วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ปิดท้ายสำหรับวันนี้ ด้วยการมาทบทวนหลักการปฏิบัติพระกรรมฐานตามวิธีการของพระเดชพระคุณหลวงพ่อกันนะคะ...

    ....................................................

    ทบทวนวิธีการปฏิบัติ

    สำหรับวันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปขอได้โปรดตั้งใจศึกษาธรรมะปฏิบัติเพื่อความสุขของจิตต่อไป
    สำหรับการที่จะศึกษาต่อก็ขอทบทวนต้น เป็นการแนะนำตามวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง เพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานจริง ๆ เขาทำกันได้เมื่อเริ่มใหม่ ๆ เขาจะทวนจากของเก่าไปก่อน พยายามทรงอารมณ์ของเดิที่ได้แล้วตามลำดับไปถึงที่สุดที่เราพึงได้แล้วจึงจะทำต่อ

    สำหรับวันนี้ก็จะขอเตือนให้ท่านทั้งหลายตามนึกถึง สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นอันดับแรกที่เราพึงปฏิบัติในเบื้องต้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า "จงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจออก" นี่หมายถึงว่า ทรงสั่งสอนให้เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ สติ แปลว่า การระลึกนึกได้ ว่าเวลานี้เรามีภาวะเป็นอะไร นึกว่าเราจะทำอะไร สัมปชัญญะ ทราบดีว่ากิจนั้นเราทำแล้วหรือยัง เมื่ออารมณ์จิตคิดว่าเราจะทำอะไร การนั้นที่เราทำมันควรไม่ควร เราจะรู้ได้ด้วยสติสัมปชัญญะจะบอกได้เลยว่า ไอ้นี่เป็นกรรมที่เป็น กุศล หรือเป็นกรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นความดีหรือความชั่ว ทำตนให้ไม่ลืมสติสัมปะชัญยะ นึกไว้ในด้านของความดี ระมัดระวังความชั่วไม่ให้เกิด พยายามรักษาอารมณ์ไม่ให้บกพร่องในด้านความดี พยายามริดรอนความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นกับจิต หรือว่าจริยาทั้งหมด ทั้งอารมณ์ของจิต ทั้งวาจาและกาย เราจะต้องระมัดระวัง คือ ใช้สติสัมปชัญญะ ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตทรงอยู่อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง พวกเราระมัดระวังกันหรือเปล่า

    ประการที่สอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำว่า "เราจงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์" ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้บุคคลอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว

    ประการที่สาม ทรงแนะนำให้ระงับนิวรณ์ทั้ง 5 ประการ

    ประการที่สี่ ทำจิตให้ เข้าถึงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ

    อารมณ์อย่างนี้ที่เราจะพึงเข้าถึง พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นการเข้าถึง เปลือกของพระพุทธศาสนา อาการอย่างนี้จิตของเราพร้อมบริบูรณ์แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมก็ปรับปรุงใจเสียให้พร้อม แต่ความจริงศึกษากันมานาน ถ้าอาการอย่างนี้ยังไม่พร้อม ชาตินี้ก็เห็นจะไม่แคล้วอเวจีกันแน่

    อันดับแรกที่มีความสำคัญคือ สติสัมปชัญญะ ถ้าอาการอย่างนี้ยังไม่พร้อม ก็แสดงว่าพวกเรายังไม่มีสติสัมปชัญญะ ถ้าศึกษากันมาขนาดนี้ไม่มีสติสัมปชัญญะ การรับฟังวันละหลายเวลา จะกลายเป็นเอาตาเป็นตากระทู้ เอาหูเป็นหูกะทะ ตากระทู้นี้มันมองอะไรไม่เห็น หูกะทะฟังอะไรไม่ได้ยิน ก็รู้สึกว่าจะไม่ทันแก่ความดีเสียแล้ว ผลที่มันจะติดตามเข้ามาคือ อารมณ์ที่เป็นอกุศลบกพร่องในสติสัมปชัญญะ นี่ควรจะต้องทบทวนไว้ตลอดเวลา

    ประการต่อไป องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่ามรรคต้นที่บุคคลเราจะเข้าถึงเป็นของง่าย นั่นก็คือ มรณานุสสติกรรมฐาน มีประจำใจหรือเปล่า พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติกรรมฐาน สีลานุสติกรรมฐาน เทวตานุสติกรรมฐาน หิริและโอตตัปปะ และ อุปสมานุสติกรรมฐาน ก็คือ การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง ศึกษากันมานาน ถ้ายังไม่รู้สึกว่าแย่ แก้ตัวไม่ทัน นี่ต้องทบทวนจิตไว้เสมอ ว่าอะไรที่เราพึงจะปฏิบัติประการต่อไป องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์แนะนำให้ใช้พรหมวิหาร 4 ให้เข้มข้นจนถึงอภัยทาน

    ที่ท่านกล่าวมาเมื่อกี้นี้ เป็นอาการของพระโสดาปัตติผล เมื่อทำจิตของตนให้เป็นอภัยทาน ความโกรธ ความพยาบาทเกิดขึ้น มีความรู้สึกตัว ไม่ถือโทษโกรธต่อไป ให้อภัยแก่คนผิด ให้อภัยแก่บุคคลผู้คิดประทุษร้าย ไม่ถือโทษโกรธเขา แล้วพยายามกำจัดความโลภด้วย จาคานุสติกรรมฐาน พยายามกำจัดความโกรธด้วยอาศัย พรหมวิหาร 4 มีความเข้มข้น พยายามกำจัดความหลงให้ยิ่งกว่าพระโสดาบัน คือ นอกจากจะนึกถึงความตายแล้วก็คิดว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา สภาวะของร่างกายมีการสลายตัวไปในที่สุด ชีวิตไม่สามารถจะคงทนตลอดกาลตลอดสมัยไปได้ ถ้าเราจะตายก็ตายอย่างคนดี เมื่อยู่ก็เป็นคนดี เมื่อตายแล้วก็เป็นผีเป็นผีดี อย่างนี้เป็นอาการพระสกิทาคามีผล

    อย่างนี้บรรดาท่านทั้งหลายทุกท่านทำได้แล้วหรือยัง หรือได้ระดับไหน วัดกำลังใจของเราดูไว้ คือ ต้องทบทวนกันไว้เป็นปกติ ไม่ใช่ก้าวไปข้างหน้าแล้วลืมข้างหลัง อาการของพวกเรามันมีอยู่ ที่ศึกษาไปไกลแต่ว่าจริยาที่ทำไม่ได้อะไรเลย อันนี้มีอยู่ พึงรู้ตัวไว้ มีหลายท่านด้วยกัน ยังไม่ได้อะไรเลย แม้แต่สติสัมปชัญญะขั้นต้นก็ยังไม่ได้ บางทีเรานึกครึ้ม ๆ ศึกษากันมานานคงจะไปสรรค์ไปพรหม ไปนิพพาน แต่ถ้ายังไร้อาการสติสัมปชัญญะละก็อย่าหวังเลย การเกิดเป็นมนุษย์มันก็ไม่มีทางจะเกิดเมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้ ตามที่กล่าวมาเป็นด้านของสกิทาคามี

