เบาะแสที่อาจหักล้างได้ว่า "คันธาระ-ตักกศิลา" ไม่ได้อยู่ที่ ปากีสถาน

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 3 มกราคม 2013.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    แคว้น หนึ่ง ที่ มีความสำคัญในสมัย พุทธกาล คือ "แคว้นคันธาระ" ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ "ตักกศิลา" ดัง มี ผู้รู้ได้อธิบาย ว่า

    ในสมัยพุทธกาลและแม้ก่อนนั้น ตักกสิลาเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะเป็นนครแห่งวิทยาการ เป็น "มหาวิทยาลัย" ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาที่ได้รับความยกย่องอย่างยิ่ง เป็นความนิยมของกษัตริย์พราหมณ์และคนชั้นสูงทั้งหลายในสมัยนั้น ที่จะส่งบุตรหลานของตน มารับการศึกษาศิลปวิทยาสาขาต่าง ๆ ที่ตักกสิลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ การทหาร และวิชาการปกครอง บุคคลสำคัญ ๆ ในสมัยพุทธกาลหลายท่านเช่น พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศลเจ้าพันธุละแห่งกุสินารา ซึ่งภายหลังได้เป็นเสนาบดีคู่พระทัยของพระเจ้าปเสนทิโกศล เจ้ามหาลิแห่งแคว้นวัชชี ท่านพระองคุลิมาล และ หมอชีวกโกมารภัจ แพทย์ผู้สามารถยิ่งแห่งราชสำนักพระเจ้าพิมพิสารกรุงราชคฤห์เป็นต้น


    ซึ่ง บรรดานักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ได้ลงความเห็นว่า...

    แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทาง เหนือหรือตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย กินเนื้อที่ทั้งสองฟากของแม่น้ำสินธุ อันเป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่ง ปัจจุบันได้แก่เขตจังหวัดเปษวาร์ และราวัลปินดี แห่งประเทศปากีสถาน คันธาระกับแคว้นสุดท้ายของมหาชนบท ๑๖ แคว้น คือกัมโพชะ ตั้งอยู่ในส่วนพื้นที่ซึ่งเรียกว่าอุตตราปถะ หรือดินแดนส่วนเหนือของชมพูทวีป ซึ่งจัดเป็นเขตปัจจันตชนบทเมืองหลวงของคันธาระในสมัยพุทธกาล คือ ตักกสิลา ปัจจุบันได้แก่ ตักศิลาในเขตจังหวัดราวัลปินดี ใกล้กับสถานีรถไฟ สะราบกละ ห่างจากกรุงราวัลปินดีไปทางตะวันตก หรือตะวันตกเฉียงเหนือราว ๓๕ กิโลเมตร หรือ ๒๒ ไมล์ จากการขุดค้น ได้พบซากสิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

    ปัจจุบันนี้ ตักศิลา คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่างๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม แลปฏิมากรรม แบบศิลปะคันธาระ จำนวนมาก อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนจนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก

    แต่ โอกาสนี้ ผมใคร่จะ ตั้งเป็นประเด็น ให้ท่านทั้งหลาย ได้ ขบคิด ใคร่ครวญ พิจารณาว่า
    จริงหรือที่ "คันธาระ-ตักกศิลา" จะอยู่ที่ ปากีสถาน อย่างที่เขาว่า อาศัยเหตุอะไร? จึงทำให้ผม เชื่อว่า "คันธาระ-ตักกศิลา" ไม่ได้อยู่ที่ ปากีสถาน

    ผมก็จะบอกว่า เวลานี้ มีเบาะแส ที่น่าสนใจ ที่น่าคิด คือ

    ๑. จากพระบาลี ที่ กล่าวถึง เมืองคันธาระ ซึ่งเป็น ต้นกำเนิดวิชาชื่อคันธารี ซึ่ง ในอรรถกถา กล่าวไว้ ว่า..

