ร่มรื่น ชื่นบุญ ใน "พุทธมณฑล"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 26 พฤษภาคม 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left></TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หลังช่วงเวลาตึงเครียดของบ้านเมืองผ่านพ้นไปด้วยความเศร้าสลดของกลุ่มโจรก่อการร้ายที่อำมหิตผิดมนุษย์ ทำได้แม้กระทั่งการเผาบ้านเผาเมืองที่เป็นผืนแผ่นดินเกิดของตนเพียงเพื่อคนคนเดียว นับจากนี้ไปคนไทยที่รักพ่อหลวงรักแผ่นดินไทยคงจะหายใจหายคอกันได้ทั่วท้องมากขึ้น สำหรับฉันเองก็เช่นกันหลังจากที่จิตตกกับภาวะไม่ปกติในบ้านเมืองมานาน ในครั้งนี้ฉันจึงถือโอกาสชวนพวกเราชาวไทยเมืองพุทธไปร่วมทำบุญ ไหว้พระ เวียนเทียน เนื่องใน "วันวิสาขบูชา" ที่ปีนี้ตรงกับวันที่ 28 พ.ค.

    โดยในโอกาสวันสำคัญทางศาสนาครั้งนี้ ฉันเลือกที่จะไปยัง "พุทธมณฑล" จังหวัดนครปฐม ศูนย์รวมการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในวันวิสาขบูชา ฉันบอกเช่นนี้อาจจะงง ดังนั้นฉันขอเล่าความเป็นมาของพุทธมณฑลกันก่อนเลย ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2495 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ดำริจัดสร้างปูชนียสถานเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นพุทธานุสรณียสถาน เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศักราชเวียนมาบรรจบครบรอบ 2,500 ปี ซึ่งจะครบในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ. 2500

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หินสัญลักษณ์รูปธรรมจักรขนาดใหญ่ที่ตำบลปฐมเทศนา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ต่อมาใน พ.ศ.2498 รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทรงประกอบรัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล ณ บริเวณที่จะก่อสร้างพระประธานพุทธมณฑล และได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา แต่การก่อสร้างก็มีการชะลอตัวไประยะหนึ่งเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้งานก่อสร้างพุทธมณฑลได้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทำให้การก่อสร้างดำเนินต่อไปได้อย่างรวดเร็ว และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2525 ซึ่งเป็นปีเฉลิมฉลองโอกาสที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พอดี

    สำหรับสิ่งที่โดดเด่นและสำคัญที่สุดของพุทธมณฑลก็คือ "พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" เป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลา ศิลปะสุโขทัย ขนาดใหญ่ สูง 15.875 เมตร พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกล พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทองสำริดหนัก 17,543 กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระ รวม 137 ชิ้น แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูป เพื่อเชื่อมรอยต่อและปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน ตรงกลางประดิษฐานพระเจดีย์รวม 9 ยอด</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในตอนแรกที่ออกแบบไว้นั้น พระพุทธรูปมีความสูงเพียง 2.14 เมตร แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธศาสนาอายุครบ 2,500 ปี จึงได้มีการขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น 2,500 กระเบียด (1 กระเบียดเท่ากับ 1/4 นิ้ว) ปัจจุบันเราจึงเห็นพระประธานพุทธมณฑลสูงเด่นเป็นสง่าใหญ่กว่าต้นแบบถึง 7.5 เท่า

    นอกจากพระศรีศากยะทศพลญาณฯ แล้ว ในพื้นที่ 2,500 ไร่ ของพุทธมณฑลก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอีกมาก อย่างเช่นบริเวณรอบๆ องค์พระประธานได้จัดพื้นที่ทำเป็น "สังเวชนียสถาน 4 ตำบล" คือตำบลประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพาน ซึ่งตำบลทั้งสี่นี้กำหนดทิศตามพุทธประวัติ โดยมีพระศรีศากยะทศพลญาณฯ พระประธานพุทธมณฑลเป็นหลัก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=270 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=270>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>รูปเหมือนหลวงพ่อวัดปากน้ำประดิษฐานภายในโดมใต้พระเจดีย์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับตำบลประสูติ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีหินสัญลักษณ์รูปดอกบัวกำลังแย้ม 7 ดอก ด้านบนเป็นลายนูนรูปพระพุทธบาทที่สลักชื่อแคว้นต่างๆ 7 แคว้น ที่พระพุทธองค์ไปประกาศพระธรรมคำสั่งสอน และสลักพระคาถาเป็นรูปวงกลมบนหินนั้นด้วย ส่วนตำบลตรัสรู้ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีหินสัญลักษณ์รูปโพธิบัลลังก์ แกะสลักจากหินแกรนิต

