การภาวนาโดยการท่องคาถาทำอย่างไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ทดแทน, 2 เมษายน 2009.

  1. ทดแทน

    ทดแทน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +116
    เป็นเหมือนกับการภาวนาพุทโธหรือป่าวครับ คือต้องจับที่ลมหายใจเข้าออกด้วยหรือป่าวครับ
    ผมอยากจะถามเกี่ยวกับจริตในการทำสมาธิของผมครับ เราจะทราบได้อย่างไรว่าเราจะถูกกับกรรมฐานกองไหนใน40กองครับ คือผมจะเป็นคนที่ค่อนข้างจะสมาธิสั้นนะครับ ตอนทำสมาธิถ้าภาวนาพุทโธเป็นการภาวนาสั้นๆนะครับ
    แต่ถ้าเป็นคำภาวนายาวๆหน่อยจะทำให้จิตฟุ้งซ้านน้อยลงนะครับ ใครรู้ชอบแนะนำหน่อยครับว่าใช้กองไหนดีครับ(ถ้าใช้คาถาในการภาวนาใช้คาถาไหนดีครับ)อนุโมทนา กับบุญกุศลและความดีที่ทุกๆท่านทำครับ สาธุ
     
  2. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    การปฏิบัติธรรมมีอยู่สององค์ใหญ่ๆ คือ สมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน
    แต่ละอย่างก็มีจุดประสงค์อันเดียวกัน
    ส่วนจะให้เลือกกรรมฐานใน 40 กอง นั้นนะ..ขอไม่ออกความเห็นดีกว่า
    เพราะผลมันเคยเกิดเพราะคนสอนเอาแต่จริตของตนเองยัดใส่คนฝึก โดยไม่มีความเป็นอุเบกขาเอาเสียเลยมาก่อนนั้น..ก็เคยมีและมันไม่เป็นไปในทางที่เกิดประโยชน์
    จึงเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติเองนั้นเลือกเอาตามความชอบ ตามจริตของตนใครอยากได้อภิญญา ใครจะเล่นนับฌาน หรือ ใครจะไม่เอาอะไรเลยซักอย่างมุ่งตรงสู่พระนิพพานเลย
    นั้นก็แล้วแต่ท่านล่ะทีนี้

    คราวนี้มาพูดกันถึงเรื่องภาวนากันนะ
    การภาวนานั้นจุดประสงค์หลักของการปฏิบัติภาวนาคืออะไรล่ะ รู้หรือยัง ?
    ถ้ายังก็หาคำตอบไปก่อนนะครับ มันไม่ยากเกิดความสามารถหรอกถ้าหากว่า
    เราเริ่มที่จะมีความคิดเห็นที่ถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ เสียก่อน
    ความคิดเห็นในที่นี้คือสัมมาทิฐิ
    ความคิดเห็นที่ว่า สิ่งทุกอย่างทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น
    แม้กระทั่ง ณ.ขณะนี้ ที่คุณกำลังเข้าไปยึดในคำบริกรรม ว่าจะ พุทโธ หรือ หนอ หรือ คาถา หรือ กสิน หรือ จะเอาทุกอย่างเลยก็ไม่มีใครว่าหรอก
    แต่ถ้าจะเอาแค่ถูกหรือผิด อันนี้ตัวเองจะรู้ดีกว่าคนอื่นมารู้ตัวเรา
    จุดประสงค์ของการภาวนาก็เพื่อ....ความสงบของจิตใจ
    แบ่งออกเป็นความสงบปลีกย่อยได้อีกหลายประเภทแต่ตอนนี้ภาวะนาไปก่อนเถิดนะครับ
    มันจะสงบก็รู้ มันจะไม่สงบก็รู้ ทำมันไปจนเกิดสติที่เป็นสัมมาสติ จนเป็นสัมมาสมาธิ..ของสองสิ่งนี้เกื้อกูลกัน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมไม่ได้อีกสิ่งหนึ่ง

