จำเป็นรึป่าวว่าต้องตั้งนโมทุกครั้ง

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย ThaiKun, 21 พฤศจิกายน 2011.

  1. ThaiKun

    ThaiKun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +12
    คือผมสวดมนต์หลายบท แต่ละบทมีการตั้งนะโม ๓ จบกำกับไว้ก่อนบทสวดเสมอ

    คือผมอยากรู้ว่าจำเป็นรึป่าวที่ต้องตั้งนะโมก่อนทุกครั้ง

    หรือตั้งครั้งเดียวแล้วสวดต่อ ๆ กันไปได้เลย
     
  2. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    รอบเดียวก้พอแล้ว แล้วบทอื่นก็สวดต่อๆกันเลย
     
  3. น้องจุ๊บ

    น้องจุ๊บ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    603
    ค่าพลัง:
    +1,303
    ขอขอบพระคุณมากค่ะ เข้ามาได้รับความรู้
     
  4. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    [FONT=&quot]ว่าโดยย่อแล้ว บทนะโม คือบทไหว้พระบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เรากล่าวนะโมนั่นแสดงว่าเราเป็นศิษย์มีครู กล่าวแล้วทำให้ใจสงบ ได้บุญมหาศาล ไม่มีเสียหาย แน่นอน
    คำกล่าว นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสะฯ[/FONT]
    [FONT=&quot]อยากทราบว่า ใครเป็นคนกล่าวคำเหล่านี้เป็นคนแรกและเพราะเหตุใดจึงกล่าว[/FONT]
    [FONT=&quot]ความคิดเห็นที่ [/FONT]1
    [FONT=&quot]นะโม ตัสสะ ฯลฯ แปลว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส[/FONT]
    [FONT=&quot]ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง[/FONT]

    [FONT=&quot]ผู้กล่าวบท นะโม ครั้งแรกในโลก ได้แก่[/FONT]

    [FONT=&quot]๑. นะโม [/FONT]…[FONT=&quot]สาตาคิริยักษ์[/FONT]
    [FONT=&quot]๒. ตัสสะ [/FONT]…[FONT=&quot]อสุรินทร์ราหู[/FONT]
    [FONT=&quot]๓. ภควโต[/FONT]…[FONT=&quot]ท้าวจาตุมหาราช [/FONT]\”[FONT=&quot]ทรงเปล่งเสียงพร้อมกันทั้งสี่พระองค์[/FONT]\”
    [FONT=&quot]๔. อรหโต [/FONT]…[FONT=&quot]ท้าวสักกะจอมเทพ[/FONT]
    [FONT=&quot]๕. สัมมาสัมพุทธัสสะ [/FONT]…[FONT=&quot]ท้าวสหัมบดีพรหม[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังคำบาลีว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]นะโม สาตาคิริยักโข[/FONT]
    [FONT=&quot]ตัสสะ อะสุรินโท[/FONT]
    [FONT=&quot]ภะคะวะโต จาตุมะหาราชา[/FONT]
    [FONT=&quot]อะระหะโต สักโก[/FONT]
    [FONT=&quot]สัมมาสัมพุทธัสสะ มะหาพฺรหมา[/FONT]

    [FONT=&quot]พระคาถามีปรากฏอยู่ในฎีกามงคลร้อยแปด[/FONT]

    [FONT=&quot]พระอรหัตเจ้าทั้งหลายพิจารณาเห็นว่า อักษรทั้ง ๕ บทนี้ แต่ละบท ๆ ล้วนเป็นคำกล่าวนมัสการทั้งสิ้น จึงได้ประมวลเข้าไว้เป็นบทเดียวกันฯลฯ[/FONT]

    [FONT=&quot]สรุปว่า บทว่า (ทั้ง [/FONT]5[FONT=&quot] บท) นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นี้ เทวดา ๕ พระองค์ เป็นผู้กล่าวองค์ละบทๆ เพื่อจะนมัสการแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อรหันต์ทั้งหลาย ฯ[/FONT][FONT=&quot]ก็คือเพื่อกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]ความคิดเห็นที่ [/FONT]2

    [FONT=&quot]ฎีกานโม[/FONT]

    [FONT=&quot]นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส[/FONT]

    [FONT=&quot]อิทานิ เตสุ สรณคมเนสุ โกสลตฺถํ สรณคมนํ[/FONT]

    [FONT=&quot]เยหิ ตํ สรณํ คจฺฉนฺติ สรณคมนปฺปเภโท[/FONT]

    [FONT=&quot]สรณาคมนํ ผลํ สงฺกิโส เภโทติ วิธิ เวทิตพฺพา[/FONT]

