สงสัยระหว่างธรรมทานกับอภัยทานน่ะค่ะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย โลมาน้อยน้อย, 18 มิถุนายน 2009.

  1. โลมาน้อยน้อย

    โลมาน้อยน้อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +14
    พอดีว่าจะพิมพ์หนังสือธรรมะแจกค่ะ แล้วเนื้อหาหนังสือในเล่มมีจุดที่ทำให้สงสัยอยู่นิดหน่อยในเรื่องของธรรมทานกับอภัยทานน่ะคะ เนื้อหามีอยู่ว่า การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ "โทสกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานสูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
    แต่ในภาษาบาลี ที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอินทร์ และเทวดาทั้งหลาย ท่านตรัสว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ" การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง อย่างนี้แล้วตกลงว่าธรรมทาน หรืออภัยทาน ได้บุญมากกว่ากันแน่ค่ะ
     
  2. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    อภัยทาน
    ทำแล้ว โดยทั่วไปจะตรองเห็นทุกข์ไปในตัว
    ทำให้เข้าถึงอริยะมรรค อริยะผลไว
    แล้ว "ผี" หรือแม้แต่ คน โมทนาง่าย ไม่มี side effect

    ธรรมทาน บางทีโมทนายาก
    ตัดแปะมา...ก็มาก มั่ว...ก็มาก
    บางทีโมทนาแล้วได้บาปมากกว่าบุญ

    แต่ถ้ามันเวิร์ค คือทุกครั้งที่คนอ่าน หรือมารับรู้เข้าเกิดประโยชน์
    เช่นเข้า ถึงมรรค ถึงผล
    อย่าว่าแต่คนให้ธรรมทาน
    ผู้ให้สนับสนุน ผู้โมทนาในการให้ธรรมครั้งนั้นๆ
    ก็จะได้ผล ได้อานิสงค์ไปด้วย ทุกๆครั้งที่ เกิดมรรค เกิดผล

    คือให้ผลในระยะที่กว้างกว่า ยาวกว่า สูงกว่า
    แต่ก็นั้นแหละ ถ้าพลาดมา ก็หนักกว่าหลายขุม

    บางท่าน จึงให้ความเห็นว่า
    อภัยทาน perfect กว่า ธรรมทาน
    โดยยก การไม่มีผลข้างเคียง หรือ ทำความเข้าใจได้ง่าย
     
  3. โลมาน้อยน้อย

    โลมาน้อยน้อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +14
    ขอบคุณสำหรับความกระจ่างนะคะ
    แต่ก็ยังสงสัยต่อไปว่า ถ้าเราพิมพ์หนังสือโดยที่ไม่ได้ใส่ความกระจ่างนี้เข้าไปด้วยแล้ว ตามคำที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า "การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง" จะไม่ทำให้คนที่ไม่รู้ความกระจ่างนี้ กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือคะ
     
  4. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    โทษมี
    แต่เดี๋ยวจะมีคนมาซื้อหนี้เสียไป

    ให้เกียรตฺิท่านที่เป็นพุทธภูมิบางประเภทบ้าง
    ถึงท่านจะทำเพื่อหวังพระโพธิญาณหรือหวังอานิสงค์
    แต่ถือบาปไว้แทน มี ท่านสมอ้างว่า เป็นคนสั่งให้ทำ
    บางท่านมีสภาพทุเรศทุรัง ดูไม่จืดเลย

    ไปเที่ยวไล่ผีไล่สาง ให้ระวังไว้
    เป็นโคตรพ่อโคตรแม่มัน นั้นแหละ กินบาปแทนมัน

    ให้ทำบุญที่มีคุณภาพมากๆ เช่นสังฆทาน หรือบุญเพื่อสาธารณะประโยชน์
    แถมด้วยบุญกรรมฐาน แล้วอุทิศให้เลย
    บอกว่า อุทิศให้กับทุกรูปนามที่ติดตามเกื้อหนุ่นคุ้มครอง
    ผมร่างบทอุทิศส่วนกุศลให้ไม่สละสลวยหรอก
    ไปเปิดหนังสือที่ครูบาอาจารย์ท่านรจนาไว้แล้วกัน