    และจงมี สัมมาทิฐิ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    หรือใครจะบอกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือคำเหล่านี้ วนไปเวียนมา หรือ จะเป็นแบบพรมวิหาร4 ก็แล้วแต่ เมื่อมีปฏิบัติจนเห็นผลแล้ว ปัญญาจะพาให้หลุดพ้นได้ทั้งนั้น..
    ถึงตรงนั้นหอคอยแห่งนิพพานจะส่องแสงให้เดินตามทางได้ถูก ขออุปมาไว้อย่างนี้ก็แล้วกันนะครับ

    อนุโมทนา
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    แบ่งกรรมฐาน ๔๐ ให้เหมาะแก่จริต<O:p</O:p


    เพราะอาศัยที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมีมาเพื่อเป็นศาสดาทรงสั่งสอนบรรดา
    สรรพสัตว์เพื่อให้บรรลุมรรคผลด้วยหวังจะให้พ้นจากทุกข์อันเกิดจากการเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ
    ความเป็นสัพพัญญูของสมเด็จผู้ทรงสวัสดิ์พระองค์ทรงทราบถึงความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ
    ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้นด้วยตรัสเป็นพระพุทธฎีกาไว้ว่าเมื่อใดอารมณ์
    จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใดก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกัน
    เข้าพิจารณาหรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณเพื่อ
    มรรคผลนิพพานต่อไปฉะนั้นขอนักปฏิบัติทั้งหลายจงสนใจเรียนรู้กรรมฐาน ๔๐ กอง และจริต
    ประการตลอดจนกรรมฐานที่ท่านทรงจัดสรรไว้เพื่อความเหมาะสมแก่จริตนั้นๆท่องให้ขึ้นใจไว้
    และอ่านวิธีปฏิบัติให้เข้าใจ เพื่อสะดวกเมื่อเห็นว่าอารมณ์เช่นใดปรากฏจะได้จัดสรรกรรมฐานที่
    พระพุทธองค์ทรงกำหนดว่าเหมาะสมมาหักล้างอารมณ์นั้นๆ ให้สงบระงับถ้านักปฏิบัติทุกท่านปฏิบัติ
    ตามพระพุทธฎีกาตามนี้ได้ ท่านจะเห็นว่าการเจริญสมถะเพื่อทรงฌานก็ดี การพิจารณาวิปัสสนาญาณ
    เพื่อมรรคผลนิพพานก็ดี ไม่มีอะไรหนักเกินไปเลยตามที่ท่านคิดว่าหนักหรืออาจเป็นเหตุสุดวิสัยนั้น
    ถ้าท่านปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วท่านจะเห็นว่าไม่หนักเกินวิสัยของคนเอาจริงเลย
    กับจะคิดว่าเบาเกินไปสำหรับท่านผู้มีความเพียรกล้าเสียอีกกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ท่านจำแนกแยก
    เป็นหมวดไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตนั้นๆมีดังนี้ คือ<O:p</O:p

    ๑. ราคจริต<O:p</O:p


    ราคจริตนี้ท่านจัดกรรมฐานที่เหมาะสมไว้ ๑๑ อย่างคือ อสุภกรรมฐาน ๑๐กับกายคตานุสสติ
    กรรมฐาน อีก ๑รวมเป็น ๑๑อย่างในเมื่ออารมณ์รักสวยรักงามปรากฏขึ้นแก่อารมณ์จิตจงนำกรรมฐาน
    นี้มาพิจารณาโดยนำมาพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งจากกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ ตามแต่ท่านจะชอบใจ
    จิตใจท่านก็จะคลายความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ลงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นอะไรเลยถ้าจิตข้อง
    อยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติจนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์
    เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุทั้งหลายที่เคยนิยมชมชอบว่าสวยสดงดงามกลายเป็นของ น่าเกลียด
    โสโครกโดยกฎของธรรมดาจนเห็นว่าจิตใจไม่มั่วสุมสังคมกับความงามแล้วก็พิจารณาวิปัสสนาญาณ
    โดยยกเอาขันธ์ ๕เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเราโดย
    เอาอสุภกรรมฐานหรือกายคตานุสสติกรรมฐานเป็นหลักชัยทำอย่างนี้ไม่นานเท่าใดก็จะเข้าถึงมรรคผล
    นิพพานการทำถูกไม่เสียเวลานานอย่างนี้<O:p</O:p

