ข้อคิด คำคม พระพรหมคุณาภรณ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 7 มิถุนายน 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของวัดญาณเวศกวัน
    ที่ต้องให้ธรรมทานแก่ญาติโยมในโอกาสต่างๆ
    พระนวกะเพิ่งบวชใหม่ เมื่อได้เล่าเรียนธรรมะ
    และอยู่ในขั้นฝึกฝนตนเอง ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน
    ในที่นี่จะยกมากล่าวถึงใน ๒ สถานการณ์

    ๑. การให้ธรรมะในรูปของพุทธศาสนสุภาษิตสั้นๆ
    หลังรับอาหารบิณฑบาตในตอนเช้า
    ซึ่งพระนวกะสามารถทำได้ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่บวช
    หลังรับอาหารบิณฑบาตแล้วก็ให้พรด้วยพุทธศาสนสุภาษิตสั้นๆ
    ดังตัวอย่าง “เชิญรับฟังพุทธศาสนสุภาษิต...จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ
    สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้
    ...ขออนุโมทนา เจริญพร”
    (พุทธศาสนสุภาษิตที่ให้ครั้งแรกตอนบิณฑบาต)
    แล้วก็ออกเดินต่อ สำหรับการให้พุทธศาสนสุภาษิตเป็นธรรมทานนั้น
    ในแต่ละวันก็จะสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในสายที่ออกบิณฑบาต
    ทั้งตัวผู้กล่าว และพุทธศาสนสุภาษิต
    (สายออกรับบิณฑบาตทั้งหมด ๓ สาย
    ก็สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกวันอาทิตย์)

    ๒. การให้ธรรมะหลังฉันภัตตาหาร
    ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาและความพร้อม
    ในช่วงที่ยังไม่สามารถให้ธรรมะด้วยการพูด
    เพราะยังมีความรอบรู้ไม่พอ
    พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระอุปัชฌาย์สอนตั้งแต่วันบวชว่า
    ถ้าให้ธรรมะด้วยวาจาไม่ได้ ก็ให้โดยไม่ต้องพูด
    ประพฤติตนให้ดีงาม ให้ความรู้สึกไม่มีภัย
    ให้ผู้พบเห็นเกิดความร่มเย็นผ่องใสของจิต (ปสาทะ)
    ตามพุทธพจน์ที่ว่า

    “ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ วณฺณคนฺธํ อเหฐยํ
    ปเลติ รสมาทาย เอวํ คาเม มุนี จเร.
    ภิกษุพึงเที่ยวไปในหมู่ชาวบ้านเหมือนกับแมลงผึ้ง
    ที่นำเอาแต่น้ำหวานและเกสรบินไป
    ไม่ทำดอกไม้แม้แต่กลีบและสีให้ชอกช้ำ”

    ท่านพร่ำสอนว่าถ้าตั้งใจแบบนี้
    เราเองก็จะได้ธรรมะด้วย จิตใจก็จะมีเมตตา
    และตัวเราจะประพฤติดีสำรวมกิริยามารยาทไปเอง
    คงไม่ผิดถ้าจะพูดว่า วัดญาณเวศกวันก็สร้างขึ้นด้วยแนวความคิดนี้
    จากประสบการณ์ส่วนตัวก่อนบวชประมาณปีกว่าๆ
    ทุกครั้งที่มาวัดจึงรู้สึกและสัมผัสได้ถึงบรรยากาศความสงบ
    ร่มรื่น ร่มเย็น ความมีระเบียบ มีแหล่งความรู้ให้ค้นหา
    ทั้งพระสงฆ์ที่สอน หนังสือ และซีดีธรรมะ
    หรือแม้แต่คนงานในวัดก็ประกาศธรรมะแก่คนที่พบเห็น
    เพราะด้านหลังเสื้อที่คนงานวัดสวมมีพุทธศาสนสุภาษิตเขียนไว้ว่า
    “อตฺตานํ ทมยฺนติ ปณฺฑิตา บัณฑิตย่อมฝึกตน”