    ถึงแน่นอน ยืนยันกินบาปแทนได้ ก็ต้องกินบุญแทนได้ เวิร์คด้วย

    เวลาจะให้ธรรมอะไร ตรวจทาน สอบทานซะหน่อยนะ
    โคตรเง้าศักราชจะได้ไม่เดือนร้อน

    โทษไม่รุนแรงหรอก
    ประมาณ "ทาสทาน"

    ยกเว้นจงใจ จะทำให้พระธรรมมัวหมอง
    เบาะๆ "อเวจี"
    อันนี้ ใครก็ไม่กล้ารับแทน
    ให้มันรับไปเอง
     
  5. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    หากทำพลาดมาแล้ว ก็ให้แล้วไป
    ในนรกไม่มีการจับตัวประกัน
    แต่นอกเหนือจากนรกไม่แน่

    ทำบุญมากๆ โดยเฉพาะธรรมทาน
    หาทำ แบบไม่ต้องสุ่มเสี่ยง หวาดเสียว
    ทำเทวดาคุ้มครองตัว ใจหายใจคว่ำ
    มันเอาอีกแล้ว จะขอลาออก
    สงสารกันหน่อยนะ ช่วยหน่อยนะ
     
  6. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,151
    ค่าพลัง:
    +18,075
    อ่านแล้วก็ทำให้คิด ขอบคุณสำหรับเจ้าของคำถาม ที่เป็นชนวนให้เกิดปัญญา เพราะการทำให้บุคคลาได้ขบคิด ใช้ปัญญาในปัญหาธรรมนั่นคือธรรมทานที่ประเมินค่ามิได้แล้วค่ะ ขอบคุณจริงๆthx1

    เท่าที่เคยฟังคำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ท่านกล่าวว่า อานิสงค์นั้น จะได้มากหรือน้อย นอกจากขึ้นอยู่กับลักษณะของทาน สำคัญที่สุดคือ

    1.ผู้ให้บริสุทธิ์
    2.วัตถุทานบริสุทธิ์
    3.ผู้รับบริสุทธิ์

    เรามาลองพิจารณาแตกกันทีละหัวข้อนะคะ เพื่อป้องกันการทำสิบได้บุญสลึงเดียว ผิดถูกไงมาติติงชี้แนะได้นะคะ

    ธรรมทาน สูงสุดในพระศาสนา เพราะกรณีที่ผู้ได้รับธรรมนั้นสามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน เช่นเดียวกับสมัยพระพุทธกาล ที่ได้ฟังธรรมจากบรมศาสดาเพียงจบเดียวก็บรรลุพระอรหันต์

    กรณีที่

    1.ผู้ให้ธรรม แจ้งใจในธรรมที่ให้ เช่นเดียวกับพระพุทธองค์แจ้งในข้อธรรมนั้นๆ รู้แจ้งเห็นจริงที่จิต เท่ากับ ผู้ให้บริสุทธิ์ในธรรมนั้น 100% นอกนั้นก็ค่อยๆลดหลั่นลงมา ดังนั้นถ้าจะดีต้องเข้าใจแจ้งในธรรมที่ให้ใครไปนะคะ อย่างบทสวดมนต์นี่ เราก็ต้องรู้จักคำแปลของมันค่ะ การสวดมนต์แบบท่องไม่สามารถก่อให้เกิดปัญญาได้ จะกลายเป็นนกขุนทองไป ถ้าจะให้ดี ผู้ให้ควรต้องเข้าใจความหมายของบทสวดบทนั้นๆด้วยค่ะ และจะได้รู้ว่าทานที่เราให้นั้นเป็นเยี่ยงไร และเหมาะสมกับผู้รับหรือไม่


    2.ตัวข้อธรรมนั้น เป็นคำสอนของพระบรมศาสดาที่แท้จริง เป็นคำสอนที่เป็นทางหลุดพ้นจริง เพียงแค่อ่าน หรือฟัง ก็สามารถก่อให้เกิดปัญญาตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทประหาร ถือว่าสูงสุดในพระศาสนา ทานนั้นบริสุทธิ์ 100% นอกนั้นก็ค่อยๆลดหลั่นลงมา (ต้องระวังผู้ที่แอบอ้างคำสอน หรือ เอาคำสอนมาปะปนกับพระธรรมที่แท้จริง)


