วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนโดย พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    อรูปฌาน ๔

    ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงวิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่างคือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะรวม ๔ อย่างด้วยกัน


    อรูปฌานทั้ง ๔ นี้เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญสำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความว่างเป็นสำคัญ


    อานิสงส์อรูปฌาน

    ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌานที่ได้แล้ว ยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้อรูปฌานนี้แล้วเมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือมีคุณสมบัติพิเศษ เหนือจากที่ทรง
    อภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และ คุณสมบัติพิเศษอีก ๔ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ท่านอธิบายมาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัดไม่เสียความ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้พิสดารเข้าใจชัด
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่างอัศจรรย์
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่างอัศจรรย์

    ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทาหรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญา แล้วท่าน
    มาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาทของอรูปฌาน คือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึง จตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย

    คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่านที่ได้กสิณจนคล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้ว จึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้ ฉะนั้นท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกันอยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอาโลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันทีในสมัยที่เป็นฌานโลกีย ส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรงปฏิสัมภิทาไม่ได้ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะ
    ปรากฏบังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้


    ๑. อากาสานัญจายตนะ
    การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐานละเอียดทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้ มีความสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบายไม่ตรงตามความเป็นจริง

    ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ ก็ต้องได้กรรมฐานกองนั้น ๆ มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็ เช่นกันอาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสาม สำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมาพอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จ มรรคผลใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอดได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ฉลาดจริงเข้า ท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกัน ส่วนด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษาในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบแต่ถึงจะได้ไม่ครบก็ทราบว่าแนวของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ ๆ ฟุ้งได้บ้างพอสมควร

    อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะนี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญว่ากสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญความสุข ความทุกข์ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็นต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณนั้น ถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศไว้โดยกำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน

    ๒. วิญญาณัญจายตนะ
    อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนดอากาศจากอรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนดว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิตที่อาศัยรูปอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตาม แต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะวิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาดกำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือนจิต โดยคิดว่า เราต้องการจิตเท่านั้น รูปกายอย่างอื่นไม่ต้องการ จนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์

    ๓. อากิญจัญญายตนะ
    อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณแล้วเพิกวิญญาณคือไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้น การไม่มีอะไรเลยเป็นการปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิต ไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้

    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์


    เป็นจบเรื่องอรูปกันเสียที เขียนมานี้อึดอัดเกือบตาย เป็นอันว่าเขียนไว้คร่าว ๆ ไม่รับรองผิดถูกเพราะปฏิบัติไม่ได้ ก็ไม่ยอมรับรอง เรื่องกรรมฐานนี้เดาไม่ได้ ขืนเดาก็เละหมด สมัยเป็นนักเทศน์เคยถูกท่านอาจารย์ไล่เบี้ยอารมณ์กรรมฐานเสียงอม เดาท่านก็ไม่ยอม ท่านให้ตอบตามอารมณ์จริง ๆ ผิดนิดท่านให้ตอบใหม่ ท่านทรมานเอาแย่ แต่ก็ขอบคุณท่าน ถ้าท่านไม่ทำอย่างนั้น ก็คงไม่สนใจอะไรเลย เพราะกลัวขายหน้าคนฟังเทศน์ ที่ไหนบกพร่องก็รีบซ่อม ถึงอย่างนั้น พอเจออภิญญากับสมาบัติเข้าคราวไร เป็นยกธงขาวหราทุกที

    (ขอยุติอรูป ๔ ไว้เพียงเท่านี้)
     
  2. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนของอาจารย์คณานันท์

    ส่วนความรู้บทต่อไปเรื่องอรูปฌานนะครับ ตรงจุดนี้ ขอย้ำว่า มีคุณอนันต์และโทษมหันต์ครับ เพราะ อานิสงค์ของท่านที่ได้ อรูปฌานและพิจารณาในวิปัสนาญาณต่อจนบรรลุธรรม จะมีผลทำให้ได้ปฏิสัมภิทาญาณโดยอัตโนมัติครับ ตั้งแต่ อนาคาจนถึงอรหันตผลครับ การได้ปฏิสัมภิทาญาณนั้นมีผลทำให้
    1.มีอภิญญาใหญ่ปรากฏเต็มรูปแบบ
    2.มีความสามารถรู้ภาษามนุษย์และสัตว์ได้ทุกภาษา
    3.ทรงพระไตรปิฏกได้ทั้งหมดแม้ไม่เคยเรียน เคยศึกษา
    4.สามารถสอนธรรมมะที่ง่ายๆ มาแจงให้พิศดาร
    5.สามารถสอนธรรมมะที่ยากลึกซึ้งให้กลายเป็นง่ายดาย เข้าใจง่าย

    ---ส่วนเหตุผลที่ทำให้ การฝึกอรูปฌานแล้วทำให้มีผลแห่งปฏิสัมภิทาญาณนั้นเป็นเพราะ ในองค์หนึ่งในอรูปนั้น มีการลบสัญญาความทรงจำ การล้าง ผัสสะจากอายตนะทั้งห้า มีการล้างการปรุงแต่งทางจิตและอารมณ์กระทบทั้งหมด ดังนั้น จึงเปรียบให้เข้าใจง่ายก็คือเมื่อจิตของเราเหมือนฮาร์ดดิสส์ที่มีข้อมูลขยะจาก เรื่องราวต่างๆ ที่มากระทบ ทั้งดี ทั้งร้าย ทั้งมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ บางครั้งทำให้เกิด การ Over Information โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยนี้ ยิ่งมีมหาศาล การเคลื่อนจิตเข้าสู่อรูปฌานได้นั้น เปรียบเหมือน การฟอร์แมตดิสส์ ล้างข้อมูลขยะ และบักของโปรแกรมเสียๆออกไปจนหมด จนจิตเราใสสะอาด ว่างเปล่า และมีเนื้อที่มากพอที่จะบรรจุข้อมูลใหม่ๆที่ดีเข้าไปได้ นั่นคือวิปัสนาญาณ ซึ่งจะทำให้ปฏิสัมภิทาญาณบังเกิดเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั่นเอง

    ----ส่วนที่ว่ามีโทษมหันต์ ก็คือ หากแม้น จิตเราติดหรือพอใจ หรือหลงว่าอรูปนี้คือ นิพพาน (โดยเฉพาะที่เชื่อว่านิพพานคือความว่าง) เมื่อตายไปจิตเราจะไปเกิดเป็นอรูปพรหม ซึ่งไม่มีสัญญา ไม่มีการติดต่อ ไม่สามารถคิด หรือสร้างบุญใหม่ หรืออธิฐานไปเกิดเพื่อ สร้างบารมีต่อไปได้ ดังนั้นถึง เสวยบุญนานแต่ก็เสวยบุญหรือความดีจนหมดสิ้น จนหมดบุญก็ต้องเสวยกรรมคือนรกทันที ไม่สามารถใช้เทคนิคแบบเทพพรหมชั้นอื่นที่พอใกล้หมดบุญก็รีบย่องไปสร้างบารมีเพิ่ม หรืออธิฐานลงมาเกิดเพื่อสร้างบุญ เติมบุญไม่ให้พร่องในขณะที่มีพลังบุญพอที่จะทำได้ ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสรู้ และระลึกรู้ว่าอ.ทั้งสองของท่านได้ตายและไปติดยังอรูปพรหม จึงได้อุทานว่า อ.ของท่านทั้งสองได้ฉิบหายเสียจากความดีเสียแล้ว ด้วยอาการฉะนี้

    ---ดังนั้น พระท่านและหลวงพ่อจึงสอนอรูปและสอนการยกอารมณ์วิปัสนาญาณต่อเนื่องไปจนถึง อารมณ์นิพพานเสมอ เพื่อป้องกันศิษย์ของท่านให้เข้าถึงความดีสูงสุดในพระพุทธศาสนาครับ



    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณให้เห็นความทุกข์ ความเสื่อม ความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความสกปรกในร่างกาย อยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน ให้จิตสะอาดและคลายจากความยึดมั่นในร่างกาย

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของอรูปฌาน และได้ วสี ความชำนาญในการเข้าออกฌานของอรูปฌานด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน ฌานและอรูปฌาน สมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ----ขอให้เริ่มการเข้าฌานสี่ โดยการจับภาพพระพุทธเจ้าเป็น พุทธานุสติกรรมฐาน ควบกับกสิณแสงสว่าง โดยการ จับภาพพระพุทธเจ้า ที่ใสสว่างและค่อยๆขาวขึ้น สว่างขึ้น จนเปร่งแสง สว่างเต็มที่เหมือนพระอาทิตย์ทรงกรด และยังเปร่งรัศมีเป็นเพชรระยิบระยับแพรวพราว เป็นแก้วประกายพรึก

    ----จากนั้นเข้าอรูปฌานที่หนึ่ง ชื่อ อากาสานัญจายตนะ โดยการเพิก ถอนภาพพระพุทธรูปออกจากจิต แต่ให้จิตตั้งมั่นในสภาวะที่เป็นอากาศที่เว้งว้าง ว่างเปล่า เห็นเมือน จิตเราลอยอยู่ในที่โล่งขาว ว่างเปล่าไปหมด กำหนดในจิตว่าอากาสเหล่านี้ว่างมากไม่มีนิมิตรเครื่องหมายอะไร มีแต่ความว่างไร้แก่นสารใดๆ จนอารมณ์ทรงตัว หยุดนิ่งอยู่กับอากาศที่เว้งว้างนี้ เมื่อจิตทรงตัวดีจัดว่าเป็น อรูปฌานที่ 1.

