ขอสอบถามจากลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษีหรือท่านผู้รู้ค่ะ เกี่ยวกับการภาวนามรณานุสติค่ะ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย orranart, 25 กันยายน 2011.

  1. orranart

    orranart สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    จากที่ได้อ่านและฟังเทปของหลวงพ่อฤาษีให้พิจารณาความตายไว้เสมอ และคิดถึงนิพพานให้เป็นปกติ
    ก็ได้ปฏิบัติมาระยะหนึ่งค่ะ พอดีเมื่อวานได้ดูหนังที่เกี่ยวกับการเอาตัวรอดในพายุหิมะ (Frozen) นะคะ
    แล้วก็เกิดนึกสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติว่า ปัจจุบันที่เราปฏิบัตินั้น เราอยู่ในสภาวะของอารมณ์ที่ปกติ หรือค่อนข้างปกติ
    ก็สามารถพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างทรงตัวจนคิดว่าหากต้องตาย ณ ขณะนี้
    เราก็พร้อมที่จะตายอย่างสงบอย่างแน่นอน แต่หากเราต้องพบกับสภาวะทุกขเวทนาขนาดนั้นก่อนที่เราจะตาย
    เราจะสามารถทรงอารมณ์ให้ปกติ สงบและพร้อมที่จะตายได้อย่างสงบหรือเปล่า
    หรือเราควรจะฝึกหรือทรงอารมณ์อย่างไรเพิ่มเติม เพื่อให้เราพร้อมที่จะตายในทุกสภาวะน่ะค่ะ

    เนื่องจากเพิ่งปฏิบัติน่ะค่ะ เลยมีข้อสงสัยขึ้นมา

    ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำตอบนะคะ
     
  2. cmhadtong

    cmhadtong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2008
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ลองสังเกตเบาๆแบบนี้ก่อนก็ได้นะ
    เวลาไม่สบายหนักๆ หรือท้องเสียอย่างแรง
    กำลังใจของคุณเกาะอะไร
    เกาะบุญ เกาะศีล เกาะสมาธิ หรือเกาะวิปัสนา
    กำลังใจห่วงร่างกายมากแค่ไหน กำลังใจสนใจยังไงกับความเป็นความตาย
    ปล.ไม่ได้มาตอบนะครับ มาเล่าให้ฟังเพื่อเป็นข้อสังเกต
    สาธุ สาธุ โมทนาบุญนะ
     
  3. orranart

    orranart สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณสำหรับข้อสังเกตนะคะ ก่อนหน้านี้ไม่เคยสังเกตตัวเองเหมือนกัน พอบอกให้สังเกตเลยนึกได้ว่า
    สมัยมัธยมเป็นโรคกระเพาะน่ะค่ะ แต่พอปวดท้องเมื่อไหร่ ก็จะนอนราบเอามือจับที่ท้องแล้วจับความรู้สึกที่ท้องยุบท้องพองกับลมหายใจ สักพักก็หายปวดท้องเลยทำแบบนี้มาตลอดทุกครั้งที่ปวดท้อง แต่ถ้าหากว่าปวดท้องในเวลาที่ไม่สามารถนอนจับลมหายใจได้ก็จะเตลิดเปิดเปิงเหมือนกันค่ะ ไม่สามารถเกาะอะไรได้เลย แต่ช่วงนี้ไม่ได้ปวดท้องแล้ว เลยยังไม่เคยสังเกตในอาการอื่น ๆ คงต้องลองสังเกตตัวเองหลังจากนี้ดูบ้างแล้ว

