ข้อ สังเกตุ ว่า เริ่มเกิดปัญญาในสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 12 มีนาคม 2010.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.893274/[/MUSIC]

    เกล็ดธรรม หลวงปู่พุธ ฐานิโย .... จุดสังเกต ปัญญาเริ่มเกิด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    กราบนมัสการหลวงปู่ครับ....
     
  3. พลูโตจัง

    พลูโตจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +554
    [FONT=&quot]ข้อสังเกตุ-ว่าเริ่มเกิดปัญญาในสมาธิ<o>

    </o>
    [/FONT]​
    เกล็ดธรรม...หลวงปู่พุธ ฐานิโย<o></o>

    [FONT=&quot](จากคลิปเสียง ของพี่ปราบเทวดา)

    <!--[endif]-->
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [/FONT]​
    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cuser%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]ในเมื่อเราภาวนาแล้ว จิตเคยสงบเป็นสมาธิขั้นสมถะพอสมควร เราอาจจะไปติดอยู่ในสมาธิขั้นนี้ เมื่อจิตมีพลังงานแก่กล้าขึ้น
    สามารถที่จะปล่อยวางบริกรรมภาวนา หรือเปลี่ยนจากความสงบนิ่งสว่างไสวอยู่นั้น ไปเป็นความไม่สงบ
    คือเกิดความคิดอ่านอยู่ตลอดเวลา อันนี้เรียกว่า ภูมิจิตมันก้าวไปข้างหน้า
    [/FONT][FONT=&quot]

    เมื่อมีพลังสมาธิแล้วปัญญามันก็เกิด เพราะจิตมีสมาธิ มีสติ แล้วก็มีปัญญา
    เมื่อ มีสมาธิ มีสติปัญญา มันก็ปฏิวัติตนให้เกิดมีความคิดอ่านขึ้นมา

    บางท่านก็เข้าใจว่าจิตมันไม่สงบแล้ว เวลานี้มันเปลี่ยนด้าน ก็มัวแต่จะไปบังคับให้มัน หยุดนิ่ง..หยุดนิ่ง..หยุดนิ่งอยู่อย่างนั่น แหล่ะ
    มันก็เลยไม่ก้าวหน้าซักที เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติควรที่จะได้ ทำ..ทำความเข้าใจไว้

    เมื่อเรา..บางครั้ง ในขณะที่เราบริกรรมภาวนา พุทโธๆๆๆ อยู่ เมื่อพอจิตมีอาการเคลิ้มลงไปเหมือนจะนอนหลับ
    แล้วก็ทิ้ง พุทโธ ปั๊บ..แล้วมันไปสวดคาถาชินบัญชรอยู่

    ท่านมันสวดเอง โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ อันนี่ คือมันเปลี่ยนอารมณ์...เปลี่ยนอารมณ์จาก พุทโธ มาสวดคาถาชินบัญชร
    แล้วมันก็สวดของมันไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เรานึกบางทีเรานึกอยากจะหยุดสวด มันก็ไม่ยอมหยุด
    ในลักษณะอย่างนี้ จิตมันก็เกิดความคิด ได้ วิตก วิจาร

    บางท่านมันไม่อย่างนั้น ภาวนาพุทโธๆๆ อยู่ พอมันสงบวูบ ลงไปนิดหนึ่ง มันทิ้งพุทโธ แล้วมันไปเกิดมีความคิด ฟุ้งๆๆๆ ขึ้นมา
    อันนี่ บางท่านก็เข้าใจว่า จิตมันฟุ้งซ่าน แต่แท้ที่จริง มันเกิดปัญญา เพราะฉะนั้น เราจึงมีหลักที่ควรจะสังเกตุเอาไว้ว่า..

    ถ้า จิตของเราบริกรรมภาวนา พุทโธๆๆๆ อยู่ ก็ให้มันอยู่ไปเถอะ อย่าไปกวนมัน แต่ถ้ามันทิ้งพุทโธปั๊บ..ไปคิดอย่างอื่นขึ้นมา
    คิดฟุ้งๆๆๆๆ ขึ้นมา ให้ปล่อยให้มันคิดไป แล้วรีบทำสติตามรู้มันไปดังที่กล่าวแล้ว

    ในเมื่อจิตมีความคิด สติก็ตามรู้ความคิด ทันกันอยู่ทุกขณะจิต ความคิดที่มีสติรู้ทันเอาทัน.. รู้เท่าเอาทัน
    มันเป็นปัญญาในสมาธิ
    แต่ถ้าหากว่าสติอ่อน รู้ไม่ทันความ คิด มันเป็นความฟุ้งซ่าน นี่นักปฏิบัติควรจะได้ทำความเข้าใจไว้อย่างนี้
    <o>:p></o>:p>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2010
  4. poppykun

    poppykun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +82
    สาธุธรรมของหลวงพ่อพุธ

