การปล่อยสัตว์เพื่อ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 17 มีนาคม 2007.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>การปล่อยสัตว์เพื่อ
     
  2. granun

    granun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +148
    เดินเข้าตลาดสดซื้อปลาช่อน ปลาดุกที่เขากำลังจะทุบหัว
    แล้วยอมขับรถอีกนิดไปปล่อยที่ดีดีที่ปลาเขาอยู่ได้
    ผมว่าได้บุญกว่า

    เ้ห็นด้วยเรื่องการแก้ไขค่านิยมทีผิดๆครับ
    บางที่ไม่เหมาะแก่การปล่อย ปล่อยไปก็ตายเปล่า

    บางที่ก็กลายเป็นส่งเสริมให้คนไปจับมาขาย
    แทนที่จะเป็นบุญ ก็จะเป็นสาเหตุของบาปเอาเสียด้วย

    คนเดี๋ยวนี้เอาสะดวกครับ
    คิดถึงบุญเฉพาะหน้าไม่ได้คิดต่อว่า ปล่อยไปแล้วตรงนั้นเขาอยู่ได้มั้ย
    เขาจะตายมั้ย..
    ขอให้ได้ปล่อยเข้าว่า..

    เรื่องนี้น่าหนักใจครับ ต้องช่วยๆกันรณรงค์ให้คิดกัน..เฮ้อ
     
  3. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,516
    ค่าพลัง:
    +27,187
    ปลาสวายอะไรกินปลาช่อนปลาบู่หว่า
    นั่งเทียนเขียนชัดๆ

    เดลินิวส์นี่เลิกซื้อมาเกือบ20ปีแล้ว
     
  4. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,272
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,095
    ผมว่าไปไถ่ชีวิตโค-กระบือ ดีกว่าครับ ปล่อยปลายังไงก็บาปครับ เพราะปล่อยปลาจะตายซะมากกว่าครับ เราจะแน่ใจได้ไงครับว่ามันจะรอดตายจริงครับ ผมว่าทุกชีวิตมันก็มีรักตนเองนะครับ ดังนั้นช่วยเหลือสัตว์ที่เดือดร้อนก่อนดีกว่าครับ เหมือนที่พวกคุณคนก่อนๆเขาแนะนำครับ การทำบุญที่ดีต้องประกอบปัญญาปารมีนะครับ จึงจะเป็นความดีครับ
     
  5. wudiman

    wudiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +1,333
    ผมคนหนึ่งที่ชอบทำบุญปล่อยปลา ปล่อยสัตว์ โดยเฉพาะปลาประเภทที่จะขึ้นเขียงในอนาคตใกล้ๆ คือ มันตายแน่ๆ แต่ถ้าไหนๆ มันจะตายก็ให้มันเป็นอิสระจากกะละมังที่แออัดเสียหน่อย ให้มันไปไหว้น้ำ ถ้ามันตายก็จะใจผ่องใสได้บ้าง(ความคิดผมนะครับ) สำหรับผมเน้นปล่อยปลาที่จะถูกฆ่าตายไปปล่อยครับ หาสถานที่ ปล่อยปลาดีๆ น้ำสะอาดหน่อย ถ้าเราคิดปล่อยด้วยเจตนาดี และหาที่ปล่อยที่ดีแล้ว เขาตายก็คงต้องบอกว่า คงเป็นเรื่องกรรมที่ทำให้เขามีอันเป็นไป

    จิตเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา
    เมื่อจิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส ทุคติเป็นที่ไป...

    จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา
    เมื่อจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมอง สุขคติเป็นที่ไป ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มีนาคม 2007
  6. kanyaratsrimane

    kanyaratsrimane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +570
    ใช่ๆๆๆอยู่ที่เจตนา ถึงไงปลาที่ถูกจับมาขายหน้าวัดก็น่าสงสาร สาธุ ๆๆต้องแก้ปัญหานะคะ สาธุๆๆๆๆๆๆ (nogood) (bb-flower
     
