7 ขั้นตอนสู่การนอนอย่างพระอรหันต์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ต้นน้ำธรรม, 17 พฤษภาคม 2009.

  1. ต้นน้ำธรรม

    ต้นน้ำธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    681
    ค่าพลัง:
    +437
    [​IMG]
    พระนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า

    1.ลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงทันทีที่ตื่น อย่ามัวโอ้เอ้ งัวเงียพ่ายแพ้ให้ความขี้เกียจ เพราะการตื่นขึ้นเองโดยไม่มีใครปลุกเป็นการส่งสัญญาณให้คุณรู้ว่า สมองได้พักผ่อนเพียงพอแล้ว การนอนนานกว่านั้นจึงถือเป็นความขึ้เกียจ
    2. หมั่นเจริญสติและฝึกสมาธิระหว่างวัน เพื่อจัดสรรระเบียบสมองและลดการปรุงแต่งอารมณ์
    3. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้สมองและร่างกายตื่นตัวก่อนนอน เช่น การดูหน้งแอคชั่น การออกกำลังกาย การดื่มเครืองดื่มที่มีคาเฟอีน การคิดเรื่องงาน ฯลฯเพื่อให้ร่างกายพร้อมเข้าสู่การนอนอย่างสงบและมีสติ
    4. นอนอย่างปล่อยวาง ทำจิตใจให้ว่างก่อนเข้านอน ด้วยการสะสางงาน และวางแผนสิ่งที่จะต้องทำวันรุ่งขึ้นให้เรียบร้อย อาจวางกระดาษและดินสอไว้ข้างเตียงเพื่อจดสิ่งที่นึกขึ้นได้ จะได้ไม่ต้องคิดวนไปเวียนมาเพราะกังวล
    5. จัดระเบียบการนอน มีกำหนดเวลาการนอนและตื่นที่ชัดเจนเพื่อสร้างวินัยให้ร่างกาย
    6. นอนในที่เย็น เงียบ และมืด ปราศจากแสง เสียงและสิ่งรบกวนที่ทำลายสมาธิในการนอน
    7. หลับไปด้วยจิตอันนิ่ง สงบ และเป็นกุศล แทนที่จะหลับไปอย่างเหนื่อยอ่อน เพราะคิดปรุงแต่งสารพัน ลองหันมาสงบสติอารมณ์ก่อนนอนด้วยกุศโลบายง่ายๆ 2 วิธีนี้

    วิธีที่ 1 นอนสมาธิตามหลักสติปัฎฐาน
    1. นอนหงายมือวางข้างลำตัว
    2. นำไปจดจ่ออยู่ที่หน้าท้อง
    3. หายใจเข้าให้รู้ว่าหน้าท้องพอง หายใจออกให้รู้ว่าหน้าท้องยุบ
    4. มีสติจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของหน้าท้องจนกว่าจะหลับไป
    5. พยายามสังเกตให้ได้ว่าหลับไปในขณะที่หน้าท้องพองหรือยุบ

    วิธีที่ 2 หลับด้วยการผ่อนคลายเชิงลึกในแบบโยคะ
    1. นำใจไปจดจ่ออยู่กับการผ่อนคลายส่วนต่างๆของร่างกายโดยเริ่มตั้งแต่ศรีษะ
    2. ผ่อนคลายทุกส่วนของอวัยวะที่ใจจดจ่ออยู่ จนกระทั่งไม่รู้สึกถึงความตึงเครียดใดๆที่อวัยวะนั้นแล้วจึงเลื่อนใจไปยังอวัยวะข้างเคียง
    3. หากไม่แน่ใจว่าอวัยวะนั้นผ่อนคลายพอแล้วหรือยัง ไห้หายใจเข้าลึกๆแล้วเกร็งอวัยวะนั้นให้ตึงที่สุดพร้อมกับกลั้นใจไว้ แล้วจึงหายใจออกเต็มที่พร้อมกับผ่อนคลาย
    4. ค่อยๆผ่อนคลายไล่ไปทีละอวัยวะ จนกระทั่งถึงปลายเท้าแล้วจึงวนกลับขึ้นมาจนถึงศรีษะอีกครั้ง
    5. ทำเช่นนี้จนกว่าจะหลับไปอย่างผ่อนคลายและมีสติ



    ขอขอบคุณบทความจากหนังสือซีเคร็ต อนุโมทนาบุญครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มิถุนายน 2009
  2. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,151
    ค่าพลัง:
    +18,075
    ผู้ใดทำจิตให้ถึงพร้อมซึ่งอริยะมรรคทั้ง 8 ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถได้ ก็ถือว่าเป็นอริยะจริยา
     