    หลวงพ่อสงบท่านเทศน์เอาไว้ว่า
    การทำสมาธินั้นสำคัญยิ่งนัก
    สมาธิเหมือนการสะสมเงิน วิปัสสนาเหมือนการจ่ายเงินซื้อของใช้
    หากมัวแต่สะสมเงิน ไม่ออกจ่ายก็ไม่มีของใช้
    แต่ถ้าไม่มีเงินออกจ่าย ก็ไม่มีของใช้เช่นกัน

    ปัญหามันอยู่ที่ ไม่ได้สะสมเงิน จะไปเอาเงินคนอื่นจ่ายออกซื้อของใช้
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    เราต้องเข้าใจด้วยว่า อะไรบ้าง ที่เรียกว่าสะสมเงิน
    การสะสมเงิน มันทำได้หลายอย่าง
     
  6. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    สมาธิมันดีมาก ๆ หลวงพ่อพุธ ท่านเก่งสอนได้ละเอียด เมื่อทำได้ตามที่ท่านสอนแล้วก็จงหาทางเรียนต่อในเรื่องวิปัสสนาไปด้วย จะได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจิตจะได้ ลด ละ กิเลส ตัณหาในโลกได้.............

    ลำพังสมาธิอย่างเดียว ถ้าขาดป้ญญา แม้แตศีล...ก็จะเอาไว้ไม่อยู่ ปัญญามาไม่ทัน มีสติแต่คิดไม่ออก ปัญญามาไม่ทัน พิจารณาได้ไม่รอบคอบ ไม่กว้าง เสร็จเขานะ.............

    ปัญญาที่เกิดจากการใช้จิตที่เป็นสมาธิพิจารณา จะเป็นมหาสติ เอาตัวรอดจากทุกข์ในโลกได้.
     
  7. poppykun

    poppykun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +82
    หลวงพ่อสงบกล่าวว่า "ทุกแนวทางที่ทำ ผลของมันคือสมถะ"

    เพราะ มันมีบางคน "หลง" ไปมากๆ
    คิดว่าที่ทำอยู่คือการจ่ายเงินซื้อของมาใช้ ทั้งๆที่ไม่เคยสะสมเงินเลย
    ไม่จ่ายเงินจริง ของเค้าย่อมไม่มาส่ง ก็ต้องมองตาเยิ้มดูแคตาล็อก น้ำลายสอต่อไป

    สติปัฏฐานสี่อยู่ในพระไตรปิฎก เป็นคุณธรรมของพระพุทธองค์
    สติปัฏฐานสี่อยู่ในหนังสือคำสอน เป็นคุณธรรมของอริยบุคคล
    สมาธิไม่สะสม จะเอาที่ไหนไปสั่งซื้อมาเป็นของตัวได้???

    หลวงพ่อสงบยังเมตตาสอนด้วยว่า
    แต่ไม่ต้องรอให้สะสมเงินได้เป็นร้อยล้านหรอกนะ (สำหรับผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิ และได้สมาธิจริงๆ)
    ควรทะยอยนำออกมาใช้บ้างตามความเหมาะสม
    มีสิบก็ใช้สิบ มีร้อยใช้ร้อย มีพันใช้พัน (แล้วก็สะสมอีก)
    ไม่งั้นจะกลายเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์

    ถ้าอยากรู้ว่าใช้ยังไงก็เมล์ไปถามหลวงพ่อกันเอง
    http://www.sa-ngob.com/boardpost.php?action=post
    หรือลองไปดูคำถามอื่นๆก็โอเค
    http://www.sa-ngob.com/board.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2010
  8. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ถามนายซาโต้ว่า แล้วนายได้เงินสะสมมาเท่าไหร่แล้วกับการปรามาสพระที่เว็ปบอร์ดแอนตี้ สะสมจนาดนั้นแล้วใช้ปัญญาได้รึยัง ใช้ปัญญาศึกษาไตร่ตรองเรื่องอนันตะริยกรรม เห็นแจ้งมั้ย ทำให้สงฆ์แตกแยก ปรามาสพระอริยะ แค่นี้ก็ไม่ต้องผุดต้องเกิดแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มิถุนายน 2010
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มิถุนายน 2010
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ขอรับ ผู้การ

    ท่านผู้การ ว่า นิยามสมาธิ ของผู้การ เป็นอย่างไรรึครับ
     
  11. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +705
    หมายถึงใครครับ ไม่ได้เข้ามานาน ขอให้ตอบหน่อย
     
