คนที่อยู่ระหว่างทางไปพระนิพพาน นี่แหละที่น่าเป็นห่วงมาก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Chayutt, 24 กันยายน 2005.

  1. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882

    <CENTER>ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    </CENTER>


    [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน?

    อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

    สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

    สัมมาวาจาเป็นไฉน?การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา

    สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

    สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

    สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

    สัมมาสติเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ

    สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.


    [๑๕๐] ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
    ย่อมอยู่


    อนึ่ง สติของเธอ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่

    ถ้าเดินไปตามทางนี้ไปนิพพานไม่หลงทางแน่ๆ
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882
    พุทธธรรมไม่มีเก่า คร่ำครึ ล้าสมัยหรอก เพราะไม่มีใครหนีทุกข์ไปได้
    คนที่บอกว่ารับพุทธศาสนาไม่ได้เพราะล้าสมัยแล้ว สู้new ageไม่ได้ก็ตามอัชฌาสัยครับ
    คนชอบอะไรก็ไปที่ตนเองชอบแบบนั้นแหละครับ
     
  3. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +2,392
    เราก็ใกล้บ้าเหมือนกัน แต่ยังดีที่รู้ตัวว่าตัวเองบ้า

    ตอนนี้เลยคุยกับใครไม่ค่อยได้นอกจากพวกที่บ้าตามกันมา เอิ๊กๆ
     
  4. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    คุณอัคนีวาตครับ

    ทางปฏิบัติสู่เส้นทางพระนิพพานไม่ใช่โพชฌงค์เจ็ดหรือครับ

    โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ
    สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
    ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
    วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
    ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
    ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
    สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
    อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

    โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)
     
  5. Kinglondon

    Kinglondon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2010
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +70
    รู้อะไรไม่สู้รู้ตนเอง ^_^
    เรื่องของใจก็ต้องจบที่ใจตนเอง ถูกผิด ก็คือเรื่องสมมุติ
    ผู้ที่ไม่เคยทำผิด ก็คือผู้ไม่เคยทำอะไรเลย
    อนุโมธนา จขกท. ครับ
     
  6. dorafudesu

    dorafudesu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2009
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +230
    ขออนุโมทนาบุญครับ

    วันก่อนก็ได้พูดประมาทเกี่ยวกับการรับธรรมะ

    ของสำนักธรรม ไต้หวันไป

    ความจริงเราไม่รู้ ก็อย่าพูดดีกว่าใช่ไหมครับ
     
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882
    โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการมีหลักจำง่ายๆดังนี้
    ๓๔ ๒๕ ๑๗ ๑๘ ต้องอ่านว่า "สามสี่ สองห้า หนึ่งเจ็ด หนึ่งแปด"


    ๓ ๔ คือ สัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ อิทธิบาท ๔
    ๒ ๕ คือ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
    ๑ ๗ คือ โภชงค์ ๗
    ๑ ๘ คือ มรรคมีองค์ ๘


    โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นกลุ่มของธรรมที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึง มรรค ผล นิพพาน
    มากจากคำว่า “โพธิ = พุทธิ = พุทธะ = ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเพราะเข้าถึงนิพพานและหมดกิเลส ตัณหา

    ปักขิยะ = ปีก ธรรม = สภาวะที่เป็นไปตามอำนาจของเหตุและปัจจัย แปลความว่า “”ปีกธรรม พานำบินเข้าสู่นิพพาน”

    สามสี่ ๓ ๔

    สัมมัปธาน ๔

    คือ การมุ่งมั่นทำความชอบ มี ๔ ประการ
    ๑.สังวรปทาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น
    ๒.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่
    ๓.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
    ๔.ภาวนาปทาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น

    สติปัฏฐาน ๔
    ๑.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นกายในกาย
    ๒.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ๓.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นจิตในจิต
    ๔.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

    อิทธิบาท ๔
    ๑.ฉันทะ ความพอใจ รักใคร่ ในสิ่งนั้นๆ
    ๒.วิริยะ ความเพียรพยายามที่จะทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ
    ๓.จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นเรื่องนั้นไม่ทอดทิ้งธุระ
    ๔.วิมังสา ความใคร่ครวญ สังเกต พิจารณา หาเหตุหาผลในเรื่องนั้นๆ

