จิตไม่ยอมปล่อยวาง ไม่ยอมให้อภัย ปากกับใจไม่ตรงกัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย yu_hongthong, 22 มิถุนายน 2011.

  1. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ณ ตอนนี้ถึงแม้จะเอาพระไตรปิฏกมาให้คุณอ่าน หรือ จะให้ใครมาแนะนำสิ่งดีๆ ก็ไม่เข้าไปในสมองคุณหรอกค่ะ (แต่จริงๆดิฉันว่าคุณพอรู้อยู่แล้วหล่ะว่าต้องทำยังไง แต่ยังทำไม่ได้) เพราะจิดคุณมันยังฟุ้งซ่านอยู่มาก แล้วเรื่องที่คุณบอกว่า ถ้าหมั่น สวดมนต์ ภาวนา จะทำให้ครอบครัวมีความสุข นั้นมันก็เกิดจากกิเลสแล้ว ไม่สุขง่ายๆหรอกค่ะ เอาแค่ว่า ณ ตอนนี้ ทำแล้วให้ตัวคุณเอง สงบสุข เองก่อนเถอะค่ะ ค่อยหวังให้ถึงครอบครัว คุณลองมานั่งใช้สตินึกดีๆ มาประเมินผลตัวคุณเองกับสามีดูซิว่า ใน20ปีที่ผ่านมา ระหว่างคุณกับสามี ใครทำดีต่อกันและกัน ในเรื่องใดๆมากกว่ากัน แต่คุณต้องประเมินแบบเป็นกลางนะค่ะ อย่าเข้าข้างตัวเอง ที่ผ่านมาว่าคุณทำดีต่อสามีมากพอรึยัง ถึงทำให้เขาไปมีชู้ ถ้าคุณทำดีที่สุดแล้วในทุกๆเรื่อง แต่สามีคุณมันมักมาก มันไม่รักดีเอง ก็แสดงว่าบุญมันไม่ถึงเรา (และทุกข์ที่เค้าทำกับเราถือว่าชดใช้กรรมมันไปในชาตินี้ เพราะคุณเคยทำแบบนี้กับเค้ามาก่อน) ถ้าคุณพิจารณาและตัดตรงนี้ได้ก่อน ขั้นต่อไปถึงใช้การปฏิบัติธรรมเป็นการเยี่ยวยารักษาใจของคุณเอง....สาธุ ขอโทษที่อาจดูแรงไปนิดสำหรับคำแนะนำ อิๆๆ (แต่มันเคยได้ผลกับตัวเองมาก่อน)
     
  2. yu_hongthong

    yu_hongthong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +104
    ขออนุโมทนาบุญ นะคะ สวัสดีคะ ขอบคุณมากนะคะ ที่ให้คำแนะนำ ยังไม่เคยทำเลยคะเรื่องขอขมาสามี มีแต่เขาที่ขอขมาเรา ขอโทษเรา แต่ก็ควรที่จะทำ เพื่อที่ว่าบางทีทำตามคำที่แนะนำทุกอย่างจะดีขึ้น เคยถามเขาเหมือนกันว่า ตัวเราอโหสิให้เขาหรือยัง เพราะมีความรู้สึกว่าทำไม ในใจเรามันยังคงติดขัดค้างคาใจ ไม่รู้จบซะที บอกเขาว่าเราให้อภัยเขา แต่เราคงยังไม่ได้อโหสิกรรม เราควรจะทำด้วยหรือเปล่าคะ ดิฉันจะทำตามที่คุณแนะนำดูนะคะ ได้ผลอย่างไร จะรีบบอกทันทีคะ ขอบคุณมากนะคะ ทุกอย่างต้อง ค่อยเป็นค่อยไปหรือเปล่าคะ และอีกเรื่องที่คุณแนะนำ ดิฉันจะเก็บไปคิดและพิจราณาดูคะ ขอบคุณทุกท่านมากนะคะ เป็นกำลังใจได้ดีทีเดียว ดีใจมากที่ได้เป็นสมาชิก พลังจิต ได้ความรู้มากมาย ได้คำแนะนำดีๆ ขอบคณสำหรับบทเพลงเพราะๆ นะคะ ขอบคุณสำหรับหนังสือดีๆ ได้อ่านบ้างแล้ว จะค่อยๆอ่านเตือนความรู้สึก ตัวเอง ขอบคุณอีกครั้งนะคะ กว่าจะผ่านจุดตรงนี้ไปได้คงใช้เวลา นานใช่ไหมคะ ความทรมาร คงต้องมีที่สิ้นสุด ถ้าหากว่าเรายอมรับ และ ปล่อยวาง คงไม่ผิดไช่ไหมคะที่คิดแบบนี้
     
  3. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    เราทำจิตให้เป็นกุศลมากนะ เมตตาสามีเหมือนลูกแล้วกันนะรักลูกอย่างไรก็ให้
    รักสามีแบบนั้น พยายามเมตตาเขาให้มากๆ นะ เรื่องที่เกิดมันมีเหตุและผลของ
    มันนะ อย่างที่คุณรู้สึกว่าเป็นกรรมเก่าน่ะ ต้องเชื่อเราเคยทำแบบเดียวกันนี้กับคน
    อื่นมาแล้ว เรารู้สึกอย่างไรคือเราเคยทำให้คนอื่นรู้สึกแบบเดียวกันมาแล้ว เรา
    ต้องใช้เมตตามากๆ เมตตาสามี เมตตาจิตที่เป็นปมนั้นด้วย แผ่เมตตาให้ตัวเอง
    ให้จิตที่เป็นทุกข์นั้นจงหลุดพ้น จงมีความสุขมากๆ
     
  4. บัวสีเงิน

    บัวสีเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +187
    ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา คนโกรษคือคนโง่ คนโมโหคือคนบ้า คุณโกรษ คุณโมโห คุณน้อยใจอยู่คนเดียว แล้วคุณก็เป็นทุกข์ นั่นคือคุณโง่และบ้า คุณคิดมาก แล้วมีอะไรดีขึ้น ไม่มีเลย เราต้องคิดว่า มันผ่านไปแล้ว มันเป็นอดีต มันผ่านไป เรามีแต่ปัจจุบันและอนาคต ถ้าปัจจุบันคุณยังคิดมากเป็นทุกข์(ยังบ้าคิดอยู่คนเดียว) แล้วอนาคต หล่ะจะเป็นอย่างไร คุณคิดอยู่คนเดียวทุกข์อยู่คนเดียว ทิ้งความรู้สึกนั้นเถอะ อย่าโง่อยู่คนเดียวเลย อย่าทุกข์อยู่คนเดียวเลย คุณเชื่อใหม สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม มีคนทำให้คุณเป็นทุกข์ นั่นย่อมหมายความว่า คุณได้ใช้กรรมนั่นแล้ว ชาติที่ผ่านมา หรือในชาตินี้คุณอาจทำให้ใครเป็นทุกข์ไว้ก็ได้ จงดีใจว่าได้ใช้หนี้กรรมหมดไปหนึ่งอย่างแล้ว ลองคิดดูว่า คนอื่นเขาทุกข์กว่าเราเป็นไหนไหน คุณจะได้สะบายใจขึ้น คุณแค่สามีนอกใจ แค่นั่นเอง ไม่ได้ย่าร้าง หรือทิ้งไปมีคนใหม่ เขายังเลือกเราอยู่กับเรา ไม่ได้ตายจากกันไปไหน จริงใหม ทำตัวใหม่เถอะค่ะ คิดว่าเราคือผู้ชนะสิค่ะ เราชนะใจเขาและเราชนะใจเราท่ีให้อภัยได้ ให้เขารักและเกรงมากกว่าเดิม คือการให้อภัย ไปทำบุญใหญ่ค่ะ รักษาศีลห้า แล้วศีลจะคุ้มครองคุณเอง
     
  5. overmage

    overmage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +128
    ได้ของดีแล้วอย่าทิ้งมันนะครับ

    เพราะว่า เมื่อคนเรามีทุกข์ก็จะมองไม่เห็นสุข มีสุขก็มองไม่เห็นทุกข์

    และเมื่อประสบไม่ว่าสุขหรือทุกข์ก็คิดเสมอว่ามันจะอยู่กับเราตลอด

    ทั้งๆที่สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งปรุงแต่งขึ้น ไม่จีรังยั่งยืน มีเกิดแล้วก็มีดับ

    ดังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้แก่ทีฆนขปริพาชก ในถ้ำเขาคิชกูฏ ฟัง(ถูกรึเปล่าหนอเรา)

    พยายามประคองอารมย์นี้ไว้ครับ พี่ทำได้ดีแล้ว

    ถ้าอย่ากลับไปคิดว่า ทำไม? หรือ ของเรา อีกก็พอครับ สบายใจกว่าเยอะ

    ผมเองไม่บังอาจมาสั่งสอนนะครับ แต่อ่านดูแล้วพี่มีความตั้งใจจริงที่จะทิ้งอารมย์นั้น

    โมทนา สาธุกับจิตกุศลที่พี่ตั้งใจจริงๆและคุณbluebaby2 ที่ให้ความรู้เผื่อแผ่คนอื่น รวมทั้งผมด้วย

    ขอให้เจริญในธรรมครับ

    แม้นได้แค่ผิวเผินก็สุขปานนี้ หากได้แก่น จะสุขปานไหนหนอ
     
  6. gaiou419

    gaiou419 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +716
    ฟังคุณ bluebaby แล้วขอคารวะเลยค่ะ เป็นคำแนะนำแบบผู้ผ่านประสบการณ์
    โชคโชน รู้จนซึ้งแล้วจริงๆ อนุโมทนาด้วยค่ะ
    คุณ yu hongtong คะ ดิฉันมีความทุกข์แบบแบกไว้เพราะคนเห็นแก่ตัวร่วม
    5 เดือน นั่งก็ทุกข์ ยืนก็ทุกข์ เดินก็ทุกข์ เป็นทุกข์คนละอย่างกับคุณ
    แต่ทุกข์ก็คือทุกข์ เราแบกมันไว้ในใจ เราเลือกที่จะวางได้ แต่ต้องอาศัยการ
    ฝึกฝน พยายาม จนรู้วิธี อย่างที่คุณ bluebaby บอก นั่นแหล่ะค่ะ ประสบการณ์
    ตรง แต่อยากเสริมท้ายนิดนึง ดิฉันก็เป็นคนปฏิบัติเหมือนกัน เวลาความทุกข์มา
    เล่นงาน นั่งสมาธิ เดินจงกรม อะไรไม่ได้เลย นั่งปุ๊บ คิดปั๊บ กำหนดกี่ชั่วโมง ก็คิด
    มันจนครบชั่วโมง เรียกว่าหาประโยชน์ไม่ได้เลย มันปัสนึก นึกแต่ปัญหาตลอด
    เพราะเราไม่มีความเบากายเบาจิต เพราะพลัง กำลังสติเราอ่อน อันนี้เรื่องจริง
    ถ้าสติเราแข็ง สมาธิดี มีสภาพทุกอย่างพร้อมเอื้ออำนวยต่อภูมิวิปัสสนา เรื่องที่
    คุณทุกข์อยู่จะถูกยกขึ้นมา แล้ววิเคราะห์แยกส่วนหาเหตุด้วยสติที่เป็นกลาง พอ
    มันบอกคุณแล้ว ความทุกข์คุณจะหลุดเพี๊ยะ หายไปทันที ที่แบกมาหนักๆ เทออก
    หมด ไม่เหลืออะไร คุณจะโล่งโปร่งเบา หมดอารมณ์ไปเคียดแค้นเลย อันนี้คือ
    ความอัศจรรย์แห่งธรรมะ น้ำตาจะไหลอาบแก้ม นึกว่าเรามานั่งแบกมันทำไมเนี่ย
    จริงๆแล้วมันแค่นี้เอง เส้นผมบังภูเขาแท้ๆ
    ปัญหาคือ คุณต้องการกำลังสติ สมถะ แต่ทำไม่ได้ เพราะนั่งสมาธิไม่ได้
    นั่งไม่ได้ จะเอาสติจากไหนมาพิจารณาปัญหา

    บางทีเราต้องกลับมามองแง่ใหม่ คุณไม่ได้รบกับความเคียดแค้นในตัวสามีคุณ
    คุณกำลังรบกับบุคคลที่สาม นั่นก็คือ... พยาบาทนิวรณ์ คุณกำลังรบกับมาร
    เพราะเค้าไม่ต้องการให้คุณได้สัมผัสรสธรรมะ ไม่อยากให้คุณสบายกาย เบาจิต
    ไม่อยากให้คุณค้นหาทางออกเจอ เค้าพยายามหยุดคุณด้วยวิธีของเขา ทำให้
    คุณว้าวุ่นใจ โกรธโทษตัวว่า ใจไม่ดีพอ ทำไมให้อภัยสามีไม่ได้