  12. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +158
    ขอบคุณอีกครั้ง<O:p</O:p
    กระจ่างขึ้นเรื่อยๆ งั้นขออีกหน่อย<O:p</O:p
    ไอ้กรณีนี้เนี่ย จิตปรุงกิเลสเนี่ยใช่แน่ๆ แต่ไอ้ที่กิเลสปรุงจิต คือถูกกระทบจากภายนอกเนี่ยมันเป็นไปได้ยังไง<O:p</O:p
    เพราะครั้งแรกรู้สึกว่ารับความรู้สึก self จากภายนอก แล้วจิตเลยเครียด เซ็ง ดิ้นรนหาทางแก้<O:p></O:p>
    (เครียดขนาด อยากลาออกเลยนะเนี่ย...หาทางออกแบบสุดโต่งเลย)<O:p></O:p>
    แต่พออยู่ใหล้ๆ เวลาที่อีกฅนอยู่ในอารมณ์ที่สบายๆ ก็ยังเป็น และเมื่อวานเป็นมากจนแทบกระโดดจากรถลงมากรี๊ดเลย<O:p</O:p
    ตอนนี้ดีขึ้นหน่อย<O:p</O:p
    แต่ก็โอเค ถ้าไม่ต้องมีเรื่องที่ต้องสะสาง เช่นการขออโหสิกับเจ้าตัว หรือนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้าตัวฅนนั้น<O:p</O:p
    ก็จะได้สนใจแต่สภาวะและการฝึกของตัวเอง<O:p></O:p>
     
  13. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +158
    1. การกระทบนั้นเกิดเนื่องจากอะไร เป็นนามธรรม หรือลักษณะอารมณืหรืออะไรในตัวเจ้าของอารมณ์ที่มากระทบเรา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    2. การแก้ไข นอกจากการนำสภาวะที่เกิดเป็นตัวฝึกการเจริญสติปัฏฐานไปเลย คือถือโอกาสฝึกสติ และความอดทนไปเลย นอกจากนี้แล้วต้องมีการแก้ไขอะไรเพิ่มเติมมั้ย เช่นอย่างกรณีของการมีกรรมผูกกันอยู่ ต้องขออโหสิ เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอบคุณค่ะ อีกโพส ค่ะ
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไอ้กรณีนี้เนี่ย จิตปรุงกิเลสเนี่ยใช่แน่ๆ แต่ไอ้ที่กิเลสปรุงจิต คือถูกกระทบจากภายนอกเนี่ยมันเป็นไปได้ยังไง
    .. จริง ๆตรงนี้ให้ ฝึก ลงมารู้ที่ใจ มันเกิดจาก สงสัย
    เวลาที่จิตเกิดลงสัย ก้กำหนดรู้สังสัยไปด้วย ฝึกแบบนี้ไปด้วย

    สิ่งที่กระทบจากภายนอกนั้น

    อธิบาย ว่า สมมุติ ว่า นายกอ กำลังทุกข์ใจอยากไปหานายขอ เพื่ออยากให้ช่วย ภายในใจนั้นก็ได้ส่งความคิดถึงรำพันไปในจิตไปหานายขอ

    ซึ่ง นายขอ เป็นผู้ฝึกจิตมาได้ระดับหนึ่ง นายขอก็จะรับรู้ถึงความทุกข์ หรือพลังงานที่นายกอ ส่งมาให้นั้น แบ่งเป็น ตัวอย่างดังนี้

    กรณี ที่ นายขอ มีจิตระดับที่ 1 คือเริ่มมีความะเอียดจากการฝึกให้จิตสงบ

    จิต นายขอ ก็จะได้รับ หรือถูกกระทบ ผู้ที่ฝึกจิตมานั้น ก็จะรู้สึกตัวเองได้ ว่าทำไม ใจมันถึงร้อนรน หงุดหงิด ทั้งๆ ที่ก้อยุ่เฉยๆไม่ได้ทำอะไร

    ซึ่งกรณี นี้ เป็นช่วงเริ่มๆของ นายขอ ที่จิตมีความละเอียด จึงรู้สึกได้แค่นี้

    จิต ระดับ ที่ 2 หาก นายขอ ฝึกจิต ต่อไปอีก ก็จะสามารถรู้ได้ ว่า เหตุที่มาทำให้หงุดหงิดรำคาญนั้น มาจากไหน กรณี นี้ ผู้ที่ฝึกจิตได้ระดับนี้ จะต้องอบรมมาอย่างชำนาญมาพอสมควร

    อันนี้ยกตัวอย่างการอธิบายคร่าวๆๆ ว่าเป็นไปได้ยังไง..ก็ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น .... แต่เรื่องพวกนี้ให้ วางๆไปก่อน อย่าไปค้นหาคำตอบ มีอะไรมาให้รู้ ฝึกรู้ลงที่ใจอย่างเดียว เรื่อยๆ