  7. artant999

    artant999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2006
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +934
    เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่ดีครับ ไม่ว่าสัตว์ชนิดใหนก็อยากมีชีวิตรอดกันทั้งนั้น การปล่อยสัตว์เป็นสิ่งดีครับ แต่ว่าเราควรหาที่ๆเหมาะสมในการปล่อยด้วย เพราะอาจจะเป็นการหนีเสือปะจรเข้ของสัตว์ กลับเป็นว่าชีวิตสัตว์ตัวนั้นไม่ได้ดีขึ้นเลยหรืออาจจะเลวร้ายยิ่งกว่าเดิมซะอีก แล้วอย่างนั้นจะปล่อยไปทำไมละครับ ผมเองก็ชอบปล่อยสัตว์ที่หาได้ง่ายๆในตลาดครับ เดินไปเจอสงสารหรืออยากปล่อยก็ซื้อไปปล่อยในบึงที่สงบเงียบมีแหล่งอาหาร และแหล่งหลบภัยให้มัน ไม่ว่าสัตว์ชนิดใหนก็จงปล่อยเถอะครับ เป็นบุญได้แน่
     
  8. ท่าข้าม

    ท่าข้าม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +2,513
    ใช่ๆจ้ะ ปล่อยสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่า เช่น ปลาในตลาดสด เนี่ยท่าข้ามก็ปล่อยบ่อยๆ ควรนำเขาไปปล่อยสู่ที่ดีๆและปลอดภัย เช่น ปล่อยแม่น้ำตามธรรมชาติ เขตอภัยทาน ปล่อยสัตว์เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้วเป็นการช่วยให้เขาได้พ้นทุกข์นะ
     
  9. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    (ต่อจากฉบับที่เเล้ว) เรื่องการ “ปล่อยสัตว์” ตามที่รายการ “จุดเปลี่ยน” ทางโมเดิร์นไนน์ทีวีนำมาเสนอนั้นก็เป็นเพราะ “การปล่อยสัตว์” ในปัจจุบันได้พัฒนาเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้กับผู้ค้าได้มากทีเดียว เนื่องจากผู้คนใน “กรุงเทพมหานคร” ส่วนใหญ่จะไม่มีเวลาไปหาสัตว์มาปล่อยเพื่อเป็นการ “สะเดาะเคราะห์” ตามที่บรรดา “หมอดู” ทำนายทายทักพร้อมแนะนำหรือจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ซึ่งผู้เขียนก็บอกว่าเป็น “เรื่องดี” หากมีกำลังทรัพย์พอที่จะไปปลดปล่อยสัตว์ได้จึงมีการนำสัตว์ต่าง ๆ “สำหรับปล่อย” มาวางขายในจุดที่ต้องการปล่อยสัตว์พอดีซึ่งส่วนมากจะเป็น “เขตวัด” นั่นเองเพราะสะดวกต่อผู้ที่ “ซื้อเพื่อปล่อย” ผู้คนที่ต้องการ สะเดาะเคราะห์ด้วยวิธีนี้จึง “ซื้อเดี๋ยวนั้น” แล้ว “ปล่อยเดี๋ยวนั้น” สะดวกดีเพราะเป็นความเชื่อที่มีมาแต่เดิม โดยไม่ทราบเลยว่าสาระสำคัญของการปล่อยสัตว์นั้นก็คือ “การทำทาน” นั่นเองเพราะการช่วย “ชีวิตของสัตว์” ได้อยู่รอดต่อไปถือเป็นการให้ “ทานอันยิ่งใหญ่” อีกวิธีหนึ่งโดยเหตุแห่งการสร้างค่านิยมในการ “ปลดปล่อยชีวิตสัตว์” ก็มีที่มาจากเรื่องราวใน “พุทธประวัติ” ที่เล่าขานกันว่า

