เราสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้หรือไม่

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ukitake, 20 สิงหาคม 2011.

  1. ukitake

    ukitake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +140
    จากคนเดินดินธรรมดา สามารถเป้นพระโพธิสัตว์ได้มั้ยครับ

    และการจะเป็นพระโพธิสัตว์ ต้องทำอย่างไรบ้าง

    ผมชอบ ประโยคนี้มาก "หากสัตว์โลกยังมีความทุกข์ยากอยู่เราจะไม่ไปพบนิพพาน"

    ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
     
  2. THEFOOL23

    THEFOOL23 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +136
    ตั้งจิต อธิษฐาน ขอเป็น พระพุทธเจ้า เท่านั้นครับ ถึงจะเป็น พุทธภูมิ เป็น พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญเพียร สะสมสร้างบารมีทั้ง 10

    ถ้า ไม่ตั้งจิต อธิษฐาน ขอเป็น พระพุทธเจ้า ท่านจะอดเป็น พระโพธิสัตว์ ครับ

    หรือ ถ้าอธิษฐาน ขอเป็น พระพุทธเจ้า แล้ว แต่ขอลา พุทธภูมิ มาเป็น สาวกภูมิ ก็พาไปได้ตามกำลังที่สร้างมา

    แล้วอย่าไปตั้งจิต อธิษฐาน ขอบรรลุเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้า นะครับ

    แล้วถ้าไม่ตั้งจิตเลย ก็ ยังเวียนว่ายตายเกิด ไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดครับ เกิด ตาย เกิด ตาย ไปเรื่อยๆ ไร้จุดหมาย จะไปตามแรง กรรม ที่สร้างไว้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2011
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    จิตในการขอเป็นพระพุทธเจ้านั้นผมว่ามาทีหลังนะครับ....

    มันไม่ได้สำคัญที่คุณจะตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่....

    จุดสำคัญสิ่งแรกเลยว่าคุณลองสอบถามใจคุณเองแล้วกันว่าคุณจะทำเพื่อคนอื่น หวังให้คนอื่นมีความสุข หวังให้บุคคลอื่นได้พ้นจากทุกข์หรือไม่.....จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญที่สุดครับ....เป็นกำลังใจต้นตอแห่งความดีทั้งหลาย....และในขณะเดียวกันก็เป็นกำลังใจต้นตอแห่งพุทธภูมิ.....
     
  4. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    มีจิตปราถนาช่วยคนอื่นพ้นทุกข์ นับเป็นจิตที่สูงส่ง หาได้ยาก แต่จะผ่านไปได้หรือไม่ จงบำเพ็ญไปเรื่อยๆ หาหนังสืออ่านดูว่า ปณิธานของพระโพธิสัตว์มีอะไรบ้าง ไม่หมูนะ

    ขนาด ท่านพระอาจารย๋มั่น อาจารย์ของหลวงตาบัวมหาบัว แต่เดิมบำเพ็ญพระโพธิสัตว์ แต่ภายหลังยังเปลี่ยนเป็นแนวอรหันต์ เพราะมันยากมากและนานมาก ไม่เอาดีกว่า

    อย่าลืมว่า ผู้ที่บำเพ็ญพระโพธิสัตว์นั้น อนาคตคือเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดเวนัยสัตว์ ต้องสะสมบุญบารมีขนาดใหน
     
  5. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    เราสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้หรือไม่
    ...........................................................


    การเป็นพระโพธิสัตว์ต้องมีและต้องใช้ความเพียรมหาศาล
    ขอถามง่ายๆว่า----คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือพระไตรปิฎก 82000พระธรรมขันธ์ +อีก 2000 ของพระสาวก--------อ่านอย่างละเอียดจนจบหรือยัง
    นี่แหละความเพียรที่เริ่มต้นง่ายที่สุด
    ถ้ายังไม่ได้เพียรอ่านหรือชอบอ่านแบบฉบับย่ิอๆสั้นๆหรือแค่ฟังธรรมะจากคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง(แล้วสรุปว่า แค่นี้ ฉันรู้แล้ว)----ก็ไม่ต้องไปพูดถึงความเพียรมหาศาลที่สูงกว่านี้ให้เสียเวลา
     
  6. pitipornsn

    pitipornsn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +95
    ดีครับสาธุ ดีมากๆลองอ่านของหลวงฤษีลิงดำนะครับ ท่านบอกไวหมดแล้ว
     
  7. Nu_Bombam

    Nu_Bombam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,031
    ค่าพลัง:
    +4,916
  8. หลานศิษย์

    หลานศิษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2008
    โพสต์:
    191
    ค่าพลัง:
    +560
    ความคิดผมนะครับ
    จะเป็นหรือไม่เป็นพระโพธิสัตว์ ไม่สำคัญเลย
    นามเป็นสมมุติ
    จะเีรียกว่า ผู้แสวงหาธรรมก็ได้ แต่เป็นธรรมเพื่อนำไปสู่พระโพธิญาณ

