เราสามารถรู้เวลาตายของตัวเองได้ด้วยเหรอครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Hikikomori, 1 สิงหาคม 2010.

  1. Hikikomori

    Hikikomori เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +326
    คือจากอาการปวดหัวไมเกรน โรคย้ำคิด ก็พยายามนั่ง นอนสมาธิไปเรื่อยจนหลอน และได้ยินเสียงประหลาดจากเจ้าแม่ที่ไหนไม่รู้(มาแต่เสียง) มาบอกว่าเวรกรรมมีจริง และอายุของผมจะอยู่ได้แค่ 31 ปีเอง(ตอนนี้ 27 แล้ว) หลอนจนแบบเห็นภาพอดีต อนาคตมั่วไปหมดแล้ว บางทีก็มาเป็นฝัน จะทำยังไงดีทำไมอายุของผมถึงสั้นแท้ ดูจากการรู้ตัวเพราะผมหักโหมในการใช้ชีวิตมากไปหน่อยผมว่าก็แน่นอนอยู่แล้ว ตอนนี้เท่าที่ทำได้ก็แค่พยายามฝืนใช้ชีวิตไปวันๆ ใครที่เคยเป็นโรคเดียวกับผมนี่จะรู้ว่าทรมานแค่ไหน แบบว่าคิดอยากตายได้ทุกวัน ชีวิตคือการต่อสู้อีกไม่กี่ปีเองคงรู้กัน รึผมจะหูหลอนไปเองแต่ไม่น่าจะใช่ ผมได้ยินได้ฟังชัดเลย แถมเรียกชื่อผมถูกอีก รึสวรรค์ นรกจะมีจริงเนี่ย รึผมจะฝึกสมาธิจนได้อภิญญาถึงขั้นอย่างหนึ่งแล้ว เกิดมาคนเดียวก็ต้องไปคนเดียวแหละ อยากมีเพื่อนมั่งอะ ใครมีประสบการณ์แบบผมมั่งช่วยเล่าให้ฟังกันด้วยเถอะ เฮ้อชีวิตทำดีก็ไม่เห็นได้ดีอะไรเลย
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882
    ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง
    ภิกษุ ท.! มรณสติ (ความระลึกถึงความตาย) อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด. พวกเธอเจริญมรณสติอยู่บ้างหรือ?
    เมื่อรับสั่งดังนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลขึ้นว่า แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติอยู่พระเจ้าข้า.”
    1. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ!”
    ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง วันหนึ่งคืนหนึ่ง. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’ ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล พระเจ้าข้า.”
    อีกรูปหนึ่งทูลว่า ถึงข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า.”
    1. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ!
    ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จมื้อหนึ่ง. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มาก แล้ว หนอ’ ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล พระเจ้าข้า.”
    อีกรูปหนึ่งทูลว่า ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า.”
    1. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ!
    ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียง ๔-๕ คำ. เราถึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’ ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า.”
    อีกรูปหนึ่งทูลว่า ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า.”
    1. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ!”
    ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’ ดังนี้ ข้าพระองค์เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า.”
    อีกรูปหนึ่งทูลว่า ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า.”
    1. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ!”
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือชั่วหายใจออกแล้วหายใจเข้า. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’ ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า.”
    เมื่อสิ้นคำทูลทั้งหมดแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า :-
    ภิกษุ ท.! ภิกษุพวกที่เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง---ดังนี้ก็ดี, เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จมื้อหนึ่ง---ดังนี้ก็ดี, เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียง ๔-๕ คำ. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอดังนี้ก็ดี ; ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า ยังเป็น ผู้ประมาทอยู่ ยังเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะช้าไป.
    ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นอยู่, จักเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริงดังนี้. ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
    (คัดจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ของท่านพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) หน้า ๒๗๙๒๘๔)
    ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
    หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
    วะยะธัมมา สังขารา
    สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
    ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
    อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา
    นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้าย ของพระตถาคตเจ้า.
    [​IMG]
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=560>
    ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร

    ว่าด้วยการเจริญมรณสติมีผลมาก

    [๒๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้างด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ก็มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไปกลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงดังศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ-เพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือ[​IMG]
    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร

    ว่าด้วยการเจริญมรณสติมีผลมาก

    [๒๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้างด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ก็มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไปกลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงดังศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ-เพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือ[คำวิจารณ์][โหวต] [​IMG]</td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​
    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --></P><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    มีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไปกลางวันย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็น[​IMG]</PRE></TD><TD vAlign=top width=100>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td>มีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไปกลางวันย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็น[คำวิจารณ์][โหวต] [​IMG]</td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​
    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    อันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและ ปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด. จบทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๑๐ จบสาราณิยาทิวรรคที่ ๒ อรรถกถาทุติยมรณัสสติสูตร

    พึงทราบวินิจฉัยในทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-บทว่า ปฏิหิตาย แปลว่า ดำเนินไปแล้ว. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติความว่า ย่อมพิจารณาอย่างนี้. ในบทนี้ว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ดังนี้อันตรายมี ๓ อย่าง คือ อันตรายแห่งชีวิต ๑ อันตรายแห่งสมณธรรม ๑อันตรายแห่งสวรรค์ อันตรายแห่งมรรคสำหรับผู้ทำกาลกิริยาของปุถุชน ๑พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายถึง อันตรายทั้ง ๓ อย่างนั้นทีเดียว. บทว่า พฺยาปชฺเชยฺย ความว่า พึงวิบัติไป ด้วยสามารถแห่งการไม่ย่อยเป็นต้น. บทว่า อธิมตฺโต แปลว่า มีกำลัง. ความพอใจ คือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่า ฉันทะ. ความเพียรในการประกอบกิจ ชื่อว่าวายามะ. ความเพียรที่เป็นเหตุ แห่งความกระตือรือร้น ชื่อว่า อุตสาหะความเพียรที่เป็นเหตุให้ถึงพร้อม (สำเร็จ) ชื่อว่า อุสโสฬหิ. ความไม่[​IMG]
    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  4. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882
    ปุจฉา
    จะปฏิบัติธรรม เจริญกรรมฐาน พิจารณามรณสติ ได้อย่างไร