    ----กลับมาจับภาพพระพุทธรูปที่ใสเป็นแก้วประกายพรึกจากนั้น เพิกภาพนิมิตรออกไป จากนั้นเคลื่อนจิตเข้าสู่ วิญญานัญจายตนะ พิจารณาว่า วิญญานก็คือจิต ที่ไม่เที่ยงมีอาการคิด ไปๆมาๆหาที่สุดที่หยุดไม่ได้ ไปยึดติดกับวัตถุ บ้าง คนบ้าง ไม่มีความแน่นอนเดี๋ยวก็ชอบ เดี๋ยวก็เกลียด ไม่มีความเที่ยงแท้ เราไม่สนใจในจิต ที่กวัดแกว่งไปมา เราต้องการคืออากาศที่เว้งว้างว่างเปล่าหาขอบเขตไม่ได้ ให้จิตทรงตัวกับอารมณ์ที่ว่างจากความคิดมีเพียงสภาวะแห่งความว่างเว้งว้างว่างเปล่า เมื่อจิตทรงตัว ก็ถือว่า ได้อรูปฌานที่ 2

    -----จับภาพพระพุทธรูปใสเป็นแก้วประกายพรึก จากนั้นเคลื่อนจิตสู่อากิญจัญญายตนะฌาน พิจารณาเห็นว่า วัตถุ สิ่งของทุกอย่างในโลกล้วนแตกสลาย ผุพังไปหมด บ้านเรือน ภูเขา กำแพง รวมทั้งร่างกายเรา ล้วนผุพังแตกสลายจนหมด วัตถุและดลกนี้ล้วนไร้แก่นสาร สุดท้ายย่อมกลายเป็นอากาศที่เว้งว้างว่างเปล่า เมื่ออารมณ์ ทรงตัว จิตก็เข้าสู่อรูปฌานที่ 3

    ----จิตจับภาพพระพุทธรูปใสเป็นแก้วประกายพรึก และเพิกนิมิตรออกจากจิต พิจารณา เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน ว่า อันสัญญา ความรู้สึก ความจำได้หมายรู้นั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์เพราะเราไปปรุงแต่ง ดังนั้น ร้อนก็ช่าง หิวก็ช่าง หนาวก็ช่าง คนด่าก็ช่างคนชมก็ช่าง ไม่ใส่ใจปรุงแต่งในผัสสะทั้งห้า มีสัญญาก็เหมือนไม่มีสัญญา เฉยๆไปในทุกสิ่ง มีเพียงความว่างเว้งว้างจิตไม่รับรู้ในอายตนะ และไม่ปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น จิตทรงตัวอยู่กับความเว้งว้างว่างเปล่า ไม่มีพื้น ไม่มีเพดาน ไม่มีขอบเขตใดๆ เมื่อจิตทรงตัว ก็ได้ชื่อว่าได้อรูปฌานที่ 4 จบสมาบัติแปด

    ---จากนั้น ใช้กำลังของสมาบัติแปด ยกอารมณ์จิตในวิปัสนาฌานมาพิจารณา สังโยชน์สิบ
    ไล่ตั้งแต่พิจารณาร่างกายเราว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของสกปรก เป็นรังของโรค
    จากนั้นพิจารณาว่าเรามีความมั่นคงในพระรัตนไตย และตั้งมั่นในสัมมาทิษฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติ
    พิจารณาว่า ศีลของเราบริสุทธ์ และจิตเราเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารสี่
    พิจารณาว่า จิตใจเราเห็นโทษในกามคุณห้า จากสิ่งล่อคือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ว่าเป็นเครื่องล่อหรือกับดักให้เราหลงพอใจในชาติภพ ติดอยู่ในสังสารวัฏนี้ เราจะเพิกทิ้งเสีย
    พิจารณาต่อไปว่าเมื่อกามฉันทะเรายังละได้ พยาบาท ความโกรธ ปฏิฆะ ความหงุดหงิด จึ๊กจั๊ก รำคาญใจเราย่อมตัดทิ้งไม่ยึดถือ ให้จิตดองอยู่กับยาพิษแห่งจิตแบบนั้นอีกต่อไป
    พิจารณาต่อไปว่า พรหมก็ดี อรูปพรหมก็ดียังไม่เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ที่เดียวที่เราต้องการคือพระนิพพาน ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงเมตตาสั่งสอนเรามานั่นเอง
    ใช้กำลังฌานแปดตัดความมานะถือตัวว่าเราดีกว่าเราเก่งกว่าเราโง่กว่า เราฉลาดกว่าออกไปจากจิต
    จิตไม่มีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ จิตมั่นคงอยู่จุดเดียวคือพระนิพพานเป็นอารมณ์
    จากนั้นใช้กำลังฌานทำลายอวิชชา อันคือความโง่ความไม่รู้ ความหลง ความยึดติด ทั้งมวล ล้างออกไปจากจิต จิตรู้เท่าทันภาวะความเป็นไปในร่างกายขันธ์ห้าทั้งของเราและของบุคคลอื่น ปล่อยวางจากการยึดติดในชาติภพ เบื่อหน่าบในร่างกาย เบื่อหน่ายการเวียนว่ายตายเกิดจิตต้องการจุดเดียวคือพระนิพพาน เมื่อจิตรู้เท่าทันความเป็นจริงของอริยสัจสี่ จิตก็เข้าถึงความเป็นธรรมดาในทุกสิ่ง ยอมรับกฏแห่งกรรมโดยไม่มีความทุกข์ใดเกาะใจเราได้อีก เป็นปรกติ และธรรมชาติสูงสุดในธรรม

    ----จากนั้นยกจิตขึ้นสู่พระนิพพาน จะสังเกตุเห็นว่าอาทิสมานกายของเราสว่างไสว กว่าปรกติขึ้นอย่างมาก แยกจิตออกกราบพระ และทุกท่านผู้มีพระคุณ จากนั้นอธิฐานกำกับว่าขอให้เราจำอารมณ์และใช้กำลังของสมาบัติแปดนี้ได้ทุกครั้งที่ต้องการเพื่อใช้ตัดกิเลสได้ด้วยเทอญ
    ----จากนั้นกราบลาทุกๆพระองค์และแผ่เมตตาอัปปันนาณฌาน ด้วยกำลังของสมาบัติแปด บนพระนิพพาน แล้วจึงทิ้งอาทิสมานกายไว้ ที่วิมานของตนบนพระนิพพานครับ

    ----ขอกราบโมทนาท่านที่ทำได้ทุกท่านครับ ขอให้ท่านเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาครับ



    ขอทบทวนและเน้นหลักของอรูปฌานก่อนนะครับ โดยหลักการแล้วผมยึดแนวคำสอนของทางหลวงพ่อฤาษีลิงดำครับ และอธิบายตามที่พระข้างบนท่านบอกและตามอารมณ์ที่ตนเองทำได้ครับ

    หลักของอรูปฌาน หรือการวางอารมณ์ในอรูปฌาน
    1.อรูปฌานนั้นต้องใช้พื้นฐานของฌานสี่ และยกจิตขึ้น คล้ายอารมณ์วิปัสนาญาน แต่ยังไม่ใช่วิปัสนาญาน

    2.นิมิตรของอรูปฌานทั้งสี่ คล้ายกัน คือ เหมือนจิตลอยอยู่ในที่ว่าง เว้งว้างว่างเปล่า สี่ขาว สุดสายตา แต่ อารมณ์พิจารณาของฌานแต่ละฌานแตกต่างกัน

    3.เมื่อใช้มโนมยิทธิ ขึ้นไปดูสภาวะของท่านที่อยู่ในอรูปพรหมแล้ว จะมีสภาวะ เหมือนดวงสว่างมีหยักแบบลูกฟัก (โบราณจึงเรียกว่าพรหมลูกฟัก) ลอยนิ่งๆอยู่เต็มไปหมด ในภพนั้น ไม่มีรูป ไม่มีการรับรู้ รับส่งญาณใดๆ กล่าวคือท่านที่ได้ อรูปฌาน เป็นอรูปพรหมนี้พอใจในภาวะที่ไร้รูป ไร้อายตนะ ไร้การปรุงแต่ง จิตจึงเหมือนตลบกลับมาห่อหุ้มดวงจิตของตนเองเอาไว้จากสภาวะภายนอกทั้งปวง ส่วนคล้ายเปลือกของจิตที่หุ้มนี้ จึงมีลักษณะ เป็นหยัก เป็นลอน ต่างจากจิตทั่วไปที่เป็นดวงกลม

    4. เมื่อได้อรูปฌาน ครบหรือได้สมาบัติแปด แล้วควรใช้กำลังจากสมาบัติแปด เป็นฐานในการวิปัสนา ตัดสังโยชน์สิบ ให้ขาดเพื่อยกจิตขึ้นสู่ โลกุตร โดย สังโยชน์สิบนั้นเป็นเครื่องร้อยรัดจิตเราให้มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เปรียบเหมือนเชือกเส้นใหญ่ วิปัสนาญาณเปรียบเหมือนดาบที่มีความคม กล้าตามกำลังปัญญาในธรรมของเรา ส่วน กำลังสมาธิและสมาบัติที่ได้นั้นเหมือนกำลังกายที่แข็งแกร่งของผู้ใช้ดาบ ตัดสังโยชน์สิบและกองกิเลส ให้เด็ดขาด เป็น สมุทเฉทประหาร กำลังทั้งของสมถะและวิปัสนา ต้องมีกำลังเพียงพอครับ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้

    นี่คือประโยชน์และการนำสมาบัติแปดมาใช้ครับ ขอให้ก้าวหน้าในธรรมนะครับ
     
  3. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    การปฏิบัติในเรื่องอรูปกรรมฐานของธรค่ะ...


