ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…เมื่อครั้งยุคสมัย ศาสนาของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ ผู้ข้าฯ(หลวงปู่จาม) กับเมียเกิดเป็นคนทุกข์ ทุกข์ขอทานเขามากิน ตื่นเช้า เมียไปทางหนึ่งผัวไปทางหนึ่ง นัดหมายกันว่าตอนค่ำให้ไปพบกันอยู่ศาลาท่าน้ำ หรือไม่ก็ที่ใดที่หนึ่ง ขอข้าว ขออาหาร ขอผ้านุ่งผ้าห่ม ได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้กินอิ่มเป็นบางวัน บางวันก็อดก็หิวไปตามเรื่อง ชีวิตนั้นดีที่ไม่มีลูก ทุกข์ไม่มีที่อยู่ไม่ได้กิน ตัวดำตัวผอม ได้ผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็เก็บมา ขอด้ายขอเข็มเขามาเย็บติด บางทีก็ได้เอาไม้กลัดเอา ชีวิตที่ทุกข์ก็ทุกข์ วันงานนักขัตฤกษ์ เมียอยากได้เครื่องแต่งกาย ก็รวบรวมเงินที่ขอทานมาได้ พอได้ซื้อแป้งทาหน้าทาตัว เสื้อผ้าที่สะอาดก็เก็บไว้ห่อไว้รักษาติดตัวไว้ เพื่อเอาไว้นุ่งห่มวันงานรื่นเริงประจำปี
    …ความทุกข์มีถึงขนาดนั้น ความสนุกสนานใจนี้มันก็ชอบ…
    รับจ้างเขาแบกของขึ้นจากเรือรับจ้างชำระที่สกปรกก็เอา งานดีกว่านี้เขาก็ไม่จ้าง เพราะเขารังเกียจว่าตัวเราวรรณะต่ำเป็นทุคตะ
    แต่ก็ชอบไปวัดของพระพุทธเจ้าวันเว้นวันไป ไปอนุโมทนาสาธุการ ในการบวชของพระสงฆ์สามเณร ในการทำบุญให้ทานของเศรษฐี ของคนรวย เราก็ได้แต่บอกเมียว่าให้อนุโมทนาสาธุการ ยินดีกับเขา จะเอาอะไรให้ทานก็ไม่ได้ จะเข้าไปปฏิบัติพระสงฆ์ก็เกรงกลัวเพิ่นจะไล่ออก แต่พระสงฆ์ผู้คนก็ไม่ไล่ ไปอนุโมทนาสาธุการแล้ว ก็ออกไปหาขอทาน ไปด้วยกันก็มี แยกกันไปก็มี เป็นบุพกรรมของตนแท้ ๆ หล่ะ เกิดได้ชีวิตเป็นทุคตะขอทาน
    แต่นั่นกามก็ยังชอบใจอยู่ นอนกับเมียอยู่ ห่วงเมียกว่าอย่างอื่น เพราะเมียรูปงามสมส่วน แต่ผิวดำเท่านั้น…

    พอมาถึงชีวิตนี้คนที่เคยเป็นเมียคนนั้นไปพบปะอยู่เมืองเชียงใหม่ เขาได้เกิดเป็นเศรษฐีระดับสองของเมืองเชียงใหม่ พอเห็นกันก็ดึงดูดกันทันที ชอบอกพอใจกัน เขาก็มาบำรุงให้ข้าว ให้น้ำ ให้ผ้า ให้การดูแลเราทุกอย่าง มาปวารณาตัว ชอบมาพูดมาคุย มาทำบุญให้ทาน มาจำศีลอยู่ด้วยอยู่วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ พอเราออกไปอยู่อำเภอขานอกออกไปก็ไปทำบุญ ไปดูแลหลายอัน หลายอย่าง
    ผู้ข้าฯ ก็ถามว่า…
    “ ระลึกได้อยู่ไหม ? พากันเกิดเมืองพาราณสี เป็นคนทุคตะขอทานกินนะชีวิตนั้น ”
    “ บ่ได้เจ้า บาปกรรมอะหยังได้ไปเกิดเป็นขอทาน ”
    “ ไม่ให้ทาน ได้ร่ำรวยแล้วขี้เหนียว ไม่แบ่งปัน ไม่ยินดีพอใจการแบ่งปัน มีแต่รายการเก็บ ”
    หลายชีวิตอยู่ที่เป็นขอทาน เป็นคนทุคตะ อยู่อำเภอแม่สอดก็ชีวิตหนึ่ง อยู่เมืองลพบุรีก็ชีวิตหนึ่ง อยู่บังคลาเทศก็ชีวิตหนึ่ง
    หลายชีวิตเกิดตายนับไม่ได้ รวยก็รวยสุดขีด ทุกข์ยากก็สุดขีด เกิดตายในโลก กว่าจะหลุดกว่าจะพ้นได้ สัปปะลี้ เกิดตาย…”

    ธรรมะประวัติองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม (วัดหนองน่อง) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุก ๆท่าน

    -ศาส.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล “สมณะผู้สั่งสมบุญมาด้วยของอันละเอียดปราณีต”ท่านเป็นพระมหาเถระที่มีปฏิปทาเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ท่านเป็นพระกัมมัฏฐาน มีความเคร่งครัดต่อการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยกิตติศัพท์ แห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ฟื้นฟูสภาพจากสำนักสงฆ์วิปัสสนาที่ไม่มีอะไรเลย จนกลายเป็นวัดที่โดดเด่น คือ วัดรัตนวนาราม และ อนาลโยทิพยาราม อ.เมือง จ.พะเยา , วัดป่าเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง , วัดเทพนิมิตสุดเขตสยาม อ.เชียงของ จ.เชียงราย ทุก ๆ วัดล้วนจัดสร้างขึ้นด้วยความปราณีตวิจิตรงดงามก็ด้วยบุญบารมีที่หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโลท่านเคยสั่งสมมาด้วยของอันปราณีตละเอียดอ่อนในฐานะพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ จนเป็นที่นับถือเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ไพบูลย์ ในสมัยที่หลวงปู่หลวง ยังมีชีวิตอยู่ท่านเคยกล่าวยกย่อง หลวงปู่ไพบูลย์ไว้หลายประการ เช่น

    ๑.หลวงพ่อไพบูลย์ เป็นพระที่เก่งนิมิตจากการปฏิบัติธรรม แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงโปรดให้พระอาจารย์ไพบูลย์ แปลพระนิมิตที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมของพระองค์บ่อยครั้ง

    ๒.หลวงพ่อไพบูลย์ เป็นพระที่เปี่ยมด้วยจาคะเสียสละด้วยการให้ ไม่ว่าจะเป็นให้ทาน ให้อภัย เป็นพระสุปฏิปันโนที่ปรารถนาพระโพธิญาณในอนาคตกาล

    ชีวประวัติหลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล
    หลวงปู่ไพบูลย์ ท่านมีนามเดิมว่า “ไพบูลย์ สิทธิ” เกิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๔๗๗ เป็นบุตรของคหบดีชาวอำเภอเกาะคา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายกองแก้ว และ นางคำสิทธิ ด้วยความที่โยมพ่อของท่านมีอาชีพเป็นแพทย์แผนโบราณ ทำให้เด็กชายไพบูลย์เกิดความเคยชินและคุ้นเคยกับภาพชีวิตที่วนเวียนอยู่กับ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครสามารถห้ามความตายหรือหนีพ้นความตายได้

    ท่านเล่าว่าในช่วงนั้นจิตใจของท่านไม่รู้เป็นอย่างไร เพราะนอกจากท่านคิดอยู่แต่จะหาทางออก หาวิธีให้หลุดพ้นจากวงเวียนชีวิตแล้ว ท่านยังมีความสงสารไม่อยากเห็นความเจ็บ ไม่อยากเห็นความตาย ไม่อยากให้ใครเจ็บและไม่อยากให้ใครตาย

    ดังนั้นเมื่อท่านเห็นคนเจ็บมาให้พ่อของท่านรักษา ท่านก็จะรีบกุลีกุจอเข้าไปช่วย บางครั้งเมื่อท่านเห็นว่ามีชาวบ้านเอากุ้งหอยปูปลาใส่ข้องใส่กระบุงมาวางขาย ท่านก็จะรบเร้าแม่ของท่านให้ซื้อไปปล่อย

    ชะรอยพ่อแม่ของท่านคงจะจับสังเกตุอุปนิสัยของลูกคนเล็กมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้พบครูบาอาจารย์ พ่อแม่ของท่านจึงมักจะเล่าเรื่องถวายและขอความคิดเห็น ซึ่งความเห็นของแต่ละองค์ล้วนสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันว่า