    วิสัชนา
    บุคคลผู้ปรารถนาจะเจริญ มรณสติสพึงพิจารณาด้วยอาการ 8 อย่าง ดังนี้

    01. สัตว์ทุกชนิด เมื่อมีชีวิตต้องรับทัณฑกรรม คือความ ตายในที่สุด พิจารณาให้รู้ชัดลงไปว่า สรรพชีวิตทุกชนิดเมื่อเกิด มาแล้ว ย่อมพาเอาความเสื่อม เก่าแก่ และตายมาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ประดุจดังชีวิตที่เกิดอยู่ในแดนประหาร มีเพชฌฆาตถือมีดและปืนจ่อรออยู่ เมื่อถึงเวลาก็ลงมือประหารชีวิตนั้นโดยมิรีรอ ชีวิตเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหมือนดั่งพระอาทิตย์ที่ขึ้นทางทิศตะวันออก แล้วกำลังเดินทางไปสู่ทิศตะวันตกในที่สุด แสงนั้นก็ลับหายไปจากขอบฟ้า ไม่มีใ่ครสามารถเรียกให้พระอาทิตย์นั้นเดินทางย้อนกลับมาได้ มีแต่ว่าต้องรอให้ถึงวันใหม่ (นั่นคือการเกิดของอีกชีวิตหนึ่ง) ชีวิตนี้เหมือนดังก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขา แล้วกลิ้งลงมาสู่ตีนเขาเบื้องล่าง ไม่สามารถจะหยุดยั้งให้หยุดระหว่างกลางเขาได้ จนท้ายก็ต้องตกลงมากระทบพื้นเบื้องล่างแตกกระจาย น้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่อกระทบ กับลมและแดด ย่อมเหือดแห้งไปฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องตายไปฉันนั้น ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงในชีวิตคือความตาย

    02. พิจารณาถึงความวิบัติแห่งสมบัติทั้งปวง อันมีทรัพย์สินเงินทอง ลาภสักการะเกียรติยศ ศักดิ์ศรีชื่อเสียงอำนาจวาสนา เรือกสวนไร่นา ข้าทาสบริวารหญิงชายทั้งหลายเหล่านี้ มีอันต้องวิบัติแตกสลายมลายสูญสิ้นไปในที่สุด แม้แต่องค์อินทร์ ยังเสื่อมจากทิพยสมบัติที่มีเมื่อถึงกาลที่ต้องวิบัติ สำหาอะไรกับเราท่านทั้งหลายจะรอดพ้นจากวิบัติได้กระนั้นหรือ

    สมบัติทั้งหลายจักวิบัติได้ด้วยลักษณะ ดังนี้ วิบัติโดยความหมดไปสิ้นไปวิบัติโดยเวรภัยต่างๆ วิบัติโดยความเสื่อมเก่า คร่ำคร่า วิบัติโดยความแตกร้าว บุบสลาย ทำลายพินาศไป วิบัติโดยความสูญหาย วิบัติโดยหมดวาสนาบารมี

    03. ระลึกถึงความตายของผู้อื่นแล้วน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตน เช่น เวลาไปงานศพในที่ต่างๆ หรือฟังข่าวสารการมรณะของคนและสัตว์ ก็ให้น้อมมาระลึก ว่า โอ้หนอ... แม้แต่ท่านผู้มียศใหญ่ วาสนาดี มีบุญมาก ซ้ำยังประกอบไปด้วยความแข็งแรง มีกำลังวังชาประดุจดังพญาช้างสาร มีปัญญารอบรู้ เฉลียวฉลาด มีฤทธิ์ อำนาจมากมาย ยังต้องตาย สำหาอะไรกับเรา เป็นผู้ด้อยกว่าเขาด้วยประการทั้งปวง จะล่วงพ้นความตายไปได้กระนั้นหรือ

    พิจารณาย้อนไปถึงอดีต แม้แต่พระอรหันต์ผู้เลิศฤทธิ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เลิศญาณ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศ ปัญญา ยังมิอาจพ้นจากความตายได้ ความตายนี้ช่างเป็นสาธารณะแก่คนและสัตว์ทั้งหลายเสียจริงๆ

    04. พิจารณาถึงกายนี้ ว่าเป็น รังของโรค เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เกาะกลุ่มกันจนกลายเป็นแผ่นหนังห่อหุ้มกายนี้ เมื่อเซลล์ผิวหนังเหล่านี้ตาย ก็จักบังเกิดเซลล์ตัวใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน เซลล์เหล่านี้เกิด และมี ชีวิตอยู่ได้ด้วยน้ำเลือดที่ประกอบด้วยสารอาหารที่กายนี้ดื่มกินเข้าไป แล้วยังต้องอาศัยอากาศที่หมุนวนอยู่รอบๆ กาย น้ำที่ซึมซาบอยู่ในกายเป็นเครื่องอยู่ กายนี้นอกจากประกอบด้วย เซลล์ผิวหนัง เซลล์เนื้อ เซลล์ไขมัน เซลล์กระดูก เซลล์เยื่อกระดูก เซลล์ไขกระดูก แล้วยังมีเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบของอวัยวะทั้งหลายภายในกายนี้

    สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เล็กๆ เหล่านี้ ต่างพากันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วตายไป สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ จนกว่าเหตุปัจจัยของการ เกิดแห่งเซลล์ชีวิตเหล่านี้ จักหมดสิ้นอายุ และขาดตอนลง นอกจากกายนี้ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เป็นเซลล์ของร่างกายแล้ว กายนี้ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อื่นอีกหลาย ชนิด ที่อิงอาศัยเกาะกินส่วนต่างๆ ของกายนี้ เช่น ถ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นั้น อาศัยอยู่ที่ผิวหนังก็จักเกาะกินเซลล์ ผิวหนัง อาศัยอยู่ที่เนื้อก็เกาะกินเซลล์เนื้อ อาศัยอยู่ที่พังผืดและเอ็นก็เกาะกินพังผืดและเอ็น อาศัยที่กระดูกก็เกาะกินกระดูก อาศัยอยู่ที่เยื่อกระดูก ก็เจาะกินเยื่อในกระดูกนั้น นอกจากจะเกาะกินเซลล์ต่างๆ ภายในกายนี้แล้ว มันยังขับถ่ายผสมพันธุ์ เกิด ตาย อยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่นั้นอีกด้วย

    กายนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นที่อาศัยสาธารณะของสิ่งมีชีวิต หรือเชื้อโรคเล็กๆ ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก กายนี้เป็นที่ผสมพันธุ์ เป็นที่เกิดเป็นที่ถ่ายของเสียเป็นที่หมักหมมของโสโครก เป็นป่าช้า เป็นรังของโรคร้ายต่างๆ

    นอกจากกายนี้เป็นป่าช้า คือ เป็นที่ตายของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้วเป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายแก่กายนี้แล้ว กายนี้ยังมีเหตุให้ถึงแก่ความตายอย่างง่ายดายจากภายนอกอีกนานัปการ เช่น โดนสัตว์มีพิษน้อยใหญ่ขบกัดตาย โดนอาวุธซัดตาย หกล้มตาย ตกจากที่สูงตาย ได้รับอุบัติภัยต่างๆ แล้วตาย เกิดลมกำเริบ ภายในแล้วตาย หิวตาย กระหายตาย อิ่มตาย ฯลฯ

    พิจารณาให้เห็นว่า เหตุของ ความตายแห่งกายนี้มีมากมาย ง่ายดายเหลือเกิน ตายได้โดยมิเลือกเวลา นาที วันเดือนปี และสถานที่ พิจารณาให้เห็นว่ากายนี้มีความตายเป็นสาธารณะ

    05. พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ชีวิตนี้เป็นภาระยิ่งนัก เป็นความรุงรัง ที่ต้องคอยบริหาร ชีวิตนี้เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ไม่มีคุณสมบัติที่จักดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง กายนี้จำต้องพึ่งพิงอิงอาศัยสรรพชีวิต สรรพสิ่งต่างๆ มากมาย เช่นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ยังต้องอาศัยบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง อุปการะเลี้ยงดู ต้องอาศัยอากาศ หายใจ กายนี้ต้องอิงอาศัยดินน้ำลมไฟ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และปัจจัยต่างๆ อีกมากมาย

    ชีวิตและกายนี้ต้องอาศัยความพยายามที่จักมีการบริหารให้ อยู่ในอิริยาบถ 4 อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ยืนเดินนั่งนอน จักขาดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งมิได้ และจักมีอิริยาบถใดมากเกินไปก็เจ็บปวดเป็นทุกข์ทรมาน จนบางครั้งบางท่านถึงขนาดล้มป่วย และตายลงในที่สุด

    กายนี้ นอกจากจะไม่มีเอกภาพในความดำรงอยู่ด้วยตัวเองแล้ว กายนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดินน้ำลมไฟ ที่ต้องอิงอาศัยการบริหารจัดการดูแลรักษาให้ธาตุทั้ง 4 ภายในภายนี้ ดำรงสมดุลต่อกันและกัน มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทุพพลภาพ พร่องอยู่ตลอดเวลา เราทั้งหลายจึงต้องมีงานอันหนัก ตั้งแต่เกิดจนตาย

    06. ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีเครื่องหมายว่าจักตายในขณะใด บางพวกอาจตายเสียก่อนตั้งแต่ยังเป็นดวงจิตวิญญาณที่ล่องลอยไปตามอำนาจกรรมก็มี บางพวกอาจจักตายในขณะที่เป็นเปรตเสียก็มี บางพวกก็ตายในขณะที่เป็นก้อนเนื้ออยู่ในครรภ์มารดาก็มี บางพวกก็ตายหลังจากออกมาจากครรภ์มารดาแล้วก็มี

    ชีวิตและกายนี้ไม่แน่ว่าจักตายในขณะใด เวลาไหน ด้วยโรคอะไร ด้วยอาการเช่นไร ณ สถานที่ไหน ความตายเป็นของไม่แน่ แต่ที่แน่ๆ ทุกคนต้องตาย เมื่อตายแล้วก็ไม่แน่ว่า จักไปเกิดในที่ใด แล้วแต่บุญทำกรรมส่ง