    นิวรณ์มีหลายตัว พยาบาทนิวรณ์ทำให้ทุกครั้งที่คุณนั่งสมาธิ คุณจะหลุบเข้าไป
    ในวังวน "ทำไม.." "ทำแบบนี้ได้อย่างไร..." "ตอนนั้นทำไมไม่.." "แล้วถ้า.."
    คุณจะเหมือนโดนยาสลบ มึนเมาแต่ความเคียดแค้น พยาบาท น้อยเนื้อต่ำใจ
    พอพยายามจะหยุด เดี๋ยวก็โดนลากกลับไปใหม่ เพราะมันกำลังอ่อน เหมือน
    จิตมัน "อยาก"แต่จะคิดเรื่องนี้ บังคับไม่ได้ จริงๆแล้ว คุณจิตไม่เกี่ยวหรอกค่ะ
    เค้าแค่ทำหน้าที่ไปรับรู้อารมณ์ เค้าทำเป็นแค่นั้น แต่กิเลสมารที่แนบเนื่องมา
    กับจิต ส่งภาพมาให้คุณแป๊ปๆ เพื่อดึงความสนใจในธรรมออก คุณรับภาพที่
    เค้าส่งมา คุณปรุงแต่งต่อ ยาวเป็นเรื่องๆ จากแค่ภาพแว๊ปเดียวที่มารส่งมาให้
    เค้าไม่ต้องทำอะไรมากเลย เพราะคุณพร้อมจะปรุงมันอยู่แล้ว ปรุงเสร็จ จิตก็
    ไปรับรู้อารมณ์นั้นๆ หน้าที่ของมารก็สมหมาย คุณแพ้มันแล้ว มันเจ้าเล่ห์มั้ยคะ
    ....ไม่อยากชนะมันบ้างเหรอ...
    ... ชนะตั้งแต่ตอนที่มันส่งภาพแรกมา ส่งประโยคแรกมา..
    ... ชนะโดยการรู้มันก่อนเลย แล้วหยิบออก พร้อมกับเยาะเย้ยมัน
    ด้วยว่า คราวนี้ฉันไม่โง่เสียท่าแกหรอก........
    .. จากนั้นเค้าจะรอคุณเผลอ แล้วก็ส่งมาอีก อีก อีก
    ยิ่งคุณจับออกมากขึ้น เค้าจะอ่อนกำลังลง จนสุดท้ายเมื่อสติกับ
    สมาธิคุณแน่นแล้ว เค้าจะกลับไปหาที่แอบเงียบๆในจิตคุณ
    รอโอกาสที่คุณจะอ่อนแออีกครั้ง ตอนนี้เค้ารู้แล้วว่าเค้าสู้ไม่ได้
    มารสู้สติไม่ได้ค่ะ มันแพ้ทางกัน...ตอนนี้แหล่ะที่คุณนิ่งพอ มีสติพอ
    แล้วมันจะหยิบเอาความทุกข์ที่คุณมีมาตีแผ่ให้ดู คุณจะซึ้งจนจุก น้ำตาแตก
    แล้วเลิกทุกข์ไปเลย (แล้วมารก็รอโอกาสโจมตีคุณเมื่อเผลออีก)

    ความทุกข์แสนสาหัสสากันย์ที่คุณกำลังแบกอยู่นี้ ที่คุณคิดว่ามันเรื่องใหญ่
    ที่สุดแล้ว จากนี้ไปอีกหลายสิบปี มันจะเป็นอดีต
    คุณมีอายุเหลืออยู่ในโลกอีกเท่าไหร่ หากดิฉันเดาว่าอายุคุณราวๆ 40
    อายุเฉลี่ยคนๆหนึ่งมากสุดราวๆ 80 ... นั่นหมายความว่า
    อีก 40 ปี คุณก็ต้องตาย อีก 40 ปี สามีคุณก็ต้องตาย ทุกสิ่งเป็นโมฆะ
    เป็นอดีต โลกก็จะลืม ไม่จดจำมัน ความอดสูอับอายทั้งหลายจากทุกคนที่ทราบ
    เรื่องราวของคุณ มันจะถูกลืมทิ้งเสีย ไม่มีอีกเลย เรื่องที่หญิงนั้นทำร้ายจิตใจ
    คุณจะไม่มีความสำคัญอีกต่อไป ในเมื่อคุณไม่อยู่แล้ว เค้าก็ไม่อยู่ สามีคุณก็ไม่
    อยู่ ดังนั้นคุณจะทุกข์ไปทำไม ก็ในเมื่อผลของมันมีค่าเท่ากัน จุดจบเดียวกัน
    คุณสนใจ แคร์คำคนรอบข้าง คนในสังคม ทั้งหลายแหล่ แสดงว่าคุณเป็นส่วน
    หนึ่งของโลก ที่คุณต้องการยอมรับของสังคมนั้นๆ แต่อย่าลืมนะคะ เวลาเราตาย
    เราตายคนเดียว คำคนร้อยพันแสนล้าน จะเปลี่ยนอะไร ก็ในเมื่อ คุณมาคนเดียว
    และก็จะไปคนเดียว โลกไม่ได้ไปกับเรา
    คนเรานั้นเหมือนหม้อใบหนึ่ง เกิดมาก็ต้องมีหน้าที่เป็นภาชนะ โดนเทของ
    ใส่ตลอดให้หนัก ร้อน เย็น อ่อนแข็ง คือทุกข์ทั้งหลายที่ประดังเข้ามา
    สังขาร ร่างกายคือหม้อ คุณเกิดมาสวย ก็คือหม้อใบสวย เกิดมาจน ก็คือหม้อ
    บุบๆบี้ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น หม้อทุกใบไม่ว่าจะเกิดมาเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นภาชนะทั้งนั้น
    คือต้องรับทุกข์ทั้งนั้น คุณกำลังรับน้ำร้อนระอุในหม้อ ต้องใช้เวลานานกว่าน้ำร้อนนี้
    จะค่อยๆเย็นลง ต้องใช้เวลานาน กว่าคุณจะคลายใจ ลืมทุกข์เรื่องนี้ไว้เบื้องหลัง
    คุณมัวแต่สนใจเรื่องของที่จะเทลงมาในหม้อ ลืมคิดไปหรือเปล่าคะ ว่าตัวหม้อหล่ะ
    เป็นยังไง ถ้าไม่มีหม้อแล้ว จะเอาอะไรมาเทได้อีก
    พระอริยเจ้าเปรียบเหมือนหม้อไม่มีพื้นก้น เทอะไรก็ลงพื้นหมด จะน้ำร้อน เย็น
    หิน กรวด ทราย ท่านไม่รับ ไม่กักเก็บ ไม่ทุกข์ แต่ท่านก็ยังต้องขัดถูทำความสะอาด
    หม้อ ซ่อมแซมหูมัน เคาะที่บิ่น นั่นคือความรับผิดชอบอย่างเดียวที่เหลือ คือรับผิดชอบ
    สังขารนี้ จนกว่าจะแตกดับสลาย แล้วท่านถึงจะหมดภาระ รับผิดชอบจริงๆ
    แต่พวกเรา หม้อแตกพังไป ก็ต้องเกิดมาใหม่อีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นภาชนะรองรับ
    ความทุกข์หลากรูปแบบ ไหนจะต้องรักษาตัวหม้อเองอีก น่าเบื่อจริงๆ
    แค่หม้อเปล่าๆใจเบาๆยังเป็นสุขขนาดนั้น แล้วไม่มีหม้อเลยจะสุขขนาดไหนคะ

    ที่คุณ bluebaby บอกว่า จริงๆแล้วคุณรักตัวคุณเอง ไม่ได้รักสามีคุณ
    คิดดูดีๆนะคะ คำนี้ลึกมาก คนเป็นปราชญ์เท่านั้นจะมองได้ลึกลงหยั่งรากแท้ๆ

    รากฐานความกลัวมาจากไหน.. รากฐานความรักมาจากไหน..
    คุณกลัวผี เพราะกลัวผีมาทำร้ายใคร ทำร้ายตัวคุณ เพราะอะไร...เพราะคุณรัก
    ตัวเอง
    ทุกครั้งที่คุณกลัวอะไร มองลึกลงไป เป็นชั้นๆ ไม่ว่าอะไรทุกอย่าง รากเหง้า
    ของมันคือความรักตัวเอง
    คุณรักเขา ที่เขารักคุณ ที่ใครสักคนหนึ่งบนโลกนี้ต้องการคุณ
    ความทรงจำเก่าๆที่เคยจำได้ว่าเขารักคุณ เขาทำให้ความมีตัวตนของคุณชัดเจน
    คุณกลัวสามีทิ้งเพราะอะไร ... เพราะคุณไม่สามารถอยู่คนเดียวได้...ไม่สามารถ
    มีความสุขเองโดยปราศจากเขาได้.. คุณไม่อยากขาดเขา เพราะอะไร...คุณรักตัวเอง
    คุณแค้นเขาที่ไปมีคนอื่น เห็นคนอื่นดีกว่าคุณ เพราะอะไร เพราะ คุณรับไม่ได้ที่
    เขาเห็นคนอื่นดีกว่าคุณ... คุณรักตัวเอง.....
    ลองนึกดีๆสิคะ ถ้าเรามีความสุขเองได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น คุณจะไม่สนอะไร
    ใครเลยตลอดชีวิต ใครจะไปก็ช่าง จะมาก็ช่าง ฉันมีความสุขกับตัวเอง การอยู่การไป
    ของเขาไม่มีผลกระทบกับจิตใจคุณเลย
    แต่ถ้าลองได้เอาความสุขตัวเองไปแขวนไว้กับใครเมื่อไหร่ เมื่อนั้น คุณจะต้องร้องไห้
    โหยหาไปตลอดชีวิต
    สุดท้ายนี้ อย่าลืมว่า สิ่งสำคัญกว่านั้นคืออะไร
    เราทุกคน... ทุกคน... กายธาตุเสื่อมสลายวันละน้อยๆ ทุกวันๆ
    กลับไปเป็นดิน เป็นเถ้า คืนสู่ธรรมชาติ เรากำลังตายลงอย่างช้าๆ ทุกวันๆ
    นี่คือสัจธรรม คุณอาจจะยุ่งกับเรื่องสามี เรื่องครอบครัว จนลืมไป
    ว่าเวลามีไม่มากแล้ว ได้สาระอะไรจากชีวิตนี้หรือยัง ก่อนจะย้ายที่อยู่ใหม่
    ซึ่งยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าเป็นอะไร เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเทพ เทวดา
    ก่อนย้ายที่อยู่จากร่างนี้ เตรียมอุปกรณ์ยังชีพร่างหน้าพร้อมหรือยังคะ

    ผิดพลาดประการใด ขออภัยค่ะ ดิฉันปัญญาน้อย อาจพูดอะไรไม่เข้าท่า
     
  7. yu_hongthong

    yu_hongthong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +104
    ขอบคุณมากนะคะ อย่างที่พระท่านสอน มารไม่มี บารมีไม่เกิด คือความจริง แต่ตอนนี้ สติไม่มี สมาธิไม่เกิด ไร้ซึ่งปัญญา ขอบคุณมากนะคะ ช่วยเตือนสติ ให้ได้รู้ ให้ได้คิด ให้ได้พึงสังวรณ์ ว่า อย่ายึดหมั่น ถึอ หมั่น ตัวกู ของกู ให้ได้ คิด และพิจารณา ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้น มันอยู่ที่เราปรุงแต่งมันขึ้นมา เราไม่ไช่เรา ทุกอย่าง ไม่ไช่ของเรา ทุกอย่างคือ อุปทาน ทั้งหมดทั้งสิ้น ดิฉันจะพึงระลึกถึงคำแนะนำ ของทุกท่าน จะไม่ให้ ตัวเองเป็นเหมือนคนบ้าอยู่คนเดียว เหมือนคนโง่อยู่คนเดียว ต้องชนะอารมณ์ที่ไม่ดีของตัวเองให้ได้
    มีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า ถ้าเราปล่อยวางได้ แล้วเราจะขอบคุณ ความทุกข์ ที่ทำให้เราได้พบสุขอย่างแท้จริง ดิฉันจะพยายาม
     
  8. yu_hongthong

    yu_hongthong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +104
    >>ต่างคนต่างจิต ต่างคนต่างใจ๋ ต่างคนต่างไป <<
    แล้วเราจะทนทุกข์อยู่ทำไม ไม่เห็นได้อะไร นอกจากเสียงหัวเราะเยาะเย้ยของ เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลาย เราต้องการให้มารชนะเรา หรือว่าเราต้องการชนะมาร มีคำตอบอยู่ในใจ แล้วคะ ทุกคำแนะนำ ทุกคำชี้แนะ ทั้งทางอ้อม ทางตรง ให้สติให้ข้อคิด ที่ดี ไม่มีเคืองไม่มีโกรธ ยินดีน้อมรับทุกคำแนะนำ ยินดีน้อมรับทุกคำสั่งสอน สิ่งใหนไม่รู้ สิ่งใหน ไม่ควร ขอรบกวนช่วยบอก ช่วยเตือน ( ถึงมากด้วยอายุ แต่น้อยด้วยปัญญาคะ )อนุโมทนา สาธุ นะคะ
     