    เวลาหนึ่งเดือนผ่านไป ตารางแสดงธรรมกถาหลังภัตตาหารออก
    ถึงวาระที่ต้องให้ธรรมทานตอบแทนผู้ที่ถวายอามิสทาน
    บำรุงเลี้ยงดูให้มีกำลังในการศึกษา
    ซึ่งก็เอื้อประโยชน์และส่งเสริมสติปัญญาทั้งสองฝ่าย
    คือ ทั้งผู้ให้และผู้รับ ด้วยเหตุผลคือ
    ๑. พระเองมีโอกาสได้นำเรื่องที่เรียนมา
    สร้างเสริมศรัทธาปสาทะแก่พุทธบริษัท
    ๒. เป็นการฝึกฝนตนเองของพระใหม่ในการแสดงธรรม
    เปิดโอกาสให้นำธรรมะที่ได้ศึกษามาตอบแทนญาติโยม
    ที่ให้ความอุปถัมภ์บำรุงปัจจัยสี่
    แต่เมื่อปัญญายังไม่แก่กล้าพอก็ต้องอาศัยที่พึ่ง
    เป็นธรรมดาที่เมื่อลูกมีปัญหา ก็นึกถึงพ่อแม่
    ลูกศิษย์เกิดความไม่มั่นใจ ก็ย่อมนึกถึงครูอาจารย์
    เพื่อให้ท่านช่วยเหลือ หรือให้มีพลังใจในการพัฒนาตนเอง
    ผู้เขียนเองนึกถึงบารมีของพระเดชพระคุณพระอุปัชฌาย์
    ผู้มีความรู้กว้างและลึกดั่งมหาสมุทร
    ประกอบกับในวัดเป็นแหล่งรวบรวมธรรมนิพนธ์เรื่องต่างๆ
    ก็เลยขอนำข้อคิดในหนังสือเรื่องต่างๆ ที่ได้อ่านมานำเสนอ
    เสมือนการเล่าประสบการณ์สอดแทรกธรรมะและข้อคิด
    สำหรับท่านที่ได้อ่านแล้ว
    ก็ขอให้ถือว่า เป็นการทบทวนหรือย้ำเตือน

    ธรรมกถาที่นำเสนอครั้งแรกจึงตั้งชื่อว่า
    “ข้อคิด คำคม พระพรหมคุณาภรณ์”
    ดังที่จะนำเสนอตามความเหมาะสมของพื้นที่


    ข้อคิดที่ ๑ “คนฉลาด ทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส
    แต่คนประมาท ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์” (ตื่นเถิดชาวไทย)


    คตินี้หมายถึง คนจำนวนมากนับถือศาสนา
    เพียงเพื่อหวังจะหนีเคราะห์ขอโชค
    แล้วมองว่า การสะเดาะเคราะห์
    หรืออำนาจดลบันดาลเป็นเรื่องศาสนา
    คนเราส่วนมากเวลาประสบสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
    ก็ไปสะเดาะเคราะห์ หาความสบายใจ ความอุ่นใจ
    เพื่อเพิ่มความหวังขึ้นมา ไม่ดิ้นรนขวนขวาย
    แล้วก็นอนใจ รอคอยความหวัง
    ไม่ได้มองเห็นกระบวนการความเป็นเหตุผลเป็นผลว่า
    จะแก้ปัญหาได้อย่างไร ได้เพียงความสบายใจ
    แล้วก็ตกอยู่ในความประมาท
    เมื่อไม่ได้แก้ไขปัญหา ต่อไปปัญหาก็อาจจะร้ายแรงขึ้น
    จนกลายเป็นเคราะห์ไปจริงๆ
    แต่ชาวพุทธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
    นับถือศาสนาเพื่อช่วยพัฒนาความสามารถ
    ที่จะเปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโชค
    บัณฑิตเปลี่ยน “ปัญหา” ให้เป็น “ปัญญา”
    ใช้ปัญหาเป็นเครื่องพัฒนาปัญญา
    จากเคราะห์ก็กลายเป็นโอกาสให้พัฒนาความรู้
    ความสามารถของตนเอง
    แม้ในยามที่รุ่งเรืองก็ต้องใช้เป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไป
    ท่านสรุปไว้ว่า “เวลาทุกข์ยากเป็นประโยชน์มาก
    เวลาสุขสำราญต่างหากที่มักทำให้มัวเมาประมาท”


    ข้อคิดที่ ๒ “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข
    คือ สิ่งที่พึงปรารถนาในการทำงาน” (วินัย : เรื่องใหญ่กว่าที่คิด)


    ข้อนี้มีความหมายว่า ชีวิตการงาน หรือสถานการณ์ต่างๆ
    ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปแล้ว พอเจอเรื่องยากๆ เรามักถอย
    ผลที่เกิดตามมาก็คือ ความท้อแท้ ไม่เต็มใจ ขาดความสุข
    แล้วก็ไม่ตั้งใจทำ ก็เลยไม่ค่อยได้ประโยชน์ต่อชีวิต
    แต่ถ้าเพียงแค่เปลี่ยนความคิด มองสถานการณ์นั้นๆ ว่า
    เป็นสนามหรือโอกาสให้ฝึกฝนพัฒนาตนเองแล้ว
    คนเราจะสู้หมดไม่ว่ายากขนาดไหน
    เพราะสิ่งที่ยิ่งยากยิ่งได้ประสบการณ์มาก
    ทำให้เต็มใจ ยินดี และตั้งใจทำ ผลผลิตออกมาดี
    พอจะสรุปเป็นวลีสั้นๆ ได้ว่า “เพียงแค่เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยน”

