เกี่ยวกับ"ภวังคจิต"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 6 ตุลาคม 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต ในพุทธศาสนา
    บทความธรรมะในตอนนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเรื่องของ "ภวังค์" หรือ "ภวังค" หรือ "ภวังคจิต" เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้นำไปคิดพิจารณา และทำความใจเกี่ยวกับเรื่อง "ภวังคจิต" อย่างถูกต้อง เหตุเพราะได้มีการสอน และให้ความหมายเกี่ยวกับ “ภวังค์ หรือ “ภวังค” หรือ "ภวังคจิต" แบบผิดๆ มานานแล้ว ทำให้คุณค่าของพุทธศาสนาด้อยลงไป อย่างรู้เท่าไม่ถึงกาล

    ภวังคจิต สามารถ อธิบายได้หลายแบบ จะอธิบายโดยยกเอาต้นตอมาให้เกิดความเข้าใจก็ได้ หรือจะอธิบายผลที่เกิดจากต้นตอ ก็ได้เช่นกัน เหตุเพราะ ทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แยกกันไม่ได้ ดังนั้น ผู้รู้ จึงสามารถอธิบายต้นกำเนิด หรือจะอธิบายผลแห่งการเกิดจากต้นตอ ได้ทั้งสองอย่าง
    ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต มิใช่ความไม่รู้สึกตัว แต่เป็นสภาพสภาวะทางร่างกายรูปแบบหนึ่ง ที่บุคคลจะไม่รู้ว่ามีการดำเนินกิจกรรมภายในร่างกาย คือไม่รู้ว่า ร่างกายมีการทำงานอยู่ บางท่านอาจสงสัยและกังขา ว่า ทำไม่เราจะไม่รู้ว่าร่างกายของเราทำงานอยู่ ในเมื่อเรารู้ว่าเรากำลังหายใจอยู่ ท่านทั้งหลายถ้าท่านคิดอย่างนั้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้รู้เอาไว้ว่า ที่ท่านยังรู้หรือกำหนดรู้ว่า ท่านหายใจอยู่นั้น ไม่ใช่ สภาพสภาวะของ สิ่งที่เรียกว่า "ภวังคจิต" ดังคำจำกัดความดังต่อไปนี้

    "ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิต(เซลล์)ที่ได้รับ หรือเกิดจากดวงจิต(เซลล์)บิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ( คือ คือ กระบวนการที่เซลล์ของเพศชาย รวมกับเซลล์ของเพศหญิง ทำให้เกิดเซลล์ใหม่)
    และเจริญเติบโต จนคลอด และเจริญวัย ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นเซลล์หรือจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล สงบอยู่ในขณะที่ยังมิได้สัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก หรือจะเรียกว่า ระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกระบบ ขณะยังมิได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
    ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต คือ ความเป็นไปตามจิต(อวัยวะต่างๆของร่างกาย)หรือเป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย จากที่ได้รับการสัมผัสนั้นๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ คิด ระลึกได้ ฯลฯ ต่อเมื่อ วิถีจิตดับหมดไป หรือร่างกายได้ทำงานตามระบบแห่งการได้สัมผัสนั้นๆจนถึงที่สุดหรือสิ้นสุด ภวังคจิต ก็จะกลับไปอยู่ในสภาพตามเดิม หมุนวนอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา (ขยายความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)"

    ภวังคจิต ในอีกความหมายหนึ่ง คือ ความเป็นกลางทางอารมณ์ ทางความรู้สึก อันเป็นเหตุแห่งพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ต่อเมื่อร่างกายได้รับการสัมผัส ทางอายตนะทั้งภายใน และภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต หรือ ความเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีระร่างกาย ซึ่งย่อมประกอบด้วยความรู้ ความเข้าใจ เกิดการปรุงแต่ง จากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมทั้งในทางที่เป็น อกุศลธรรม และหรือ ในทางที่เป็นกุศลธรรม และหรือในทางที่จะว่าเป็นกุศลธรรมก็ไม่ใช่จะว่าเป็นอกุศลธรรมก็ไม่ใช่ คือมีสภาพสภาวะเป็นกลาง ต่อเมื่อพฤติกรรรม หรือปฏิกิริยาเหล่านั้น ได้แสดงออกไปจนหมดสิ้นแล้ว บุคคลก็จะกลับสู่ภาวะ ภวังคจิต ตามเดิม