    เพราะครั้งแรกรู้สึกว่ารับความรู้สึก self จากภายนอก แล้วจิตเลยเครียด เซ็ง ดิ้นรนหาทางแก้<O:p></O:p>
    (เครียดขนาด อยากลาออกเลยนะเนี่ย...หาทางออกแบบสุดโต่งเลย)<O:p></O:p>
    .. ตรงนี้อธิบายว่า เมื่อโดนกระทบแล้ว เกิดอาการหงุดหงิด ร้อนรน ภายในใจ หากจิตที่อบรมมาดี ก็จะเริ่มรู้สึกที่ตัวเองบางครั้งจะเหมือน ดวงๆสั่นๆไหวๆไปมา ภายในอก บางครั้งจะเป็นคลื่นๆ วนๆๆ จะรู้สึก ร้อนๆ กระเพื่อมๆ
    บางทีจะแตกซ่านเป็นเส้น เหมือนๆคลื่นความร้อนมันแผ่ซ่านออกไปจากกลางอก ... หาก จิตที่มีกำลังสติที่ดี จะเห็นชัด และ ละเอียด เล็กลง คมชัดแบบเบาบางแต่คมไปเรื่อยๆ อันนี้อธิบายเคร่าๆ แต่อย่าไปติดกับสิ่งพวกนี้

    ทีนี้ มาดูว่าที่เครียด ก็เป็นจากการ ที่เข้าไปยึดความผลักใจหรือยึดยินร้าย บาลีเรียกว่า ภวตัณหา ... โดยปกติแล้ว ตามรุ้ไม่ทัน ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมันเป็นของละเอียด มีความละเอียดของธรรมารมณ์
    หากเห็นหรือรู้สึก ในสิ่งพวกนี้ ก็ฝึกทำสติตามรู้ไปที่ใจเรื่อยๆ ใจเรา ยินร้ายไปแค่ไหน ดิ้นรนแค่ไหนก็รู้ไป

    มาดูว่า การฝึกดู ฝึกรู้สิ่งพวกนี้ ต้องทำยังไง
    กรณี ที่ มีความชำนาญในกรรมฐานที่ตั้งไว้ หากรู้สึกถึง ความงุดหงิด ว่นวายใจพวกนี้ ก็ให้ทำสติตามรู้ลงไปที่ใจ หากรู้สึกมันจะกรี๊ด จะดิ้นจะพร่านออก ให้ถอยออกมาพักที่กรรมฐานที่ตั้งไว้ หากฝึกอานา ก็หันมารู้ที่ลมเข้าออก
    น้อมนึก พุทธานุสติ คือคุณของพระพุทธ พร้อมรู้ลมเข้าออก น้อมปีติ ให้มันซ่านๆๆ ทั่วๆกาย แล้วก็ค่อยๆ ชำเรือง ลงไปรู้ใจ สลับไปสลับมา .. อันนี้หากอยู่ในกรณี ที่เรายังไม่รู้สาเหตุนั้นว่า เป็น จากภายนอก หรือภายใน
    การฝึกดูตรงนี้ หากมีความชำนาญ จะเห็น เหตุอย่างหยาบ ที่ส่งมา ชัดขึ้น อันนี้ว่ากันด้วยความละเอียดแห่งจิต
    ... ตรงนี้เป็นการ ฝึกเจโตปริญาญาณไปในตัว

    อีกการแก้ไขอีกอย่าง ให้ ทำในส่วน ทานบารมี แล้วกรวดน้ำไป
    อธิฐาน ทานนี้ขอเป็นเครื่องประดับจิต ตรงนี้เป็นเทคนิก การช่วยส่งเสริม และเคลียพลังงานรอบข้างไปในตัว
    เมื่อ จิตมีกำลัง ก็จะมีสติ ปัญญา แก้ไขปัญหาในทางโลกได้

    แต่พออยู่ใหล้ๆ เวลาที่อีกฅนอยู่ในอารมณ์ที่สบายๆ ก็ยังเป็น และเมื่อวานเป็นมากจนแทบกระโดดจากรถลงมากรี๊ดเลย
    .. ตรงนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ก็อย่างที่อธิบายมาข้างต้น
    <O:p</O:p
    ตอนนี้ดีขึ้นหน่อย<O:p</O:p
    แต่ก็โอเค ถ้าไม่ต้องมีเรื่องที่ต้องสะสาง เช่นการขออโหสิกับเจ้าตัว หรือนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้าตัวฅนนั้น
    ...เรื่องการขออโหสิกรรมนั้น ก็ไม่ต้องกังวน ให้ทำการขออโหสิกรรม ก่อนการ สวดมนต์ไหว้พระทุกครั้ง .. เช่นว่า ข้าพเจ้าขอขมากรรม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ บิดามารดา เจ้ากรรมนายเวร และสิ่งศักสิทธิ์ ทั้งหลาย กรรมอันใด ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกิด ด้วย กาย วาจา ใจ ตั้งใจก้ดี ไม่ตั้งใจก้ดี ขอให้ทุกท่านอโหสิกรรม ให้ข้าพเจ้าด้วยเทอญ ..ในส่วน นี้ ให้ฝึก อบรมใจก่อนสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอนทุกครั้ง จะเป็นการอบรมสอนจิตใจไปในตัว
    .... และในส่วนไหน ที่เราเคยทำผิดกับใคร หากสามารถ พูดถึงตอบโต้กันได้ในทางโลก ก็ให้พูดคุยกันขอขมาอโหสิกรรมเป็นกิจลักษณะ ก็ไม่มีปัญหาอะไร
    <O:p</O:p
    ก็จะได้สนใจแต่สภาวะและการฝึกของตัวเอง<O:p>
    ....อันนี้เป็นสิ่งที่ ควรเตือนตัวเองอย่างยิ่ง คือ สนใจในแต่ละสภาวะ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองเท่านั้น เมื่อ มี สติ มีสมาธิ ที่ตั้งมั่น ก็จะหาทางออก ในสิ่งๆนั้นๆได้