    “สามเณรรูปหนึ่งบวชเรียนอยู่ในสำนัก “พระสารีบุตร” ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของ “พระพุทธเจ้า” ได้รับคำทำนายทายทักจากพระอาจารย์ว่า “ดวงชะตาขาด” ชีวิตจะถึงฆาตจักต้องตายภายใน “๗ วันข้างหน้า” ซึ่งพอได้ฟังเช่นนั้น “สามเณร” ผู้นี้ก็เชื่ออย่างสนิทใจถึงขั้นปลงตกและยอมรับชะตากรรมที่จะเกิดขึ้น จึงตัดสินใจเดินทางไปเพื่อบอกกล่าวเรื่องความตายของตนเองที่จะมาเยือน ภายใน ๗ วันและเพื่อทำการล่ำลาบิดามารดาไปด้วยในตัวยังบ้านเกิดที่อยู่ต่างเมือง แต่แล้วระหว่างเดินทางสู่บ้านเกิดสามเณรผู้นี้ได้ผ่านไปพบเห็นสระน้ำสระหนึ่งตื้นเขินเต็มทีเนื่องจากเป็น “ฤดูแล้ง” จึงได้เห็นปลาน้อยใหญ่มากมายที่อาศัยอยู่ในแอ่งน้ำที่ก้นสระรอคอย “ความตาย” ด้วยความสงสารสามเณรจึงทำการขนย้ายปลาเหล่านั้นไปปล่อยลงแม่น้ำที่อยู่ห่างออกไปพอสมควร เลยต้องขนย้ายกันหลายเที่ยวจนมืดค่ำทำให้ปลาเหล่านั้น “รอดตายทั้งหมด” จากนั้นจึงเดินทางต่อไปบอกกล่าวเรื่องราวของตนพร้อมล่ำลาบิดามารดาแล้วเดินทางกลับไปยังสำนัก “พระสารีบุตร” อีกเพื่อไปตายที่นั่น กระทั่งครบกำหนดที่ จะ “ต้องตาย” ภายใน ๗ วันตามที่ “พระอาจารย์” ทำนายทายทักไว้แต่สามเณรกลับไม่ตายตามคำทำนายจวบกระทั่งกาลเวลาผ่านไปอีก “๗ สัปดาห์” สามเณรก็ยังมีชีวิตเป็นปกติสร้างความสงสัยและประหลาดใจแก่ “พระอาจารย์” ผู้ทำนายไว้อย่างยิ่ง จึงเรียกสามเณรไปพบพร้อมทำการ “ตรวจดวงชะตา” ใหม่อีกครั้งคราวนี้กลับพบว่าดวงชะตาของสามเณร “ไม่ขาด” เช่นการตรวจครั้งแรกแต่อย่างใด

    พระอาจารย์แปลกใจมากจึงสอบถามสามเณรว่า “ก่อน ๗ วันที่จะครบกำหนดวันชะตาขาดนั้น” ไปทำอันใดมาสามเณรก็ตอบว่าไม่ได้ไปทำอันใดเลยมีเพียงเรื่องเดียวคือ “ช่วยชีวิตปลา” ไม่ให้ถูกแดดเผาตายเท่านั้น ซึ่งพอได้ฟังเช่นนั้นอาจารย์จึงเข้าใจเป็นเพราะ “กุศลผลบุญ” ที่สามเณรไปช่วยชีวิตปลาที่ “กำลังจะตาย” นี่เองจึงได้รับอานิสงส์ให้สามเณรมีชีวิตยืนยาวต่อมา

    ตั้งแต่นั้นมาจากเรื่องราวที่เล่ามานี้จึงกลายเป็น “คตินิยม” ของการปลดปล่อย “ชีวิตสัตว์” เพื่อเป็นกุศลกรรมธรรมทานในการต่อชะตาชีวิตให้กับผู้ที่ “ชะตาถึงฆาต” จวบจนปัจจุบันซึ่งแม้กุศลผลบุญที่ “สามเณร” ช่วยชีวิตปลาให้รอดตายแล้วเกิดผลดีต่อตัวเองพลอยมีชีวิตยืนยาวต่อไปด้วยนั้นจะเป็นจริงหรือเท็จประการใดก็เป็นเรื่องของ “คตินิยม” ไปแล้ว ดังนั้นการปลดปล่อย “ชีวิตสัตว์” จึงถือเป็น “เรื่องดี” ที่มนุษย์เราควรมีความ “เมตตากรุณา” ต่อเพื่อนร่วมโลกแต่กับกรณีที่บอกว่า “ปล่อยปลาไหล เงินทองจะไหลมาเทมา” หรือ “ปล่อยปลาหมอจะ พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ” และ “ปล่อยปลาทับทิมจะ มีความรักสดชื่นสมหวัง” รวมทั้ง “ปล่อยปลาบู่จะ ได้ลูกกตัญญู” พร้อม “ปล่อยปลาช่อนจะได้ช้อนเงินช้อนทอง” กระทั่ง “ปล่อยเต่าชีวิตจะยืนยาว” นั้น เป็น “ความเชื่อผิด ๆ” ที่ไม่ควรยึดติดเพราะไม่ว่า จะปล่อยปลาอะไรทั้ง “ปลาเล็กปลาใหญ่” รวมทั้ง “ปล่อยเต่า” ล้วนได้กุศลผลบุญเท่าเทียมกันเพราะ เป็นการ “ให้ชีวิต” เฉกเช่นกัน

