กรรม และวิบากของกรรม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 มิถุนายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    <TABLE style="DISPLAY: inline; VERTICAL-ALIGN: middle" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD style="FILTER: Glow(color=red, strength=2)">กรรม และวิบากของกรรม

    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    จากหนังสือ “กุลเชฏโฐอนุสรณ์”
    ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานเพลิงศพ
    ณ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) เมษายน ๒๕๒๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระพุทธเจ้า พระองค์สอนพุทะบริษัททั้งหลาย ให้เชื่อต่อกรรม เชื่อต่อผลของกรรม เชื่อต่อวิบากของกรรม ให้เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถ้าใครเชื่อต่อกรรม เชื่อต่อผลของกรรม เชื่อต่อวิบากของกรรม เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ผู้นั้นไม่ทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง

    ที่แจ้งหมายถึง ไม่ทำบาปด้วยกาย กายไม่ทำบาป ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดมิจฉากาม วาจาไม่ทำบาปที่แจ้ง ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำสำราก เพ้อเจ้อ ที่ลับคือใจ ใจไม่ดลภ ใจไม่โกระ ใจไม่หลง ไม่มีความอิจฉาพยาบาทใคร ๆ มีใจประกอบไปด้วยเมตตา เจริญเมตตาพรหมวิหารทั้งสี่ เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาให้ผู้อื่นและสัตว์อื่นอยู่เป็นสุข ไม่มีความคิดเบียดเบียนอยู่ภายในใจของตน ไม่มีความอิจฉาพยาบาทใคร กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงคราววิบัติ วางใจให้เป็นมัธยะ กลาง ๆ นี้ ไม่ทำบาปทั้งในที่ลับ คือ ใจ ไม่คิดในสิ่งที่เป็นบาป ไม่คิดในสิ่งที่ทุจริต สิ่งที่ไม่ดี คิดขึ้นในใจ ไม่คิดอารมณ์ที่ไม่ดีมาหล่อเลี้ยงใจของตนให้เศร้าหมอง

    ผู้เชื่อกรรม ผู้เชื่อผลของกรรม ผู้เชื่อต่อวิบากของกรรม ผู้เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ท่านไม่ทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้งโดยเด็ดขาด ที่แจ้งคือ ไม่ทำบาปด้วยกาย ไม่ทำบาปด้วยวาจา ที่ลับ ไม่ทำบาปด้วยใจ เพราะท่านเชื่อต่อกรรม คำว่ากรรม คือการเชื่อว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อผลของกรรม เมื่อเหตุ คือ การกระทำมี ผลก็ต้องมี เป็นสิ่งที่เราผู้ทำ ต้องรับเอาผล ส่วนวิบากต้องติดตามไปเป็นสิ่งที่เราผู้ทำกรรมดี หรือกรรมชั่วต้องเสวย เป็นหน้าที่ของเรา พระพุทธเจ้าตรัสสอนอย่างนี้ เหตุที่พระองค์ตรัสสอนอย่างนี้เนื่องจากพระองค์ตรัสรู้ตามกฎของกรรมอันแท้จริง ฉะนั้น ผู้เชื่อต่อกรรมและผลของกรรม จึงไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับปละที่แจ้ง ท่านทำแต่คุณงามความดี ประพฤติกายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริต

    กายสุจริต ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดมิจฉากาม วาจาสุจริต คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำสำราก เพ้อเจ้อเหลวไหล ใจสุจริต คือ ใจไม่โลภ ใจไม่โกระ ใจไม่หลง เมื่อมีใจไม่โลภ ก็เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อต่อกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อว่าทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป เมื่อมีศรัทธาเชื่อต่อกรรมเช่นนี้ ก็ยินดีในการบำเพ็ญบุญกุศล ผู้ไม่มีความโลภ ยินดีในการบำเพ็ญทาน เพราะกำจัด มัจฉริยะ ความตระหนี่เหนียวแน่นออกจากใจของตนเสียได้ เห็นว่าการบำเพ็ญท่านทำบุญกุศลเป็นบุญเป็นกุศลจริง ๆ เป็นผลที่ตนจะต้องได้รับ เป็นวิบากที่ตนจะต้องเสวยไปตามคติต่าง ๆ ถ้าตนยังไม่สิ้นกรรม บุญกุศลที่ตนได้บำเพ็ญไว้ในทาน ก็จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้เราไปเกิดในคติที่ดี ผู้ไม่มีความโลภย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ความเชื่อมั่นว่า ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป แล้วเป็นผู้ยินดีในการบำเพ็ญทานให้เกิดให้มีขึ้น ทานไม่มียินดีบำเพ็ญให้มีขึ้น มีแล้วบำเพ็ญให้มันมากขึ้น

    ผู้ไม่มีความโกรธในที่ลับ คือ ใจ ไม่มีความโกรธ ความอิจฉาอาฆาตมากร้ายใคร ย่อมยินดีในการรักษาศีลให้เกิดให้มีขึ้น เพราะศีลเป็นเครื่องชำระความโกรธออกจากใจของตน ให้บริสุทธิ์หมดจด ไม่มีมลทินเครื่องเศร้าหมอง เมื่อใจไม่มีความโกรธแล้ว ใจของเราก็บริสุทธิ์เท่านั้น เมื่อใจของเราบริสุทธิ์ คติของเราก็เป็นอันหวังได้ นี้ผุ้เชื่อต่อกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ท่านจึงยินดีในการบำเพ็ญทาน ยินดีในการรักษาศีล ยินดีในการเจริญภาวนา ผู้มีใจไม่มืด ไม่หลง เชื่อต่อผลของการภาวนา เพราะการภาวนาชำระความหลงออกจากใจขอตนที่มันมืดมนธ์อนะการให้รู้แจ้งตามเป็นจริงที่มันเป็นจริงอยู่