    ข้อคิดที่ ๓ “จะต้องให้การแสดงความเห็นมากับการหาความรู้
    และการแสวงความรู้จะต้องเป็นฐานของการแสดงความคิดเห็น
    สังคมที่มีแต่นักแสดงความเห็น แต่หาคนรู้จริงได้ยากนั้น
    เป็นสังคมไส้กลวงลวงตา จะเอาดีได้ยาก”
    (ตื่นกันเสียที จากความเท็จ ของหนังสือ “เหตุเกิด พ.ศ. ๑”)


    เรื่องนี้เตือนสติสังคมไทยได้เป็นอย่างดีว่า
    ถ้าเราจะมุ่งสู่ความเป็น “สังคมอุดมปัญญา”
    เราจะต้องไม่อุดมไปด้วยการแสดงความคิดเห็น
    โดยความพร่ามัวของหลักฐาน ขาดฐานความรู้
    หยุดแสดงความคิดเห็น ด้วยสาเหตุหลักคือ
    ความชอบใจหรือไม่ชอบใจ
    ดังที่เราเห็นทั่วไปตามสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในสังคมไทยทุกวันนี้
    ที่มักแสดงความคิดเห็น แต่ไม่มีพื้นฐานของข้อมูลความรู้ที่รอบด้าน
    หรือทั่วตลอด หลังจากนั้นคนเสพสื่อ
    ก็นำไปอ้างอิงต่ออีกว่า “เห็นหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ออกข่าว
    (ก็เลยเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง)”
    ทั้งที่ยังไม่ได้พิสูจน์หรือหาความจริงก่อนว่าเป็นอย่างไร
    แต่เชื่อว่าเป็นความจริง เพียงเพราะสื่อรายงาน
    ส่วนสื่อเองก็ยังไม่ได้แสวงหาข้อเท็จจริงจนครบถ้วน
    นอกจากนั้นปัจจุบันสื่อเองก็เอาง่ายเข้าว่า
    โทรทัศน์นิยมจัดรายการเล่าข่าว
    คนจัดรายการ ๒-๓ คนนำหนังสือพิมพ์ไปอ่าน
    แล้วก็แสดงความคิดเห็นกันต่อสนุกสนาน
    นักวิชาการบางคนจึงเรียกรายการลักษณะดังกล่าวว่า
    “วารสารศาสตร์ฟาสต์ฟู้ด (Fast-food Journalism)”
    เพราะไม่ได้ส่งเสริมสติปัญญาคนดูแต่อย่างใด
    คงจะด้วยตัวอย่างที่มีทั่วไปดังที่ยกมานี้
    ท่านจึงย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
    การแสดงความคิดเห็น ต้องมาคู่กับการหาความรู้
    และเป็นความรู้ที่ค้นคว้าตรวจสอบให้ถูกต้องแม่นยำที่สุด
    ถ้ามัวเพลินกับความเห็นโดยไม่ก้าวไปในความรู้
    สังคมไทยก็จะไร้ความเข้มแข็งทางปัญญา

    ครั้งนี้ขอนำประสบการณ์การศึกษาธรรมะ
    ที่วัดญาณเวศกวันมาเล่าสู่กันฟังเพียงแค่นี้
    คงจะเป็นประโยชน์บ้างตามสมควร
    ส่วนแง่มุมอื่นๆ จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป


    ที่มา www.budnet.info/webb0ard/view.php?category=texta&wb_id=1
     
  2. บุตรพระแม่อนุตตรธรรม

    บุตรพระแม่อนุตตรธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    548
    ค่าพลัง:
    +428
    อนุโมทนา ถ้ากลับจากไต้หวันเมื่อใด จะไปนมัสการพระคุณเจ้าพระพรหมคุณาภรณ์
     
  3. Nok Nok

    Nok Nok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +3,297
    [​IMG]

    [​IMG]

    กราบอนุโมทนา สาธุ ค่ะ ^_^
     
  4. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    การเป็นเทพเรียกว่าขึ้นชั้นไม่ตกอบายภูมิแล้ว อย่าคิดว่าง่าย สำหรับในยุดนี้ การบำเพ็ญเป็นขั้นๆครับ ข้ามขั้นก็เตรียมฟุ้งได้ .........ผู้ปฎิบัติไม่มีเวลาพูด ผู้พูดไม่มีเวลาปฎิบัติ......ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้นั้นไม่จริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...