  9. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,353
    ค่าพลัง:
    +6,491
    มองทุกอย่างให้เห็นว่า...มันเป็นเช่นนั้นเอง...เดี๋ยวคุณก็จะผ่านมันไป เป็นสัจธรรมอยู่คู่โลก
    ทุกสิ่งล้วนสมมติ พบ พราก จากกันไป ตัวใคร ตัวมัน เท่านั้นเอง
     
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ลองฝึกการมองคนอื่นดูนะ คนเรามองกันด้วยภาพอย่างที่บอกไป มองไม่เห็นตัว
    จริง ก่อนอื่นก็มองว่าเขาเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายใช่ไหม มองรูปลักษณ์ภายนอก
    บุคลิก เชื้อชาติ การแต่งตัว ฐานะทางสังคม ถ้าเรารู้จักเขาเราก็มองเขาว่าคนนี้
    เคยดีกับเรา คนนี้เคยร้ายกับเราบ้าง คนนี่ไม่อยากยุ่งด้วย มันคือการมองคนด้วย
    ภาพ ด้วยสัญลักษณ์นะ คนเราชอบจับคนเป็นกลุ่มๆ นะ คนรวย คนจน คนหน้าตา
    ดี คนสุภาพ พวกเด็กเรียน พวกนักเลง พวกเจ้านาย พวกลูกน้อง คนกลุ่มล่าง
    คนมีอำนาจ ชาวพุทธ มีกลุ่มมากมายเต็มไปหมด แล้วเราก็คิดว่าคนในกลุ่มเดียว
    กันจะเหมือนกันทุกอย่าง เพราะเรากลัวการปฏิเสธ เพราะเราคิดว่าถ้าเรารู้ว่าเขา
    อยู่กลุ่มไหน เราก็พอจะรู้ว่าเขาจะปฏิบัติกับเราอย่างไร เราจะฝากความคาดหวัง
    กับเขาได้ เอาตัวตนไปฝากกับเขาได้ และการมีตัวเราเยอะมันก็รู้สึกเหมือนเรามี
    อิสรภาพเพิ่มขึ้นใช่ไหม แต่ความคิดความเห็นคนมันไม่เที่ยงนะเมื่อวานเขาไม่
    ปฏิเสธเรา วันนี้เขาอาจปฏิเสธเราได้ เมื่อวานเป็นเพื่อนรัก วันนี้อาจเป็นศตรูคู่
    อาฆาตกันได้ ดังนั้นอย่าไปมองคนด้วยภาพเลย มองให้เห็นเขาจริงๆ ถ้าเลิกมอง
    คนด้วยภาพความขัดแย้งมันจะหายไปเลย นอกจากคนเราชอบมองคนอื่นด้วย
    ภาพแล้วยังชอบสร้างภาพในหัวคนอื่นอีกนะ หลายๆ คนจะติดบอกคนอื่นว่าเรา
    เป็นคนแบบนั้น แบบนี้ ไม่ชอบอย่างนั้น ไม่ชอบอย่างนี้ นี่เป็นการสร้างภาพในหัว
    คนอื่นนะ แล้วถ้าเขามองเราผิดจากภาพที่เราส้รางไว้เราก็ทุกข์เพราะเราเอาตัว
    ตนไปฝากในความเห็นของคนอื่น ตัวเราที่อยากให้คนอื่นมองน่ะ ถ้าคุณไม่มอง
    คนด้วยภาพมันก็จะไม่มีหรอกครับ สามีที่เราเคยไว้ใจนักหนาแล้ววันหนึ่งเขาหัก
    หลังเราไม่สงสารเรากับลูกเลย นี่คุณมองสามีคุณแบบนี้นะ ลองฝึกปรับการคนอื่น
    ไปเรื่อยนะครับน่าจะดีขึ้น
     
  11. yu_hongthong

    yu_hongthong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +104
    ขอบคุณมากนะคะ
    คงถึงเวลาแล้ว ถึงเวลาที่ ปรับพฤติกรรม ของตัวเองแล้วคะ แบบอะไรที่เคยทำ อะไรที่เคยคิด ต้องไม่คิดต้องไม่ทำ ทุกอย่างต้องเริ่มใหม่หมด เปลี่ยนมุมมอง ลักษณะนิสัยส่วนตัว เปิดใจ มองโลกให้กว้าง มองตัวต้นที่แท้จริง เพื่อได้รู้ เพื่อได้คิด เพื่อได้สติปัญญา จะค่อยๆคิด ค่อยพิจราณา ค่อยเป็น ค่อยไป
     
  12. yu_hongthong

    yu_hongthong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +104
    กรรมเก่ายังใช้ไม่หมด สร้างกรรมใหม่ขึ้นมาอีก อันนี้ เป็นที่หน้าเวทนายิ่งนัก สำหรับบุคคลที่สาม แบบนี้ชาตินี้ใช้กรรมไปถึงชาติหน้ากันเลยไช่ไหมคะ เขาบอกว่าเขาไม่กลัวหรอกบาป ถ้าเขากลัวเขาคงไม่คิดที่จะเป็นบุคคลที่สาม ให้เราเสียใจหรอก เอ้าแบบนี้ก็มี คนเราคิดและพูด ช่างไม่กลัวกรรมกลัวเวร เอาเรื่องกรรมเวรคนอื่นมาพูด เป็นบาปหรือเปล่านะเรา
    ไม่สมควรไช่หรือเปล่าคะ ขอโทษนะคะ
    เรื่องที่ผ่านมา กลัวคะ ว่ากรรมเหล่านี้มันจะไปตามสนองลูกเราหรือเปล่าคะ ที่พ่อเขาเป็นแบบนี้ มีใครพอจะช่วยบอกได้หรือเปล่า ลูกเป็นผู้หญิงด้วยสิคะ หรือว่าเรายังไม่ต้องไปคิดถึงขนาดนั้นเพราะมันคืออนาคต แต่กลัวคะ สงสารลูก กรรมพ่อกรรมแม่ ตกถึงลูก เป็นไปได้หรือเปล่าคะ
     
  13. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    กิเลศมันต้องดับที่ตนเองนะ จะไปดับที่คนอื่นไม่ได้หรอกการปฏิบัติต่อสามีและบุตรลองศึกษามงคลชีวิตดูนะครับ
    เราช่วยสงเคราะห์เขาได้มากแค่ไหนถึงจะเป็นมงคลกับชีวิตก็ลองดูนะครับ


    <CENTER>มงคล<WBR>ที่ 12</CENTER><CENTER>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>บุตร</CENTER><DD><DD>ต้น<WBR>ไม้<WBR>ถ้า<WBR>ลูก<WBR>มัน<WBR>รส<WBR>ไม่<WBR>ดี ก็<WBR>มี<WBR>แต่<WBR> จะ<WBR>โค่น<WBR>ต้น<WBR>ทิ้ง ไม่<WBR>มี<WBR>ใคร<WBR>คิด<WBR>จะ<WBR>บำรุง<WBR>รักษา<WBR>ไว้ ตรง<WBR> กัน<WBR>ข้าม<WBR>ถ้า<WBR>ลูก<WBR>มัน<WBR>รส<WBR>ดี ทั้ง<WBR>หวาน<WBR>ทั้ง<WBR>มัน เจ้า<WBR>ของ<WBR> ก็<WBR>อยาก<WBR>ใส่<WBR>ปุ๋ย พรวน<WBR>ดิน รด<WBR>น้ำ ทะนุ<WBR>ถนอม<WBR>ให้<WBR>คง<WBR>ต้น<WBR>อยู่ <WBR>นาน ๆ ต้น<WBR>ไม้<WBR>ผล<WBR>จะ<WBR>คง<WBR>ต้น<WBR>อายุ<WBR>ยืน<WBR>ได้<WBR>รับ<WBR>การ <WBR>บำรุง<WBR>รักษา<WBR>ดี<WBR>เพียง<WBR>ไร จึง<WBR>ขึ้น<WBR>อยู่กับลูก<WBR>ของ<WBR>มัน



    <DD>คน<WBR>เรา<WBR>ก็<WBR>เช่น<WBR>กัน ถ้า<WBR>ลูก<WBR>ทำ<WBR>ดี คน<WBR>ทั้ง<WBR>หลาย <WBR>ก็<WBR>ชม<WBR>มา<WBR>ถึง<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ว่า<WBR>เลี้ยง<WBR>ลูก<WBR>ดี ความ<WBR>สุข <WBR>กาย<WBR>สบาย<WBR>ใจ<WBR>ก็<WBR>ติด<WBR>ตาม<WBR>มา<WBR>เพราะ<WBR>ลูก ความ<WBR>ดี<WBR> บุญ<WBR>กุศล<WBR>ก็<WBR>ไหล<WBR>มา<WBR>เพราะ<WBR>ลูก แต่<WBR>ถ้า<WBR>ลูก<WBR>ทำ<WBR>ชั่ว<WBR>ช้า <WBR>เลว<WBR>ทราม คน<WBR>ทั้ง<WBR>หลาย<WBR>ก็<WBR>แช่ง<WBR>ด่า<WBR>มา<WBR>ถึง<WBR>พ่อ<WBR>แม่ <WBR>ด้วย<WBR>เหมือน<WBR>กัน สร้าง<WBR>ความ<WBR>ลำบาก<WBR>ให้<WBR>พ่อ<WBR>แม่ ทั้ง<WBR>ทรัพย์<WBR> สิน<WBR>เงิน<WBR>ทอง<WBR>ชื่อ<WBR>เสียง<WBR>เสีย<WBR>หาย<WBR>ไป<WBR>เพราะ<WBR>ลูก พระสัมมาสัมพุทธ <WBR>เจ้า<WBR>จึง<WBR>ทรง<WBR>ชี้<WBR>ว่า สิริ<WBR>มงคล<WBR>ของ<WBR>คน<WBR>ที่<WBR>เป็น<WBR>พ่อ <WBR>เป็น<WBR>แม่<WBR>อยู่<WBR>ที่<WBR>ลูก และ<WBR>ใน<WBR>ทางตรง<WBR>ข้าม ถ้า<WBR>ไม่<WBR>ป้อง<WBR> กัน<WBR>แก้<WBR>ไข<WBR>ให้<WBR>ดี<WBR>แล้ว อัปรีย์<WBR>จัญไร<WBR>ก็<WBR>จะ<WBR>มา<WBR>จาก<WBR>ลูก <WBR>นั่น<WBR>เหมือน<WBR>กัน



    ทำไม<WBR>จึง<WBR>ต้อง<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>บุตร ?