    “ลูกชายคนนี้ต้องบวช เพราะวาสนาบารมีของเขาสร้างสมอบรมมาทางนี้”

    อย่างไรก็ตามครับ ด้วยปกติวิสัยของคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ย่อมอยากเห็นลูกของตนได้ดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าการออกบวชนั้นก็ดีและประเสริฐอยู่แล้ว แต่ก็หาสร้างความสบายใจให้กับผู้ที่เป็นพ่อแม่ได้ เพราะเหตุการณ์ข้างหน้ามีความเสี่ยงอยู่เสมอ

    ใครจะไปรับรองได้ว่าหากลูกของตนเกิดบวชไม่ตลอดรอดฝั่งและสึกออกมาใช้ชีวิตเยี่ยงคนธรรมดา การเข้าไปต่อสู้ในโลกของฆราวาสที่ต้องแข่งขันกันนั้น มันจะเป็นการช้าไปหรือเปล่า ทางที่ดีคือควรจะเรียนหนังสือให้จบเรียบร้อยก่อนแล้วจึงบวช

    ด้วยเหตุผลนี้แหละครับ เส้นทางชีวิตในทางโลกของเด็กชายไพบูลย์จึงดำเนินไปตามแนวทางที่พ่อแม่ของท่านได้วางไว้ คือเรียนหนังสือจนจบและออกไปทำงาน จนเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้บวชตามประเพณีของลูกผู้ชาย

    ในขณะที่พ่อแม่ของท่านมีความคิดว่าการบวชจะทำให้ท่านเป็น “คนสุก” ของสังคม เมื่อสึกออกมาจะได้ตั้งครอบครัวและมีบุตรสืบสกุลต่อไป ในทางกลับกันตัวท่านเองก็มีความคิดว่าการบวชครั้งนี้เป็นแค่การชิมลางถือเป็นการซ้อมใหญ่ไปในตัวเท่านั้น

    ในวัยเยาว์ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ จ.เชียงใหม่ เรียนจบชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ ๖ ก่อนไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตน จนเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๐๗ อายุครบ ๓๐ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้ปิดฉากชีวิตในทางโลกด้วยการอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีพระครูธรรมวิวัฒน์ วัดเชตวัน จังหวัดลำปางเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “สุมังคโล” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีมงคลดีพร้อม”

    หลังจากที่หลวงพ่อได้จำพรรษาและศึกษาธรรมกับ “หลวงปู่หลวง กตปุญโญ” เจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส จนเข้าถึงแก่นธรรมได้ระดับหนึ่งแล้ว ท่านจึงได้ขยายความเข้าใจเพิ่มเติมโดยการออกเดินธุดงค์ตามป่าเขาและตั้งใจทำความเพียรอย่างเด็ดเดี่ยว ท่านว่าเมื่อนั่งภาวนาและเกิดนิมิตผุดขึ้นมาในดวงจิต อย่าได้ตื่นเต้นคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ ให้มีสติคุมรู้เท่าทันและพิจารณาด้วยหลัก ๒ ประการ คือ

    ๑.ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกสิ่งเป็นทุกข์ ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน

    ๒.อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พิจารณาเหตุให้เกิดทุกข์ ธรรม เป็นเครื่องดับทุกข์และข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ท่านว่า… “สิ่งที่จริง ก็รู้เอง สิ่งที่ไม่จริง ก็แยกแยะได้”

    เมื่อมีความก้าวหน้าจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ได้ออกท่องธุดงค์ไปจำพรรษาในภาคอีสาน และกลับธุดงค์ขึ้นมาแถบป่าเขาในเขตเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย

    พ.ศ.๒๕๑๓ หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโลได้มีโอกาสไปร่วมงานถวายเพลิงศพพระอาจารย์สม ที่ อ.แม่เมาะ ได้พบกับ พระอาจารย์ทอง ที่เดินทางมาจากวัดอโศการาม จึงได้ชักชวนพระไพบูลย์ออกเดินธุดงค์หาความวิเวก คณะของหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโลท่านได้ผ่าน มาถึง จ.พะเยา ได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่วัดร้างและจำพรรษา ณ วัดร้างแห่งนี้ ชาวบ้านแถบนั้นได้มาทำบุญฟังเทศน์ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา พากันอาราธนาให้ท่านอยู่ ช่วยบูรณะวัดร้างขึ้นใหม่ อยู่ช่วยปฏิสังขรณ์วัดร้าง จากสภาพวัดร้าง จนมีสภาพดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกันนี้ได้ยื่นหนังสือขอสร้างวัดไปยังกรมการศาสนา ได้รับอนุญาต ให้สร้างเป็นวัดในพระพุทธศาสนา มีนาม “วัดรัตนวนาราม”

    ต่อมาได้มี ชาวบ้านจากบ้านสันป่าม่วง บ้านสันบัวบก บ้านสันป่าบง เข้ามาอาราธนาท่านไปดูสถานที่สำคัญ บนดอยสูง ฝั่งกว๊านพะเยาด้านตะวันตก เพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน ท่านเป็นพระป่ากรรมฐานที่เน้นการปฏิบัติและการพัฒนาควบคู่กันไปครับ โดยเฉพาะกับการอนุรักษ์ป่าเขาลำเนาไพรให้คงอยู่ในสภาพเดิมตามธรรมชาติท่านถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ท่านชอบบอกเสมอ ๆ ว่า… “รู้ไหม..พระพุทธเจ้าท่านประสูติในป่า ตรัสรู้ในป่า ทรงแสดงปฐมเทศนาก็ในป่า และท้ายที่สุดท่านเสด็จปรินิพพานก็ในป่าเช่นกัน”

    ในสมัยที่พระพุทธเจ้าท่านยังทรงมีชีวิตอยู่เมื่อถึงเวลาที่พระองค์จะทรงสอนธรรมะแก่ผู้ใด หากพระองค์ทรงสังเกตุว่าบุคคลผู้นั้นยังเป็นผู้ที่มีความตระหนี่และความหวงแหนอยู่ในใจ พระองค์จะเริ่มสอนในเรื่องของการให้เป็นเรื่องแรก ทั้งนี้เพื่อเป็นการซักฟอกจิตใจของผู้นั้นให้มีความละเอียดสะอาดสดใสเสียก่อน จากนั้นพระองค์จึงจะแสดงธรรมที่ลึกซึ้งเป็นลำดับต่อไป

    “พวกกระผมไม่ขัดข้องที่ท่านจะมาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อบำเพ็ญประพฤติปฏิบัติ แต่ถ้าพระคุณเจ้าจะสร้างวัด ก็ขอให้สร้างเป็นวัดหลวงปู่ขาวเถิด พวกกระผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง”

    คำขอเพียงข้อเดียวของ “เจ้าพ่อดำ” เทพวิญญาณเจ้าที่ ณ ป่าเขาบริเวณนี้

    เจ้าพ่อดำได้ขอความเมตตาจากหลวงพ่อเพียงหนึ่งข้อ หลังจากที่หลวงพ่อได้ตัดสินใจรับนิมนต์ชาวบ้านสันป่าบง ในการพัฒนาป่าเขาแห่งนี้ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เขากล่าวว่าเขาเป็นใหญ่แถบนี้มานาน ตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาไม่เคยยอมอ่อนน้อมให้ใคร แต่ที่ยอมลงให้หลวงพ่อก็เพราะเห็นในความตั้งใจจริงและยอมพ่ายต่อกระแสความเมตตาของหลวงพ่อที่แผ่ออกมา เขาว่ากระแสความเมตตาของหลวงพ่อเยือกเย็นนัก

    ก่อนหน้านี้ประมาณ ๓ ปี หลวงปู่ได้จำพรรษาและบำเพ็ญเพียรในฐานะประธานสงฆ์อยู่ที่ “วัดรัตนวนาราม” จนคืนหนึ่งหลังจากที่ท่านเสร็จสิ้นภารกิจต้อนร้บญาติโยมจากแดนไกล ท่านได้เข้าสมาธินั่งภาวนาตามปกติ ระหว่างที่กำลังเจริญภาวนาอยู่นั้น ท่านได้นิมิตเห็นทรายทองจำนวนมากกำลังไหลจากยอดเขาสูงลงมาสู่วัดรัตนวนาราม

    ท่านเล่าว่ารังสีแสงของทรายทองที่ไหลลงมาดั่งสายน้ำนั้นได้ท่วมท้นอาบวัดรัตนวนารามทั้งวัดจนกลายเป็นประหนึ่งวัดทองคำ และเมื่อท่านได้มองทวนรังสีแสงสีทองย้อนขึ้นไป ท่านจึงพบว่าแท้จริงแล้วทรายทองทั้งหมดนั้นได้ไหลลงมาจากยอดเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยานั่นเอง

