เรื่องเด่น พระปางแปลกตา พระนอนหงาย พระเจ้าเข้านิพพาน พระปิดหู

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย titawan, 29 พฤศจิกายน 2010.

  1. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    [​IMG]

    พระเจ้าเข้านิพพาน ประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าฬ่อ ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร

    [​IMG]
    พระเจ้าเข้านิพพาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือวัดใหญ่ จ.พิษณุโลก

    [​IMG]
    พระนอนหงาย วัดราชคฤห์ กทม

    [​IMG]
    พระนอนหงาย วัดทุ่งน้อย จ.นครปฐม

    [​IMG]
    พระนอนหงาย วัดพระนอน จ.สุพรรณบุรี

    [​IMG]
    พระปิดหู วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี

    คมชัดลึก :คติ การสร้างพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน ปางต่างๆ นั้น กำหนดขึ้นตามพุทธประวัติ โดยเฉพาะในช่วงที่พระพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่ในประเทศไทย พระพุทธไสยาสน์ที่นิยมสร้างกันเป็นพระพุทธรูป คือ ปางโปรดอสุรินทราหู และปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งมีอยู่ ๓ พุทธลักษณะ ดังนี้

    ปางที่ ๑.พระพุทธรูปปางนี้ประทับนอนตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายอยู่ที่พื้นขนาบพระเขนย อันเป็นพระอิริยาบถตามธรรมชาติ ขณะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชน พระพุทธรูปปางนี้พบได้ตามวัดทั่วๆ ไป ซึ่งถือว่ามีการสร้างมากที่สุด

    ปางที่ ๒.หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระบรมศพถูกนำมาจัดแต่งให้เหมาะสม ซึ่งตามพุทธประวัติ กล่าวว่า ทรงบรรทมหงาย พระบาทเหยียดเสมอกัน พระหัตถ์วางทับซ้อนกันบนพระอุระ บ้างก็ว่าทับซ้อนบนพระนาภี ดังปรากฏเป็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้
    พระพุทธรูปปางนี้องค์เก่าแก่ที่สุด คือ พระนอนที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ส่วนที่พบในประเทศไทย พระพุทธรูปปางนี้เท่าที่ทราบปัจจุบันมีอยู่ ๓ องค์ ประดิษฐานอยู่ ๓ วัด คือ
    ๑.พระนอนหงายปางถวายพระเพลิง สร้างในสมัยกรุงธนบุรี ที่วัดราชคฤห์ กทม. ๒.พระนอนหงายวัดพระนอน ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี และ ๓.พระนอนหงาย วัดทุ่งน้อย บ้านทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม พระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะสมัยสุโขทัย ประทับหงายพระองค์ พระหัตถ์ทั้งสองเหยียดประสานกันบนพระนาภี (สะดือ) มีขนาดยาว ๕.๗๐ เมตร กว้าง ๑.๕๐ เมตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก หลวงพ่อมา ปทุมฺรตโน เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐

    ปางที่ ๓.พุทธเจ้าเข้านิพพาน หรือ "พระเจ้าเข้านิพพาน" ถือเป็นพระพุทธรูปปางที่ไม่ค่อยพบเห็นในวัดทั่วๆ ไป เท่าที่ทราบ องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดต้องยกให้ พระเจ้าเข้านิพพาน ที่ประดิษฐานอยู่ในหลวงพ่อพวง หรืออุโบสถหลังเก่า วัดท่าฬ่อ ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งไม่มีหลักฐานระบุไว้ชัดเจนว่า มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งเมื่อใด รู้แต่เพียงว่ามีอายุประมาณร้อยกว่าปี ตามอายุการก่อตั้งวัดท่าฬ่อ พระพุทธเจ้าเข้านิพพานของวัดท่าฬ่อ สันนิษฐานว่า สร้างไว้เมื่อกว่า ๑๐๐ ปีที่แล้ว เดิมทีประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงตากริม เมื่อกรมศิลปากรมาบูรณะภาพในวิหารเมื่อปี ๒๕๔๕ จึงย้ายมาเก็บไว้ที่วิหารหลวงพ่อพวง
    ส่วนอีกองค์หนึ่งนั้น ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน หรือวิหารแกลบ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อ.เมือง จ.พิษณุโลก อยู่ทางด้านใต้ของพระวิหาร พระศรีศาสดา ภายในวิหาร มีพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่ มีพระสาวกอยู่ข้างหน้าหลายองค์ จุดเด่นบริเวณกลางวิหารมีหีบปางพระเจ้าเข้านิพพาน ซึ่งสมมติว่าเป็นหีบพระพุทธสรีระ ตั้งอยู่บนแท่นสลักลวดลายงดงาม
    พุทธลักษณะหนึ่งที่แปลกตากว่าพระพุทธรูปทั่วไป คือ มีพุทธลักษณะเป็นหีบทอง บรรจุพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ทำด้วยศิลา ขนาดกว้าง ๔๖ เซนติเมตร ยาว ๑๖๐ เซนติเมตร สูง ๔๕ เซนติเมตร มีลักษณะเป็นหีบบรรจุพระศพสีทองเหลืองอร่าม ตั้งอยู่บนฐานที่ลงรักปิดทอง และประดับประดาลวดลายกระจกอย่างสวยงาม โดยที่ปลายด้านหนึ่งมีพระบาท ๒ ข้างยื่นออกมา

    พระปิดหู
    พระปิดหู เป็นพระพุทธรูปปางแปลก แตกต่างไปจากพระพุทธรูปที่เคยเห็นโดยทั่วไป ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณลานอเนกประสงค์ หน้าทางเข้า วัดดอนเจดีย์ หมู่ ๕ ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งชาวเมืองสุพรรณ พากันแห่กราบไหว้พระ "ปิดเคราะห์" องค์นี้อยู่เสมอ
    ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปิดเคราะห์นั้น ผู้ที่มากราบไหว้มีคติความเชื่อว่าท่านมีความเมตตาสูงมาก ไม่ว่าใครก็ตาม หากกำลังเผชิญกับปัญหา หรือทุกข์ภัยหนักหน่วงแค่ไหน เมื่อเดินทางมากราบไหว้ขอพรจากองค์หลวงพ่อก็มักจะได้รับความเมตตา โดยท่านจะดลบันดาลให้สิ่งที่ต้องการนั้นสมมาดปรารถนาอยู่เสมอ โดยสิ่งที่องค์หลวงพ่อพระกาฬโปรดปรานมากที่สุดก็คือ ข้าวเหนียวมูน และกล้วยหอมสุก ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะมีผู้คนนำมาถวายให้ไม่เคยขาด
    พุทธลักษณะโดยรวมของพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ มือทั้ง ๒ ด้านปิดที่หูไว้ หลับตาสองข้าง ซึ่งมีลักษณะแปลกกว่าพระพุทธรูปโดยทั่วไป ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปปิดหูองค์นี้ว่า หลวงพ่อปิดเคราะห์ หรือพระพุทธปริศนาธรรมมงคล เป็นปูนปั้น ทาสีทอง สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร กว้างกว่า ๖๐ เซนติเมตร และมีองค์เล็กจำลองอีก ๑ องค์ สูงประมาณ ๔ นิ้ว กว้าง ๒ นิ้ว ตั้งอยู่ที่บริเวณด้านหน้า ที่บริเวณฐานด้านล่างเป็นรูปทรงกลมคล้ายท่อน้ำ เป็นฐานรอง เขียนข้อความด้านล่างว่า "ปิดหูเป็นบางครา หลับตาเป็นบางคราว ไม่พูดบางเรื่องราว สุขกายสบายใจ"
    พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์ (ประไพ ปุญญกาโม ปธ.๓ ม) เจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ และเจ้าคณะตำบลดอนเจดีย์ เล่าให้ฟังว่าผู้ที่สร้างพระปิดหู คือ พระวิบูลเมธาจารย์ หรือ หลวงพ่อเก็บ ภทฺทิโย อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์รูปแรก น่าจะสร้างหลังปี ๒๕๐๑