    3. ผู้รับบริสุทธิ์ คือ ผู้รับทาน เป็นผู้มีธรรมอยู่ในใจ ทั้งก่อนรับ ระหว่างรับ และหลังรับ เช่นเดียวกับที่ลำดับอานิสงค์บุญของผู้ให้ ก็จะได้รับผลแตกต่างกันดังตามลำดับ และหากผู้รับทานสามารถนำธรรมนั้นมายังให้เป็นการหยุดเวียนว่ายในวัฏสงสารได้แล้ว อานิสงค์ของผู้ให้ก็จะเท่ากับการทำทานกับพระอรหันต์

    ซึ่ง ธรรมทานนี้ บุคคลทุกระดับสามารถกระทำได้ แต่อานิสงค์ของบุญนั้นย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะจิต สภาวะธรรมของทั้ง 3 ข้อเบื้องต้นค่ะ


    อภัยทาน เป็นธรรมที่ต่อมาจาก พรหมวิหาร4 และหิริโอตัปปะ ซึ่งหากผู้ปราถนาการจะพ้นทุกข์อย่างถาวรจะต้องทรงไว้ในจิต เริ่มตั้งแต่ระดับพระโสดาบัน ถึงพระอรหันต์ แม้แต่พระพุทธเจ้าท่านยังทรงมากด้วยอภัยทาน แก่ พระเทวทัต ฯลฯ และเป็นการตัดสังโยชน์ของพระอริยะเจ้าค่ะ

    ตามคำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยานที่กล่าวว่า

    " การอภัยทาน

    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว สำหรับวันนี้ก็จะพูดต่อเมื่อวันวาน แต่การเริ่มต้นก็ขอให้ทุกคนพยายามฝึกฝนอารมณ์ไว้ วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออกนี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนี่เป็นการระงับอาการฟุ้งซ่านของจิต เราอธิบายกันมามาก พูดกันมามาก ไม่อยากอธิบายซ้ำ ไม่อยากพูดซ้ำ

    สำหรับวันนี้ก็จะได้ปรารภเรื่องพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีต่อไป เพราะว่าท่านโสดาบันกับสกิทาคามีละสังโยชน์ได้เสมอกัน แต่ทว่ามีอาการระงับต่างกัน หมายถึงว่าพระสกิทาคามี มีการระงับ หรือการทำโลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง สำหรับพระสกิทาคามีเบื้องต้น เรียกว่า สกิทาคามีมรรค นั่นก็ได้แก่ถือ อภัยทานเป็นสำคัญ อภัยทานที่จะเกิดขึ้นมาได้ก็ อาศัยพรหมวิหาร 4 ถ้ามีอยู่ในใจ ก็มีแต่ความรักความสงสาร ตัดความอิจฉาริษยา มีอารมณ์วางเฉยหรือว่าเฉยในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้ทำลายอารมณ์จิตของเรา วางไว้ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา อันนี้ต้องจำ.."

    ที่มา : ����������ʴҺѹ��о��ʡԷҤ���(���)

    อภัยทานไม่ได้เน้นที่ตัวผู้รับว่าบริสุทธิ์ หรือไม่ ดังนั้นไม่สามารถเอาไปเปรียบเทียบกับ ธรรมทานนั้นได้ แต่ อภัยทาน สามารถได้อานิสงค์ตามสภาวะจิตของผู้ให้อภัยนั้น และอานิสงค์สูงสุดก็คือ อรหันตผล


    สรุปเท่าที่เข้าใจนะคะ

    ธรรมทาน เป็นการให้ เพื่อผู้รับ ยังประโยชน์แก่ผู้อื่น และให้มีบุญสะท้อนกลับมาสู่ผู้ให้ บุญจักได้เต็มหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการข้างต้น บุญที่ได้จะได้ตามกำลังอธิษฐานของผู้ให้

    อภัยทาน เป็นการให้ เพื่อผู้ให้ ยังประโยชน์แก่ผู้ให้เป็นบุคคลแรก และแก่ผู้รับเป็นบุคคลถัดไป อานิสงค์บุญที่ได้ คือ การยกสภาวะจิตสภาวะธรรมของผู้ให้ขึ้นอยู่ระดับ มนุษยโส ขึ้นไป

    ถ้าทำได้ทั้งสองอย่างจะดีเลิศประเสริฐศรีค่ะ เจ๊ขอบอก:z5
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2009
  7. สัพเพ ธัมมา อะนัตตา