    การอดทน 4อย่าง
    1.อดทนต่อความยากลำบาก นั้นหมายถึง เกี่ยวกกับการดำเนินเลี้ยงชีพ
    2.อดทนต่อเวทนา นั้นหมายถึง ความรู้สึก สุก ทุก ที่เกิดกับกายใจ
    3.อดทนต่อความเจ็บใจ นั้นหมายถึงการโดนด้วย วาจา เสียดแทง
    4.อดทนต่ออำนาจกิเลส นั้นคือ ตัณหาสาม
    การอดทนต่อกิเลส ที่ดันขึ้น จะทำให้ขันติบารมี สมบูรณ์


    ปอ.ปราบ ... การเห็นสภาวะ ของ ความหงุดหงิด รำคาญใจ เป็นการฝึกดู ธรรมานุปัสนา ต้องค่อยๆ หยั่ง อย่าด่วนไปฟลึบดู ค่อยเป็นค่อยหยั่ง
    โดนดันมาก ก็ต้องพักในสมถะของกรรมฐานที่เราตั้งไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มิถุนายน 2010
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846


    1.การกระทบนั้นเกิดเนื่องจากอะไร เป็นนามธรรม หรือลักษณะอารมณืหรืออะไรในตัวเจ้าของอารมณ์ที่มากระทบเรา
    ..จะว่าง่ายตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้อง วางไปก่อน ฝึก ตามรู้ ตามดูไปเรื่อยๆ
    ผู้ที่จะตอบคำถามตรงนี้ได้ชัดแจ้ง คือผู้ถามเอง ผมบอกได้แค่แนวทาง
    ..เพียรต่อไป มั่นคงที่ รู้


    2.การแก้ไข นอกจากการนำสภาวะที่เกิดเป็นตัวฝึกการเจริญสติปัฏฐานไปเลย คือถือโอกาสฝึกสติ และความอดทนไปเลย นอกจากนี้แล้วต้องมีการแก้ไขอะไรเพิ่มเติมมั้ย เช่นอย่างกรณีของการมีกรรมผูกกันอยู่ ต้องขออโหสิ เป็นต้น
    ..ตรงนี้ ยกตัวอย่างไปแล้ว ในโพสก่อนหน้า นี้ครับ
    ..หลักๆ สำคัญ รู้ลงมาที่ใจ ดูที่ตัวเอง <O:p
     
  16. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ขออนุโมทนาบุญอันเกิดจากเจตนาอัันดีของเจ้าของกระทู้กันี้ด้วยครับ สาธุ
     
  17. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +158
    ขอบคุณคำตอบของคุณปราบ

    เดี่ยวจะเข้ามาถามอีก นะคะ
    คำถามต่อไป คือ ว่า การที่เรามีเจ้ากรรมนายเวร เยอะ ทำให้กรรมฐานไม่ดีพอใช่ไหม
    และเวลานั่งสมาธิ ตัวเรากระตุก จัง
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมนิดนึง


    คำว่ากรรมคือการกระทำ แยกได้เป็น

    กรรมดี คือ การกระทำดี
    กรรมชั่ว คือ การกระทำชั่ว

    กรรมดี ผลคือความสุข
    กรรมชั่ว ผลคือความทุกข์

    หากมากล่าวถึง เจ้ากรรม นายเวร ผู้ที่กระทำกรรมนั้นล่ะ คือเจ้ากรรมตัวพ่อ จะหยุด เจ้ากรรม ก็ต้องหยุด ที่ตัวพ่อ

    ส่วนที่เรียกๆโดยทั่วไป ว่า คนนั้น คนนี้ เป็นเจ้ากรรมนายเวรนั้น ส่วนนี้เป็น ผล คือ วิบาก ที่เจ้ากรรมตัวพ่อได้กระทำไว้ หากทำดีก็ต้องได้รับวิบากในส่วนดี หากทำชั่วก้จะได้รับ วิบากในส่วนชั่ว
    เป็นส่วนที่ต้องได้ รับ จาก การกระทำของเจ้ากรรมตัวพ่อตัวจริง

    ผมเข้าใจว่าจะพ้นกรรมตัวพ่อนี้ได้ ก็ต้องพ้นด้วย ในกระบวนวิธีการฝึก สติปัฏฐาน 4 ว่าโดยรวม ก็ ศีล สมาธิ ปัญญา ....