    คุณธรรมที่อยู่ในใจเราต่างหากที่สำคัญ
     
  9. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ถ้าใจคุณเป็นโพธิสัตว์ คุณก็เป็นโพธิสัตว์... ความเป็นโพธิสัตว์ เริ่มต้นที่โพธิจิตครับ
     
  10. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระโพธิสัตว์จักต้องสำเร็จให้ธรรมอันเป็นคุณสมบัติ ๘ ประการ จึงสามารถดำเนินจริยาโปรดสัตว์ในสหโลกธาตุนี้ได้โดยมิแปดเปื้อนด้วยมลทินโทษ ก็คุณสมบัติ ๘ ประการนั้นเป็นไฉน ? คือ

    <O:p</O:p
    ๑. พระโพธิสัตว์จักต้องบำเพ็ญตนให้เป็นคุณประโยชน์ต่อปวงสัตว์โดยไม่ปรารถนารับผลตอบแทนจากสัตว์ทั้งหลายใด ๆ.
    <O:p</O:p
    ๒. พระโพธิสัตว์สามารถเสวยสรรพทุกข์แทนสรรพสัตว์ได้โดยมิย่นย่อท้อถอย.
    <O:p</O:p
    ๓. พระโพธิสัตว์สร้างคุณความดีไว้มีประมาณเท่าไรก็สามารถอุทิศให้แก่สัตว์ทั้งหลายได้ ไม่หวงแหนตระหนี่ไว้.
    <O:p</O:p
    ๔. พระโพธิสัตว์ตั้งจิตอยู่ในสมธรรมดันสม่ำเสมอในปวงสัตว์ ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง ถ่อมตนไว้ไม่ลำพองโดยปราศจากความข้องขัดใด ๆ.
    <O:p</O:p
    ๕. พระโพธิสัตว์เห็นพระโพธิสัตว์ทุก ๆ องค์ ปานประหนึ่งเห็นพระพุทธองค์ อนึ่ง พระสูตรใดที่ยังมิเคยได้สดับตรับฟัง ครั้นได้มีโอกาสสดับตรับฟังแล้ว ก็ไม่บังเกิดความคลางแคลงกังขาอย่างไรในพระสูตรนั้น ๆ
    <O:p</O:p
    ๖. พระโพธิสัตว์ไม่หันปฤษฎางค์ให้กับธรรมของพระอรหันตสาวก แต่สมัครสมานเข้ากันได้กับธาตุดังกล่าวนั้น
    <O:p</O:p
    ๗. พระโพธิสัตว์ ไม่เกิดความริษยาในลาภสักการะอันบังเกิดแก่ผู้อื่น แลไม่เกิดความหยิ่งทะนงในลาภสักการะอันบังเกิดแก่ตนเองสามารถควบคุมจิตของตนไว้ได้.
    <O:p</O:p
    ๘. พระโพธิสัตว์จักต้องหมั่นพิจารณาโทษของตนอยู่เป็นนิตย์ไม่เที่ยวเพ่งโทษ โพนทะนาโทษของผู้อื่น ตั้งจิตมั่นคงเด็ดเดี่ยวในการสร้างบารมี.<O:p</O:p

    นี้แล ชื่อว่าธรรมอันเป็นคุณสมบัติ ๘ ประการของพระโพธิสัตว์


    จาก วิมลเกียรตินิทเทสสูตร (ยุ่ย ม่อ เคียก ซอ ส้วย เก็ง) นับว่าเป็นพระสูตรสำคัญยิ่งสูตรหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องด้วยพระสูตรนี้ได้รวบรวมสารัตถะของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานไว้ ทั้งด้านปรมัตถธรรมและสมมติธรรม


    เสถียร โพธินันทะ
    ๑๐มิถุนายน๒๕๐๖<O:p</O:p
     
  11. ukitake

    ukitake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +140
    แล้วคนที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ได้นี้ ต้องสำเร็จบารมรทั้ง30ทัศ หรือว่า เพียง10ทัศก็เป็นได้แล้ว????????
     
  12. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    เป็นพระโพธิสัตว์ก็ต้องใช้ใจล้วนๆ คำนึงถึงสาธารณประโยชน์ตลอดเวลา เกิด
    บ่อยตายแล้วเกิดเลย ผ่านพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ กำลังใจต้องหนักแน่น
    จริงๆ ลืมเรื่องความสุขสบายได้เลย การบำเพ็ญบารมีอย่างยาวนานเพื่อโปรด
    คนได้หลายๆ ประเภท
     
  13. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    ..
    ......
    .......
    ขออนุโมทนาครับ
     
  14. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,909
    ..........จากคนเดินดิน"ธรรมดา" สามารถเป็น"พระโพธิสัตว์"

    ได้ไหม ...ตอบว่า ไม่ได้..เพราะไม่มี"ธรรม"ที่รองรับยกระดับ

    เป็น "พระโพธิสัตว์"ได้ครับ....

