เยือนสารคาม-ชมอลังการโบสถ์ ย้อนอารยธรรม‘ทวารวดี-ขอม’

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 21 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8b2e0b8a3e0b982e0b89ae0b8aae0b896e0b98c-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a1e0b8ab.jpg

    เยือนสารคาม-ชมอลังการโบสถ์ ย้อนอารยธรรม‘ทวารวดี-ขอม’

    อลังการโบสถ์ – จังหวัดมหาสารคาม เป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสาน จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบหลักฐานว่าได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปาลวะของอินเดียในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี อาทิ ขุดพบพระพิมพ์ดินเผา รวมทั้งพบพระบรมสารีริกธาตุที่บริเวณกลางทุ่งนาใน เขต อ.นาดูน และที่ อ.กันทร วิชัย

    พบหลักฐาน เป็นพระพุทธรูปยืนแกะสลักจากหิน

    ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระพุทธมงคลเมือง และวัดพระพุทธมิ่งเมือง เป็นต้น

    นอกจากนี้ ในพื้นที่มหาสารคาม ยังพบร่องรอยวัฒนธรรม “ขอม” ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีประเภทโบราณวัตถุสถานที่สร้างขึ้น เนื่องในสายวัฒนธรรมแบบเขมร หรือแบบขอมอยู่หลายแห่ง กระจายอยู่หลายพื้นที่ทั่วทั้งจังหวัด ซึ่งชาวอีสานตามความเชื่อวัฒนธรรมลาว ได้เรียกโบราณสถานวัตถุเหล่านี้ว่า “กู่”

    8b2e0b8a3e0b982e0b89ae0b8aae0b896e0b98c-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a1e0b8ab-1.jpg

    นายสมชาติ มณีโชติ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า จากหลักฐานประเภทศิลปะโบราณวัตถุสถานแบบเขมรในพื้นที่ จังหวัดมหา สารคาม ได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์–ฮินดู ที่ได้แผ่อิทธิพลผ่านมาทางวัฒนธรรม “ขอม” ที่เป็นโบราณวัตถุสถานสร้างขึ้นเนื่องในสายวัฒนธรรมแบบเขมรหรือแบบ โดยได้รับอิทธิให้เห็นในรูปแบบปราสาท ลักษณะการก่อสร้างได้รับอิทธิพล ทั้งลักษณะรูปแบบการก่อสร้างและคติความเชื่อมาจากอาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ ไม่น้อยกว่าราวพุทธศตวรรษที่ 15 และต่อเนื่องมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 18

    ทั้งนี้ในบรรดาอาคารสิ่งก่อสร้างในสายวัฒนธรรมเขมร ส่วนใหญ่มีทั้งใช้อิฐ ศิลาทรายและศิลาแลง เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างและเรียกอาคารเหล่านี้ว่า ปราสาท หรือปราสาทหิน ใช้เป็นศาสนสถานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนานิกายมหายาน สถานที่ปราสาทขอมโบราณตั้งอยู่จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าดินแดนเหล่านี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอมที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ต่อมาภายหลังชาวอีสานตามความเชื่อวัฒนธรรมลาว ได้เรียกปราสาทเหล่านี้ว่า “กู่”

    8b2e0b8a3e0b982e0b89ae0b8aae0b896e0b98c-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a1e0b8ab-2.jpg

    ปัจจุบันกู่หลายแห่งได้รับการขุดแต่งจากกรมศิลปากร จนมีสภาพที่สมบูรณ์ และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญสร้างรายได้เข้า ท้องถิ่น นอกจากนั้นกู่บางแห่งชาวบ้านในท้องถิ่นซึ่งเป็นความเชื่อวัฒนธรรมลาว เชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงนำพระพุทธรูปเข้าไปตั้งไว้เพื่อสักการบูชา และเข้าไปจัดงานบุญประเพณี อาทิ สรงกู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น

    [​IMG] [​IMG]

    เป็นที่น่ายินดีที่สถาบันการอุดมศึกษาในพื้นที่ได้มีโครงการปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมกันอนุรักษ์โบราณสถานสมัยขอมเหล่านี้เอาไว้ให้อยู่คู่ชุมชน