    สำหรับพระโสดาบันก็ดี หรือว่า สกิทาคามีก็ดี พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นด้าน อธิศีลสิกขา เป็นผู้มีศีลยิ่ง บรรเทาความโกรธความพยาบาทบ้างตามสมควร แล้วมาถึงอนาคามีผล อารมณ์ทรงตัวในด้านสมาธิ คำว่าทรงตัวนี่ไม่ใช่นั่งหลับตาเป๋ง ลืมตาอยู่อารมณ์ความดีทรงตัวเป็นปกติ และก็มีความเข้มข้น คือ ทรงอารมณ์เป็นฌาน มีการหนักหน่วงในการทรงจิต นั่นก็คือมีความคิดเห็นตามความเป็นจริงในด้านสักกายทิฏฐิ และอสุภกรรมฐาน เห็นว่าสภาวะร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมด และวัตถุทั้งหมด เต็มไปด้วยความสกปรก ร่วมกับวิปัสสนาญาณ เห็นว่าสกปรกแล้วก็รู้สึกว่าอัตภาพร่างกายของเราก็ดี ของเขาก็ดี เป็นแต่เพียงธาตุ 4 เข้ามาทรงกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด มีความรังเกียจในร่างกายที่เรียกกันว่า นิพพิทาญาณ
    แล้วมีอารมณ์เฉยในด้านกามารมณ์ทั้งหมด ที่เรียกกันว่า สังขารุเปกขาญาณ มีอารมณ์ทรงตัว ไม่มีความรู้สึกในเพศ ไม่มีความกระสันในเพศ และก็ไม่ติดใจพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส แม้แต่ไม่ใช่คน เป็นวัตถุก็ตาม สีสันวรรณะที่เห็นส่าสวย เราเห็นเป็นของธรรมดาไป กลิ่นที่เรียกว่า หอม เราก็ไม่มีความรู้สึกในการติดใจ รสสัมผัสใด ๆ ที่พึงเป็นที่พอใจของปุถุชนคนธรรมดาเรางดเว้นได้ อารมณ์ไม่มีความรู้สึกในความต้องการ
    สำหรับความโกรธความพยาบาทนั้นไม่เกิดกับจิต แม้แต่ปฏิฆะ อารมณ์ที่ไม่พอใจ คือกำลังใจที่จะสร้างความสะดุ้งให้เกิด ความไม่พอใจกับวาจาหรือจริยาของบุคคลอื่นที่ทำต่อเรา อันนี้ไม่มี เพราะอาศัยมีพรหมวิหาร 4 เต็มภาคภูมิ
    สักกายทิฏฐิมายุว่า มีความรู้สึกว่าอัตภาพร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อารมณ์ใจที่ทำให้เกิดความไม่พอใจกับบุคคลอื่น หรือที่บุคคลอื่นทำให้เกิดกับเรา รู้สึกว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ของทาส มันเป็นอารมณ์ของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม ทำใจให้มีความปรอดโปร่งตามอารมณ์อย่างนี้ อารมณ์จิตสบาย
    เป็นอันว่าตัดกามฉันทะกับปฏิฆะได้เด็ดขาด มีอารมณ์จิตเป็นสุข เป็นสุขอย่างมากเท่าที่เราไม่เคยจะพบกัน อารมณ์สบาย จะมีอารมณ์ความหนักอยู่บ้างก็นิดหน่อย เหมือนกับเราเคยแบกช้างมาแล้วช้างมันหนัก ทีนี้กลับมาใหม่ กลับมาแบกเศษกระดาษ เศษกระดาษก็เป็นเศษกระดาษชิ้นเล็ก ๆ แค่กระดาษฟุลสแก๊ป ลองพิจารณากันดู ช้างกับกระดาษฟุลสแก๊ปหนึ่งแผ่นนี่มันหนักเท่ากันไหม ความรู้สึกของพระโยคาวจรในระดับนี้จะมีความเบา จะมีความสบาย
    ก็ลองพิจารณากันไปว่า ความทุกข์ใหญ่ของเรานี่มันมีทุกข์ อะไรเป็นสำคัญ ที่เราทุกข์กันจริง ๆ ก็ทุกข์เพราะ ความยึดมั่นถือมั่น มั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นเรา มันเป็นของเรา แล้วเราก็ไม่อยากให้มันเสื่อมโทรมไป ไม่อยากให้มันสลายตัวไป คือ พลัดพรากจากกัน แต่อารมณ์ในตอนนี้นั้น อารมณ์จิตมันมีความรู้สึกว่าทุกอย่างเป็นธรรมดาไปหมด เห็นอาการของความเกิดของเราก็ดี ของบุคคลอื่นก็ดีเป็นของธรรมดา ความเสื่อมโทรมของร่างกายของคนและสัตว์ ของวัตถุถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา การจะสลายไปของวัตถุถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา การจะสลายไปของวัตถุของร่างกายของคนอื่นและของเราเป็นของธรรมดา
    ตอนนี้มาในด้านโลกธรรม ความมีลาภ ลาภเกิดขึ้น ก็มีความรู้สึกว่าลาภนี้มันสลายตัวแน่ มันไม่สามารถจะทรงอยู่คู่กับเราไปได้ เมื่อลาภสลายตัวไปก็ไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีการสะเทือนใจ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าได้ยศมาก็ไม่มีความเมายศ มีความรู้สึกว่าคนที่ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ที่สูงลิ่ว ที่ศักดิ์ศรีสูง แต่ภายในไม่ช้า ไม่นานยศนั้นก็สลายไป เพราะการทำลายของตนเอง หรือว่าคนอื่นถอดถอนขึ้น บางทีคนทรงยศใหญ่ เมื่อตายแล้วก็สิ้นสภาพของความเป็นผู้มียศ เห็นว่าการได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่มีความสำคัญของชีวิต ไม่มีจิตผูกพันในยศ ไม่ถือว่ามีความสำคัญ เห็นว่ายศมีความสำคัญแล้วก็เมื่อเวลายศจะต้องถูกถอดไปหรือต้องสลายไปด้วยประการใดประการหนึ่ง ก็มีความรู้สึกว่าเป็นของธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นที่น่าสะเทือนใจ ได้ยศหรือไม่ได้ยศเราก็มีสภาพเท่าเดิม แก่ลงทุกวัน มีอาการทรุดโทรมริดรอนทุกวัน และมีความตายไปในที่สุด
    และอารมณ์ของโลกธรรม ได้แก่ สรรเสริญ และ นินทา ฟังคำสรรเสริญของคนไม่มีความรู้สึกดีใจ รู้สึกเป็นอาการปกติว่านี่เรื่องธรรมดาของโลก มันก็ต้องมีการสรรเสริญกัน เมื่อมีคนสรรเสริญได้ก็ต้องมีคนนินทาได้ บางทีบุคคลคนเดียวกันบางครั้งสรรเสริญเยินยอเราเสียเกือบตาย แต่บางโอกาสเขาก็ทำลายคำสรรเสริญด้วยการนินทาเข้ามาแทน จงถือว่าการสรรเสริญและนินทานั้น เป็นธรรมดาของชาวโลกที่เกิดมาจะต้องกระทบกระทั่งอย่างนั้น อันนี้องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาไม่ถือเอาเป็นสาระสำคัญ โดยทรงแนะนำว่า การนินทาและสรรเสริญไม่ได้ทำให้คนดีหรือคนชั่ว ถ้าคนเราทำความดีแล้วใครเขาจะนินทาว่ายังไงก็ตามที เราก็ไม่เลวไปด้วย เมื่อเป็นคนเลวเขาสรรเสริญว่าเราดียังไงก็ตาม เราก็ไม่ดีไปตามคำเขาว่า
    ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประณามเราว่าเลวมันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าให้ทรงรักษากำลังใจเป็นสำคัญว่า ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันก็จะดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราจะต้องดีเพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริยนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว
    ทีนี้ความสุขความทุกข์ของโลก มีความร้อนเกินไป ความหนาวเกินไป มีความหิว มีความกระหาย มีความป่วยไข้ไม่สบาย กระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เราพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ความแก่เข้ามาถึง ความตายจะเข้ามาถึง ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจจะเข้ามาถึง อาการทั้งหลายเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นกฎธรรมดาที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความสบายใจมันเกิด อารมณ์จิตเกิดสุขนี่อารมณ์ของพระอนาคามี มีความสุขใจแบบนี้ ไม่มีอะไรเป็นที่รับสัมผัสแห่งความทุกข์ มีอารมณ์จิตสบาย
    แล้วตัวสำคัญที่ร้ายที่สุดที่สร้างความสุขความทุกข์ก็คือ อารมณ์ความรักในกามารมณ์ นี่ตัวสำคัญ เป็นตัวสร้างเหตุร้ายให้เกิดขึ้นกับจิต หรือเป็นเหตุให้เกิดขึ้นกับกาย อาศัยความรักเป็นสำคัญที่เราจะต้องเศร้าโศกเสียใจ เพราะอาศัยของรักพลัดพรากไป ภัยอันตรายจะเกิดขึ้นกับเรา โทสะ ความพยาบาทมันจะเกิดขึ้น จะต้องประทุษร้ายซึ่งกันและกันก็เพราะว่าสิ่งที่เรารัก ความรักที่เนื่องด้วยกามารมณ์ไม่มีสำหรับเราแล้ว มันจะมีภัยอันตรายมาจากไหน จะมีความเศร้าโศกเสียใจมาจากไหน ตอนนี้เป็นอันว่ากิเลสหยาบหมดไป ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรว่า อันนี้เป็นอธิจิตสิกขา ก็หมายความว่าต้องทรงอารมณ์ในด้านความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ มีความเข้มแข็งพอที่จะไม่ทำลายความดีส่วนนี้ไปจากจิต มันจะทรงอยู่ได้ทุกขณะจิตที่ชีวิตเราทรงอยู่ต่อไป ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมครูต่อไป นี่เราทบทวนความจำกันว่าสิ่งที่เราศึกษากันมาถึงอนาคามีน่ะ ความจริง เนื้อแท้จริง ๆ เราถึงไหนกันแน่ ข้อวัตรปฏิบัติที่เราปฏิบัติอยู่เวลานี้มันถึงไหน