    07. มองให้เห็นตามเป็นจริงว่า เวลาแห่งชีวิตนี้น้อยนัก อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบดังฟองน้ำที่ปรากฏบนผิวน้ำ สะบัดเดี๋ยวก็แตกกระจาย ชีวิตและร่างกายนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต่างมีเวลาและวาสนาในการดำรงชีวิตอยู่ไม่เท่ากัน เหมือนดังฟองน้ำบนผิวน้ำที่ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง และในที่สุดก็จักต้องแตกดับลงอย่าง รวดเร็ว อายุขัย ของชีวิตนี้เปรียบเหมือนรอยไม้ ที่ขีดลงบนพื้น ผิวน้ำปรากฏ ประเดี๋ยวเดียว ก็หายไป ดูว่าชีวิตช่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้ เสียจริงๆ แม้แต่สรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เมื่อปรากฏ ขึ้นแล้ว ก็มิได้มีอะไรคงทนถาวร ตลอดกาลตลอดสมัยเหมือนน้ำตกที่ไหลจากที่สูง มีแต่จักไหลลงไปสู่เบื้องล่างแต่ถ่ายเดียว ชีวิตไม่ว่าจักเริ่มต้นจากสูงต่ำปานกลาง ยาวสั้นเล็กใหญ่ประการใด สุดท้ายก็ต้องตกลงไปสู่ความตายในที่สุด ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้ เหมือนดังน้ำที่ไหล ลงสู่ที่ต่ำเสมอมิมีใครห้ามได้ ความเป็นไปของชีวิตนี้ ไม่ว่าจักมั่งมีมากมายหรือจนยากลำบากทั้งหลาย เลวดี หรือมีสุขทุกข์อย่างไร ถ้าชีวิตตั้งอยู่บนความประมาทขาดปัญญา ที่สุดตน ก็ต้องรับโทษทุกข์ภัย ทรมานกายใจ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับโคที่เขาเลี้ยงเอาไว้เพื่อฆ่า นับวันก็ยิ่งใกล้วันโดนฆ่าเข้าไปทุกที ความประมาท มัวเมาในกามคุณทั้งหลายโดยไม่คำนึงถึงความตายคงไม่ต่างอะไรกับโคที่เห็นหญ้าอ่อนแล้วตรงรี่เข้าไปหาเพื่อแทะเล็ม เคี้ยวกินให้อิ่มและอ้วนพี โดยมิได้สำนึกเลยว่าความอยากตะกรุมตะกรามตะกละของตนที่พยายามกินให้อ้วนนั้น คือ การเร่งให้คนฆ่า โคนำตนไปฆ่าให้เร็วขึ้น มีคำกล่าวว่า อายุขัยของ มนุษย์ทั้งหลาย นั้นน้อยนัก คนมีปัญญาอย่าพึงดูหมิ่นพึงประพฤติดังคนที่มีไฟไหม้อยู่บนศีรษะเถิด อย่าคิดว่าความตายจะยังไม่มาถึงเรา

    08. จงพิจารณาถึงมรณสติว่า มีอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ จิตดวงหนึ่งเมื่อเกิดชื่อว่าชีวิตหนึี่งก็เกิดตาม จิตดวงนั้นดับ ชื่อว่าชีวิตนั้นดับตาม แต่เพราะกายนี้ประกอบด้วยจิตที่เกิดดับจนหาประมาณมิได้ บวกกับความเร็วของที่จิตที่เกิดดับ และความสืบเนื่องกันอย่างถี่ยิบ สัตว์ทั้งหลายจึงมองไม่เห็นชีวิตที่เกิดตายอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ

    จิตที่ดับไปแล้วเรียกว่า อดีตจิต จิตและชีวิตสัตว์นั้นจึงไม่ชื่อว่าดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่ากำลังดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่าจักดำรงต่อไป ส่วนจิตที่ยังมิได้เกิดเรียกว่า อนาคตจิต ชีวิตและจิตของสัตว์นั้นก็ไม่มีชีวิต ไม่ชื่อว่ามีจิต ไม่ชื่อว่าสัตว์ ไม่ชื่อว่าเป็นจิตและสัตว์แล้ว แต่ได้ชื่อว่ากำลังจะเป็นจิตและสัตว์ต่อไป

    ชีวิต อัตภาพ สุขทุกข์ ทั้งมวลของสัตว์นี้ เป็นไปเพียงแค่ชั่วขณะ จิตเดียว แต่ที่เห็นว่ายืนยาวเพราะสันตติ ระบบความสืบต่อ ความปรุงแต่งและยึดถือจึงทำให้สัตว์นั้น มองเห็นชีวิต อัตภาพสุขทุกข์ที่มีอยู่ยืนยาว ชีวิตนี้เมื่อขาดความปรุงแต่ง ความสืบต่อ ชีวิตนี้จึงดูสั้นนัก

    ท่านผู้เจริญทั้งหลายเมื่อจักเจริญมรณสติอาจเจริญพิจารณาข้อใดข้อหนึ่งใน 8 ข้อหรือเจริญทุกข้อก็ได้ แต่ขอให้หมั่นเจริญ พิจารณาอยู่ทุกขณะของลมหายใจ จนจิตสลดปลดจากกามคุณเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย สติก็จะมั่นอยู่ในการพิจารณาความตายเป็นอารมณ์จิตก็จักปลอดจากนิวรณ์เครื่องครอบจิต องค์คุณแห่งอุปจารฌานก็จักบังเกิดขึ้น

    สัตว์ทั้งหลายที่มิได้เจริญมรณสติ ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างประมาทมัวเมา เมาในภพ เมาในชาติ เมาในวัย เมาในชีวิตความเป็นอยู่ เมาในรูป รส กลิ่น เสียง เมาในสัมผัส เมาในอำนาจวาสนา เมาในทรัพย์สมบัติ เรือกสวนไร่นา เมาในราคะ โทสะ โมหะ

    เมื่อเป็นผู้เมาก็คือขาดสติ เมื่อขาดสติก็เป็นเหตุให้ทำกรรมชั่ว คิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำผิด พูดผิด คิดผิด เมื่อชีวิตมีแต่เรื่องผิดและชั่ว ก็เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทั้งหลับและตื่น กลางวันและกลางคืน ก็เป็นเหตุ ให้หวาดกลัว กลัวไปต่างๆ นานา แล้วแต่จิตจะพาไปด้วยอำนาจของความเศร้าหมอง พาให้วิตก กังวล ฟุ้งซ่านด้วยใจเศร้าหมอง วิตกหวาดกลัว