    <DD>วัน<WBR>หนึ่ง<WBR>เรา<WBR>ต้อง<WBR>แก่<WBR>และ<WBR>ตาย สิ่ง<WBR>ที่<WBR>อยาก<WBR>ได้ <WBR>กัน<WBR>ทุก<WBR>คน<WBR>คือ ความ<WBR>ปี<WBR>ติ ความ<WBR>ปลื้ม<WBR>ใจ ไว้<WBR>หล่อ<WBR>เลี้ยง <WBR>ใจ<WBR>ให้<WBR>สด<WBR>ชื่น ความ<WBR>ปลื้ม<WBR>ปี<WBR>ติ<WBR>จะ<WBR>เกิด<WBR>ขึ้น<WBR>ก็ <WBR>ต่อ<WBR>เมื่อ<WBR>ได้<WBR>เห็น<WBR>ผล<WBR>แห่งความ<WBR>ดี หรือ<WBR>ผล<WBR>งาน<WBR>ดี ๆ ที่ <WBR>เรา<WBR>ทำ<WBR>ไว้ ยิ่ง<WBR>ผล<WBR>งาน<WBR>ดี<WBR>มาก<WBR>เท่า<WBR>ไร ยิ่ง<WBR>ชื่น<WBR>ใจ <WBR>มาก<WBR>เท่า<WBR>นั้น แล้ว<WBR>อายุ<WBR>จะ<WBR>ยืน<WBR>ยง สุข<WBR>ภาพ<WBR>จะ<WBR>แข็ง<WBR>แรง



    <DD>สุด<WBR>ยอด<WBR>ผล<WBR>งาน<WBR>ของ<WBR>นัก<WBR>ปฏิบัติ<WBR>ธรรม คือ การ<WBR>กำจัด<WBR>กิเลส<WBR>ใน<WBR>ตัว<WBR>ให้<WBR>หมด<WBR>ไป



    <DD>สุด<WBR>ยอด<WBR>ผล<WBR>งาน<WBR>ของ<WBR>ชาว<WBR>โลก คือ การ<WBR>มี<WBR>ลูก<WBR>หลาน<WBR>เป็น<WBR>คน<WBR>ดี




    <DD>ถ้า<WBR>ลูก<WBR>หลาน<WBR>เป็น<WBR>คน<WBR>เลว มัน<WBR>ช้ำ<WBR>ใจ<WBR>ยิ่ง<WBR>กว่า<WBR>ถูก<WBR>ใคร<WBR>จัด<WBR>ใส่<WBR>ครก<WBR>โขลก<WBR>เสีย<WBR>อีก




    <DD>เลี้ยง<WBR>สุนัข<WBR>แล้ว<WBR>กัด<WBR>สู้<WBR>สุนัข<WBR>คน<WBR>อื่น<WBR>ไม่<WBR>ได้<WBR>ยัง<WBR>เจ็บ<WBR>ใจ




    <DD>เลี้ยง<WBR>ลูก<WBR>แล้ว<WBR>ดี<WBR>สู้<WBR>ลูก<WBR>คน<WBR>อื่น<WBR>ไม่<WBR>ได้<WBR>มัน<WBR>จะ<WBR>ช้ำ<WBR>ใจ<WBR>สัก<WBR>แค่<WBR>ไหน




    ความ<WBR>หวัง<WBR>สุด<WBR>ยอด<WBR>ของ<WBR>ชาว<WBR>โลก
    1. บุตร<WBR>ที่<WBR>เรา<WBR>เลี้ยง<WBR>มา<WBR>แล้ว จัก<WBR>เลี้ยง<WBR>ตอบ<WBR>แทน
    2. บุตร<WBR>ที่<WBR>เรา<WBR>เลี้ยง<WBR>มา<WBR>แล้ว จัก<WBR>ทำ<WBR>กิจ<WBR>แทน<WBR>เรา
    3. วงศ์<WBR>สกุล<WBR>ของ<WBR>เรา<WBR>จัก<WBR>ดำรง<WBR>อยู่<WBR>ได้<WBR>นาน
    4. บุตร<WBR>จัก<WBR>ปก<WBR>ครอง<WBR>ทรัพย์<WBR>มรดก<WBR>แทน<WBR>เรา
    5. เมื่อ<WBR>เรา<WBR>ละ<WBR>โลก<WBR>ไป<WBR>แล้ว บุตร<WBR>จัก<WBR>บำเพ็ญ<WBR>ทักษิณา<WBR>ทาน<WBR>ให้

      <CENTER>[​IMG]</CENTER>
      เพราะ<WBR>เล็ง<WBR>เห็น<WBR>ฐานะ 5 ประการ<WBR>นี้ บิดา<WBR>มารดา<WBR>จึง<WBR>อยาก<WBR>ได้<WBR>บุตร
    บุตร<WBR>แปล<WBR>ว่า<WBR>อะไร ?
    • <DD>บุตร มา<WBR>จาก<WBR>คำ<WBR>ว่า ปุตต แปล<WBR>ว่า ลูก มี<WBR>ความ<WBR>หมาย 2 ประการ<WBR>คือ </DD>
    • ผู้<WBR>ทำ<WBR>สกุล<WBR>ให้<WBR>บริสุทธิ์
    • ผู้<WBR>ยัง<WBR>หทัย<WBR>ของ<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ให้<WBR>เต็ม<WBR>อิ่ม
    ประเภท<WBR>ของ<WBR>บุตร

    ประเภท<WBR>ของ<WBR>บุตร<WBR>แบ่ง<WBR>โดย<WBR>ความ<WBR>ดี<WBR>ใน<WBR>ตัว ได้<WBR>เป็น 3 ชั้น ดัง<WBR>นี้
    1. อภิชาต<WBR>บุตร คือ บุตร<WBR>ที่<WBR>ดี<WBR>มี<WBR>คุณ<WBR>ธรรม<WBR>สูง<WBR>กว่า<WBR>บิดา<WBR>มารดา เป็น<WBR>บุตร<WBR>ชั้น<WBR>สูง สร้าง<WBR>ความ<WBR>เจริญ<WBR>ให้<WBR>แก่<WBR>วงศ์<WBR>ตระกูล
    2. อนุชาต<WBR>บุตร คือ บุตร<WBR>ที่<WBR>มี<WBR>คุณ<WBR>ธรรม<WBR>เสมอ<WBR>บิดา<WBR>มารดา เป็น<WBR>บุตร<WBR>ชั้น<WBR>กลาง ไม้<WBR>สร้าง<WBR>ความ<WBR>เจริญ<WBR>ให้<WBR>แก่<WBR>วงศ์<WBR>ตระกูล แต่<WBR>ก็<WBR>ไม่<WBR>ทำ<WBR>ให้<WBR>เสื่อม<WBR>ลง
    3. อวชาตบุตร คือ บุตร<WBR>ที่<WBR>เลว<WBR>มี<WBR>คุณ<WBR>ธรรม<WBR>ต่ำ<WBR>กว่า<WBR>พ่อ<WBR>แม่ เป็น<WBR>บุตร<WBR>ชั้น<WBR>ต่ำ นำ<WBR>ความ<WBR>เสื่อม<WBR>เสีย<WBR>มา<WBR>สู่<WBR>วงศ์<WBR>ตระกูล
    องค์<WBR>ประกอบ<WBR>ให้<WBR>ได้<WBR>ลูก<WBR>ดี
    1. ตน<WBR>เอง<WBR>ต้อง<WBR>เป็น<WBR>คน<WBR>ดี ทำ<WBR>บุญ<WBR>มา<WBR>ดี<WBR>จึง<WBR>ได้<WBR>ลูก<WBR>ดี เหมือน<WBR>ต้น<WBR>ไม้<WBR>พันธ์<WBR>ดี<WBR>ก็<WBR>ย่อม<WBR>มี<WBR>ลูก<WBR>พันธ์<WBR>ดี เด็ก<WBR>ที่<WBR>เกิด<WBR>ใน<WBR>ท้อง<WBR>แม่<WBR>จะ<WBR>มี<WBR>คุณ<WBR>ธรรม<WBR>ใน<WBR>ใจ<WBR>ที่<WBR>ติด<WBR>ตัว<WBR>มา<WBR>ใน<WBR>ระดับ<WBR>ใกล้<WBR>เคียงกับของ<WBR>พ่อ<WBR>แม่ ดัง<WBR>นั้น<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ที่<WBR>ต้อง<WBR>การ<WBR>ได้<WBR>ลูก<WBR>ดี ก็<WBR>ต้อง<WBR>ขวนขวาย<WBR>สร้าง<WBR>ความ<WBR>ดี<WBR>ไว้<WBR>มาก ๆ ยิ่ง<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>สร้าง<WBR>บุญ<WBR>มาก<WBR>เท่า<WBR>ไร โอกาส<WBR>ที่<WBR>จะ<WBR>ได้<WBR>ลูก<WBR>ดี<WBR>ก็<WBR>มาก<WBR>เท่า<WBR>นั้น
    2. การ<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>อบ<WBR>รม<WBR>ดี ซึ่ง<WBR>จะ<WBR>กล่าว<WBR>ละเอียด<WBR>ต่อ<WBR>ไป
    วิธี<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>ลูก



    <DD>การ<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>มี<WBR>อยู่ 2 ทางคือ การ<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>ทางโลก<WBR>และ <WBR>การ<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>ลูก<WBR>ทางธรรม ซึ่ง<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ควร<WBR>จะ<WBR>เลี้ยง <WBR>ดู<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>พร้อม<WBR>บริบูรณ์<WBR>ทั้ง 2 ทา<WBR>ง





    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    วิธี<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>ลูก<WBR>ทางโลก
    1. กัน<WBR>ลูก<WBR>ออก<WBR>จาก<WBR>ความ<WBR>ชั่ว กัน หมาย<WBR>ถึง ป้อง<WBR>กัน กีด<WBR>กัน คือ<WBR>ไม่<WBR>เพียง<WBR>แต่<WBR>ห้าม หาก<WBR>ต้อง<WBR>ดำ<WBR>เนิน<WBR>การ<WBR>ทุก<WBR>วิถี<WBR>ทางที่<WBR>จะ<WBR>ไม่<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>ตก<WBR>ไป<WBR>สู่<WBR>ความ<WBR>ชั่ว ซึ่ง<WBR>บาง<WBR>ครั้ง<WBR>พ่อ<WBR>แม่กับลูก<WBR>ก็<WBR>พูด<WBR>กัน<WBR>ไม่<WBR>เข้า<WBR>ใจ สาเหตุ<WBR>ของ<WBR>ความ<WBR>ไม่<WBR>เข้า<WBR>ใจ<WBR>กัน<WBR>มัก<WBR>เกิด<WBR>จาก<WBR>การ<WBR>ขัด<WBR>กัน<WBR>อยู่ 3 ประการ คือ
      • ความ<WBR>เห็น<WBR>ขัด<WBR>กัน
      • ความ<WBR>ต้อง<WBR>การ<WBR>ขัด<WBR>กัน
      • กิเลส <DD>ความ<WBR>เห็น<WBR>ขัด<WBR>กัน คือ ของ<WBR>สิ่ง<WBR>เดียว<WBR>กัน แต่<WBR> เห็น<WBR>กัน<WBR>คน<WBR>ละ<WBR>ทาง มอง<WBR>กัน<WBR>คน<WBR>ละ<WBR>แง่ เช่น การ<WBR>เที่ยว<WBR>เตร่ เด็ก<WBR>วัย<WBR>รุ่น<WBR>มัก<WBR>จะ<WBR>เห็น<WBR>ว่า<WBR>ดี เป็น<WBR>การ<WBR>เข้า<WBR>สังคม ทำ<WBR> ให้<WBR>กว้าง<WBR>ขวาง ทัน<WBR>สมัย แต่<WBR>ผู้<WBR>เป็น<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>กลับ<WBR>เห็น<WBR>ว่า การ <WBR>เที่ยว<WBR>เตร่<WBR>หาม<WBR>รุ่ง<WBR>หาม<WBR>ค่ำ<WBR>นั้น มี<WBR>ผล<WBR>เสีย<WBR>หาย<WBR>หลาย <WBR>ประการ เช่น อาจ<WBR>เสีย<WBR>การ<WBR>เรียน อาจ<WBR>ประสบ<WBR>ภัย อาจ<WBR>ใจ<WBR>แตก<WBR>เพราะ <WBR>ถูก<WBR>เพื่อน<WBR>ชัก<WBR>จูง<WBR>ให้<WBR>เสีย ครั้น<WBR>ห้าม<WBR>เข้า<WBR>ลูก<WBR>ก็<WBR>ไม่ <WBR>พอ<WBR>ใจ ดู<WBR>ถูก<WBR>ว่า<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>หัว<WBR>เก่า<WBR>ล้า<WBR>สมัย

        <DD>เรื่อง<WBR>นี้ ถ้า<WBR>พูด<WBR>ด้วย<WBR>ความ<WBR>เป็น<WBR>ธรรม<WBR>แล้ว ลูก<WBR> ควร<WBR>จะ<WBR>รับ<WBR>ฟัง<WBR>ความ<WBR>เห็น<WBR>ของ<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ด้วย<WBR>เหตุ<WBR> ผล<WBR>ง่าย ๆ 2 ประการ<WBR>คือ พ่อ<WBR>แม่<WBR>ทุก<WBR>คน<WBR>หวัง<WBR>ดี<WBR>ต่อ<WBR>ลูก 100 % และ <WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ย่อม<WBR>มี<WBR>ประสบการณ์ รู้<WBR>ที<WBR>ได้<WBR>ที<WBR>เสีย<WBR>มาก<WBR> กว่า เรา<WBR>แน่<WBR>ใจ<WBR>หรือ<WBR>ว่า ความ<WBR>รัก<WBR>ของ<WBR>เพื่อน<WBR>ที่<WBR>ตั้ง<WBR>ร้อย <WBR>ที่<WBR>ล้อม<WBR>หน้า<WBR>ล้อม<WBR>หลัง<WBR>อยู่<WBR>นั้น รวม<WBR>กัน<WBR>เข้า<WBR>ทั้ง<WBR> หมด<WBR>แล้ว<WBR>จะ<WBR>มาก<WBR>และ<WBR>บริสุทธิ์ 100 % เหมือน<WBR>ความ<WBR>รัก<WBR>ใน<WBR>ดวง <WBR>ใจ<WBR>ของ<WBR>พ่อ<WBR>แม่ คน<WBR>เรา<WBR>ทุก<WBR>คนเคน<WBR>เห็น<WBR>ผิด<WBR>เป็น<WBR> ชอบ<WBR>มา<WBR>ก่อน เมื่อ<WBR>ยัง<WBR>เป็น<WBR>เด็ก<WBR>อม<WBR>มือ<WBR>อยู่<WBR>นั้น เราเคน<WBR>เห็น <WBR>ว่า<WBR>ลูก<WBR>โป่ง<WBR>อัด<WBR>ลม<WBR>ใบ<WBR>เดียว<WBR>มี<WBR>ค่า<WBR>มาก<WBR>กว่า <WBR>ธนบัตร<WBR>ใบ<WBR>ละ<WBR>ร้อย<WBR>ใช่<WBR>ไหม<WBR><WBR>? จิต<WBR>ใจ<WBR>ที่<WBR>อยู่ <WBR>ใน<WBR>วัย<WBR>เยาว์<WBR>ก็<WBR>ย่อม<WBR>เยาว์<WBR>ตาม<WBR>ไป<WBR>ด้วย ดัง<WBR>นั้น<WBR>เชื่อ <WBR>ฟัง<WBR>คำ<WBR>ว่า<WBR>กล่าว<WBR>ตัก<WBR>เตือน<WBR>ของ<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ไว้<WBR>เถิด ไม่ <WBR>เสีย<WBR>หาย พ่อ<WBR>แม่<WBR>เมื่อ<WBR>จะ<WBR>ห้าม<WBR>หรือ<WBR>บอก<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>ทำ <WBR>อะไร ก็<WBR>ควร<WBR>บอก<WBR>เหตุ<WBR>ผล<WBR>ด้วย อย่า<WBR>ใช้<WBR>แต่<WBR>อารมณ์