    บทว่า วิชาชื่อคันธารี อธิบายว่า วิชานี้ ฤษีชื่อคันธาระเป็นผู้ทำ หรือเป็นวิชาที่เกิดขึ้นในแคว้นคันธาระ. มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในแคว้นคันธาระนั้น พวกฤษีอาศัยอยู่มาก บรรดาฤษีเหล่านั้น ฤษีผู้หนึ่งทำวิชานี้ขึ้น.

    ซึ่งข้อนี้ ก็น่าคิดว่า จริงหรือ ที่ปากีสถาน เคยมีฤๅษี อาศัยอยู่เยอะ มีหลักฐานหลงเหลืออะไรอยู่หรือไม่?

    ๒. จากที่บอกว่า เมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ เป็นสำนักวิชา ที่ผู้มีชื่อเสียงต่างๆ ได้เดินทางมาร่ำเรียนที่นี่ ซึ่ง วิชาอื่นๆ ผมจะไม่กล่าวถึง แต่ผมจะกล่าวถึง วิชาการแพทย์ ที่ปู่ชีวกโกมารภัจจ์ ได้มาร่ำเรียนที่นี่

    ซึ่ง วิชาการแพทย์ของตักกศิลา นี่หล่ะ ที่ผมจะหยิบมาให้เป็นข้อคิด ว่า จริงหรือที่ "ตักกศิลา จะตั้งอยู่ที่ปากีสถาน"

    โดย จะหยิบยก ตำราแพทย์ ที่ ปู่ชีวกโกมารภัจจ์ แต่งขึ้น มาให้ ท่านทั้งหลาย ได้พิจารณา ว่า "เป็นไปได้หรือครับที่ในแผ่นดินปากีสถานในอดีตเมื่อ ๒ พันกว่าปีที่ผ่านมา จะสอนวิชาการแพทย์แบบนี้ และมีตัวยาหรือสมุนไพรตามในตำรา" หรือ ใน "พระคัมภีร์ตักกศิลา" ซึ่งบรรยาย การเกิดโรคห่าลงเมือง จนเป็นที่มาของการเขียนตำรารักษาโรคไข้ต่างๆ

    ซึ่ง ผมจะยกมาแต่ ตอนต้นพระคัมภีร์ ส่วนรายละเอียด ให้เพื่อสมาชิก เข้าไปอ่านได้ ตามลิงค์ ที่ทำไว้ เพื่อไปอ่านใน เว๊บ ที่ได้มีผู้รู้ นำเนื้อหาในพระคัมภีร์ มาลงไว้ ดังนี้

    พระคัมภีร์ตักกะศิลา
    พระคัมภีร์ตักกะศิลา | thrai


    สิทธิการิยะ จะกล่าวถึงเมืองตักกะศิลา เกิดความไข้วิปริตเมื่อห่าลงเมือง ท้าวพระยาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งปวง เกิดความไข้ล้มตายเปนอันมาก ซึ่งคนที่เหลือตายอยู่นั้นออกจากเมืองตักกะศิลาไป ยังเหลือแต่เปลือกเมืองเปล่า ยังมีพระฤาษีองค์หนึ่ง มีนามมิได้ปรากฎ เที่ยวโคจรมาแต่ป่าหิมพานต์ จึงเห็นแต่เมืองเปล่า มีแต่ซากศพตายก่ายกองทั้งบ้านเมือง เธอจึงตั้งพิธีชุบซากศพนั้นขึ้น แล้วถามว่าท่านทั้งหลายนี้เปนเหตุอะไรจึงล้มตายเปนอันมาก ฝูงคนทั้งหลายที่ชุบเปนขึ้นนั้น จึงแจ้งความว่า ข้าแต่พระผู้เปนเจ้า บ้านเมืองนี้เกิดความไข้เปนพิกลต่างๆ ลางคนไข้วัน ๑ บ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้างตาย ลางคนนอนลางคนนั่งลางคนยืนลางคนตะแคงลางคนหงายตาย เปนเหตุเพราะความตายอย่างนี้ พระดาบสได้ฟังถ้อยคำคนทั้งหลายบอกดังนั้น ก็มีใจกรุณาแก่สัตว์ทั้งหลาย เธอพิจารณาด้วยฌานสมาบัติรู้ว่าห่าลงเมือง จึงแต่งพระคัมภีร์ไข้เหนือแก้ไข้พิษไข้กาฬตักกะศิลาสำหรับแพทย์ไปข้างน่า ให้รู้ประเภทอาการเพื่อจะให้สืบอายุสัตว์ไว้