    ทีนี้ต่อไปอีกสักนิดหนึ่ง ว่าถึงการก้าวเข้าไปสู่ความเป็นอรหัตผลค่อย ๆ ไป อย่าไปให้มันแรงนัก ไปแรงนักขาบิ่น ดีไม่ดีก็แพลงตกถนน
    มาดูสังโยชน์ตัวที่ 6 กับสังโยชน์ ตัวที่ 7 รูปราคะ อรูปราคะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าพระอรหัตมรรค นี่เป็นพระอนาคามีผลแล้วนะ เข้าถึงอรหัตมรรคก็มานั่งพิจารณาดู รูปฌาน และ อรูปฌาน เพราะ ว่าพระอนาคามีนี่เคร่งครัดมัธยัสถ์ในรูปฌาน และ อรูปฌานอย่างยิ่ง รวมความว่ามีจิตเกาะฌานแจเป็นสำคัญ ไม่ยอมให้ฌานคลาดจากจิต คำว่าฌานนี่ก็คืออารมณ์ที่เป็นกุศล เกาะหนักหน่วงมากไม่อยากให้มันคลายอารมณ์ อารมณ์หนัก ไม่ใช่อารมณ์เบา
    ทีนี้เราก็มานั่งพิจารณาต่อไปว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าจะเป็นอรหันต์แล้วละก็ พึงทำความรู้สึกว่ารูปฌานและอรูปฌานนี่เป็นบันไดสำหรับก้าวขึ้นไปสู่ความเป็นอรหันต์เท่านั้นเป็นกำลังที่จะส่งให้เราสูงขึ้นไป อย่าติดอยู่แค่นี้
    ตอนนี้ก็เป็นของไม่ยาก มันเป็นด้านอนุสัย ความจริงจะว่าไม่ยากก็ไม่ใช่ ถ้ายังโง่อยู่มันก็ติด ถ้าเลิกโง่มันก็ไปง่าย ๆ เพราะตอนนี้เป็นของง่ายแล้ว เพียงรักษากำลังใจ ทรงรูปฌานหรืออรูปฌานให้ทรงตัว แล้วก็มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะไม่ยับยั้งอยู่เพียงแค่นี้ เราจะแสวงหาความดีต่อไป เพราะความดียิ่งกว่านี้มีอยู่ แต่เราก็จะรักษาความดีที่องค์สมเด็จพระบรมครูแนะนำไว้ในขั้นต้น คือรูปฌานและอรูปฌาน ทรงอารมณ์ไว้เป็นปกติ แต่ก็ไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน คิดว่าความดีจากนี้มีอยู่ ที่องค์สมเด็จพระบรมครูแนะนำไว้ว่าต้องทำลายอวิชชา <ฝb> ความโง่ให้ได้ แต่การก้าวเข้าไปที่จะทำลายอวิชชานั้น จะต้องค่อย ๆ ทำไปตามลำดับ จับอันดับปลายทีเดียว เดี๋ยวอารมณ์จะเฝือ นั่นก็คือก้าวเข้าไปสู่การจับมานะ ความถือตัวถือตน ที่องค์สมเด็จพระทศพลว่าเป็นกิเลสที่เป็นตัวสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่ามานะ ความถือตัวถือตนนี่เป็นความลำบาก องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าให้วางภาระ คือ การถือตัวถือตนเสีย แต่ว่าอาการอย่างนี้จะกล่าวไปก็ไม่มีเวลา เพราะกาลเวลาที่จะพูดหมดแล้ว

    ต่อไปนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายรวบรวมกำลังใจให้ทรงตัว พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก ตัวรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกเวลาฝึกนี่ เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ ฉะนั้นเวลาที่เราจะทำงานทำการใดก็ดี ต้องใช้อารมณ์นี้ ไม่ใช่ไปนั่งนับลมหายใจว่าเราจะทำอะไร นึกไว้ว่าเราจะทำ ขณะที่ทำไปแล้ว ก็รู้ตัวว่าเราทำแล้ว นี่การฝึกรู้ลมหายใจเข้าออกก็เพื่อผลงาน งานที่เราจะทำเป็นงานควรหรือไม่ควร ที่ทำไปแล้วมันดีหรือมันเลว รู้ตัว นี่ทรงตลอดวันแบบนี้ ไม่ใช่มานั่งฝึกรู้ลมหายใจเข้าออกกันแล้ว เวลาเลิกไปแล้วก็ทำความระยำทุกอย่าง สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ก็ทำดะ นี่มันก็หมายถึงว่าการฝึกไม่มีผล ฝึกไปฝึกมาไปอยู่กับเทวทัตหมด ไม่มีใครเหลือ
    ต่อไปนี้ขอท่านทั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
     
  2. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ปัจจุบันขณะ

    เมื่อสองสามวันก่อน... ในขณะที่กำลังนั่งรถกลับบ้าน... แล้วจับลมหายใจไปด้วย นึกพิจารณาวิปัสนาไปด้วย...

    อยู่ๆ เวลา และ ภาพที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า... หยุดนิ่งไปเสี้ยววินาทีหนึ่ง... แล้วเลื่อนผ่านไป... มีเสี้ยววินาทีเกิดขึ้น แล้วผ่านไป...

    ทำให้เข้าใจคำว่า... "ปัจจุบัน" อย่าแท้จริงว่าเป็นอย่างไร...

    กุศล และอกุศลกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น... ไม่ว่าจะทาง กายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม... ล้วนเกิดขึ้นในชั่วแค่เสี้ยววินาที... แล้วผ่านวับไป กลายเป็นอดีต...

    อดีตที่เราไปจับต้องอีกไม่ได้.... อดีตที่เราแก้ไขอะไรอีกไม่ได้แล้ว...
    (ต่อให้นั่งเครื่องย้อนเวลากลับไปแก้ไข... อดีตที่ถูกแก้ไข ก็เป็นคนละอดีตกับอดีตที่เพิ่งจะผ่านพ้นไป...)

    ในขณะที่เวลา การกระทำ และเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น... เราก็ไม่สามารถไปทำอะไรกับมันได้เช่นกัน...

    เราคาดหวังว่า... มันจะต้องเป็นแบบนี้ เห็นว่าจะต้องเป็นแบบนี้ จะต้องเกิด ณ เวลานี้... แต่จริงๆ ตราบใดที่เหตุการณ์เหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้น... มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา... มีเหตุ มีปัจจัยอีกมากมายที่จะสามารถส่งผลให้เหตุการณ์ต่างๆ เกิด หรือไม่เกิด หนัก เบา แค่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร... ที่พวกเราไม่สามารถจะรับรู้รับทราบได้ทั้งหมด... นอกจากองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น...

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน... จึงบอกให้อยู่กับปัจจุบันซะ...

    ถ้ามัวแต่คิดถึงเรื่องราวในอนาคต... อย่างไม่จบไม่สิ้น... จึงเรียกว่า ฟุ้งซ่าน ปรุงแต่ง...

    ในขณะเดียวกันถ้าคิดถึงแต่เรื่องราวในอดีต... ซ้ำแล้วซ้ำอีก... ก็เป็นพวกที่ชอบเอาแต่จะยึดติด ไม่ยอมปล่อย...

    สิ่งที่ต้องทำ คือ อยู่กับปัจจุบันขณะ... เพียงเสี้ยววินาทีนั้นล่ะที่เราตั้งใจจะทำ ดี หรือไม่ดี... เรากระทำ หรือกล่าววาจาใดๆ ออกไปก็ตาม... ความตั้งใจ การกระทำ และคำพูดเหล่านั้นล้วนเปรียบเสมือนมีดแสนคมที่กรีดประทับลงไปที่ดวงจิต... บนหินศิลาที่แข็งทรงพลัง...

    ตราบใดที่เรายังมีชีวิต ยังมีสังขารร่างกาย ยังมีการเวียนเกิดเวียนตายอยู่... จิตยังไม่สามารถสงบระงับได้... ตราบนั้นรอยกรีดบนหินผานั้นก็ย่อมจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนนับไม่ถ้วน...

    แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถประคองสติ ประคองสมาธิไว้ได้... เมื่อนั้นก็จะเป็นโอกาสให้ดวงจิตของเรา... มีเวลาที่จะลบเลือนริ้วรอยเหล่านั้นให้น้อยลง เบาบางลงได้บ้าง...

    เมื่อมานั่งพิจารณาดูดีๆ... จะพบว่า... สรรพชีวิตทั้งหลาย... ที่ยังหลงอยู่ในวัฏสงสารนี้... ล้วนทำร้ายตัวเองกันตลอดเวลา...

    ทำร้ายด้วยกายกรรมบ้าง วจีกรรมบ้าง มโนกรรมบ้าง...

    ไม่ว่าเราจะพูด ทำ หรือ คิดก็แล้วแต่... สิ่งเหล่านั้นจะสะท้อนกลับมาที่ตัวเราเองทุกครั้ง... ไม่ต่างจากเวลาที่เราโยนลูกบอลเข้าหากำแพงเลย...

