามน หากทว่าระหว่างที่อยู่บ้านนามนนี้ ท่านได้ออกไปวิเวกตามหมู่บ้านต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง เช่น บ้านห้วยหีบ บ้านห้วยแคนในป่าบ้านนาสีนวน เป็นอาทิ มีทั้งพระเณรติดตามไปอยู่กับท่านตามจำนวนพอดีกับเสนาสนะหรือมิฉะนั้นก็อาศัยรุกขมูลร่มไม้เป็นเสนาสนะได้ ทุกวันพระธรรมสวนะจะมีพระเณรและประชาชนติดตามเข้าไปฟังโอวาทของท่านเสมอมิได้ขาด

    หลวงปู่เป็นผู้หนึ่งที่ไม่ยอมพลาดโอกาสอันวิเศษนี้ ท่านมิได้จำพรรษาอยู่ด้วย และก็คงหาที่จำพรรษาในบริเวณใกล้เดียงอันอยู่ในรัศมีที่แวดวงบารมีของพ่อแม่ครูจารย์จะแผ่ไปคุ้มครองเป็นมงคลแก่เศียรเกล้าได้

    ปี ๒๔๘๕ ท่านจำพรรษาที่บ้านอุ่นโคก ปี ๒๔๘๖ จำพรรษา ณ กระต๊อบเล็กๆ ที่ชายป่าใกล้กับที่พักสงฆ์ ณ บ้านนามน บางเวลาท่านพระอาจารย์มั่นออกวิเวกไปตามหมู่บ้านอนๆ ท่านก็ได้โอกาสขอไปพักอาศัยบารมีพักฟังเทศน์ฟังธรรมด้วย

    ในภายหลัง ปี ๒๕๒๕ ท่านรำพึงไว้ ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า รำลึกถึงความเพียรพยายามที่ท่านบำเพ็ญมาในหนหลังว่า

    ๔ สิงหาคม ๒๕๒๕ ถ้ำผู้ข้า

    “เมื่อคราวเราอยู่กะท่านอาจารย์มั่น ห้วยหีบ จ.สกลนคร นั้น เราทรมานตนอย่างขนาดใหญ่มีประการต่างๆ กำลังม้างกาย ประกอบจิตเด็ดเดี่ยว กล้าตาย ส่งเข้าภายใน มารตัวสำคัญ คล้ายมันปัดออก แต่เราสละตายเข้าไป เกิดระเบิดใหญ่ภายในนั้น ข้อ ๑ ถือธรรมะนิสัยท่านอาจารย์มั่น จึงชนะได้”

    คราวท่านอาจารย์มั่นไปจุดศพ (เผาศพ – ผู้เขียน) ท่านอาจารย์เสาร์ ณ จังหวัดอุบลราชธานี นั้น เราเดินจงกรมระลึกถึงท่านเป็นที่หนึ่ง พร้อมทั้งอิทธิบาท ๔ ไม่ละซึ่งความเพียร

    “๑/๑๑/๘๔ (ตรงกับ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ – ผู้เขียน) การภาวนาอยู่กับท่าน เห็นปาฏิหาริย์ของท่านหลายอย่างหลายประการ ทำให้ผู้น้อยไม่นอนใจ เร่งทำความเพียรเสมอ จิตไม่ส่งไป ณ ที่อื่น จิตดูดดื่มธรรมมาก ความประมาทมีน้อยจะไม่ให้ลูกศิษย์ได้นิสัยและได้ดีอย่างไรได้ ย่อมได้ดีทุกรูป ผู้ใหญ่มักพูดบ่อยๆ ผู้น้อยมีสติเพราะระวังตัว ท่านปกติทรมานผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ไปท่าย่อแก สกล ท่านไม่อยากไปเพราะไม่มีคนปฏิบัติตาม มีแต่ท่านอยู่ที่ไหนก็ทนได้ ท่านเพ่งประโยชน์เสียก่อนจึงไปและมีคนอาราธนานิมนต์ด้วย”

    หลวงปู่บันทึกไว้อีกในปี ๒๔๘๔ นั้นว่า

    ๏ ลัทธิของท่านอาจารย์มั่น ๑๐.๑.๘๔

    “เสียงดังเป็นเสียงของบุรุษ เสียงเป็นรัศมีอำนาจเลี้ยงจิตมากฉลาดใช้ไหวพริบทางจิต ไม่เชื่อนิมิต ท่านเชื่อธรรมะที่เกิดปัจจุบันปัญญาบริบูรณ์ไม่บกพร่อง กาย วาจา จิตเข้มแข็งมาก พิจารณาธรรมะถึงแก่นเป็นผู้บริบูรณ์ทางปริยัติและปฏิบัติ กายวาจาใจเป็นอาชาไนยเสมอจิตไม่มีการหดหู่จิตชื่นตื่นเต้นอยู่ด้วยสติ”

