ว่าด้วยเรื่อง ผิดศีลโดยไม่รู้ ผิดแบบไหน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย dooddd, 19 พฤศจิกายน 2011.

  1. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    ว่าด้วยเรื่อง ผิดศีลโดยไม่รู้
    คือโดยเจตนานั้นไม่มี แต่มาตรองทีหลังก็คิดว่าผิดศีล
    ถ้าตรองก่อนปฏิบัติแล้วรู้ ก็ไม่ทำ ประมาณนั้น แต่ทำไปแล้ว

    สมมติเรื่องราวว่าอย่างนี้ละกัน
    คือเป็นนักศึกษา แล้วมีห้องฟิตเนสให้นักศึกษาใช้บริการฟรี
    แต่ผมไม่ได้เอาบัตรมา ก็ใช้บริการไม่ได้
    ถ้าเป็นบุคคลทั่วไปต้องเสียเงินสิบบาท
    สุดท้ายผมก็แอบเข้าไป เพราะผมเป็นนักศึกษานี้ ก็น่าจะใช้สิทธิ์ได้

    มาตรองทีหลังว่า
    ๑ ละเมิดกฏที่ตั้้งไว้
    ๒ ผมควรเสียเงินค่าเข้า แล้วผมไม่เสีย ก็เหมือนไปโกงเค้าสิ

    แต่ผ่านไปแล้ว ผมก็ถือว่าผิดแล้วให้แล้วไป และจะไม่ทำอีกเด็ดขาด

    แต่ยังสงสัยว่า แบบนี้ถือว่าศีลด่างพรอย หรือศีลขาด หรืออย่างไรครับ
     
  2. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    น่าจะเข้าข่ายถือวิสาสะครับ ถ้าเราไม่ได้มีเจตนาไม่ดี ก็น่าจะผิดเล็กน้อย

    เช่น การชอบยืมปากกาคนอื่น บางทีก็ถือวิสาสะใช้ บางทีก็ลืมเอาติดตัวไป ไม่ได้คืนเจ้าของ เจตนาเราไม่ได้ตั้งใจเอาเป็นของตน แต่ก็ต้องเอาไปคืนเจ้าของให้ได้ ไม่อย่างนั้น ก็เข้าข่ายผิดศีลคือ เอาของคนอื่นไป ส่วนในกรณีนี้ คิดว่าไม่น่าผิดศีลเพราะเราไม่ได้เอาอะไรของเขามา แต่ผิดกฏหรือผิดข้อตกลงของสังคม ถ้ารู้จะถูกต่อว่าได้หรือมีผลกรรมอย่างอื่นตามมา เช่น บางทีเรามีธุรกิจอาหาร แล้วมีญาติห่างๆ มากิน ที่จริงก็ต้องจ่ายบ้าง แต่ก็ถือวิสาสะไม่จ่าย เพราะเห็นว่าเป็นญาติอะไรประมาณนี้ แต่ก็ไม่ใช่อย่างนี้เสมอไปนะ..
     
  3. ต้องสาป

    ต้องสาป สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +1
    มันเป็นเรืองเล็กน้อยครับ ไม่เจตณาก็ไม่ผิด เจตณา ก็ไม่ผิด อยู่ที่ว่า ทำไปทำไมทำเพื่ออะไร
    คุญเคยดูหนังก๊อปไหม เคยโหลดเพลงจากเน็ตไหม แล้วคอมนะ วินโด้แท้ป่าว ถ้าคิกแบบนั้น
    ผมว่าคงไม่ต้องทำอะไรแล้วละครับ คิดนะคิดได้ แต่จะทำหรือไม่ทำอีเรืองหนึ่ง สรุปแล้วผมว่า
    เอาความรู้สึกส่วนตัวในหัวใจลึกๆของคุญนั่นและตัดสิน สิบ บาท เศษตังครับ ผมไม่ได้ดูถูกเงินนะ
    เพียงแค่บอกว่า มันเป็นสิ่งเพียงน้อยนิด เอารถไปซ่อมที่อู่ที ไห้ทิปช่าง ก็เยอะ ไปกินร้านอาหายทิปเด็กเสิป ก็มากกว่า แค่ 10 บาท - -"
     
  4. loguttara

    loguttara Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +39
    กฏระเบียบ เลี่ยงได้
    กฏแห่งกรรม เลี่ยงไม่ได้
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ก่อนอื่น มาดูเรื่อง ศีลลัพตรปรามาส กันก่อน