    สัพเพ ธัมมา อะนัตตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +104
    ขออนุโมทนาสา
    --------------------------------------------------------------------------------------------------------
    สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขาร และมิใช้สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช้ตัวไม่ใช้ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  8. toompom

    toompom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +64
    ยึดแนวทางตามพระไตรปิฎกไว้นั่นแหละถูกต้องที่สุด อันไหนขัดกับพระไตรปิฎกเป็นมิฐฉาฐิฐิ ตอบตรงๆเดี๋ยวจะขัดแย้งกับคนที่ไม่เห็นด้วย ใช้วิจารญาณคิดเองนะ
     
  9. lord_vishanu

    lord_vishanu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +15
    ธรรมทาน คือการสอนหรือการแจกจ่ายพระธรรม
    อภัยทาน คือ การไม่โกรธคนที่มาทำให้เราโกรธ หรือ คนที่คิดจะมาทำร้ายเรา มีอานิสงส์สูงกว่าธรรมทาน เพราะว่า เมื่อนั่งสมาธิ ถือศีล แล้วจะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้เร็ว เพราะการเป็นพระอรหันต์ คือ การละ รัก โลภ โกรธ หลง แล้วเข้านิพพาน
     
  10. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,310
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    คิดว่าอภัยทานน่าจะมีอานิสงส์มากกว่าครับ เเต่ผมไม่เเน่ใจนะ รอคนอื่นมาเเนะละกัน เพราะตามธรรมดา คนทุกคนจะมีอีโก้เป็นของตัวเอง คงจะไม่ง่ายนักถ้ามีคนที่ทําไม่ดีกับเราหรือเราทําให้เราเสียหายอย่างร้ายเเรง ตามธรรมดา คนทั่วไปจะไม่ยอมกัน จะพยายามเอาชนะกัน ไม่ด้วยทางวาจาก็ด้วยทางการกระทํา ถ้าเราให้อภัยคนผู้นั้นได้ เราก็จะมีเมตตามากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่อาจจะทํายาก เเต่เอาเช้าจริงๆนั้น การให้อภัยคนนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย เพราะเหตุนี้เราจึงควรต้องสวดมนต์ นั่งสมาธิ เเผ่เมตตาให้เป็นประจําครับ การสวดมนต์เเละนั่งสมาธินั้นจะทําให้เราสงบ รู้เท่าทันตัวเองได้ เวลามีอะไรไม่ดีเกิดขึ้นเเก่เราจากคนอื่น ใจเราจะุสามารถวางลงได้อย่างง่ายกว่าที่เคยเป็นครับ อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2009
  11. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    ขออนุโมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้ และทุก ๆ ท่านค่ะ

    ตอนนี้ฝึกอภัยทานอยู่ค่ะ ขอบอกว่า ไม่ง่ายเลยค่ะ เพราะต้องผ่านบททดสอบแบบโหดสุด ๆ ยากสุด ๆ

    การที่จะให้อภัยผู้ที่ประทุษร้ายเราได้นั้น เราต้องเมตตาตัวเองก่อน อันดับแรกคิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นกรรมเก่าของเราเอง ขอชดใช้กรรมนั้น และจะไม่สร้างกรรมใหม่ เราจะเมตตาตัวเองโดยไม่ประทุษร้ายตอบ แผ่เมตตาให้อภัยเขาดีกว่า....เพื่อไม่ต้องมาชดใช้กันในชาติหน้า

    สิ่งที่สามารถตัดใจให้อภัยทานได้อีกประการ นอกจากการเจริญพรหมวิหาร ๔ แล้ว การนึกถึงความตาย (มรณานุสติ) ถ้าคิดว่า ถ้าเรามีชีวิตอยู่อีกไม่วันไม่กี่ชั่วโมง หรือแม้แต่กี่นาที เราจะเอาอะไรไป เราจะเอาบุญ(กุศล) หรือบาป (อกุศล)ไป
    pig_cryy2

    ความโกรธเป็นอกุศลฝ่ายต่ำ ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ถ้าจิตใจหมองก่อนตาย ย่อมมีทุคติเป็นที่ไป ชีวิตในโลกมนุษย์ไม่ถึง ๑ วันในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วเราจะเอาอะไรกับโลกนี้