    ๑. ขอให้ทุกคนจับลมสบายตามวิธีที่แต่ละคนถนัด

    ๒. จับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึกให้ได้สว่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้... แล้วอธิษฐานขอให้พระบารมีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านมาสถิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธรูปในจิตของเรา...
    ทรงอารมณ์ใจนี้ไว้สักระยะ... พร้อมกับน้อมจิตยอมรับนับถือองค์พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด ไม่มีที่พึ่งอื่นใดจะประเสริฐไปกว่านี้อีกแล้ว... เสร็จแล้วนึกให้เห็นภาพตัวเองก้มลงกราบที่พระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา... มีองค์หลวงปู่ปาน และองค์หลวงพ่อฤาษีเป็นที่สุด... พร้อมๆ กัน

    ๓. จากนั้นอธิษฐานต่อไปว่า ขอให้องค์พระพิชิตมารทรงเมตตามาเป็นประธาน และเป็นพยานให้แก่ข้าพเจ้าในการอธิษฐานดังต่อไปนี้...

    แล้วน้อมนึกถึงศีลที่ตัวเองถือปฏิบัติอยู่... ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ตาม... โดยน้อมนึกว่า...
    "ณ ขณะนี้ ศีล ๕ (๘) ของข้าพเจ้าสมบูรณ์ บริบูรณ์ดีทุกประการ... ข้าพเจ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ได้ลักขโมยผู้ใด ไม่ได้ผิดลูกผัว - เมียใคร ไม่ได้พูดโกหกมดเท็จใดๆ ไม่ได้เสพสุราของมึนเมา หรือเล่นการพนันแต่อย่างใด... (ไม่ได้ทานอาหารหลังเที่ยง, ไม่ได้ใช้เครื่องไล้ของหอม เว้นจากการฟ้อนรำ ดูสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ได้ใช้เครื่องประดับตกแต่งใดๆ, ไม่ได้นอนบนที่นอนสูงใหญ่)"

    ๔. กราบขอขมากรรมต่อองค์พระรัตนตรัย โดยการอธิษฐานว่า...
    "- ข้าแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ หากข้าพระพุทธเจ้าได้เคยคิดประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อองค์พระรัตนตรัย อันมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งครูบาอาจารย์ทั้งหลาย พรหมเทพเทวา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ขอองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... ได้โปรดอดโทษทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"
    ก้มลงกราบพระบาทพระองค์ท่านอีกครั้ง

    ๕. เสร็จแล้วจับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึก... แล้วเพิกภาพพระนั้นออกเสีย... ให้เห็นแต่สภาวะที่เป็นอากาศที่เวิ้งว้าง ว่างเปล่า เป็นที่ที่โล่งขาว ว่างเปล่าไปหมด แล้วกำหนดจิตอธิษฐานว่า...
    "ความเวิ้งว้างว่างเปล่านี้ไม่มีสาระแก่นสารใดๆ ข้าพเจ้าไม่ขอยึดถือ ยึดติดกับความว่างเปล่านี้" เสร็จแล้วทรงอารมณ์นี้ไว้สักพัก...

    ๖. เสร็จแล้วจับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึกอีกครั้ง... แล้วเพิกภาพพระนั้นออกเสีย... ให้เห็นว่าจิตของเราลอยอยู่ในจักรวาลที่มีดาวเคราะห์น้อยใหญ่มากมาย แล้วดึงภาพของดาวโลกเข้ามาใกล้ๆ ให้เห็นตึกรามบ้านช่อง วัตถุสิ่งของต่างๆ... แล้วนึกให้เห็นว่าทั้งดวงจิตของเรา ดาวเคราะห์น้อยใหญ่นั้น และวัตถุธาตุทั้งหลาย สลายตัวลงเป็นฝุ่นผง จนมลายหายไปในที่สุด... จนเหลือแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่าของจักรวาลที่ขาวโพลนไปหมด โดยหาขอบจักรวาลไม่ได้... แล้วกำหนดจิตว่า...
    "วัตถุธาตุทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งดวงจิตของเราเองล้วนไม่เที่ยงแท้แท้แน่นอน... หาสาระใดๆ ไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ขอยึดถือวัตถุธาตุทั้งหลายเหล่านี้เป็นสาระแก่นสารใดๆ ทั้งสิ้น" ทรงอารมณ์นี้ไว้สักพัก...

    ๗. กลับมาจับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึก... แล้วเพิกภาพพระนั้นออกเสีย... ให้เห็นว่าอายตนะทั้ง 6 นั้นล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน... ไม่ว่าจะเป็นตาที่เห็นรูป จมูกที่ได้กลิ่น หูที่ได้ยินเสียง ลิ้นที่รับรสอาหาร กายที่รับสัมผัสต่างๆ และใจที่ต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งทั้งปวง... แล้วนึกให้สัมผัสอันเกิดจากอายตนะทั้ง 6 นั้นสลายตัวไปเหลือแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่า... แล้วกำหนดจิตว่า...
    "อายตนะทั้ง 6 ล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เปลี่ยนแปลง รวนเรไปมา หาสาระแก่นสารใดๆ ไม่ได้สักอย่าง ข้าพเจ้าไม่ขอยึดถือ ยึดติดกับสิ่งทั้งปวงที่เกิดจากอายตนะทั้ง 6 นี้อีกต่อไป" ทรงอารมณ์นี้ไว้สักพัก...

    ๘. จับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึกอีกครั้ง... แล้วเพิกภาพพระนั้นออกเสีย... ให้เห็นว่าสัญญาความจำได้หมายรู้ ความรัก โลภ โกรธ หลง ความอาฆาตแค้นพยาบาท ชิงชัง ความหวาดระแวง หวาดกลัวสิ่งต่างๆ ความทุกข์ และความสุขต่างๆ ที่เป็นสัญญาความจำทั้งในอดีตชาติ ตั้งแต่ปฐมชาติ มาจนกระทั่งในชาติปัจจุบันนี้... ล้วนนำมาซึ่งความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เป็นสิ่งที่หาประโยชน์ใดๆ ไม่ได้... แล้วนึกให้สัญญาความจำทั้งหลายทั้งมวลนั้นสลายตัวไปไม่เหลืออะไรติดค้างอยู่ในดวงจิตอีกเลย มีแต่ความว่างเปล่าเท่านั้น... กำหนดจิตอธิษฐานว่า...
    "ข้าพเจ้าขอน้อมจิตสลายสัญญาความจำได้หมายรู้ทั้งหมดทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปฐมชาติมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ความรัก โลภ โกรธ หลง ความอาฆาตแค้นพยาบาท ชิงชัง ความหวาดระแวง หวาดกลัวสิ่งต่างๆ ความทุกข์ และความสุขต่างๆ ที่เป็นสัญญาความจำทั้งหลายทั้งมวลนั้น... สัญญาความจำเหล่านั้นล้วนหาสาระแก่นสารใดๆ ไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ขอยึด ขอติดอีกต่อไปนับแต่บัดนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน" แล้วประคองจิตนั้นไว้สักพัก...

    ๙. อธิษฐานต่อว่า... "ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาการเวียนว่ายตายเกิดใดๆ อีกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในอบายภูมิก็ดี มนุษย์ภูมิก็ดี เทวภูมิ รูปพรหมภูมิ หรืออรูปพรหมภูมิก็ดี... ทุกภพภูมินั้นมีทั้งความทุกข์และความสุข... ถึงจะมีความสุข แต่ก็เพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น หมดบุญหมดวาสนาเมื่อใดก็ต้องลงมาพบกับความทุกข์โศกอีกไม่จบไม่สิ้น ดังนั้นตายจากชาตินี้ ภพนี้เมื่อใด ขอให้ดวงจิตของข้าพเจ้าพุ่งตรงสู่พระนิพพาน เพื่อจะได้กราบพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บนพระนิพพานนั้นในทันทีด้วยเถิด" ทรงอารมณ์นี้ไว้จนกว่าจะพอใจ ตอนนี้อารมณ์ใจของท่านจะสว่าง โล่ง โปร่ง เบา สบาย ไร้ความทุกข์ ความกังวลใดๆ ทั้งสิ้น...