    ถ้าจะกล่าวถึง ภวังคจิต ในแง่ของ ดวงจิตที่ได้รับมาจากบิดามารดาหรือเกิดจากการผสมกันของเซลล์แห่งบิดามารดา นับตั้งแต่แรกปฏิสนธิแล้ว ภวังคจิตของบุคคล ย่อมมีส่วนคล้ายคลึง หรือเหมือนกัน เพราะเป็นเพียงจิตส่วนพื้นฐาน หรือจะกล่าวว่า เป็นการเริ่มมีหรือเริ่มปรากฏอวัยวะต่างๆแห่งสรีระร่างกาย และระบบการทำงานของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มเจริญวัยภายในครรภ์มารดา จึงได้รับการขัดเกลาในด้านต่างๆนับตั้งแต่กรรมพันธุ์ของบิดามารดา เป็นต้นมา ภวังคจิตของบุคคล จึงมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เพราะบุคคลเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว บุคคลใดที่ได้รับการขัดเกลานับตั้งแต่กรรมพันธุ์,สภาพสิ่งแวดล้อม, ฯลฯ มาดี ภวังคจิต ย่อมปราดเปรียว แคล่วคล่อง มีสติสัมปชัญญะดีกว่า บุคคลที่ไม่ได้รับการขัดเกลา หรือได้รับการขัดเกลามาไม่ดี
    แต่ถ้าจะกล่าวถึง ภวังคจิต ในแง่ของผลแห่งสภาพสภาวะร่างกายแล้ว ภวังคจิต ย่อมเป็นผลจากการทำงานของทุกระบบของสรีระร่างกาย บุคคลล้วนมีภวังคจิต คือความไม่รู้สึกว่า ร่างกายของตัวเอง ได้ดำเนินกิจกรรม หรือร่างกายทำงานตามระบบ อยู่ตลอดเวลา แม้ยามหลับนอน หรือไม่รู้สึกว่า เมื่อรับประทานอาหารไปแล้ว ร่างกายแสดงอาการดูดซึม หรือรับเอาอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่างไรเมื่อไร เว้นแต่ การได้รับสัมผัส ขณะรับประทานอาหาร อย่างนี้เป็นต้น
    มาถึงจุดนี้ท่านทั้งหลายควรได้คิดพิจารณาอย่างละเอียด และถี่ถ้วน ตามหลักความเป็นจริง ที่ท่านทั้งหลายสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านทั้งหลาย ว่า เป็นจริง มีจริง ตามที่ข้าพเจ้าได้ สอนไว้ข้างต้นหรือไม่

    อนึ่ง ความรู้ในเรื่อง "ภวังคจิต" นี้ บางท่านคงคิดว่า ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หรือไม่ใช่เรื่องจำเป็นในการปฏิบัติธรรม หรือไม่จำเป็นในการเรียนรู้ หรือศึกษา พระธรรมทางพุทธศาสนา
    แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นที่ท่านทั้งหลายต้องได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ภวังคจิต อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบการทำงานของสรีระร่างกาย อันสามารถนับเข้าเป็น ญาณ ส่วนรายละเอียด ในการพิจารณาเกี่ยวกับร่างกายได้
    อีกทั้งยังเป็นการทำความเข้าใจ และแก้ไข ความรู้ที่ผิดๆของหลายท่าน เพื่อความเจริญในธรรม ทางพุทธศาสนา
    ขอให้ทุกท่าน เจริญยิ่งในธรรม

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    แก้ไขเพิ่มเติม ๖ ต.ค. ๒๕๕๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2009
  2. เฮ้งตงเอี๊ยง

    เฮ้งตงเอี๊ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    668
    ค่าพลัง:
    +130
    คำทำนาย พระราชาจิกมี่จะได้เป็นนางแก้วคู่บารมีพระรามเจ้า


    วิธีดูนางแก้วคู่บารมี




    ๑) นางแก้วคู่บารมีจะเป็นช้างเท้าหลัง ไม่ทำอะไรเกินหน้าพระโพธิสัตว์ ถ้าทำเกินกว่า ดีกว่า แสดงว่าเป็นคู่บารมีพระโพธิสัตว์องค์อื่นที่มีบารมีมากกว่าตน

    ๒) ถ้าพระโพธิสัตว์ทำงานโดยไม่มีคนรู้เลย นางแก้วคู่บารมีจะทำงานเบื้องหลังโดยไม่มีคนรู้เช่นกัน แต่ทั้งคู่ต่างจะรู้กันดีว่าเป็นฝีมือของใครอยู่เบื้องหลัง