    ฉะนั้น ทำใจให้สบาย นึกถึงพระตลอดเวลา หรือนึกถึงบุญที่เราทำมาดีกว่า ตายแล้วอย่างน้อยก็ไปสวรรค์ พรหม หรือแม้แต่ไปพระนิพพาน

    ไม่ว่าใครมาทำร้ายเราด้วยกาย วาจา ใจ น้อมให้อภัยทาน ถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพุทธบูชาให้หมด นึกบ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ ในที่สุด จิตเราจะสามารถให้อภัยทานได้ในที่สุดค่ะ

    ขออนุโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านค่ะ

    Numsai

    rabbit_heart
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2009
  12. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ธรรมทาน คือ ชนะคนอื่นด้วยความดี (ให้ธรรมแก่ผู้อื่น)
    อภัยทาน คือ ชนะตนเองด้วยความดี (ให้ธรรมแก่ตนเอง)

    โมทนาครับ
     
  13. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ธรรมทาน ชนะ ทานทั้งปวง นี่คือพระพุทธพจน์
    ไม่มีพระพุทธพจน์ที่ใดกล่าวเลย ว่า อภัยทานเหนือธรรมทาน

    สรุปคือธรรมทาน เป็นทานที่สูงสุด ชนะการทานอื่นๆทั้งปวง


    แม้ว่า แนวคิดที่ว่า อภัยทานเหนือ ธรรมทาน นี้มาจากที่ใดก็ตาม ขอพึงทราบว่าเป็นความคิดที่ผิด เพราะค้านกับพระพุทธพจน์ที่บอกว่า สัพพาทานัง ธัมทานัง ชินาติ

    (ขอขอบคุณคุณ Tusinqiqu ที่ให้ความเห็นเพิ่มเติม และในส่วนเดิมที่ผู้เขียน เขียนผิด ผู้เขียนได้แก้ให้ถูกต้องแล้ว)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 พฤษภาคม 2012
  14. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    เรื่องนี้มีที่มาจาก หนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี ซึ่งมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าสมเด็จพระสังฆราช(องค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินธุ์)เป็นผู้แต่ง โดยมีเนื้อหาดังนี้
    (พึงทราบว่า เนื้อหาในหนังสือข้างต้น ที่นำมาแสดงนี้ มีบางส่วนที่ไม่ตรงกับพระพุทธพจน์)

    เรื่องนี้ขออธิบาย ว่า เนื้อหาที่ทำตัวเข้มเป็นเนื้อหาที่ผิด เพราะในศาสนาพุทธนั้น คำพูดของพระพุทธเจ้า (พระพุทธพจน์) ถือเป็นหลักสำคัญ ที่อยู่เหนือ คำพูดของพระสาวก (สาวกพจน์) แม้แต่หลักในการตัดสินก็ยังยึด พระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกเป็นหลักใหญ่ (เทียบได้กับรัฐธรรมนูญในแง่กฏหมาย) ส่วนคัมภีร์อื่นๆ ให้ยืดถือเป็นลำดับรองลงมา ตามลำดับ ได้แก่ อรรถกา ฏีกา อนุฏีกา และ คำสอนของอาจารย์ต่างๆ ซึ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสาวกพจน์ (เทียบได้กับกฏหมายย่อย) ถ้ามีส่วนใดของ คัมภีร์อื่นๆ ที่ค้านกับ พระพุทธพจน์ ให้ถือ พระพุทธพจน์เป็นหลัก คำพูดที่แย้งกับพระพุทธพจน์ให้ตัดสินว่าคำพูดนั้นไม่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย แม้ว่าคำพูดนั้นจะเป็นจะเป็นของพระที่มีชื่อเสียงแค่ไหน หรือของพระสังฆราช ก็ตาม ย่อมจัดอยู่ใน สาวกพจน์ มิใช่พระพุทธพจน์ จะเอามาหักล้างกับพระพุทธพจน์มิได้ (แต่ความจริงแล้วพระสังฆราชไม่ได้เป็นผู้แต่งหนังสือเล่มที่ผิดเล่มนี้)

    ซึ่งหลักฐานในพระไตรปิฎก พบว่าพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ชัดเจนใน คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔ ว่า

    และไม่มีกล่าวไว้ในที่ใดเลยว่า อภัยทาน เหนือกว่า ธรรมทาน

    และผลของทานที่ไล่ตามลำดับ 15 ข้อตามหนังสือวิธีสร้างบุญบารมีนี้ แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้า มิได้ตรัสถึงผลทาน เหมือนกับ ในหนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี ของสมเด็จพระสังฆราช แต่พระพุทธเจ้าตรัสถึงผลทาน 14 ข้อนี้ในทักขิณาวิภังคสูตร ดังนี้
    (พึงทราบว่าข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ถูกต้องจากพระพุทธพจน์)

    และพระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไปอีกว่า

    สรุปก็คือ

    1) ธรรมทาน เป็นทานที่สูงสุด ชนะการทานอื่นๆทั้งปวง
    2) ผลการให้ทานที่จำเพาะเจาะจงบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะบริสุทธิ์แค่ไหนก็ตาม (แม้ผู้รับเป็นพระพุทธเจ้า) ก็ยังน้อยกว่าผลของทานที่ให้โดยไม่เลือกหน้าไม่เจาะจงใครในสงฆ์

    ดังนั้น คำพูดที่ว่า อภัยทานเหนือธรรมทาน ขอพึงทราบว่าเป็นคำพูดที่ผิด เพราะค้านกับพระพุทธพจน์ ทั้งนี้ ต้องยึดพระพุทธพจน์เป็นหลักเป็นแม่บทเป็นเกณฑ์

    อ้างอิง

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
    (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1162&Z=1243)

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ทักขิณาวิภังคสูตร

    drronenv | A topnotch WordPress.com site

    (ขอขอบคุณคุณ Tusinqiqu ที่ให้ความเห็นเพิ่มเติม และในส่วนเดิมที่ผู้เขียน เขียนผิด ผู้เขียนได้แก้ให้ถูกต้องแล้ว)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กันยายน 2012
  15. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ในอรรถกถา จัดอภัยทานเป็นธรรมทานด้วย

    ส่วนตัวผมเห็นว่า ถ้าการให้ธรรมเป็นทานนั้น ทำให้ผู้รับบรรลุอริยผล มี โสดาบันผล
    เป็นต้น ธรรมทานนั้นมีผลมากกว่าอภัยทานครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  16. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง ยึดตามพุทธพจน์นั่นแหละถูกแล้ว คนชั้นหลังจะเก่งกว่าพระพุทธองค์ได้อย่างไร
    อภัยทานจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อคนๆนั้นรู้จักบาปบุญคุณโทษ ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้ต้องได้ธรรมทานมาก่อนจึงจะรู่ว่าการให้อภัยนั้นควรทำ ถ้าไม่มีใครสอนไม่มีทางรู้ ถ้าไปอยุ่ในสังคมที่สอนให้ยึดการล้างแค้น ประเภทล้างแค้นสิบปียังไม่สายหรือแค้นของบิดาใหญ่กว่าขุนเขา ย่อมไม่รู้จักการให้อภัย ธรรมทานจึงเป็นดั่งบิดาของอภัยทานและทานทั้งปวง
    ธรรมทานจึงประเสริฐกว่าทานอื่นใดในบริบทนี้ เพราะธรรมทานเป็นต้นทางของกุศลธรรมทุกชนิด อานิสงค์ของธรรมทานอำนวยผลตั้งแต่มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติและนิพพานสมบัติในที่สุด ส่วนอภัยทานนั้นเป็นการให้ความปลอดภัยในสังสารวัฎ ไม่ต้องจองเวรจองกรรมต่อกันอีก อภัยทานจึงเปรียบเสมอด้วยศีล ส่วนธรรมทานคือปัญญา สองอย่างนี้ต้องเกื้อกูลกัน
    แต่ท่านเจ้าของกระทู้ยังถามเจาะจงไปอีกว่าอย่างใดจะได้บุญมากกว่ากัน อันนี้ยังไม่แน่นัก ต้องพิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยว่าทานที่ให้เกิดประโยชน์เพียง ใด อาจเข้าใจยากสักนิดหนึ่ง ลองพิจารณาตัวอย่างประกอบ สมมติว่าธรรมทานเป็นหนังสือธรรมะเล่มหนึ่งที่เราให้ไปดลใจทำให้กุลบุตรฉุก คิดแล้วบำเพ็ญเพียรจนบรรลุมรรคผลนิพพานเพราะหนังสือที่เราให้ไปเป็นปฐมเหตุ อันนี้เป็นที่สุดของทานไม่มีสิ่้งใดเหนือไปกว่านี้อีกแล้วเพราะเป็นอรหัตทาน ซึ่งพอจะเข้าใจตามได้ไม่ยาก แต่ถ้าธรรมะที่ให้ไปมันไม่ได้ผลใดๆ อันนี้เราได้บุญในส่วนของผู้ให้เต็มที่ แต่ด้านผู้รับหย่อนลงมามาก บุญก็ลดลงเหลือเพียงให้หนังสือเล่มหนึ่ง มันไม่ยิ่งใหญ่เหมือนอรหัตทาน จะเห็นว่าปัจจัึยด้านผู้รับมีผลต่อบุญซ่งเราควบคุมไม่ได้ เช่นเดียวกันในส่วนของอภัยทานก็ต้องอาศัยทั้งผู้ให้และผู้รับ ด้านผู้ให้คือตัวเรา ท่านต้องรับผิดชอบต่อจิตใจตัวเอง แต่ในส่วนของผู้ได้รับก็ต้องดูว่าผลที่เกิดเป็นอย่างไร ถ้าคนที่ได้รับอภัยทานเกิดสังเวชสลดใจแล้วหันมาบำเพ็ญเพียรจนบรรลุมรรคผลนิพพาน อภัยทานแบบนี้ก็มีกุศลมาก แต่ถ้าไม่กุศลก็ลดลงตามส่วน
    ถ้าจะพิมพ์หนังสือธรรมะก็ระวังไว้หน่อย อย่าทำให้พระธรรมวินัยวิปริตจึงจะได้บุญมาก ไม่งั้นก็เสียเงินไปเปล่าๆ แถมอาจได้บาปอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2012
  17. vitcho

