มันก้อยัง งงๆ วอนผู้รู้เมตตาสงเคราะห์ผมทีครับ (จิต ใจ สติ ความคิด)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เดชพล, 27 ตุลาคม 2010.

  1. เดชพล

    เดชพล สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +22
    คือผมยังคงไม่กระจ่างกับ 4 คำนี้ดีครับเลยอยากถามดังนี้ครับ


    1.ในรูปของนามธรรม ของมนุษย์ มี จิต กับ ใจ มี ความคิด กับ สติ ใช่มั๊ยครับหรือมีอย่างอื่นอีกครับ

    2. แล้วจิตกับใจ นี่เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ
    3. สติกับความคิด นี่เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ
    4.กระบวนการทำงานของทั้ง คำทั้ง 4 นี้ทำงานสัมพันธ์ดังที่ผมเข้าใจต่อไปนี้ใช่หรือไม่ครับ
    -คือเมื่อมีสิ่งมากระทบอายตนะทั้ง 6 จิตหรือใจจะเกิดการปรุงแต่งเป็นความคิด แล้วไอ้ตัวที่รู้เท่าทันความคิดอีกที คือสติ พอมีสติเราก้อจะหยุดปรุงแต่งความคิด (อันนี้ตามที่ผมเข้าใจนะครับไม่รู้ถูกป่าว)

    วอนผู้มีเมตตาธรรมทั้งหลายรบกวนชี้แนะด้วยครับ
    ขออนุโมทนาใน ธรรมะทั้งหลายที่ทุกท่านจะช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

    สัพพะ ทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ ครับ
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สติ รู้ตัว
    สัมปชัญญะ ละลึกได้

    สังขาร คือความปรุงแต่งทั้ง กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตาธรรม
    สานต่อกันและถูกจดจำบันทึกด้วย สัญญาอาการ
    การตามละลึกถึงสัญญาอาการที่สังขารธรรมต่างๆปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงและดับลง เป็นการตามละลึก กาย เวทนา จิต ธรรม หรือฝึกสติ
    การฝึกสติคือฝึกตามละลึกบ่อยๆ จนกว่าจะรู้ตัว ตามละลึกอย่างต่อเนื่องก้ด้วยจิตเป็นสมาทิ และรู้เท่าทันก้เพราะเกิดปัญญา เห็นไปตามความเป้นจริง

    ความคิดตามดูความคิดที่เกิดแล้ว ย่อยๆก้รู้เท่าทันทุกๆความคิดที่เกิดไหม่ ก้เบื่อหน่าย ก้ปล่อยวาง ก้หลุดพ้น

    ส่วนตัวนะ
     
  3. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ที่ถามมานี่เรื่องใหญ่เลยนะครับเนี่ย เพราะมันมีทฤษฎีหลายอันเลย
    เอาเรื่องจิตก่อน ธรรมชาติของจิตมี 4 อย่าง คือ เที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อยู่ในร่างกาย โดยจิตมีทางออกได้ 6 ทางคือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แล้วจิตยังมีธรรมชาติ ประภัสสร คือ ผ่องใส แต่ที่จิตต้องเศร้าหมองขุ่นมัวเพราะอุปกิเลศจรมา โดยตัวจิตประภัสสรนี้คือ ภวังค์จิต เช่นคนในเวลานอน ไม่ได้คิด ไม่ได้ฝันอะไรเรียก ภวังค์จิต ในบางนิกายของพุทธสาสนาเรียกว่า จิตเดิม และมีวิถีจิต คือที่เรารับรู้เรื่องราวภายนอกเกิดจากสิ่งที่มากระทบทางอายตนะ 6 นี่แหละครับ และยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งว่า จิตหรือดวงจิต เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 ที่เรียกว่าวิญญาณหรือตัวรู้ โดยเกิดจากการระทบของอายตนะภายในและภายนอก ฝ่ายในเรียกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฝ่ายนอก รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ หรือถ้ามองจิตให้ใหญ่ขึ้นไปอีกก็คือรวมเป็น นามทั้งหมด จิตที่ทำหนาที่รู้ค่าอารมณ์เรียกว่า เวทนา ทำหน้าที่คิดนึกปรุงแต่งเรียก สังขาร ทำหน้าที่จำได้หมายมั่นเรียก สัญญา ทำหน้าที่รู้อารมณ์ทางอายตนะเรียก วิญญาณ แต่ถ้าย่อเข้าก็แบ่งได้ว่า จิตที่ทำหน้าที่คิด – นึก เรียกว่าจิต จิตที่ทำหน้าที่รู้สึก เรียกมโน ที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ทางอายตนะเรียก วิญญาณ และยังแบ่งย่อยได้ เป็นฝ่ายจิต ฝ่ายวิญญาณ
    ส่วนใจนั้น จิตที่มีสติมักเรียกว่าใจ โดยสติที่เป็นไปในรูปนาม เราอาจเรียกว่า ใจ ก็ได้ สติที่เป็นไปในรูปนามอาจเรียกว่าจิตก็ได้ สติที่เราใช้ตามรู้กาย กับสติที่ใช้แปลตามปริยัติ ท่านแปลว่า สติ คือการระลึกได้และจำได้ หมายรู้ในกิจที่ได้ทำ คำที่พูดแล้วแม้นานแล้วก็จำได้ นี่คือความหมายของสติตามตำรา แต่สติในภาคปฏิบัติหมายถึง การระลึกรู้หรือตามรู้ ที่เรียกว่าอนุปัสสนา<O:p</O:p
     