    ถ้าการกระทำนั้นๆ เป็นการกระทำในด้านกุศลจิต... ก็ยังนับว่าผู้กระทำ โชคดีอยู่บ้าง... เพราะสิ่งที่สะท้อน กระเด้งกลับมานั้น... ยังนำความสุข ความพอใจ ความชื่นใจกลับมาให้ผู้กระทำได้บ้าง (แม้จะแค่ชั่วเวลาไม่นานนักก็ยังดี)

    ในทางกลับกัน... หากเป็นการกระทำในด้านของอกุศลล่ะก็... ไม่อยากจะนึกจริงๆ เลย...

    เพราะต้องอย่าลืมนะว่า...

    ทุกครั้งที่ลูกบอลถูกโยนออกไป... มันไม่ได้กระเด้งแค่เพียงครั้งเดียวแล้วหยุด... มันจะยังมีการกระเด้งสะท้อนกลับไป กลับมาอีกหลายเที่ยว หลายตลบทีเดียว... กว่าจะหยุดนิ่ง...

    การรับกรรมก็เช่นเดียวกัน... ไม่ว่าจะทั้งกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมก็แล้วแต่... ล้วนส่งผลยาวนานข้ามภพข้ามชาติจนสุดจะประมาณได้ทีเดียว...

    สิ่งที่น่ากลัวขึ้นไปอีก คือ...

    ถ้าเราโยนลูกบอล... จะมีลูกบอลเพียงลูกเดียวที่กระเด้งกลับไป - กลับมา...

    ถ้าเปรียบว่า... การกระทำหนึ่งการกระทำ เปรียบได้กับลูกบอลหนึ่งลูก...

    สิ่งที่เรากระทำกับคน หรือชีวิตเพียงชีวิตเดียว... จะมีลูกบอลเกิดขึ้นกี่ล้านลูก...

    แต่ในชีวิตจริง... เราต้องพบเจอผู้คน สรรพชีวิตอื่นๆ อีกมากมายเท่าไหร่...

    ลองนึกภาพลูกบอลนับล้านๆ ลูก... ที่กระเด้งกลับมาหาตัวเรา... เบาบ้าง แรงบ้าง ไกลบ้าง ใกล้บ้าง... จะหลบก็หลบไม่พ้น หลบกันไม่ทัน...

    นอกจากว่า... ทำใจให้สงบ ให้ระงับ ให้แผ่วเบา... สร้างสติ สร้างสมาธิ... แล้วค่อยๆ ชะลออัตราความเร็ว ความแรงของลูกบอลเหล่านั้น... พร้อมๆ กับการไม่สร้างลูกบอล (โดยเฉพาะทางอกุศลกรรม) ใหม่ๆ ขึ้นมาอีก... แล้วค่อยๆ ถอยออกมาเป็นผู้ดู...

    แรงกระแทก แรงสะท้อนกลับนั้นจะเบาบางลง... ความทุกข์ก็จะน้อยลงๆ... จนหยุดในที่สุด...

    ................................................................

    ทุกท่านพร้อมที่จะหยุดทำร้ายตัวเองกันหรือยังคะ...

    ยังสนุกกับการกรีดมีด รับลูกบอลกันอยู่ไหมคะ...

    ประตูทางออกน่ะ... เปิดรออยู่แล้วนะคะ...

    ................................................................
     
  3. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +17,625
    เหตุผลที่ต้องรักษาและเผยแผ่พระไตรปิฎกและพระธรรมคำสอน


    ติปิฏกอนฺตรธานกถา

    จริงอยู่ อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัตติอันตรธาน ๑ ปฏิเวธอันตรธาน ๑ ปฏิปัตติอันตรธาน ๑.
    ในอันตรธานเหล่านั้น พระไตรปิฎกชื่อว่า ปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะชื่อว่าปฏิเวธ. ข้อปฏิบัติชื่อว่าปฏิบัติ.
    ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ ย่อมมีบ้าง ย่อมไม่มีบ้าง.
    ก็ในกาลหนึ่ง หมู่ภิกษุผู้ทรงปฏิเวธมีมาก. ภิกษุนั้นพึงถูกชี้นิ้วแสดงว่า ภิกษุรูปนี้เป็นปุถุชน. ในทวีปเดียวเท่านั้น ขึ้นชื่อว่าภิกษุผู้เป็นปุถุชน คราวเดียวกันหามีไม่. เหล่าภิกษุแม้ผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติในกาลบางครั้งมีมาก ในกาลบางครั้งมีน้อย. ปฏิเวธและการปฏิบัติย่อมมีบ้าง ย่อมไม่มีบ้างด้วยประการฉะนี้.
    แต่ว่า ปริยัติย่อมเป็นประมาณของการดำรงอยู่ได้ของพระศาสนา. เพราะบัณฑิตทั้งหลายได้ฟังพระไตรปิฎกแล้วย่อมบำเพ็ญได้ทั้งปฏิบัติและปฏิเวธทั้งสอง.
    พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายให้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๗ บังเกิดขึ้นในสำนักของอา<wbr>ฬา<wbr>ร<wbr>ดาบสแล้ว ตรัสถามบริกรรมของเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อาฬารดาบสทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ทราบ ดังนี้. ต่อแต่นั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงเสด็จไปสู่สำนักของอุทกดาบส แล้วทรงเทียบเคียงคุณวิเศษที่พระองค์บรรลุแล้ว ตรัสถามการบริกรรมของเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อุทกดาบสนั้นก็ทูลแจ้งให้ทรงทราบ พระมหาสัตว์ก็ทรงให้ฌานนั้นเกิดขึ้นในลำดับแห่งถ้อยคำของอุทกดาบสนั้นฉันใด
    ภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ฟังปริยัติธรรมแล้วก็ย่อมบำเพ็ญทั้งปฏิบัติและปฏิเวธทั้งสองได้.
    เพราะฉะนั้น เมื่อพระปริยัติดำรงอยู่ได้ ศาสนาก็เป็นอันตั้งอยู่ได้.
    แต่ในกาลใด ปริยัตินั้นอันตรธานไป ในกาลนั้น อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมไปก่อน. ในอภิธรรมนั้น พระปัฏฐานย่อมอันตรธานไปก่อนกว่าอย่างอื่นทั้งหมด. ธรรมสังคหะย่อมเสื่อมในภายหลังตามลำดับ. เมื่ออภิธรรมปิฎกนั้นเสื่อมไป แม้เมื่อปิฎกทั้งสองนอกนี้ ยังดำรงอยู่ ศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้แท้.
    ในปิฎกเหล่านั้นเมื่อพระสุตตันตปิฎกอันตรธาน อังคุตตรนิกายย่อมเสื่อมไปก่อน ตั้ง<center></center><wbr>แต่<wbr>หมวดที่ ๑๑ จนถึงหมวด ๑. ในลำดับนั้น สังยุตตนิกายก็เสื่อมไป เริ่มแต่จักกเปยยาลจนถึงโอฆตรณสูตร. ในลำดับนั้น มัชฌิมนิกายก็อันตรธานเริ่มตั้งแต่อินทรียภาวนาจนถึงมูลปริยายสูตร. ในลำดับนั้น ทีฆนิกายก็อันตรธานเริ่มแต่ทสุตตรสูตรจนถึงพรหมชาลสูตร.
    คำถามของคาถาหนึ่งก็ดี สองคาถาก็ดี ย่อมอยู่ไปนาน ย่อมไม่สามารถดำรงศาสนาไว้ได้ เช่น สภิยปุจฉาและอาฬวกปุจฉา. ได้ยินว่า ระหว่างกาลของพระกัสสปะพุทธเจ้า หนึ่งไม่สามารถจะดำรงศาสนาไว้ได้. <!--ได้ยินว่าระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้ อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้. ได้ยินว่า คำถามเหล่านี้ระหว่างกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ก็ไม่อาจเพื่อยังพระศาสนาให้ดำรงอยู่.-->
    ก็เมื่อปิฎกทั้งสองถึงจะอันตรธานไป เมื่อวินัยปิฎกดำรงอยู่ ศาสนาก็ดำรงอยู่ได้. เมื่อบริวารขันธกะอันตรธานไป เมื่ออุภโตวิภังค์ยังดำรงอยู่ ศาสนาก็เป็นอันตั้งอยู่ ได้แท้. เมื่อ<wbr>อุภโต<wbr>วิภังค์<wbr>อันตรธานไป แม้เมื่อมาติกายังดำรงอยู่ ศาสนาก็เป็นอันตั้งอยู่ได้แท้.
    เมื่อมาติกาอันตรธานไป เมื่อปาฏิโมกข์ บรรพชา และอุปสมบท ยังดำรงอยู่ศาสนาก็ย่อมดำรงอยู่ได้. เพศยังเป็นไปอยู่ได้นาน.
    แต่วงศ์ของสมณะผู้นุ่งผ้าขาว ไม่สามารถจะดำรงศาสนาไว้ได้ ตั้ง<wbr>แต่<wbr>กาล<wbr>ของ<wbr>พระ<wbr>พุทธ<wbr>เจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ. ศาสนาดำรงอยู่ได้ตลอดพันปีด้วยภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทา. ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยภิกษุผู้ทรงอภิญญา ๖. ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยภิกษุผู้ทรงวิชชา ๓. ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยภิกษุผู้เป็นสุกขวิปัสสกะ. ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยเหล่าภิกษุผู้ทรงปาฏิโมกข์.
    ก็ศาสนาย่อมมีอันทรุดลงตั้งแต่การแทงตลอดสัจจะของภิกษุรูปหลังๆ และแต่การทำลายศีลของภิกษุรูปหลังๆ. จำเดิมแต่นั้นไป การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ท่านมิได้ห้ามไว้.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/...?b=11&i=73&p=2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2008
  4. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    จากนากามูระค่ะ

