โล่บังแสงอาทิตย์ อีกความหวังของมนุษยชาติ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 12 ตุลาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    'โล่บังแสงอาทิตย์' อีกความหวังของมนุษยชาติ

    'โล่บังแสงอาทิตย์' อีกความหวังของมนุษยชาติ


    <TABLE style="WIDTH: 480px"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขี่จักรยานแทนการขับรถ หรือเดินขึ้นบันไดแทนที่จะขึ้นลิฟต์ ปิดน้ำปิดไฟเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อลดการใช้พลังงาน เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ได้รับการรณรงค์ผ่านสื่อนานาชนิดเพื่อนำไปสู่การร่วมลดโลกร้อน แม้วิธีการทั้งหลายจะมีส่วนช่วยให้การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิช้าลง แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งภัยธรรมชาติที่โหมกระหน่ำได้

    นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักดาราศาสตร์ชื่อดังของโลก โรเจอร์ แอง เจิล จากแอริโซนา คิดที่จะนำเลนส์ขึ้นไปติดตั้งเป็นโล่บังแสงอาทิตย์ในจุดที่อยู่ห่างจากโลกไป 1 ล้านไมล์ ณ บริเวณที่แรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ไม่มีผล ซึ่งทำให้เลนส์อยู่นิ่งประจำตำแหน่งและสามารถหักเหแสงราว 2 เปอร์เซ็นต์ที่เขาเชื่อว่าจะทำให้อุณหภูมิโลกลดลงได้

    แองเจิลได้สร้างกระจกหักแสงขึ้นมาอันหนึ่ง มันเป็นกระจกหนาที่มีรู เล็ก ๆ กระจายอยู่ กระจกที่ว่านี้ก็จะทำหน้าที่เบนแสงในทำนองเดียวกับที่เลนส์ สามารถจะเบี่ยงรังสีของ ดวงอาทิตย์ได้ในอวกาศ แต่การส่งเลนส์กระจกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 23 นิ้ว ที่ทั้งหนาและหนัก จำนวน16 ล้านล้านชิ้นสู่อวกาศ ต้องมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1.4 ล้านล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกต้องพังทลายไปหลายทศวรรษ

    เลนส์ที่มีขอบหนา 2 นิ้ว หนักไม่เกินหนึ่งออนซ์และหนาหนึ่งไมครอน หรือเศษหนึ่งส่วนห้าสิบของความหนาของเส้นผมมนุษย์ และมีราคาไม่แพง จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัตินี่ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้อย่างใจนึก เพราะลำพังแค่เลนส์แบบที่ว่าก็ใช่ว่าจะผลิตขึ้นได้ง่าย ๆ แล้วยังมีปัญหาในเรื่องการขนส่งจากโลกไปสู่อวกาศที่หลีกเลี่ยงการกระแทกไม่ได้เลยเข้ามาอีก

    ดร.เกลฟ โดวิน วิศวกรไมโครชิพชั้นนำของโลก ได้รับมอบหมายให้ เป็นผู้ผลิตชิ้นเลนส์โดยใช้การเผาแผ่นซิลิคอนที่อุณหภูมิ 900 องศาฟาเรนไฮต์ในเตาเหล็กไร้สนิมที่ใส่ก๊าซแอมโมเนีย ความร้อนทำให้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับซิลิคอน เกิดเป็นฟิล์มซิลิคอนไนไตรด์บาง ๆ เคลือบแผ่นซิลิคอนเอาไว้

    ก่อนจะมีการเพิ่มชั้นวัสดุไวต่อแสงเข้าไปทั้งสองด้านของแผ่นซิลิคอน แล้วฉายแสงเป็นแบบโครงสร้างของรูไปบนแผ่นซิลิคอน ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นในวัสดุไวแสง สายไอออนจะถูกเร่งความเร็วบนแผ่นซิลิคอนเข้าไปกัดพื้นผิวรูขึ้นตามแบบบนแผ่นซิลิคอน โดยแต่ละแผ่นจะใส่เลนส์ได้ 12 เลนส์ และจะทำการหยดน้ำยาเคมีชนิดหนึ่งลงไปละลายวัสดุต้านแสงเป็นขั้นสุดท้าย

    ขั้นตอนต่อไป เบซิล ซิงเกอร์ นักควอนตัมฟิสิกส์ เควิน โอเลียรี่ ผู้บริหารอาจารย์ธุรกิจระดับโลก เจนนิเฟอร์ แลงเกล นักออกแบบก่อสร้างเชิงนิเวศชั้นนำ ทีมทดลองพิเศษของดิสคอฟเวอรี่จะมารับหน้าที่ต่อ พวกเขาพบว่า เลนส์แต่ละอันมีขนาดบางมาก เพียงแค่หยิบออกจากน้ำยาแช่ก็อาจจะทำให้แตกได้แล้ว สุดท้ายเลนส์ซิลิคอนไนไตรด์ที่ผลิตได้ 10 อันก็สามารถรอดพ้นจากการแตกมาได้ 6 อัน

    ปืนสปริงที่สามารถยิงจรวดนำวิถีได้ด้วยความ เร็วสูงเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการได้ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าระดับปฏิวัติวงการในการเดินทางในอวกาศที่จะเกิดขึ้นในราว 30 ปีข้างหน้าถูกเลือกมาใช้ โดยจะมีการสร้างปืนสปริงเส้นผ่าศูนย์กลางปากกระบอก 3 ฟุต กระบอกปืนยาวกว่า 1 ไมล์ 20 กระบอกรอบโลก ฝังเอาไว้ตามภูเขา เพื่อยิงจรวดนำวิถีที่มีเลนส์บังแสงอาทิตย์อยู่ข้างในจะถูกยิงขึ้นไปโดยใช้พลังแม่เหล็กไฟฟ้า