    [FONT=&quot]นโม สาตาคิริยกฺโข ตสฺส อสุรินฺโท ปวุจฺจติ[/FONT]

    [FONT=&quot]ภควโต จาตุมมหาราชา อรหโต สกฺโก ตถา[/FONT]

    [FONT=&quot]สมฺมาสมฺพุทธสฺสาติ มหาพฺรหฺเมหิ ปวุจฺจติ[/FONT]

    [FONT=&quot]อิติ เอวํ ปญฺจเทเวหิ ฐปิตาติฯ[/FONT]

    [FONT=&quot]ปุจฉา [/FONT]\”[FONT=&quot]นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส ฯ[/FONT]\” [FONT=&quot]ผู้ใดเป็นผู้แต่ง [/FONT]?
    [FONT=&quot]วิสัชชนา เทวดา ๕ พระองค์ เป็นผู้กล่าวองค์ละบท ๆ เพื่อจะนมัสการแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อรหันต์ทั้งหลาย ฯ[/FONT]

    [FONT=&quot]ปุจฉา เทวดาองค์ใด กล่าวนมัสการบทใดบ้าง [/FONT]?
    [FONT=&quot]วิสัชชนา พึงทราบตามพระบาลีที่ได้ยกไว้ข้างต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]๑. นะโม = สาตาคิริยักษ์ เป็นผู้กล่าวนมัสการ[/FONT]
    [FONT=&quot]๒. ตัสสะ = อะสุรินทะราหู เป็นผู้กล่าวนมัสการ[/FONT]
    [FONT=&quot]๓. ภะคะวะโต = ท้าวจาตุมหาราชิกา เป็นผู้กล่าวนมัสการ[/FONT]
    [FONT=&quot]๔. อะระหะโต = ท้าวสักกะเทวะราช เป็นผู้กล่าวนมัสการ[/FONT]
    [FONT=&quot]๕. สัมมาสัมพุทธัสสะ = ท้าวมหาพรม เป็นผู้กล่าวนมัสการ[/FONT]
    [FONT=&quot]อักษรทั้ง ๕ บทนี้ แต่ละบท ๆ ล้วนเป็นคำกล่าวนมัสการทั้งสิ้น จึงประมวลเข้าไว้เป็นบทเดียวกัน[/FONT]

    [FONT=&quot]สำหรับจะได้นมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประเภท[/FONT]

    [FONT=&quot]ปุจฉา ที่ ยก * นะโม * ไว้ในเบื้องต้นแห่งคัมภีร์ทั้งปวง เพื่อประโยชน์ใดหรือ [/FONT]?
    [FONT=&quot]วิสัชชนา พระอาจารย์เจ้าแต่โบราณทั้งลาย ตั้ง * นะโม * นมัสการไว้ก่อนนั้น เพื่อปรารถนาเหตุ ๔ ประการ คือ:-[/FONT]
    [FONT=&quot]๑. ปรารถนาจะให้นักปราชญ์ทั้งหลายทราบว่า ประพฤติอย่างนี้ใกล้ต่อวงศ์แห่งพระอริยะผู้ประเสริฐ[/FONT]
    [FONT=&quot]๒. เพื่อป้องกันสรรพอันตราย[/FONT]
    [FONT=&quot]๓. เพื่อจะชำระสันดานให้หมดจด[/FONT]
    [FONT=&quot]๔. เพื่อจะให้ชีวิตอิทรีย์ของอาตมาเป็นแก่นสาร[/FONT]
    [FONT=&quot]ปุจฉา ก็เหตุไฉน ในเบื้องต้นได้กล่าวถึงเพียง * นะโม * เท่านั้น ต่อมาจึงได้กล่าวถึง * พระไตรสรณคมณ์ * อีกเล่า [/FONT]?

    [FONT=&quot]วิสัชชนา เพราะว่า * นะโม * เป็นเครื่อง นมัสการพระพุทธเจ้าก็จริง แต่พระธรรม พระสงฆ์นั้นเล่าก็เกี่ยวเนื่องถึงกัน เพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระสงฆ์ก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมและนำสืบกันมา เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า[/FONT]
    [FONT=&quot]และนมัสการพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ต้องจำเป็นอยู่เอง ที่จะเกี่ยวเนื่องึงพระธรรมและพระสงฆ์ด้วย จึงจะครบพระรัตนตรัย ฯ[/FONT]

