"จิตนั้นเกิดมาเพื่อต้องการสิ่งใด"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Eark, 25 สิงหาคม 2006.

  1. Eark

    Eark สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +9
    อยากถามถึงผู้รู้ ช่วยตอบด้วยนะครับ ว่า"จิตนั้นเกิดมาเพื่อต้องการสิ่งใด"
     
  2. you123

    you123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +191

    ตอบ เพื่อไม่ต้องการสิ่งใด ๆ เลยไงจ๊ะ ภาษาธรรม เรียกว่า "นิพพาน" จ๊ะ
     
  3. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    เพื่อสลัดสิ่งที่ยึดติดอยู่กับจิตให้หมดไปครับ
     
  4. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    เพื่อพัฒนาจิตให้ดีขึ้นสูงขึ้นจนจิตเป็นอิสระไม่ติดยึดกับอะไรเลย ไม่ว่าสุข ไม่ว่าทุกข์ ไม่ว่าโลภโกรธหลง ไม่ว่าตัณหาอุปทาน ไม่ว่าตัวกูของกู(ตัวมานะ) จนอวิชชาหมดไป ซึ่งก็คือเส้นทางเดินแห่งโลกุตตระ(ทางสู่นิพพาน)นั่นเอง ส่วนจะทำอย่างไรต้องค้นคว้าหาจากภายในจิตใจเราเองโดยใช้พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นแนวทางการเดินทางของตัวเรา ขอให้โชคดีในการเดินทางด้วยครับ
     
  5. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,093
    ค่าพลัง:
    +62,396
    มี"เหตุ"ครับ ส่งผลให้จิตต้องมาหน้าที่บนโลกใบนี้ เมื่อเสร็จภาระกิจก็ต้องหาทางกลับคืนต้นกำเนิดของจิตให้จงได้

    ภาระกิจที่ว่าหมายถึงการรักษาสมดุลย์และค้ำจุนให้กับโลกและเอกภพทั้งหมดนี้ หรือการมาทำหน้าที่แทนผู้สร้างระบบเหล่านี้ประคองรักษาเอาไว้ด้วยพลังงานที่เราผลิตสร้างออกมาด้วยจิต ร่วมกันระบบโลก ให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งระบบ..

    เราอาสากันมาทำหน้าที่ที่นี่ แต่ต้องหาหนทางกลับบ้านให้ได้ด้วยครับ..ด้วยการชำระจิตให้ใสดั่งเดิม ให้เหมือนตอนแรกที่เรามาที่นี่ใหม่ๆครับ..
     
  6. jake009

    jake009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +285
    ถ้าถามเรื่องจิต
     
  7. jake009

    jake009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +285
    แนะนำให้ไปหาหนังสืออภิธรรมมาอ่าน
     
  8. bkgolf_th

    bkgolf_th Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +78
    บางที จิต หรือ ดวงวิญญาณ อาจมีอยู่แล้วก็ได้นะครับ... ไม่ได้เกิด... เหอๆ
     
  9. นืเฟร

    นืเฟร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +433
    ไม่รู้สิ ไม่ต้องดีกว่าว่าจิตต้องการอะไร เพราะเดี๋ยวก็เกิดความขัดแย้งขึ้นอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางด้านเหตุและผลเกี่ยวกับกำเนิดของมันเอง
     
  10. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,792
    ค่าพลัง:
    +7,482
    จิตเกิดมาเพื่อเล่นเกมส์ โดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน ถ้าเกมส์นี้ชนะก็จะได้ไปในที่เย็นสบายในระดับสูงๆ หากเกมส์นี้แพ้ก็จะได้ไปในที่ร้อนๆ หรือหากเล่นเสมอตัวก็จะเริ่มเกมส์ใหม่

    ทางเดินชีวิตคือตัวเราเอง ผู้เล่นคือเราเอง ขอให้พวกเราเล่นเกมส์นี้อย่างสนุก

    ขอให้ทุกท่านโชคดี
     
  11. ยอดยาหยี

    ยอดยาหยี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    576
    ค่าพลัง:
    +2,697
    เราต้องขัดเกลาจิตให้ใสสว่างยิ่งขึ้น ไม่มีมัวหมอง แล้วเราก้อจะรู้เอง น่าจะสักวันละที่รู้
     