    .... และในส่วนที่ว่า เจ้ากรรมนายเวรเยอะนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรรมฐานไม่ดีพอ

    ข้อวัดในส่วนที่ว่า กรรมฐานไม่ดีพอนั้น ให้วัดตรงที่ ความตั้งใจจะละความชั่ว ในสิ่งไหน แล้วก็ละได้เด็ดขาด เริ่มจากส่วนหยาบ ไปหาส่วนละเอียดเรื่อยๆ นั่นแสดงว่ากรรมฐานก้าวหน้า ... ไม่ได้เกี่ยวกับเจ้ากรรมนายเวรมากหรือน้อย

    อธิบายอีกแง่
    ...ผลวิบากแห่งความดีให้ผล ก็เป็นเจ้ากรรมนายเวรในส่วนที่ดี

    ...ผลแห่งความชั่วให้ผลก็เป็นเจ้ากรรมนายเวรในส่วนที่ชั่ว
    ต้องทำความเข้าใจไว้ในสองส่วน ไม่ใช้เลือกเฉพาะ ส่วนที่ชั่วให้ผลแล้วไปเหมาเอาว่า นี่เป็นเจ้ากรรมนายเวร


    สำหรับนั่งสมาธิแล้วกระตุก หากมันนั่งแล้ว กระตุก จนจะช๊อค แบบนี้ก็ให้ลืมตา เลิกนั่ง เน้นการเดินเอา แต่ถ้าหาก มันแค่กระตุกเบาๆ ตามข้อมือบ้าง ตามแขนไปทางข้อศอกบ้าง ตามข้อเท้าบ้าง แล้วก้แว๊ปไปตกใจพักนึก ในส่วนนี้ก็เป็นอาการปกติ เป็นทางผ่านในการฝึก ก้ไม่ต้องสนใจ แต่เราน้อมมาฝึกได้ เช่นว่า เกิดอาการเหล่านี้มา ใจเราเป็นไง
    ..... เช่น เกิดอาการนี้มาปั๊ป ใจเรา สงสัยไหม ใจดิ้นไหม ใจเคลื่อนจากกรรมฐานที่เราขึ้นไหม เอ๊ะใจไหม ตกใจไหม
    ให้สังเกตุตรงๆไปที่ใจเลย จะเป็นการฝึกให้ก้าวหน้าได้เร็วขึ้น....
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    .....ถอดเสียง ....หลวงปู่พุธ ฐานิโย อธิบาย คำว่า พิจารณา

    เราสังเกตุดูว่า ในเมื่อจิตสงบแล้ว มันไม่มีความรู้ แล้วมันขึ้นวิปัสนาที่ตอนไหน


    เอากันอย่างนี้ก็แล้วกัน
    ในเมื่อท่านทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิขั้นละเอียดแล้ว
    ในขณะนั้นความรู้สึกที่จะยกจิตไปไหนเนี๊ยะมันไม่มีแล้วล่ะ

    อย่าไปหาว่า
    แต่เราต้องรอเวลาที่จิตถอนจากสมาธิขั้นนี้มาแล้ว
    พอรู้สึกว่ามีกายปรากฎเท่านั้น อย่ารีบดีใจ กระโดดโลดเต้นออกจาก
    ที่นั่งสมาธิทันที
    พระอาจารย์สิงห์ ท่านสอนให้ พิจารณาทบทวนความเป็นไปของจิต
    ในระหว่างที่ทำสมาธิภาวนาก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนจิตให้เกิดมีควาคิด
    หรือบางทีพอจิตถอนออกมาแล้ว รู้สึกมีกายปั๊ปเท่านั้น ความคิดบังเกิดขึ้นทันที
    ในเมื่อจิตมีความคิดบังเกิดขึ้น เราปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ไปรู้ไปรู้ไป

    นี่เป็นลักษณะของจิตเดินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสนา

    แต่ในคัมภีร์ ท่านกล่าวว่า การเจริญ วิปัสนานี่
    ต้องกำหนดพิจารณา ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 พิจารณาปัจจยาการ
    อวิชาปัจจยาสังขารา อันนั้นเป็นภาคปฏิบัติ แม้ว่าเราจะตั้งใจกำหนดจิตพิจารณา รูปังอนิจจัง เวทนาอนิจจา รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณไม่เที่ยง

    เรานึกเอา นึกเอา นึกเอา ด้วยความคิดธรรมดาๆ นี่แหล่ะ แต่เมื่อจิตสงบลง
    เป็นสมาธิแล้วนี่ มันทิ้งคำว่า อนิจจังทุกขังอนัตตาไปแล้ว
    จ้างอีกมันก็ไม่มีคำว่า รูปังอนิจจัง เวนาอนิจจา รูปัง ทุกขัง มันก็ไม่มี พอสงบปั๊ปลงไปเป็นสมาธิ มันจะบรรดาล ให้เกิด ความรู้ ความคิดขึ้นมาเอง โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