    ถ้าผู้ใดจะเรียนเปนแพทย์รักษาโรคไข้พิษไข้เหนือ ก็ย่อมมีมาหลายจำพวก ผู้จะเปนแพทย์รักษาไข้พิษไข้เหนือนั้น ให้เอาดินโป่ง ๗ โป่ง ดินท่า ๗ ท่า ดินปลวก ๗ แห่ง ดินสระ ๗ สระ ดินป่าช้า ๗ ป่าช้า เอาขี้เท่า คนตายวันเสาร์เผาวันอังคาร แล้วให้เอาใบราชพฤกษ์ ๑ ใบไชยพฤกษ์ ๑ ใบคันธพฤกษ์ ๑ ใบชุมแสง ๑ เผาประสมกับดิน ปั้นเปนรูปพระดาบสไว้บูชา เมื่อจะบดยาเชิญรูปพระดาบสมาตั้งไว้เปนประธาน จึงทำเครื่องบูชาพระดาบส ดอกไม้ ธูปเทียนเครื่องกระยาบวช บายศรีซ้ายขวา ผ้าขาวปู เคารพสักการะบูชาพระดาบสแล้ว เศกยาด้วยพระคาถาดังนี้

    อธิเจตโส อปมัช์ชโต โมนปเถ สุสิก์ขโต โสกานัพ์ภวัน์ติ ตาทิโน อุปสัน์ตัส์ส สตีมโต เมื่อจะไปดูไข้ก็ให้ว่าพระคาถานี้ ให้เศกน้ำล้างหน้ารดตัวผู้ที่จะเรียนเปนแพทย์รักษาไข้พิษไข้เหนือนั้น จึงจะคุ้มอุปัททะวะอันตรายแห่งตัวได้ แล้วให้เศกน้ำมนต์ประคนไข้ แล้วให้พิจารณาไข้ให้ถ่องแท้
    ฯลฯ

    พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
    พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ | thrai

    ( อหํ ) อันว่าข้า ( ชีวกโกมารภัจ์โจ ) มีนามปรากฎว่า โกมารภัจแพทย์ ( อภิวัน์ทิต๎วา ) ถวายนมัสการแล้ว ( พุ, ธ, สํ ) ซึ่งพระคุณแก้ว ทั้ง ๓ ประการ (เสฏ์ํฐํ) อันประเสริฐโดยพิเศษ ( เทวิน์ทํ ) อันเปนใหญ่แลเปนที่เคารพย์ของเทพยดาทั้งหลาย (กิต์ตยิส์สามิ) จักตกแต่งไว้ (คัน์ถํ ) ซึ่งคัมภีร์แพทย์ ( โรคนิทานํ ) ชื่อว่าโรคนิทาน ( ปมุขํ ) จำเภาะหน้า ( อิสิสิท์ธิโน ) แห่งครุชื่อว่าฤาษีสิทธิดาบศ ( นาถัต์ถํ ) เพื่อจะให้เปนที่พึ่ง ( โลกัส์ส ) แก่สัตวโลกย์ทั้งปวงคือแพทย์แลคนไข้ ( อิติ ) คือว่า ( อิมินา ปกาเรน ) ด้วยประการดังนี้ พระอาจารย์เจ้าจึงชักเอาพระบาฬี ในคัมภีร์พระบรมัตถธรรม มาว่า ซึ่งบุคคลจะถึงแก่ความตายสิ้นอายุนั้น เทวทูต ในธาตุทั้ง ๔ มีพรรณสำแดง ออกให้แจ้งปรากฎโดยมะโนทวาร วิถีอินทรีย์ประสาททั้งปวง แลธาตุอันใดจะขาดจะหย่อนจะพิการอันตรธานใดๆ ก็ดี มีแจ้งอยู่ในคัมภีร์มรณะญาณสูตร์นั้นแล้ว แต่ถึงกระนั้นต้องอาไศรยธาตุเปนหลักเปนประธาน ลักษณะคนตายด้วยบุราณโรค นั้น เทวทูตทั้ง ๔ ก็หากจะแสดงออกให้แจ้งดังกล่าวมานั้นลักษณะคนตายด้วยปัจจุบันกรรมนั้นก็มีอยู่ต่างๆ ถึงดังนั้นก็จริง เทวทูตมหัศจรรย์ก็หากจะแสดงอยู่ แต่แพทย์ที่จะหยั่งรู้หยั่งเห็นเปนอันยากยิ่งหนัก โกมารแพทย์ผู้ประเสริฐจึงนิพนธ์ลงไว้ในคัมภีร์โรคนิทาน
    ฯลฯ

    พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์

    พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ | thrai

    นโม ตัส์ส ภควโต อรหโต สัม์มาสัม์พุท์ธัส์ส
    นมัส์สิต๎วา จ เทวิน์ทํ เทวราชสัก์กํ อิว
    ชีวกโกมารภัจ์จํ โลกนาถํ ตถาคตํ
    ปฐมจิน์ตารคัน์ถํ ภาสิส์สํ ฉัน์ทโสมุขํ
    สํเขเปน กิต์ตยิตํ ปุพ์เพ โลกาน นาถัต์ถัน์ติ

    แปล (อหํ) อันว่าข้า (นมัส์สิต๎วา) ถวายนมัสการแล้ว (ตถาคตํ) ซึ่งพระศรีสุคตทศพลญาณเจ้า (โลกนาถํ) เปนที่พึ่งของโลกย์ (จ) อนึ่งโสด (อหํ) อันว่าข้า (อภิวัน์ทิต๎วา) ไหว้แล้วโดยพิเศษ (ชีวกโกมารภัจ์จํ) ซึ่งชีวกโกมารภัจ แพทย์ผู้ประเสริฐ (เทวราชสัก์กํ อิว) เปรียบดุจสมเด็จอมรินทราธิราชบพิตร (เทวิน์ทํ) ผู้มีมหิศรภาพเปนจอมมกุฎแก่เทพย์บุตย์ทั้งหลาย (ภาสิส์สํ) จักแสดงบัดนี้ (คัน์ถํ) ซึ่งพระคัมภีร์แพทย์อันวิเศษ (ปฐมจิน์ตารํ) ชื่อประถมจินดาร์ (ฉัน์ทโสมุขํ) อันเปนหลักเปนประธานแห่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ทั้งปวง (กิต์ตยิตํ) อันพระอาจารย์โกมารภัจ แต่งไว้ (ปุพ์เพ) ในกาลก่อน (สังเขเปน) โดยสังเขป (นาถัต์ถํ) เพื่อจะให้เปนที่พึ่ง (โลกานํ) แก่สัตว์โลกย์ทั้งหลาย (เอวํ) ด้วยประการดังนี้
    ฯลฯ