        <DD>ความ<WBR>ต้อง<WBR>การ<WBR>ขัด<WBR>แย้ง<WBR>กัน คือ คน<WBR>ต่าง<WBR>วัย<WBR>มี <WBR>รส<WBR>นิยม<WBR>ต่าง<WBR>กัน ความ<WBR>สุข<WBR>ของ<WBR>คน<WBR>แก่<WBR>คือ ชอบ<WBR>สงบ หา <WBR>เวลา<WBR>พัก<WBR>ผ่อน<WBR>อยู่กับบ้าน แต่<WBR>ความ<WBR>สุข<WBR>ของ<WBR>เด็ก<WBR>หนุ่ม<WBR>สาว มัก<WBR>อยู่<WBR>ที่<WBR>ได้<WBR>แต่ง<WBR>ตัว<WBR>สวย ๆ ไป<WBR>เที่ยว<WBR>เตร่<WBR>นอก<WBR>บ้าน ข้อ <WBR>นี้<WBR>ขัด<WBR>แย้ง<WBR>กัน<WBR>แน่ ลูกกับพ่อ<WBR>แม่<WBR>จึง<WBR>ต้อง<WBR>เอา<WBR>ใจ<WBR> มา<WBR>พบ<WBR>กัน<WBR>ที่<WBR>ความ<WBR>รัก ตก<WBR>ลง<WBR>กัน<WBR>ที่<WBR>มุม<WBR>รัก<WBR>ระหว่าง <WBR>พ่อ<WBR>แม่กับลูก รู้<WBR>จัก<WBR>ผ่อน<WBR>สั้น<WBR>ผ่อน<WBR>ยาว<WBR>ตาม<WBR>สม<WBR>ควร การ <WBR>เลี้ยง<WBR>ลูก<WBR>ที่<WBR>กำลัง<WBR>โต<WBR>เป็น<WBR>หนุ่ม<WBR>สาว<WBR>นั้น เหมือนกับเล่น<WBR>ว่าว <WBR>ให้<WBR>โต้<WBR>ลม ผ่อน<WBR>ไป<WBR>นิด ดึง<WBR>กลับ<WBR>มา<WBR>หน่อย จึง<WBR>จะ<WBR>เป็น <WBR>ผล<WBR>ดี

        <DD>กิเลส ถ้า<WBR>ทั้ง 2 ฝ่าย มี<WBR>ความ<WBR>โกรธ มี<WBR>ทิฐิ ดื้อ<WBR>ดึง ดื้อ<WBR> ด้าน หลง<WBR>ตัว<WBR>เอง<WBR>หรือ<WBR>มี<WBR>กิเลส<WBR>อื่น ๆ ครอบ<WBR>งำ<WBR>อยู่<WBR>แล้ว ก็<WBR> ยาก<WBR>ที่<WBR>จะ<WBR>พูด<WBR>กัน<WBR>ให้<WBR>เข้า<WBR>ใจ ต้อง<WBR>ทำ<WBR>ใจ<WBR>ให้<WBR>สงบ <WBR>และ<WBR>พูด<WBR>กัน<WBR>ด้วน<WBR>ใจ<WBR>ที่<WBR>เป็น<WBR>ธรรม ด้วย<WBR>เหตุ<WBR>ด้วย<WBR> ผล พ่อ<WBR>แม่<WBR>ต้อง<WBR>ฝึก<WBR>ตน<WBR>ให้<WBR>เป็น<WBR>คน<WBR>มี<WBR>คุณ<WBR>ธรรม<WBR> และ<WBR>สอน<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>เป็น<WBR>คน<WBR>ดี<WBR>มี<WBR>เหตุ<WBR>ผล<WBR>เสีย<WBR>แต่ <WBR>ยัง<WBR>เล็ก ปัญญา<WBR>ข้อ<WBR>นี้<WBR>ก็<WBR>จะ<WBR>เบา<WBR>บาง<WBR>ลง </DD>
    2. ปลูก<WBR>ฝัง<WBR>ลูก<WBR>ใน<WBR>ทางดี หมาย<WBR>ถึง ให้<WBR>ลูก<WBR>ประพฤติ<WBR>ดี มี<WBR>ศีล<WBR>ธรรม พ่อ<WBR>แม่<WBR>ต้อง<WBR>พยายาม<WBR>เล็ง<WBR>เข้า<WBR>หา<WBR>ใจ<WBR>ของ<WBR>ลูก เพราะ<WBR>ใจ<WBR>เป็น<WBR>ตัว<WBR>ควบ<WBR>คุม<WBR>การ<WBR>กร<WBR>ทำ<WBR>ของ<WBR>คน ที่<WBR>ว่า<WBR>เลี้ยง<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>ดี คือ<WBR>ทำ<WBR>ใจ<WBR>ของ<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>ดี<WBR>นั่น<WBR>เอง <DD>สิ่ง<WBR>ของ<WBR>นั้น<WBR>มี<WBR>อยู่ 2 ประเภท คือ<WBR>ของ<WBR>กินกับของ<WBR>ใช้ สำหรับ <WBR>ของ<WBR>กิน<WBR>ทุก<WBR>คน<WBR>ต้อง<WBR>กิน<WBR>เหมือน<WBR>กัน<WBR>หมด เพื่อ<WBR>ให้<WBR> ร่าง<WBR>กาย<WBR>เติบ<WBR>โต<WBR>คง<WBR>ชีวิต<WBR>อยู่<WBR>ได้ ส่วน<WBR>ของ<WBR>ใช้<WBR>นั้น<WBR> ต่าง<WBR>คน<WBR>ต่าง<WBR>มี<WBR>ความ<WBR>จำ<WBR>เป็น เช่น ชาว<WBR>นา<WBR>ก็<WBR>ต้อง<WBR>มี<WBR> จอบ มี<WBR>ไถ เสมียน<WBR>ก็<WBR>ต้อง<WBR>มี<WBR>ปากกา



      <DD>สมบัติ<WBR>ทางใจ<WBR>ก็<WBR>มี 2 ประการ<WBR>เหมือน<WBR>กัน

      ธรรมะ เป็น<WBR>อาหาร<WBR>ของ<WBR>ใจ
      วิชา<WBR>ความ<WBR>รู้ เป็นเครื่องมือ<WBR>ของ<WBR>ใจ


      <DD>ตาม<WBR>ธรรม<WBR>ดา<WBR>ร่าง<WBR>กาย<WBR>คน ถ้า<WBR>ขาด<WBR>อาหาร<WBR>แล้ว<WBR>ก็ <WBR>จะ<WBR>เสีย<WBR>กำลัง ใจ<WBR>คน<WBR>เรา<WBR>ก็<WBR>เหมือน<WBR>กัน ต้อง<WBR>มี<WBR>ธรรมะ <WBR>ให้<WBR>พอ<WBR>เพียง อาหาร<WBR>ทางกาย<WBR>กิน<WBR>แทน<WBR>กัน<WBR>ไม่<WBR>ได้ ไม่<WBR>เหมือน <WBR>ของ<WBR>ใช้ มีด<WBR>เล่ม<WBR>เดียว<WBR>กัน<WBR>ใช้<WBR>กัน<WBR>ได้<WBR>ทั้ง<WBR>บ้าน เรื่อง <WBR>ของ<WBR>ใจ<WBR>ก็<WBR>เหมือน<WBR>กัน ใจ<WBR>ทุก<WBR>ดวง<WBR>ต้อง<WBR>กิน<WBR>อาหาร<WBR> เอง คือ<WBR>ทุก<WBR>คน<WBR>ต้อง<WBR>มี<WBR>ธรรมะ<WBR>ไว้<WBR>ใน<WBR>ใจ<WBR>ตน<WBR>เอง จะ<WBR> ถือ<WBR>ว่า<WBR>ใจ<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>มี<WBR>ธรรมะ<WBR>แล้ว ใจ<WBR>ลูก<WBR>ไม่<WBR>ต้อง<WBR>มี <WBR>ไม่<WBR>ได้ ส่วน<WBR>วิชา<WBR>ความ<WBR>รู้<WBR>เปรียบ<WBR>เสมือน<WBR>ของ<WBR>ใช้ ใคร<WBR>จะ <WBR>ใช้<WBR>ความ<WBR>รู้<WBR>ทางไหน<WBR>ก็<WBR>หา<WBR>ความ<WBR>รู้<WBR>เฉพาะ<WBR>ทางนั้น ขาด <WBR>เหลือ<WBR>ไป<WBR>บ้าง<WBR>พอ<WBR>อาศัย<WBR>ผู้<WBR>อื่น<WBR>ได้ ใจ<WBR>ที่<WBR>ขาด<WBR>ธรรม <WBR>เหมือน<WBR>ร่าง<WBR>กาย<WBR>ที่<WBR>ขาด<WBR>อาหาร ใจ<WBR>ที่<WBR>ขาด<WBR>วิชา<WBR>ความ <WBR>รู้<WBR>เหมือน<WBR>คน<WBR>ที่<WBR>ขาดเครื่องมือเครื่องทำ<WBR>งาน



