พระไตรสรณาคมน์และสมาธิวิธีี

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 13 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]



    หนังสือพระไตรสรณาคมน์และสมาธิวิธีี

    คำปรารภของพระญาณวิศิษฏ์
    ในการพิมพ์หนังสือพระไตรสรณาคมน์และสมาธิวิธี


    หนังสือพระไตรสรณาคมน์นี้ เป็นวิธีประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะด้วย ทั้งได้ใช้เป็นวิธีไหว้พระทุกวันด้วย ตามระเบียบธรรมเนียมของพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลก็มีพระบาลีแสดงให้ปรากฏอยู่แล้วว่า บรรดาประชาชนทั้งหลายผู้มีศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส ได้ตั้งตนเป็นพุทธบริษัทมาแล้ว ล้วนแต่ได้ประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์ทั้งนั้น อุทาหรณ์ข้อนี้พึงเห็นมารดา บิดาแห่งยสกุลบุตร แลสิงคาลกมาณพเป็นตัวอย่าง วิธีปฏิญาณตนถึงสรณะนี้ ดูเหมือนขาดคราว ไม่ได้ใช้ทำกันมานาน จนพวกอุบาสกอุบาสิกา กลายเป็นมิจฉาทิฎฐิ ถือผิดเป็นชอบคือ นับถือภูตผีปีศาจ นับถือเทวดาอารักษ์หลักคุณกันไปหมด ผู้ที่จะตั้งใจนับถือพระไตรสรณาคมน์จริงๆ ไม่ใคร่มีเลย ถึงแม้มีก็น้อยที่สุด จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าปรารภถึงพระพุทธศาสนาบ่อยๆ แลได้ช่วยแนะนำสั่งสอนให้ประชาชนพลเมืองทั้งหลาย ได้ประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะก็มากมายหลายคนแล้ว แต่ยังไม่มีหนังสือแจกจึงได้พิมพ์หนังสือ
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325

    [​IMG]


    พระไตรสรณาคมน์

    วิธีปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์เป็นพุทธมามกะ คือ เป็นอุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนาตลอดชีพ คำปฏิญาณตนถึงสรณะ เมื่อน้อมตนเข้ามานั่งเฉพาะหน้าพระสงฆ์ทั้งปวงแล้ว ถวายเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น

    กราบ ๓ หน

    นั่งคุกเข่าประณมมือ เปล่งวาจาว่า

    อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา , พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ. (กราบ ๑ หน)

    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม , ธมฺมํ นมสฺสามิ. (กราบ ๑ หน)
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ , สงฺฆํ นมามิ. (กราบ ๑ หน)
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ จบ)

    ว่าองค์พระไตรสรณาคมน์
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ.
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.

    ปฏิญาณตนว่า

    เอสาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.

    อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
    ทุติยมฺปาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.

    อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
    ตติยมฺปาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.

    อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
    แปลว่า

    ข้าพเจ้า ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรม และพระอริยสงฆ์สาวก ว่าเป็นสรณะที่พึ่ง ที่ระลึก ที่นับถือของข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าสิ้นชีวิต ขอพระสงฆ์ทั้งปวงจงทรงจำไว้ ซึ่งข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก (อุบาสิกา) ในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้แลฯ

    เจริญพุทธคุณ

    อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
    วิชชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
    อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ.
    (กราบลง หมอบอยู่ว่า)
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา
    พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ
    พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ
    กาลนฺตเร สํวริตุ ํ ว พุทฺเธ.

    (เงยขึ้น)

    เจริญธรรมคุณ

    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
    สนฺทิฎฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก
    โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ.
    (กราบลง หมอบอยู่ว่า)
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา
    ธมฺเม กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ

    ธมฺโม ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ,กาลนฺตเร สํวริตุ ํ ว ธมฺเม.

    (เงยขึ้น)

    เจริญสังฆคุณ

    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฎฺฐปุริสปุคฺคลา
    เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
    อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย
    อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ.
    (กราบลง หมอบอยู่ว่า)
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา
    สงฺเฆ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ
    สงฺโฆ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ

    กาลนฺตเร สํวริตุ ํ ว สงฺเฆ.