    และการ “ปล่อยปลา” ทุกชนิดหรือ “ปล่อยเต่า” ควรคำนึงถึง “ความปลอดภัย” ของพวกมันด้วยว่าสภาพแวดล้อมที่ไปปล่อยนั้นทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หรือไม่ บางแห่งเป็นน้ำเน่าเสียหากปล่อยลงไปก็มีแต่ตายลูกเดียว บางแห่งมีสัตว์อื่นที่ใหญ่กว่าที่เราปล่อยไปก็จะถูกกินเป็นอาหาร และบางทีเต่าที่ปล่อยนั้นเป็นเต่าที่ไม่ชอบน้ำลึกก็ต้องหาบริเวณที่เหมาะสมไปปลดปล่อยเพื่อมันจะได้มีชีวิตรอดสมความตั้งใจของ “ผู้ปล่อย” เนื่องจากการปลดปล่อยสัตว์เหล่านี้ “ผู้ปล่อย” ย่อมหวังก่อให้เกิดเป็นกุศลผลบุญดังนั้นจึงต้องหาแหล่งปล่อยที่เหมาะสม เพื่อพวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่หากปล่อยแล้วตายเพราะ “น้ำเน่าเสีย” หรือถูกสัตว์น้ำด้วยกัน “กินเป็นอาหาร” แทนที่ “ผู้ปล่อย” จะได้กุศลกลับได้บาปแทนจึงไม่ควรปล่อยอย่างยิ่ง

    จึงขอให้ “สาธุชน” ทั้งหลายหากคิดจะปล่อยสัตว์เพื่อสร้างบุญสร้างกุศลหรือเพื่อ “สะเดาะเคราะห์” รวมทั้งเพื่อเป็น “ทาน” ก็ตามควรคำนึงถึง “ความปลอดภัย” ของสัตว์ที่จะปลดปล่อยด้วยไม่ใช่คิดแต่จะเอา “ความสะดวกอย่างเดียว” เพราะหากคิดแต่เพื่อความสะดวกแล้วแทนที่จะเป็นการ “สะเดาะเคราะห์” อาจจะกลายเป็น “การเพิ่มเคราะห์” ให้ตัวเองแบบ “คาดไม่ถึง” ก็ได้นะโยม...สาธุ.
    “นายรู้สึก แสนรู้ชัด”


    ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/dailynew...ault.aspx?Newsid=121815&NewsType=1&Template=1
     
  10. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ขอแนะนำวิธีทำบุญอีกวิธีหนึ่งที่ได้อานิสงส์มากคือ ให้ทำบุญที่โรงพยาบาลสงฆ์ครับ เพราะทางโรงพยาบาลบางทีก็ต้องอาศัยปัจจัยจากภาคเอกชนไม่ใช่ว่ารัฐจะช่วยเหลือเสมอ ดังพระพุทธพจน์ที่กล่าวกับพระสงฆ์ว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาจะอุปัฏฐากพระตถาคตก็ให้อุปัฏฐากดูแลพระภิกษุอาพาธแทน เช่นนั้นก็จะเปรียบได้กับการได้อุปัฏฐานพระตถาคตเช่นกัน ผมเคยคุยกับหมอในนั้นได้ทราบว่า ทางโรงพยาบาลสงฆ์ต้องประสบปัญหาทางด้านการเงินอยู่เสมอๆเนื่องจากต้องรักษาพระภิกษุสงฆ์ฟรี ในหลวงท่านเองก็ทรงบริจาคปัจจัยช่วยเหลือทางพยาบาลอยู่เป็นประจำด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จึงทำให้ทางโรงพยาบาลสงฆ์สามารถประคับประคองมาได้น่ะครับ
     
  11. granun

    granun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +148
    เอามาฝากกันครับสำหรับคนใจบุญ รักเต่า
    และจะช่วยเป็นผู้สร้างโลกใหม่ให้เต่าที่ถุกปล่อยอย่างไม่ถูกวิธีในวัด