    พระคัมภีร์โรคนิทาน
    พระคัมภีร์โรคนิทาน | thrai


    (อหํ) อันว่าข้า (ชิวกโกมารพัจ์โจ) ผู้มีนามโกมารพัจแพทย์ (อภิวัน์ทิต๎วา) ถวายนมัสการแล้ว (พุท์ธคุณํ) ซึ่งคุณแก้ว ๓ ประการ มีพระพุทธรัตนะเปนต้น (เสฏ์ฐํ) ประเสริฐโดยวิริยะยิ่งนัก (เทวิน์ทํ) ย่อมเปนที่นมัสการของเทพยดาทั้งหลาย (กิต์ตยิส์สามิ) จักตกแต่งไว้ (คัน์ถํ) ซึ่งคัมภีร์แพทย์ (โรคนิทานํ นาม) ชื่อว่าโรคนิทาน (ปมุขํ) เฉภาะภักตร (อิสีสิท์ธิโน) แห่งท่านมีนามชื่อว่าฤๅษีสิทธิดาบศ (ปติฏ์ฐิตํ) เพื่อจะให้เปนที่พึ่ง (โลกานํ) แก่สัตวโลกทั้งหลาย (อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรนะ) ด้วยประการดังนี้
    ฯลฯ

    อาศัย ซึ่ง สิ่งที่ยกมา ข้างต้น จึง ถือเป็นเบาะแสที่อาจหักล้างได้ว่า "คันธาระ-ตักกศิลา" ไม่ได้อยู่ที่ ปากีสถาน เพราะผมไม่เชื่อว่า ที่ปากีสถาน จะเคยมีทั้งฤๅษี และ การสอนวิชาการแพทย์ดังที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้มาร่ำเรียนและแต่งตำราแพทย์ดังตัวอย่างข้างต้นนี้แต่จะอยู่ที่ไหน? อย่างไร? จะได้สืบค้น หา เรื่องราวต่างๆ มา เพื่อ ค้นหาตำแหน่ง พิกัด ที่ตั้ง ของ แคว้นคันธาระ และเมืองตักกศิลา ต่อไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2013
  2. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ค้นไป ค้นมา เจอเบาะแส น่าสนใจ จาก ข้อมูล "องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหง" ดังนี้

    ช้อมูลทั่วไป


    เดิมบริเวณตำบลบ้านแหง เป็นเขตเมืองเก่าแก่นับว่าเป็นชุมชนโบราณแห่งหนึ่งของอำเภองาวมีอาณาเขตไปถึงบ้านบ่อห้อ( หมู่ ๔ ในปัจจุบัน ) ใจกลางเมืองตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านดอนไชย ( ที่ตั้งที่ว่าการอำเภองาวหลังเก่า ) ต่อมาถูกเงี้ยวเข้ารุกรานบ้านเมือง จึงถูกปล่อยร้างว่างเปล่า ในปี พ . ศ .๒๔๓๐ ได้มีชาวบ้านระแหง จากเมืองตักสิลา ( จังหวัดตาก ) อพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก หัวหน้าชาวบ้านเรียกว่า " เจ้าระแหง " กำนันที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นคือ " ขุนแหงหาญสู้ "

    จากข้อมูล นี้

    ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม
     
  3. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    จาก ข้อมูลข้างต้น เมื่อ สืบค้น ต่อไปอีก จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ ว่า...

    เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”

    ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุค นั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่อง กันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย

    เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก

    มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองตาก”

    ข้อมูล จาก..http://www.tak.go.th/history.htm
     
  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    จากข้อมูล ประวัติเมืองตาก ที่ได้ เมื่อค้น ต่อ โดย ให้ความสนใจไปที่ พระเจ้าสักดำ กษัตริย์เมืองตากผู้ยิ่งใหญ่

    ได้พบ ข้อมูล ที่น่าสนใจ เพิ่มขึ้นอีก ดังนี้...