    vitcho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +748
    เรื่องนี้ ผม เคยอ่านเจอว่า แม้แต่พระสังฆราชยังยืนยันว่า การให้อภัยชนะการให้ ทั้งปวง..หุหุ ผม อึ้งเลย...ว่า ทำไมท่าน ไม่แตกฉาน คำสอน ของพระศาสดา..สิ่งใดที่พระพุทธองค์ ทรงกล่าวออกมาจากพระโอษฐ์ แล้ว..สิ่งนั้นๆ ย่อม หมดจด ไร้ข้อโต้แย้ง...หาก คนใด เห็นว่า พระพุทธองค์ กล่าวออกมาแล้วยัง มีข้อโต้แย้งได้ ก็พึงเปลี่ยนศาสนาไป..อันนี้ ผม อาจ พูดแรงไป..แต่ ทว่า...
    การที่พระพุทธองค์ ทรงกล่าวว่า การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวงนั้น หาก พิจาณรา ดีๆ จะมีนัยยะ ที่ จริงแท้ๆ อยู่ในตัว...การ อภัย นั้นย ถือเป็น สาขาย่อย..ของ ธรรม เป็น สภาวะธรรมชนิดหนึ่ง...หาใช่ บทรวม ทั้งหมดไม่..และ คำว่า การให้ธรรมเป็น ทานนั้น..คน ไทย ทั่วๆไปที่ไม่ พิจารณา ก็ คิดว่า การให้ ความรู้ วิชาการ.เท่านั้น ที่เรียกว่า เป็นการให้ธรรม...แบบนี้ ต้องบอกว่า ยังเรียน รู้มาน้อยไปปจริงๆ......ธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นทั้ง วิชาการ เป็นทั้ง การฆ่าฟัน เป็นทั้ง การใช้ชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่าง.อะไร ที่มีการ เกิด และ การ ดับ...ทุกสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า ธรรม..
     