    โมทนาสาธุค่ะ
     
  4. หมี พลเสน

    หมี พลเสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +358
    ซ้อมตายครับ คิดว่าชีวิตเราไม่แน่นอน เราอาจจะพบความตายเมื่อไหร่ก็ได้ คนรู้ตัวว่าจะตายไม่มีใครอยากทำชั่วหรอกครับ ส่วนใหญ่ ศีลบริสุทธิ์ เพราะกลัวตกนรก มรณานุสติ ทำให้เราไม่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ซ้อมไว้ครับเวลาฉุกลหุกตายจะได้ไม่ตื่นเต้นเปรียบเสมือนคนเดินทางรู้แล้วว่าข้างหน้า มีแม่น้ำ จะได้เตรียมอุปกรณ์เอาไว้ข้ามแม่น้ำครับ เวลาเจอ อะไรกระทบคิดซะว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา การเกิดเป็นมนุษย์ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย เราตายครั้งนี้ไม่ขอไปอบายภูมิ ไม่ขอกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ขอเกิดเป็นเทวดา ไม่ขอเกิดเป็นพรหมเพราะเป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืน หมดบุญหมดกุศล ก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกมาทุกข์อีก ตายชาตินี้ขอไปพระนิพานที่เดียว ส่วนคนที่อารมณ์เข้มข้นจริง เขาอยากไปจากร่างกายนี้ครับ เพราะเขารู้เห็นเองแล้วว่ามีที่ๆมีความสุขกว่าการมีร่างกายแบบนี้ แบบว่า ตายก็ดีจะได้ไม่ต้องทนทุกข์กับการมีร่างกายอีก เพราะเขาไปเที่ยว สวรรค์ พรหม นิพานมาจนคล่องแล้วครับ ถ้าใครทำได้แบบนี้ ไม่มีใครอยากมีร่างกายแบบนี้แน่ครับ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว จากการจดจำคำสอนของครูบาอาจรย์มาครับ ถ้าผิดพลาดประการใด ผมขอขมาไว้ณที่นี้ด้วยครับ แต่หลายคนแล้วครับ ที่ปฏิบัติตามหลวงพ่อพระราชพรหมยานเลิกเหล้าขาดในเร็ววันเลยครับ ผมหนึ่งคนนะครับ เลิกเหล้าได้ขาดมาเกือบสองปีแล้ว แบบเอามากรอกปาก ก็ไม่กินครับ คำสอนของหลวงพ่อชัดเจน สามารถฝึก มโนมยิทธิ ไปดูนรก สวรรค์ได้ ครับ หรืถ้าว่ายาก เข้ากูเกิลเลยครับ พิมพ์ว่า ตายแล้วฟื้น หรือดูรายการพวกตีสิบในยุทูบก็ได้ครับ สิ่งเหล่านี้เป็นพยานหลักฐานได้ชัดเจนครับ รีบปฏิบัตินะครับ ความตายไม่มีนิมิต เครื่องหมาย ครับ ศาสนาเราเป็นวิทยาศาสตร์นะครับ ไม่ได้สอนให้เชื่ออะไรง่ายๆ แต่สอนให้ปฏิบัติแล้วค่อยเชื่อ โชคดีมากแล้าที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาครับ ผมโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยคนครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  5. supphakrit

    supphakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +178
    ถาม : ช่วงนี้ถ้าทำวิปัสสนาให้กายว่าง แต่ทำไม่ค่อยบ่อยนะคะ นานๆ จะจับลมหายใจ ส่วนมากจะจับตอนนอน แล้วช่วงกลางวันนึกถึงความตายบ้าง วันหนึ่งประมาณครั้งเดียว ?

    ตอบ : ดีกว่าไม่นึกเลย ริงๆ แล้วชีวิตของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าไม่หายใจออกก็ตายแล้ว หายใจออกไม่หายใจเข้าไปใหม่ก็ตายเช่นกัน เพราะฉะนั้น..ให้นึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก นึกได้เมื่อไหร่ก็ เอ๊ะ...! เราจะตายแล้วหนอ ถ้าหายใจเข้าไม่หายใจออก ก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ให้ตั้งเป้าไว้เลยว่าตายแล้วเราจะไปไหน

    ถ้าหากว่าเราคิดว่า เทวดา ดี ตายแล้วเราจะไปเป็นเทวดา

    คิดว่า พรหม ดี ตายแล้วเราจะเป็นพรหม

    ถ้าคิดว่า พระนิพพาน ดีตายแล้วเราจะไปพระนิพพาน

    ตั้งเป้าของเราเอาไว้ ลักษณะของกำลังใจจะเหมือนกับจรวดนำวิถี ถึงเวลากำหนดเป้าไว้ ยิงเสร็จแล้วจรวดจะทำงานเอง

