ช่วยตอบปัญหาเกี่ยวกับสติกับสมาธิหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย LordNight, 10 พฤษภาคม 2009.

  1. LordNight

    LordNight สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2009
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    อยากทราบว่าสติกับสมาธิคืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร การดำเนินชีวิตในแต่ละวันควรกำหนดรู้อย่างไรครับ ?
     
  2. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ตอบจากความรู้ความเข้าใจส่วนตัว ถ้าผิดพลาดอย่างไร ขออภัยมา ณ ที่นี้

    สติ มี 2 อย่าง คือมิจฉาสติ และสัมมาสติ

    มิจฉาสติ หรือสติสำหรับอยู่กับโลก เป็นการที่สติระลึกรู้สิ่งนอกกายและใจเรา เช่นมีสติกับการขับรถ ถ้าไม่มีสติก็ขาดความระมัดระวังขับรถชนได้ การมีสติชนิดนี้ไมได้รู้สภาวะธรรมในตัวเรา ทำให้ไม่สามารถมองเห็นกิเลสได้

    สัมมาสติ หรือสติที่เป็นไปเพื่อการอยู่เหนือโลก เป็นไปเพื่อโลกุตตระ คือการที่สติระลึกรู้กายหรือใจของเรา ถ้าไประลึกรู้กายและใจคนอื่นก็ไม่ใช่สัมมาสติ จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ บังคับให้เกิดไมได้ ( ถ้าบังคับให้เกิดได้ก็เป็น อัตตา ) เมื่อมีเหตุปัจจัยเหมาะสมก็จะเกิดขึ้นเอง เหตุปัจจัยที่เหมาะสมคือการที่จิตหัดจำสภาวะไปเรื่อย จนจิตจำสภาวะนั้นได้ เมื่อสภาวะนั้นๆเกิดขึ้นก็จะระลึกรู้ขึ้นมาได้เอง เช่น เมื่อก่อนเราโกรธใครจะโกรธนาน หลายนาทีกว่าจะรู้สึกตัว แต่ถ้าความโกรธเกิดขึ้นแล้วรู้ขึ้นมาเมื่อไร จิตก็จะหัดจำสภาวะความโกรธได้ รู้ไปเรื่อยๆเมื่อความโกรธเกิดขึ้น จะสามารถรู้ทันได้เร็วขึ้น อารมณ์โกรธจะครอบงำเราได้สั้นลง

    สมาธิมี 2 แบบคือ มิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ

    มิจฉาสมาธิคือการทำสมาธิอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วจิตไม่ยอมเดินปัญญาต่อ เมื่อไม่เกิดปัญญาก็ไม่สามารถพาพ้นทุกข์ได้ สมาธิชนิดนี้จะเกิดขึ้นเมื่อจิตไปเพ่ง ไปแช่ ไปค้างติดอยู่ในอารมณ์บางอย่าง ถ้าติดสั้นๆ ก็เสียเวลาน้อยอาจจะแค่ในชาตินี้ ถ้าติดนานๆก็เสียเวลามาก อาจมากถึงเป็นหลายกัลป์ก็เป็นได้เช่นรูปพรหม หรืออรูปพรหมทั้งหลาย สมาธิชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกับพวกที่ฤาษีชีไพรเจริญกัน มีมาก่อนศาสนาพุทธ

    สัมมาสมาธิ คือจิตที่มีความตั้งมั่น ไม่ไหลไปตามอารมณ์ต่างๆที่จรเข้ามา เกิดได้ 2 แบบ คือฝึกสติระลึกรู้ไปเรื่อยๆ จนจิตมีกำลังขึ้นเรื่อยๆ จิตจะค่อยๆถึงฐาน จนตั้งมั่นได้ หรือถ้าใครมีความสามารถในการทำสมาธิ จะใช้คำบริกรรมหรือองค์ภาวนาใดๆก็ได้ หรือจะไม่ใช้ก็ได้ แต่เมื่อทำสมาธิแล้ว จิตไม่ไหลไปกับอารมณ์แยกออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู จนกำลังความสงบ ความตั้งมั่น ตั้งแต่ฌาณ ๒ วิตกและวิจารณ์จะหายไป ( ความคิดหรือสมมุติบัญญัติหายไป เหลือแต่อาการรู้ ) เป็นสมาธิที่มีเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้น

    ยกตัวอย่างมิจฉาสมาธิ เราบริกรรมพุธโธ หรือสัมมา อรหัง หรือพอง ยุบ แล้วจิตเราไปแนบกับคำว่าพุธโธ โดยอารมณ์อื่นจะเป็นอย่างไรไม่สนใจ จะอยู่แต่กับพุธโธที่ตนเองตั้งไว้ จนจิตมีแต่ความสุข ความสงบ พอออกมากระทบโลกก็ไม่พอใจอยากจะทำแต่สมาธิเพื่อให้ได้ความสุข ความสงบนั้น

    ในทางกลับกัน ถ้าเราบริกรรมพุธโธ หรือสัมมา อรหัง หรือพอง ยุบ แล้วจิตไม่ไปแนบกับคำว่าพุธโธ หรือสัมมา อรหัง หรือพอง ยุบ แต่เห็นคำว่าพุธโธ หรือสัมมา อรหัง เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ หรือเห็นอาการพอง ยุบของร่างกายจริงๆ โดยที่ไมได้คิดเอา ตรงนี้ได้จิตจะค่อยๆตั้งมั่น สะสมกำลังของสมาธิแบบที่เป็นไปเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิและปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2009
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เขาถามมาหน่อยเดียวแหละี พี่ tro ตอบซะยืดยาว

    นี่แหละครับ เขาเรียกว่า น้ำล้นถ้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...