    ให้ท่านอธิษฐานกำกับอีกครั้งว่า...
    "ขอให้ข้าพเจ้าประสบพบ และเข้าถึงซึ่งอารมณ์จิตนี้ได้ทุกที่ทุกสถาน ทุกกาลเวลา ทั้งยามหลับ ยามตื่น ทั้งยามที่รู้สึก และไม่รู้สึกตัว ตามแต่ที่ข้าพเจ้าปรารถนา นับแต่บัดเดี๋ยวนี้ไปตราบจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"

    ๑๐. จากบนพระนิพพานนั้น... ให้น้อมนึกถึงกุศลผลบุญ อีกทั้งความดีงามทั้งหลายที่เคยสร้างมาดีแล้วให้มารวมตัวกันที่ดวงจิต (นึกให้เห็นดวงจิตของคุณสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐานขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรดังนี้...
    "- ข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศส่วนกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าได้เคยกระทำมาตั้งแต่ต้นกัปต้นกัลป์ จนมาถึงปัจจุบันนี้ และที่จะทำต่อไปในอนาคต... ให้แก่ท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย... ขอให้ทุกๆ ท่านมาร่วมกันอนุโมทนาและได้รับซึ่งกุศลผลบุญเหล่านี้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน...
    (ตอนนี้ให้นึกเห็นรัศมีความสว่างของกุศลผลบุญ ความดีงามทั้งหลายจากดวงจิตของเราแผ่ออกไปคลุมร่างของเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา)
    - และข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินพวกท่านไปด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ขอให้พวกท่านทั้งหลายได้โปรดอโหสิกรรมทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ"

    ๑๑. ขอให้ทุกคนประคองจิตจับภาพพระด้วยใจที่เบาสบาย โล่งโปร่งต่อไป... หลังจากนั้นให้น้อมนึก อโหสิกรรม - ให้อภัย -ให้แก่ผู้ที่เคยล่วงเกินทุกๆ ท่านมา อธิษฐานว่า...
    "- นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะมีแต่จิตใจที่ใสสะอาด บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยความดีงาม เปี่ยมไปด้วยความเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย... ข้าพเจ้าอโหสิกรรม ยกโทษให้แก่ พรหม-เทพเทวา สรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายที่เคยล่วงเกินข้าพเจ้ามาด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ข้าพเจ้าไม่ถือโทษโกรธเคืองใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ขอเป็นเจ้ากรรมนายเวรของผู้ใด และขอให้พวกท่านทั้งหลายมีความสุขกาย สุขใจ เป็นสัมมาทิฐิ พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งมวล มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม และมีพระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ"



    ๑๒. ท้ายที่สุดให้คุณน้อมนึกถึงความสุข สดชื่น ความอิ่มเอม เปรมปรีด์ ความชุ่มชื่นใจ... ความรักที่บริสุทธิ์ที่ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน... ความสุขที่สุดที่เมื่อเรานึกถึงครั้งใดก็ตามจะสามารถเรียกรอยยิ้มให้เราได้ ทำให้เรารู้สึกว่าโลกนี้ยิ้มไปกับเราด้วย ทำให้โลกนี้สว่างไสวมีแต่ความเบิกบาน ... ความดีงามทั้งหลายที่เคยสร้างมาดีแล้ว อีกทั้งกุศลผลบุญทั้งหลาย พรหมวิหารสี่ และอภัยทานที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในดวงจิตของคุณให้มารวมตัวกัน (นึกให้เห็นดวงจิตของคุณสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐานแผ่เมตตาอัปปมาณฌานว่า...
    "- บุญ คือ ความสุขที่ปรากฏ ณ บัดนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมถวาย ความสุข ส่วนกุศลผลบุญ อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทาน แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ ต่อกันมาโดยมีองค์หลวงปู่ปาน และองค์หลวงพ่อฤาษีเป็นที่สุด อีกทั้งท่านพ่อ ท่านแม่ ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย บูรพกษัตริย์ไทย บรรพชนไทย นักรบไทยทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... พรหมเทพเทวา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีท่านท้าวจตุมหาราช และท่านพญายมราชเป็นที่สุด...
    - ขอทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน ได้โปรดมาร่วมกัน รับและอนุโมทนาในส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้ และขอได้โปรดมาเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลผลบุญในครั้งนี้ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ...
    (น้อมนึกให้เห็นว่าในมือคุณมีดอกบัวแก้วสว่างไสวแพรวพราว ซึ่งเกิดจากกุศลผลบุญของคุณมารวมตัวกันเป็นดอกบัวนั้น... แล้วน้อมถวายแด่ทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน) พร้อมกับอธิษฐานต่อว่า...
    - และข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศความสุข ส่วนกุศลผลบุญ อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทานนี้ ให้แก่เหล่าสรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล อนันตจักรวาลนี้... ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี... ขอให้ทุกๆ ท่านจงมาร่วมกันอนุโมทนาและรับซึ่งส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้เฉกเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะพึงได้รับนับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน... ขอให้ทุกๆ ท่าน เป็นสัมมาทิฐิ ประสบแต่ความสุข พ้นจากความทุกข์ พ้นภัยจากวัฏฏสงสาร มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลัน ได้สัมผัสและมีพระนิพพานอันเป็นบรมสุขเป็นหลักชัยโดยถ้วนทั่วกันด้วยเทอญ"

    แล้วน้อมนึกให้เห็น หรือให้รู้สึกว่าตัวของเราเองสว่างไสวมีแสงรัศมีสีทองเป็นประกาย อันเป็นรัศมีแห่งความรัก ความสุข ความเมตตา ที่เรามีให้แก่สรรพสัตว์ไม่มีวันจบวันสิ้น ไม่มีประมาณ... นึกให้แสงแห่งความเมตตานี้ค่อยๆ แผ่ปกคลุมอาณาบริเวณที่เราอยู่ให้สว่างไสวเรืองรอง เมื่อจิตของสรรพสัตว์ดวงใดได้สัมผัสกับรัศมีนี้ก็ขอให้มีความสุข ความสงบ ความชุ่มเย็นไปด้วย จิตเรายิ่งเปล่งรัศมีมากเท่าไหร่ จิตเราก็จะยิ่งมีความชุ่มเย็นมากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น... ขยายอาณาเขตของการแผ่รัศมีสีทองเป็นประกายระยิบระยับนี้ให้ค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเรื่อยๆ ให้ปกคลุมไปทั่วสากลจักรวาล อนันตจักรวาลนี้โดยไม่มีประมาณ ไม่มีขอบ ไม่มีที่สุด... เมื่อจิตเรายิ่งแผ่รัศมีออกไปได้กว้างไกลและครอบคลุมมากเท่าไหร่ จิตของเราก็จะยิ่งอิ่มเอิบ แย้มยิ้มมากเท่านั้น...
    ยิ่งให้มากเท่าไหร่ จิตเราก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นไปเท่านั้น ประคองอารมณ์ใจที่แสนจะปิตินี้เอาไว้ให้นานที่สุดจนกว่าจิตจะพอใจ...

    เสร็จแล้วให้น้อมนึกเอาอทิสมานกายของเราเองไปกราบองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่าน และถอนจิตออกจากสมาธิช้าๆ โดยการหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ 3 ครั้ง พร้อมภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ...


    ด้วยพระบารมีแห่งองค์พระรัตนตรัย และกุศลผลบุญที่บังเกิดขึ้นนี้... ขอได้โปรดมารวมตัวกันและส่งผลให้ทุกๆ ท่านมีดวงจิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อภัยทาน มีความสุขทั้งทางโลก ทางธรรม เป็นสัมมาทิฐิ... มีดวงตาเห็นธรรม... เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป... เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลัน... และมีพระนิพพานเป็นหลักชัยโดยถ้วนทั่วกันด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2008
  4. หญ้าคา

    หญ้าคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +138
    พี่ธรครับผมขออนุญาติก๊อลฟฟายของพี่ไปอ่านต่อที่บ้านนะครับ ขอบคุณครับ
     
  5. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ตามสบายเลยค่ะหญ้าคา... อ่านแล้ว ลองปฏิบัติตามแล้ว... ได้ผลอย่างไรมาพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันบ้างนะคะ...
     