    ที่นี่เมื่อจิต ของเราเกิดความรู้ ความคิดขึ้นมาเองเนี๊ยะ พึงรู้เถิดว่า
    ความคิดเป็นวิตก สติรู้พร้อมเป็น วิจาร ถ้าเราไม่เข้าใจผิด ปล่อยให้มันคิดไป ตามอำเภอใจของมัน แล้วเราจะรู้สึกว่า มีปีติ มีความสุข มีกายเบาจิตเบา แล้วจิตก็ได้สมาธิขั้นต้นซึ่งเรียกว่า ปฐมฌาน มี วิตก วิจาร ปีติ สุข
    เอกคัคตา

    นี่ ลองลอง ลอง ลอง ดู
    อย่าไปยึดมั่นแต่เพียงแค่ว่า ภาวนา พุทโธ พุทโธ แล้ว พอจิตทิ้งพุทโธแล้ว
    ดึงมาหาพุทโธอีก มันจะเป็นการเริ่มต้นอยู่ตลอดเวลา

    ต้องพิจารณาดูให้ดี ว่า

    พุทโธ ที่เราคิดอยู่ก็คือความคิด ความคิดที่จิตคิดขึ้นมาเองก็คือ
    ความคิด

    เพราะฉะนั้น ในช่วงใด ที่จิต คิดไม่เป็น เราเอาพุทโธ พุทโธ มากระตุ้น ให้มันเกิดพลังแห่งความคิด

    ทีนี่เมื่อมันสงบลงไปนิดหน่อย มันทิ้งพุทโธ มันไปหาความคิดใหม่ของมันมา ก็ปล่อยให้มันคิดไป แต่ให่มี สติสัมปชัญญะ ตามรู้ไปเรื่อยๆ

    ต่อไปแล้ว อะไรมันเกิดขึ้น ให้กำหนดรู้ สิ่งนั้น เพียงแต่เรากำหนดรู้จิตของเราอยู่เฉยๆ อะไรมันเกิดขึ้นกับจิตเราจะรู้เองโดยอัตโนมัติ ในเมื่อรู้แล้วก็ให้ มีสติกำกับ อย่าไปเผลอ สติ สติตัวเดียวเท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ


    หลวงปู่แหวน ท่านเคยให้คติเตือนใจว่า อย่าไปดูอื่น ให้จี้ ลงที่จิต ของตนเอง
    บาปมันเกิดที่จิต บุญมันเกิดที่จิต ดีมันเกิดที่จิต ชั่วมันเกิดที่จิต เพราะฉะนั้นให้ดูจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แล้วเราสามารถ ที่จะรู้หมดทุกสิ่ง ทุกอย่าง


    และอีกอย่างหนึ่ง มีผู้กล่าวว่า ถ้าจิต เกิดความคิดอะไรขึ้นมา เกิดความรู้อะไรขึ้นมา
    ให้พิจารณา สิ่งนั้น แล้วก็ไปเข้าใจว่า เราตั้งใจพิจารณา ตั้งใจคิด

    แต่ความจริงน่ะ ไม่ใช่อย่างนั้น คำว่า พิจารณา นี่ ก็หมายถึงว่า กำหนดรู้สิ่ง ที่มันเกิดขึ้นดับไปเอง โดยอัตโนมัติ

    ที่นี่ ถ้าสิ่งที่มันเกิดขึ้น เราข้องใจสงสัยเราไปตั้งใจพิจารณาเท่านั้น
    จิตมันจะถอนจากสมาธิเด๊ะ

    แต่ถ้าอะไรมันเกิดขึ้น เรามี สติกำหนดดู ให้มันรู้อยู่ในที จิตมันจะไม่ถอนจากสมาธิ แล้วมันจะย้อนกลับ สงบละเอียดเข้าไปสู่สมาธิตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่ง

    เพราะฉะนั้น เวลาท่านนั่งสมาธิ จิตสงบดีแล้ว เมื่อจิต ถอน จากสมาธิมา พอรู้สึกว่ามีกาย อย่ารีบ ออกจากที่นั่งสมาธิ ให้กำหนดรู้จิต ของตนเองอยู่ซักพักหนึ่ง ก่อน ถ้าหากว่าจิต ไม่เกิดความรู้ ความคิด ขึ้นมาเอง ก็ให้พิจารณา ทบทวนอ่า.. ที่เราเริ่มปฏิบัติมา ตั้งแต่เบื้องต้น เราได้ไหว้พระสวดมนต์ เราได้อธิฐานจิต เราได้แผ่เมตตา เราได้กำหนดอารมณ์จิต
    จิตของเรา สงบหรือไม่ สงบ รู้หรือไม่รู้ สว่างหรือไม่ สว่าง