    ๒.โทสจริต<O:p</O:p


    คนมักโกรธหรือขณะนั้นเกิดมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้นขวางอารมณ์ไม่สะดวกแก่
    การเจริญฌานท่านให้เอากรรมฐาน ๘ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ และ วัณณกสิณ ๔วัณณกสิณ ๔
    ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณเพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
    กรรมฐานทั้งแปดอย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะท่านจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสม
    แก่ท่านคือตามแต่ท่านจะพอใจเอามาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะก็จะค่อยๆคลายตัว
    ระงับไป<O:p</O:p

    ๓. โมหะ และ วิตกจริต<O:p</O:p


    อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลงและครุ่นคิดตัดสินใจอะไรไม่เด็ดขาดท่านให้เจริญ
    อานาปานุสสติกรรมฐานอย่างเดียวอารมณ์ความลุ่มหลงและความคิดฟุ้งซ่านจะสงบระงับไป<O:p</O:p


    ๔. สัทธาจริต<O:p</O:p


    ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อเชื่อโดยปกติหรืออารมณ์แห่งความเชื่อเริ่มเข้าสิงใจก็ตาม
    ท่านให้เจริญกรรมฐาน๖ อย่าง คือ อนุสสติ ๖ ประการ ดังต่อไปนี้ (๑) พุทธานุสสติกรรมฐาน
    (๒) ธัมมานุสสติกรรมฐาน (๓) สังฆานุสสติกรรมฐาน (๔)สีลานุสสติกรรมฐาน (๕) จาคา-
    นุสสติกรรมฐาน (๖) เทวตานุสสติกรรมฐาน อนุสสติทั้ง ๖ อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่
    ดำรงสัทธาผ่องใส<O:p</O:p

    ๕. พุทธิจริต<O:p</O:p

    คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ และมีปฎิภาณไหวพริบดีท่านให้เจริญกรรมฐาน ๔
    อย่าง ดังต่อไปนี้ (๑)มรณานุสสติกรรมฐาน (๒) อุปสมานุสสติกรรมฐาน (๓) อาหาเรปฏิกูลสัญญา
    (๔) จตุธาตุววัฏฐาน รวม ๔ อย่างด้วยกัน


    กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง ๖ท่านจัดเป็นหมวดไว้ ๕ หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะ
    แก่จริตโดยเฉพาะจริตนั้นๆ รวม ๓๐ อย่าง หรือในที่บางแห่งท่านเรียกว่า ๓๐ กองกรรมฐาน
    ทั้งหมดด้วยกันมี ๔๐ กอง ที่เหลืออีก ๑๐กอง คือ อรูป ๔ ภูตกสิณ ได้แก่ ปฐวีกสิณเตโชกสิณ
    วาโยกสิณ อาโปกสิณ ๔อย่างนี้เรียกภูตกสิณ อาโลกสิณ ๑ และอากาศกสิณอีก ๑ รวมเป็น
    ๑๐ พอดี กรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้ท่านตรัสไว้เป็นกรรมฐานกลางเหมาะแก่จริตทุกอย่างรวม
    ความว่าใครต้องการเจริญก็ได้เหมาะสมแก่คนทุกคนแต่สำหรับอรูปนั้นถ้าใครต้องการเจริญ
    ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ฌาน ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้มิฉะนั้นถ้าเจริญอรูป
    เลยทีเดียวจะไม่มีอะไรเป็นผลเพราะอรูปละเอียดเกินไปสำหรับนักฝึกสมาธิใหม่<O:p</O:p


    เนื้อหาเพิ่มเติมเข้าลิงค์ข้างล่างเลยครับ.......<O:p</O:p
     
  4. SaveMax

    SaveMax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +582
    การภาวนา ทำได้ทั้ง สมถะ และวิปัสนา
    1) การภาวนาเป็นที่ยึดมั่นของจิตหรือเป็นฐานของจิต พอจิตหลงไปจากคำภาวนาก็ให้รู้ตัว รู้จิตไปเรือยๆ อันนี้เป็นการทำวิปัสนา(การภาวนาต้องรู้สึกตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง)
    2) ภาวนาเพ่งอยู่กับองค์ภาวนาจนจิตสงบเป็นญาณ ก็เป็นสมถะ

    ถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ จำเขามาน่า
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อ้าว นั่นไง ดูตรงนั้นแหละ ตรงไหนเหรอ

    ก็ตรงที่เห็นว่า จิตมันฝุ้งซ่าน

    เราไม่ได้มาภาวนาเพื่อให้ทำให้ จิตมันฝุ้งซ่านน้อยลง หรือมากขึ้น

    เรามาภาวนาเพื่อให้รู้จักสภาวะธรรม ที่เรียกว่า จิตฝุ้งซ่าน ว่ามันมี
    ลักษณะอย่างไร ปรากฏในใจหรือยัง อันนี้เป็นสัจจญาณ แล้วก็
    ดูไปอีกว่า มันเกิดเพราะอะไร เพราะจิตแล่นเข้าในโลกของรูป-นาม
    ใช่หรือเปล่า นี่คือเข้าใจว่า มันเกิดได้อย่างไร เรียกว่า กิจญาณ
    เสร็จแล้วก็ดูไปอีกว่า จิตฝุ้งซ่านแล้วมีผลอย่างไร เรียกว่า กตญาณ

    เราจะศึกษาธรรมด้วยการรู้ลงใน ญาณ3 แบบนี้แหละ คือ สัจจญาณ
    เห็นมันเกิด กิจญาณเห็นมันเกิดได้อย่าวไร กตญาณ เห็นมันเกิด
    แล้วมีผลอย่างไร ดูไปเรื่อยๆ

    เราเอามาดู เอามาอาศัยระลึกเห็น สภาวะธรรม

    พอเห็นมากๆเข้า จิตมันจะได้รับการอบรมให้รู้จัก จิตฝุ้งซ่าน แล้ว
    จิตมันจะรู้ด้วยตัวเอง โดยเราไม่ต้องแทรกแซงการเห็นของจิต พอ
    จิตมันตัดสินได้ มันจะละของมันเอง เพราะมันรู้ว่า นั่นทุกขสัจจ

    วันที่มันวางของมันเอง ตรงนี้แหละ มันจะเบาบางลงเอง

    ก็จะเห็นว่า คุณได้ปฏิบัติได้ถูกจริตแล้ว จึงสามารถจำแนกสภาวะ
    ธรรมที่เรียกว่า ฝุ้งซ่าน ได้

    หลังจากทำแบบนี้แล้ว เข้าใจแล้ว ทีนี้ก็ต้องเอาวิธีการดูแบบนี้ไป
    ระลึกดูสภาวะธรรมชนิดอื่นๆ

    แล้วการไปดูสภาวะธรรมชนิดอื่นๆ ก็ไม่ใช่จะต้องไปดูมากๆ เรา
    จะดูจนพอเห็นว่า ทุกอย่างมันมีสภาพธรรมชาติบางอย่างเหมือน
    กัน มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเหมือนกัน เป็นไตรลักษณ์ และมัน
    ก็เกิดขึ้นเพราะ จิตยังมีอวิชชา "อวิชชาปัจจัยย สังขารา" ก็จะมอง
    ทะลุลงไปว่า ล้วนลงเป็นธรรม แบบนี้จะเรียกว่า เห็นธรรมในธรรม

    คือ หยิบมาดูแค่บางส่วนก้สามารถแทงทะลุได้ เสมือนเห็นแทนทุกๆ
    รูปธรรมได้ เมื่อรู้เห็นธรรมลงเป็นหนึ่งแล้วแทงทะลุได้ ตอนนั้น
    จะเรียกว่า เห็นธรรม

    ก็ฝึกไปแบบน้นแหละครับ เห็นอะไรก็ระลึกรู้ไป จะค่อยๆภาวนา
    เป็น พร้อมได้สมาธิไปด้วย

    * * *

    ปฏิบัติ มาจากคำว่า ปฏิ แปลว่า เฉพาะ บัติ แปลว่า ถึง เมื่อ
    แปลรวมๆ คือ ธรรมที่ถึงเฉพาะหน้า ยกตัวอย่างเช่น เราบริกรรม
    อยู่ เดี๋ยวก็ช้า เดี๋ยวก็เร็ว เสร็จแล้ว ธรรมเฉพาะหน้าที่ปรากฏคือ
    เห็นความฝุ้งซ่าน มันมีลักษณะอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนี้ นี่แหละ
    คือ กำลังเห็นเฉพาะหน้า กำลังปฏิบัติอยู่