  12. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    เป็นคำถามแปลก คุยเท่าที่รู้นะครับ
    เอาสั้นๆ ความเห็นเป็นว่า จิตเกิดมามีหน้าที่ "รู้เพื่อจะละคลาย" การยึดถือ
    ส่วนจิตปุถุชนที่มิได้ใฝ่ความหลุดพ้น ก็อาจจะเป็นอีกอย่างคือ รู้แต่มิเห็นตามความเป็นจริง มีการยึดถือปรุงแต่ง ไปตามแรงอนุสัยกิเลสภายในแห่งตนเป็นแรงส่ง วนเวียนคลุกเคล้าปนเปไม่รู้จบรู้สิ้น ในสงสารวัฎฎะ ทนทุกข์ทรมานอยู่ในวัฎฎะสงสารเพราะความไม่รู้ อวิชาเป็นมูล ต่อเมื่อใดจิตรู้แจ้งเห็นจริงหมดจดพร้อมด้วยวิชาจึงหลุดพ้นจากกองทุกข์ที่เกิดแต่การยึดถือที่รู้ผิดมาโดยตลอด

    ส่วนพระอรหันท่าน มีเพียง "กริยาจิต" ที่ไม่เจื่อด้วยเจตนาใด เป็นจิตหลุดพ้นบริสุทธิ์ หมดจด

    หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อข้อสงสัย
     
  13. noone

    noone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +392
    ผมว่า จิตเกิดมาเพื่อรับการขัดเกลา ชะล้าง เพื่อถูกทดสอบด้วยสถานการณ์เก่าๆ เหตุการณ์เก่าๆ ซ้ำๆ เพื่อเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลง เลือกคำตอบที่ดีที่สุดไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะปราศจากการปรุงแต่ง เป็นจิตบริสุทธ์ ที่เรียกว่านิพพาน
     
  14. ren

    ren เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +2,646
    จิตเกิดมาเพื่ออะไร ....

    เกิดมาเพื่อเวียนวน ตามกระแสแห่งกรรม

    สิ่งที่จิตสมควรจะทำคือ

    พยายามหลุดพ้นการวงจรนี้เสีย ... นั้นคือนิพพาน

    ( ตามความคิดของเรานะ)
     
  15. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    -จริงเหรอ ที่บอกว่าจิตเกิดมามีหน้าที่ "รู้เพื่อจะละคลาย" การยึดถือ?
    -อะไรคือ การรู้แต่มิเห็นตามความเป็นจริง?
    -เมื่อใดหล่ะ จิตจะรู้แจ้งเห็นจริงหมดจด ?
    - พระอรหันท่าน มีเพียง "กริยาจิต" จริงเหรอ ?แล้ว "รูปจิต", "นามจิต" อยู่ไหนหล่ะ?


    อ้างอิงข้อความคุณ 000000

    ลองไปหาปรมัตธรรมศึกษาดู ว่าจิตคือ สิ่งใด และทำหน้าที่อย่างไร น่าจะได้คำตอบที่กระจ่างแจ้งกว่า จิตคือ สิ่งใด อารมณ์คือ สิ่งใด จิตปุถชนทั่วไปโดยมากรุ้อย่างไร จิตพระอรหันท่านรู้อย่างไร

    รู้เห็นตาม จริง หรือ รู้เห็นตามใจ มันมีความต่างกันอย่างไร

    เมื่อใดที่ได้รับรู้บางสิ่ง จิตเกิดความขุ่นใจเพราะสิ่งที่รับรุ้ได้ยินได้อ่านนั้นขัดขืนภายในใจตน เพราะคุ้นเคยกับการรู้ตามใจ มนุษย์มักเลือกที่จะรู้เห็น ได้ยินฟังตามใจ เพราะยังยึดมั่นถือมั่น อย่างที่ท่านพุทธะทาสท่านว่าไว้ คือ กู ตัวกู ของกู ภาษาเป็นเพียงบัญญัติ สมมุติ เพื่อใช้สื่อความหมาย มิได้ เป็นความจริง แล้วอะไรคือ ความจริง ? หากสิ่งที่รู้ยังเป็นภาษาสมมุติบัญญัติ สิ่งนั้นก็ยังมิใช่ ความจริง สิ่งหนึ่งในโลกมีหน้าตา มีหนวด เดินสี่ขา ร้องเรียก เมี่ยว ๆ หากเมื่อพันปีก่อนมนุษย์บัญญติเรียกมัน เป็น "หมู" ทุกวันนี้ สิ่งมีชีวิต ที่ร้อง เมี่ยวๆ เราก็ไม่เรียกมัน ว่า "แมว" เราก็จะเรียกมัน ว่า หมู แทน
    แล้ว ตกลง "ความจริง" มันเป็นอะไรกัน