  4. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    กระบวนการทำงานก็คือ แรกเริ่มก่อนที่จะมีผัสสะยังเป็น ภวังค์จิต อยู่ แล้วเมื่อมีการกระทบซึ่งมีสองชั้น เมื่อเกิดการกระทบผัสสะ ก็จะเกิดจิตประเภท วิถีจิต การกระทบครั้งแรกยังไม่เกิดปรุงแต่งเป็นความคิด การกระทบครั้งที่สองกระทบทางใจก็เกิดเป็นความคิดนึก ซึ่งในขั้นการกระทบที่สอง อธิวจนผัสสะ ถ้ามีสติทันก็หยุดกการปรุงแต่งต่อไปได้
     
  5. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอตอบสั้นๆ ดังนี้

    1.ในรูปของนามธรรม ของมนุษย์ มี จิต กับ ใจ มี ความคิด กับ สติ ใช่มั๊ยครับหรือมีอย่างอื่นอีกครับ

    ตอบ : ในรูปของนามธรรมมีดังที่กล่าวมาด้วย มีอย่างอื่นอีกด้วย หากกล่าวโดยสรุปฝ่ายนามธรรม มี 4 คือ เวทนา - สัญญา - สังขาร - วิญญาณ

    2. แล้วจิตกับใจ นี่เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ

    ตอบ : เป็นตัวเดียวกันก็ได้ เป็นตัวต่างกันก็ได้ครับ แต่คำว่า ใจ นี้ หากกล่าวโดยผิวเผินหมายถึง หัวใจ เป็นฝ่ายรูปธรรมได้ด้วยครับ


    3. สติกับความคิด นี่เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ

    ตอบ : เป็นคนละอย่างครับ

    4.กระบวนการทำงานของทั้ง คำทั้ง 4 นี้ทำงานสัมพันธ์ดังที่ผมเข้าใจต่อไปนี้ใช่หรือไม่ครับ
    -คือเมื่อมีสิ่งมากระทบอายตนะทั้ง 6 จิตหรือใจจะเกิดการปรุงแต่งเป็นความคิด แล้วไอ้ตัวที่รู้เท่าทันความคิดอีกที คือสติ พอมีสติเราก้อจะหยุดปรุงแต่งความคิด (อันนี้ตามที่ผมเข้าใจนะครับไม่รู้ถูกป่าว)

    ตอบ : ถูกครับ หากกล่าวตามกระบวนการรับรู้แบบช่วงกว้าง

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  6. natna

    natna เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2010
    โพสต์:
    406
    ค่าพลัง:
    +1,290
    สติ สัมปชัญญะ .......เป็นสิ่งที่ต้องดำรงให้อยู่กับเราตลอดเวลา
    อนุโมทนาค่ะ
     
  7. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    ใจก็เหมือนกับทะเล จิตก็เหมือนกับคลื่น แต่เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งก็เหมือนทะเลที่ไร้คลื่นเป็นหนึ่งเดียว สงบนิ่ง ใส มองเห็นสิ่งที่อยู่ในทะเลได้อย่างชันเจน

    สติกับคิดคนละตัว
    เช่นคุณเคยคิดอะไรเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีสติมั้ย รู้ตัวอีกทีคิดไปไกลแล้ว