    สองห้า ๒ ๕

    อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕

    มีองค์ธรรมที่เหมือนกันซึ่งเรียงลำดับตามขั้นตอนของสภาวธรรม เป็น
    ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

    อินทรีย์ ๕ ความเป็นใหญ่ทั้ง ๕
    ๑.ศรัทธินทรีย์ มีความศรัทธาเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง
    ๒.วิริยินทรีย์ มีความเพียรเป็นอย่างยิ่ง
    ๔.สตินทรีย์ มีความระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์หรือสติปัฏฐาน 4 ได้ดียิ่ง
    ๕.สมาธินทรีย์ มีสมาธิอันยิ่ง คือฌาณ 4 สังขารุเปกขาญาน หรือสัมมาสมาธิ
    ๖.ปัญญินทรีย์ มีปัญญาอันยิ่ง คือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะละเอียดคมกล้า

    พละ ๕ พลัง ขุมกำลังทั้ง ๕
    ๑.ศรัทธาพละ กำลัง ที่ได้จากแรงศรัทธา
    ๒.วิริยะพละ กำลังที่ได้จากแรงความเพียร
    ๓.สติพละ กำลังแห่งสติ
    ๔.สมาธิพละ กำลังที่ได้จากสมาธิ
    ๕.ปัญญาพละ กำลังที่ได้จากปัญญา

    หนึ่งเจ็ด ๑ ๗

    โภชฌงค์ ๗

    ๑.สติสัมโภชฌงค์ สติ ความระลึกรู้อยู่กับสติปัฏฐานทั้ง 4 และปัจจุบันอารมณ์
    ๒.ธัมมวิจัยสัมโภชฌงค์ การพิจารณา ใคร่ครวญ แยกแยะ แจกแจงธรรม
    ๓.วิริยสัมโภชฌงค์ ความเพียรในสัมมัปทาน 4 หรือสัมมาวายามะ
    ๔.ปีติสัมโภชฌงค์ ความอิ่มเอิบซาบซ่านกาย ใจ
    ๕.ปัสสัทธิสัมโภชฌงค์ ความเบากาย เบาใจ
    ๖.สมาธิสัมโภชฌงค์ ความตั้งมั่นของจิต
    ๗.อุเบกขาสัมโภชฌงค์ ความวางเฉยหยุดความปรุงแต่ง

    หนึ่งแปด ๑ ๘

    มรรค ๘

    เป็นหลักปฏิบัติธรรมที่เป็นทางสายกลางเพราะเจริญปัญญา ศีล สติ สมาธิ ไปพร้อมๆกันสนับสนุนซึ่งกันและกันไปจนกว่าจะถึงที่หมายปลายทางคือ นิพพาน แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม-

    ก.ปัญญามรรค มี ๒ ข้อ คือ

    ๑.สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง คือเห็นอริสัจ ๔ และเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา ในทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป เห็น ดู รู้
    ๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ความคิดถูกต้อง คือคิดออกจากความยินดี ยินร้ายและการเบียดเบียน ทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป สังเกต พิจารณา

    ข. ศีลมรรค มี ๓ ข้อ คือ

    ๓.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธีที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและนิพพาน
    ๔.สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์
    ๕.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไม่ผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญมรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว

    ค.สมาธิมรรค มี ๓ ข้อ คือ

    ๖.สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ แบ่งออกอีกเป็น ๔ ข้อย่อย เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปทาน ๔ คือ

    ๑.บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
    ๒.บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
    ๓.กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
    . ๔.กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด

    ๗.สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์นับเป็นสัมมาสติ

    ๘.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ คือความที่จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อยู่กับงานพิสูจน์ อนัตตา หรือการเจริญมรรคทั้ง ๘ จนสามารถทำให้จิตนิ่งได้ถึงระดับฌาน ๔ หรือสังขารุเปกขาญาณ
     