  3. yupanatuk

    yupanatuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +418
    อนุโมทนา สาธุ หากปฏิบัติธรรมเจริญสติขณะนอนหลับ เกิดตายลงขณะนอน อย่างน้อยก็ไปสวรรค์,หรือพรหม ถือว่าโชคดีมากๆ
     
  4. โชเต

    โชเต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +331
    ถ้าฆาราวาสอย่างเรา ๆ คงจะทำยาก มาก ๆ งั้นคงจะต้องบวชเป็นพระล่ะครับ
    ทำอะไร ปฏิบัติธรรมต่อมิอะไร สะดวกราบรื่นดีกว่าฆาราวาส แบบเห็นๆ
     
  5. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,164
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,232
    จริงครับ เพราะชีวิตประจำวันของพวกเรานี่ ช่่างผูกมัดเวลาของพวกเราจริงๆ
     
  6. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]
    ท่านี้ คือ ท่านอนที่ดีที่สุด เพราะไม่กดทับหัวใจ และน้ำหนักตัวของเราจะไม่กดทับกระดูกสันหลัง

    [​IMG]

    ท่านอนแบบไหนถึงจะหลับสบาย


    <!-- /////////// div post //////////////// --><!-- style="border:2px solid #C0C0C0" เส้นขอบเก่า--><!-- div post_data --><!-- creat picture ---><!-- creat clip --><!-- creat poll --><!-- creat detail --><!-- -->
    นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่าการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ และมนุษย์ใช้เวลาเพื่อการนอนถึง 1 ใน 3 ของอายุขัย เพราะฉะนั้นท่าที่ใช้นอนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากจะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่น แจ่มใส พร้อมที่จะทำกิจกรรมระหว่างวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ท่านอนหงาย คนทั่วไปนิยมนอนท่านี้ เพราะเป็นท่านอน มาตรฐาน การนอนหงายที่เหมาะสมควรใช้หมอนต่ำ และต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอด และโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกะบังลมจะกดทับปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการปวดหลัง การนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย

    ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับท่าอื่น เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก อาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

    ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่าที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้าย จากการนอนทับเป็นเวลานาน แต่ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร

    ท่านอนคว่ำ เป็นท่านอนที่ทำให้หายใจติดขัด ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลัง หรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ

    ที่มา : ��ҹ͹Ẻ�˹�֧����Ѻʺ�� : Webboard www.tlcthai.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  7. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    <CENTER>

    ผมค้นมาให้เป็นเกร็ดความรู้ครับ เกี่ยวกับ "การนอนตะแคงซ้าย หรือ ขวา ของพระพุทธรูป" เพราะหลายคนอาจจะสงสัยครับ

    พระนอนตะแคงซ้าย วัดป่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

    </CENTER>


    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER>ศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย ประมาณอายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 วิชาประติมานวิทยา (ว่าด้วยเรื่องราวรูปเคารพ)กล่าวว่า

    พระนอนตะแคงขวา หมายถึง พุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน

    ส่วนพระนอนตะแคงซ้ายหมายถึง พุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าบรรทมทรงสุบินว่า พระอินทร์มาดีดพิณสามสายถวายเป็นนิมิต ทางสายกลาง พระพุทธเจ้าทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วบำเพ็ญสมาธิ เจริญวิปัสสนา จนทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

    ที่มา : http://www.skn.ac.th/skl/project/suntron/pair11.htm
     
  8. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    วิธีฝึกอิริยาบถที่ 4

    การนอนสมาธิ
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]

    [/FONT]
    [/FONT]<TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=5 width=743 align=center><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD height=259>[​IMG]</TD><TD width=451 align=left>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    [/FONT]วิธีฝึกอิริยาบถ ที่ 4
    การนอนสมาธิ

    การกำหนดดูการเกิดดับของกายวิญาณ (ความรู้สึกภายในกาย) ให้กำหนดดูเป็นจุด ๆ เช่นศรีษะสัมผัสหมอน หรือหลังสัมผัสพื้น หรือส่วนไหนก็ได้ แต่ต้องตั้งสติกำหนดเป็นจุด ในจุดใดจุดหนึ่ง
    การกำหนดการเกิดดับของมโนสัมผัส
    ให้กำหนดดูการผัสสะ ของมโนสัมผัสทั้งสองข้าง (ซ้าย-ขวา).
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา :
     
  9. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    ว.วชิรเมธี กล่าวถึง "การนอนสมาธิ"