    เรื่องกระบวนการ ไม่ขอพูดถึง เพราะรู้มากก็ไม่สู้ทำให้มากแล้วจึงรู้
    ถ้ารู้ก่อนมันก็แค่ความจำ แต่ถ้ารู้จากการทำมันก็ถึงความจริง
     
  8. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ท่านอื่นๆตอบไปหมดแล้ว แต่อยากอธิบาย นามธรรมกับสติ ตามที่เข้าใจ
    นามธรรมประกอบไปด้วย
    เวทนา(สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์)
    สัญญา (การจำได้ นาย a หน้าตาเป็นอย่างไร)
    สังขาร(สิ่งปรุงแต่ง การคิดเป็นคำพูดแม้ไม่ได้พูดก็เป็น วจีสังขาร)
    วิญญาน(ตัวรู้ รู้นามธรรม 3 อย่าง รวมถึงรูปธรรมด้วย)

    ส่วนสตินี้คือการ ระลึกได้ เช่นคุณเจอผี(สมมติ) แต่คุณระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ได้ ทำให้ไม่กลัว คุณมีสติ
    คุณโกรธ คุณระลึกถึงโทษของความโกรธทำให้คุณไม่โกรธ คุณมีสติ
    สติ ไม่จำเป็นว่าต้องหยุดคิด แต่ถ้าคุณหยุดคิดได้ คุณไม่ได้มีเฉพาะสติที่ดีแต่คุณยังมีสมาธิสูงมากด้วย
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    จิต คือ สิ่งที่ไม่มีตัวตนอาศัยความปรุงแต่งจึงเห็นความเคลื่อนไหว เมื่อมีความเคลื่อนไหวเราถือว่าเป็นใจเพราะมีอำนาจบังคับบัญชาไปในทิศทางต่างๆได้ตามความปรุงแต่งนั้น ทั้งสองอย่างแรกนั้นต้องอาศัยสติจึงจะรู้ว่ามันอยู่ไหน และต้องอาศัยสัมปัชชัญญะทิศทางของมันหรือความเคลื่อนไหวนั้นจึงเป็นไปในทางที่ถูกที่ควร และอะไรเรียกว่าถูกว่าควรนั้น พระศาสดาตรัสสอนไว้นานแล้ว พอจะมองเห็นได้ไหมก็ลองๆดูครับ ลืมไปความคิดคือความปรุงแต่งชนิดหนึ่งโดยอาศัยทั้งรูปและนามต่างๆมาผสมปนๆกัน ความคิดส่วนใหญ่ไม่บริสุทธิ์ด้วยสติ เพราะไม่ประกอบไปด้วยปัจจุบันธรรม เป็นการปรุงไปในอดีตบ้าง ผสมกับอนาคต บ้างบางทีก็มีทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตอยู่ในเวลาเดียวกัน แต่ความคิดเฉยๆลอยๆไม่มี มันมาพร้อมกับสติ พร้อมกับตัณหา มีในทางดีมันก็ดีหากมีในทางชั่วแล้วไม่รู้ว่ามีก็ไม่ดี
    สาธุคั๊บ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2010
  10. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ลองดูก็ได้ มีสติตลอดเวลา
    เอาสติจับรู้สึกที่เกิดที่มือตลอดเวลา สัก 1 วันทำได้ไหม เฉพาะมือเลยนะ
    ทำไม่ได้ก็เจริญสมาธิเพิ่ม นั่งสมาธิ
    อานาปาณสติจับลม สติรู้เฉพาะลม
    จับภาพพระตลอดเวลาหน่ะ เค้าฝึกอะไร ฝึกสติ
    ฝึกกำลังของจิต อย่างนี้ครับ เป็นขั้นสมถะ
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    จะลองอธิบายให้ฟังนะ อาจฟังยากหน่อย เพราะมันไม่สอดคล้องกับที่คุณเพียรวิจัยอยู่
    สักเท่าไหร่ ดังนั้น หากฟังแล้วพอเข้าเค้า ก็เอาไว้ใคร่ครวญ โยนิโสมนสิการดู แต่
    ถ้าฟังแล้วไม่ค่อยชอบใจนัก ก็ควรฟังด้วยใจที่น้อมรับไว้ห่างๆก่อน