    ด้านทิศตะวันออกของกว๊านพะเยา เป็นที่ตั้งของ “วัดรัตนวนาราม”

    ด้านทิศตะวันตกของกว๊านพะเยา เป็นป่าเขาและมียอดดอยสูงชื่อว่า “ดอยม่อนแก้ว”

    ชาวบ้านสันป่าบงเชื่อว่า “ดอยม่อนแก้ว” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะที่นั่นชาวบ้านมักจะเห็นแสงสว่างเป็นดวงกลมล่องลอยไปมาอยู่บนยอดดอย แสงนั้นบางทีก็สว่างเรืองรอง บางทีก็สว่างจ้าเป็นสีเหลืองสดอาบทั้งดอยจนกลายเป็นดอยทองคำ และที่สำคัญคือเหตุการณ์แบบนี้ชอบที่จะปรากฏให้เห็นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    นอกจากนี้ในบริเวณดังกล่าวยังได้ชื่อว่า “เป็นที่แรงและมีผีดุ” ชาวบ้านบางคนได้เล่าไว้ว่า หากพวกเขาไปทำไร่ทำนาในบริเวณนั้น พอถึงตอนเย็น พวกเขาจะต้องรีบกลับออกจากสถานที่แห่งนั้น เคยมีบางคนไม่เชื่อและไปเผลอนั่งหลับ ก็จะมีคนร่างกายสูงใหญ่ตัวดำ มากระตุกขาหรือคอยแหย่ให้ตื่น เล่นเอาบางคนตกใจถึงกับเสียสติ เจ็บไข้ได้ป่วยและบางรายก็ถึงกับเสียชีวิต

    สำนักสงฆ์อนาลโย สำนักสงฆ์เล็ก ๆ ที่เริ่มต้นจากการใช้เพิงผาเป็นที่ปฏิบัติธรรม ค่อยๆ ปรับปรุงโดยเพิ่มยกแค่ให้สูงพอกันสัตว์เลื้อยคลาน ต่อมาก็เป็นกระต๊อบ มีฝา มีหลังคา จนในที่สุดได้พัฒนากลายมาเป็น “วัดอนาลโยทิพยาราม” ในปัจจุบัน

    ทุกวันนี้นอกเหนือไปจากการมีชื่อเสียงในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่แล้ว ความสงบภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา ความร่มรื่นของป่าเขาน้อยใหญ่ที่ยังสมบูรณ์ และความสวยงามของภูมิทัศน์รอบ ๆ ที่ได้พัฒนาให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ทำให้วัดอนาลโยทิพยารามแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหน้าเป็นตาของจังหวัดพะเยาด้วยครับ

    คำว่า “อนาลโย” เป็นฉายาของ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” วัดถ้ำกลองเพล

    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล กล่าวว่า หลวงปู่ขาวท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมอันสูงส่ง มีคุณธรรมอันล้ำเลิศ คนหูหนวกก็คงเคยเห็นท่าน คนตาบอดก็คงเคยได้ยินชื่อเสียงของท่าน คงจะมีแต่คนที่ทั้งหูหนวกและตาบอดเท่านั้นที่ไม่เคยได้ยินชื่อเสียงและไม่เคยเห็นท่าน

    สำนักสงฆ์แห่งนี้ ในเวลาไม่นาน ได้รับการยกฐานะให้เป็นวัด ชื่อ “วัดอนาลโยทิพยาราม” ได้รับประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๐

    แม้ทุกวันนี้ หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโยทิพยาราม จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่วัตรปฏิบัติท่านยังคงเรียบง่ายดุจเดิม ยังคงให้การอบรมศีลธรรมแก่สาธุชนที่เข้ามาทำบุญฟังธรรม เน้นให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระ พุทธศาสนา ตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม แม้สังขารเริ่มโรยราไปบ้างตามกาลเวลา แต่จิตใจของท่านยังเข้มแข็ง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดีงามโดยแท้

    วัดที่ท่านจัดสร้างขึ้น หรือจะเรียกว่า เนรมิตขึ้นมาก็ไม่ผิด ล้วนวิจิตรอ่อนช้อยงดงามยิ่ง สิ่งนี้ก็ด้วยบุญบารมีที่ท่านเคยสั่งสมมาด้วยของที่ปราณีตละเอียดอ่อน

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่าน

    -สุมังคโล.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ิเลสแผ่พังพานสู้รบกับโลกุตรธรรม

    เรื่อง “คนตาบอดตำหนิคนตาดี”

    (เทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

    นี่ละการปฏิบัติธรรม เมื่อพอพอจริงๆ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น ปล่อยหมดโดยสิ้นเชิง ไม่มีเหลือ นี่เราก็อยู่ไปอย่างนั้นละ อยู่กับโลกไป เราอยากไปเมื่อไรเราไปดีดผึงเดียวเลย พูดให้มันชัดเจน ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา จะไม่กลับมาเกิดอีก พูดให้มันชัดเจนอย่างนี้ ใครจะฟังก็ฟัง หรือใครจะว่าเราอวดอุตริมนุสธรรมให้อ้างคัมภีร์มา ได้คัมภีร์มาจากไหน มาคัดค้านเราที่เราดำเนินตามทางของศาสดาจนได้ผลเป็นที่พอใจมาแล้ว พูดความดีงามทั้งหลายให้เป็นสิริมงคลมหามงคลแก่พี่น้องชาวพุทธเรานี้ มันเสียไปตรงไหนจึงต้องมาว่าเล่าอวดอุตริมนุสธรรม

    ผู้ที่ว่าเราอวดเอาคัมภีร์มาจากไหนเอามาอ้างกันเสีย ต้องเป็นอย่างนั้นซิความดี ดีต้องบอกว่าดี ชั่วต้องบอกว่าชั่ว นี่เราก็เป็นอย่างนั้น ปฏิบัติธรรมมานี้เอาจนกระทั่งจะเป็นตายด้วยกันนั้น ๙ ปี เอาจริงนะเราไม่ได้ทำเหมือนใคร นิสัยมันเป็นนิสัยอย่างนี้ ทางโลกเขาเรียกว่าผาดโผนโจนทะยาน แต่ธรรมเรียกว่าเด็ดเดี่ยวเฉียบขาด เอาเจ้าของก็แบบเดียวกัน ควรเป็น เป็น ควรตาย ตาย ฟัดกันเลย เป็นเวลา ๙ ปี ตกนรกทั้งเป็น จึงได้ผ่านขึ้นมา

    พอผ่านขึ้นมาแล้วบอกจนกระทั่งวันเดือนปีเวลาสถานที่นะ เราบอกชัดเจน พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ตรงไหนบอกได้พูดได้ สาวกทั้งหลายบรรลุธรรมที่ไหนทำไมเราพูดไม่ได้ ธรรมอันเดียวกัน ของดีอันเดียวกันใช่ไหมล่ะ เสียหายที่ตรงไหน ทีนี้เราก็บอกผลของการปฏิบัติธรรมเราไปสิ้นสุดยุติลงที่หลังวัดดอยธรรมเจดีย์ เวลาห้าทุ่มเป๋ง วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ นั่นละตัดสินกันระหว่างกิเลสพาสัตว์โลกให้ตายกองกัน เราก็ตายกองกัน ได้ขาดสะบั้นลงในคืนวันนั้น ฟ้าดินถล่ม จะว่าเป็นอะไร

    นั่นละเราเอามาสอนโลกนี้ อวดอุตริเหรอ เราจะเป็นจะตายใครไปเห็นเราทำ เราทำจริงทุกอย่าง เมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วก็บอกว่าพอ พออย่างเลิศ จะเอาอะไรมาสรรเสริญก็สรรเสริญไปอย่างนั้น ตก ไม่ได้เลิศเลอเหมือนใจกับธรรมเป็นอันเดียวกัน อันนี้เลิศสุดยอดแล้ว เอาอะไรมาใส่ไม่อยู่ ตกหมด สรรเสริญก็ตก นินทาก็ตก ไม่เลิศเลอยิ่งกว่าธรรมภายในใจที่ว่าพอแล้วๆ เอาให้มันชัดเจนอย่างนั้นซิการปฏิบัติ