  6. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    สัมผัสธรรม

    IMG_0232_resize.jpg

    IMG_0233_resize.jpg

    ...ละเอียดอ่อนลึกซึ้งซึ่งความหมาย
    แสนเรียบง่ายตาสื่อใจส่งรู้
    วกวนเวียนหมุนตามกาลฤดู
    สุดท้ายอยู่ตรงเราที่เข้าใจ<O:p</O:p
    ...มากเหตุผลคำอ้างอธิบาย<O:p</O:p
    มากสีสันระบายใจใส่ไว้
    มากความคิดหลากแง่มุมมองไป
    มากรู้สึกรักใดจำกัดความ
    ...ตัดโลภหลงกามาออกจากรัก
    จึงตะหนักรักสวยสุดเลิศล้ำ
    แผ่ไมตรีด้วยรักดุจทองคำ<O:p</O:p
    สายแห่งรักงดงามยามถักทอ<O:p</O:p
    .......................ธรรมดา(ฯ)

    [​IMG]
     
  7. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    สัมผัสธรรม

    IMG_0222_resize.jpg

    IMG_0221_resize.jpg

    ...อยู่ที่ไหนความสุขอยู่ที่ไหน
    อยู่ใกล้ไกลความสุขอยู่ไหนหนอ
    อยู่บนฟ้าใต้ดินยังเฝ้ารอ
    อยู่บนดาวดวงไหนหนอช่วยบอกที
    ...อันที่จริงความสุขอยู่เคียงชิด
    เป็นเพียงเงาน้อยนิดยามทุกขี
    เป็นตะวันดวงใหญ่ยามยินดี
    แค่เรามีสายตามองหากัน
    ...ไม่ได้แอบไม่ได้ซ่อนกายาไว้
    อยู่ที่ใครจะคิดจะมีฝัน
    อยู่ที่ใครจะมีใจให้แก่กัน
    อยู่ที่ใครคนนั้นจะหันมอง
    ..................ธรรมดา(ฯ)

    [​IMG]
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แผ่นดินว่าใหญ่ ใจคนใหญ่กว่า
    ทะเลว่ากว้าง ยังเล็กกว่าน้ำใจคน
    สุขที่มองโลกในทางที่ควรจะเป็น
    แม้แอบกายา ยังไม่อาจสะกดใจ

    ดวงตาคู่นั้น ที่สะท้อนดาว
    มอบความรักทุกที่ทุกแห่งหน
    ไม่เคยหวังได้คืน แค่อยากให้รับ
    โลกจะสวยขึ้น ยิ้มให้กัน
     
  9. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    สัมผัสธรรม

    IMG_0237_resize.jpg

    ...หนทางถนนวกวนเส้นสาย
    จะเลือกทางใดอยู่ที่ใจตน<O:p</O:p
    หากแม้เลือกผิดชีวิตสับสน<O:p</O:p
    อย่าเพิ่งอับจนเรื่องธรรมดา<O:p</O:p
    ...ผิดก็คือผิดปล่อยมันให้ผ่าน<O:p</O:p
    เรื่องของวันวานอย่ามัวโศกา<O:p</O:p
    เลือกทางเดินใหม่ที่ดียิ่งกว่า<O:p</O:p
    ชีวิตเกิดมาสิทธิ์เราเลือกไป<O:p</O:p
    ...มีดำมีขาวมีมืดมีแจ้ง<O:p</O:p
    ชีวิตเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นคิดใหม่<O:p</O:p
    เลือกคิดทำรับสิ่งดีลงไว้<O:p</O:p
    บรรจุลงในใจจิตวิญญาณ<O:p</O:p
    ...เลือกเกิดไม่ได้เรื่องของชีวิต<O:p</O:p
    แต่เราลิขิตขีดเส้นทอสาน<O:p</O:p
    ถักร้อยผูกต่อก่อเกิดผลงาน<O:p</O:p
    เลือกเส้นทางธารคืองานของเรา<O:p</O:p
    ...........................ธรรมดา(ฯ)

    [​IMG]
     
  10. obniti

    obniti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +305
    เห็นข้อความของคุณ sutatip__b และคุณ xorce อยากอ่านต่อครับ เมื่อต้นปี 50 ผมก็
    เข้าไปวุนวายกับเรื่องของ bio -diesel จนมาเห็นความเป็นอนิจจังชัดเจนเมื่อพับโครงการไปตอนปลายปีเพราะจับได้ว่าผู้รับเหมาทำโรงงานไม่รู้จริง ผมสวดมงกุฎพระพุทธเจ้าตอนล้างหน้าทุกเช้า คุณsutatip__b ช่วยเล่าต่อสาเหตุที่เลิกทำ bio อธิบาย
    เป็นแนววิชาช่วยให้พ้นภัยก็ได้ครับจะได้ไม่หลุดจากห้องนี้
     
  11. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    นำ YouTube น่าสนใจมา ฝากค่ะ :)
    :love: คลิก ตรง " ชื่อเรื่อง " ได้เรยน่ะค่ะ


    YouTube - บารมี10ทัศ
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD>เพลงธรรมะ-บารมี10ทัศ เป็นหลักในการสะสมบุญ
    เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ดีงาม

    เสถียรธรรมสถาน
    New animation mother & world


    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มงคลชีวิต38ประ การ
    เพลงธรรมะ-มงคลชีวิต38ประการ เพื่อใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
    อย่างมีค วามสุขทั้งโลกนี้ และในวัฏฏสงสารอันยาวไกล
    ตราบจนเข้าถึงพระนิพพาน

    เกมไตรภูมินรก
    This RPG game idea An adventure in Thai/Buddhist mythology.
    One must explore lands in different regions of the underworlds
    and hells to recover the Dhamma flags and power gems.
    These items keep the universal forces balanced and stable.
    From Imagine Group and Dhamma Studios.

    [​IMG]


    Buddhist Meditation Music
    Chakra Meditation Music

    สุดยอดธรรมะ
    สุดยอดธรรมมะ ฉบับพินัยกรรม 3 เล่มนี้
    จะทำให้ผู้คนที่จมทุกข์ได้เห็น เข้าใจ และนำไปใช้เป็นแนวทางชีวิต
    ถึงไม่ใช่ให้พ้นทุกข์เสียทีเดียว ตราบใดที่เรายังไม่สิ้นกิเลส
    แต่ยังน้อยก็ให้เราเข้าใจในทุกข์ แม้เพียงสักช่วงหนึ่งของชีวิตก็ยังดี


    Morning Chanting A
    ราม เมือง Las Vegas มลรัฐ Nevada USA สวดทำวัตรเช้า
    หลวงพ่อเทียน วัดป่าพุทธยานันทาราม การเจริญสติ สติ สมาธิ

    [​IMG]


    สวดองค์แห่งการรู้แจ้ง A
    มลรัฐ Nevada USA สวดโพฌงค์ ๗ หลวงพ่อเทียน
    วัดป่าพุทธยานันทาราม การเจริญสติ สติ สมาธิ

    "คำครู" ตอนที่ ๑
    คะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ... หลวงพ่อเทียน หลวงพ่อคำเขียน
    การเจริญสติ สติ สมาธิ


    [​IMG]

    สอนวิปัสสนากรรมฐานโดยหลวงพ่อจรัญ ตอนที่ 1/9
    สอนวิปัสสนากรรมฐานโดยหลวงพ่อจรัญ ตอนที่ 1
    (การเตรียมตัววิปัสสนากรรมฐาน)





    (||)(||)(||)(||)(||)(||)
     
  12. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    วิธีการพิจารณามรณานุสติแบบที่ผมกำลังใช้อยู่นะครับ
    เป็นตัวอย่างคราวๆ

    ขณะที่ผมกำลังนั่งอยู่หน้าคอมนั้น อยู่ดีๆคอมพิวเตอร์ก็เกิดระเบิดขึ้น
    ร่างกายของผมก็ถูกเศษกระจกนับพันๆชิ้นพุ่งเข้ามาหา
    ทำให้ผมขาดใจตายในทันที

    เอ.....แล้วเราตายแล้วจะไปไหนดี จะไปพระนิพพานเท่านั้น
    ผมจึงจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึกแล้ว คิดว่าตอนนี้ผมตายแล้ว
    ทรัพย์สมบัติทางโลกก็ต้องวางไว้นี่ ร่างกายของเราก็ต้องวางไว้นี่
    แต่อาทิสมานกายของเราก็จะต้องไปยังที่อื่นต่อไป

    ในเมื่อตอนนี้เราได้ตายไปแล้วเราจะไปยังพระนิพพานเท่านั้น จะไม่ไปที่อื่นเด็ดขาด

    แล้วผมก็จะนึกภาพตัวเองตายในหลายลักษณะ หลายๆเวลา
    เช่น พอผมข้ามถนนอยู่ ผมก็นึกภาพว่ามีรถพุ่งเข้ามาชนผม ทำให้ผมกระเด็นลงไปกองกับพื้น ขาดใจตายในทันทีอีกเช่นกัน

    ที่ต้องพิจารณาความตายแบบนี้เพื่อให้เราไม่ประมาท พอถึงยามตายจริงๆ จะได้มีความชินในการไปยังพระนิพพาน

    ดังนั้นขอให้ทุกๆคนหมั่นพิจารณาความตาย เพื่อให้จิตใจ ปล่อยวางจากความยึดมั่นต่างๆ
    เรานั้นสามารถตายได้จริงๆณตอนนี้ แล้วเราจะไปไหนดี
    อย่างไรก็ขอให้เลือกสุคติภูมิ อันมีพระนิพพานเป็นที่สุดเอาไว้

    การพิจารณาความตายนั้นยังส่งผลให้จิตแยกจากร่างกาย
    มีผลในการถอดกายทิพย์แบบเต็มกำลังด้วย แถมยังบรรเทาสังโยชญ์ ทำให้อารมณ์จิตผ่องใสมากขึ้นอีกด้วย
     