    ด้านตำบลปฐมเทศนา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีหินสัญลักษณ์เป็นรูปธรรมจักรขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร และรูปแท่นที่นั่งของปัญจวัคคีย์ทั้งห้า และตำบลสุดท้ายคือ ตำบลปรินิพาน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีหินสัญลักษณ์รูปแท่นไสยาสน์ และรูปแท่นที่นั่งของพระอานนท์ ด้านบนของแท่นไสยาสน์แกะสลักเป็นลายนูนรูปดอกบัว 3 ดอก ส่วนด้านข้างแกะเป็นดอกและใบสาละร่วงซึ่งเปรียบเสมือนร่วงลงมาจากสรวงสวรรค์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=270 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=270>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระเจดีย์มหารัชมังคลาจารย์รายล้อมด้วยเจดีย์รวมเป็นเก้ายอด</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อีกหนึ่งจุดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หากใครมาเยือนยังพุทธมณฑลก็ต้องไม่พลาดที่จะไปยัง "มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน" ที่เริ่มสร้างปี พ.ศ. 2532 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยรูปทรงจตุรมุข ภายในมีแผ่นหินอ่อนจารึกพระไตรปิฎก ขนาด 1.10 x 2.00 เมตร จำนวน 1,418 แผ่น มีภาพวาดพระพุทธประวัติอยู่ด้านบนโดยรอบ

    สำหรับการจารึกพระไตรปิฏกนั้นได้ทำพิธีปฐมฤกษ์ ณ พระอุโบสถ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2531 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2539 โดยในทุกขั้นตอนของการจัดสร้างและจารึกพระไตรปิฏกลงในหินอ่อนนี้ เป็นความร่วมแรงร่วมใจของพระภิกษุ สามเณร แม่ชี บัณฑิตวัดปากน้ำ และพุทธศาสนิกชน โดยแบ่งเป็น 3 ปิฏก ได้แก่ พระวินัยปิฏก จำนวน 196 แผ่น พระสุตตันตปิฏก จำนวน 836 แผ่น และพระอภิธรรมปิฏก จำนวน 386 แผ่น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภายในมหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฏกหินอ่อน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ส่วนพื้นที่ตรงกลางของมหาวิหารฯจตุรมุข มีพระเจดีย์มหารัชมังคลาจารย์รายล้อมด้วยเจดีย์รวมเป็นเก้ายอด เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุพระสารีบุตรเถระ พระธาตุพระโมคคัลลานะเถระ พระธาตุพระสิวลีเถระ และพระผงวัดปากน้ำ ส่วนพื้นที่ภายในโดมใต้พระเจดีย์ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อวัดปากน้ำให้เราๆได้กราบไหว้กันด้วย

    ต่อไปเป็น "วิหารพุทธมณฑล" เป็นอาคารชั้นเดียว และเป็นอาคารที่สร้างเป็นหลังแรกในพุทธมณฑล สร้างแบบสถาปัตยกรรมไทยตามแบบวิหารของวัดราชาธิราช ผนังวิหารทำเป็น 2 ชั้น เพื่อให้ประตูหน้าต่างเลื่อนเข้าภายในกำแพงได้ ภายในปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ลวดลายภายนอกเป็นประติมากรรมรูปพระพุทธรูป 8 องค์ และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 25 พุทธศตวรรษขนาด 2,500 มม.

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "พิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา" ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจ ตั้งอยู่ภายในอาคารทรงไทย บริเวณสวนธรรม ภายในพิพิธภัณฑ์ใช้เป็นที่แสดงโบราณวัตถุต่างๆ และนิทรรศการ แต่ปัจจุบันปิดปรับปรุงและยังไม่มีกำหนดเปิดที่แน่นอนเนื่องจากขาดงบประมาณ อีกสถานที่หนึ่งที่หากพุทธศาสนิกชนต้องการที่จะรู้เรื่องราวของพุทธมณฑลอย่างละเอียด หรือต้องการข้อมูลทางพระพุทธศาสนา ก็สามารถมาศึกษาค้นคว้าได้ที่ "หอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ"