    (เงยขึ้น กราบ ๓ หน)

    นั่งพับเพียบ ประณมมือ ฟังคำสั่งสอนในระเบียบ วิธีรักษาและปฏิบัติพระไตรสรณคมน์ต่อไป

    ผู้ที่ได้ปฏิญาณตนถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วชื่อว่าเป็นพุทธบริษัท ชายเป็นอุบาสก หญิงเป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325

    [​IMG]

    วิธีรักษาพระไตรสรณคมน์ไม่ให้ขาดและไม่ให้เศร้าหมอง ดังนี้คือ :-

    ๑. เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเคารพ ๖ ประการ คือ เคารพในพระพุทธเจ้า ๑ เคารพในพระธรรม ๑ เคารพในพระอริยสงฆ์สาวก ๑ เคารพในความไม่ประมาท ๑ เคารพในไตรสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๑ เคารพในปฏิสันถารการต้อนรับ ๑ ต้องเป็นผู้มีความเชื่อ ความเลื่อมใส นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกของตนจริงๆ ถ้าประมาทเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ฯ

    ๒. เว้นจากการนับถือพระภูมิต่างๆ คือ ไม่นับถือภูตผีปีศาจ พระภูมิเจ้าที่ เทวบุตร เทวดา มนต์ คาถา วิชาต่างๆ ต่อไป ถ้านับถือเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ฯ

    ๓. ไม่เข้ารีตเดียรถีย์ นิครณฐ์ คือไม่นับถือลัทธิ วิธี ศาสนาอื่น ภายนอกพระพุทธ ศาสนามาเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกของตนสืบต่อไป ถ้านับถือเข้ารีตเดียรถีย์เมื่อไร ก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ฯ

    ๔.ไม่นับถือลัทธิศาสนาพราหมณ์ คือไม่ดูไม้ดูหมอ แต่งแก้แต่งบูชา เสียเคราะห์เสีย ขวัญเป็นต้น ถ้านับถือเมื่อไรก็เศร้าหมองในคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ฯ

    ๕. เป็นผู้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เช่น เชื่อว่า ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีได้ดีเป็นต้น ตลอดจน เชื่อความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ข้อนี้ต้องเป็นผู้มี สมาธิเสมอ ถ้าขาดสมาธิเมื่อไรก็ขาดศรัทธาความเชื่อเมื่อนั้น ถ้าขาดศรัทธาความเชื่อเมื่อ ไรก็เศร้าหมองในคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ฯ

    วิธีปฏิบัติพระไตรสรณคมน์

    ท่านสอนให้ปฏิบัติใจของตนเอง เพราะคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามนี้สำเร็จด้วยใจ ล้วนเป็นคุณสมบัติของใจทั้งนั้น ท่านจึงสอนให้ปฏิบัติใจของตนเองให้เป็นคนหมั่น คนขยัน ไหว้พระทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน
    ปฐมํ ยามํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธติ
    เวลาก่อนเข้านอน ตอนหัวค่ำให้เดินจงกรม แล้วทำพิธีไหว้พระ เจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำให้จิตสงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิก่อนเข้านอน
    อฑฺฒรตฺตํ จงฺกมาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธติ

    เวลาเที่ยงคืน นอนตื่นขึ้นเป็นเวลาที่สงบสงัดดี ให้เดินจงกรม ทำพิธีไหว้พระเจริญพรหมวิหารนั่งสมาธิภาวนา ทำจิตใจให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ จึงนอนต่อไปอีก

    ปจฺฉิมํ ยามํ จงฺกมาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธติ ฯ

    เวลาปัจจุสมัย จวนใกล้รุ่ง ให้ลุกขึ้นแต่เช้า ล้างหน้า เช็ดหน้าเรียบร้อยแล้ว ทำพิธีไหว้พระเจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ แล้วเดินจงกรมต่อไปอีกจนแจ้ง เป็นวันใหม่ จึงประกอบการงานต่อไป
     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325

    [​IMG]

    สมาธิวิธี
    พระญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)