  13. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    อนุโมทนาจ้าน้องชัช ส่วนมากเวลาเดินทางไปต่างจังหวัดตัวเองจะคิดในด้านไม่ดีก่อน
    จะคิดไปแล้วเราจะได้กลับมาเจอคนในครอบครัวไหม แล้วถ้าไม่ได้กลับมาล่ะจะทำอย่างไร วางกำลังใจของเราว่าถ้าจิตออกจากร่างจะนึกถึงอะไรเป็นอันดับแรก ทุกวันนี้ยังคิดแบบนี้ตลอด ไม่มีใครหรอกที่อยากให้เกิดอันตรายขึ้นกับตัวเอง แต่ว่าเราควรจะนึกเอาไว้บ้าง เพื่อความไม่ประมาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กรกฎาคม 2008
  14. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    ตอนนี้รู้สึกว่าสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น มันกำลังจะเกิดขึ้น การยึดติดกับความสุขทางโลกเป็นอันสูญเปล่า แต่การสร้างความสุขทางใจนี่สำคัญกว่า ถามว่าการสร้างความสร้างสุขทางใจนั้นไปถึงไหนแล้ว ขอตอบว่าพอดีๆ แต่ไม่อยากประมาท ไม่อยากพลาด ไม่อยากแพ้
    ตอนนี้ถามว่า เกิดมาเพื่ออะไร ตอบ//ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อตัวเอง เพื่อส่วนรวม
    ถามว่า เกิดมาเพื่ออะไร เมื่อ 1-2 ปีที่แล้ว เพื่อตัวเอง เพื่อความสุข และเพื่อความสุขที่สุด
    สรุป วันนี้ เพื่อตัวเอง เพื่อส่วนรวม วันหน้า เพื่อส่วนรวม และส่วนมาก
    ตอนนี้ทำได้ดีแค่ไหน ตอบ พยาม พยาม และพยามที่จะทำมากที่สุด
     
  15. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454


    ทีนี้เมื่อจิตของพระองค์ไปถึงขั้นจตุตถฌาน พอจะขยับก้าวหน้าไปสู่อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตามลำดับไม่ไปเช่นนั้น พอขยับจะก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง จิตพระองค์วกเข้าไปสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ
    เรียกว่าเข้านิโรธสมาบัติ นิโรธสมาบัติเป็นฐานสร้างพลังจิตเพื่อกระโดดก้าวขึ้นไปสู่ภูมิธรรมขั้นโลกุตตระ พอจิตของพระองค์ไป
    สร้างพลังงานอยู่ที่ตรงนี้พร้อม จิตของพระองค์จึงเบ่งบานออกมาอีกครั้งหนึ่ง ในตอนที่อยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นเป็นสมาธิที่
    ละเอียดสุขุมที่สุด ถ้าไม่ใช่วิสัยปัญญาอย่างพระพุทธเจ้า ก็อาจจะเข้าใจว่าสำเร็จพระนิพพานในขั้นนี้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันดับหมด
    แม้แต่จิตวิญญาณก็ทำท่าจะดับหมดสิ้นไป จะยังเหลือปรากฏอยู่จิตที่ละเอียดที่สุด เมื่อเข้ามาถึงตอนนี้ ได้พลังพร้อม จิตเบ่งบานออกมา
    อีกครั้งหนึ่ง แผ่รัศมีครอบคลุมจักรวาลทั้งหมด ทำให้พระองค์ตรัสรู้เป็น โลกวิทู ผู้รู้แจ้ง คือรู้ยมโลก ได้แก่ภพภูมิของภูตผีปีศาจ เปรตอสุรกาย
    ทั้งสัตว์นรก พระองค์รู้ในขณะจิตเดียว แล้วรู้ภพภูมิของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่าโลกมนุษย์ รู้ภพภูมิของเทวดาตั้งแต่เทวดาชั้นจาตุมจนกระทั่ง
    ถึงพรหมโลกชั้นอกนิฏฐาพรหม พระองค์รู้ในขณะจิตเดียว นอกจากจะรู้ความเป็นไปของโลกทั้ง ๓ ยังรู้อดีตชาติของพระองค์ว่าเคยเกิดมา
    กี่ภพกี่ชาติ นอกจากจะรู้เรื่องของพระองค์แล้ว ยังรู้เรื่องของคนอื่นและสัตว์อื่นด้วย ว่าสัตว์ในจักรวาลนี้แต่ละตนแต่ละตัวเกิดมาแล้วกี่ภพกี่ชาติ
    อันนี้เรียกว่า รู้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ในเมื่อรู้ความแตกต่างของภพภูมิของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็มารู้กฏเกณฑ์แบ่งชั้นวรรณะ แบ่ง
    ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้เรื่องการจุติและการเกิดของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกฏของกรรม ซึ่งเรียกว่า จุตูปปาตญาณ
    แล้วก็รู้ อาสวักขยญาณ คือ อวิชชาโมหะอันเป็นต้นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำกรรมไปตามที่ตนเข้าใจ เพราะความรู้ไม่จริงย่อมทำสิ่ง
    ที่เป็นบาปบ้าง สิ่งที่เป็นบุญบ้าง เมื่อทำขึ้นมาแล้วก็ได้รับผลของกรรม ได้รับผลของกรรมก็แล้วแต่กฏของกรรมจะซัดให้ไปเกิดในภพใดภูมิใด
    ให้ไปตกนรกก็มี ให้ไปเกิดเป็นเปรตอสุรกาย เป็นเทวดา อินทร์พรหมยมยักษ์ซึ่งอำนาจของกิเลสเป็นผู้บันดาลให้สัตว์ทั้งหลายต้องทำกรรม
    ปุพเพนิวาสานุสติญาณก็ดี จุตูปปาตญาณก็ดี อาสวักขยญาณก็ดี พระองค์ตรัสรู้ในขณะจิตเดียวตั้งแต่ปฐมยาม การตรัสรู้อยู่ในขณะที่จิตทรงสมาธิ
    ขั้นสมถกรรมฐาน แต่เป็นสมถกรรมฐานขั้นโลกุตตรภูมิ จิตไม่มีร่างกายตัวตน แต่สามารถรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ รู้เห็นอย่างนิ่งๆ ไม่มีภาษาสมมุติ
    บัญญัติจะเรียกอะไรว่าเป็นอะไร แต่จิตดวงนี้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ เอาไว้พร้อมหมด ทั้ง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ
    ทำไมจิตในขณะนั้นจึงคิดไม่เป็น เพราะไม่มีร่างกายตัวตน จิตของคนเราจะแสดงอาการคิดนึกขึ้นมาได้ต้องอาศัยประสาทางสมอง คืออาศัยกาย
    นี้เองจึงจะคิดเป็น แต่ถ้าหากว่าจิตดวงนี้แยกจากกายไปอยู่เอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวพันกัน สามารถรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่คิดไม่เป็น
    นี่คือธรรมชาติความเป็นจริงของจิตเป็นอย่างนี้ ทีนี้ในเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้เป็นโลกวิทูแล้ว เมื่อจิตของพระองค์ถอนจากสมาธิมาพอมารู้สึกว่า
    มีกายเท่านั้น จิตตัวนี้จึงมาพิจารณาทบทวนปุพเพนิวาสนุสติญาณคือการระลึกชาติหนหลังได้ ว่าเราเกิดมากี่ภพกี่ชาติ เคยเป็นอะไรมาบ้าง
    สัตว์ทั้งหลายเกิดมากี่ภพกี่ชาติ เคยเป็นอะไรมาบ้าง พระองค์พิจารณาเรื่องนี้จบลงในปฐมยาม เมื่อพิจารณาเรื่องปุพเพนิวาสนุสติญาณจบลงแล้ว
    พระองค์ก็พิจารณาต่อไปซึ่งในช่วงนี้จิตของพระองค์ปฏิวัติตัวไปเองโดยอัตโนมัติ ไปพิจารณาเรื่องกฏของกรรม ว่าทำไมสัตว์ทั้งหลายจึงไปเกิด
    ในภพภูมิต่างๆ กัน ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะกฏของกรรมภาษิตที่ว่า กัมมัง สัตเต วิภชติ กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้มีประเภทต่างๆ เกิดขึ้นตั้งแต่
    ในสมัยนั้นเมื่อพระองค์พิจารณากฏของกรรมคือจุตูปปาตญาณจบลงในมัชฌิมยาม แล้วก็ไปพิจารณาเรื่องกิเลสอาสวะคืออวิชชาความรู้ไม่จริง
    ว่าสัตว์ทั้งหลายทำไมจึงต้องทำกรรม ทำกรรมดีบ้าง ทำกรรมชั่วบ้าง เพราะความรู้ไม่จริงๆ แล้วก็ทำกรรมไปตามที่ตนคิดว่าถูกต้อง แต่ว่าสิ่ง
    ที่ทำนั้นมันเป็นทั้งบุญเป็นทั้งบาป มีทั้งดีมีทั้งชั่ว เมื่อทำลงไปแล้วมันก็เกิดวิบากคือผล เมื่อได้รับผลของกรรม กฏของกรรมก็ส่งหนุนให้
    เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารไม่รู้จักจบจักสิ้น เรื่องนี้พระองค์พิจารณาจบลงไปในปัจฉิมยาม คือจวนใกล้รุ่ง ในเมื่อพิจารณา ๓ อย่างนี้ตาม
    ลำดับยามทั้ง ๓ คือ ปฐมยาม พิจารณาเรื่องปุพเพนิวาสนุสติญาณ มัชฌิมยาม พิจารณาเรื่องจุตูปปาตญาณ ปัจฉิมยามพิจารณาเรื่อง
    อาสวักขยญาณ อาสวกิเลส ในเมื่อพิจารณาจบลงไปแล้ว จิตยอมรับสภาพความจริง ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้เห็นมานั้นเป็นความจริงแท้
    ไม่แปรผันอรหัตตมรรคญาณจึงบังเกิดขึ้นในขณะจิตนั้น แล้วก็ตัดกิเลสอาสวะขาดสะบั้นไป จึงทำให้พระองค์สิ้นภพสิ้นชาติ สิ้นอาสวกิเลส
    ถึงซึ่งความบริสุทธิ์สะอาดโดยสิ้นเชิง แม้กิเลสน้อยหนึ่งเท่าธุลีมิได้เหลือติดอยู่ในพระทัยของพระองค์อีกแล้ว แล้วกิเลสทั้งหลายก็ไม่สามารถ
    ที่จะมาประทุษร้ายดวงจิตของพระองค์ดวงนี้ให้เศร้าหมองอีก ก็เป็นว่าบรรลุถึงแดนอมตะ จึงได้พระนามว่า อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2008
  16. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    เพราะฉะนั้น สาธุชนทั้งหลายผู้ที่มุ่งหวังจะปฏิบัติสมาธิให้ได้ผลอย่างแท้จริง อย่าไปข้องใจสงสัยในหลักและวิธีการ เราจะบริกรรมภาวนาคำไหนก็ได้ ถ้าใครนับถือศาสนาคริสต์ให้บริกรรมภาวนาเยซู ถ้าใครนับถืออิสลามให้บริกรรมภาวนาถึงพระเจ้าอัลเลาะห์ ถ้าใครถือศาสนาพุทธภาวนาพุทโธ เมื่อท่านตั้งใจภาวนาจริงๆ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิจิตหยุด นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน มีแนวโน้มเป็นอย่างเดียวกันหมด เพราะ สมาธิเป็นสัจจธรรมมีหนึ่งเดียว จะแตกต่างกันไม่ได้ แต่วิธีการนั้นเราอาจจะใช้อุบายวิธีต่างกัน แต่ผลลัพธ์ก็คือสมาธิอันเดียวกันนั้นเอง