    [FONT=&quot]ปุจฉา *นะโม* นี้จะว่าเพียงจบเดียวไม่ได้หรือ [/FONT]?
    [FONT=&quot]วิสัชชนา ได้ แต่นักปราชญ์บุราณกาจารย์ท่านกล่าวนมัสการ ๓ ครั้ง ก็เพื่อจะกระทำการนมัสการนั้นให้มั่นคงเข้าอย่างหนึ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot]และอีกอย่างหนึ่งเพื่อจะนมัสการพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประเภท ประเภทละ ๑ จบ[/FONT]

    [FONT=&quot]ปุจฉา แต่ละจบนั้น นมัสการพระพุทธเจ้าประเภทใดบ้าง [/FONT]?
    [FONT=&quot]วิสัชชนา[/FONT]
    [FONT=&quot]จบที่ ๑ นมัสการพระพุทธเจ้าประเภท ปัญญาธิกะ มีจำนวน ๕ แสน ๑ หมื่น ๒พัน ๒๗พระองค์ เรียกว่า พระอุคะฆะติตัญญู ซึ่งบำเพ็ญบารมีเป็นเวลา สี่ อสงไขยกำไรแสนมหากัปป์[/FONT]

    [FONT=&quot]จบที่ ๒ นมัสการพระพุทธเจ้าประเภท สัทธาธิกะ มีจำนวน ๑ ล้าน ๒หมื่น ๔ พัน ๕๔ พระองค์ เรียกว่า พระวิปะจิตัญญู ซึ่งบำเพ็ญบารมีเป็นเวลา แปด อสงไขยกำไรแสนมหากัปป์[/FONT]

    [FONT=&quot]จบที่ ๓ นมัสการพระพุทธเจ้าประเภท วิริยาธิกะ มีจำนวน ๒ ล้าน ๔หมื่น ๘พัน ๑๐๘ พระองค์ เรียกว่า พระเนยยะ ซึ่งบำเพ็ญบารมีเป็นเวลา สิบหก อสงไขยกำไรแสนมหากัปป์[/FONT]
    ### [FONT=&quot]คัดย่อจากหนังสือ [/FONT]\” [FONT=&quot]ฎีกา นโม [/FONT]\” [FONT=&quot]รวบรวมโดย [/FONT]\” [FONT=&quot]อมร[/FONT]\”
    [FONT=&quot]พิมพ์เพื่อการกุศล โดย พระเทพสิงหบุราจารย์(หลวงพ่อแพ) เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี[/FONT]

    [FONT=&quot]วัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี[/FONT]

    [FONT=&quot]พิมพ์ที่ โรงพิมพ์วิญญาณ ๔๗/๒ ถนนสามเสน บางลำพู กทม. โทร. ๐๒-๒๘๒ ๒๐๒๕[/FONT]

    [FONT=&quot]พร รัตนสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ.๒๕๓๕[/FONT]
    [FONT=&quot]ความคิดเห็นที่ [/FONT]3

    -[FONT=&quot]ในหนังสือฎีกานะโม กล่าวว่า เทพเจ้า ๕ องค์ คือ สาตาคิรียักษ์ อสุรินทร์ราหู ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะ ท้าวมหาพรหม เป็นผู้กล่าว นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนา โดย[/FONT]
    - [FONT=&quot]สาตาคิรียักษ์เป็นผู้กล่าวคำว่า นะโม[/FONT]
    - [FONT=&quot]อสุรินทร์ราหู เป็นผู้กล่าวคำว่า ตัสส[/FONT]
    - [FONT=&quot]ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้กล่าวคำว่า ภะคะวะโต (กล่าวพร้อมกันทั้ง ๔ องค์)[/FONT]
    - [FONT=&quot]ท้าวสักกะจอมเทพคือพระอินทร์เป็นผู้กล่าวคำว่า อะระหะโต[/FONT]
    - [FONT=&quot]ท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่ในพรหมโลกเป็นผู้กล่าวคำว่า สัมมาสัมพุทธัสสะ[/FONT]
    [FONT=&quot]เหตุที่กล่าวก็เพื่อแสดงความนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องนี้ พระเทพวิสุทธิเวที วัดมหาพฤฒาราม ให้ข้อสังเกตในหนังสือนโมเทศนาและชัยมงคลเทศนาว่า ตามที่ฎีกานะโม ระบุว่าเทพ ๕ องค์เป็นผู้กล่าวนะโมเป็นคนแรกนั้น ไม่ได้ระบุหลักฐานว่านำมาจากคัมภีร์หรือพระสูตรอะไร และกล่าวที่ไหน เมื่อไร จึงเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อถือ และสันนิษฐานว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า น่าจะเป็นผู้ทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง โดยทรงบัญญัติบทว่า นะโม นี้ พร้อมกับบท ไตรสรณคมน์ (พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯเปฯ) ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ในคราวทรงอนุญาตให้พระอรหันต์สาวกเป็นอุปัชฌาย์ในครั้งแรก เพื่อให้ทำการบวชกุลบุตรเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ ด้วยอุปสมบทวิธี คือ ติสรณคมนูปสัมปทา ในคราวเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรก[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนนะโมที่ปรากฎในคัมภีร์อื่นๆ เช่นในสักกปัณหสูตร ธรรมเจตียสูตร พรหมายุสูตร และธนัญชานีสูตร มีลักษณะเป็นคำอุทาน แสดงความเบิกบานใจ แสดงความเลื่อมใสศรัทธา แสดงความแปลกประหลาดใจ แสดงความตระหนกตกใจ ไม่เกี่ยวกับใครพูดก่อนพูดทีหลัง[/FONT]
    [FONT=&quot]นักปราชญ์บางท่าน สันนิษฐานว่า บทว่า นะโม เป็นคำกล่าวนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลับหลัง ไม่ใช่กล่าวเฉพาะพระพักตร์พระองค์[/FONT]