    คนฉลาดของหลวงปู่เเละเก่งที่น่านับถือ

    คนเก่งคือคนที่เห็นนิมิตเยอะจริงหรือ
    คนเก่งคือคนที่รู้ใจคนจริงหรือ
    คนเก่งคือคนที่มีวิชชาเยอะๆหรือ
    คนเก่งคือคนที่เหาะได้หรือ
    คนเก่งคือคนที่พูดเก่งเเละโน้มน้าวใจคนเก่งหรือ
    คนเก่งคือคนที่..........

    คนเก่งของหลวงปู่ ท่านบอกว่า

    "เมื่อไรที่เอ็งปฏิบัติธรรมเเล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเเก้ทุกข์ด้วยอริยสัจเเล้วปราศจากทุกข์ได้เมื่อนั้นเอ็งเก่งเเละปฏิบัติธรรมเป็น"


    อนุโมทนาค่ะ
     
  5. ตากาฉ่อ

    ตากาฉ่อ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +40
    อย่าลืมพก 'ยิ้มสยาม' ของเราไปด้วยนะครับ

    เมื่อข้าเจ้าตายแล้ว

    ถ้าไปนิพาน ก็สบายไป

    ถ้าไปนรก ก็คงโง่หัวไม่ขึ้น

    ถ้าไปสวรรค์ เดือนแรกคงจะเหนื่อยหน่อย

    ต้องยกมือไหว้ พี่น้องใน web.พลังจิตนี่ล่ะครับ (แต่ก็ยอมอ่ะ)
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <TABLE class=tborder id=post1561092 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>c486<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1561092", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 05:07 PM
    วันที่สมัคร: Aug 2008
    สถานที่: จ.สระบุรี
    ข้อความ: 23
    ได้ให้อนุโมทนา: 268
    ได้รับอนุโมทนา 135 ครั้ง ใน 19 โพส
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1561092 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->ถึงอ.คนานันท์

    นับถืออ.คนานันท์และสนใจเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติอย่างมาก จริงๆอยากฝึกสมาธิแบบของอาจารย์ ไม่ทราบว่าอาจารย์สอนที่บ้านสายลมหรือเปล่าค่ะ อ่านเรื่องวิชชาที่จะให้อยู่จากภัยพิบัติธรรมชาติอยากลองฝึกแต่เนื้อหามันมากมายเหลือเกินถ้าเราฝึกโดยไม่มีอาจารย์ควบคุมเราจะรู้ได้ไงว่าเราทำถูกต้องอยากถามอาจารย์ว่า
    1.หนูเป็นคนที่เริ่มต้นใหม่ที่ชอบไหว้พระสวดมนต์แต่การนั่งสมาธิทำไม่ค่อยได้นานเพราะสวดมนต์หลายบทประมาณ1-2 ชม.พอนั่งสมาธิก็ง่วงนอนแล้วแต่อยากอยากนั่งให้ได้อยากพักผ่อนจิตใจให้สบงมีสติและสมาธิแต่ก็ทำไม่ค่อยได้เเพราะกลัวความเงียบ กลัวผี ทั้งๆที่ก็เข้าใจว่าถ้าจะเจอก็เพราะเขามาขอส่วนบุญเราแต่เพราะเราไม่เคยฝึกจิตให้เป็นสมาธิได้จึงเกิดความระแวง หนูอ่านกระทู้ในพลังจิตได้ความรู้มากมายหลายอย่างแต่เราก็ยังไม่เคยนำไปปฎิบัติจริงจังสักทีจึงอยากให้อาจารย์แนะนำว่าควรเริ่มต้นอย่างไรในวันนึงเราจำเป็นต้องสวดมนต์อย่างไรที่จะฝึกสมาธิต่อได้ (กรรมฐานแบบหลวงพ่อจรัญวัดอัมพวันแต่งต่างกับของอาจารย์อย่างไรตอนเด็กเคยเรียนตามแบบวัดอัมพวัน)
    รบกวนขอหนังสือ และซีดีของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ 1 ชุดด้วยค่ะ
    จิตติมา ทิพย์สังวาลย์
    บ.กรุงเทพประกันภัย จำกัด(สาขาย่อยสระบุรี)
    625/5 ถ.พิชัยรณรงค์สงคราม
    อ.เมือง จ.สระบุรี 18000
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>



    ------------------------------------------------------------

    ขออนุญาตตอบคุณจิตติมาครับ

    ตัวผมเอง ไม่ได้เป็นครูสอนสมาธิที่บ้านสายลม แต่ ทางหลวงพี่อนันต์เจ้าอาวาสวัดท่าซุง ท่านได้เมตตา มอบหนังสือคู่มือครูสอนวิชามโนมยิทธิ ให้ จึงได้อาศัยความรู้ วิชชาที่ได้รับมานี้ ตอบแทนบูชาคุณพระพุทธศาสนา และแบ่งปันธรรมมะให้กับ ทุกท่านที่ใฝ่ใจในธรรมครับ


    การปฏิบัติธรรมนั้น เรียนไปได้เรื่อยๆครับ เรียนจบก้ต่อเมื่อจบกิจในพระพุทธศาสนาครับ เป็นพระเสขะบุคคล

    แต่พระธรรมที่มากมายนั้น เนื้อหาที่ แลดูเยอะนั้น หากเราเข้าใจใน

    -ภาพรวมของการปฏิบัติธรรม ว่ามีแนวทางอะไร อย่างไรบ้าง

    -ลำดับขั้นในการปฏิบัติที่เริ่มจากง่ายไปยังยาก

    -ศึกษาว่าการปฏิบัติแบบนี้เราปรารถนาในผลอะไร อย่างไร

    -ศึกษาและจดจำอารมณ์ใจ ในการปฏิบัติธรรมนั้นๆ

    -ศึกษาในการตั้งกำลังใจในการปฏิบัติธรรมนั้นๆ

    -ศึกษาและเรียนรู้ดูจิตของเรา ให้เข้าใจอย่างแท้จริง


    ธรรมมะปฏิบัติที่ว่ายากก็จะ ไม่เกินวิสัยที่เราจะปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดีไปได้

    โดยผมจะทะยอยอธิบายไล่ให้ฟังโดยละเอียดแต่ละหัวข้อเพื่อที่ท่านอื่นจะพึงได้รับประโยชน์ไปด้วยครับ
     
  7. c486

    c486 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +300
    ขอบคูณค่ะอาจารย์ ขอถามเพิ่มเติมนะคะ
    1.สมาธิตั้งแต่เริ่มต้นของผู้ปฎิบัติมีวิธีการหรือแนวทางกี่แบบ การกำหนดลมหายใจเข้าออกภาวนาพุทโธ, ยุบหนอพงหนอ เหมือนหรือแตกต่างอย่างไร
    2.เราจะขจัดความกลัวได้อย่างไร (ทำสมาธิตอนกลางคืนกลัวผี)
    ยังไงก็รบกวนขอหนังสือกับซีดีของหลวงพ่อด้วยนะคะ
     
  8. phonsiri

    phonsiri Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +70
    สวัสดีค่ะ
    เข้ามาทักค่ะ
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอแปะเอาไว้ก่อนมาตอบครับ

    จะได้ไม่ลืมตอบรวมทั้งจะได้เกิดประโยชน์ต่อท่านอื่นด้วยครับ
     
  10. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    ขออนุญาต ท่าน คณานันท์ นะค่ะ ข้าพเจ้ารู้ว่าผู้ถามไม่มีความประสงค์จะถามผู้อื่นแต่คำถามนี้มันจี้ใจสุดๆก็เลยอดเสือกไม่ได้ ขออนุญาต และขอขมาไว้นะที่นี้ด้วยค่ะ