    เห็นแล้วก็อย่าไป ยินดี ยินร้ายนะ แต่ถ้า เห็นอะไรแล้ว จิตยินดี ยินร้าย
    มันเกิดก็ให้มา ปฏิ--บัติ เห็นยินดี ยินร้าย เป็นธรรมเฉพาะหน้า เรียกว่า
    รู้ลงปัจจุบัน หรือ พร้อมรู้สิ่งที่เกิดเฉพาะหน้า(รู้ตัวทั่วพร้อม) ทำแบบ
    นี้ไปเรื่อยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2009
  6. ทดแทน

    ทดแทน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +116
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
     
  7. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    ถ้าท่องคาถา คงจับลมหายใจไม่ไหว ก็จับที่คาถานั่นแหล่ะ

    ถูกจริตแบบไหน... ก็ลองทำดู ถ้าทำแล้วรู้สึกว่า ง่ายดี ก็เอาแบบนั้นแหล่ะ ทำไปทำมา อาจจะเปลี่ยนเป็นแบบอื่นก็ได้
     
  8. ชาวพุทธครับ

    ชาวพุทธครับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2007
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +59
    (^-^" ) ก็เหมือนๆกานลาคร้าบ พาวนาเหมือนพุท โธ ไม่ต้องกำหนดวรรคว่าหายใจออกเท่านี้ เข้าเท่านี้ อาราย ลมหายใจเข้าออกก็ปล่อยไปตามเรื่องพวานาอย่าให้ขาดก็เอาละคร้าบ จับจุดที่ลมกระทบก็ได้คร้าบบตรงปลายจมูกหรือตรงหนายก็ได้คำพาวนาก็บ่นมานไปเรื่อยๆ
    กองหนายน้านก็แล้วแต่ท่านชอบอานหนายก็เอาอานน้าน

    อยากจะมาร่วมวงด้วยฮะๆ
     
  9. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,310
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ตามนี้ครับ จขกท มาโหลดไปฟังเองครับ อนุโมทนาครับ

    <center>หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ - จริต ๖ และ วิธีใช้กรรมฐานให้ถูกกับจริต

    </center> <hr style="color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message --> จริต6และวิธีใช้กรรมฐานให้ถูกกับจริต
    <!-- / message --> <!-- attachments --> <table style="border-collapse: collapse;" id="AutoNumber1" width="330" border="1" bordercolor="#ffffff" cellspacing="1"> <tbody><tr> <!-- player --> <td width="317"> กดที่ [​IMG] หน้าชื่อไฟล์ เพื่อรับฟังเสียงที่คุณเลือก. </td> </tr> </tbody></table>
    <!-- OEF MS Player --> <fieldset class="fieldset"><legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td width="10%"><input id="play_155" onclick="document.all.music.url=document.all.play_155.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=155" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>ราคะจริต.mp3 (6.24 MB, 3887 views)</td></tr><tr> <td width="10%"><input id="play_156" onclick="document.all.music.url=document.all.play_156.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=156" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>โทสจริต.mp3 (5.72 MB, 2515 views)</td></tr><tr> <td width="10%"><input id="play_157" onclick="document.all.music.url=document.all.play_157.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=157" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>วิตกโมหะจริต.mp3 (5.85 MB, 2363 views)</td></tr><tr> <td width="10%"><input id="play_158" onclick="document.all.music.url=document.all.play_158.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=158" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>ศรัทธาจริต.mp3 (5.72 MB, 2151 views)</td></tr><tr> <td width="10%"><input id="play_159" onclick="document.all.music.url=document.all.play_159.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=159" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>พุทธจริต.mp3 (5.68 MB, 2167 views)</td></tr></tbody></table></fieldset>http://audio.palungjit.org/showthread.php?t=66
     
  10. mayl8e

    mayl8e Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2005
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +55
    หรือไม่ก็ลองกสิณกลางดูก็ได้ครับ กสิณที่จริตไหนก็ทำได้
    ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ แสง
     

แชร์หน้านี้

Loading...