  18. lionking2512

    lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    สิ่งใดเป็นบุญเป็นกุศล ผมเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ สิ่งที่เป็นสมมุติบัญญัติมีไว้เพื่อจำแนกรูป จำแนกนามเท่านั้น การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสภาวะธรรมต่างหากที่ควรจะยกระดับจิตใจให้เข้าไปดำรงค์ไว้
     
  19. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คุณ vitcho ครับ พระสังฆราชท่านไม่เคยบอกเลยว่า การให้อภัยชนะการให้ทั้งปวง

    หนังสือ "วิธีสร้างบุญบารมีที่ผิดๆนั้น" ใน link เป็น version เก่า ซึ่งผู้แต่งหนังสือนั้น (ไม่ใช่พระสังฆราช) ได้ออก version ใหม่โดยได้ปรับแก้บางส่วนคือ แก้ว่า ธรรมทาน เหนือกว่า อภัยทาน แล้ว

    แต่ไม่ว่าจะเป็น version เก่า หรือ version ใหม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ หนังสือที่พระสังฆราชพระนิพนธ์ทั้งสิ้นครับ โดยดูจากหลักฐาน ตามที่ พระ ดร. อนิลมาน ธมฺมสากิโย ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ท่านได้ชี้แจงไว้ดังนี้

    นั่นคือสรุปได้ว่า ใครก็ไม่รู้แต่งหนังสือวิธีสร้างบุญบารมีเล่มที่นิยมเผยแพร่กันนี้ขึ้นมา แล้วก็กล่าวอ้างว่าพระสังฆราชเป็นผู้แต่ง โดยที่พระองค์ไม่รู้เรื่องเลย

    ดังนั้นจึงกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูปที่ค้านกับคำสอนของพระพุทธเจ้า และอรรถกถาจารย์ขึ้นมาได้เพราะผู้แต่งไม่มีความรู้ในธรรมะดีพอ จึงทำให้ ข้อความในหนังสือ วิธีสร้างบุญบารมีเล่มที่นิยมเผยแพร่กัน

    "ไม่งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และ ในที่สุด" (คือมีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน หรือไม่ถูกตามจริง)

    ซึ่งต่างจากธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่ท่านแสดงไว้ดีแล้ว ดังปรากฏใน ทานสูตร เรื่อง ธรรมทานเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวง หรือ เรื่อง การเรียงลำดับผลของทานนั้น พระพุทธเจ้าก็แสดงไว้ดีแล้วใน ทักขิณาวิภังคสูตร

    ดังนั้น จึงแจ้งประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า หนังสือวิธีสร้างบุญบารมีเล่มที่นิยมเผยแพร่กันนั้น

    - มีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์
    และ
    - สมเด็จพระสังฆราชก็ไม่ได้เป็นผู้แต่งหนังสือเล่มที่นิยมเผยแพร่กันนี้ แต่ท่านก็เคยนิพนธ์หนังสือวิธีสร้างบุญบารมีเหมือนกันซึ่งเป็นคนละเล่มกับที่เจ้าของกระทู้นำมาเผยแพร่ ผู้ใดต้องการต้นฉบับของจริง คลิก ที่นี่

    ซึ่งหมายความว่า ท่าน(พระสังฆราช) ไม่เคยบอกเลยว่า อภัยทานเหนือกว่าทานทุกอย่าง


    เนื่องจากชื่อหนังสือเหมือนกัน (แต่เนื้อหาในเล่มไม่เหมือนกัน) จึงทำให้คนเข้าใจผิดว่า หนังสือเล่มที่มีเนื้อหาผิดๆนั้น(ซึ่งไม่รู้ว่าใครเป็นผู้แต่ง) เป็นผลงานของพระสังฆราชไปด้วย

    อ้างอิงจาก
    http://www.sangharaja.org/home/index...&group=5&id=79
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กันยายน 2012
  20. ใจเป็นใหญ่

    ใจเป็นใหญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +394
    เข้าใจว่า การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวงค่ะ
    เพราะเคยคุยกับพี่สาวเรื่องนี้ เขายกตัวอย่างว่า สมมติมีคนมาทำไม่ดีกับเรา อาจจะมาปล้นเงินเรา แล้วเราให้อภัยเขา เสร็จแล้วเขาไปปล้นคนอื่นๆต่ออีก ซึ่งถ้าไปเจอกับคนที่ไม่ยอมอภัยให้ แล้วคนนั้นอาจตอบโต้หรือแจ้งตำรวจจับ ก็จะเดือดร้อน
    แต่ถ้าหากว่าเราสามารถให้ธรรมะเขา แล้วเขามีความเข้าใจ เกิดสัมมาทิฐิ เห็นว่าการปล้นคนอื่นไม่ดี เขาก็จะไม่ทำความเดือดร้อนให้คนอื่นและตัวเองอีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...