    หลังจากเที่ยวชมกู่โบราณสถานสมัยขอมแล้ว ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา ที่น่าสนใจ นั่นคือการเที่ยวชมอุโบสถพุทธศิลป์สร้างใหม่ อาทิ

    8b2e0b8a3e0b982e0b89ae0b8aae0b896e0b98c-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a1e0b8ab-3.jpg
    อุโบสถไม้วัดป่าวังน้ำเย็น

    1.อุโบสถไม้วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง เป็นอุโบสถหลังใหญ่ วัสดุก่อสร้างใช้ไม้ซุงขนาดใหญ่ทั้งหลัง เฉพาะเสาไม้ซุงจำนวน 32 ต้นใหญ่ กว้าง 32 เมตร ยาว 70 เมตร

    8b2e0b8a3e0b982e0b89ae0b8aae0b896e0b98c-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a1e0b8ab-4.jpg
    อุโบสถรูปทรงเรือวัดหนองหูลิง

    2.อุโบสถรูปทรงเรือวัดหนองหูลิง ต.มิตรภาพ อ.เมือง เป็นอุโบสถที่มีรูปทรงแปลกตาแตกต่างจากอุโบสถทั่วๆ ไป รูปทรงสถาปัตยกรรมสร้างเป็นรูปทรงเรืออนันตนาคราช มีความกว้าง 40 เมตร ยาว 20 เมตร

    8b2e0b8a3e0b982e0b89ae0b8aae0b896e0b98c-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a1e0b8ab-5.jpg
    อุโบสถวัดป่าหนองชาด

    3.อุโบสถวัดป่าหนองชาด หมู่ 2 หมู่บ้านหัวหนอง ต.ดอนเงิน อ.เชียงยืน ถือเป็นวัดที่มีพระอุโบสถสวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม วิหารคดที่ล้อมรอบอุโบสถฝาผนังวิหารประดับไปด้วยพระพิมพ์สมเด็จสีทอง ทั้งด้านใน และด้านนอก มากกว่า 10,000 องค์ ส่วนตรงกลางเป็นพระอุโบสถสร้างจากวัสดุไม้รูปทรงประยุกต์เป็นการรวมศิลปะของ 3 ชาติเข้าไว้ด้วยกัน คือ ลาว พม่า และไทย

    8b2e0b8a3e0b982e0b89ae0b8aae0b896e0b98c-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a1e0b8ab-6.jpg
    อุโบสถรูปทรงเรือวัดวังยาววารี

    4.อุโบสถรูปทรงเรือวัดวังยาววารี บ้านวังยาว หมู่ 2 ต.เกิ้ง อ.เมือง ก่อสร้างในปี 2556 สิ้นค่าก่อสร้างกว่า 6 ล้านบาท ลักษณะสถาปัตยกรรมสร้างเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ ออกแบบได้สวยงามลงตัวภายในอุโบสถมีพระพุทธชินราชเป็นพระประธานตามฝาผนังมีภาพเขียนพุทธประวัติเพื่อให้พุทธศาสนิกชน ที่มาวัดได้ศึกษาเรียนรู้

    8b2e0b8a3e0b982e0b89ae0b8aae0b896e0b98c-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a1e0b8ab-7.jpg
    อุโบสถไม้ วัดโพธิ์ศรี

    5.อุโบสถไม้ วัดโพธิ์ศรี ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย พุทธศิลป์ล้านช้างผสมล้านนา ถึงจะเป็นอุโบสถที่ไม่ใหญ่โตแต่จุดเด่น คือ ตัวอาคารก่อสร้างด้วยไม้มีการแกะสลักบาน ประตูหน้าต่าง ตกแต่งรอบตัวอาคาร สวยงามคลาสสิคให้บรรยากาศที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติกิจของสงฆ์

    จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว หากมีโอกาสผ่านเข้ามายังเมืองมหาสารคาม ไม่ควรพลาดแวะเที่ยวชมโบราณสถานสมัยขอม และชมพระอุโบสถที่สวยงาม

    โดย : เชิด ขันตี ณ พล

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_2235112
     

แชร์หน้านี้

Loading...