    นี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อวิบากของกรรม เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไปตามกฎของกรรมที่เป็นจริง ท่านสอนให้พวกเราบำเพ็ญท่านให้เกิดให้มีขึ้น สอนให้พวกเรารักษาศีล คือ รักษากาย และวาจาของเราให้บริสุทธิ์ รักษาใจของเราให้บริสุทธิ์ สอนพวกเราให้บำเพ็ญภาวนา เจริญภาวนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริง ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ท่านสอนพวกเราให้ภาวนาเจริญอยู่ทุกวัน

    การภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระความหลงความมืดออกจากใจของเรา ไม่ให้ใจของเราเพลิดเพลินเตร็ดเตร่ลุ่มหลงไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ให้ลุ่มหลงอยู่ในโลกอันนี้ ไม่ให้ลุ่มหลงอยู่ในอัตภาพร่างกายอันนี้ รูปอันนี้ ท่านสอนพวกเราให้ภาวนาง่าย ๆ ไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียนให้มาก ให้ลำบากอะไร ท่านสอนง่าย ๆ

    วีของท่านก็คือ ท่านสอนให้พวกเราภาวนาง่าย ๆ ให้ภาวนาว่า “ชราธมฺโมมฺหิ ขรํ อนตีโต” ให้พิจารณาดูตัวของเรานี้ว่า เรามีความแก่อยู่เป็นธรรมดา เราจะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ “พฺยาธิธมฺโมมฺหิ พฺยาธึ อนตีดต” เรามีความเจ็บไข้อยู่เป็นธรรมดา เราจะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ “มรณธมฺโมมฺหิ มรณํ อนตีโต” ให้พิจารณาให้เห็นว่า เรามีความตายอยู่เป็นธรรมดา เราจะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ และพิจารณาให้เห็นว่า เราจะได้พลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งสิ้นไป พิจารณาเข้าไปอีกให้เห็นว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรราเป็นที่พึ่งที่อาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว บุญหรือบาป คุณหรือโทษ ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ ในเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ เราได้ทำกรรมอะไรไว้ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ดี หรือชั่ว กรรมนั้นแล จะเป็นที่พึ่งของเรา ถ้าเราทำแล้ว กรรมนั้นแหละจะเป็นที่พึ่งของเรา และกรรมนั้นแลจะได้เป็นทายาท คือ ติดตัวของเราไปทุกภพทุกชาติ ทุกคติ ทุกกำเนิด สิ่งอื่นหาได้ติดตัวเราไปได้ไม่ ทรัพย์สมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ ความสุขอันเกิดแต่ลาภ แต่ยศ แต่สรรเสริญก็ดี วัตถุภายนอก มีข้าวของเงินทองทุกสิ่งทุกอย่างนั้นแหละ ตายแล้วเอาติดตัวของเราไปไม่ได้ แม้แต่ตัวของเราทุกชิ้นทุกอัน ตายแล้วเขาก็เผาไฟทิ้ง ติดตัวของเราไปไม่ได้ นี่ท่านจึงสอนว่า เราจะได้พลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจทั้งสิ้นไป เมื่อเราพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจไปแล้ว เรามีสมบัติอะไรที่ติดตัวของเราไป ก็มีกรรมนั่นแหละ ท่านจึงว่า มีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท คือ กรรมนั้นจะเป็นทายาท คือ เราจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบต่อ ๆ ไป

    เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้บำเพ็ญแต่กรรมที่ดี กรรมที่เป็นบุญเป็นกุศล มีบำเพ็ญทานให้เกิดให้มีขึ้น รักษาศีลให้เกิดให้มีขึ้น ภาวนาให้เกิดให้มีขึ้น ถ้าเราเป็นผู้เชื่อต่อกรรมปละผลของกรรมอย่างนี้ ย่อมปฏิเสธกรรมอันชั่ว เลิกละกรรมอันชั่ว ย่อมยินดีบำเพ็ญแต่กรรมที่ดีให้เกิดให้มีขึ้น บำเพ็ญทานให้มี บำเพ็ญศีลให้มี บำเพ็ญภาวนาให้เกิดให้มีขึ้น ต่อแต่นี้ไป ผลของกรรมดีที่เราได้บำเพ็ญไว้ ถ้าเราตายไป เราก็มีสุคติ โลกสวรรค์เป็นที่ไป ถ้าเราขยันขันแข็งหมั่นเพียรไม่ท้อถอย ก็อาจจะได้สำเร็จนิพพานสมบัติโดยไม่มีทางสงสัย ดังได้แสดงมาก็เห็นสมควรแก่เวลาและผู้ฟัง ขอยุติ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้



    http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=670.0
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260

    ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2009
  3. สัพเพ ธัมมา อะนัตตา

    สัพเพ ธัมมา อะนัตตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +104
    ต้องขออนุโมทนาสาธุด้วยนะครับ

    ________________________________________________
    สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขาร และมิใช้สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช้ตัวไม่ใช้ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
     
  4. civil60

    civil60 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +60
    ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
     
  5. kosabunyo

    kosabunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,045
    ผลบุญกุศลที่ทุกท่านได้ปฏิบัต / ทำมา ขอมีส่วนในกุศล ผลบุญนั้นด้วยเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...