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บรรดาครูบาอาจารย์ที่สอนกรรมฐานในปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท<O:p</O:p
    ประเภทที่ ๑. รู้หลักวิธีการตามตำรับตำรา แต่ทำสมาธิไม่เป็น ก็ไม่รู้เรื่องของสมาธิ<O:p</O:p
    ประเภทที่ ๒. รู้หลักวิธีการทำสมาธิเก่ง มีประสบการณ์มาก ย่อมเข้าใจในเรื่อง

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ความเข้าใจคำว่าสมาธิของคนในปัจจุบันนี้ก็มี ๒ อย่าง<O:p</O:p
    ๑. ผู้บริกรรมภาวนาน้อมจิตบังคับจิตให้หยุดนิ่ง เมื่ออาศัยความคล่องตัวชำนิชำนาญ เราต้องการจะให้จิตของเราหยุดนิ่งเมื่อไรก็ได้ เมื่อจิตหยุดแล้ว เราก็ต้องตั้งใจประคองจิตให้หยุดนิ่งอยู่ อันนี้มันเป็นแต่เพียงความสงบที่เราแต่งเอาได้ ไม่ใช่สมาธิ แต่สมาธิที่แท้จริงนั้น ในเมื่อจิตหยุดนิ่งได้ แล้วจิตแปรสภาพไปเป็นอย่างอื่น คือ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน หรือรู้สึกแจ่มๆ ภายในส่วนลึกของจิต มีความรู้พร้อมในขณะจิตนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ก็รวมลงสู่จุดนั้นคือความปกติของจิต เมื่อจิตวูบ ๆ ๆ ๆ ๆ ลงไป สัญญาเจตนาที่จะให้จิตรู้เห็นอะไรก็ไม่มี จิตจะไปสู่สมาธิขั้นใดญาณขั้นใด หรือจะเกิดความรู้ใดๆ ขึ้นมา จิตจะปฏิวัติตัวไปเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งเราไม่ได้ควบคุม เราไม่ได้มีสัญญาเจตนาใดๆ ที่จะไปควบคุมจิต หรือเราไม่ได้ตั้งใจจะน้อมจิตไปรู้ไปเห็นอะไร แต่จิตจะปฏิวัติตัวไปรู้ไปเห็นเอง ซึ่งเรียกว่าเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ อันนี้จริงจะได้ชื่อว่าเป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิอย่างแท้จริง
    <O:p</O:p
    ในเมื่อจิตของเราเป็นสมาธิแล้ว ทางไปของจิตมีอยู่ ๒ อย่าง
    <O:p</O:p
    ๑. จิตสงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน แล้วก็สงบละเอียดๆ จนกระทั้งร่างกายตัวตนหายไป อันนี้จิตสงบเป็นสมาธิในสายฌานสมาบัติ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นสมาธิในฌานสมาบัติ แต่เราก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติซึ่งจิตจะปฏิวัติตัวไปเองโดยอัตโนมัติจะเป็นอย่างไรก็ตาม ทีนี้สมาธิอีกแบบหนึ่ง บางทีเราอาจจะภาวนาพุทโธ พุทโธ ๒-๓ คำ จิตวูบลงไปนิดหนึ่ง ความรู้ความคิดผุดขึ้นมายังกับน้ำพุ ในลักษณะอย่างนี้ท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน ในเมื่อเกิดมีสมาธิแล้ว เป็นสมาธิที่มีวิตก วิจาร วิตกก็คือความคิด วิจารก็คือสติรู้พร้อมอยู่ที่จิต ถ้าหากว่าจิตเกิดมีปิติ มีความสุข แล้วก็ไม่ได้วิ่งตามความคิดไป เพียงแต่กำหนดรู้จุดเกิดของความคิด ความคิดนั้นคืออะไรจิตไม่สนใจ ได้แต่รู้จิตอย่างเดียว อันนี้เรียกว่า สมาธิวิปัสสนา เป็นสมาธิที่เป็นไปตามแนวทางแห่งอริยมรรคอริยผล ในเมื่อท่านทั้งหลายทำจิตให้สงบนิ่ง เป็นสมาธิแล้วพอภาวนา จิตสงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบานขึ้นมา แต่กายยังปรากฏ จิตยังสัมพันธ์กับกาย ยังรู้สึกว่ากายมีอยู่ ในช่วงปีติและความสุขย่อมบังเกิดขึ้นแต่ถ้าหากว่าจิตของเราส่งกระแสออกไปนอก จะเกิดมโนภาพคือนิมิต ในเมื่อจิตของท่านผู้ใดไปรู้เห็นนิมิตให้กำหนดรู้จิตอย่างเดียว อย่าไปเกิดความเอะใจ หรือไม่ต้องไปยึดมั่นในนิมิตนั้นๆ เพียงแต่กำหนดรู้จัตของตนเอง เฉยอยู่เท่านั้น นิมิตนั้นจะนิ่งอยู่ตลอดเวลาไม่ไหวจิงจนกระทั้งเกิดนิมิตติดตาเรียกว่า อุคคหนิมิต แต่ถ้าหากว่านิมิตนั้นมีอาการเปลี่ยนแปลงยักย้ายไปมา หรือบางทีอาจจะเห็นเนื้อหนังพังลงไปยังเหลือแต่กระดูก โครงกระดูกทรุดฮวบลงไปแหลกละเอียดหายจมลงไปผืนแผ่นดินในตอนนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตนี้เป็นจิตก้าว ขึ้นสู้ภูมิแห่งวิปัสสนากรรมฐานถ้าหากว่าจิตไปสำคัญมั่นหมายในความเปลี่ยนแปลงก็รู้ความไม่เที่ยงคืออนิจจังเมื่อรู้อนิจจังก็รู้ทุกขังคือความทนอยู่ไม่ได้ของสิ่งนั้น ในเมื่อรู้อนิจจัง ทุกขัง เราก็รู้อนัตตาคือความไม่เป็นตัวของตัวของนิมิตหรือสิ่งรู้สิ่งนั้น เราก็ได้รู้ธรรม เห็นธรรม แต่ถ้าหากว่าจิตของเราไม่ไปอย่างนั้นพอสงบ สว่าง ร่างกายยังปรากฏจิตวิ่งตามลมเข้ามาสงบ นิ่ง สว่าง อยู่ในท่ามกลางของร่างกาย ก็จะมองเห็นอวัยวะภายในกายนี้ทั่วหมดในขณะจิตเดียวครบอาการ ๓๒ แล้วจิตจะค่อยสงบละเอียดๆ ไปสู่จุดที่เรียกว่าร่างกายหาย ยังเหลือแต่จิตดวงเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2008
  17. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ทีนี้ถ้าหากว่าจิตผ่านการสำรวจภายในคือร่างกายรู้อาการ ๓๒ เมื่อร่างกายคืออาการ ๓๒ หายไป ยังเหลือแต่จิตดวงเดียว นิ่ง สว่าง ไสว ถ้าจิตมีภูมิพอที่จะรู้ธรรมเห็นธรรม จิตจะย้อนมองมาดูกาย จะเห็นร่างกายขึ้นอืด เน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไปจนไม่มีอะไรเหลือ เมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้ว ก็จะบอกกับตัวเองว่า นี่แหละคือการตาย ตายแล้วก็ขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล เนื้อหนังพังไปเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกเหลือแต่โครงกระดูก กระดูกก็แหลกละเอียดลงไป หายจมลงไปในผืนแผ่นดินไหนเล่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขามีที่ไหน มันมีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้น ในเมื่อกายกับจิตยังสัมพันธ์กันอยู่ ก็ยังมีชีวิตอยู่ตลอดไป ถ้ากายกับจิตแยกจากกันเป็นคนละส่วน ส่วนกายก็เน่าเปื่อยผุพังไปตามธรรมชาติ ส่วนจิตก็ไปตามกฏของกรรมแล้วแต่กรรมจะหนุนส่งให้ไปเปิดที่ไหน อันนี้ทางหนึ่งที่จิตจะเป็นไป อีกทางหนึ่ง ถ้าจิตไม่เป็นไปตามแนวทางทั้ง ๒ ทางที่กล่าวมา พอจิตสงบแล้วจิตก็กำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว ในเมื่อจิตรู้อยู่ที่จิต ตอนนิ่งๆ จะรู้เห็นว่าจิตนิ่งๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าหากว่าจิตของเรามีกำลังพอที่จะเกิดภูมิความรู้ มันจะมีปรากฏการณ์วับๆ แวมๆ อยู่ในจิต บางทีก็เป็นความคิดที่ละเอียด บางทีก็เป็นเหมือนเมฆหมอกไหลผ่านไป บางทีก็นิ่งๆ อยู่ว่างๆ ซึ่งแล้วแต่จิตมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทีนี้จิตไปรู้สิ่งที่เกิดดับอยู่ภายในจิต เรียกว่าจิตกำหนดรู้ความเกิดดับ ความเกิดดับที่ปรากฏภายในจิตนั่นแหละเป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ เมื่อสมาธิและสติปัญญาแก่กล้าขึ้น จะกำหนดหมายรู้สิ่งที่เกิดดับว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาถ้าได้ความรู้ในทางธรรมะเป็นภาษาขึ้นมา ก็จะรู้ขึ้นมาว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้วก็ดับไปเป็นธรรม อันนี้คือกฏของธรรมชาติ จิตก็รู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมาเอง เอาละ วันนี้ขอกล่าวธรรมะพอเป็นแนวทางในการพิจารณาของบรรดาท่านทั้งหลาย ก่อนที่จะจากกัน ในฐานะที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์สอนลูกศิษย์ การสอนสมาธิของลูกศิษย์ในห้องเรียนเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ถ้าหากว่าท่านไม่ถือว่ามันเป็นของแปลกใหม่เกินไป เวลาท่านไปยืนหน้าห้องกำลังเตรียมจะสอนนักเรียนท่านอาจจะกล่าวเตือนนักเรียนว่า นักเรียนทุกคนมองมาที่ตัวข้าพเจ้า ส่งจิตมารวมไว้ที่ตัวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดพลังจิตและวิชาความรู้ให้ พวกเธอทั้งหลายจงน้อมรับพลังจิตและวิชาความรู้จากครูอย่างตรงไปตรงมา อย่าบิดพริ้ว มีอะไรก็สอนไป แล้วเตือนไปเป็นระยะๆ ในทำนองนี้ ลูกศิษย์ของท่านจะได้สมาธิในห้องเรียนอย่างไม่รู้สึกตัว ขอฝากความคิดเห็นไว้เพียงแค่นี้ ในท้ายสุดนี้ ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดลบันดาลให้จิตใจของท่านทั้งหลายยึดมั่นในคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดมั่นในเจตนาแน่วแน่ที่จะละบาปความชั่วตามกฏของศีล ๕ แล้วก็ให้จิตของท่านสงบเป็นสมาธิ ได้อุบายวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้จะปรารถนาสิ่งอื่นอันเป็นผลพลอยได้ ก็จงสำเร็จตามปณิธานความปรารถนาในที่ทุกสถานตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.....
     