    2).เราจะขจัดความกลัวได้อย่างไร (ทำสมาธิตอนกลางคืนกลัวผี)
    ข้าพเจ้าเห็นคำถามนี้อดไม่ได้ เพราะเคยเป็นเหมือนกันค่ะ แต่ข้าพเจ้าได้รับความกรุณาสงเคราะห์คำตอบที่โดนใจสุดๆๆ แบบทำให้ความกลัวทั้งหมด ณ.ขณะนั้นสามารถแตกกระจุยกระจายได้ ไม่สามารถโพสนามผู้ให้คำตอบเพราะไม่ได้ขออนุญาตท่านก่อน แต่ขอเอาเฉพาะคำตอบอันเป็นธรรมสงเคราะห์จากท่านมาตอบนะค่ะ
    ท่านตอบว่า" ความกลัวทุกชนิดมีพื้นฐานมาจาก การกลัว "ตาย"ค่ะ "

    พอได้ยินคำตอบแล้วแจ้งในใจไหมค่ะ ไม่กลัวตายจะกลัวผีทำไม ในเมื่อคนกับผีคืออันเดียวกันเป็นขัณฑ์ 5 เหมือน เพียงแต่อยู่คนละลักษณะ คือ คนเป็น นามในรูป แต่ ผี เป็น รูปใน นาม( หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ใน หนังสืออะไรสักอย่างเกี่ยวกับพระอภิธรรม)
    อยากจะปฏิบัติธรรมเอาความดี กลัวอะไรกับความตาย ความตายก็เหมือนกับคุณถอดเสื้อผ้า หรือหนักอีกหน่อย คือ "ย้ายบ้าน" นั่นเแหละ จะย้ายตอนนี้หรือตอนไหนมันก็ไม่ต่างกัน ก็คือต้องย้าย ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติคือคุณถวาย จิตและกาย(บ้าน) ไว้เป็นพุทธบูชาแล้ว นั่นหมายความว่า ทั้งคุณและเสื้อผ้าเป็นของพระ ตายไปคุณก็ไปอยู่กับพระท่านหรือเป็นผีก็ผีลูกพระพุทธ กลัวอะไรเป็นผีมาก่อนเป็นคน มานาน(แต่เราจำไม่ได้เอง) หากต้องคืนเสื้อผ้าหรือบ้านที่เช่าเขามาอย่างมากก็อยู่ไร้เสื้อผ้าหรือบ้านไปสักพัก เป็นลูกพระอยู่แล้วอยู่แบบไร้เสื้อผ้าหรือบ้านอันเป็นธาตุ 4 อาจสบายตัวเบากว่ามีเสื้อผ้าบ้านก็ได้นะ คิดอย่างนี้แล้วก็ว่า เอาวะกลัวก็กลัวไปอย่างมากก็แค่ถอดเสื้อหรือทิ้งบ้านที่อาศัยเท่านั้นเอง
     
  11. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วันนี้ขอนำผลที่ได้จากการฝึกจิตฝึกใจของคุณซัน (Forever In Love) มาให้ทุกท่านได้ศึกษาร่วมกันค่ะ... ว่าธรรมที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านทรงสอนพวกเรานั้น... มีผลปรากฏได้จริง ไม่จำกัดกาลเวลา ใครทำจริงก็รู้จริงเห็นจริง เป็นเรื่องของปัจจัตตัง... ต้องลงมือปฏิบัติเองค่ะ...

    กราบโมทนากับคุณซันด้วยค่ะ...

    [10/10/2008 21:46:46] Forever In LoVE says: ซันไปโลตัส แล้วใส่หูฟังหลวงพ่อ เทศน์เรื่องปฏิปฏทาท่านผู้เ็ฒ่าอยู่ค่ะ
    จริงๆ ฟังซ้ำมาเ็ป็นสิบรอบแล้ว
    แล้วเป็นตอนทุกข์ของคำข้าวพอดี
    แต่ว่า หนนี้
    อยู่ๆ หนูก็เกิดอาการที่ มองเห็นผู้คนทีเ่ดินไปมาในห้าง
    เป็นก้อนเนื้อ เป็นจิตที่ติดในก้อนเนื้อ
    ทั้งห้างเลย
    ดูแล้ว น่าสงสาร รู้สึกสงสารพวกเขามา
    ก้อนเนื้อ ที่เข็นรถเข็น แย่งกันซื้อข้าวของ ต่อแถวกันจ่ายเงิน เอาของพวกนั้น ไปบำรุงก้อนเืนื้อต่อไป
    ไม่จบไม่สิ้น
    แล้วหนูก็ ดัน ร้องไห้
    ก็
    สงสารเขา อะค่ะ มีทั้งก้อนเนื้อเล็ก ก้อนเนื้อแก่แล้ว
    ทำงานกันมา หาเงินมาเหนื่อยยาก มาซื้อข้าวของ บำรุงก้อนเนื้อ วนไป วนมา
    ไปยืนมองเขา ยิ่งเห็นยิ่งส่งสาร
    ข้าวของในห้าง ก็ล้วนแต่ทำมาเพื่อให้คน สร้างความลำบากกันมาซ์้อ
    เอาก้อนเนื้อไปออกแรง แลกเงินมา บำรุงก้อนเนื้อ
    แงๆ

    chdhorn says: น่าเบื่อเนอะ ชีวิตมีอยู่แค่นี้เอง... มีแต่ความทุกข์ ไม่จบไม่สิ้น...
    มีทุกข์ เพื่อสรรหาทุกข์มาเพิ่มใส่ตัว
    มันเป็นธรรมดาของโลกนะซัน
    รู้แล้ว เห็นแล้ว เข้าใจแล้ว
    Forever In LoVE says: ค่ะพี่ แต่หนนี้ ถึงกับหลั่งน้ำตาเลย หนูก็เลย งง ๆ ตัวเอง
    [13:01:25] chdhorn says: ก็ต้องวางเป็นอุเบกขาให้ได้นะ
    [13:03:31] Forever In LoVE says: ค่ะพี่ คนเริ่มหันมามอง
    ยัยนี้ เป็นไรมายืนมองฉันแล้วทำหน้าร้องไห้
    (chuckle)
    ก็เลยต้องเผ่นค่ะพี่ ลืมตัว (rofl)
    [13:04:10] chdhorn says: (chuckle)
    [13:04:33] chdhorn says: ปฏิบัติเอง ย่อมรู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง แบบนี้แหละเนอะ
    Forever In LoVE says: ขอบพระคุณค่ะ...


    [10/10/2008 21:54:00] Forever In LoVE says: หลังจากนั้น ก็มาดุตัวเองน่ะ เราเอง ก็ จิตที่อยู่ในก้อนเนื้อ
    [10/10/2008 21:54:05] Forever In LoVE says: แต่
    [10/10/2008 21:54:18] Forever In LoVE says: มันเห็นแยก ออกมาเป็น 3 เส้นทาง
    [10/10/2008 21:54:25] Forever In LoVE says: 2 น่ะ
    [10/10/2008 21:54:38] Forever In LoVE says: 1 คือ ก็วนเกิด วนตาย เข้าก้อนเนื้อก้อนใหม่ ไปเรื่อยๆ
    [10/10/2008 21:54:50] Forever In LoVE says: บางทีก็ไม่เป็นก้อน เหอๆๆ แล้วแต่ภพภูมิ
    [10/10/2008 21:54:58] pattana21 says: (nod)
    [10/10/2008 21:55:20] Forever In LoVE says: 2 คือ จบกิจตัดกิเลสหมดสิ้นจากจิต จิตไม่ติดในก้อนเนื้อ ไม่ติดในโลกอีกแล้ว ก็ นิพพาน
    [10/10/2008 21:55:42] Forever In LoVE says: แต่ มีพิเศษคือ
    [10/10/2008 21:55:55] Forever In LoVE says: เอาเป็นว่า กับบางคนนะคะ ที่มีเส้นทางพิเศษ
    [10/10/2008 21:56:39] Forever In LoVE says: แม้นว่า รู้ วังวน ของการวนเกิด วนตาย
    รู้ วิธีหลุดพ้น
    เอาจิต เดินไปสู่แนวทางหลุดพ้นได้
    [10/10/2008 21:56:57] Forever In LoVE says: (แบบไปจริงๆนะ ไม่ใช่พวกนั่งท่อง)
    [10/10/2008 21:57:08] Forever In LoVE says: แต่ก็ ไม่สามารถ ทิ้งโลกนี้ไปได้
    [10/10/2008 21:57:15] Forever In LoVE says: เพราะ พวกนี้มีหน้าที่
    [10/10/2008 21:57:52] Forever In LoVE says: ฉันไปไม่ได้ เพราะฉันยังต้องทำ . . โน่น นี่ นั้น ไว้ให้คนที่ยังอยู่
    [10/10/2008 21:57:53] Forever In LoVE says: เป็นฯต้น...
     