    จรวดแต่ละอันจะนำเลนส์ขึ้นไปด้วย 800,000 อัน แต่เพื่อที่จะให้หลุดจากแรงดึงดูดของโลกไปได้ ปืนสปริงจะต้องเร่ง ความเร็วของจรวดให้ถึงระดับมากกว่า 25,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ภายในความยาวปากกระบอกปืน ด้วยอัตราเร่งระดับ 1000 จี เท่ากับการเร่งจากศูนย์ถึงเกือบ 22,000 ไมล์ต่อชั่วโมงในเวลาเพียง 1 วินาที แต่การเร่งความเร็วในระดับนี้จะสร้างแรงกดดันมหาศาลต่อเลนส์ที่เปราะบาง

    ทอดด์ โทเดสชินี่ นักออกแบบอาวุธ ที่มารับหน้าที่ประดิษฐ์การทดลอง สร้างช่องเก็บเลนส์ที่เป็นสุญญากาศตาม วิธีแก้ปัญหาที่แองเจิลคิดขึ้น และเมื่ออากาศถูกดูดออกจนหมด คลื่นสั่นสะเทือนก็ไม่เกิดขึ้น แต่ทว่าการทดลองครั้งนี้กลับผิดพลาดตรงร่มที่จะนำจรวดกลับมามีคุณภาพ ต่ำ จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเลนส์แตกในช่วงใด

    พวกเขาเชื่อว่า เลนส์น่าจะปลอดภัย ถ้ากรอบของมันแข็งแรงกว่านี้ แองเจิล บอกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะกักเก็บความร้อนและผลกระทบของมันอาจจะคงอยู่เป็นเวลาหลายทศวรรษ ปืนสปริงยักษ์อาจจะส่งโล่บังแสงอาทิตย์ขึ้นไปทำให้อุณหภูมิของโลกกลับสู่ระดับปกติได้ แต่สิ่งสำคัญคือระยะเวลา

    เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของเลนส์ นอกจากจะมีการติดตั้งกล้องเพื่อ มอเตอร์เลนส์ระหว่างการยิงจรวดขึ้นไปแล้ว ความก้าวหน้าของการทดลองอีกก้าวใหญ่ก็คือ การออกแบบกระเป๋าเก็บเลนส์กันสะเทือน โดยมี เดเมียน ฮอลล์ กับโคลิน โรว์ ผู้ผลิตจรวดในอังกฤษ เข้ามาร่วมอีกทีม

    จรวดน้ำหนัก 1,100 ปอนด์ และสูงขนาดจรวดสกั๊ดถูกสร้างขึ้น โดยมีมอเตอร์ 21 ตัวทำหน้าที่เผาไหม้เชื้อเพลิงของจรวด 300 ปอนด์ภายใน 15 วินาที ให้แรงดัน 10 ตันพอที่จะเร่งความเร็วของรถยนต์จาก 0 ถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมงภายในเวลา 2.1 วินาที

    หากว่านี่เป็นการปล่อยโล่บังแสงอาทิตย์จริง ๆ จรวดในอนาคตจะต้องใหญ่และพร้อมที่จะส่งเลนส์ 16 ล้านล้านอันขึ้นสู่อวกาศจะต้องยิงจรวดหนึ่งครั้งทุก 20 นาทีในระยะเวลาหกปีครึ่ง


    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=178030&NewsType=1&Template=1
     
  2. zcracher

    zcracher เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +267
    แล้วทำใมไม่ขนวัตถุดิบไปทำบนอวกาศ หรือ ดวงจันทร์ ล่ะ
     
  3. Khundeaw

    Khundeaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    339
    ค่าพลัง:
    +706
    สิ่งแวดล้อมหนึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งแวดล้อมหนึ่งพึ่งพาสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอ

    เมื่อสิ่งแวดล้อมหนึ่งได้รับผลกระทบย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นเช่นกัน

    การทำโล่กันแสงอาทิตย์....จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมใดบ้าง?........
     
  4. โบ๊ต

    โบ๊ต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    388
    ค่าพลัง:
    +847
    เปลืองตัง
     
  5. jdean

    jdean เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +147
    แก้ที่ปลายเหตุ
     
  6. godman

    godman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,254
    ฝรั่งคิดว่าตัวเองฉลาด
     
  7. ชื่นชม

    ชื่นชม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +39
    ดีนะที่มีคนช่วยกันคิดหาวิธีช่วยโลก แม้จะเพี้ยนๆในสายตาบางคน แต่ในอนาคตอาจจะเป้นสิ่งที่เราต้องนำมาใช้ก็ได้ เราก็ต้องช่วยกันแม้จะเป็นส่วนที่เล็กที่สุดก็ควรต้องทำแค่คิดว่าจะช่วยโลกเราให้พ้นจากสภาวะนี้ได้ก้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเริ่มต้นแล้วจ้า
     
  8. zcracher

    zcracher เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +267
    แต่มีอีกทางง่ายๆเลย เสียเงินพอกัน คือ หยุดทุกโรงงาน ห้ามมีการผลิตอีกเลย
     
  9. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  10. O๐.AnGle.๐O

    O๐.AnGle.๐O เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +861
    วิธีนี้ ผมเคย คิดนะ
     
  11. joselas

    joselas Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2008
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +98
    ไปทำบนอวกาศผมว่าคงไม่สะดวกในภาวะไร้น้ำหนักแน่ๆในการทำงาน
    ส่วนเรื่องดวงจันทร์ที่จริงแล้วบางทีมนุษย์เราอาจจะไม่เคยไปบนดวงจันทร์จริงๆล่ะมั้ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...