    "คนไทยจะได้เห็นว่า นอกจากเราจะมีการฝึกเจริญสติสายยุบหนอ-พองหนอ สายพุทโธ สายอานาปานสติอย่างที่เราคุ้นชินแล้ว ก็ยังมีอีกสายหนึ่งก็คือ สายหมู่บ้านพลัม ที่เน้นการเจริญสติในทุกๆ อิริยาบถ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเอาวัด หรือเอาสมาธิวิปัสสนาไปเชื่อมโยงไว้กับสถาบันศาสนาเสมอไป แต่ใครก็ได้ที่จะมาเข้าสู่ความมีสติ ความรู้เนื้อรู้ตัว โดยผ่านการใช้ชีวิต การทำงาน การปฏิสัมพันธ์ โดยอยู่เหนือรูปลักษณ์ทางศาสนา ทางพิธีกรรม ทางเครื่องแต่งตัวทั้งหมด เพื่อให้เห็นผลมากขึ้น จึงจัด 5 วัน"

    การภาวนาในแต่ละวันนั้น เริ่มต้นตั้งแต่ 05.00 น. ตื่นนอน นั่งสมาธิ สวดมนต์ เดินวิถีแห่งสติ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารเช้าในความเงียบ และฟังบรรยายธรรม จากนั้นรับประทานอาหารเพลร่วมกันเป็นสังฆะ และพักผ่อนตามอัธยาศัย

    ในช่วงบ่ายเริ่มต้นด้วยการนอนกลางวัน หรือผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ มีการนำเสนอข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการ หรือที่เรารู้จักกันในนาม 'ศีล 5' จากนั้นเป็นการภาวนากันเป็นกลุ่ม วิธีเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์ มีการสวดเพลง ฝึกกราบสัมผัสพื้นดิน อันเป็นแผ่นดินแม่ที่ให้กำเนิดเรามา จากนั้นเป็นพิธีน้ำชา และการสร้างสังฆะแห่งสติ

    สำหรับช่วงเย็นเริ่มต้นด้วยการดื่มน้ำปานะ และอาหารเบา จากนั้นสนทนาธรรมในกลุ่มย่อย นั่งสมาธิ สวดมนต์ และก่อนเข้านอนสัมผัสความนิ่งเงียบภายในและภายนอก...

    พระมหาวุฒิชัย ขยายความว่า การนอนกลางวัน หรือการเจริญสติก่อนเข้านอนตอนค่ำนั้นก็คือการนอนสมาธิ เวลาที่ทุกคนนอน สังเกตดู เราทุกคนมีความเสมอภาคกันหมด
    สำหรับการนอนกลางวันที่บางคนอาจจะสงสัยนั้น ท่านอธิบายว่า ทางหมู่บ้านพลัมเขาเรียกว่า การพักผ่อนอย่างสมบูรณ์

    "เพราะปกติ คนเราจะพักผ่อนโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว พอกินอาหารอิ่มแล้วก็หลับบนโต๊ะเลย บางทีก็หลับบนเก้าอี้เลย แต่มีการหลับอีกอย่างหนึ่ง เขาเรียกว่าการหลับอย่างมีสติ คือก่อนที่เราจะหลับตาลง หรือก่อนที่เราจะก้าวลงสู่ภวังค์ จนเป็นการหลับจริงๆ เราก็เจริญสติตามลมหายใจไปจนหลับ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการหลับอย่างรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ใช่หลับเพราะว่าเมาอาหาร แน่นท้องเพราะว่ากินข้าวเหนียวเยอะ แล้วง่วงไปไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่ถ้าเราหลับ ก่อนที่จะหลับมีการเจริญสติไปด้วยแม้แค่ 5 นาที 10 นาที พอตื่นขึ้นมาจะเห็นผลชัดว่ากระปรี้กระเปร่า ดีกว่าการนอนแบบตามสัญชาตญาณ หรือตามกิเลส

    "เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าคืนหนึ่งๆ พระพุทธเจ้าทรงจำวัดประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ทรงมีพระชนมายุถึง 80 พรรษา เห็นไหมว่าการพักผ่อนที่แท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณการนอนหลายๆ ชั่วโมง แต่ขึ้นอยู่กับความนิ่งสนิทของการพักผ่อนมากกว่า เพราะฉะนั้นการพักผ่อนในสมาธิ พระพุทธเจ้าเน้นว่าเป็นพรหมวิหาร หรือเป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม เป็นวิธีพักผ่อนที่แท้จริงของผู้ที่ประเสริฐ"