    เช้าๆ ก็ตั้งเป้าว่า "ถ้าหากเราหมดอายุขัย หรือว่าเกิดอุบัติเหตุอันทำให้เราต้องตายไปภายในวันนี้ เราขอไปพระนิพพานที่เดียว" แล้วภาวนาให้กำลังใจทรงตัวสักพักหนึ่ง อาจจะ ๕ นาที ๑๐ นาที ถ้าทำอย่างนี้ได้ วันนั้นทั้งวันต่อให้จิตใจวุ่นวายด้วยเรื่องงานเรื่องการอะไรก็ตาม ถ้าเราตายก็จะไปพระนิพพาน เพราะเราตั้งเป้าเอาไว้ตั้งแต่ตอนเช้าแล้ว สมัยนี้ขีปนาวุธเขาทำได้..ใช่ไหม ? เราก็เลียนแบบบ้าง


    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๕
     
  6. orranart

    orranart สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอคุณสำหรับคำแนะนำ และ ข้อมูลที่แชร์ค่ะ ^^
     
  7. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
  8. คณะปิดทอง

    คณะปิดทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +363
    ผมก็ใช้วิธีนี้เหมือนกันครับ ^^

    โดยส่วนตัวคิดว่าเมื่อเราได้ศึกษาคำสอนของหลวงพ่อแล้ว ลำดับแรกจะเป็นสัญญา เป็นความจำในสิ่งที่เราได้ศึกษา

    ลำดับต่อไปคือภาคปฏิบัติ เราจะระลึกถึงความตายเพื่อให้เราไม่เกิดความประมาท ในการดำเนินชีวิต โดยพิจารณาตามคำสอนของหลวงพ่อ

    เมื่อเกิดความทุกขเวทนากับร่างกาย เวลานั้นเป็นเวลาที่ดี ที่เราจะได้ทดสอบตัว เรา เมื่อเราพิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดกับร่างกายเรา ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย จิตเราจะวางเฉยกับร่างกายได้บ้าง ไม่ได้บ้าง (ฝึกบ่อยๆจนเกิดความเคยชิน เวลามันปวดก็ดูมันปวด ดูมันเจ็บ แล้วก็วาง) เราจะไม่กังวลกับร่างกาย จิตไม่เกาะกับทุกขเวทนา ไม่เศร้าหมอง

    จิตเราจะระลึกถึงบุญกุศลที่เราได้ทำ ที่ได้บำเพ็ญมา จนจิตเป็นสุข หากตายตอนนั้นไม่มีทางตกนรก แต่หากเราไม่มีการพิจารณาร่างกายบ่อยๆเราจะไม่รู้จักการวางอารมณ์ใจของเราเมื่อถึงเวลาตาย เมื่อถึงเวลาเราจะลนลาน กลัว วิตก กังวล เพ้อ คลั่ง ไร้สติ หากตายไปตอนนั้น แย่แน่เลย
    ----