    เรื่องพระยาสักรตั้งจุลศักราช
    พ.ศ.๓๐๖ กษัตริย์เมืองตักสิลา พระนามพระยาสักรดำมหาราชาธิราช มีพระราชดำริว่า พระพุทธศาสนาเป็นฝ่ายพระพุทธจักร จึงมีพระราชโองการแก่อดีตพราหมณ์ปุโรหิตว่า ตั้งแต่วันนี้ไปจนสิ้นพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ ๕,๐๐๐ พรรษา ให้ตั้งจุลศักราชไว้สำหรับกรุงกษัตริย์สืบไปภายหน้า จึงให้ตั้ง ณ วันพฤหัสบดี เดือนห้า แรมค่ำหนึ่ง จุลศักราช ปีชวด เอกศก เป็นมหาสงกรานต์ไปแล้ว จึงให้ยกเป็นจุลศักราชวันเดือนปีใหม่ ถ้ามหาสงกรานต์ยังมิไป ยังเอาเป็นปีใหม่ไม่ได้ด้วยเดือนนั้นยังไม่ครบ ๓๖๐ วัน พระองค์ให้ตั้งพระราชกำหนดจุลศักราชแล้ว สวรรคตในปีนั้น เสวยราชสมบัติ ๗๒ ปี จุลศักราชได้ ศก ๑

    กับ...


    เรื่องพระยากาฬวรรณดิสสร้างเมืองต่าง ๆ
    ปี พ.ศ.๑๐๐๒ พระยากาฬวรรณดิสได้เสวยราชสมบัติเมืองตักกะสิสามหานคร จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ ได้ ๑๙ ปี เมื่อ พ.ศ.๑๐๑๑ แล้วให้พระยาทั้งหลายไปตั้งเมืองอยู่ทุกแห่ง ขุนนางขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี เมืองสันตนาหะ เมืองอเส และเมืองโกสัมพี แล้วมานมัสการที่พระพุทธเจ้าตั้งบาตรตำบลบ้านแม่ซ้องแม้ว แล้วลงมา เมืองสวางคบุรี ที่บรรจุพระรากขวัญของพระพุทธเจ้าไว้แต่ก่อนนั้น แล้วจึงอาราธนาพระรากขวัญกับพระบรมธาตุมาว่าจะบรรจุไว้เมืองละโว้ พระบรมธาตุทำอริยปาฏิหาริย์ลอยกลับขึ้นไปเหนือน้ำถึงเมืองสวางคบุรีเป็นเช่นนั้นอยู่เจ็ดครั้ง พระรากขวัญกับพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าจึงไม่อยู่ได้ในเมืองละโว้ จน พ.ศ.๑๐๑๕ พระยากาฬวรรณดิสขึ้นไปทำนุบำรุง เมืองนาเคนทรแล้วกลับมาเมืองสวางคบุรี จึงอาราธนาพระรากขวัญกับพระบรมธาตุกับข้อพระกรของพระพุทธเจ้าที่บรรจุไว้ในเจดีย์ แต่ครั้งพระอานนท์ และพระอนิรุทธเถรเจ้า กับพระยาศรีธรรมโสกราช ท่านชุมนุมกันบรรจุไว้แต่ครั้งก่อนนั้นลงมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์เมืองละโว้สองปี พระองค์สวรรคต เมื่อ พ.ศ.๑๐๔๓

    ข้อมูลจาก .:: พงศาวดารเหนือ - คลังปัญญาไทย ::.
     
  5. อินทนนท์๑

    อินทนนท์๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุงบอกไว้ว่า เมืองตักศิลาคือจังหวัดกำแพงเพชรครับท่าน
     
  6. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ขอบคุณนะครับ สำหรับข้อมูล ซึ่งจะต้อง หาหลักฐาน พิสูจน์ และยืนยันให้ได้ ครับ เพราะ ข้อมูลที่มีอยู่ เวลานี้
    ตักกศิลา น่าจะอยู่ที่ จังหวัดตาก
    โกสัมพี น่าจะอยู่ที่ กำแพงเพชร
    อุชเชนี น่าจะอยู่ที่ อุทัยธานี
     
  7. poo88888

    poo88888 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ตักกศิลา มีหลายที่ครับ เค้าคงตั้งชื่อเมืองที่เป็นศูนย์กลางแหล่งความรู้ความสามารถในแต่ละที่ครับ แต่ของแท้ดั้งเดิมคือที่ปากีสถานครับ
     
  8. patus

    patus สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +23
    ขอติดตามการค้นคว้าของพี่เอกไปเรื่อยๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...