    เริ่มหละนะ

    ก่อนจะเริ่ม มาสมมติเพิ่มกันหน่อยกับคำว่า ทิฏฐิ หรือ ความคิด แต่จริงๆ
    ไม่ใช่ความคิด คุณควรหันมาใช้คำว่า ทิฏฐิ แทนจะทำให้เข้าใจได้ตรงหลัก
    ธรรมมากขึ้น เพราะคำว่า ความคิด นั้น มันมี opinion think thought
    suspect and bla...bla...bla... ล้วนแต่ไม่ใช่ ทิฏฐิ ในความหมายของพุทธ
    สักเท่าไหร่

    เพื่อให้ชัดเจน ผมขออนุญาติเติมคำว่า "ทิฏฐิมานะ" เข้ามมาเพิ่ม เพื่อให้สนทนา
    ได้ง่ายขึ้น เห็นภาพได้ง่ายขึ้น ซึ่งมันก็คือ มานะอัตตา หรือ อัตตาวาทุปาทาน
    หรือ ความสำคัญผิดว่ามีตัวมีตน ดังนั้น ต่อไปนี้หากเห็นผมใช้คำว่า ทิฏฐิ เพื่อ
    ใช้แทนคำว่า "ความคิด" ขอให้คุณระลึกไว้ว่า ผมกำลังพูดถึง "ทิฏฐิมานะ"

    เอาหละ

    ทิฏฐิ นั้นเกิดขึ้นหลังจาก จิตเกิดดับผ่านทางอยาตนะ เกิดดับทางทวารใด
    แล้วก็ไม่เสมอไปที่จะเกิด ทิฏฐิมานะสำคัญว่ามีตัวมีตน เช่น มีหลายๆเสียง
    ที่เราไม่ได้ให้ความสนใจ จะมีเสียงที่เราสนใจว่าเขามีตัวมีตน มีสัตว์ มีสิ่งของ
    เท่านั้นที่เราสนใจจะฟัง นั้นแปลว่า ไม่เสมอไปที่เราจะเกิด ทิฏฐิ ทุกครั้งที่
    จิตเกิดดับทางอยาตนะ

    สรุปขั้นตนคือ ทิฏฐิ เกิดภายหลังการกระทบผัสสะแล้วแน่ๆ ย่อมไม่เกิดก่อน
    การกระทบผัสสะ

    คำว่า "ใจ" มันก็คือคำว่า "กลาง" ใจเป็นภาษาโบราณแปลว่า กลางๆ
    จึงมีคำคู่ว่า "ใจกลาง กลางใจ" อันนี้ง่ายเลย "ใจ" จะเป็นอื่นไปไม่
    ได้นอกจาก การวางตำแหน่งรับผัสสะอยู่ตรงกลางของอยาตนะ6 ไม่แส่
    ส่ายไปทางใดทางหนึ่งทางเดียว แต่จะพร้อมรับครบทั้ง6 ทาง เปรียบดัง
    การเล่น แบดมินตั้นที่ดี เม่ื่อขยับตัวไปตีตรงที่ใดแล้ว ต้องวิ่งกลับมายืน
    ตรงกลางคอดแบด หรือ เปรียบดั่งแมงมุมที่คอยกลับมาอยู่ตรงกลางเพื่อ
    รอจับมัดเหยื่อที่มาติดข่าย

    ดังนั้น ทิฏฐิมานะ คือ สภาวะที่กลับมาไม่กลาง จะแฉลบเพียงเล็กน้อย
    ติดฟัง ติดดู ติดกลิ่น ติดสี ติดตี ติดพูดอยู่ ก็ถือว่า "ไม่กลาง" หรือ
    ไม่ใจ ไม่อยู่ที่ใจ ไม่มีใจ หรือ เกิด ทิฏฐิมานะอัตตาขึ้นเสียแล้ว

    ก็จะเห็นว่า หากอยู่ตรงกลาง ออกไปแล้วแต่กลับมาตรงกลางพอดี อันนี้
    เรียกว่า ไม่เกิดทิฏฐิ แต่จะเห็นว่า ไม่ได้ห้ามออกไปจากใจกลาง ต้อง
    คอยรับ แล้ววิ่งออก แต่ต้องกลับมาตรงกลางให้พอดี

    พูดซื่อๆ คือ ไม่ได้ห้ามกระทบผัสสะ และไม่ห้ามออกไปมีความคิด แต่เมื่อ
    กระทบผัสสะแล้ว แล้วมีการคิดอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องกลับมาอยู่ตรงกลาง
    มาอยู่ที่ใจ