    "การสร้างพระปิดหู ไม่เกี่ยวข้องกับประวัติพุทธศาสนาตอนใด เข้าใจว่าหลวงพ่อเก็บต้องการที่จะสื่อธรรมถึงญาติโยมที่ว่า กิเลสนั้นเข้าได้หลายทาง หู และตา ถือเป็นช่องทางสำคัญที่กิเลสเข้าได้ง่ายที่สุด การปิดหูและหลับตา เท่ากับเป็นการปิดช่องทางของกิเลส และเพื่อให้คนเข้าใจปริศนาธรรมมากขึ้น จึงเขียนข้อความเป็นภาษาไทยไว้ที่บริเวณหน้าฐานพระไว้ด้วยว่า "ปิดหูเป็นบางครา หลับตาเป็นบางคราว ไม่พูดบางเรื่องราว สุขกายสบายใจ"
    0 เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0

    คมชัดลึกออนไลน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2010
  2. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    การที่วัดมีจุดดึกดูดให้คนสนใจเข้าวัด

    ผมว่าก็ดีนะครับ

    แต่จะได้อะรัยจากการไปวัดก็ขึ้นอยู่กับคนๆนั้นแหละครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2010
  3. โชเต

    โชเต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +331
    Amazing Thailand!!!

    ไม่น่าเชื่อว่า ในเมืองไทยจะมีพระปางแบบนี้ด้วย...เหลือเชื่อ
     
  4. jeenus

    jeenus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,513
    ค่าพลัง:
    +3,576
    (cry)!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
     
  5. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    ดีจริงๆเลยครับ น่าติดตามมากๆๆๆ อนุโมทามิๆๆ
     
  6. รวียากร

    รวียากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    342
    ค่าพลัง:
    +1,309
    แปลกจริงๆ ด้วย ไม่เคยเห็นเลย
     
  7. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    แปลกมากจริง ๆ ค่ะ..........
     
  8. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +2,392
    ขอให้ระลึกเป็นพุทธานุสติ...
     
  9. ทิพย์ปทุโม

    ทิพย์ปทุโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +2,471
    ปกติเวลาที่เรากราบพระ ผู้ชายนั่งท่าเทพบุตร ผู้หญิงนั่งท่าเทพธิดา และกราบด้วยท่า เบญจางคประดิษฐ์ เห็นปั้นเป็นท่านั่งยอง ๆ แล้ว อยากขอเปลี่ยนท่านั่งจัง[FONT=Tahoma, sans-serif]

    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2010
  10. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +2,392
    อืม..เพิ่งสังเกตเหมือนกันแฮะ นั่นจิ
     
  11. Army56

    Army56 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,098
    ค่าพลัง:
    +1,862

    ในสมัยช่วง พ.ศ.ต้นๆ ที่ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูป

    สัญลักษณ์ ที่สร้างเพื่อระลึกถึงการปรินิพพาน คือพระแท่นเปล่าๆ

    พอเริ่มมีการสร้างพระพุทธรูป ก็เริ่มนำแนวศิลปะจากเปอร์เซีย

    ที่มักปั้น คนนอนในแท่นหินลักษณะตะแคง


    พระพุทธรูปปางไสยาสน์ จึงถูกปั้นในลักษณะนอนตะแคงตามไปด้วย


    นึกถึงความเป็นจริง ยากที่คนใกล้ตายจะนอนตะแคง และมีแรงพอ

    ที่จะเอามือหนุนหัวได้ พระอรหันต์ในไทยกี่รูปกี่รูปก็ทำไม่ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...