  8. LadyOfLight

    LadyOfLight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    755
    ค่าพลัง:
    +2,472

    ใครกันหรือคะที่บอกชัดเจน ขนาดนี้
    อยากตามไปอ่านด้วยตาตัวเอง
    เพราะจะได้ใช้ปัญญาอันน้อยนิดของข้าพเจ้าตรองดูว่า
    ประโยคและคำพูดที่เขาผู้นั้นกล่าว จะสรุปได้ดังที่ท่านสรุปและตัดสินเขาผู้นั้นหรือไม่
     
  9. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** หลังพบสัจจะธรรม ****

    วางหมด
    เหลือแค่ "สัจจะ" กับ "เมตตา"

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  10. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    ข้อความในกระทู้นี้ ซึ่งมันเป็นความคิดของผมในตอนนั้น
    มันก็นานมาแล้วหนะนะครับ..ตั้งแต่ปี 2005 โน่นแหนะ

    ส่วนความคิด ณ.ตอนนี้ของผม มันจะประมาณนี้ครับ
    ย้ำนะครับว่า "ตอนนี้" เพราะว่ามันไม่มีอะไรคงทนถาวรตลอดไปหรอก

    คือ..ก็ในเมื่อเราถูกสอนมาว่า วัฏสงสารยังจะไม่สิ้นสุด หรือเรียกว่า
    เรายังจะไม่จบกิจ ถ้าเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ หรือที่เรียกว่ายังไม่นิพพาน

    เพราะฉะนั้นแล้ว ใครก็ตาม หรือแม้แต่ตัวเราเอง ที่กำลังวนเวียนอยู่ในวัฏสงสารนี้อยู่
    ช้า-เร็วก็ต้องจบกิจนี้แน่ๆ เว้นแต่ว่าจะเมื่อไหร่เท่านั้นเอง

    เพราะว่า อย่างที่บอกว่า ถ้าไม่จบกิจ มันก็ไม่หยุดวัฏฏะนี้ได้ ใช่ไหมครับ
    ดังนั้น ตามนัยยะนี้ ปลายทางของทุกจิตวิญญาณ ก็คือพระนิพพานนั่นเอง

    ดังนั้น ผมจึงไม่มีอะไรต้องไปเป็นวิตกกังวลกับทั้งตัวเองและคนอื่นๆ
    ว่ากำลังคิดผิด เดินผิด ปฏิบัติผิด เชื่อผิด ฯลฯ อยู่หรือไม่ อย่างไร
    เพราะช้าเร็วเขาก็ต้องไปสุดทางของเขาเองจนได้นั่นแหละ ไม่ด้วยวิธีใดก็วิธีหนึ่ง

    และอีกอย่าง ถ้าจะบอกว่า โอ๊ย แล้วไม่กลัวตกนรกเหรอ ?
    หรือไม่กลัวจะเสียเวลาเวียนว่ายตายเกิดนานๆเหรอ ?

    สำหรับผมนะ ผมก็จะบอกว่า ..

    "แหม..ถ้าตามนัยยะนี้แล้ว ก็ใช่ว่าพวกเราจะยังไม่เคยตกนรกกันมาบ้างเลยอย่างนั้นแหละ"

    หรือไม่ ผมก็จะบอกว่า..

    "แหมยังกะว่า ไม่เคยเวียนว่ายตายเกิดมาเป็นร้อยเป็นพันชาติ
    หรือมากกว่านั้นแล้วยังงั้นแหละ"

    "และถ้าใครเขายังไม่รีบไปไหน คือไม่รีบเข้านิพพานหนะนะครับ
    เขาจะเวียนว่ายตายเกิดเล่นๆไปอีกซัก ล้าน สองล้านชาติ
    หรือแม้แต่อีก 20 อสงไขย อย่างพวกพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้น
    คุณจะไปเป็นเดือดเป็นร้อนอะไรแทนเขาเล่า และเพื่ออะไร?