    ๑. นั่งสมาธิวิธี

    ให้นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาวางทับมือซ้าย
    อุชุ ํ กายํ ปณิธาย ตั้งกายให้ตรง คือ ไม่ให้เอียงไปข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง และอย่าก้มนักเช่นอย่างหอยนาหน้าต่ำ อย่าเงยนักเช่นอย่างนกกระแต้ (นกกระต้อยตีวิด) นอนหงายพึงดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง อุชุ ํ จิตฺตํ ปณิธาย ตั้งจิตให้ตรงคืออย่าส่งใจไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และอย่าส่งใจไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา พึงกำหนดรวมเข้าไว้ในจิตฯ

    ๒. วิธีสำรวมจิตในสมาธิ

    มนสา สํวโร สาธุ สำรวมจิตให้ดี คือ ให้นึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรม อยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ นึกอยู่อย่างนี้จนใจตกลงเห็นว่า อยู่ที่ใจจริงๆ แล้ว ทอดธุระเครื่องกังวลลงได้ว่า ไม่ต้องกังวลอะไรอื่นอีก จะกำหนดเฉพาะที่ใจแห่งเดียวเท่านั้น จึงตั้งสติกำหนดใจนั้นไว้ นึกคำบริกรรมรวมใจเข้าฯ

    ๓. วิธีนึกคำบริกรรม

    ให้ตรวจดูจิตเสียก่อน ว่าจิตคิดอยู่ในอารมณ์อะไร ในอารมณ์อันนั้นเป็นอารมณ์ที่น่ารัก หรือน่าชัง เมื่อติดใจในอารมณ์ที่น่ารัก พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความรัก เมื่อติดในอารมณ์ที่น่าชัง พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความชัง ไม่ตั้งเที่ยง พึงกำหนดส่วนทั้งสองนั้นให้เป็นคู่กันเข้าไว้ที่ตรงหน้าซ้ายขวา แล้วตั้งสติกำหนดใจตั้งไว้ในระหว่างกลาง ทำความรู้เท่าส่วนทั้งสอง เปรียบอย่างถนนสามแยกออกจากจิตตรงหน้าอก ระวังไม่ให้จิตแวะไปตามทางเส้นซ้าย เส้นขวา ให้เดินตรงตามเส้นกลาง แต่ระวังไม่ให้ไปข้างหน้า ให้กำหนดเฉพาะจิตอยู่กับที่นั่นก่อน แล้วนึกคำบริกรรม ที่เลือกไว้จำเพาะพอเหมาะกับใจคำใดคำหนึ่งเป็นต้นว่า
     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325

    [​IMG]

    ๙. วิธีแก้นิมิต
    มีวิธีที่จะแก้นิมิตได้เป็น ๓ อย่างคือ

    วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย คือ พึงตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้ให้มั่นคง ทำความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิ แม้มีนิมิตอะไรๆ มาปรากฏ หรือรู้เห็นเป็นจริงในจิตอย่างไร ไม่ต้องหวั่นไหวไป ตาม คือ ไม่ต้องส่งจิตคิดไป จะเป็นความคิดผิด ที่เรียกว่า จิตวิปลาส แปลว่า ความคิดเคลื่อนคลาด แปลกประหลาดจากความจริง นิ่งอยู่ในสมาธิไม่ได้ ให้บังเกิดเป็นสัญญา ความสำคัญผิดที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส แปลว่า หมายมั่นไปตามนิมิต เคลื่อนคลาดจากจิตผู้เป็นจริงทั้งนั้น จนบังเกิดถือทิฎฐิมานะขึ้นที่เรียกว่า ทิฎฐิวิปลาส แปลว่า ความเห็นเคลื่อนคลาดจากความเป็นจริง คือเห็นไปหน้าเดียว ไม่แลเหลียวดูให้รู้เท่าส่วนในส่วนนอก ชื่อว่าไม่รอบคอบ เป็นจิตลำเอียง ไม่เที่ยงตรง