    เรื่องราวละเอียดของการละเมิดกฏจะเป็นอย่างไรนั้น ยกไว้

    แต่ให้ สังเกตมาที่ ความลังเลในการตรึกเรื่องศีล อันนี้ คือ "ศีลลัพรตปรามาส"
    คือ เรียบร้อยโรงเรียนมาร ไปแล้ว หากเห็นความ ลังเลในการถือศีล หรือ ความ
    ยึดมั่นถือศีล แล้ว เล็งเห็นไม่ทัน ก็ ผิดสังโยชน์ข้อนี้ ไปเรียบร้อย

    แต่ถ้า ทันอาการลังเล หรือ ทันอาการปรารภจะยึดมั่นถือมั่น แบบนี้ ก็จะเป็นการ
    ฝีกศีลานุสติ อินทรีย์สังวรณ์จะเกิดตามมา หากกรณีบวชเป็นพระ สบายเลย
    หากดูตัวนี้เป็น จะไม่โทษหนักจนต้องไปเกิดเป็น "เปรต" เพราะ เห็นลังเล หรือ
    เห็น การยึดมั่นถือมั่นปั๊ป ปล่อยก่อน ไม่ต้องทำ ไม่ต้องล่วงในเรื่องนั้น ก็ทำให้
    กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ผ่องแผ้วได้มาก

    * * * * *

    คราวนี้ มาดู ศีลเป็นข้อๆ

    ศีลเป็นข้อๆ นั้น จะขึ้นกับ ปณิธานอันยิ่งใหญ่ ในใจคุณเอง ว่าจะวางตัว
    วางเป้าหมายไว้อย่างไร หากวางไว้แล้วก็ต้องรักษาให้ได้ตามนั้น ก็จะ
    ทำให้ สำเร็จศีลเป็นข้อๆ แต่ให้ผลทางด้าน "บารมี 10" เพื่อสั่งสมแทน
    หาก สะสมบารมี10 จนได้ที่แล้ว ก็จะเลื่อนระดับไปพิจารณา เรื่องของ
    "สังโยชน์" ศีลที่เป็นข้อๆก็จริง แต่ เหนือเหตุเหนือผล เหนือโลก จึงไม่
    ถือว่า รักษาเป็นข้อๆ หากรักษาสังโยชน์เป็นข้อๆ ก็ถือว่า "ศีลพรตปรามาส"

    แต่อย่าลืมนะ หากตั้งปณิธานไว้ ก็จะเป็นเรื่อง สะสมบารมี 10 จะผลิก
    กลับไปของการ "ปรับฐาน"

    มาดูกันว่า

    1. การผิดกฏ
    2. การไม่จ่ายค่าตอบแทน

    ข้อแรกนั้น คุณตั้งปณิธานไว้ว่า จะเป็น นักศึกษาที่ดี มีวินัย ทำตามกฏ หรือเปล่า
    หาก ตั้งปณิธานนั้นในใจ รับรองเลยว่า ใจคุณที่มีธรรมห้อมล้อมย่อมตอบคำถาม
    ได้ถึงความแปรปรวน ไม่เที่ยง ของความเจริญ สลับกับความเสื่อม ในปณิธาน

    แต่ถ้าไม่มีปณิธาน เรื่องนี้ ก็เด็กๆ ไม่คิดมาก จิตก็ ผ่องแผ้วไปอีกแบบ แต่ หาก
    เป็นเรื่องผิดศีลในทางโลกแล้วละก้อ มันจะเศร้าหมอง เผ็ดร้อน ให้ผลในภายหลัง

    เช่น มีคนเอาไปนินทา มีคนเอาไปตั้งข้อสังเกตในการศรัทธา หรือ กรณีมันให้
    ผลช้า ตอนคุณทำงานเลื่อนตำแหน่ง ก็อาจจะถูกเข้าใจผิดในเรื่องวินัย หรือแม้
    กระทั่ง คุณเป็นเจ้านายออกกฏระเบียบ และ คนก็ละเมิดเสียอย่างง่ายดาย ซึ่งจะ
    เป็นเรื่อง เชิงละเมิดสิทธิส่วนตนของคุณ ฯลฯ เป็นต้น