    พระคุณของหลวงพ่อหาประมาณมิได้จริงๆ ท่านสอนให้เราไม่ประมาทในชีวิต

    ไม่วิตกที่เราจะต้องตาย เพราะเราเข้าใจแล้วว่าเป็นเรื่องธรรมดาจริงๆ เราจะไม่

    ห่วงกับภาระที่มีอยู่เพราะเรารู้ว่าเราจะต้องตายแน่นอน ด้วยความไม่ประมาทเรา

    จึงวางแผนเพื่อให้ภาระนั้นหมดไป หากภาระนั้นยังมีอยู่เกินความสามารถของ

    เรา เกินกฏของกรรม เราก็รู้จักการวางเฉยกับสิ่งที่ควรวางเฉย สิ่งที่เป็นหน้าที่

    ที่ต้องรับผิดชอบก็ต้องรับผิดชอบ

    -----

    มีผู้ใหญ่ที่นับถือท่านหนึ่ง ท่านช่วยงานหลวงพ่อมานานมาก เมื่อเร็วๆนี้ท่านได้

    ป่วยเป็นโรคมะเร็ง หมอบอกว่าให้ญาติเตรียมตัวได้เลย จะอยู่ได้ไม่ถึง 3 เดือน

    ผมได้ติดตามผู้ที่รู้จักกับท่านไปพบท่าน ท่านยิ้มแย้มแจ่มใสตลอด (คนที่ปฏิบัติ

    จนได้แล้วจิตจะไม่เศร้าหมองจริงๆ เพราะเขามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา)

    ท่านบอกว่าร่างกายมันไม่มีอะไรดีเลย น่าเบื่อ มีแต่ทุกข์ทรมาน มีแต่ความไม่

    เที่ยง และก็ยังไปช่วยงานที่วัดปกติเมื่อมีงาน จากวันที่หมอบอกว่าเตรียมตัวได้

    เลย ท่านกลับอยู่มาถึง 2 ปีกว่าๆซึ่งไม่ผอม ไม่โทรม เหมือนคนปกติไม่รู้ว่าเป็น

    มะเร็งขั้นสุดท้าย ในวาระสุดท้ายท่านก็หลับไปอย่างสงบ ก่อนไปท่านบอกว่า

    ไปก่อนนะ ท่านสั่งเสียให้จองวัดที่ไหน สวดกี่วัน และท่านฟังเทปหลวงพ่อจน

    วาระสุดท้าย

    -----
    มโนมยิทธิเปรียบเสมือนการเตรียมสอบ เวลาไปฝึกเต็มกำลัง ท่านจะให้เราพิจารณาร่างกาย ตัดขันธ์ห้า วางภาระทั้งหมดที่มีอยู่ ใช่ไหมครับ ^^
     
  9. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    จิตมีสภาพจำเป็นธรรมชาติของเขา
    ถ้าเราอยากให้จิตสามารถดึงอารมณ์สงบอารมณ์ปล่อยวาง มาใช้ได้ในเวลาที่กายทุกข์จัดๆ ที่มักเกิดในเวลาก่อนจะตาย เราก็ต้องฝึกฝนให้จิตชินกับการสะสมความสงบ สะสมปัญญา เก็บออมไว้ในจิต ทำอยู่เนืองๆ ในชีวิตประจำวันเมื่อมีทุกข์กายเข้ากระทบใจ เรียกวิธีนี้ว่าการสะสมภูมิธรรมไว้ในจิต วิธีนี้จะใช้กับทุกข์เรื่องอื่นๆนอกจากทุกข์กายก็ได้ เพื่อที่ในอนาคต เมื่อเกิดทุกข์ในลักษณะเดียวกันมากระทบใจ จิตจะได้สามารถดึงภูมิธรรมที่สะสมไว้อย่างเพียงพอในเรื่องทุกข์นั้นๆ มาใช้รู้ ละ วาง ทุกข์นั้นๆ ได้อย่างคล่องตัว

    สำหรับการฝึกรู้ ละ วาง ทุกข์กายในชีวิตประจำวันนั้น วิธีการก็คือ ทุกครั้งที่เกิดทุกข์กาย ให้กำหนดรู้ว่ามีทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ทำความสงบให้เกิด แล้วพิจารณาความจริงของร่างกายเพื่อให้ใจละและปล่อยวางจากความกังวลในทุกข์ครั้งนั้นๆ ต้องฝึกจนกว่าจะมีสติที่รู้ทุกข์อย่างทันเวลา ไม่ใช่กว่าจะรู้ก็ปล่อยให้ทุกข์กายกินใจนาน และเมื่อรู้แล้วจิตก็ต้องสามารถดึงความจริงที่ฝึกคิดจนชิน มาละมาวางทุกข์นั้นลงไปได้อย่างไม่เกิดอารมณ์กังวลฟุ้งซ่านคิดปรุงแต่งต่อไปอีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...