    เพราะฉะนั้นการสอนธรรมเราจึงไม่มีคำว่าสะทกสะท้าน สามแดนโลกธาตุเราไม่เคยสะทกสะท้านกับสิ่งใด เทวบุตรเทวดา อินทร์ พรหม สอนได้ทั้งนั้น ธรรมเหนือโลกจะว่าไง โลกุตรธรรมแปลว่าธรรมเหนือโลก เราสอนมา นี่ก็วาระสุดท้ายจวนตัวเข้ามาเท่าไรเราก็เปิดออก ธรรมะเราเปิดออกๆ ใครจะว่าเราอวดอุตริมนุสธรรม เราพูดด้วยความเมตตาสงสารเป็นห่วงใย เราเองนี้ไม่ได้ห่วงใยเจ้าของ เราไม่ห่วง เราพูดจริงๆ ไปเมื่อไรได้ทั้งนั้น ไปกับอยู่อันเดียวกัน ธรรมชาตินี้พอทุกอย่าง ไม่รับแล้วในบรรดาสมมุติ แม้แต่ขันธ์ก็ไม่รับแล้ว ปล่อยกันแล้ว เป็นแต่เพียงว่าความรับผิดชอบอยู่เฉยๆ ที่จะให้ยึดให้ถือเหมือนแต่ก่อนไม่มี เราบอกตรงๆ อย่างนี้แหละ

    1537634826_712_กิเลสแผ่พังพานสู้รบกับ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    แม่อุ้ยเฒ่า… ผู้มั่นคงในกิจวัตรปฏิบัติ มั่นคงในศีล สุดท้ายมากราบลาไปสวรรค์ กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม…

    ช่วงที่ท่านพระอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) อยู่จำพรรษาวัดดาราภิรมย์ เป็นตุ๊หลวงรักษาวัดสืบต่อจากท่านเจ้าคุณพระอุบาลี จันทร์ สิริจันโท ท่านพระอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) อยู่วัดดาราภิรมย์ได้สิบกว่าปี อยู่พร่ำสอนผู้คนชาวศรัทธา

    ชาวศรัทธาอำเภอแม่ริม เชียงใหม่ ในยุคสมัยนั้น เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เพราะวัดดาราภิรมย์เป็นวัดของเจ้าแม่ดารารัศมีสร้างถวายแก่ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ

    ช่วงที่ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) เป็นตุ๊หลวงนั้น มีโยมแม่อุ้ยคนหนึ่ง คนเฒ่าอายุ ๗๐ ปี เป็นผู้ตั้งใจปฏิบัติภาวนา รักษาศีลอุโบสถในวันพระและวันก่อนและวันหลังวันพระรวมแล้วได้ ๓ วัน แม้ในวันปกติก็รักษาศีล ๕ ได้ตลอด จิตใจปักลงตั้งมั่นในธรรมมาตั้งแต่เมื่อครั้งได้ฟังเทศน์ธรรมของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ แล้วมาฝึกหัดปฏิบัติภาวนากับท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) อีกอยู่หลายปี

    ฝึกหัดภาวนาอยู่กับท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) ได้ ๓ ปี จึงได้เห็นพุทโธ มั่นคงอยู่ในใจ เรื่องอุคคหปฏิภาคนั้น ได้มาแต่ปีแรก ท่านอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม ก็สอนให้พิจารณาร่างกายเป็นอสุภะ อสุภัง ตั้งอยู่ในไตรลักขณาญาณ

    จนที่สุดแม่อุ้ยเฒ่าผู้นี้ก็ทำลายร่างกายได้ แยกรู้ได้ในรูปนาม ธาตุขันธ์หมดความสงสัยในตัวตน ในข้อศีลข้อธรรมชั้นต้น

    อาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) ก็พร่ำบอกสอนชี้แจงแนะนำในอุบายขั้นต้นให้เท่านั้น อุ้ยเฒ่าพิจารณาแก้ไขคิดอ่านตนของตนด้วยตนเอง ก็แจ้งในขั้นต้น เป็นปีที่ ๗ ของการปฏิบัติภาวนาของคนเฒ่า

    กิจวัตรข้อปฏิบัตของคนเฒ่า
    ๑.ศีล ๕ ไม่เคยขาดไปจากใจ มั่นคงในศีล
    ๒. วันพระได้ศีลอุโบสถ รวม ๓ วัน
    ๓. ไม่มีความตระหนี่หวงแหน
    ๔.ไม่อิจฉาริษยาใครๆ ผู้ใด
    ๕. หมดความถือตนถือตัว โอ้อวดมายาใดๆ ไม่มี
    ๖. ความโทสะก็อ่อน
    ๗. ใครๆ ว่าที่นั่นที่นี่ พระรูปนั้นรูปนี้ ดีอย่างนั้นอย่างนี้ คนเฒ่าแม่อุ้ยไม่ตื่นเต้นอะไรกับเขา

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม เป็นผู้บอกว่า “..จามเอ๋ย(หลวงปู่จาม มหาปุญโญ) แม่อุ้ยคนนี้สำคัญนะ มีความแปลกจากคนอื่น ไม่เหมือนกับคนเฒ่าคนอื่น พิจารณาดูเถอะจะรู้จักได้..”

    เราก็สังเกตสังกาคนเฒ่าอยู่นาน ดูข้อปฏิบัติของอุ้ยเฒ่าก็จริงอย่างท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) ว่า พอได้โอกาสสนทนาพูดจาสาความกันจำได้รู้ในความรู้ของคนเฒ่าแม่อุ้ย
    จากนั้นเราก็ถามลูกหลาน ลูกเขย ของแม่อุ้ยที่เขามาส่งคนเฒ่าที่วัดในวัน ๗ ค่ำ วัน ๑๓ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ และมารับกลับเมื่อครบกำหนด

    ผู้เฒ่าได้ลูกสาวคนเดียวได้ตาเจ๊กบ๊ง มาแต่เมื่องจีนเป็นลูกเขย ตาเจ๊กผู้เป็นลุกเขยก็รักเคารพแม่ยาย เอาข้าวน้ำมาส่ง เอาผ้าห่มหมอนมุ้งเสื่อสาดมาส่ง ได้โอกาสเราก็ถามเจ๊กบ๊งว่า “โยม แม่ยายผู้เฒ่าคนนี้เป็นยังไง โกรธลูกให้หลานอยู่ไหม”

    “ไม่เคยโกรธเลยดีกว่าเมียผมอีก”

    “อยู่บ้านคนเฒ่าทำอะไรอยู่” (หลวงปู่จาม ถาม)

    “ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งภาวนา ปลูกดอกไม้เอาไว้บูชาพระ ปลูกผัก อ่านหนังสือธรรมะ”

    “อาหารการกินเล่าอย่างใด” (หลวงปู่จาม ถาม)

    “น้ำพริก ผักลวก ไม่ชอบกินเนื้อ น้ำพริกปลาแห้ง น้ำพริกหมู ไม่เคยบ่นว่าอยากกินอันนั้นอันนี้ ไม่เคยว่าไม่เคยบ่นให้ลูกให้หลาน ได้อย่างใดก็ใช้อย่างนั้น มีอย่างใดก็กินอย่างนั้น แต่หากของกินอันใดรู้ว่าฆ่าเฉพาะให้คนเฒ่าแล้ว คนเฒ่าก็จะไม่กิน ต่อมาก็เลยต้องซื้อมาแต่ตลาด อยู่บ้านไม่มีการฆ่า”

    ผู้ข้า ฯ ก็ถามไปหลายอย่างหลายอัน จึงได้รู้จักคนเฒ่าได้ดี

    ทีนี้อยู่มาได้ปีที่ ๑๐ ก่อนที่ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) จะหนีออกมาจากวัดดาราภิรมย์ออกพรรษาได้ ๒ วัน

    ดึกค่อนคืนแล้วมีเทพบุตรคนหนึ่งนั่งบัลลังก์ดอกบัวสีเขียวอ่อน ลอยมาทางอากาศมาลาท่านอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม ว่า…

    “ท่านอาจารย์ ข้าฯ เจ้าจะได้ไปแล้วเน้อเจ้า”

    “…เอ้าเทวบุตรคนนี้ทำไมไม่เหมือนหมู่อื่น รัศมีก็งาม รูปกายก็งาม มีบัลลังก์มีดอกบัวบานรับ รัศมีกว้างไกลเยือกเย็น มาจากไหนหรือนี่…” (หลวงปู่ตื้อ ถาม)

    “ท่านอาจารย์ จำข้าฯ เจ้าบ่ได้ก๊า ข้าฯ เจ้าเป็นแม่อุ้ยที่อยู่จำศีลปฏิบัติกับท่านอาจารย์นี้ล่ะ จะมากราบลา จะไปสวรรค์”

    “จะมาโลกนี้อีกไหม” (หลวงปู่ตื้อ ถาม)