      <DD>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ต้อง<WBR>ปลูก<WBR>ใจ<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>มี<WBR>ทั้ง 2 อย่าง จึง<WBR>จะ<WBR>เป็น<WBR>การ<WBR>ปลูก<WBR>ฝัง<WBR>ลูก<WBR>ใน<WBR>ทางดี ซึ่ง<WBR>ทำ<WBR>ได้<WBR>โดย
      • กระ<WBR>ทำ<WBR>ตน<WBR>เป็น<WBR>ตัว<WBR>อย่าง<WBR>ที่<WBR>ดี<WBR>แก่<WBR>ลูก
      • เลือก<WBR>คน<WBR>ดี<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>คบ
      • หา<WBR>หนังสือ<WBR>ดี<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>อ่าน
      • พา<WBR>ลูก<WBR>ไป<WBR>หา<WBR>บัณฑิต เช่น พระ<WBR>ภิกษุ ครู<WBR>บา<WBR>อาจารย์<WBR>ที่<WBR>ดี
      </DD>
    3. ให้<WBR>ลูก<WBR>ได้<WBR>รับ<WBR>การ<WBR>ศึกษา ภาร<WBR>กิจ<WBR>ข้อ<WBR>นี้<WBR>ความ<WBR>ชัด<WBR>อยู่<WBR>แล้ว คือ<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>ได้<WBR>เล่า<WBR>เรียน เพื่อ<WBR>ให้<WBR>มี<WBR>ความ<WBR>รู้<WBR>สามารถ<WBR>ช่วย<WBR>ตัว<WBR>เอง<WBR>ต่อ<WBR>ไป<WBR>ได้ <DD>พ่อ<WBR>แม่<WBR>สมัย<WBR>นี้<WBR>ควร<WBR>จะ<WBR>ติด<WBR>ตาม<WBR>ดู<WBR>แล<WBR>ลูก<WBR>อย่าง<WBR>ใกล้<WBR>ชิด<WBR>มาก<WBR>ขึ้น ควร<WBR>ติด<WBR>ต่อกับทางโรง<WBR>เรียน<WBR>อยู่<WBR>เสมอ<WBR>ขอ<WBR>ทราบ<WBR>เวลา<WBR>เรียน ผล<WBR>การ<WBR>เรียน รวม<WBR>ทั้ง<WBR>ค่า<WBR>ใช้<WBR>จ่าย<WBR>ต่าง ๆ ที่<WBR>เด็ก<WBR>อ้าง<WBR>ว่า<WBR>ทางโรง<WBR>เรียน<WBR>เรียก<WBR>ร้อง<WBR>ด้วย พ่อ<WBR>แม่<WBR>ที่<WBR>มี<WBR>ลูก<WBR>ไป<WBR>เรียน<WBR>ไกล<WBR>บ้าน<WBR>ต่าง<WBR>จังหวัด และ<WBR>ขาด<WBR>ผู้<WBR>ดู<WBR>แล<WBR>ที่<WBR>ไว้<WBR>ใจ<WBR>ได้ ควร<WBR>เป็น<WBR>ห่วง<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>มาก หาก<WBR>ไม่<WBR>จำ<WBR>เป็น<WBR>จริง ๆ ไม่<WBR>ควร<WBR>ให้<WBR>เด็ก<WBR>อยู่<WBR>หอ<WBR>พัก เว้น<WBR>แต่<WBR>ท่าน<WBR>จะ<WBR>เชื่อ<WBR>ใจ<WBR>เด็ก<WBR>ได้ และ<WBR>ต้อง<WBR>หา<WBR>หอ<WBR>พัก<WBR>ที่<WBR>มี<WBR>ระเบียบ<WBR>ข้อ<WBR>บังคับ<WBR>เคร่งครัด<WBR>ด้วย </DD>
    4. จัด<WBR>แจง<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>แต่ง<WBR>งานกับคน<WBR>ดี <DD>ความ<WBR>หมาย<WBR>ใน<WBR>ทางปฏิบัติ<WBR>มี<WBR>อยู่ 2 ขั้น<WBR>ตอน<WBR>คือ
      • พ่อ<WBR>แม่<WBR>ต้อง<WBR>เป็น<WBR>ธุระ<WBR>ใน<WBR>การ<WBR>แต่ง<WBR>งาน<WBR>ของ<WBR>ลูก ช่วย<WBR>หา<WBR>สิน<WBR>สอด<WBR>ทอง<WBR>หมั้น<WBR>ให้
      • พ่อ<WBR>แม่<WBR>ต้อง<WBR>พยายาม<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>ได้<WBR>คู่<WBR>ครอง<WBR>ที่<WBR>ดี
      <DD>ใน<WBR>ข้อ<WBR>ที่ 2 อาจ<WBR>มี<WBR>ความ<WBR>ขัด<WBR>แย้ง<WBR>ระหว่าง<WBR>พ่อ<WBR>แม่กับลูก<WBR>อยู่<WBR>ไม่<WBR>น้อย คล้ายกับการ<WBR>กัน<WBR>ลูก<WBR>จาก<WBR>ความ<WBR>ชั่ว แต่<WBR>การ<WBR>ขัด<WBR>แย้ง<WBR>กัน<WBR>ใน<WBR>เรื่อง<WBR>คู่<WBR>ครอง<WBR>มัก<WBR>จะ<WBR>แรง<WBR>กว่า ควร<WBR>จะ<WBR>ทำ<WBR>ความ<WBR>เข้า<WBR>ใจ<WBR>กัน<WBR>ให้<WBR>ดี



      <DD>ปัญหา<WBR>สำคัญ<WBR>มี<WBR>อยู่ 2 ข้อ<WBR>คือ
      • พ่อ<WBR>แม่<WBR>แทรก<WBR>แซงความ<WBR>รัก<WBR>ลูก มี<WBR>ผล<WBR>ดี<WBR>หรือ<WBR>เสีย<WBR>อย่าง<WBR>ไร
      • ใคร<WBR>ควร<WBR>เป็น<WBR>ผู้<WBR>ตัด<WBR>สิน<WBR>การ<WBR>แต่ง<WBR>งาน<WBR>ของ<WBR>ลูก
      <DD>ปัญหา<WBR>ข้อ<WBR>แรก ถ้า<WBR>คิด<WBR>ดู<WBR>โดย<WBR>ละเอียด<WBR>ถี่<WBR>ถ้วน<WBR> แล้ว จะ<WBR>เห็น<WBR>ว่า<WBR>ผล<WBR>ดี<WBR>มี<WBR>มาก<WBR>กว่า<WBR>ผล<WBR>เสีย จะ<WBR>มี<WBR> ผล<WBR>เสีย<WBR>อยู่<WBR>เฉพาะ<WBR>ใน<WBR>ราย<WBR>ที่<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ขาด<WBR>จิตวิทยา และ <WBR>ชอบ<WBR>ทำ<WBR>อะไร<WBR>เกิน<WBR>เหตุ<WBR>เท่า<WBR>นั้น แต่<WBR>การ<WBR>ร่วม<WBR>มือ<WBR> กัน<WBR>เป็น<WBR>ของ<WBR>ดี<WBR>แน่ ความ<WBR>จำ<WBR>เป็น<WBR>อยู่<WBR>ที่<WBR>ว่า ลูก<WBR>ยัง<WBR> อยู่<WBR>ใน<WBR>วัย<WBR>เยาว์ รู้<WBR>จัก<WBR>โลก<WBR>น้อย มอง<WBR>โลก<WBR>ใน<WBR>แง่<WBR>ดี<WBR> เกิน<WBR>ไป อาจ<WBR>ตัด<WBR>สิน<WBR>ใจ<WBR>ผิด<WBR>พลาด<WBR>ได้ และ<WBR>ความ<WBR>ผิด<WBR>พลาด <WBR>ใน<WBR>เรื่อง<WBR>คู่<WBR>ครอง<WBR>นั้น<WBR>มี<WBR>ผล<WBR>มาก แก้<WBR>ยาก



      <DD>ปัญหา<WBR>ข้อ<WBR>ที่<WBR>สอง ใคร<WBR>ควร<WBR>เป็น<WBR>ผู้<WBR>ที่<WBR>ตัด<WBR>สิน <WBR>การ<WBR>แต่ง<WBR>งาน<WBR>ของ<WBR>ลูก เช่น ควร<WBR>แต่ง<WBR>งาน<WBR>หรือ<WBR>ยัง ? ควร<WBR> แต่งกับใคร ? ทางที่<WBR>ประเสริฐ<WBR>ที่<WBR>สุด คือ<WBR>ปรึกษา<WBR>หารือ<WBR>และ<WBR>ตก<WBR>ลง<WBR> กัน พ่อ<WBR>แม่<WBR>ควร<WBR>เป็น<WBR>เพียง<WBR>ที่<WBR>ปรึกษา ไม่<WBR>เจ้า<WBR>กี้<WBR>เจ้า<WBR>การ <WBR>จน<WBR>เกิน<WBR>งาม ต้อง<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>ได้<WBR>แต่ง<WBR>งานกับคน<WBR>ที่<WBR>เขา<WBR> รัก เพราะ<WBR>ความ<WBR>รัก<WBR>เป็น<WBR>มูลฐาน<WBR>ของ<WBR>การ<WBR>สมรส ฝ่าย<WBR>ลูก<WBR>จะ<WBR> เลือก<WBR>ใคร<WBR>ก็<WBR>ต้อง<WBR>ให้<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>เห็น<WBR>ชอบ<WBR>ด้วย เพราะ<WBR>การ <WBR>ทำ<WBR>ให้<WBR>ท่าน<WBR>สุข<WBR>ใจ<WBR>นั้น<WBR>เป็น<WBR>ความ<WBR>กตัญญูกตเวที<WBR>ของ <WBR>เรา และ<WBR>จะ<WBR>เป็น<WBR>ศรีสวัสดิมงคล<WBR>แก่<WBR>ครอบ<WBR>ครับ<WBR>สืบ<WBR>ไป แต่<WBR> ถ้า<WBR>หาก<WBR>เป็น<WBR>ไป<WBR>เช่น<WBR>นั้น<WBR>ไม่<WBR>ได้ พ่อ<WBR>แม่<WBR>ควร<WBR>จะ<WBR>ถือ <WBR>หลัก<WBR>ว่า




      <CENTER>"คน<WBR>ที่<WBR>เรา<WBR>ไม่<WBR>ชอบ<WBR>แต่<WBR>ลูก<WBR>รัก ดี<WBR>กว่า<WBR>คน<WBR>ที่<WBR>เรา<WBR>รัก<WBR>แต่<WBR>ลูก<WBR>ไม่<WBR>ชอบ<WBR><WBR>"</CENTER>