    ครั้นเมื่อถึงเวลาตาย ย่อมหวาดผวาไม่กล้าที่จะเผชิญกับความจริง แสดงกิริยาอาการกระวนกระวายเป็นทุกข์เดือดร้อน เศร้าโศก ร่ำไรรำพัน พอตายเข้าจริงๆ จิตนี้ก็ไปบังเกิดในภพภูมิ ที่ไม่น่าปรารถนา ต้องได้รับทุกข์ยาก เดือดร้อนสุดจะพรรณนา

    สำหรับท่านผู้เจริญมรณสติภาวนา ย่อมไม่ประมาทมัวเมา ในภพชาติ และลาภสักการะทั้งหลาย มีชีวิตอยู่เพื่อจะสร้างสรรสาระให้โตอย่างรู้ตัว เจียมตัว และกล้าพร้อมที่จะเผชิญกับความตายอย่าง มีสติ ไม่หวั่นหวาด ไม่ขลาดกลัว เหตุเพราะได้เห็นความเป็นจริงของจิต ชีวิต โลก ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา มิมีใครจะพ้นจากกติกา นี้ไปได้ จิตก็จะสงบสงัดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงพอตาย ภพ ชาติ ที่ตนปรารถนา ก็จักบังเกิดขึ้นแก่ตน

    เรียกว่า ผู้เจริญมรณสติภาวนา จักสามารถเลือกภพชาติ ของตนที่จักไปเกิดได้ดังใจปรารถนา
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    น่าเห็นใจนะ ถ้าเรารู้วันตายของเราได้ ก็ไม่รู้จะทำใจยอมรับด้วยความสงบได้ไหม
    อันนี้เราไม่ได้มีประสบการณ์นะ แต่ถ้าเป็นเรานะ ในเมื่อเราต้องเข้าสู่ภาวะจนตรอก
    ต้องสู้กับความจริง ต้องผ่านด่านทดสอบให้ได้ ก็ต้องทำใจเผชิญหน้ากับความจริงของเรา
    คือ เสียงที่เราได้ยิน ก็ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ ก็อย่าเพิ่งเชื่อหรือไม่เชื่อ ถึงเวลาก็รู้เอง
    แต่ระหว่างที่ยังไม่ถึงไม่ถึงเวลานั้น ก็เตรียมตัวตายอย่างสง่างามให้ได้ทุกวัน
    คือคิดว่า ถ้าวันนี้ต้องตาย เราจะเอาชนะความกลัวตายได้ไหม มีเรื่องที่ควรทำ
    และยังไม่ได้ทำก็รีบเคลียร์มันออกไปจะได้หมดห่วงหมดกังวล ตอนตายจะได้เป็นอิสระเสรี
    ไม่ต้องมีห่วงหน้าห่วงหลัง ไม่สร้างภาระเพิ่ม แต่ปลดภาระออกจากใจให้ได้ทุกวัน
    ทุกสิ่งที่เห็นและได้ยินจากสมาธิ มันเป็นบททดสอบของเรา อาจจะเป็นจริง
    หรือเป็นวิปัสนูกิเลส ก็ได้ทั้งนั้น เอาชนะความกลัว แล้วอยู่ความเป็นจริงในปัจจุบัน
    ศีล5 จะรักษาใจให้เป็นปกติ มีความหนักแน่นกล้าหาญ มีเนื้อหนังแห่งความสง่างาม
    เจอหน้าใครในโลกวิญญาณก็ไม่ต้องอับอายใครมีเสื้อผ้าและอาภรณ์แห่งความดีงาม
    เป็นเกราะคุ้มกันภัยให้กับเรา ถ้าไม่มีโลกวิญญาณการมีศีล5 ก็จะทำให้เป็นคนดีเป็นที่ชื่นชม
    ของบัญฑิตผู้รู้ (ไม่นับคนทั่วไปนะ เพราะคนทั่วไปอาจเห็นเราเป็นตัวประหลาด อิอิ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2010
  6. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851

    แล้วทำไมคุณต้องฝืนใช้ชีวิตไปวันๆด้วยล่ะใน้เมื่อคนเราต้องตายกันทุกคนเพียงแต่อยู่ที่ว่าใครจะช้าหรือเร็วเท่านั้นผมว่าคุณดีกว่าด้วยซ้ำเพราะอย่างน้อยคุณก็รู้ว่าจะไปตอนไหนสู้ทำบุญทำานให้มากขึ้นไม่ดีกว่าหรอ...เพื่อนผมลงใต้มาตอนนี้พิการครึ่งตัวมันยังมีแรงใจสู้ต่อเลย...ขอให้มีกำลังใจสู้ทำความดีกันต่อไปนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2010
  7. มาพบพระ

    มาพบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    643
    ค่าพลัง:
    +1,973
    คนเรานั้นเกิดมาเพื่อเสวยวิบากของอดีตกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว หากท่านเจ้าของกระทู้มีอาการเช่นนี้และยังไม่มีที่พึ่งทางใจ จะทำให้จิตใจของท่านฟุ้งซ่านอาจเป็นอันตรายกับจิตได้ หากท่านยังไม่มีที่พึ่งขอแนะนำให้ท่านพึ่งบารมีพระพุทธ พระธะรม และพระอริยสงฆ์ ไม่ควรปฏิบัติอย่างโดดเดี่ยวโดยไม่มีครูอาจารย์ เพราะอาจผิดทางได้ หากยังไม่มีครูอาจารย์ขอแนะนำว่าควรหาครูอาจารย์ที่ท่านรู้จริงและสามารถแนะนำให้ความรู้ที่แท้จริงให้เราได้ หากยังไม่มีผมขออนุญาตแนะนำท่านไปพบพระอาจารย์ สมปอง (ท่านจิตโต) ท่านเป็นศิษย์ของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ท่านจะสอนธรรมะ อยู่ที่บ้านสบายใจ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งผมเห็นว่าพระองค์นี้เป็นที่พึ่งที่ดีกับเราได้ หากอยู่กรุงเทพฯ ไม่สะดวกจะเดินทางไปที่วัดท่าซุงหรือไม่มีเวลาพอ ผมขอแนะนำให้ไปที่บ้านเลขที่ 35 ของ พล ต.ท. สมศักดิ์ สืบสงวน อยู่ที่ซองสาทร 1(ถนนสาทร) ตัดกับซอยงามดูพลี (ถนนพระราม 4) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แถมท่านแจกหนังสือให้ไปอ่านด้วย ซึ่งผมว่าน่าจะเป็นทางออกให้กับท่านได้ หากว่าสิ่งที่ท่านเป็นอยู่คือบารมีเดิม ท่านอาจเข้าสู่กระแสแห่งธรรมได้ตามวาสนา (ท่าน พล ต.ท. สมศักดิ์ มีประสบการณ์เรื่องการตายมาแล้ว) แต่หากท่านมีครูอาจารย์อยู่แล้วต้องกราบขออภัยด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2010
  8. ลูกท่าน

    ลูกท่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    393
    ค่าพลัง:
    +1,649
    ขอกราบอนุโมทนาด้วยกับบทความ
    ข้อเตือนใจ ข้อคิดในการใช้ชีวิตที่เหลืออยุ่
    ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะต่อส่วนรวม
    ให้มากกว่าส่วนตน

    การรู้วันตาย นับว่ามีประดยชน์ครับ
    คิดในอีกแง่มุมนึง มันทำให้เรารู้ว่า เวลา "มีค่า"
    และ "มีเหลือ" อยู่

    จะเหลือมากน้อยไม่สำคัญ เพราะมันยังเหลือ
    ให้ได้ทำประโยชน์สูงสุด ให้คุ้มกับวันที่มี

    คนที่ไม่รู้วันตาย นั่นหมายความว่าเราอาจอยู่ไปอีกหลายสิบปี
    หรืออีกแค่หลายสิบวินาที ก้ได้....................
    ถ้าไม่เร่งทำความดี วินาทีเดียวก็พรากเราไปได้

    คิดแบบนี้แล้วจะสบายใจกว่านะครับ
     
  9. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,312
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    เอาอันนี้ไปอ่านเเละฟังเเล้วกันครับคุณ Hikikomori หมั่นสวดมนต์ นั่งสมาธิ เเผ่เมตตาไปในทุกๆวันเเล้วทุกอย่างจะดีเองครับ เป็นกําลังใจให้ครับ เจริญในธรรมครับ

    วิธีนั่งสมาธิขั้นเบื้องต้นของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=420

    อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ

    http://www.buddhism-online.org/board/index.php?topic=891.0

    ชั้นของสมาธิ ( ฟังกันหลงเรื่องนิมิตในสมาธิ )

    http://palungjit.org/threads/ขั้นของสมาธิ.1589/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2010
  10. มารวิกะ

    มารวิกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +526
    ยืนยันได้ว่าสามารถที่จะรู้วันตาย(ตามอายุขัย)ได้ครับ ในกรณีของผมเองได้รับความเมตตา
    จาก แม่ ที่เสียชีวิตไปแล้ว มาเตือนครั้งแรกเมื่อปีก่อนบอกวันที่ ที่จะตายเอาไว้อย่างแน่นอน
    ผมเลยหาทางที่จะทำบุญต่ออายุขัยจนผ่านพ้นวันนั้นๆมาได้ จะมีแค่อาการความดันขึ้นสูง
    ช่วงก่อนเช้าของวันนั้นเท่านั้นเอง(เดาว่าคงเป็นเวลาตายจริงๆตอนนั้น) แนะนำให้ไปทำบุญ ปล่อยปลา เลือกปลาแบบที่ กำลังจะตาย ตามตลาดสดประมาณว่า กำลังจะโดนทุบหัว ดีสุดส่วนจะเลือกปล่อยกี่ตัวก็แล้วกำลังทรัพย์ของคุณจะพึงทำได้ครับ ต่อมาก็ ทำบุญ
    ถวายพระพุทธรูปกับผ้าไตรจีวร ให้กับเจ้ากรรมนายเวรต่างๆ ก็จะดีมากๆ ส่วนของผมปีนี้
    แม่ผมก็มาเตือนอีกครั้งนึงแล้ว ฝันเห็นท่านยื่นแผ่นปฎิทิน แบบของคนจีน เป็นวันที่
    10 เดือน 11 นี้ครับ

    เพิ่มเติมอีกหน่อยครับ ครูบาอาจารย์บางท่านได้เมตตามาสั่งสอนบอกกล่าวผม เรื่องของ กรรม เอาไว้ว่า

    กรรมเก่ายังไงๆเราก็ได้รับผลอยู่ดี แต่ตอนนี้เราสมารถทำกรรมใหม่(กรรมดีต่างๆ)ได้ พึงอาศัยผลของกรรมดีที่ทำขึ้นเพิ่มเติม

    ทำให้กรรมเก่านั้นมาสนองเราไม่ได้ครับ ว่างๆก็สวดมนต์ไหว้พระ ขอขมาพระรัตนไตร(เผื่อไว้ครับ) บ่อยๆนะครับ

    ชีวิตของคนเราไม่แน่นอน เพื่อนผมคนนึงเคยบอกผมว่า ผมโชคดีกว่าคนอีกไม่รู้เท่าไหร่ที่สามารถรู้วันตายของตัวเองได้

    ในตอนแรกผมก็ยอมรับตรงนี้ไม่ได้เช่นกันเพราะมันกระทันหันมากในกรณีของผม มารู้ว่าอีก 14วัน จะตายแบบนี้