  12. namjaii

    namjaii เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    191
    ค่าพลัง:
    +276
    เหมือนคุณ c4 86 ค่ะ เพิ่งเป็นสมาชิก สวดมนต์ ทำบุญ ประจำ แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติ ณ ตอนนี้ สนใจจะปฏิบัติ ตามหลวงพ่อฤาษี แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร (หมายถึงทำที่บ้านค่ะ ยังไม่สามารถเดินทางไปปฏิบัติที่อื่นได้ อยู่นครสวรรค์ค่ะ) แต่ก็ไม่อยากรบกวนทุกท่านด้วยเกรงว่าจะเป็นภาระ อยากได้คู่มือเริ่มปฏิบัติ(สำหรับผู้ท่ไม่เคยรู่อะไรมาเลย หรือสอนในห้องนี้ก็ได้ค่ะ อนุโมทนาค่ะ
     
  13. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557


    [​IMG]


    โมทนากับธรรมทานของทุก ๆ ท่านด้วยค่ะ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    คำอธิฐานนั้น ความเป็นจริงขึ้นกับกำลังใจของเรา การตั้งจิตปรารถนาของเรา

    หากเราตั้งกำลังใจแบบนั้นเราก็ต้องทำบารมีตามให้ทันเขา

    การสร้างบารมีนั้นเราก็จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นจากภายในจิตของเราอย่างแท้จริง

    เป็นความเข้าใจ ความเข้าถึง ประโยชน์ของมวลสรรพสัตว์ทั้งหลาย อันบังเกิดขึ้น จากอุบัติ.... ของท่าน ในยุคนั้น

    กำลังใจ ความเข้าใจ บารมี ต้องตีคู่กันไป ต่อเนื่อง หนุนนำและสม่ำเสมอ ไม่ มาลดรอน ขัดขวาง หรือกลายเป็นวิบากในการสร้างบารมีของท่าน

    ต้องพิจารณาจิต เราให้ละเอียดในการตั้งกำลังใจให้ครบถ้วนบริบูรณ์

    พิจารณาว่าเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ตน

    พรหมวิหารสี่ และความเสียสละต้องบริบูรณ์จริง เต็มที่จริงเช่นกัน
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775



    ขออนุญาตตอบครับ

    1. การปฏิบัติสมาธิสำหรับผู้เริ่มต้น นั้น

    ก่อนอื่นควรที่จะเริ่มจากการทำสมถะสมาธิ เพื่อ สร้างความสงบของจิตให้เกิดขึ้นได้ก่อน

    การทำสมาธิ ให้จิตสงบ มีวิธีการทำได้ มากมายหลายทาง แต่ละแบบแต่ละวิธี ก็มีข้อ เหมาะสมกับแต่ละบุคคลแตกต่างกัน

    วิธีการ นั้นเป็น อุบายในการฝึกจิตให้สงบ เกิดสมาธิ

    ดังนั้น วิธีใดที่เราทำ เราปฏิบัติแล้วง่าย ได้ผลเร็ว ก็นับว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับเราครับ

    วิธีการมีตั้งแต่
    -การจับลมหายใจ
    -การนับเลข
    -การกำหนดบริกรรมคำภาวนา
    -การกำหนดอาการในอิริยาบท
    -การนับลูกประคำ
    -การจับภาพนิมิตร

    และอีกมากมายหลายวิธีครับ

    ส่วนวิธีการทำสมาธิที่ค่อนข้างเป็นกลาง เหมาะสมกับทุกจริต และง่ายต่อการสร้างความสงบของจิตก็คือ

    การจับลมหายใจ ที่เรียกว่า อานาปานสติกรรมฐานครับ
    เคล็ดลับในการฝึกอานาปานสติกรรมฐานให้ได้ผล มีอยู่โดยเรา ฝึกไปตามลำดับขั้น

    ค่อยๆปรับสติให้ทันอารมณ์ ทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจ ระดับสมาธิกับลมหายใจของเรา

    จนจิตสงบ ลมหายใจระงับ จิตเกิดฌานสมาธิได้

    ไม่ยากเกินวิสัยที่จะปฏิบัติกันครับ


    2. ความกลัวนั้น เราลองถามตัวเราเอง เหตุแห่งความกลัวนั้น

    เป็นอารมณ์ที่มีเหตุ มีรากเหง้ามาจาก "อวิชชา" หรือความไม่รู้ เป็นสำคัญ

    ที่เรากลัวในการทำสมาธิเวลากลางคืน และกลัวผี ก็เพราะเรา"ไม่รู้ " ว่าเราจะเจออะไร สิ่งที่เจอคืออะไร

    ทำไมเวลากลางคืนมืดๆ เราจึงกลัวผี

    แต่เวลากลางวันที่ๆ เดียวกัน เรากับไม่กลัว

    ก็เพราะ กลางคืนมืดเราไม่รู้ว่ามีอะไร แอบอยู่ เราเลยกลัว พอกลัวจิตก็ปรุงแต่งต่อไปอีกจนเรายิ่งกลัวเพิ่มขึ้น

    แต่หากเรา"รู้" เช่น วันนี้ได้ยินเสียงหมามันหอน ตอนกลางวัน เราก็กำหนดจิตทำสมาธิ แล้วก็ดูว่า หมามันหอนเพราะอะไร

    มันเห็นอะไร

    เขาเป็นใคร

    มาทำอะไร

    พอรู้ ก็แผ่เมตตาให้เขา

    ก็เสร็จจบ

    ทั้งคน ทั้งสัตว์ ทั้งผี ทั้งโอปปาติกะทั้งหลาย ก็ล้วนเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งสิ้น ยังอยู่ในสังสารวัฏฏ์เช่นกันเรา ก็ไม่ต่างจากเขา

    เมื่อผ่านไปได้ จิตเข้าใจยอมรับความเป็นจริง เราก็แผ่เมตตา ให้เขาทั้งหลายเป็นปกติ เมื่อเราเป็นผู้เป็นมิตร ปราศจากเวรภัย สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ใกล้ก็ไม่เบียดเบียนกันและกัน

    เราปรารถนาดีต่อเขา เขาก็ไม่เบียดเบียนเรา

    ขอให้ก้าวหน้าและเจริญในธรรมครับ

    ขอให้ทีมงานส่งซีดีสอนสมาธิ ของผมส่งไปให้ด้วยครับ

    ลองฝึกตามดูแล้วดูว่ายากไหม จิตสงบหรือไม่ สุขจากสมาธิเป็นอย่างไรครับ
     
  16. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775

    ค่อยๆติดตามอ่านและ ค่อยๆฝึกไปได้ครับ หากสนใจมีซีดีสอนสมาธิจัดส่งให้ได้ครับ เป็นธรรมทาน
     
  17. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    สำหรับคำอธิษฐานของพี่เจนนั้น
    ถือว่าเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่และยากลำบากพอดูเลย
    ให้เราตั้งจิตเกาะอารมณ์ความเป็นพระอริยไปทุกๆชาติ
    ตราบจนกว่าเราจะสำเร็จภารกิจนั้นนะครับ
    ถึงแม้ว่าเราจะลุยต่อ แต่เราจะไม่ยอมพลาดพลั้งตกลงสู่อบายเป็นอันขาด
    ขึ้นชื่อว่าความเสื่อมจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นแก่ดวงจิตของเรา
    หากเรารักษาอารมณ์คล้ายพระอริยะเอาไว้ได้ทุกๆภพทุกๆชาติ
    ผมเชื่อว่าภารกิจนั้นจะสำเร็จได้รวดเร็วขึ้นนะครับ
    แต่ถ้าเราเดินอ้อมมันก็จะยาวนานขึ้น เพราะฉะนั้นแล้ว อย่าเดินอ้อมเลยนะครับ
    ยังไงก็ ขอให้ได้สำเร็จตามความปรารถนาเพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์นะครับ
    อนุโมทนาด้วยครับ
     
  18. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    ตามคำคุณคณานันท์...
    อย่าทำให้คนอื่นเสียกำลังใจ...
    ทำอะไรให้หนุนอานิสสงส์ให้ผู้อื่น..

    ตามคุณนากามูระ
    หลวงปู่บอกให้ดูตน ไม่ต้องไปดูผู้อื่น...

    ถ้าดูตน ไม่ส่งจิตไปดูผู้อื่น..
    ก็ลดกรรม ลดการเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ...
    ลดจำนวนเจ้ากรรมนายเวรในวันหน้า....