    ดังนั้น พระในสมัยพุทธกาล หรือครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน อย่างหลวงพ่อชา เป็นต้น ท่านไม่เน้นการนอนมาก แต่จะเน้นการพักผ่อนในสมาธิ การปฏิบัติเช่นนี้ก็ไม่ต่างจากหมู่บ้านพลัม พระมหาวุฒิชัย อธิบายการนอนสมาธิให้กระจ่างมากขึ้น

    "ถ้าเราพักผ่อนในสมาธิ 1 ชั่วโมง เท่ากับนอนทั้งวัน เพราะจิตได้พักจริงๆ แต่คนทั่วไป เวลานอนจิตไม่ได้พัก สังเกตจากเวลาเราฝัน หรือเวลาใครขึ้นบันไดมา เรารู้หมดเลย เพราะหูมันรับก่อน มีอะไรตกเราได้ยินหมดเลย แต่ถ้าเราพักผ่อนในสมาธิ เป็นการพักผ่อนที่พระพุทธเจ้าเคยยกตัวอย่างเอาไว้ว่า ใกล้ๆ กันนั้นมีฝนตกฟ้าร้อง วันนั้นฟ้าผ่าวัวของชาวนาตาย 7 ตัว พระพุทธเจ้าเข้าสมาธิอยู่ใต้ต้นไม้ถัดออกไป มีคนไปถามว่าพระองค์ไม่ได้ยินหรือ พระองค์ตอบว่า ไม่ได้ยินเลย นั่นแสดงว่า พระองค์ทรงพักผ่อนอย่างสมบูรณ์อยู่ สามารถปิดการรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ชั่วโมงเดียวก็เป็นการพักผ่อนนานกว่าคนที่นอนมาทั้งคืน"

    การนอนสมาธิจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการฝึกการพักผ่อนอย่างรู้เนื้อรู้ตัว ซึ่งมีสอนทั้งในเถรวาทและมหายาน ผลที่ได้รับนั้นพระมหาวุฒิชัย กล่าวว่า ในขณะที่เราพักผ่อนอย่างนี้ เราจะหายใจช้าและเบามาก บางทีจะไม่หายใจทางจมูก แต่เป็นการหายใจทางผิวหนัง เมื่อเราไม่หายใจแรงๆ นาทีละเป็น 100 ครั้ง แต่นาทีละสองสามครั้ง บางทีมองหาลมหายใจไม่เจอเลย

    "อานิสงส์ก็คือ ร่างกายลดการเผาผลาญลง เมื่อลดการเผาผลาญ ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็ทำงานน้อย เมื่อร่างกายทำงานน้อยก็ได้พักผ่อนมาก เราก็แก่ช้า อายุก็จะยืน นี่คือการพักผ่อนอย่างสมบูรณ์"

    "สิ่งที่เป็นแก่นเลยก็คือเรื่องการเจริญสติในวิถีประจำวัน" พระมหาวุฒิชัยกล่าว และว่า หลักการภาวนาของหมู่บ้านพลัมจึงเน้นทุกๆ อิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นนอนมา เข้าห้องน้ำ รับประทานอาหาร เล่นโยคะ เดินจงกรม หรือแม้แต่ร้องเพลง หรือสวดเพลง จนกระทั่งถึงการเจริญสมาธิและการสนทนาธรรม

    "ทุกกิจกรรมไม่มีการแบ่งแยก เราอยู่ที่ไหนธรรมะอยู่ที่นั่น เรากำลังทำอะไร การเจริญสติก็อยู่ตรงนั้น ทุกๆ อิริยาบถเป็นการเจริญสติทั้งหมด"
    และนั่นคือหนทางแห่งการฝึกบินที่ไปไกลจากความเชื่อ ลัทธิ นิกาย ไปสู่การรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ที่มา : เนชั่น สุดสัปดาห์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  10. Francis_NY

    Francis_NY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +585
    ขอบคุณครับ
     
  11. Devil-may-Cry

    Devil-may-Cry Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +73
    มันยอดมาก
     
  12. ลมหายใจสุดท้าย

    ลมหายใจสุดท้าย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    419
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,137
    นอนสมาธิแล้วมีฝันไหม
     
  13. sundav

    sundav เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +115
    ดีมากเลยครับ
    ได้ความรู้จากหลายๆท่าน
    ที่กรุณาโพสเข้ามาทำให้ได้ความรู้ ในแนวทางต่างๆ
     
  14. muay

    muay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +301
    ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่พยายามนอนหลับในสมาธิ สังเกตุว่าหลับสบายและไม่ฝันค่ะ ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นดีค่ะ
    อนุโมทนากับความรู้ดี ๆ ด้วยค่ะ
     
  15. j-adirek

    j-adirek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +204
    ขออนุโทนาด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...