    ๓) ถ้าพระโพธิสัตว์ประกาศมหาปณิธาน เช่น “พอเพียง” นางแก้วจะประกาศตามบ้าง เช่น “ดัชนีชี้วัดความสุข” จะสอดคล้องกัน แต่นางแก้วจะคิดได้ทีหลัง

    ๔) ถ้าพระโพธิสัตว์ทำอะไร นางแก้วจะทำอย่างนั้นทำตามด้วยศรัทธา นางแก้วจะไม่มีทางคิดเองทำเองไปก่อน โดยที่พระโพธิสัตว์ยังไม่ได้สั่งหรือทำล่วงหน้าไว้

    ๕) นางแก้วถ้าได้พบพระโพธิสัตว์แล้วจะไม่ยอมแต่งงาน หรือแม้แต่งงานก็ไม่มีความรักให้ จะศรัทธาเทิดทูนแต่พระโพธิสัตว์องค์นั้นเท่านั้น

    ๖) นางแก้วกับพระโพธิสัตว์จะไม่ได้แต่งงานกัน หรือถ้าได้แต่งกันจะอยู่กันได้ไม่นาน จะแยกขาดหรือตายจากกัน เช่น พระนางเรือล่ม หากอยู่กันได้นาน แสดงว่าไม่ใช่ตัวจริง เพราะได้เคยกระทำกรรมไว้แต่กาลก่อนคือ ให้ลูกเมียแก่ผู้อื่น




    ตัวอย่าง

    นางแก้วคู่บารมีของพระนเรศวร คือ พระสุริโยทัย

    แต่พระสุริโยทัยลงมาบำเพ็ญเป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิก่อน

    เมื่อพระสุริโยทัยสละชีพเพื่อชาติแล้ว พระนเรศวรก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน

    แต่พระมหาจักรพรรดิไม่ได้ทรงกระทำ




    บูเช็คเทียนไม่ใช่นางแก้วคู่บารมีของฮ่องเต้ที่เป็นพระสวามีทั้งสองคน

    เพราะพระนางได้ทำสิ่งเกินหน้าเกินตา แสดงถึงบารมีที่มากกว่าพระสวามี

    ทั้งคู่ไม่ใช่คู่บารมีกัน แต่ลงมาเกิดเป็นสามีภรรยากันเพื่อร่วมด้วยช่วยกัน

    บำเพ็ญบารมีโปรดสัตว์เท่านั้นเอง
     
  3. เฮ้งตงเอี๊ยง

    เฮ้งตงเอี๊ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    668
    ค่าพลัง:
    +130
  4. noonei789

    noonei789 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +6,958
    พระราชาจิกมี่คือใครคะ
    เเล้วที่ว่าพระสุริโยทัยเป็นนางเเก้วของพระนเรศวรเอาอะไรมาวัด

    เท่าที่ทราบพระรามเจ้าเป็นพระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้หลัง
    พระศรีอาริยเมตตัยไปเป็น1ใน10องค์ หลังพุทธธันดรภัทรกัปนี้
    เท่าที่ชมจากภาพ ภาพขวามือนั้นหน้าจะเป็นพระราชาจิกมี่ เเต่เท่าที่ทราบมานางเเก้วคู่บารมีพระโพธิสัตว์
    ต้องเกิดมาพบกันเเละช่วยกันสร้างบารมีตลอด หลังจากได้รับพระพุทธยากรณ์จากพระพุทธเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2009
  5. twentynine

    twentynine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +992
    ไม่ลองถามพระราชาจิกมี่ก่อนหรือครับว่าท่านอยากเป็นนางแก้วหรือเปล่าหรือท่านอยากจะเป็นพระโพธิสัตว์ และพระสุริโยทัยลงมาบำเพ็ญบารมีก่อน พระนเรศวรจึงลงมาทีหลัง ไหนว่านางแก้ว เป็นช้างเท้าหลังไง? แล้วที่ว่าพระโพธิสัตว์กับนางแก้วจะไม่ได้อยู่ด้วยกัน แล้วจะเป็นคู่บารมีกันได้ไงอ่ะ?
    อย่าโพสอะไรที่ ล่อแหลม และตรวจสอบไม่ได้ดีกว่าน่ะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...