    “สานุศิษย์ที่อยู่ด้วยมีการปฏิบัติ คือ จิตไม่ออกรับเหตุภายนอก จิตเยือกเย็น ขนหัวลุก จิตกลัวเกรงท่านมาก ดุจท่านเห็นจิตของเราอยู่เสมอ จิตของเราพิจารณาค้นเหตุผลอยู่เสมอไม่นอนใจ ฉะนั้น สานุศิษย์จึงมีสติเร็ว รู้เร็ว เห็นธรรมะเร็ว ผู้มีวาสนาน้อยไม่ติดตามท่านเพราะข้อวัตรของท่านเข้มแข็ง น้ำใจเด็ดเดี่ยวกะเพชร ท่านพูดมีธรรมะภายในภายนอกเป็นที่อ้างอิง สานุศิษย์เข้าหาท่านร้อน ทำให้จิตผู้น้อยค้นคว้าหาเหตุผล เมื่อออกมาแล้วจิตจึงเห็นอานิสงส์ เมื่ออยู่กะท่านไปแล้วยิ่งเห็นอัศจรรย์ใหญ่ ท่านเป็นคนเกรงใจคน ท่านเป็นคนใหม่ในตระกูลทั้งหลาย ไม่ติดอามิสและติดตระกูล เป็นคนชอบสันโดษ ไม่ยุ่งกังวลทุกอย่าง อุบายธรรมะแยบคายมาก อามิสได้ด้วยการเป็นเอง กินอร่อยดุจแมลงภู่ชมเกสร มีความรู้เท่าทันเหตุผล มีญาณความรู้ทุกเส้นขน เป็นคนราคะกับโทสะจริต ท่านได้พูดทำลงไปแล้วไม่มีใครคัดค้าน สติปัญญาแน่นหนามากหาที่จะซอนเข็มมิได้ (เป็นนักรู้นักปฏิบัติ) พูดไม่เกรงใจคน พูดถูกธรรมะก็เป็นอันที่แล้วกัน มีจิตน้อมไปเพื่อปฏิบัติให้สิ้นทุกข์ทีเดียว ไม่พูดตลกคะนอง”

    “แรงทางสมาธิและปัญญา แรงทางสติหนาแน่นมากเพราะท่านค้นกายจิตพอ เพราะฉะนั้นสติของท่านจึงไม่เผลอ”

    ภัยสงครามครั้งที่สองถามมาถึงประเทศไทยด้วย ตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะขาดแคลนเครื่องอุปโภค บริโภค ภายหลังเริ่มมีการถูกทิ้งระเบิดระหว่างอยู่บ้านอุ่นโคก พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านบันทึกไว้ถึงความเป็นห่วงทางบ้าน อาจจะหวาดเกรงภัยสงคราม จิตจะไม่มีที่พึ่ง

    อยู่บ้านอุ่นโคก เดือน ๕-๖ พ.ศ. ๒๔๘๕

    “จิตได้วิเวกบังเกิดความกลัวต่อสู้ทางอากาศ พิจารณากายปฏิภาค นิมิตแยบคายมาก คิดถึงคุณของท่านอาจารย์ใหญ่มาก แต่วิตกทางบ้านเรื่อยๆ นิมิตความฝันก็เป็นมงคล พึ่งธรรมไม่พึ่งยาเหมือนแต่ก่อน ท่องปาฏิโมกข์ก็สะดวก ร่างกายก็ให้โอกาสไม่เจ็บป่วย สัญญาในอดีตเกิดมาก แต่พิจารณาถึงหลักของธรรมแล้วหาย อยู่วิเวกคนเดียวมีความสุขมาก จิตพึ่งธรรมะไม่พึ่งคนอื่น”

    “เฉพาะตัวของเราเมื่ออยู่ในสำนักของท่านแล้ว ให้สำคัญว่า เราเป็นสามเณรเพื่อถอนทิฐิมานะ แข่งดีกับท่าน พิจารณาแล้วสะดวก เข้าอุปัฏฐากท่าน แหม่ลืมอารมณ์บ่วงมานาน พึ่งมาตั้งจิตได้ อนิจจาเอย ประมาทมามากมายฯ”

    “พิจารณากายให้มากเป็นอุคคหนิมิต พิจารณาอุคคหนิมิตให้มากเป็นปฏิภาคนิมิต พิจารณาปฎิภาคให้มาก จิตรวมเป็นอริยสัจ เห็นแจ้งพร้อมด้วยญาณสัมปยุต เกิดขึ้นมาเรียกว่า อุฎฐาคามินีวิปัสสนา ทำในที่นี้ให้ชำนาญแล้ว เห็นพร้อมด้วยการรวมใหญ่ มีญาณสัมปยุตทวนกระแสแก้อนุสัยสมมติเป็นวิมุติฯ”

    “อุบายของวิปัสสนาที่จะถ่ายถอนกิเลส ธรรมชาติของสวยของงามต้องมาแต่ของที่ไม่ดี ดุจดอกประทุมชาติเกิด ณ ที่เปลือกตม ธรรมวิเศษต้องพิจารณาออกจากกายอันเปื่อยเน่า”

    “การพิจารณากาย ต้องให้ก้าวเข้าไป ถอยออกมาเป็นอนุโลมปฏิโลมจนให้ชำนาญต่อไป จิตเป็นเองจิตย่อมจะรวมใหญ่ จึงเห็นความเป็นอันเดียวกันหมดทั้งโลก เป็นธาตุทั้งสิ้น นิสิตจะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่าโลก โลกราบดุจหน้ากลอง เพราะมีสภาพเป็นอันเดียว”

    “อริยสัจเป็นที่แก้สมมติในจิต”

    -๑๗-๑๙-พ-ศ-๒๔๘๔-๒๔๘๖-ใน.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ผู้มีทิฏฐิมานะ ! เท่ากับพกพาความโง่ไว้เต็มตัว แล้วเดินไปมาอย่างไม่รู้ตัว

    ให้อดกลั้นข่มทิฏฐิมานะลงให้ได้ในทุกกรณี ที่เราทำ ทำเพื่อคุณธรรมในตัว ไม่มัวหลงโต้เถียงเอาทิฏฐิ”

    …หลวงปู่ไม อินทสิริ…หลวงปู่สอนศิษย์

    -เท่ากับ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...