    และจะพยายามไปยัดเยียดพระนิพพานให้เขาไปทำไม?
    ก็เขายังไม่รีบหนะ และนั่นก็เป็นชีวิตของพวกเขาด้วย!!

    นั่นแหละ..คือเหตุผลที่ผมวางใจไว้ค่อนข้างกลางๆ
    ซึ่งไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ได้ประโยชน์หรือไม่อย่างไร
    ฝึกอะไร ทำอะไร มุ่งทางไหน หรือศรัทธาอะไร ไม่ศรัทธาอะไร
    ก็นั่นมันเป็นสิ่งที่เขาเลือก มันเป็นชีวิตของเขา !!
    ผมไม่จำเป็นจะต้องไปเป็นเดือด เป็นร้อนอะไรด้วยเลย

    ...ช้าเร็ว พวกเขาก็จะต้องไปถึงฝั่งสักวัน เพราะไม่งั้นก็ไม่จบ..

    ...........................................................
     
  11. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** สิ่งที่มั่นคง ***

    คือ สัจจะธรรม
    ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน
    ธรรมไหนไหลไปตามสัจจะธรรม ก็ไม่มีวันเชย ไม่มีล้าสมัย เป็นธรรมเที่ยง
    ธรรมไหนขวางกับสัจจะธรรม ก็เป็นเพียงความเห็น เป็นทำไม่เที่ยง ที่ไม่พาให้หลุดพ้นทุกข์ไปได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  12. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** ถึงที่สุด ****

    นิพพาน คือ ถึงที่สุด ไปถึงที่สุด
    นิพพาน คือ การกระทำ
    ท่านทำได้ถึงที่สุดในเรื่องสัจจะ แล้วหรือยัง !!!

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  13. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** จะเอาแค่ไหน ต้องตัดสินตนเอง ****

    นิพพาน คือ ถึงที่สุด เป็นปลายทางสุดท้าย
    ผล คือ ความสามารถ ความรอบรู้
    ธรรม คือ สัจจะการกระทำได้จริง
    มรรค คือ การปลดกิเลสนิสัยต่างๆ มานะทิฐิ ความเชื่อที่ไม่ใช่ความจริง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  14. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** จะพ้น หรือ ไม่พ้น ****

    อยู่ที่ "สัจจะ"

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  15. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** นิยามของการหลุดพ้น ****

    คือ "สัจจะ"

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  16. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** ผู้ทำได้ ****

    ใครมีปัญญา ก็มาเอาไปเอง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  17. Kingkong1

    Kingkong1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    776
    ค่าพลัง:
    +2,262
    หนุมานผู้น่าสงสาร มีวิธีโพสต์ที่ไม่เหมือนใครนะครับ โพสต์สั้น ๆ มากมายหลายโพสต์ ด้วยถ้อยคำสั้น ๆ ที่อ่านแล้วต้องสะบัดหัวและขยี้ตาบ่อย ๆ คือเข้าใจยากครับ เหมือนข้อเขียนของคนแก่ ๆ คนหนึ่ง
     
  18. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +10,239
    ขอบคุณความเห็นจากคุณชยุต และทุกท่านครับ

    ปล. ผมก็เคยอ่านชื่อ " หนุมาน ผู้นำสาร " เป็น "หนุมานผู้น่าสงสาร" เหมือนกันครับ
    นี่แสดงให้เห็นว่า การเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ยากเพียงไรครับ
     
  19. เอื้อมบุญ

    เอื้อมบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    385
    ค่าพลัง:
    +617
    :cool::cool::cool:
    สาธุ สาธุ สาธุ....อนุโมทามิ
     
  20. คนสร้างทาง

    คนสร้างทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +6
    ปุถุชนมีความรู้ห่างไกลแสนไกลจากพระโสดาบัน
    พระโสดาบันมีความรู้ห่างไกลแสนไกลจากพระสกทาคามี
    พระสกทาคามีความรู้ห่างไกลแสนไกลจากพระอนาคามี
    พระอนาคามีความรู้ห่างไกลแสนไกลจากพระอรหันต์

    ก่อนห่วงคนอื่นห่วงตัวเองก่อนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...