    กำหนดพิจารณา ทบทวนดูซัก สอง สามทีก่อนออกจากที่นั่งสมาธิ
    อันนี้เป็นแนวทางของท่าน พระอาจารย์ สิงห์ ที่ท่านเขียนไว้
    ในพระไตรสรณะคม ย่อ

    ดังนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสรู้ ก็เพราะอาศัย
    การเจริญสมาธิ อาศัยหลักธรรมชาติ คือท่าน มีสติ กำหนดดู ลมหายใจ
    อันเป็นธรรมชาติ ของร่างกาย

    มีสติกำหนดดูความคิดอันเป็นธรรมชาติของจิต แล้ว ในที่สุด จิตก็ตามลมหายใจ เข้าไปสงบ นิ่ง สว่าง อยู่ในท่ามกลาง ของร่างกาย เป็นเหตุให้รู้ความจริง ของร่างกาย จิตดำเนินเข้าไปสู่ฌาน สมาบัติตามขั้นตอน แล้ว วกเข้าสู่ นิโรธสมาบัติ เรียกว่า

    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไปสร้างพลังจิตเพื่อการ ตรัสรู้ อยู่ที่ตรงนี้ แล้วจิต เปล่งบาน สว่าง ไสว ออกมาได้ ตรัสรู้ เป็น โลกะวิทู เป็นโคตระภูญาณ ได้พิจารณา ทบทวน ตลอดยามทั้ง สาม จิตยอมรับสภาพความเป็นจริง แล้วก็หมดกิเลส ได้เป็น พระอะระหังสัมมาสัมพุทโธ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง การตรัสรู้สมบูรณ์แบบในปัชฌิมยามด้วยประการฉะนี้<!-- google_ad_section_end -->
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    หลวงปู่พุธ ฐานิโย อธิบาย การพิจารณา จิตในจิต<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ถอดเสียง หลวงปู่ พุธ ฐานิโย

    ถ้าพิจารณาดูความเจ็บหัวเข่า หรือเหน็บชา ได้ชื่อว่าพิจารณาจิต ถูกหรือไม่
    พิจารณาความเจ็บ อันนั่นพิจารณาเวทนา เพราะความเจ็บเป็นเวทนา เวทนาที่เราจะรู้ได้ ความเหน็บชาก็ดีเจ็บหัวเข่าก็ดี เพราะเรามีจิต
    ในเมื่อกำหนดจิตลงรู้ที่นั้น ก็เรียกว่า พิจารณาเวทนา แต่จิตเป็นผู้รู้เวทนานั้น
    ทีนี่ การพิจารณาจิตในจิต หมายถึงว่า กำหนดจิต ที่กำลังคิดอยู่ หรือในการที่เราคิด ว่าหัวเข่ามันเจ็บ มันเกิดเหน็บชา
    แม้จะเป็นการพิจารณาหัวเข่า แต่เราก็ชื่อว่า พิจารณาจิต รู้อยู่ที่จิตก็ได้
    เพราะจิตเป็นผู้รู้
    อ่า..เรื่องของเวทนานี่ กาย เวทนา จิต ธรรม เมื่อเรากำหนดจิตรู้ลงที่จิต แม้ว่าเรา ไม่ได้กำหนด กาย ไม่ได้กำหนดอะไร เป็นแต่เพียงกำหนดจิตอย่างเดียว ขณะที่จิตกับกายยังมีความสัมพันธ์ กันอยู่ ยังไม่แยกจากกัน
    เหตุการอันใด เกิดขึ้นที่กาย จิตเค้ารู้หมด กายนั่งตรงหรือไม่ตรง จิตเค้าก็รู้ กายมีทุกข์มีสุขเค้าก็รู้ กายจะเคลื่อนไหวไปมาอะไรเค้าก็รู้ อะไรมากระทบกายเค้ารู้หมดทั้งนั้น แต่ว่าจิตเป็นผู้รู้
    ทีนี่การพิจารณาจิตในจิต นี่ หมายถึง การกำหนดรู้ ความรู้สึก นึกคิด คือรู้ในจิตอย่างเดียว อันนี้ในเมื่อจิตของเราละเอียดลงไปแล้วมันจะแยกของมันเอง

    สมาธิเป็นการขจัดความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็จำเป็น เพราะจิตจะได้มีกำลังถูกหรือไม่
    สมาธิเป็นการกำจัดอ่า..ความฟุ้งซ่านของจิตและเป็นฐานที่สร้างพลังของจิต
    แต่เมื่อ สมาธิมั่นคง สติมีการ อ่า.. สติสัมปชัญญะ มีพลังงาน อ่า.เพียงพอแล้ว แม้จิตจะมีความคิดอยู่ ถ้า สติสามารถตามรู้ทัน ความคิดที่คิดอยู่ ทุกวาระจิตได้ ไม่ได้ชื่อว่าเป็นจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตเกิดปัญญาความรอบรู้
     

แชร์หน้านี้

Loading...