    จิต ที่ไม่ฝึกฝนเพื่อ ละคลายความยึดมั่นถือมั่น ว่า สรรพสิ่งมิใช้ กู เมื่อไม่มีกู ก็ไม่มีของ กู ไม่มีเค้า ก็ไม่มีของเค้า ไม่ใช่สัตร์ คน สิ่งของ ใด เป็นเพียง รูป นาม ที่เกิดขึ้นตั่งอยู่ ตาม เหตุปัจจัย จิตก็ยังมีวิบากจิต ที่เกิดเนื่องจากผลของจิตดวงก่อนหน้าที่สืบต่อมา จิตก็มิอาจจะหนีพ้นกฏพระไตรลักษณแต่เรายังสามารถทำเหตุใกล้ให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องถูกทาง เป็นสัมมา หรือจะปล่อยให้จิตเกิดดับ ไปตามวิบากกรรม พิจารณาดูเอาเอง

    พระอรหันที่หลุดพ้นท่านจึงมิสร้างเหตุ จึงละวิบากจิต สิ่งที่ท่านกระทำหรือแสดงออกจึงเห็นเพียงกริยาจิตที่มิ ได้ ก่อให้เกิดวิบาก แม้แต่การยิ้มของพระอรหัน ก็มิได้มีความหมายอย่างมนุษย์ปุถุชน ส่วนถ้าจะถามต่อว่าเป็นอย่างไร คงตอบวา ไม่รุ้ รู้แต่การยิ้มของปุถุชน ยังแฝงด้วยนัยยต่าง ๆ กันไป

    ถ้าหากจิตยังมิเรียนรู้ถึงทุกข์ ยังเห็นทุกข์เป็นความสุข เห็นความไม่เที่ยงแท้ เป็นความเที่ยงแท้ หรือยังเห็นความเป็นตัว เป็นตน การรู้เห็นเช่นนี้ มากเท่าไร ความยึด หลงผิด ก็มากเท่านั้น หากไม่เรียนรู้ที่จะละลาย คลายความยึดมั่น ความเข้าใจผิดหลงผิด มันก็ยังเกาะติดกับบางสิ่งไปไม่รู้อีกนามเพียงใด แล้ว จะถามหาความหลุดพ้นได้อย่างไร

    ส่วนที่ถามว่า เมื่อไรหละจิตจะรุ้แจ้งเห็นจริงหมดจด หมดปัญญาหัวข้อนี้

    ส่วนที่กล่าวถึง "รูปจิต" "นามจิต" ไม่เข้าใจคำถามจริงๆว่าพยายามสื่อถึงอะไร รู้แต่เพียง "รูปนาม" และ "นามรูป"

    รุ้ก็ช่วยบอกเป็นความรู้ ว่าที่กล่าว ถึง "รูปจิต นามจิต" คือ อะไร?


    หมายเหตุสิ่งที่นำมาคุยกันนี้ อาจมีสิ่งผิดพลาด เพิ่งระลึกถึง
    หลัก 'กาลมสูตร' และ การโยนิโสมนสิการ ตามด้วย

    ขอให้มีธรรมะคุ้มครอง<!-- / message --><!-- sig -->
     
  16. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    ขอบพระคุณ

    คำว่ากริยาจิต ในนัยย ตามที่เข้าใจโดยส่วนตัวคือ สิ่งที่กระทำเป็นเพียงสักแต่ว่าทำตามเหตุปัจจัยแต่มิได้เจื่อด้วยเจตนาใดๆ ที่จะก่อเกิด ผลแห่งวิบากในภายภาคหน้า ซึ่งต่างจากจิตบุคคลทั่วไปที่การกระทำยังคงปนด้วยเจตนาและอนุสัย กิเลศ ปรุงแต่ง ความยินดี หรือ ยินร้าย และ ความเป็นตัวตน

    ในแง่นี้ คำว่า กริยาจิต จึงมุ่งสือความหมายถึง การกระทำโดย มิได้ มีความยึดถือในความเป็นตัวตน เราเค้า คนสัตร์สิ่งของ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีผุ้กระทำ) แต่มีเพียง รูปนามเป็นผู้กระทำ ตามเหตุแห่งวิบากที่เพราะยังคงมีขันธ์ 5 หรือ ยังมีชีวิตที่คงดำรงอยู่ ซึ่งสืบเนื่องจากวิบากในอดีต