      <DD>คิด<WBR>เสีย<WBR>ว่า<WBR>เขา<WBR>เป็น<WBR>เนื้อ<WBR>คู่<WBR>กัน เว้น<WBR>แต่<WBR>คน<WBR> ที่<WBR>ลูก<WBR>ปลง<WBR>ใจ<WBR>รัก<WBR>เป็น<WBR>คน<WBR>เลว<WBR>หลอก<WBR>ลวง จะ<WBR>ชัก<WBR> นำ<WBR>ลูก<WBR>เรา<WBR>ไป<WBR>ใน<WBR>ทางเสีย อย่าง<WBR>นี้<WBR>ต้อง<WBR>ห้าม แม้<WBR>ว่า<WBR>ลูก <WBR>จะ<WBR>รัก<WBR>ก็<WBR>ตาม </DD>
    5. มอบ<WBR>ทรัพย์<WBR>มรดก<WBR>ให้<WBR>เมื่อ<WBR>ถึง<WBR>กาล<WBR>อัน<WBR>สม<WBR>ควร เมื่อ<WBR>ถึง<WBR>เวลา<WBR>ควร<WBR>ให้<WBR>จึง<WBR>ให้ ถ้า<WBR>ยัง<WBR>ไม่<WBR>ถึง<WBR>เวลา<WBR>อัน<WBR>ควร<WBR>ให้<WBR>ก็<WBR>อย่า<WBR>เพิ่ง<WBR>ให้ เช่น ลูก<WBR>ยัง<WBR>เยาว์<WBR>ยัง<WBR>ไม่<WBR>รู้<WBR>ค่า<WBR>ของ<WBR>ทรัพย์ ก็<WBR>ควร<WBR>รอ<WBR>ให้<WBR>เขา<WBR>เติบ<WBR>โต<WBR>เสีย<WBR>ก่อน<WBR>จึง<WBR>ให้ ถ้า<WBR>ลูก<WBR>ยัง<WBR>ประพฤติ<WBR>ชั่ว เช่น หมก<WBR>มุ่น<WBR>อยู่กับอ<WBR>บาย<WBR>มุข ก็<WBR>รอ<WBR>ให้<WBR>เขา<WBR>กลับ<WBR>ตัว<WBR>เสีย<WBR>ก่อน<WBR>แล้ว<WBR>จึง<WBR>ให้ ดัง<WBR>นี้<WBR>เป็น<WBR>ต้น <DD>การ<WBR>ทำ<WBR>ธุระ<WBR>เกี่ยวกับทรัพย์<WBR>มรดก<WBR>ให้<WBR>เสร็จ<WBR>ก่อน<WBR>ตาย เป็น <WBR>การ<WBR>ชอบ<WBR>ด้วย<WBR>พุทธ<WBR>ประสงค์ วงศ์<WBR>ตระกูล<WBR>ก็<WBR>มี<WBR>ความ<WBR>สงบ <WBR>สุข<WBR>ต่อ<WBR>ไป ราย<WBR>ใด<WBR>ที่<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ไม่<WBR>ทำ<WBR>พินัย<WBR>กรรม <WBR>ไว้<WBR>ให้<WBR>เรียบ<WBR>ร้อย ปล่อย<WBR>ให้<WBR>ลูก ๆ จัด<WBR>การ<WBR>กัน<WBR>เอง ก็<WBR>มัก <WBR>เกิด<WBR>เรื่อง<WBR>ร้าว<WBR>ฉาน<WBR>ขึ้น<WBR>ใน<WBR>วง<WBR>พี่ ๆ น้อง ๆ จน<WBR>ถึงกับฟ้อง<WBR> ร้อง<WBR>ขึ้น<WBR>ศาล<WBR>กัน<WBR>ก็<WBR>มี พี่<WBR>น้อง<WBR>แตก<WBR>สามัคคี<WBR>ทรัพย์<WBR>สิน <WBR>ก็<WBR>เสื่อม<WBR>หาย<WBR>ลง<WBR>เป็น<WBR>เรื่อง<WBR>ที่<WBR>น่า<WBR>สลด<WBR>ใจ<WBR>ยิ่ง <WBR>นัก </DD>
    วิธี<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>ลูก<WBR>ใน<WBR>ทางธรรม
    1. พา<WBR>ลูก<WBR>เข้า<WBR>วัด<WBR>เพื่อ<WBR>ศึกษา<WBR>หา<WBR>ความ<WBR>รู้<WBR>ทางศาสนา
    2. ชัก<WBR>นำ<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>สวด<WBR>มนต์<WBR>ก่อน<WBR>นอน<WBR>ทุก<WBR>คืน
    3. ชัก<WBR>นำ<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>ทำ<WBR>บุญ เช่น ตัก<WBR>บาตร รักษา<WBR>ศีล เป็น<WBR>ต้น
    4. ชัก<WBR>นำ<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>ทำ<WBR>สมาธิ<WBR>ภาวนา
    5. ถ้า<WBR>เป็น<WBR>ชาย<WBR>ให้<WBR>บวช<WBR>เป็น<WBR>สาม<WBR>เณร<WBR>หรือ<WBR>เป็น<WBR>พระ<WBR>ภิกษุ แล้ว<WBR>เข้า<WBR>ปฏิบัติ<WBR>กรรม<WBR>ฐาน
    ข้อ<WBR>เตือน<WBR>ใจ
    1. รัก<WBR>ลูก<WBR>แต่<WBR>อย่า<WBR>โอ๋<WBR>ลูก อย่า<WBR>ตาม<WBR>ใจ<WBR>ลูก<WBR>เกิน<WBR>ไป จะ<WBR>ทำ<WBR>ให้<WBR>เด็ก<WBR>เสีย<WBR>นิสัย เหตุ<WBR>ที่<WBR>พ่อ<WBR>แม่<WBR>ตาม<WBR>ใจ<WBR>ลูก<WBR>เกิน<WBR>ไป มัก<WBR>เป็น<WBR>เพราะ
      • รัก<WBR>ลูก<WBR>มาก<WBR>เกิน<WBR>ไป รัก<WBR>มาก<WBR>จน<WBR>ไม่<WBR>กล้า<WBR>ลง<WBR>โทษ<WBR>สั่ง<WBR>สอน
      • ไม่<WBR>มี<WBR>เวลา<WBR>อบ<WBR>รม รู้<WBR>สึก<WBR>เป็น<WBR>ความ<WBR>ผิด<WBR>ของ<WBR>ตัว ที่<WBR>ไม่<WBR>มี<WBR>เวลา<WBR>ให้<WBR>ลูก จึง<WBR>ปลอด<WBR>ประ<WBR>โลม<WBR>ตน<WBR>เอง<WBR>ด้วย<WBR>การ<WBR>ตาม<WBR>ใจ<WBR>ลูก ซึ่ง<WBR>เป็น<WBR>วิธี<WBR>ที่<WBR>ผิด
    2. อย่า<WBR>เคร่ง<WBR>ระเบียบ<WBR>จน<WBR>เกิน<WBR>ไป รู้<WBR>จัก<WBR>ผ่อน<WBR>สั้น<WBR>ผ่อน<WBR>ยาว
    3. ให้<WBR>ความ<WBR>อบ<WBR>อุ่น<WBR>แก่<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>เพียง<WBR>พอ ไม่<WBR>ว่า<WBR>งาน<WBR>จะ<WBR>ยุ่ง<WBR>มาก<WBR>เพียง<WBR>ไร<WBR>ก็<WBR>ต้อง<WBR>หา<WBR>เวลา<WBR>ให้<WBR>ลูก มิ<WBR>ฉะนั้น<WBR>จะ<WBR>ต้อง<WBR>น้ำ<WBR>ตา<WBR>ตก<WBR>ใน<WBR>ภาย<WBR>หลัง
    4. เมื่อ<WBR>เห็น<WBR>ลูก<WBR>ทำ<WBR>ผิด การ<WBR>ตำหนิ<WBR>ทัน<WBR>ที<WBR>จำ<WBR>เป็น<WBR>มาก จะ<WBR>ได้<WBR>แก้<WBR>ไข<WBR>ทัน<WBR>ท่วงที แต่<WBR>ต้อง<WBR>ใช้<WBR>เหตุ<WBR>ผล อย่า<WBR>ใช้<WBR>อารมณ์ และ<WBR>เมื่อ<WBR>เห็น<WBR>ลูก<WBR>ทำ<WBR>ดี ก็<WBR>ชม<WBR>เพื่อ<WBR>ให้<WBR>เกิด<WBR>กำลัง<WBR>ใจ
    5. ต้อง<WBR>ฝึก<WBR>ให้<WBR>ลูก<WBR>ทำ<WBR>งาน<WBR>ตั้ง<WBR>แต่<WBR>เล็ก การ<WBR>ปล่อย<WBR>ให้<WBR>เด็ก<WBR>อยู่<WBR>อย่าง<WBR>สบาย<WBR>เกิน<WBR>ไป ทุก<WBR>อย่าง<WBR>มี<WBR>คน<WBR>รับ<WBR>ใช้ มี<WBR>เวลา<WBR>ว่าง<WBR>มาก<WBR>เกิน<WBR>ไป จะ<WBR>กลับ<WBR>เป็น<WBR>ผล<WBR>เสีย<WBR>ต่อ<WBR>เด็ก โต<WBR>ขึ้น<WBR>จะ<WBR>ช่วย<WBR>ตัว<WBR>เอง<WBR>ไม่<WBR>ได้
    6. การ<WBR>เลี้ยง<WBR>ลูก<WBR>ให้<WBR>แต่<WBR>ปัจจัย 4 ยัง<WBR>ไม่<WBR>พอ จะ<WBR>ต้อง<WBR>ให้<WBR>ธรรมะ<WBR>แก่<WBR>ลูก<WBR>ด้วย
    อานิสงส์<WBR>การ<WBR>เลี้ยง<WBR>ดู<WBR>บุตร
    1. พ่อ<WBR>แม่<WBR>จะ<WBR>ได้<WBR>ความ<WBR>ปี<WBR>ติ<WBR>ภาค<WBR>ภูมิ<WBR>ใจ<WBR>เป็นเครื่องตอบ<WBR>แทน
    2. ครอบ<WBR>ครัว<WBR>จะ<WBR>สงบ<WBR>ร่ม<WBR>เย็น<WBR>เป็น<WBR>สุข
    3. ประเทศ<WBR>ชาติ<WBR>จะ<WBR>มี<WBR>คน<WBR>ดี<WBR>ไว้<WBR>ใช้
    4. เป็น<WBR>ต้น<WBR>แบบ<WBR>ที่<WBR>ดี<WBR>งาม<WBR>ของ<WBR>สังคม<WBR>สืบ<WBR>ไป<WBR>ตลอด<WBR>กาล<WBR>นาน
    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2011
  14. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    มงคลที่ 13 ภรรยา(สามี)

    ความหมายของสามี-ภรรยา
    1. สามี แปลว่า ผู้เลี้ยง; ผัว
    2. ภรรยา แปลว่า ผู้ควรเลี้ยง; เมีย

    ประเภทของภรรยา
    1. วธกาภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพชฆาต คือภรรยาที่มีใจคิดล้างผลาญสามี
    พยายามฆ่าสามี ยินดีในชายอื่น ตบตี แช่งด่าสามี
    2. โจรีภริยา ภรรยาเสมอด้วยโจร คือภรรยาที่ชอบล้างผลาญทรัพย์สามี
    ใช้ไม่เป็นบ้าง ยักยอกทรัพย์เพื่อความสุขส่วนตัวบ้าง สร้างหนี้สินให้ตามใช้บ้าง
    3. อัยยาภริยา ภรรยาเสมอด้วยนาย คือภรรยาที่ชอบล้างผลาญศักดิ์ศรีสามี
    ไม่สนใจช่วยการงาน เกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย กล่าวคำหยาบ ชอบขมขี่สามีซึ่งขยันขันแข็ง
    4. ภคินีภริยา ภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือภรรยาที่เคารพสามี มีความรักยั่งยืน
    แต่มีขัดใจกันบ้าง ทั้งซน ทั้งงอน ทั้งขี้ยั่ว ทั้งขี้แย ต้องทั้งขู่ทั้งปลอบ แต่ก็ซื่อสัตย์กับสามี
    5. สขีภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพื่อน คือภรรยาที่มีรสนิยม
    มีความชอบเหมือนสามี ถูกคอกัน เป็นคนมีศีลธรรม มีความประพฤติดี แต่อาจมีความทะนงตัว
    โดยถือว่าเสมอกัน
    6. ทาสีภริยา ภรรยาเสมอด้วยคนใช้ คือภรรยาที่ทำตัวเหมือนคนใช้
    อยู่ในอำนาจของสามี

    จะดูว่าใครเป็นสามี-ภรรยาชนิดไหน
    ต้องดูหลังจากแต่งงานแล้วสักระยะหนึ่งจึงจะชัด

    การแต่งงานมีสองระยะ
    - ระยะแต่ง คือก่อนเป็นสามีภรรยากัน ต่างคนต่างแต่ง ทั้งแต่งตัว
    แต่งท่าทางอวดคุณสมบัติให้อีกฝ่ายหนึ่งได้เห็น
    - ระยะงาน คือหลังจากเห็นสามีภรรยากันแล้ว ต่างคนต่างต้องทำงานตามหน้าที่
    ใครมีข้อดีข้อเสีย มีความรู้ความสามารถ มีความประพฤติอย่างไรก็จะปรากฏชัดออกมา

    คุณสมบัติของคู่สร้างคู่สม
    พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้สามีภรรยาครองชีวิตกันยืนยาว มีความสุข
    คือคู่สามีภรรยาต้องมีสมชีวิธรรม
    1. สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกัน ได้แก่ มีหลักการ มีความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา
    มีเป้าหมายชีวิตเหมือนกัน
    2. สมสีลา มีศีลเสมอกัน ได้แก่ ความประพฤติศีลธรรมจรรยา กิริยา มารยาท
    อบรมมาดีเสมอกัน
    3. สมจาคา มีจาคะเสมอกัน ได้แก่ มีนิสัยเสียสละชอบช่วยเหลือไม่เห็นแก่ตัว
    ใจกว้างเสมอกัน
    4. สมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน ได้แก่ มีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ดื้อด้านดันทุรัง
    เข้าใจกัน เห็นอกเห็นใจกัน พูดกันรู้เรื่อง

    วิธีทำให้ความรักยั่งยื่น
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องมงคลสมรสไว้สั้นๆ ้เพียงคำเดียวว่า

    สังคหะ แปลว่าสงเคราะห์กัน และให้ปฏิบัติตามสังคหวัตถุ 4
    เพื่อเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกันดังนี้
    1. ทาน การให้ปันแก่กัน
    2. ปิยวาจา พูดกันด้วยวาจาไพเราะ
    3. อัตถจริยา ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์
    4. สมานัตตตา วางตัวให้เหมาะสมกับที่ตัวเป็น

    โดยสรุป คือปฏิบัติ
    ตามหลักทาน การให้ปันสิ่งของ
    รักษาศีล เพื่อให้มีคำพูดไพเราะ
    และเพื่ออุดข้อบกพร่องของตน จะได้เป็นคนมีประโยชน์
    เจริญภาวนา คือการฟังธรรมและการมีสมาธิ
    เพื่อให้ใจผ่องใสเกิดปัญญา จะได้วางตัวเหมาะสมกับที่ตัวเป็น

    หน้าที่ของสามีที่มีต่อภรรยา
    1. ยกย่องให้เกียรติ
    2. ไม่ดูหมิ่น
    3. ไม่นอกใจ
    4. มอบความเป็นใหญ่ให้
    5. ให้เครื่องแต่งตัว

    หน้าที่ของภรรยาต่อสามี
    1. จัดการงานดี
    2. สงเคราะห์ญาติข้างสามี
    3. ไม่นอกใจ
    4. รักษาทรัพย์ให้ดี
    5. ขยันทำงาน