    “บ่ได้มาเจ้า”

    “เออ ตั้งใจให้ดีของตน” (หลวงปู่ตื้อ)
    “ตอนนี้เวลาตีสองพอดีเน้อเจ้า”

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม ว่า…พอถอนจิตออกมาก็ดูนาฬิกา ตี ๒ พอดี จนลุถึงตอนเช้า ตาเจ๊กบ๊งผู้เป็นลูกเขย ฟ่าวด่วนมาหาท่านอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม ทั้งร้องห่มร้องไห้ ว่าแม่ยายตายแล้วแต่เมื่อคืนนี้ จะทำอย่างใดก็บศพครับ

    “เมื่อคืนนี้ แม่อุ้ยไปตี ๒ ตรงใช่ไหมบ๊ง” ท่านอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม ถาม

    “โอ…ท่านอาจารย์ฮู้ได้ ถูกแล้ว ตี ๒ ตรง แม่ยายผมไปไหนท่านอาจารย์” เจ๊กตอบและถาม

    “ไปโลกหน้า” (หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ตอบ)…

    ธรรมะประวัติองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม (วัดหนองน่อง) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุก ๆท่าน

    -ผู้มั่นคงใ.jpg
    1537667774_819_แม่อุ้ยเฒ่า-ผู้มั่นคงใ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พรุ่งนี้ ประเพณีบุญเดือน10 ( ุญข้าวสาก)
    การทำบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประจำทุกปี ที่เรียกว่า “บุญข้าวสาก” เนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำสากหรือสลาก มีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะบริจาคทานให้แก่ผู้ใด โดยบอกชื่อผู้ที่จะ มารับส่วนกุศลด้วย

    บุญข้าวสากหรือสลาก เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของประเพณีสิบสองเดือน หรือ “ฮิตสิบสอง” (ฮีต มาจากคำว่า จารีต ฮีตสิบสอง คือ จารีตประเพณีสิบสองเดือน) ของชาวอีสาน โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อมุ่งอุทิศส่วนกุศลให้ญาติสนิท เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา สามี ภรรยา พี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว และอาจอุทิศให้ เปรตทั่วไปด้วย

    ก่อนถึงกำหนดวันทำบุญข้าวสาก คือ ราววันขึ้น 13 – 14 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้าน จะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ มีทั้งข้าว เนื้อ ปลา ข้าวเม่า ข้าวพอง ข้าวตอก ขนม และอาหารคาวหวานอื่น ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ ไว้สำหรับทำบุญ สำหรับข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเข้ากันโดยใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก (ข้าวกระยาสารท) แต่บางท้องถิ่นไม่นำข้าเม่า ข้าพอง และข้าวตอก มาคลุกเข้าด้วยกัน คงแยกไปทำบุญเป็นอย่าง ๆ เมื่อเตรียมสิ่งของทำบุญเรียบร้อย แล้ว ชาวบ้านจะเอาข้าวปลาอาหารที่มีอยู่ไปส่งญาติพี่น้องและผู้รักใครีนับถือ อาจส่งก่อนวันทำบุญหรือส่งในวันทำบุญเลยก็ได้ สิ่งของเหล่านี้มักแลกเปลี่ยนกัน ไปมา ระหว่างญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรือนเคียง ถือว่าเป็นการได้บุญ

    เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ ตอนเช้า ชาวบ้าน จะพากันนำอาหารคาวหวานต่าง ๆ ไปทำบุญตักบาตร ที่วัด โดยพร้อมเพรียงกัน และถวายทานอุทิศส่วนกุศล ให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว

    ตอนสาย ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารที่เตรียมไว้ เป็นข้าวสาก ไปวัดอีกครั้งหนึ่ง เอาอาหารต่าง ๆ จัดเป็น สำหรับหรือชุดสำหรับถวายทาน หรือถวายเป็นสลากภัต โดยจัดใส่ภาชนะต่าง ๆ แล้วแต่ความนิยม ของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งจัดใส่ถ้วยหรือบางแห่งใช้ทำ เป็นห่อทำเป็นกระทงด้วยใบตองกล้วย หรือกระดาษ แต่ละบ้านจะจัดทำสักกี่ชุดก็ได้ตามศรัทธา ก่อนที่จะถวาย ข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร จะกล่าวคำถวายข้าวสาก หรือสลากภัตพร้อมกัน

    เมื่อเสร็จพิธีถวายข้าวสากแล้ว ช้าวบ้านที่ไปร่วมพิธี ยังนิยมเอาชะลอมหรือห่อข้าวสากไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ในบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติ หรือเปรตผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารต่าง ๆ ที่วางไว้ และขอให้มารับส่วนกุศลที่ทำบุญอุทิศไปให้ด้วย (ผู้จัดทำ ก็เคยทำสมัยเป็นเด็กกับมารดา)
    ภายหลังจากการถวายข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร และนำอาหารไปวางไว้ตามบริเวณวัดเสร็จแล้ว ก็มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสาก และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ไปให้เปรตและญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่มีนา จะนำข้าวสากไปเลี้ยง “ตาแฮก” ที่นาของตน เพื่อให้ตาแฮกรักษานาและให้ข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์ เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก

    วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบนี้ ชาวจีนถือเอาเป็นวันไหว้พระจันทร์
    คนภาคกลาง เรียกว่า เป็นบุญข้าวสารท
    คนไทยภาคเหนือ เรียกว่า วันทำบุญสลากภัตร (เชียงใหม่เรียกว่าบุญ ๑๒ เป็ง)
    พี่น้องชาวใต้ เรียกว่า บุญชิงเปรต
    อีสาน เรียกว่า บุญข้าวสาก

    เป็นประเพณีการทำบุญที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต

    -ประเพณีบุญเดื.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “ทำบุญถวายทานกับพระผู้เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐของโลก ย่อมเกิดอานิสงส์ผลบุญมาก”

    (โดย หลวงปู่พวง สุวีโร)

    การทำบุญกับพ่อแม่ครูอาจารย์ ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีผลานิสงส์มาก สามารถเปลี่ยนภพภูมิญาติพ่อแม่พี่น้องเราได้ ดังเช่นเรื่องที่จะเล่าดังต่อไปนี้ เป็นเรื่องของหลวงปู่พวง สุวีโร ลูกศิษย์ของหลวงปู่ขาว ท่านหนึ่ง ท่านเล่าว่า

    “ท่านเองได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย วันหนึ่งนั่งสมาธิเห็นโยมแม่ที่ตายแล้ว ได้เป็นอยู่อย่างอัตคัด ไม่มีผ้านุ่งผ้าห่ม ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย จึงอธิษฐานกับพระประธานว่า “ช่วงเช้าไปบิณฑบาต ขอให้มีคนมาถวายผ้า” ครั้นไปบิณฑบาตก็มีคนมาถวายผ้าขาวจริงๆ ท่านจึงนำผ้าขาวไปย้อมด้วยหินสีแดง แล้วนำไปซักตาก พอแห้งก็นำมาย้อมแล้วซักตากอีกรอบ จากนั้นก็นำไปพับถวายหลวงปู่ขาว กราบเรียนท่านว่า “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ บังสุกุลแน อุทิศให้แม่” หลวงปู่ขาว จึงชักผ้าบังสุกุลให้ คืนนั้นหลวงปู่พวง นั่งภาวนาเห็นโยมแม่ มีผ้านุ่งผ้าห่มผืนใหม่ แล้วยังมีผ้าอีกหลายผืนห้อยเต็มไปหมด