    สมัยที่เรียนภาษาอังกฤษ หรือภาษา เราต่างมักจะกล่าวถึง ประโยค ต้องมี หรือประกอบอย่างน้อย subjectประธาน verb กริยา ถ้าไม่มีประธานเป็นผู้กระทำ หรือ ไม่มีกรรม ประโยคนั้นถือว่าไม่สมบรูณ์ อันที่จริงมันเป็นวิถีแห่งการเรียนรู้ทางโลกที่ตอกย้ำ ความมี ความเป็น ความดำรงอยุ่ แห่งตัวตน

    หากจะว่าด้วยธรรมะ เกี่ยวกับกริยาจิต มันเป็นอีกมุมคือ มันมิได้มีประธาน subjective ตัวตน และ ก็มิได้ มีผู้ถูกกระทำobjective ด้วยเหตุจึงหลุดพ้นจากความเป็นตัวตน เข้าใจทะลุแจ้ง เหนือโลกสมมติ จึงไม่มีวิบากกรรมที่ต้องชดใช้ เพราะ มิได้มีเหตุ หรือสร้างเหตุ สิ่งจูงใจแห่งการกระทำใดๆทั้งปวง ถ้าตามนัยยนี้ ก็เป็นเพียง กริยาจิตล้วน ๆ มิได้มีประธาน กรรม เป็นตัวตน

    รองดูในเรื่อง"อเหตุกจิต" ในพระอภิธรรม บังเอิญไม่ใช่นักอภิธรรม จึงอาจจะคุยได้ไม่ลึกมากนัก

    เจตนาเหตุแห่งการกระทำดี ก็ยังคงต้องเสวยวิบาก ผล แห่งกรรมดีในภายหน้า
    เจตนาเหตุแห่งการกระทำความชั่ว ก็ยังคงต้องเสวยวิบาก ผลแห่งกรรมชั่วในภายหน้า

    ไร้เจตนาแห่งการกระทำทั่งปวง ดำรงหรือ กระทำอยู่เพียงผลกรรมแห่งอดีต แต่มิได้สร้างปัจจัยแห่งปัจจุบัน ณ กรรม ผลแห่งวิบากในอนาคตทั้ง ดี และชั่วจึงหมดไปในที่สุด เมื่อหมดเหตุ ก็ไร้ วิบาก

    ในทางโลก มนุษย์ กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อจะเอา บรรลุในบางสิ่ง แม้แต่มรรคผลนิพาน
    ในทางธรรม เป็นอย่างไรกัน ?????

    คงคุยประเด็นนี้ได้เพียงแค่นี้ ยังมิอาจสามารถอธิบายสภาวะพระอรหันท่านได้ จะเป็นการอวดรู้เกินตัว ต้องขออภัยด้วย

    ธรรมะคุ้มครอง

    พิจารณาถึงหลักกาลมสูตร และ โยนิโสมนสิการ ในเนื้อหาด้านบนนี้ด้วย เพราะตราบใดยังมิบรรลุ ก็ยังนับว่ามิบริสุทธิ์หมดจดหรือ แทงตลอด
     
  17. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +494
    เกิดเพื่อดับ
     
  18. vincent308

    vincent308 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +381
    เกิดมาเพื่อเข้าใจตามจริง
     
  19. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    จิต
    มีอยู่แล้ว??????
    หรือ
    เกิดใหม่??????
    เกิด..ดับ..
    เกิด..ดับ..
    เกิด..ดับ..ฯลฯ

    หรือที่แท้จริง คือ
    ความว่าง
    ช่องว่าง
    ผืนเดียวกัน
    ระหว่างสรรพสิ่ง
    ที่ตั้งของสรรพสิ่ง
     
  20. ประสงค์.

    ประสงค์. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +793
    ผมคิดว่าจิตเหมือนน้ำมาจากที่เดียวกัน เป็นน้ำใสสอาดบริสุทธ์ เมื่อเกิดความอยากก็สร้างขันตักขึ้นมาถือไว้ ผ่านภพผ่านชาติมานาน สะสมสิ่งต่างไว้มากบ้างน้อยบ้าง เปลี่ยนขันแล้วเปลี่ยนขันอีก เมื่อคิดได้วางขันลงน้ำจะนิ่งจะเห็นสิ่งสกปรกในขัน ค่อยๆหยิบออกตามวิธีของแต่ละคน จนน้ำใสสอาดบริสุทธ์ ก็จะสามารถกลับสู่ที่เดิมได้ และผมเชื่อว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนก็เป็นวิธีหนึ่งที่ถูกต้องที่สุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...