    โอวาทวันแต่งงาน
    เป็นโอวาทปริศนาที่ธนัญชัยเศรษฐี ผู้เป็นบิดานางวิสาขาให้แก่นางในวันแต่งงาน มีดังนี้
    1. ไฟในอย่านำออก หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหา ความร้อนใจต่างๆ ในครอบครัว
    ไปเปิดเผยแก่คนทั่วไปภายนอก
    2. ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหาต่างๆ ภายนอก
    ที่ร้อนใจเข้ามาในครอบครัว
    3. ให้แก่ผู้ให้ หมายถึงผู้ใดทีเราให้ความช่วยเหลือ ให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว
    เมื่อถึงกำหนดก็นำมาส่งคืนตามกำหนดเวลา เมื่อเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ
    หากไม่เกินความสามารถของเขา เขาก็ยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มใจ
    บุคคลเช่นนี้ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีกก็ให้ช่วย
    4. ให้แก่ผู้ไม่ให้ หมายถึงผู้ใดทีเราให้ความช่วยเหลือ ให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว
    ไม่ส่งคืนตามกำหนดเวลา เมื่อเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ
    แม้ไม่เกินความสามารถของเขา และเป็นเรื่องถูกศีลธรรม เขาก็ไม่ยอมช่วย
    คนเช่นนี้ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก อย่าช่วย
    5. ให้ไม่ให้ก็ให้ หมายถึง ถ้าญาติพี่น้องเราที่ตกระกำลำบากมาขอความช่วยเหลือ
    แม้บางครั้งไม่ส่งของที่หยิบยืมตามเวลา ภายหลังเขามาขอความช่วยเหลืออีกก็ให้ช่วย
    เพราะถึงอย่างไรก็เป็นญาติพี่น้องกัน
    6. กินให้เป็นสุข หมายถึง ให้จัดการเรื่องอาหารการกินให้ดี
    ปรนนิบัติพ่อแม่ของสามีในเรื่องอาหารอย่าให้บกพร่อง
    7. นั่งให้เป็นสุข หมายถึง รู้จักที่ต่ำที่สูง เวลานั่งก็ไม่นั่งสูงกว่าพ่อแม่ของสามี
    8. นอนให้เป็นสุข หมายถึง ดูแลเรื่องที่หลับที่นอนให้ดี และยึดหลักตื่นก่อนนอนที่หลัง
    ก่อนนอนก็จัดการธุระการงานให้เรียบร้อยเสียก่อน จะได้นอนอย่างมีความสุข
    9. บูชาไฟ หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามี
    หรือตัวสามีเองกำลังโกรธเปรียบเสมือนไฟกำลังลุก ถ้าดุด่าอะไรเรา
    ก้ให้นิ่งเสียอย่าไปต่อล้อต่อเถียงด้วย คอยหาโอกาสมื่อท่านหายโกรธ
    แล้วจึงค่อยชี้แจงเหตุผลให้ฟังอย่างนุ่มนวลดีกว่า
    10. บูชาเทวดา หมายถึง เวลาที่พ่อแม่สามี หรือตัวสามีเองทำความดี
    ก็พยายามส่งเสริมสนับสนุน พูดให้กำลังใจให้ความดียิ่งๆ ขึ้นไป

    อานิสงส์การสงเคราะห์ภรรยา(สามี)
    1. ทำให้ความรักยืนยง
    2. ทำให้สมานสามัคคีกัน
    3. ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข
    4. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
    5. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
    ฯลฯ
     
  15. yu_hongthong

    yu_hongthong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +104
    อนุโมทนาบุญ นะคะ ขอขอบพระคุณมากนะคะ สำหรับความกรุณา แนะนำ สิ่งดีๆ คะ กิเลสดับด้วยตนเอง แล้วแต่ว่าเราจะเลือก ประพฤติ ปฎิบัติ ไปทางใหน สำหรับตัวเอง ตอนนี้ เรื่องกิเลส ยังคงมี เพราะความอยาก ทุกอย่าง มันคือ กิเลสทั้งนั้น
     
  16. yu_hongthong

    yu_hongthong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +104
    ระยะเวลาที่ผ่านไป นั่นก็คืออดีต วันนี้คือปัจจุบัน วันนี้ คือวันที่อยากจะบอกกับ ทุกท่านว่า สบายใจขึ้นเยอะค่ะ ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิบ้าง ทำเป็นกิจวัตร กำลังใจ เริ่มหาสะเบียงแล้วคะ สะสมไปเรื่อยๆ ใช่ไหมคะ ทำวันนี้ให้ดีที่สุดขอแค่วันนี้ มีความสุข และ สบายใจ ก็เพียงพอแล้ว
    อย่าตำหนิกรรมของคนอื่น แล้วการที่เราพูดถึงกรรมของคนอื่น ก็เป็นบาปเหลอค่ะ ถ้ามีใครผ่านมาทางนี้ ขอคำแนะนำด้วยคะ
     
  17. ทิพยสถานธรรม

    ทิพยสถานธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +249
    (admin2/จิตอาสาจากทิพยสถานธรรมค่ะ) ดีใจด้วยนะคะที่คุณ yu_hongthong เจอกับความทุกข์(แล้วทุกข์นั้นได้ให้สิ่งที่ดีดีกับชีวิต) ที่ใดมีทุกข์ ที่นั่นมีธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั่นเห็นเราตถาคต.. ดีที่ได้กลับมาฟังเสียงหัวใจตัวเอง ดีที่ได้กลับมาดูจิต ไดีที่ด้พูดคุยธรรมะ ดีที่ได้กัลยาณมิตร ได้ทำสมาธิ ได้สวดมนต์ ได้ความสุขและความสบายใจอย่างที่คุณบอกและอีกหลายๆอย่างที่ยังไม่ได้เขียนมา ลองหลับตานึกถึงสิ่งดีดีที่คุณได้มาดูอีกสักหลายๆครั้งนะคะ(ทุกครั้งที่เรานึกถึงสิ่งดีดี เราจะมีความสุข) เราก็จะพบว่าสุดท้ายทุกข์หรือสุขเราเป็นคนเลือกเองค่ะว่าจะเก็บอันไหนไว้กับตัว ไม่มีใครทำให้เราทุกข์ได้เลยจริงๆนะคะ มีแต่เราเอาตัวเองเข้าไปยึดว่านั่นเรา ว่าของเรา เมื่อได้สิ่งที่ไม่อยากได้ หรือไม่ได้สิ่งที่อยากได้ เราก็กลับทุกข์ หรือหากจะโยนความผิดให้ใครสักคนก็ลองคิดดูเถิดค่ะว่าสุดท้ายแล้วเขากระทำสิ่งที่เราไม่ชอบใจก็เพียงเรื่องเดียว ครั้งเดียว แต่ทำไมเราถึงเจ็บได้มากมาย หลายครั้งและทุกครั้งที่คิด(ตกลงว่าใครกันแน่ที่่ทำร้ายจิตใจเรานะ่??) นับว่าคุ้มมากๆๆๆ อนุโมทนาบุญกับความคิดดีของคุณด้วยค่ะ
     
  18. tanaong2011

    tanaong2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    6,205
    ค่าพลัง:
    +7,392
    คุณยุเหมือนกับคนที่ไม่เคยกินเหล้า
    พอโดนจัดหนัก แบบเพียวๆครึ่งขวด

    ถึงกับไปไม่เป็น ทั้งอาเจียร ทั้งปวดหัว
    ทรมานมาก และต้องใช้เวลากว่าที่จะหายเมา

    ตอนนี้คุณยุกำลังใช้เวลาที่จะสร่างเมาอยู่
    ความจริงความทุกข์อันแสนเข็ญนี้
    มันไม่ได้อยู่กับคุณยุทุกลมหายใจหรอก

    คุณยุสังเกตุดูซิ ขณะที่คุณยุอ่านคอมเม้นท์อยู่นี้
    คุณยุไม่ได้คิดถึงเรื่องวันนั้น วินาทีนั้นเลย

    คุณยุจอจ่ออยู่ที่คำตอบว่า จะให้คำแนะนำอย่างไร
    ............
    .
    ..
    .
    .

    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    ....

    .
    ....
    .
    .





    .

    .
    .
    .
    .
    .
    แต่เมื่อใดที่แวปไปคิดเรื่องนั้น
    หรือนึกถึงหน้าสามี คุณยุก็จะเมาทุกข์อีกครั้งหนึ่ง


    ความทุกข์ที่เกิดมันก็อยู่ที่คุณยุคิด

    พอคิดนิดนึง คุณยุก็ปรุงแต่ง
    แล้วก็มีคำถามว่าทำไม ๆๆๆๆๆ

    ถ้าตัดทำไมออก ที่เหลือก็คือคำตอบ

    คำแนะนำเบื้องต้นตอนนี้ นะครับ
    เมื่อใดที่คิดแวบบบบ ขึ้นมา
    ให้บอกกับตัวเองช้าๆว่า ไม่ปรุงแต่ง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ
    นับไปให้ครบ 20 ครั้ง ห้ามขาดห้ามเกิน
    (ขณะที่ท่องก็หายใจยาวๆให้สุดปอด)

    ถ้าไม่ครบหรือไม่รู้ว่านับไปถึงไหน
    ให้เริ่มนับหนึ่งใหม่ ......

    เมื่อได้สติและนิ่งบ่อยๆแบบนี้ ต่อไปก็
    ไปต่อยอดทางสมาธิ และวิปัสนาต่อไป
    ขอจงมีความอภัยทานในจิตใจ และจงมีความสุขความเจริญ
     
  19. yu_hongthong

    yu_hongthong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +104
    ขอบคุณมากคะ คุณอ๋อง
     
  20. ปรมินทร์29

    ปรมินทร์29 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +156
    ปัญหาของคุณ ยุ ไม่ต่างจากดิฉันเท่าไร แต่สามีดิฉันไม่ได้นอกใจหรือทำอะไรไม่ดี
    แต่สามีของดิฉันเขาชอบกินเหล้า ชอบเพื่อน อะไรก็ตามขอให้เพื่อนได้กินก่อน
    หรือทำให้เพื่อนถูกใจก่อนเป็นพอ ไม่ว่าแม่หรือภรรยาจะเป็นอย่างไรก็ตาม พอเพื่อน
    กลับไปหมดแล้วค่อยหันมาหาครอบครัว ดิฉันแต่งงานกับเขามา เขาไม่ค่อยมีอะไร
    พูดให้ฟัง ไม่เคยเล่า แม้จะทุกข์ จะสุขแค่ไหน มีเงินไม่มีเงิน อะไรก็ตามแต่คือไม่
    เขาทำอะไรคือไม่ทุกอย่าง จนบางครั้งดิฉันคิดว่า เราเป็นเมียเขาหรือเปล่า หรือเขา
    กลัวว่าเราจะเอาอะไรจากเขาไป หรือไม่ไว้ใจ คิดไปต่างๆ นาๆ มันเหนื่อย และน้อยใจมาก บางครั้งก็ต้องนั่งร้องให้เป็นทุกข์ ไม่เคยมีความสุข จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่
    เพราะก็มีทั้งสุข และทุกข์ปะปนกันไป สามีก็เป็นคนดีคนหนึ่งเหมืนอนกัน ไม่ใช่
    เขาจะไม่ดี เขามีความรักที่มอบให้ ไม่เคยต้องทุกข์หรือลำบาก เขาจุนเจือช่วยเหลือ
    ไม่เคยขาด ทุกวันนี้ดิฉันก็พยายามทำใจ ไม่คิดมาก หันหน้าเข้าหาธรรมะช่วยขัดเกลาจิตใจให้ดีขึ้น ซึ่งปัญหาของครับครัวแต่ละครอบครัวต่างกัน ดิฉันเจอมามาก
    ไม่ใช่เรื่องนี้แค่เรื่องดี เรื่องไม่ดีอีกเยอะ แต่ไม่อยากเล่า อีกอย่างคงเป็นเวรกรรม
    ที่ดิฉันกับเขาได้ทำร่วมกันด้วย จึงต้องมาเจอแบบนี้ ไม่ข่อยเข้าใจกัน พูดกันมา
    แต่ละทีต้องทะเลาะกัน แต่ก็กลับมารักและเห็นใจกันเหมือนเดิม ทุกวันนี้มีลุกแล้ว
    ก็ทำให้เรามีจิตยึดเหนี่ยว คือลูก ไม่ใช่เรามีแค่เราคนเดียว แต่เมื่อมาคิดทบทวน
    หากเราไม่มีเขา เราก็มีลุก และที่สำคัญมีแม่ที่รอเราอยู่ คิดหวังดีกับเราเสมอ ดิฉันพยายามคิดแบบนี้ ก็ทำให้ดีขึ้น และบางเบาความทุกข์ลงได้ และสวดมนต์เป็นประจำ
    หากทะเลาะกับสามี ก็จะท่องคำว่า พุธ โท เราจะสงบมากเลยค่ะ ปกติดิฉันจะเป็นคนที่ว่าดื้อเลยก็ว่าได้ แบบเถียงหัวชนฝากเลย คุณไม่หยุดฉันก็ไม่หยุด แต่ทุกวันนี้ดิฉันจะเป็นคนหยุด และไม่เถียงกลับ แต่ก็มีบางครั้งที่เสียใจมากๆ ต้องนั่งร้องให้อยู่เป็นนาน
    และจะกล่าวกับพระพุทธ พระธรรมเสมอว่า ดิฉันขอร้องให้ให้หนำใจก่อนนะค่ะ มันอัดอั้น จากนั้นก็จะกลับสุ่ภาวะปกติ คือไม่เถียงไม่ว่า ไม่อะไรเลย สบายใจ ดิฉันก็ไม่ค่อยมีคำแนะนำอะไรให้มากมาย เพราะตัวเองก็ยังไม่ไปถึงไหน แต่ก็ปฏิบัติเรื่อยมา
    มีคำว่า ทาน ศิล ภาวะนา ให้กับตัวเอง แค่นี้ก็สบายใจค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...