    [FONT=&quot]จาก [/FONT]http://www.navy.mi.th/navedu/webboard/ex11_32.php?q_id=45
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 พฤศจิกายน 2011
  5. ThaiKun

    ThaiKun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณทุกท่านมากครับ
     
  6. ผู้เลื่อมใสศรัทธา

    ผู้เลื่อมใสศรัทธา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +2,082
    อนุโมทนา ครับ

    ขอบคุณ คุณ LungKoZone มากนะครับ อธิบายซะกระจ่างเลย

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  7. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    [​IMG]

    มุตโตทัย




    <DIR>
    บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ )ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนครพ.. ๒๔๘๖​

    ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อธรรมดังต่อไปนี้



    </DIR>



    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=499 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    ๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    ๓. มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน
    ๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
    ๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
    ๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
    ๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
    ๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
    ๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
    ๑๐. จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวไปเพราะอุปกิเลส
    ๑๑. การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสัย๑๒. มูลติกสูตร
    ๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
    ๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัต
    ๑๕. สัตตาวาส ๙
    ๑๖. ความสำคัญของปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา และปัจฉิมเทศนา๑๗. พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ



    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    ๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
    อคฺคํ ฐานํ มนุสฺเสสุ มคฺคํ สตฺตวิสุทธิยา

    ฐานะอันเลิศมีอยู่ในมนุษย์ ฐานะอันดีเลิศนั้นเป็นทางดำเนินไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ โดยอธิบายว่าเราได้รับมรดกมาแล้วจาก นโม คือ บิดามารดา กล่าวคือตัวของเรานี้แล อันได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นชาติสูงสุด เป็นผู้เลิศตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดีคือมีกายสมบัติ วจีสมบัติ แลมโนสมบัติบริบูรณ์ จะสร้างสมเอาสมบัติภายนอก คือ ทรัพย์สินเงินทองอย่างไรก็ได้ จะสร้างสมเอาสมบัติภายในคือมรรคผลนิพพานธรรมวิเศษก็ได้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติแก่มนุษย์เรานี้เอง มิได้ทรงบัญญัติแก่ ช้าง มา โค กระบือ ฯลฯ ที่ไหนเลย มนุษย์นี้เองจะเป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจว่า ตนมีบุญวาสนาน้อย เพราะมนุษย์ทำได้ เมื่อไม่มี ทำให้มีได้ เมื่อมีแล้วทำให้ยิ่งได้สมด้วยเทศนานัยอันมาในเวสสันดรชาดาว่า ทานํ เทติ สีลํ รกฺขติ ภาวนํ ภาเวตฺวา เอกจฺโจ สคฺคํ คจฺฉติ เอกจฺโจ โมกฺขํ คจฺฉติ นิสฺสํสยํ เมื่อได้ทำกองการกุศล คือ ให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาตามคำสอนของพระบรมศาสดาจารย์เจ้าแล้ว บางพวกทำน้อยก็ต้องไปสู่สวรรค์ บางพวกทำมากและขยันจริงพร้อมทั้งวาสนาบารมีแต่หนหลังประกอบกัน ก็สามารถเข้าสู่พระนิพพานโดยไม่ต้องสงสัยเลย พวกสัตว์ดิรัจฉานท่านมิได้กล่าวว่าเลิศ เพราะจะมาทำเหมือนพวกมนุษย์ไม่ได้ จึงสมกับคำว่ามนุษย์นี้ตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดีสามารถนำตนเข้าสู่มรรคผล เข้าสู่พระนิพพานอันบริสุทธิ์ได้แล
    http://www.luangpumun.org/muttothai_1.html#3
     

แชร์หน้านี้

Loading...