    เมื่อรู้เช่นนี้จึงไม่ควรส่งจิตไปตาม เมื่อไม่ส่งจิตไปตามนิมิตเช่นนั้นแล้ว ก็ให้คอยระวัง ไม่ให้จิตเป็นตัณหาเกิดขึ้น คือไม่ให้จิตดิ้นรนยินดี อยากเห็นนิมิตนั้น แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นก็ดี หรือยินร้ายอยากให้นิมิตนั้นหายไปก็ดี หรือแม้ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ซึ่งนิมิตที่น่ากลัวก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ เรียกว่า ตัณหา ถ้าเกิดมีในจิต แต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็ให้รีบระงับดับเสีย คือถอนความอยาก และความไม่อยากนั้นออกเสีย เมื่อนิมิตมีมา ก็อย่ายินดี เมื่อนิมิตหายไป ก็อย่ายินร้าย หรือเมื่อนิมิตที่น่ากลัวมีมาก็อย่าทำความกลัว และอย่าทำความคดโกง อยากให้หายไปก็ไม่ว่า ไม่อยากให้หายไปก็ไม่ว่า อยากเห็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเห็นก็ไม่ว่า ให้เป็น สันทิฏฐิโก คือเห็นเอง อยากรู้ก็ไม่ว่า ไม่อยากรู้ก็ไม่ว่า ให้เป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ตั้งจิตไว้เป็นกลางๆ แล้วพึงทำความรู้เท่าอยู่ว่า อันนี้เป็นส่วนจิต อันนั้นเป็นส่วนนิมิต แยกส่วนแบ่งส่วน ตั้งไว้เป็นคนละอัน รักษาเอาแต่จิต กำหนดให้ตั้งอยู่ เป็นฐีติธรรมเที่ยงแน่ว ทำความรู้เท่าจิตและนิมิตทั้งสองเงื่อน รักษาไม่ให้สติเคลื่อนคลาดจากจิต ทั้งไม่ให้เผลอสติได้เป็นดี สติมา ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ถอนอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้แล้ว ก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย เมื่อประกอบข้อปฏิบัติอันนี้อยู่อย่างนี้ สติก็ตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่นประชุมกันเป็นสมาธิดังนี้ เรียกว่า ญาตปริญญา แปลว่า รู้เท่าอารมณ์ฯ

    วิธีที่ ๒ ตรวจค้นปฏิภาคนิมิต คือ เมื่อเห็นว่าจิตมีกำลังประชุมกันอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนาดีแล้ว พึงฝึกหัดปฏิภาคนิมิตให้ชำนาญ คือ เมื่อเห็นรูปนิมิตมาปรากฏในตาในจิต เห็นเป็นรูปคน เด็กเล็ก หญิงชาย หนุ่มน้อย บ่าวสาว หรือแก่เฒ่าชราประการใดประการหนึ่งก็ตาม แสดงอาการแลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิดตาเบือน อาการใดอาการหนึ่งก็ตาม ให้รีบพลิกจิตเข้ามา กลับตั้งสติ ผูกปัญหาหรือทำในใจก็ได้ว่า รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง จะแก่เฒ่าชราต่อ ไปหรือไม่ เมื่อนึกในใจกระนี้แล้วพึงหยุด และวางคำที่นึกนั้นเสีย กำหนดจิตพิจารณา นิ่งเฉยอยู่ จนกว่าจะตกลง และแลเห็นในใจว่า เฒ่าแก่ชราได้เป็นแท้ จึงรีบพิจารณาให้เห็นแก่เฒ่าชราหลังขดหลังโข สั่นทดๆ ไปในขณะปัจจุบันทันใจนั้น แล้วผูกปัญหา ถามดูทีว่า
     
  6. anitonyla

    anitonyla เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +106
    ๒. เว้นจากการนับถือพระภูมิต่างๆ คือ ไม่นับถือภูตผีปีศาจ พระภูมิเจ้าที่
    เทวบุตร เทวดา มนต์ คาถา วิชาต่างๆ ต่อไป ถ้านับถือเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ฯ

    ข้อนี้ หมายถึง ห้ามไหว้พระภูมิ เทวรูปต่างๆ รวมถึงห้ามตั้งศาลพระภูมิด้วยเปล่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...