    โดยภายในหอสมุดฯ จุได้ 500 คน มีหนังสือประมาณ 500,000 เล่ม ซึ่งจัดเรียงหนังสือตามระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน วัดปากน้ำและสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ บริจาคเงินค่าก่อสร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ที่ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บรรยากาศอันร่มรื่นภายในพุทธมณฑล</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากนี้ภายในบริเวณพุทธมณฑลยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอีกมาก อาทิ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ที่สร้างให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชเมื่อเสด็จมาประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาที่พุทธมณฑล, ที่พักสงฆ์อาคันตุกะ เป็นที่พักของคณะสงฆ์ทั้งไทยและต่างประเทศที่มาปฏิบัติศาสนกิจ, หอกลอง สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานกลองชัยขนาดใหญ่ ตัวกลองทำด้วยไม้ขนุน และหนังควายเผือก เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาด 1.60 เมตร ผู้จัดทำกลองคือ พระพิชัย ธรรมจาโร วัดบัลลังก์ศิลาอาสน์ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เป็นต้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บริเวณสวนเวฬุวันที่มากมายด้วยต้นไผ่และต้นไม้ใหญ่</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พุทธมณฑลไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่ที่มีไว้ทำกิจกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ความร่มรื่นของสวนไม้ไทยต่างๆ เช่น สวนสมเด็จ สวนสมุนไพร สวนเวฬุวัน สวนตะโก สวนตาล และอีกมากมายหลายสวนที่ทำให้พุทธมณฑลเขียวขจีร่มเย็น และยังทำให้มีประชาชนนิยมเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย รวมทั้งมาปิกนิกกินข้าวกันอีกด้วย

    วันวิสาขบูชาที่กำลังจะเวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่งนี้ ใครยังไม่มีโปรแกรมฉันขอแนะนำให้มาร่วมทำบุญเวียนเทียน และอีกหลากหลายกิจกรรมที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจัดขึ้น ณ พุทธมณฑล แห่งนี้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เด็กๆก็สามารถมาเที่ยวเล่นในพุทธมณฑลได้อย่างสนุกสนาน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    "พุทธมณฑล" ตั้งอยู่ที่ 25/25 หมู่ 6 พุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เปิดทุกวันเวลา 05.00-19.00 น. สำหรับมหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฏกหินอ่อน เปิดเวลา 08.00-17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-2441-9009, 0-2441-9012

    Travel - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    [​IMG]

    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่

    www.tangnipparn.com<O:p
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา



    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2010
  3. วันมงคล

    วันมงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +1,303
    อนุโมทนาสาธุต่อกุศลผลบุญอันยิ่งใหญ่นี้เทอญ.สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0417.jpg
      IMG_0417.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.2 KB
      เปิดดู:
      51
    • IMG_0333.jpg
      IMG_0333.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.3 KB
      เปิดดู:
      46
    • IMG_0203.jpg
      IMG_0203.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.5 KB
      เปิดดู:
      45
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    อนุโมทนาจ่ะ

    ตอนเด็กๆ จะเข้าไปขี่จักรยานเล่นบ่อยๆ

    มีข้อระวังสำหรับผู้รถยนต์เข้าไป ต้องระวังเต่าข้ามถนน
    เพราะในพุทธมณฑล มีบ่อน้ำเยอะ หลายๆ คนก็มาปล่อยเต่าที่นี่(สร้อยฟ้าฯ ก็เคยปล่อย)
    แล้วเต่าก็จะออกมาเดินที่ถนนบ้าง ก็ต้องระวังกันหน่อย.....
     
  5. เทพภร

    เทพภร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +334
    อนุโมทนาสาธุครับ
    ยังไม่เคยไปเลย อยากไปเหมือนกัน ขอบคุณที่แนะนำมากๆครับ
     
  6. แมงปอแก้ว

    แมงปอแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    600
    ค่าพลัง:
    +139
    ไปอยู่บ่อย ๆ กับครอบครัว สงบร่มเย็น มาก ๆ
     
  7. su37berkut

    su37berkut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    422
    ค่าพลัง:
    +1,121
    ผมไปก็หลายที่ ไม่เห็นมีเต่าข้ามถนนเลยน่ะ
    เห็นมีแต่คน กับไดโนเสาร์ เกือบชนตั้งหลายครั้งแน่ะ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...