    การปล่อยปลาปล่อยเต่าในวัด คือทำบุญหรือทำบาป ?
    คำถามที่มีคำตอบจาก Professor เกี่ยวกับสัตว์น้ำและเต่าของ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง) รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์ป่า ผู้ก่อตั้งชมรมรักษ์เต่า
    วันพระ วันออกพรรษา วันมงคลต่างๆ ทุกคนต่างมุ่งหน้าเข้าหาวัด เพื่อปล่อยนำปล่อยปลา เพราะเชื่อว่าเป็นการทำบุญปล่อยอิสรภาพให้สัตว์เหล่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการกระทำดังกล่าว กลับเป็นตรงข้าม เพราะแท้ที่จริงแล้ว “วัดคือนรก” ของสัตว์เหล่านี้ เพราะเต่า นก และปลา ถูกใช้เป็นสินค้าเพื่อการทำบุญของคนทำบาป หลายคนที่ชอบทำบุญปล่อยนก ปล่อยปลา หรือปล่อยเต่า ไม่เคยทราบว่าแท้ที่จริงแล้วคือการปล่อยให้สัตว์เหล่านี้ไปสู่จุดจบของชีวิต ไม่ก็ถูกนำมารีไซเคิลเพื่อขายต่อ
    หมอหนิ่งได้คลุกคลีในแวดวงสัตว์น้ำ ได้มองเห็นถึงปัญหาและต้องการสะท้อนไปสู่สังคมให้รู้จักทำบุญอย่างถูกวิธี เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงเกิดโครงการ ช่วยเต่าจากวัดโดยเริ่มต้นจากวัดบวรฯ
    “หน้าที่ของดิฉันคือช่วยสัตว์จรจัดที่ไม่มีใครเหลี่ยวแลอย่างเข่น เต่า ซึ่งดิฉันทำอยู่กับคุณขจร จิระวนนท์ Rescue เต่าวัด เพราะวัดเป็นนรกของสัตว์
    ..เริ่มแรกพระโทร.มาบอกว่าเต่าตายเห็นสภาพเต่ามีปลิงเกาะ ไม่มีที่ตากแดดให้ปลิงออก เจาะเลือดออกมาจึงรู้ว่าเพราะสารเคมีในน้ำคลองที่วัดทำให้เต่าตาย เพราะฉะนั้นใครเอาสัตว์ปล่อยวัดคิดให้ดีว่าทำบุญหรือทำบาป”
    หมอหนิ่งเล่าถึงภารกิจในการช่วยชีวิตเต่า
    ภารกิจของหมอหนิ่งในการช่วยชีวิตเต่าในวัด เริ่มจากเต่า 500 ตัวในวัดบวรฯ ซึ่งเป็นวัดใหญ่ที่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าอาวาสอย่างดี แต่การเดินทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ปัญหาเรื่องทุนทรัพย์ เครื่องมือ บุคลากร ตลอดจนความเข้าใจของแต่ละฝ่าย ทำให้การทำงานเพื่อช่วยเต่าไม่สามารถเดินไปไกลเท่าที่ควร แต่หมอหนิ่งก็เลือกที่จะเดินหน้าต่อไปเพื่อช่วยเหลือเต่า สัตว์ที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบขององค์กรใดๆ
    สิ่งหนึ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระของหมอหนิ่งได้ คือการส่งผ่านความเข้าใจไปยังคนในสังคม ทั้งชาวบ้านที่ค้าขายเต่าในวัด พระ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่ชอบเลี้ยงเต่าหรือชอบทำบุญปล่อยเต่าให้มีความเข้าใจที่ถูกในเบื้องต้น หมอหนิ่งบอกว่า
    “ก่อนจะเลี้ยงสัตว์อะไรเราต้องศึกษาให้รู้ว่าเขากินอย่างไร และอยู่อย่างไร ถึงจะไปซื้อมาเลี้ยง และสัตว์ที่มาจากแหล่งค้าส่วนใหญ่ตจะมีโรคเยอะมักจะไม่รอด หลังจากซื้อมาแล้วควรนำไปให้สัตวแพทย์ตรวจก่อน”
    การนำเต่าจากวัดมารักษาภารกิจที่ทำด้วยหัวใจของหมอหนิ่ง เมื่อรักษาเต่าจนหายดีจะต้องมีบ้านให้เต่าอยู่ออกสู่อิสรภาพ โดยล็อทแรกได้ปล่อยที่คลอง 14 ภารกิจหน้าที่ทั้งหมดได้เงินช่วยเหลือจากโครงการ ซึ่งหมอหนิ่งบอกว่า “เงินเกินบัญชีเยอะ และควักเงินส่วนตัวตลอด”
    ในขณะนี้การเดินทางเพื่อช่วยเหลือเต่าจรจัดต้องประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาด้านทุนทรัพย์ในการนำมาต่อยอดเพื่อช่วยต่อไป

    ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายการจุดเปลี่ยน ตอน 2ออกอากาศวันที่17 มี.ค.2550ที่ทีมงานสัมภาษณ์ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง) ผมสรุปมาได้ว่า
    ในการปล่อยเต่านั้น
    1 ท่านต้องรู้ว่าเต่าที่ท่านจะปล่อยนั้นคือ เต่าบกหรือเต่าน้ำ เพราะเต่าไม่ใช่สัตว์น้ำแต่เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน
    เต่าบก ที่เท้าจะคล้ายๆเท้าช้าง ขายาว กระดองรูปร่างนูนขึ้นมากกว่าเต่าน้ำ
    เต่าน้ำ เท้าจะแบน ขาสั้น เอาไว้ไหว้น้ำ
    ถ้าปล่อยเต่าบกลงน้ำเต่าจะจมน้ำตายได้ เพราะเต่าหายใจด้วยปอดเหมือนมนุษย์
    2 สถานที่ปล่อย จะต้องเป็นบริเวณที่มีตลิ่ง เพื่อให้เต่าขึ้นมาพักผึ่งแดดได้ และน้ำไม่ไหลเชี่ยวจนเกินไป
    การที่เต่าต้องขึ้นมาพักบนตลิ่งเพราะ
    2.1 เต่าต้องการพักหายใจ และพักเหนื่อย เพราะเต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ใช้สัตว์น้ำ( โรงเรียนเราสอนผิดมาโดยตลอด ) จึงว่ายน้ำตลอดเวลาเหมือนปลาไม่ได้
    2.2 เต่าต้องการผึ่งแดด เพื่อให้ปลิงที่ติดอยู่ตามตัวหลุดออก มิฉะนั้นเต่าอาจป่วยได้ และเต่าต้องอาศัยแสงแดดในการสร้างวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
    ดังนั้นการปล่อยเต่าน้ำลงในบริเวณที่ๆไม่มีตลิ่งให้เต่าขึ้นมาผึ่งแดด เช่น ตามคลองประปา ,บ่อน้ำในวัดที่มีการก่อคอนกรีดเป็นบล็อกสูงๆ ( บ่อในวัดบวรฯ ที่หมอหนิ่งไปช่วยมา ) คือการทำร้ายเต่าอย่างทารุนโหดร้ายมากๆ
    แม้ว่าบางวัด หรือบางสถานที่จะมีการต่อแพ ให้เต่าขึ้นมาผึ่งแดดได้แต่นั่นไม่ใช่สถานที่อยู่ตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงของเต่า เปรียบเหมือนเราถูกจับไปขังคุก เขามีข้าวให้กินมี ที่ให้นอน แล้วเราชอบหรือไม่ ถ้าเราไม่ชอบเต่าก็เช่นเดียวกับเรา
    3 สภาพน้ำบริเวณที่จะปล่อยต้อง ไม่สกปรก ถ่ายเทยาก และแออัด เช่น บ่อน้ำในวัดบวรฯ กทม.
    มีเต่าหลายตัวที่หมอหนิ่ง และเพื่อนชมรมรักษ์เต่า ได้ช่วยชีวิตขึ้นมาจากในวัดบวรฯ สถานที่ทำบุญของเรานี่แหละ
    หลายตัวติดเชื้ออย่างรุนแรง กระดองแตก กระดองเปื่อยยุ่ยจนลึกเข้าไปถึงกระดูกเต่าชั้นใน (กระดองเป็นกระดูกเต่าชั้นนอก)
    หลายตัวมีเลือดจางมากต้องให้วิตามีนเพื่อการบำบัดฟื้นฟู
    บางตัวอาการโคม่าต้องให้น้ำเกลือกันเลย
    หลายตัวสุขภาพอ่อนแอเพราะ มีปลิงเกาะอยู่ตามร่างกายเป็นจำนวนมากสมาชิกชมรมรักษ์เต่า ต้องช่วยกันนำไปแช่น้ำเกลือ แล้งใช้ผ้าเช็ดออก
    เต่าทุกตัวที่ชมรมรักษ์เต่า ช่วยมาไดนั้น จะนำไปบำบัดฟื้นฟูอีกที่ในสถานอนุบาลสัตว์น้ำที่ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี
    รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง)เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

    เมื่อเต่าหายดี แล้วจะมีการนำไปปล่อยยังที่ๆเหมาะสมชนิดของเต่า เพราะเต่ามีแยกออกไปมากมายหลายชนิด เช่น เต่านาต้องการอาศัยในที่ชื้นแฉะแบบในนาข้าวเป็นต้น ดังนั้นถ้าคิดจะปล่อยเต่าต้องแน่ใจว่าเราปล่อยเต่าในสภาพที่เหมาะกับเค้าหรือไม่