  18. หญ้าคา

    หญ้าคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +138
    การปฏิบัติของผมยังนับหนึ่งอยู่ครับพี่ธร แต่สิ่งที่ได้ในตอนนี้คือศีลข้อ 5 ผมมั่นใจ 100% จากที่ต่อสู้กับมันมาปีกว่าๆ และอีกข้อหนึ่งที่รักษามาตลอด 30กว่าปี คือข้อ 3 ส่วนข้อ 1-2-4 กำลังดูอยู่ครับ ว่าจะปราบมันยังไงดี
    สิ่งหนึ่งที่ผมชอบก็คือ ท่องคาถาครับ
     
  19. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384

    ^-^ โมทนาด้วยค่ะ... พี่เชื่อค่ะว่าหญ้าคาจะถือศีลได้เป็นปกติครบทั้ง ๕ ข้อแน่... เอาใจช่วยอยู่นะคะ...

    การท่องคาถาก็ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ค่ะ... และพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ และเทวตานุภาพ ก็ยิ่งใหญ่เหลือจะกล่าวจริงๆ... เห็นไหมแค่สวดมนต์ ท่องคาถาเท่านั้น... หญ้าคาได้ปฏิบัติกรรมฐานในข้ออนุสติ ทีเดียว ๔ ข้อ เป็นอย่างน้อยเลยนะ...

    โมทนาด้วยทุกประการค่ะ
     
  20. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    สวัสดีค่ะทุกๆ คน...

    ตอนนี้กรรมฐาน ๔๐ ที่เราศึกษาทบทวนกันอยู่นั้น... เราปฏิบัติกันเกือบจะครบหมดทุกกองแล้วนะคะ...

    เราศึกษา อนุสสติ ๑๐ แล้ว, กสิณ ๑๐ แล้ว, อสุภะ ๑๐ แล้ว, และอรูปฌาน ๔ แล้ว... รวมเป็น ๓๔ กองแล้วนะคะ...

    เรายังเหลือ อาหาเร ๑ ธาตุสี่ ๑ และพรหมวิหาร อีก ๔...

    ดังนั้น คืนนี้ธรจะขอเก็บให้ครบหมดทุกกองเลยนะคะ...

    อย่าเพิ่งเหนื่อย อย่าเพิ่งท้อกันนะคะ... หนักหน่อยสำหรับตอนนี้... แต่เมื่อทุกท่านทำตามไปเรื่อยๆ และหมั่นฝึกทบทวนเองเมื่อมีเวลา... เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุคับขันใดๆ หรือโดนอะไรกระทบกระทั่งให้ดวงจิตต้องหวั่นไหว... พระพุทธธรรมเหล่านี้จะสามารถเป็นเกราะคุ้มครองกาย และ ใจ ของทุกๆ ท่านได้เป็นอย่างดีค่ะ (ถ้าท่านนำไปปฏิบัติจริงด้วยนะคะ)... ^-^...


    ......................................

    ธรขอเริ่มที่อาหาเรปฏิกูลสัญญาเลยนะคะ............


    .........................................................

    คำสอนโดยสมเด็จพระอริยวงษญาณฯ พระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) (สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถือน) - พระประวัติและพระนิพนธ์


    อาหาเรปฏิกูลสัญญา


    นั้นคือ เอกสัญญา ให้สำคัญในอาหารที่บริโภคเข้าไปอยู่ในกายเป็นปฏิกูลพึงเกลียด และอาหารทั้ง ๔ ประการ คือ

    กวฬิงกลาหาร (กวฬิงการาหาร) อาหารกลืนกิน ๑

    ผัสสาหาร อาหารอันสัมผัสถูกต้องให้เกิดเวทนา ๑

    มโนสัญญเจตนาหาร (มโนสัญเจตนาหาร) อาหารอันเกิดแต่เจตนาร้ายแลดีแต่จิต ๑

    วิญญาณาหาร อาหารอันเกิดแต่จิตอันรู้โดยจักษุ ฯลฯ มโน นำมาซึ่งเวทนาทั้ง ๓ นั้น ๑

    ทั้งนี้ชื่อว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญาแล


    .....................................................



    คำสอนโดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ)


    อาหาเรปฏิกูลสัญญา

    อาหาเรปฏิกูลสัญญา พิจารณาสิ่งที่เป็นปฏิกูลในอาหาร รู้จักประมาณอาหารให้สะอาดหมดจด จะเป็นน้ำพริกปลาร้าหรืออะไรก็ตาม เพื่อยังชีวิตให้อยู่
    ไปวันหนึ่ง เพื่อสร้างประโยชน์ต่อไป เรียกว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญา
     

แชร์หน้านี้

Loading...