    จากนั้นหลวงปู่พวงจึงคิดว่าทำอย่างไร โยมแม่จึงมีที่อยู่ที่อาศัย หลายวันต่อมา มีโยมนิมนต์หลวงปู่ขาว กับพระที่วัดไปสวดมนต์ที่บ้าน หลวงปู่พวง จึงได้มีโอกาสตามไปด้วย ญาติโยมได้ถวายปัจจัย หลวงปู่ขาว จึงบอกกับพระสงฆ์ว่า อัฐบริขารเราก็มีอยู่พร้อมแล้ว ให้นำปัจจัยนี้ไปสร้างกุฏิ และถาน(ส้วม) ตามที่ท่านพวง อธิษฐานไว้ ครั้นเมื่อสร้างเสร็จ หลวงปู่พวง จึงได้น้อมถวายกุฏิ และถาน(ส้วม) แก่หลวงปู่ขาว อนาลโย จากนั้นตกกลางคืน หลวงปู่พวงได้นั่งสมาธิ มองหาแม่ ออกตามหาทั้งคืนก็ไม่เห็น ผ่านไป ๔ วัน จึงไปกราบเรียนหลวงปุ่ขาว “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ หาแม่บ่เห็น” หลวงปู่ขาว บอกให้ ”ขึ้นสูงๆ” หลวงปูพวง จึงนั่งสมาธิหาตามยอดไม้ก็ไม่เห็น หรือจะเป็นที่สวรรค์กันแน่ ท่านจึงรวบรวมพลังจิตทั้งหมดขึ้นไปดู จึงเห็นวิมานของโยมแม่บนสวรรค์ เห็นร่างกายที่เป็นทิพย์ของโยมแม่ จึงสบายใจขึ้นว่า โยมแม่พ้นทุกข์แล้ว ก็เพราะด้วยบารมีธรรมของของพระผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ หากเราได้ถวายทานแก่พระภิกษุ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว อานิสงส์ย่อมส่งผลไปถึงญาติของเราแม้นอยู่ปรโลก ก็สามารถให้พ้นทุกข์ พ้นโทษภัยได้ อย่างองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านจึงถือว่าเป็นเนื้อนาบุญเอกของโลก”

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้ ประเพณีบุญเดือน10 ( ุญข้าวสาก)
    การทำบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประจำทุกปี ที่เรียกว่า “บุญข้าวสาก” เนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำสากหรือสลาก มีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะบริจาคทานให้แก่ผู้ใด โดยบอกชื่อผู้ที่จะ มารับส่วนกุศลด้วย

    บุญข้าวสากหรือสลาก เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของประเพณีสิบสองเดือน หรือ “ฮิตสิบสอง” (ฮีต มาจากคำว่า จารีต ฮีตสิบสอง คือ จารีตประเพณีสิบสองเดือน) ของชาวอีสาน โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อมุ่งอุทิศส่วนกุศลให้ญาติสนิท เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา สามี ภรรยา พี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว และอาจอุทิศให้ เปรตทั่วไปด้วย

    ก่อนถึงกำหนดวันทำบุญข้าวสาก คือ ราววันขึ้น 13 – 14 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้าน จะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ มีทั้งข้าว เนื้อ ปลา ข้าวเม่า ข้าวพอง ข้าวตอก ขนม และอาหารคาวหวานอื่น ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ ไว้สำหรับทำบุญ สำหรับข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเข้ากันโดยใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก (ข้าวกระยาสารท) แต่บางท้องถิ่นไม่นำข้าเม่า ข้าพอง และข้าวตอก มาคลุกเข้าด้วยกัน คงแยกไปทำบุญเป็นอย่าง ๆ เมื่อเตรียมสิ่งของทำบุญเรียบร้อย แล้ว ชาวบ้านจะเอาข้าวปลาอาหารที่มีอยู่ไปส่งญาติพี่น้องและผู้รักใครีนับถือ อาจส่งก่อนวันทำบุญหรือส่งในวันทำบุญเลยก็ได้ สิ่งของเหล่านี้มักแลกเปลี่ยนกัน ไปมา ระหว่างญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรือนเคียง ถือว่าเป็นการได้บุญ

    เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ ตอนเช้า ชาวบ้าน จะพากันนำอาหารคาวหวานต่าง ๆ ไปทำบุญตักบาตร ที่วัด โดยพร้อมเพรียงกัน และถวายทานอุทิศส่วนกุศล ให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว

    ตอนสาย ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารที่เตรียมไว้ เป็นข้าวสาก ไปวัดอีกครั้งหนึ่ง เอาอาหารต่าง ๆ จัดเป็น สำหรับหรือชุดสำหรับถวายทาน หรือถวายเป็นสลากภัต โดยจัดใส่ภาชนะต่าง ๆ แล้วแต่ความนิยม ของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งจัดใส่ถ้วยหรือบางแห่งใช้ทำ เป็นห่อทำเป็นกระทงด้วยใบตองกล้วย หรือกระดาษ แต่ละบ้านจะจัดทำสักกี่ชุดก็ได้ตามศรัทธา ก่อนที่จะถวาย ข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร จะกล่าวคำถวายข้าวสาก หรือสลากภัตพร้อมกัน

    เมื่อเสร็จพิธีถวายข้าวสากแล้ว ช้าวบ้านที่ไปร่วมพิธี ยังนิยมเอาชะลอมหรือห่อข้าวสากไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ในบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติ หรือเปรตผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารต่าง ๆ ที่วางไว้ และขอให้มารับส่วนกุศลที่ทำบุญอุทิศไปให้ด้วย (ผู้จัดทำ ก็เคยทำสมัยเป็นเด็กกับมารดา)
    ภายหลังจากการถวายข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร และนำอาหารไปวางไว้ตามบริเวณวัดเสร็จแล้ว ก็มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสาก และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ไปให้เปรตและญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่มีนา จะนำข้าวสากไปเลี้ยง “ตาแฮก” ที่นาของตน เพื่อให้ตาแฮกรักษานาและให้ข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์ เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก

    วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบนี้ ชาวจีนถือเอาเป็นวันไหว้พระจันทร์
    คนภาคกลาง เรียกว่า เป็นบุญข้าวสารท
    คนไทยภาคเหนือ เรียกว่า วันทำบุญสลากภัตร (เชียงใหม่เรียกว่าบุญ ๑๒ เป็ง)
    พี่น้องชาวใต้ เรียกว่า บุญชิงเปรต
    อีสาน เรียกว่า บุญข้าวสาก

    เป็นประเพณีการทำบุญที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต

    -ประเพณีบุญเดือน10.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พญานาคก็เหมือนมนุษย์
    ีทั้งมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ

    เรื่อง “พญานาคกลัวบาปกรรมจึงอพยพย้ายถิ่นฐาน”

    (จากประวัติ หลวงปู่ขาว อนาลโย)

    หลวงปู่ขาว อนาลโย เล่าถึงเหตุการณ์ที่ภูถ้ำค้อ ที่เกี่ยวกับลูกหลานพญานาค ดังต่อไปนี้ คืนหนึ่ง ในระหว่างที่หลวงปู่นั่งสมาธิภาวนา ได้เห็นในนิมิตว่าบรรดางูใหญ่งูเล็กหลายพันตัว พากันเลื้อยออกมาจากถ้ำเป็นขบวนยาวเหยียด

    หลวงปู่ได้ถามในนิมิตว่า
    “จะไปไหนกันมากมายเช่นนี้ ?”

    หัวหน้างูใหญ่ตอบว่า
    “พวกข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นภูมินาค”

    หลวงปู่ถามซ้ำอีกว่า
    “จะพากันไปไหน ทำไมไม่อยู่ที่เดิมนี้ ?”

    งูตอบว่า “จะไปที่ห้วยอีตุ้ม เพราะตั้งแต่พระคุณเจ้ามาอยู่ในถ้ำนี้แล้ว พวกข้าพเจ้าอยู่ยากกินยาก”

    หลวงปู่จึงถามว่า “เพราะอะไร ?”

    งูตอบว่า “เพราะพวกข้าพเจ้าอยู่สูงกว่าพระคุณเจ้าผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ทำให้ร้อนไปทั่วร่างกาย จึงขอลงไปอยู่ในที่ต่ำๆ จะได้ไม่เป็นบาป”

    พญานาคก็เหมือนมนุษย์
    คือมีทั้งมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ู้มีสติปัญญาย่อมสามารถพลิกสันให้เป็นคม
    พลิกสถานการณ์ที่เลวร้ายให้กลายเป็นดีได้
    พลิกจากของเสียของสกปรกให้กลายเป็นปุ๋ย
    เพื่อหล่อเลี้ยงต้นกล้าคือธรรมในจิตใจให้เจริญ
    งอกงามเติบโตสูงใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงา

    เรื่อง “ยอดอุบายธรรมสั่งสอนศิษย์ที่แยบยล”

    (เล่าโดย ท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล)

    มีเรื่องเล่าว่าสมัยที่หลวงปู่ขาว อนาลโย สมัยยังมีชีวิตอยู่ วันหนึ่งท่านมอบหมายให้พระลูกศิษย์ 2 รูปไปดุด่าแม่ชีคนหนึ่งในวัด คือ แม่ชีสา ซึ่งเป็นคนอุปัฏฐากพระเณรดีมาก อีกทั้งยังใส่ใจในการปฏิบัติธรรมด้วย เมื่อพระทั้งสองรูปได้รับคำสั่งเช่นนั้น ก็ไปที่กุฏิแม่ชีสา แล้วทำตามที่หลวงปู่ขาวสั่ง คือเรียกแม่ชีสามาด่า ทีแรกแม่ชีสาก็งง แต่ว่าตั้งสติได้ นั่งพนมมือฟังคำดุด่าด้วยอาการสงบ