    และ เครื่องมือที่ทำให้ สามารถหา"ใจ" ก็คือ "สติ"

    ทั้งหลายทั้งปวง กล่าวคือ สติ ก็ดี ใจก็ดี อยาตนะก็ดี ผัสสะก็ดี ทิฏฐิก็ดี
    ล้วนออกมาจากสิ่งที่เรียกว่า "จิต"

    เมื่อศึกษาไปได้อีกหน่อย ต่อไปจะไม่ถามแค่ ผัสสะ อยาตนะ แต่จะหยิบ
    คำว่า สังขาร หรือ อวิชชา เข้ามาใคร่ครวญด้วย ซึ่งขอเกริ่นก่อนว่า
    มันก็ยังเป็นสิ่งที่ออกมาจาก "จิต" อยู่ดี

    "จิต" จึงเป็นอะไรที่ ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ส่งสิ่งต่างๆออกมาจากจิตให้
    เราได้ใคร่ครวญศึกษาสาวหาเหตุที่มาที่ไปอย่างละเอียดปราณีต จะรู้ว่าต้อง
    ใคร่ครวญอะไรก็ต้องหมั่นสดับ สดับแล้ว ใคร่ครวญแล้วก็ต้องไม่ประมาท

    เมื่อถึงที่สุดแล้ว ก็จะเข้าใจหน้าที่ต่างๆ ของจิต โดย รู้ลงที่จิตตน เห็นที่
    สักกายทิฏฐิตน(ทิฏฐิมานะ) อย่างตั้งมั่นเป็นกลาง อยู่เนืองๆ

    เมื่อเข้าใจหน้าที่ต่างๆของจิต ก็เข้าใจคำว่า เหตุแห่งทิฏฐิที่หมายเอาแต่ การเกิด
    สำคัญผิดว่ามีอัตตามานะ จนสิ้นมานะอัตตาลงเสียได้ ก็จะพบบรมสุขอันยิ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2010
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คือผมยังคงไม่กระจ่างกับ 4 คำนี้ดีครับเลยอยากถามดังนี้ครับ


    ตอบ ความจำได้ ความหมายรู้เข้าใจ การแปลความหมาย ความรู้สึกชอบไม่ชอบ อารมณ์ ความอยาก มีร้อยแปด เพราะว่า ใน ตัวสังขาร นั้นมันปรุงเป็นนามได้ร้อยแปด

    แต่ เราก็ยุบลงเหลือ แค่ ขันธ์

    ตอบว่า จะเรียกอย่างไรก็ได้ แต่จะเข้าใจมากขึ้น เมื่อเห็นธรรม รู้จักธรรม

    3. สติกับความคิด นี่เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ

    ตอบ สติกับความคิด เป็นคนละตัว ความคิดเป็นความปรุงขึ้น แต่สติ คือ ระลึกรู้ตััวขึ้นได้ว่า กำลังทำอะไร คิดอะไร ดีหรือไม่ด

    ยังไม่ต้องเข้าใจกระบวนการ แต่ให้สังเกตุ ว่าตนกำลังทำอะไร ในทุกๆ อย่าง รู้สึกอะไร คิดอะไร เอาแค่ รู้ตัวก่อน

    เพราะว่า กระบวนการของจิต เป็นเรื่องซับซ้อน หากเรายังไม่ทันในปัจจุบัึน เราก็ไม่เห็นอะไรเลย
     
  13. เดชพล

    เดชพล สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +22
    ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความกกระจ่างมากครับ ผมจะพยายามพิจารณาให้มากปฏิบัติให้มากเพื่อคลายความสงสัยครับ

    ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ
     
  14. ศิษย์น้อย

    ศิษย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +3,047
    สาธุ ครับ..

    หากเราท่านเป็นโยคาวจรหรือโสดาบัน (ทั้ง 3 ระดับ)
    .. ความรัก โลภ โกรธ และหลงนั้น
    เราจะมีอยู่เป็นปรกติเช่นมนุษย์ทั่วๆไป...
    (ตามเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุง)

    แต่สิ่งที่แตกต่างคือ จิต เรา
    เมื่อถูกกระทบจากปัจจัยต่างๆ
    เราจะมี "สติ" รู้ตัวได้เร็ว กว่าคนอื่น
    จึงทำให้ รัก โลภ โกรธ และหลง ทุเลาเบาบางลง ..
    และหายไปได้เร็ว กว่า คนอื่นๆ..