    ..........การจะเป็น"พระโพธิสัตว์" ต้องทำอย่างไรบ้าง

    ตอบว่า ..ท่านต้องมี"ตัณหาหรือความอยากในการที่จะเป็น

    ก่อน" (ตัณหาในส่วนดีหรืออยากในส่วนดี)...เมื่อมีแล้วก็

    จง"ตั้งมั่น" 1.ศึกษาข้อธรรมในการเป็นพระโพธิสัตว์ให้"เข้า

    ใจ"
    .............2.จดจำข้อธรรมในการเป็นพระโพธิสัตว์เอาไว้

    .............3.ปฏิบัติตามข้อธรรมในการเป็นพระโพธิสัตว์นั้น

    ............ผลจากการปฏิบัติอย่างมั่นคง.."ท่านก็จะบรรลุธรรม

    แห่งการเป็น"พระโพธิสัตว์"

    .............แต่ท่านอาจไม่ยกระดับเป็น"พระพุทธเจ้า" ได้..

    เพราะ...."ท่านปรารถนาเป็นเพียงพระโพธิสัตว์".....

    .............(จำย่อ ๆ ในการศึกษาธรรม คือ "เข้าใจ", "จำได้",

    "ใช้เป็น"...มุ่งไปสู่การ"บรรลุธรรม")
     
  15. ukitake

    ukitake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +140

    ถูกแล้วครับ ผมไม่ปรารถในการเป็นพระพุทธเจ้า ผมเชื่อแบบมหายาน คือ อยากช่วยเหลือเวไนยสัตว์ให้พ้นจากกองทุกข์ก่อน ^^
     
  16. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ตอบ ได้ครับ (แค่ทำบุญกุศลอย่างใด อย่างหนึ่งแล้วตั้งจิตอธิฐาน)

    พระชาติแรกที่พระพุทธเจ้าของเราๆๆ ปรารถนาครั้งแรกก็เป็น " มาณพหนุ่มเข็ญใจ " ท่านตั้งจิตอธิฐานว่า... "
    “ถ้าตัวเราถึงแก่ชีวิตพินาศขาดสูญลงไปในท้องมหาสมุทรทะเล ใหญ่พร้อมกับมารดา ณ กาลบัดนี้ ขอกุศลที่เราแบกมารดาว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเหน็ดเหนื่อยนักหนานี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระโพธิญาณ ขอเราพึงอาจนำสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายในวัฏสงสารให้ข้ามพ้นลุถึงฝั่งโน้น คือ อมตมหานิพพาน”
    ครั้นคิดดังนี้แล้ว มาณพหนุ่มนั้นก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า
    “เมื่อเราเปลื้องตนออกพ้นจากวัฏสงสารแล้ว ขอเราพึงนำสัตว์ทั้งหลายให้เปลื้องตนพ้นจากวัฏสงสารด้วยเถิด อนึ่ง เมื่อเราข้ามจากวัฏสงสารได้แล้วขอให้เราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ข้ามพ้นจากวัฏสงสารได้ด้วยเถิด”





    ส่วนประโยคนี้ "หากสัตว์โลกยังมีความทุกข์ยากอยู่เราจะไม่ไปพบนิพพาน"
    ในหมื่นโลกธาตุแสนโกฏิจักรวาล ไม่มีบุคคลใดเลยที่สามารถจะช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ นอกจาก " พระพุทธเจ้า "
    และก็ไม่มีพระโพธิสัตว์พระองค์ใดเลย สามารถช่วยสัตว์ได้ ถ้ายังบำเพ็ญบารมีไม่เต็ม ๓๐ ทัศน์(เมื่อบารมีเต็ม ๓๐ ทัศน์จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า)

    ท่านเจ้าของกระทู้ลองศึกษาชาดกพระชาติของพระพุทธเจ้าแต่ละพระชาติดูนะครับ



    ตามประวัติของพระโพธิสัตวกวนอิม พระองค์ปรารถนาที่จะเจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาทของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันและพระพทุธเจ้าทุกๆๆ พระองค์ที่อุบัติมาแล้วในอดีตกาลนานแสนนานจนนับประมาณมิได้ คือปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เพื่อที่รื้อสัตว์ขนสัตว์ให้ข้ามพ้นจากวัฏฏสงสาร นะครับ
     
  17. ปิจังงัง

    ปิจังงัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +29
    ดูที่กระทู้ วิถีดอกบัวบาน ครับ ( ชัวร์ )

    เริ่มต้น ด้วยการอธิษฐาน
    สอง "สร้างกระแส โพธิญาณ"
    สาม ฝึกโพธิจิต

    อันนี้แนะเทคนิคส่วนตัวนะ
     
  18. naproxen

    naproxen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +742
    คำไหว้บารมี 30 ทัศ

    พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย
    คำอธิบายบารมี 30 อยู่ด้านล่างบทสวด
    <HR>คำไหว้บารมี 30 ทัศ(แบบครูบาศรีวิชัย)

    ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง

    <HR>อธิบาย บารมี 30 ทัศ
    การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ
    ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้
    ๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ยทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)
    ๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓)
    ๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)
    ๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)
    ๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)
    ๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)
    ๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)
    ๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)
    ๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช
    ๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔)
    หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)
    * การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี
     
  19. ukitake

    ukitake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอคุณ ท่านทั้งหลายที่ตอบ ผมจะทำให้ดีที่สุดครับ


    นำมอ อามีทอฝอ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2011
  20. Siddhartha

    Siddhartha Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +90
    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...