    พระอาจารย์ทั้งสองดุด่าอยู่นานจนไม่รู้จะด่าอย่างไรแล้ว ก็หยุด แม่ชีสาแทนที่จะโกรธหรือน้อยใจว่าทำไมทำดีกลับถูกครูบาอาจารย์ด่า กลับพูดขึ้นมาว่า “ท่านอาจารย์ดุด่าดิฉันหมดหรือยัง หรือมีคำด่าว่าอยู่อีก ดิฉันได้ยินได้ฟังแล้วมันซาบซึ้งเหลือเกิน เสียงดุด่าเป็นเสียงธรรมทั้งหมดเลยเจ้าข้า” แม่ชีสายังบอกอีกว่า “ขอให้อาจารย์ทั้งสองมาด่าดิฉันให้บ่อยๆ ด้วย มันจะได้หมดกิเลสสักที”

    แม่ชีสาถูกด่า แต่ใจไม่ทุกข์เลย เพราะแทนที่จะมองว่าการถูกด่าเป็นเรื่องเลวร้าย กลับมองว่าคำดุด่าว่ากล่าวเป็นของดี ช่วยขูดกิเลสและลดละอัตตา

    เมื่อเจอสิ่งที่เป็นลบหรือร้าย อย่ามัวแต่เสียใจหรือขุ่นเคือง เราควรมองหาประโยชน์จากมัน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม เงินหาย ของหายก็สอนธรรมให้เราได้ แสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เห็นต้นไม้ล้ม ใบไม้ร่วง ก็เป็นธรรม แม้กระทั่งเห็นหญิงสาวยิ้มให้เป็นธรรมได้ ในสมัยพุทธกาลมีพระรูปหนึ่งชื่อพระนาคสมาล ขณะที่ท่านกำลังเดินบิณฑบาตในเมือง บังเอิญมีขบวนแห่ผ่านมา ท่านเห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่งแต่งตัวสวยงาม มีเครื่องประดับแวววาว ทัดทรงดอกไม้ แทนที่จะเกิดกามราคะ ท่านกลับมองว่า นี่แหละคือบ่วงแห่งมัจจุราชที่มาดักรอ พอเห็นโทษของรูปที่เห็น ก็เกิดความเบื่อหน่าย จิตหลุดพ้นจากกิเลสตรงนั้นทันที

    เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ว่าทุกอย่างสามารถเป็นประโยชน์ในทางธรรมได้ทั้งนั้น พูดอีกอย่างคือเราสามารถเห็นธรรมได้จากทุกอย่าง ไม่ว่าบวกหรือลบ ดีหรือร้าย สวยงามหรือน่าเกลียด

    คนที่ทำได้เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นบัณฑิต ดังพุทธภาษิตอีกตอนหนึ่งที่พระนันทิยะได้ถ่ายทอดให้แก่พระองคุลิมาลฟังว่า “ผู้รู้จักถือเอาประโยชน์ทั้งจากอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์…พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญว่าเป็นบัณฑิต”

    การที่เราจะเห็นหรือหาประโยชน์จากทุกสิ่งได้ โดยเฉพาะอนิฏฐารมณ์ หรือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่ไม่พึงปรารถนา สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องมีคือสติ หาไม่แล้วความรู้สึกยินร้าย ขัดเคืองใจ ก็จะครอบงำจิต จนคิดแต่จะผลักไส ทำลายสิ่งนั้นๆ หรืออย่างน้อยๆ ก็บ่นโวยวาย ตีโพยตีพาย ก่นด่าชะตากรรม กลายเป็นการซ้ำเติมตนเอง แต่ถ้ามีสติ นอกจากใจจะไม่ทุกข์กับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ยังสามารถใช้ปัญญาใคร่ครวญจนเห็นประโยชน์จากสิ่งนั้นได้ อันนี้รวมถึงอิฏฐารมณ์ หรือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่พึงปรารถนาด้วย หากไม่มีสติ ใจก็จะยินดี หลงใหลเพลิดเพลิน จนเกิดกิเลสตัณหา กลายเป็นโทษ แต่ถ้ามีสติ ก็จะรู้จักคิด และเห็นข้อเสียของมันว่าสามารถทำให้เกิดความยึดติดถือมั่น อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ หรือไม่ก็ทำให้เกิดความประมาท ซึ่งเป็นประเด็นที่จะได้กล่าวต่อไป

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “วิถีแห่งพระโสดาบัน”

    (คติธรรม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)

    พระโสดาบันไม่สังเวยลาบดิบ ของเป็นเลือดเป็นเนื้อเช่นส้มเนื้อและแหนมเคยหรือกะปิ ต้องทำให้สุกด้วยไฟแท้วิธีใดวิธีหนึ่งก่อน จึงยอมรับประทาน เพราะไม่ทำตามพระยาลิ้นพระยาหิวพระยาปากพระยาท้อง
    พระยานายกกิเลสเพศผีสิงอิงขันธะสันดานโลกียวิสัย เพราะสติปัญญาความประพฤติข้ามไปจากปุถุชนคนหนาแล้ว เห็นฝั่งพระนิพพานด้วยการมองเมินดูด้วยพระปัญญาญาณ จะถึงช้าและนานก็ไม่ได้ถอยหลังลังเลและปลีกทาง

    ข้ออื่นยังมีอยู่อีกบรรดาท่านที่เคารพเอ๋ย พระโสดาบันไม่ถือฤกษ์ดียามดี ไม่ไปตู่วันเวลาและขณะว่าดีหรือไม่ดี ไม่ถือไสยศาตร์ต่างๆ ไม่ค้าขายสิ่งที่มิชอบ ๕ ประการ คือ

    ๑. ไม่ค้าขายเครื่องประหาร มีศาตราวุธเครื่องจับสัตว์น้ำสัตว์บกเป็นต้น
    ๒. ไม่ค้าขายสัตว์เป็นและเนื้อสัตว์ที่ตนฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
    ๓. ไม่ค้าขายน้ำเมา
    ๔. ไม่ค้าขายยาพิษ
    ๕. ไม่ค้าขายมนุษย์

    ไม่เสียดาย อย่าล่วงระเมิดเลย ผู้ขึ้นถึงโลกุตรในพระพุทธศาสนามีขอบเขตอย่างนี้ และก็ไม่ปลุกเสกพระพุทธรูปใหญ่น้อยอีกด้วย ปรารภน้อยไม่พอคาย ปรารภหลายเป็นก้างขวางคอท่านผู้ไม่ชอบ

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ถ้าท่านเป็นสามีภรรยาทะเลาะกัน ลูกจะหาความสุขไม่ได้นะ ขอฝากไว้ พ่อแม่รักกันดี ปรึกษาหารือกันดี ลูกจะดี มีความสุขฯ

    พ่อแม่ ต้องสร้างความดีไว้ให้กับลูก ทำถูกไว้ให้กับหลาน รักให้ถูกวิธี ทำความดีให้ลูกดู เดี๋ยวนี้ ทำความชั่วให้ลูกดู กินเหล้าให้ลูกเห็น เล่นการพนันให้ลูกเห็น ทะเลาะกันให้ลูกได้ยิน ขอฝากพ่อบ้านแม่บ้านไว้ด้วย ถ้าเกิดจำเป็นจะทะเลาะกัน อย่าให้ลูกได้ยิน เกิดจะร้องไห้ น้ำตาไหลขึ้นมา โปรดกรุณาไปร้องในห้องสุขา อย่าไปร้องไห้ให้ลูกเห็นฯ

    ธรรม..คำสอน..
    พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “ตำรับยาแก้ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอักเสบภายใน”

    ยานี้ใช้ได้ผลเฉพาะบุคคลที่มีความเชื่อใน พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ เท่านั้น นับเป็นความเมตตาของพระอริยะที่ท่านมีต่อลูกศิษย์ ถ้าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แม้ไม่มีโอกาสหายและอาจต้องตายในเวลาอีกไม่นาน ก็ย่อมไม่เสียที เพราะอย่างน้อยก็ไม่ตกลงอบายภูมิ เพราะจิตที่ยึดมั่นในพระรัตนตรัย ย่อมมีสุคติภูมิเป็นที่หมายแน่นอน

    แต่ท่านบอกว่าอย่าไปรับรองใครเขานะ บอกเราเคยกินหายมาแล้ว เราอย่าไปรับรองผล ถ้าบังเอิญมันเป็นระยะปลาย และคนนั้นจะต้องตายมีอยู่ อย่าไปรับรองเขา แล้วท่านบอกว่า หญ้าแพรกทำให้เย็น ขมิ้นรักษา และน้ำปูนใสทำให้อย่างแห้งเร็ว