    อย่างเช่น...
    ชาวบ้านเขานินทาว่าร้าย..หูเราได้ยิน...จิตเราโกรธทันที..
    ถ้า "สติ" มา เราจะมองเห็นความโกรธของเราเอง...
    เอาสติจับดูที่ความโกรธเฉยๆ...สักระยะ ไม่ถึงนาทีหรอก
    ระดับความโกรธ จะลดลงสู่สภาวะปกติ...
    กรรมฐาน จะเกิดต่อเนื่อง...กลายเป็นเรามีความเมตตา สงสาร
    ต่อคนที่นินทาเราด้วยซ้ำ..น่าน พรหมวิหาร4 เกิดขึ้นแล้ว...

    ที่กล่าวมาคือแนวทางการนำ "สติ" มาใช้ในชีวิตประจำวัน
    สำหรับปุถุชนอย่างเราๆ ท่านๆ ครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2010
  15. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032

    ตามหัวข้อที่ตั้งประเด็นไว้
    จะขอหยิบคำมาคือ สติ จิต ใจ และความคิด

    ความนึกคิด เป็นส่วนนึงของสภาพปรุงแต่งสังขาร (สังขาร เกิดจาก อวิชชา๘)

    สติ คือ การระลึกรู้ เป็นเจตสิกธรรม องค์ประกอบของจิต
    จิตและเจตสิก เป็นของคู่กัน เกิดและดับพร้อมกันเป็นสหชาติธรรม

    จิต เราเรียกว่า สภาพรับรู้

    วิญญาณขันธ์ คือ ความรับรู้ประสาททั้ง ๖(อายตนะ๖) ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(มโน)
    ใจ หรือ มโน ธรรมชาติทำหน้าที่รองรับ รวมการรับรู้จากอายตนะต่างๆ
    ความรู้สึก สภาพธรรมารมณ์ทุกสิ่งไหลสู่ใจ และทุกสิ่งไหลออกจากใจ(มโน,มโนธาตุ)


    อุปมาความสัมพันธ์ว่า:-
    สภาพรับรู้(จิต)ตอนแรกเปรียบได้กับภาชนะจานที่ว่าง.. แล้วมีเติมมาในจานนั้นด้วยการระลึกรู้(สติ) ที่ถูกปรุงแต่ง สิ่งต่างๆคล้ายอาหารมาให้จากความรับรู้(วิญญาณขันธ์)ทาง ตาบ้าง หูบ้าง...ความนึกคิดสภาพธรรมารมณ์จากใจบ้าง(สภาพธรรมารมณ์: อดีต ปัจจุบัน อนาคต)

    แล้วจิตก็เข้าไปสร้างปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการเกาะยึดเหนี่ยว(หรือผลักดัน) อาการหรืออาหารนั้นไว้
    ...เกิดขึ้นเข้ามาแล้ว ตั้งอยู่พักนึงแล้วมันก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาอีกสืบต่อวนรอบอย่างนี้ไปไม่หยุดเป็นวัฏฏะสังสาร จนกว่าจะมีความดับรอบ

    ความดับรอบ หมายถึงจิตมันเข้าสู่สภาวะธรรมชาติเดิมที่หลุดพ้นเป็นอิสระ
    ไม่เข้าไปเกาะกับอะไร ไม่ผูกพันและไม่ถูกผูกพันทางจิตใจ

    แต่หากเราจะดูความต่างกัน การรวมกัน คงเป็นภาระเพิ่มไปอีก
    ดังนั้นตามความเห็นเราควรดูภาระของขันธ์๕
    ที่มีความถือมั่นยึดมั่น(อุปาทาน)สิ่งใด เพียงไร
    และจะปล่อยวางภาระมันอย่างไรให้แก่จิตใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ตุลาคม 2010
  16. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,312
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    คุณ เดชพล เข้ามาศึกษาได้ในนี้ครับ

    www.buddhism-online.org

    เข้าไปเเล้วมองทางซ้ายมือจะมีบทเรียนให้อ่านครับ ลองเข้าไปอ่านดู สนใจหัวข้อไหนก็คลิกอ่านได้เลยครับ เวปนี้เป็นปริยัติธรรม on line ครับ ดีมากๆครับ เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...