    กรณีข้อสอง "การไม่จ่ายค่าตอบแทน" ก็คล้ายๆกัน หากคุณ ตั้งปณิธานบางอย่าง
    ไว้ ย่อมทราบทันทีว่า เรื่องนี้เศร้าหมองแค่ไหน เป็นทุกข์แค่ไหน แล้ว กรณีของ
    กรรมให้ผล ก็ลองนึกดูว่า ถูกล่วงละเมิดทางสิทธิส่วนตัวแล้ว ยังไม่ได้รับผลตอบ
    แทนให้เป็นที่พอใจอีก มันจะแค่ไหน เราจะใช้ชีวิตลำบากยากเข็นแค่ไหนในการ
    ยกตัวยกตนไปในทางที่ดี ความลำบากนั้นพร้อมจะฉุดให้ไหลลงต่ำแต่ถ่ายเดียว
    มีมิจฉาทิฏฐิห้อมล้อมไว้ถ่ายเดียว หากมิจฉาทิฏฐิห้อมล้อมได้ปริมาณหนึ่ง ก็เลิก
    พูดถึง นิพพาน ได้เลย เพราะว่า มิจฉาทิฏฐินั้นร้ายกว่า อนันตริยะกรรม มากมาย
    เหลือคณานับ เพราะ อนันตริยะกรรมยังหมดช่วงให้ผลหนักได้ แต่ มิจฉาทิฏฐิ
    หรือ การเห็นผิดนั้น จะยากมากในการ ชี้แจงแม้แต่ความดีว่าเป็นอย่างไร

    ก็จะเห็นว่า ในทางโลก เขาก็มีการตอบแทน มีกรรมรอตอบแทนในผลของกรรม
    อย่างสมน้ำสมเนื้อ ไม่สามารถระบุได้ว่า จะมาเมื่อไหร่ จะตอบแทนในรูปแบบไหน
    และ ส่วนใหญ่ กรรมหนึ่งๆนอกจาก จะต้องตกนรกเป็น กรรมหลักแล้ว ยังจะต้อง
    มีเศษกรรมให้ผลมากมายไม่จบสิ้นตามมาอีกด้วย คือ ไม่ใช่การชดใช้ในนรกแล้ว
    เจ้ากัน ล้างกรรมกันนะ ในทางพุทธ การล้างกรรม แก้กรรม ทำให้กรรมนั้นๆหายไป
    ไม่มี กรรมนั้นหากทำผิดแล้ว เขาก็ให้ผลตอบแทนไปตราบชั่วกัลปวสาน จนกว่าจะ
    นิพพานได้ นั่นแหละ กรรมถึงหาที่ให้ผลแก่ผู้ทำกรรมเดิมไม่ได้(แต่อาจจะลงที่ลูก
    หลานได้นะ ไม่จบสิ้นหรอก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2011
  6. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ว่าด้วยเรื่อง ผิดศีลโดยไม่รู้
    คือโดยเจตนานั้นไม่มี แต่มาตรองทีหลังก็คิดว่าผิดศีล
    ถ้าตรองก่อนปฏิบัติแล้วรู้ ก็ไม่ทำ ประมาณนั้น แต่ทำไปแล้ว

    สมมติเรื่องราวว่าอย่างนี้ละกัน
    คือเป็นนักศึกษา แล้วมีห้องฟิตเนสให้นักศึกษาใช้บริการฟรี
    แต่ผมไม่ได้เอาบัตรมา ก็ใช้บริการไม่ได้
    ถ้าเป็นบุคคลทั่วไปต้องเสียเงินสิบบาท
    สุดท้ายผมก็แอบเข้าไป เพราะผมเป็นนักศึกษานี้ ก็น่าจะใช้สิทธิ์ได้

    มาตรองทีหลังว่า
    ๑ ละเมิดกฏที่ตั้้งไว้
    ๒ ผมควรเสียเงินค่าเข้า แล้วผมไม่เสีย ก็เหมือนไปโกงเค้าสิ

    แต่ผ่านไปแล้ว ผมก็ถือว่าผิดแล้วให้แล้วไป และจะไม่ทำอีกเด็ดขาด

    แต่ยังสงสัยว่า แบบนี้ถือว่าศีลด่างพรอย หรือศีลขาด หรืออย่างไรครับ
     
  7. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...แอบเข้า เป็นเจตนาอยู่แล้ว....
     

แชร์หน้านี้

Loading...