    ทำให้หมดอาลัยตายอยากไปเลยทีเดียว จนเรื่องทั้งหมดผ่านพ้นมาได้ด้วยดีคราวนี้เลยไม่ใช้ชีวิตตั้งในความประมาทอีก

    อะไรที่คั่งค้างในชีวิต ที่คิดจะทำ ถ้ามีกำลังทำได้ก็พยายามทำให้หมด ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2010
  11. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,946
    ค่าพลัง:
    +3,301
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->k.kwan<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3608154", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    น่าเห็นใจนะ ถ้าเรารู้วันตายของเราได้ ก็ไม่รู้จะทำใจยอมรับด้วยความสงบได้ไหม
    อันนี้เราไม่ได้มีประสบการณ์นะ แต่ถ้าเป็นเรานะ ในเมื่อเราต้องเข้าสู่ภาวะจนตรอก
    ต้องสู้กับความจริง ต้องผ่านด่านทดสอบให้ได้ ก็ต้องทำใจเผชิญหน้ากับความจริงของเรา
    คือ เสียงที่เราได้ยิน ก็ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ ก็อย่าเพิ่งเชื่อหรือไม่เชื่อ ถึงเวลาก็รู้เอง
    แต่ระหว่างที่ยังไม่ถึงไม่ถึงเวลานั้น ก็เตรียมตัวตายอย่างสง่างามให้ได้ทุกวัน
    แสดงความคิดเห็น... ถูกใจ


    คือคิดว่า ถ้าวันนี้ต้องตาย เราจะเอาชนะความกลัวตายได้ไหม มีเรื่องที่ควรทำ
    และยังไม่ได้ทำก็รีบเคลียร์มันออกไปจะได้หมดห่วงหมดกังวล ตอนตายจะได้เป็นอิสระเสรี
    ไม่ต้องมีห่วงหน้าห่วงหลัง ไม่สร้างภาระเพิ่ม แต่ปลดภาระออกจากใจให้ได้ทุกวัน
    ทุกสิ่งที่เห็นและได้ยินจากสมาธิ มันเป็นบททดสอบของเรา อาจจะเป็นจริง
    หรือเป็นวิปัสนูกิเลส ก็ได้ทั้งนั้น เอาชนะความกลัว แล้วอยู่ความเป็นจริงในปัจจุบัน
    ศีล5 จะรักษาใจให้เป็นปกติ มีความหนักแน่นกล้าหาญ มีเนื้อหนังแห่งความสง่างาม
    แสดงความคิดเห็น... วาทะดีเยี่ยม


    เจอหน้าใครในโลกวิญญาณก็ไม่ต้องอับอายใครมีเสื้อผ้าและอาภรณ์แห่งความดีงาม
    เป็นเกราะคุ้มกันภัยให้กับเรา ถ้าไม่มีโลกวิญญาณการมีศีล5 ก็จะทำให้เป็นคนดีเป็นที่ชื่นชม
    ของบัญฑิตผู้รู้ (ไม่นับคนทั่วไปนะ เพราะคนทั่วไปอาจเห็นเราเป็นตัวประหลาด อิอิ)
    catt3
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    เตรียมตัวตายอย่างสง่างามให้ได้ทุกวัน
    ... ถูกใจ
    มีเนื้อหนังแห่งความสง่างาม
    ... วาทะดีเยี่ยม
    (ไม่นับคนทั่วไปนะ เพราะคนทั่วไปอาจเห็นเราเป็นตัวประหลาด อิอิ)
    ... catt3


    ....ซึ้ง... [​IMG]

    อิอิ..[​IMG]
     
  13. itchy&scratchy

    itchy&scratchy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +712
    ฟังจากอาการแล้ว เหมาะกับการเจริญมรณานุสติ อย่างแรงครับ

    ขอแนะนำตามที่เคยได้ลองปฎิบัติมาเองแล้วได้ผลนะครับ

    1) การที่คิดว่าตัวเองจะตายหรือกำลังจะตาย ถูกต้องแล้วครับ แต่ต้องคิดให้ถูก คือ คิดแบบไม่ให้มีจิตเศร้าหมอง โดยใช้ความตายเป็นกำลังใจในการสู้ชีวิตและทำความดี
    ให้คิดว่าคนทุกคนต้องตายอยู่แล้ว คนที่รู้ว่าตัวว่ากำลังจะตาย หรือตระหนักได้ว่าความตายมีอยู่ทุกขณะจิตเป็นคนโชคดีอย่างยิ่ง เพราะทำให้ไม่ประมาทในทางโลก และในทางธรรม โดยในทางโลกให้กลับไปพิจารณาที่ชีวิตยังมีห่วงอะไรอีกหรือไม่ มีอะไรที่ยังทำไม่สำเร็จ บุญคุณ หนี้สิน ได้ชดใช้ให้เจ้าหนี้เรียบร้อยแล้วหรือยัง ในทางธรรมให้พิจารณาว่าแต่เดิมมาเรามีศีลหรือไม่ มีสมาธิหรือไม่ มีปัญญาหรือไม่ ถ้าไม่มีศีลก็ให้ถือศีลเสีย ทำสมาธิเสียเพื่อทำให้เกิดปัญญา