    โครงการคืนชีวิตเต่าสู่ธรรมชาติ
    วันที่ 8ก.พ. 2550 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
    โครงการช่วยเต่าในวัดบวรฯ จากที่รายการไปถ่ายทำมา เห็นว่าทำกันมา 4ปีแล้วครับ


    หากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆชาวพลังจิตหรือผู้มีจิตศรัทธาท่านใดอยากเข้ามามีส่วนช่วยทำบุญในครั้งนี้สามารถติดต่อได้ที่
    ชมรมรักษ์เต่า 02-699-3110-1
    ช่วยกรุณาส่งต่อวิธีการปล่อยเต่าที่ถูกต้องไปยังเพื่อนๆหรือใครก็ตามที่คุณรู้จักเพื่อที่เขาจะได้ ปล่อยสัตว์ได้บุญ มิใช้ปล่อยสัตว์ได้บาปอย่างที่แล้วๆมานะครับขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่เข้ามาอ่าน และช่วยเผยแพร่กระทู้นี้ด้วย
    [​IMG]
    [​IMG]
    ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี่เอง ถ้าใครไปไม่ถูกลองนึกภาพสยามสแควร์สิครับ ตรงถนนอังรีดูนัง ฝั่งเดียวกับแคนตันสุกี้ครับ ถ้าขับรถมาจากถนนพระราม4 เมื่อเลี้ยวเข้า ถนนอังรีดูนังแล้วก็ตรงมาเรื่อยๆ จนถึง โรงเรียนเตรียมอุดมครับ สังเกตสะพานลอยคนข้ามถนนครับ ทางเข้าคณะจะอยู่ระหว่างโรงเรียนเตรียมอุดมกับทางเข้าสยามสแควร์ มองด้านซ้ายมือให้ดีนะครับจะได้ไม่หลงทาง

    เมื่อเลี้ยวเข้าไปแล้วก็ตรงไปสัก 50 เมตรจะเจอตึกสูงประมาณ 4 ชั้น อยู่ด้านขวามือครับ หาที่จอดแถวนั้นเลย ที่จอดรถจะมีมากพอสมควร เพราะเขาไม่อนุญาตให้นักศึกษาและบุคคลภายนอกเข้าไปจอด จอดรถแล้วก็เดินเข้าตึกไปเลยครับ ไปแลกบัตรผ่านก่อนแล้วก็ขึ้นลิฟท์ไปที่ ชั้น 2 ครับ ดูตามป้ายบอกทางได้เลย

    ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ถนนอังรีดูนัง ปทุมวัน กทม. โทร. 02-2189510 , 02-2189514
    เปิดจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น.

    [​IMG]
    รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ
    Assoc. Prof. Dr. Nantarika Chansue
    nantarika.c@chula.ac.th
    ตำแหน่งอื่นๆ Adjunct Position ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ
    สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ Specialty อายุรศาสตร์สัตว์น้ำ โรคปลาสวยงาม

    ทุนวิจัย Research Grant
    ปี (year) เรื่องวิจัย (Project)
    2546 ค่ามาตราฐานเลือดปลาไทย
    2546 การแยกเพศในปลามังกร
    2548 การใช้สารสกัดในฝรั่ง ในการรักษาแอโรโมแนสในปลาคาร์ฟ
    2548 ผลของใบหูกวางต่อเพศปลากัด
    2548 ค่ามาตราฐานเลือดตะพาบม่านลาย
    แหล่งทุน(Sponsor) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ...........................................................................................................
    ผลงานวิจัย Publication

    Chansue N . 2003 . Effects Of Dried Indian Almond Terminalia catappa Leaf On Hematology And Blood Chemistry Of Siamese Fighting Fish Betta splendens.Quality:The Focus Of Asian Aquaculture.Sep.22-25.Bangkok.thailand.77.

    Chansue N .,Sutanonpaiboon J.,Chungpiwat S., Sailasuta A.2003. Lecithodesmus sp. Infestation In Pygmy Killer Whales ( Feresa attenuate ). 15 th Biennial Conference Of Marine Mammalogy. Dec. 15-19. Greensboro . North Carolina . U.S.A.31.