    ในวาระที่ทุกสื่อประชันกัน จาบจ้วงฝ่ายตรงข้าม...
    จองกันต่อไปไม่สิ้นสุด..
    จึงนึกถึงข้อความข้างต้นนี้

    ท่านใดยังอยู่ในวังวนก็ทำหน้าที่กันต่อไป
    ท่านใดที่เห็นทุกข์ถึงที่สุดแล้ว ก็หมั่นชำระตนให้สิ่งดึงรั้งบรรเทาเบาบาง อันได้แก่สังโยชน์สิบทั้งหลาย...
    ขอกราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านต่ะ

    ขอให้พระพุทธคุณคุ้มครองทุกท่านที่เป็นสัมมาทิษฐิ..
    คุ้มครองประเทศไทย สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์..ให้เป็นบาตรฐานแก่พระพุทธศาสนาจวบจน ๕๐๐๐ ปี
     
  19. c486

    c486 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +300
    ขอบพระคุณสำหรับคำตอบทั้งอาจารย์คนานันท์และคุณdearestguardian ค่ะ ขอน้อมรับนำไปปฎิบัติค่ะ ตอนนี้พยายามทำใจให้มีสติและสมาธิ พยายามรักษาศีล 5 ค่ะ ดิฉันคิดว่าสติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่เริ่มต้นปฎิบัติอย่างดิฉัน(เพราะชอบพาใจคิดเรื่องเรื่อยเปื่อยเวลาว่าง แต่พอมีสติก็จะพยายามภาวนาพุทโธ) ถามว่ากลัวตายไหม ดิฉันกลัวไม่ได้ทำความดีก่อนตายมากกว่าค่ะ พยายามทำความดีเท่าที่ตัวเองจะทำได้ ดิฉันจึงอยากฝึกจิตให้เข้มแข็งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่ ผู้เบิกบานเหมือนอย่างท่านทั้งหลายที่เจริญในธรรม
    สุดท้ยนี้ดิฉันขออำนาจคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้อาจารย์คนานันท์และคุณdearestguardian และท่านทั้งหลายจงมีความสุขกาย สุขใจ และมีความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะ สาธุ
    thaxx
    ;aa9
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2008
  20. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    ข้าพเจ้า ไม่ทราบว่ายุ่งมากไปหรือไม่ ที่อยากจะแบ่งปันความรู้เรื่องการปฏิบัติทั้งๆที่ยังทำได้อย่าง

    ลุ่มๆดอนๆหลายๆคนที่นี่ทำได้ดีข้าพเจ้าทั้งนั้น แต่ก็อดไม่ได้อยู่ดี

    เรียน คุณน้ำใจและ คุณ c486
    ในทัศนะของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายังเชื่อแนวทาง "เห็นทุกข์ เห็นธรรม"เสมอ

    ข้าพเจ้าเป็นคนชอบคิด สำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าคนเราทุกคนมีความเคยชินกับความคิด การสร้าง

    สภาวะ การเกาะ(ถึงขั้นยึดติดสภาวะ)
    ดังนั้นสิ่งที่ข้าพเจ้า จะทำในตอนเริ่มต้น ไม่ใช่ ความพยายามที่ทรงอารมณ์สมถะอื่นๆ แต่ข้าพเจ้า จะ

    เริ่มมองทุกข์ ให้เห็นก่อน(มองให้เห็นถึงความไม่เที่ยงในสภาวะ)

    ทุกข์ คือความไม่เที่ยง การไม่สามารถทรงสภาวะใดสภาวะหนึ่งตลอดเวลา ดังการเกิดขึ้น ทรงอยู่

    การแปรเปลี่ยนของความคิด เจตนา อิริยาบท ความรู้สึกทางใจ อาการทางกาย เป็นต้น
    ความทุกข์ทั้งหมด ถูกบดบังด้วยการเปลี่ยนแปลง หาก เราพยายามที่จะรักษาสภาวะใดๆๆให้ทรงตัว

    นั่นคือเราใช้ ตัณหา หรือฉันทะ พยายาม ยืดสภาวะ นั้นๆ จริงๆ ตรงนั้นในเบื้องต้น คือทุกข์ อีกนั่น

    แหละ ทุกข์จากการผิด ธรรมชาติ ของธาตุขัณฑ์ เพราะพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

    คือ สภาวะธรรมทุกชนิดมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับ ไปเป็นธรรมดา! ธรรมชาติทั้งหลายตั้งแต่รูป

    อารมณ์ความจำ ความคิด การรับรู้ ไม่ทรงตัวอยู่คงเดิมได้ มีความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติ ไม่สามารถ

    บังคับบัญชาได้ (เกิดดับสลับกับเป็นธรรมดา) ดังนั้น มันไม่แปลกอะไรเลยที่เราจะไม่สามารถ

    พยายามเข้าไปรู้ลมหายใจเราได้ทุกขณะ ไม่แปลกที่ใจเราจะไหลไปสู่สิ่งโน้นบ้างนี่บ้างเป็นปกติ

    เพราะนั่นคือธรรมชาติ ของมัน!!
    และจะทำให้ยอมรับได้อย่างไร ในชั้นแรก คือ บอกตัวเองตามข้อความข้างบนบ่อยๆๆ เหมือนท่อง

    หนังสือ นานๆไปเราจะเริ่มสังเกตเห็นความทุกข์เอง บางครั้งมันก็ผุดมาเองด้วย นั่น คือ ปลูกนิสัย

    หากเรายอมรับตรงนี้ เบื้องต้น เราก็จะลด ละ ความกังวลเกี่ยวกับอารมณ์ที่ผ่านมาแล้ว และ อนาคตที่

    มันยังมาไม่ถึง จนอยู่กับ ปัจจุบันมากขึ้น


    และการหันกลับมามองสิ่งที่อยู่ตรงหน้านี่เอง คือการที่เราจะเริ่มปรับสภาวะให้อยู่กับร่องกับรอย

    กรรมฐานมีทั้งหมด 40 กอง ทุกกอง คือ วิปัสสนาหาก คุณยอมรับสภาวะแห่งความอนิจจังในทุกกอง

    คุณอาจเลือกทรงสภาวะที่คุณชอบโดยการดึงตนกลับมาที่ลมหายใจเท่าที่นึกได้ รักษาภาพพระ หรือ

    อะไรตามที่คุณชอบโดย ได้ดีและเป็นธรรมชาติกว่าแต่ก่อน

    ข้าพเจ้าชอบมากที่หลวงพี่ท่านถามคุณเถรีในกระทู้รู้จักหลวงพี่เล็กได้อย่างไร ว่า "ทำอย่างไรจะทรง

    ฌาณ ได้นานที่สุด" เพราะในความคิดของข้าพเจ้า เป็นคำถามที่คนมักไม่ค่อยคิดหาคำตอบที่แท้สัก

    เท่าไหร่ เพราะคำถามดูง่ายๆแต่คำตอบยากสำหรับข้าพเจ้ามาก เพราะต้องอาศัยไม่ใช่ความคิดแต่เป็น

    การสังเกตการปฏิบัติด้วย
    (ซึ่งข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าคำตอบที่ได้จะเหมือนคำตอบของคนอื่นหรือไม่ แต่อย่างน้อยๆ มันคือคำตอบ

    ของข้าพเจ้าที่คิดว่าใช่)

    ถ้าเป็นข้าพเจ้า คำตอบของข้าพเจ้ามีตั้งแต่
    1) หากฌาณ คืออารมณ์ ชิน ก็แค่ อาศัย ทำจนชินจนมันติดเป็นนิสัย หรือสันดาน นั่นคือ ฌาณ
    2) ธรรมชาติที่ควรยอมรับมากที่สุด(ทำให้เข้าถึง และชินกับธรรมชาติเดิมมากที่สุด) คือการยอมรับว่า

    ธรรม(รูป อารมณ์ ความจำ ความคิด การรับรู้) ทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง มีความแปรเปลี่ยนเป็น

    ธรรมดาและไม่ใช่ตัวตนบุคคลเราเขา บังคับบัญชาไม่ได้

    ข้าพเจ้าคิดว่า หากยอมรับ สองสิ่งนี้ได้ ความพยายามที่จะทรงรักษาอารมณ์ก็จะไม่มี แต่มันกลายเป็น

    อัตโนมัตเพราะยอมรับความเป็นจริง

    ปล. 1) รูป อารมณ์(เวทนา) ความจำ(สัญญา) ความคิด(สังขาร) วิญญาณ(อารรับรู้สัมผัสผ่านตาหูจมูกลิ้น กายใจ) คือ ขัณฑ์ 5 นะค่ะ

    เอา มาฝากค่ะถ้าเป็นไปได้ อยากให้เอาไปเปิดฟังบ่อยที่สุดเท่าที่จะบ่อยได้ ให้มันเข้าหูไปเองค่ะ( ข้าพเจ้าเคยส่งให้เพื่อนเขาฟังทุกคืน(เขาเปิดทั้งคืน แต่อันนี้คุณต้องหา ความพอประมาณของคุณเองค่ะ) จนบางครั้งมันผุดมาเอง เพื่อตัดขัณฑ์ แบบอัตโนมัติค่ะ สมัยนี้เครื่องทุ่นแรงเยอะค่ะ ไม่ต้องนั่งท่องบ่นเหมือนแต่ก่อนค่ะ

    File อนัตตลักขณสูตร หลวงพ่อสุวัฒน์ วัด ไผ่เจริญธรรม ค่ะ

    :z10

    KEEP YOU CHIN UP UP and CHEERS!!!!!!!!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...