    (โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)

    เป็นตำรับยา “หมอชีวกโกมารภัจ”
    สูตรนี้เอา “มะเร็งเบาหวาน” อยู่

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่ยังไม่ บวช หลังจากบวชแล้วก็ได้เป็นผู้ช่วยหลวงปู่ปาน รักษาคนไข้ และได้เรียนวิชาแพทย์จากท่านที่มีอทิสสมานกายอีกมาก วิชาเหล่านี้ต่อมาจากท่านละทิ้งหมด จนกระทั้งเริ่มรับลูกศิษย์ และเห็นทุกขเวทนาของลูกศิษย์บางคน จึงได้บอกสูตรยาต่าง ๆ ให้ รายละเอียดมีดังนี้

    สูตรยาแก้โรคมะเร็งและโรคอักเสบภายในต่างๆ
    สูตรตัวยามีดังนี้

    ขมิ้นชัน ๑ กำมือ
    หญ้าแพรก ๑ กำมือ
    โขลกให้ละเอียดคั้นกับน้ำปูนใส
    (ปูนกินกับหมาก) แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง

    วิธีใช้

    รับประทานครั้งละประมาณ ๑ ถ้วยชา หรือประมาณ ๓๐ ซี.ซี รับประทานวันละ ๑ ครั้ง ก่อนอาหารเช้า ๓๐ นาที หรือ ๑๕ นาที เป็นอย่างน้อย
    รักษาโรคมะเร็ง และโรคอักเสบต่าง ๆได้ทั้งหมด เช่น โรคกระเพาะ โรคลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ ฯลฯ

    ถ้าโรคเบาหวาน ขณะที่กินยา ห้ามกินกะปิกับของแสลง คือของหวานในช่วงกินยา ๓ วันหาย
    ประวัติของยานี้หลวงพ่อเล่าให้ฟัง เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ยานี้ท่านหมอ โกมารภัจมาบอกหลวงพ่อ โดยหลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า

    “ยานี้คือยารักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน”เพียงแค่พื้น ๆ” โรคกระเพาะ โรคตับนี้รักษาง่าย ท่านบอกว่า แต่อย่าไปรับรองชาวบ้านเขานะ ห้ามรับรองชาวบ้านเขา ฝีในท้องกิน ๓ ระยะๆ ๓ วัน เว้น ๗ วันหาย

    บอกว่าถ้าหัวฝีแตกยิ่งดีใหญ่ โรคไต ๓ ถ้วยหายโรคอักเสบทั้งหมดรักษาได้ทุกอย่าง โรคเบาหวานห้ามกินกะปิ และของหวานในช่วงเวลาที่กินยา คนไข้คนไหนไม่เว้นของแสลง ไม่ควรสงสาร เพราะว่าตัวเขาเองยังไม่รัก แล้วเราจะไปรักทำไมต้องถือคตินี้นะ

    ประวัติความเป็นมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ตอนนั้นอยู่ชัยนาท คุณสมศรี เธอเป็นโรคมะเร็งในมดลูก รักษาตัวมาเป็นเดือนหมดเงินเป็นหมื่น มะเร็งระยะสองไม่หาย เธอมาปรารภอาการป่วยให้ฟัง ยาฉันก็ไม่มี ฉันไม่รู้จะไปหาที่ไหน นั่งนึกถึง ท่านโกมารภัจ ท่านก็มาท่านบอกให้แม่มันไป ตลาดโพธิ์นางดำ ไปถามหมอโบราณที่นั่น หมอชื่ออะไร รูปร่างอย่างไร ท่านก็ไม่บอก บอกไปเถอะไปเจอใครเขาบอกยาองเขารักษาหาย ให้เอามารักษาจะหาย ไม่ใหม่ประวัติความเป็นมาจำไว้นะ แล้วแกก็ไปหาทันที ไปรอลงเรือที่ ประตูน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ก็ไปรอลงเรือ ไอ้ท่าเรือก็มีผู้ชายคนหนึ่งผอมโปร่งผิวขาว แต่งตัวเรียบร้อยไม่พูดไม่จากับใครนั่งเฉยหัว ก็ขาวโพลน นั่งเฉยคอยเรือเกือบชั่วโมงไม่พูดกับใครเลยเวลาลงเรือหางยาวบังเอิญ นั่งคู่กันไป เรือวิ่งไปประมาณ ๑ กิโลเมตร แกหันมาถามว่าหนูจะไปไหน บอกจะไป ตลาดโพธิ์นางดำ ถามไปทำไม บอกลูกสาวประจำเดือนออกไม่หยุด หมอบอกเป็นมะเร็งที่มดลูก

    ชายคนนั้น แกถามต่อไปว่า แล้วนี่จะไปไหน บอกไปหาหมอ ถามหมอชื่ออะไร แกบอกไม่รู้ บอกไม่รู้ไปอย่างไร บอกว่าพระท่านบอกถ้าไปเจอหมอที่ โพธิ์นางดำ ท่านเป็นหมอโบราณ ถ้าท่านบอกยารักษาหายให้นำมาเลย บอกถ้าอย่างนั้นไม่ต้องไป ยาที่ฉันมีพอเรือหางยางสวนมาแกกวักมือบอกกลับได้แล้ว ปรากฏว่าวันหลังไปถามเรือหางยาวคนนั้นว่า คนรูปร่างแบบนั้นขึ้นที่ไหน ไอ้เรือหางยาวเขารู้จักกันบอกเวลานั่งมาเห็น เลาขึ้นไม่เห็นตอนขึ้นเขาเก็บสตางค์ ไม่เห็นโดดน้ำไปตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แก่ทำกินไม่ถึงถ้วยชา แคครึ่งถ้วยชา ถ้วยเดียวหาย แต่ท่านบอกว่าให้กิน ๓ ถ้วย แล้วจะหายสนิทมะเร็งนี่นะ ไอ้โรคเบาหวานเรื่องเล็ก ๆ เล็ดหมดเลย เบาหวานขนาดม้า มะเร็งขนาดช้าง ท่านเลยบอกว่าหาย ไอ้โรควัณโรคนานหน่อยนะ กิน ๓ วันติด ๆ กัน เว้น ไป ๗ วัน ๓ ระยะ เท่ากับกิน ๙ ถ้วยหาย ท่านก็เลยสรุปอักเสบทั้งหมดใช้ได้หมดเลย เดี๋ยวลองถามท่านกินบ่อย ๆ จะได้ไหม ท่านบอกว่าป้องกันโรคต่าง ๆ ปีละงวด ๓ ถ้วย กิน ๓ วัน ถ้ากินป้องกันร่างกายทรุดโทรม ๖ เดือนงวด จะไปกินเร็วกว่านั้นไม่ได้ ๖ เดือนกิน ๓ ถ้วย แต่ท่านบอกว่าอย่าไปรับรองใครเขานะ บอกเราเคยกินหายมาแล้ว เราอย่าไปรับรองผล ถ้าบังเอิญมันเป็นระยะปลาย และคนนั้นจะต้องตายมีอยู่ อย่าไปรับรองเขา แล้วท่านบอกว่า หญ้าแพรกทำให้เย็น ขมิ้นรักษา และน้ำปูนใสทำให้อย่างแห้งเร็ว

    หมายเหตุ ก่อนกินยานี้ให้นำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ ขอพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยให้โรคหายไปจากร่างกาย ขอพรท่านโกมารภัจเจ้าของยา ขอให้ท่านช่วยให้ยานี้มีฤทธิ์ทำลายโรคให้หมดไป ขอพรท่านแม่ศรีช่วยด้วย ขอให้โรคทั้งหลายสลายตัวไปให้หมด นับตั้งแต่กินยานี้เข้าไปแล้ว

    หมายเหตุ : ยานี้ใช้ได้ผลเฉพาะบุคคลที่มีความเชื่อในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เท่านั้น นับเป็นความเมตตาและเป็นปัญญาความชาญฉลาดของพระอริยะที่ท่านมีต่อลูกศิษย์ ถ้าเป็นมะเร็งระยะปลายไม่มีโอกาสหายและต้องตาย อย่างน้อยก็ไม่ตกลงอบายภูมิ เพราะจิตที่ยึดมั่นในพระรัตนตรัย ย่อมมีสุคติภูมิเป็นที่หมายครับ สาธุ

    -ตำรับยาแก้-โรคมะ.jpg
    1538026447_74_เรื่อง-ตำรับยาแก้-โรคมะ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...