    Harald J. myer., Chansue N., Monticelli F.2005(2548) Novel method of body tagging by RFID microchip implantation in disaster victim identification (DVI). Forensic Science International

    Sutanonpaiboon J.,Kittiwattanawong K., Sailasuta A., Chansue N.2003. Metastatic Renal Cell carcinoma In Stranded Striped Dolphin ( Stenella coeruleoalba ) 15 th Biennial ConferenceOf Marine Mammalogy. Dec. 15-19. Greensboro . North Carolina . U.S.A.159.

    Sutanonpaiboon J.,Yindee M.,Yanil N., Jungpiwat S., Sailasuta A., Chansue N.2003. Pneumonia In Stranded Pygmy Killer Whales ( Feresa attenuata ) : A Case Report . 28 th World congress Of The World Small Animal Veterinary Association.Oct.24-27. Bangkok.Thailand.751.

    นันทริกา ชันซื่อ ,จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์. 2005(2548). การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำแช่ใบหูกวางแห้ง และสารสกัดฟ้าทลายโจรต่อการงอกของหางปลาคาร์พ.เวชชสารสัตวแพทย์ (In press)

    นันทริกา ชันซื่อ ,จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์. 2005(2548) . การศึกษาผลของน้ำแช่ใบหูกวางแห้ง( Terminalia catappa ) ต่อปรสิตปลิงใสในปลาทอง ( Carassius auratus ). เวชชสารสัตวแพทย์ ( In press)

    นันทริกา ชันซื่อ .,กฤติมา เอนกธนกุล.,สุเจตนา โสตถิพันธุ์.,กฤษฎา ริบรวมทรัพย์. 2005(2548). การสกัดดีเอ็นเอจากเมือกในปลาอโรวาน่า(มังกร).เวชชสารสัตวแพทย์ ( In press)

    นันทริกา ชันซื่อ ,ธีรศักดิ์ มาตาเดิมและอัจฉริยา ไศละสูต.2004(2547).การศึกษาเบื้องต้นของลักษณะทางกายภาพของเกล็ดปลากัดไทย ( Betta splendens ) ที่เลี้ยงด้วยน้ำแช่ใบหูกวางแห้ง (Terminalia catappa ) ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด.สมุนไพรไทยโอกาส และทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์โรงแรมสยามซิตี้ 15-16 มกราคม 2547. 140 – 144 .

    นันทริกา ชันชื่อ. ,วัชระ ศรจิตติ.,ชนินทร์ สุนทรารักษ์., จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์.,อัจฉริยา ไศละสูต.2003(2546).ข้อมูลพื้นฐานทางกายวิภาควิทยา และจุลกายวิภาควิทยาของปลากัดไทย (Betta splendens ). วารสารการประมง.56 ( 5 ): 469 – 474.

    วุฒิชัย กลมเกลียว.,ปุณณรัตน์ วิบูลย์จันทร์., นันทริกา ชันซื่อ.,อัจฉริยา ไศละสูต. 2005(2548). ลักษณะทางมหกายวิภาคของหัวใจวาฬเพชฌฆาตแคระที่พบในประเทศไทย.บทคัดย่อการประชุมวิชาการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4.15 กุมภาพันธ์ 2548.กรุงเทพมหานคร.(61)

    ธเนศ ชินวราภรณ์,สกนธ์ จันทรอัมพร, อัมพล ทองสิมา, นันทริกา ชันซื่อ และคณะ.2003(2546).ข้อมูลพื้นฐานทางโลหิตวิทยา และค่าทางสรีรวิทยาของปลาเสือตอ ( Datnioides microlepis Bleeker ). เวชชสารสัตวแพทย์.33(4):29 – 36.

    วรรณา ศิริมานะพงษ์.,จริยา สุตานนท์ไพบูลย์., นรินทร์ ยะนิล.,อัจฉริยา ไศละสูต., นันทริกา ชันซื่อ . 2004(2507).การทำศัลกรรมเนื้องอกชนิด fibropapillomas บริเวณคางในเต่าหญ้า (Olive ridley turtle ; Lepidochelys olivacea ). สัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย.16(1):17 – 25.
    ..............................................................................................................
    Contact us
    [​IMG]
    DEPARTMENT OF VETERINARY MEDICINE
    CHULALONGKORN UNIVERSITY
    HENRI DUNANT ROAD PATUMWAN
    BANGKOK 10330 THAILAND

    TEL. (662) 252-9575, (662) 218-9412
    FAX : (662) 255-3910, (662) 252-9575

    ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนน อังรีดูนังต์
    ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    โทร. (662) 252-9575, (662) 218-9412
    โทรสาร (662) 252-9575
    เอาไว้คราวหน้ามีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จะนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...