    2) เคล็ดสำคัญอยู่ที่สัมมาทิฎฐิ คือ ให้มีความเห็นที่ตรงถูกต้องเพื่อให้การปฎิบัติก้าวหน้า พิจารณาให้เห็นว่า ที่ผ่านมาชีวิตในทางโลกเราดิ้นรนไปมากมาย ผิดศีลไปก็มาก เบียดเบียนคนอื่นไปก็ไม่น้อย เพื่อให้มี ลาภ ยศ สรรเสริญ ความสุข แต่สุดท้ายโลกธรรมที่สร้างไว้ในโลกนี้ยามตายก็เอาไปไม่ได้ บนโลกนี้ไม่มีใครที่จะไม่ตาย ญาติพี่น้อง ลูกหลาน ที่เราเป็นหว่ง วันนึงเค้าก็ต้องไปเหมือนเรา ดังนั้นไม่ต้องไปห่วงเขา แล้วพิจารณาให้ถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เกิดความรังเกียจในความตาย ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเกิด จากนั้นค่อยพิจารณาต่อ ถึงมรรคมีองค์ 8 คำเตือน อย่าพิจารณาถึงความตายในอันที่จะเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง หรือที่เรียกเป็นภาษาวัยรุ่นว่าจิตตก อย่างเด็ดขาด เพราะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ท้อแท้ แล้วยังเป็นเครื่องขวางจิตที่จะไปสู่สุคติภูมิ

    3. หลังจากนั้นให้ลองปฏิบัติธรรมต่อตามวิชาที่ตนเองถนัด ไม่ว่าจะนั่งสมาธิแบบ อานาปานสติ หรือ สติปัฎฐานสี่ หรือ สมถภาวนา ใช้ได้ทั้งนั้นครับ หากไม่ใช่คนที่ถนัดในแนววิปัสสนา แบบนั้น ให้เจริญไปทางพรหมวิหาร 4 ก็ได้ครับ ... ทิ้งไว้ให้คิดครับว่าทำไม ถึงมีคำว่า เมตตาเจโตวิมุติ
     
  14. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,946
    ค่าพลัง:
    +3,301
    เราสามารถรู้เวลาตายของตัวเองได้ด้วยเหรอครับ

    ได้สิครับ... ผมก็รู้นะ
    รู้ว่าเวลาที่หยุดหายใจ คือเวลาตายของผม
    รู้แค่นี้อ่ะ ก็น่าจะพอแล้วนา

    แต่การไม่รู้เวลาตาย เมื่อถึงกาละนั้นๆแล้วสิ... สร้างปัญหากับการพัฒนาจิตวิญญาณมาเป็นเวลาช้านาน
    เนื่องจาก ไม่เข้าใจความตาย กลัวความตาย ไม่เข้าใจเรื่องกระบวนการของพลังงานจิต

    ความตายไม่ใช่การแตกดับหรือสูญสลายเสียหายแต่อย่างใดเลย... มันคือจุดเริ่มต้นของแสงสว่าง มันคือการปิดเพื่อเปิดใหม่
    น่ากลัวน่ากังวลซะที่ไหนกัน
    เป็นเรื่องสดชื่น แจ่มใส ปลดปล่อย อิสระจากพันธนาการเก่า

    ก็แค่ตาย... เราๆท่านๆเนี่ย ตายกันมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง เกิดกันมาไม่รู้กี่เดียงสาโลก




    ที่สำคัญสองสิ่ง คือ
    1.ความพร้อม ความสง่างาม(ขอยืมใช้) ความกระตือรือร้นที่จะตาย
    2.ความรู้ตัว รู้เวลาตายขณะนั้น... เป็นการฟอร์มพลังงานจิตก่อนเปลี่ยนที่สิงสู่ คุณภาพและรายละเอียดของพลังงานจิตนั้นๆ จะเป็นตัวกำหนดสถานที่ เรื่องราว และบทบาทแห่งการเรียนรู้ รวมถึงการชดใช้ที่มักจะทับซ้อนกันเสมอๆ
     
  15. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    ลองสวด อุณหิต..สูตร จำได้ว่า ช่วยเรื่องยืดอายุขัยคะ
     
  16. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,946
    ค่าพลัง:
    +3,301
    tenis<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3613917", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    ลองสวด อุณหิต..สูตร จำได้ว่า ช่วยเรื่องยืดอายุขัยคะ


    มันมีขั้นตอนการยืดอายุไขอย่างไรบ้างครับ...
     
  17. namotussa

    namotussa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,470
    ความสำคัญอยู่ที่ "ตายให้เป็น และเป็นให้ตาย" เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว ตายให้เป็นคือเมื่อเรารู้แล้วว่าจะต้องตายเมื่อไหร่แล้วเราต้องคิดให้เป็นว่า ตัวเราก็เหมือนบ้านที่กำลังถูกไล่ที่ ถูกเวนคืน หมดสัญญาเช่า หรือพังพินาศ เราต้องไปอยู่บ้านหลังใหม่ ดังนั้นเราต้องเตรียมตัว ที่สำคัญหากเราได้ทำบุญปล่อยปลาที่กำลังจะตาย หรือถวายผ้าไตรจีวรกับพระสงฆ์ สวดมนต์ภาวนาบ้านอาจสามารถต่อสัญญาออกไปก่อน แต่ท้ายที่สุดแล้วเราก็ต้องตายหรือต้องละทิ้งบ้านหรือสังขารเรานั่นเอง นี่คือ ตายให้เป็น สำหรับในส่วน "เป็นให้ตาย" นั้น คือเมื่อเรายังเป็นอยู่ หรือยังมีชีวิตอยู่ก็ควรพิจารณาถึงความตาย เพื่อให้จิตใจได้ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยึดติด เป็นตัวกูของกู รีบเร่งทำความดี ทำบุญกุศล เพื่อเมื่อตายแล้วจะได้ไปอยู่ในภพชาติที่ดีกว่าเดิม หรืออาจปราถนาซึ่งนิพพาน คือไม่ต้องการที่จะมาเกิดอีกแล้วก็ตามที นี่คือ เป็นให้ตาย
     
  18. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,022
    การตายไม่น่ากลัวจ๊ะ แค่จิตหลุดออกจากร่างไปหาที่เกาะใหม่

    จริงการทำสมาธิถอดจิต ก็คือ การซ้อมตายน่ะเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...