5 อานิสงส์ของการฟังธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย CLUB CHAY, 19 พฤศจิกายน 2011.

  1. CLUB CHAY

    CLUB CHAY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    507
    ค่าพลัง:
    +1,412
    [​IMG]

    ธรรมสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์ของการฟังธรรม หมายถึงผลดีหรือส่วนดีที่เกิดขึ้นทันทีที่คนเรามีความตั้งใจฟังธรรม คือหลักคำสั่งสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ที่พระภิกษุค้นคว้านำมาเทศน์ ปาฐกถา บรรยายหรือบอกเล่ากล่าวสอนในกาลเทศะต่างๆ โดยไม่ต้องรอการให้ผลในชาติหน้า มี 5 ประการ ดังนี้

    1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง หมายถึงว่า การฟังธรรมนั้นเป็นการหาความรู้ที่ดีอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวกับหลักพระพุทธศาสนาจากพระภิกษุผู้มีภูมิธรรมศึกษา ปฏิบัติพุทธธรรมตามหลักพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกอย่างเชี่ยวชาญ พร้อมที่จะนำออกเผยแผ่แก่ประชาชน โดยมีคุณสมบัติของการเป็นนักเทศน์หรือนักสอนธรรมที่ดี

    โดยเหตุที่ผู้ฟังคือคฤหัสถ์หรือชาวบ้านนั้น เป็นผู้มีโอกาสน้อยที่จะได้ศึกษาค้นคว้าหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎกโดยตรง ดังนั้น จึงต้องอาศัยการฟังจากพระภิกษุที่เมตตาแสดงธรรม

    เมื่อตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ อานิสงส์ที่จะได้อย่างแน่นอน เป็นประการแรก ก็คือได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง เพราะพระภิกษุนั้นท่านย่อมจะมีวิธีการนำเสนอหลักธรรมที่ไม่ซ้ำๆ กันอย่างชาญฉลาด พร้อมทั้งให้ข้อคิดความเห็นแปลกๆ ใหม่ๆ โดยปรับปรุงวิธีการเทศน์การสอน ที่ประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ

    2. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด หมายความว่า ธรรมข้อใด หรือเรื่องใดที่เคยฟัง มาแล้วจากการแสดงธรรมเป็นต้น ของพระภิกษุในครั้งก่อน แต่ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง เมื่อตั้งใจฟังอีกครั้ง อานิสงส์ที่จะได้อย่างแน่นอนเป็นประการที่ 2 ก็คือความเข้าใจ ชัดแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการทบทวนความรู้เดิมที่ดีอีกด้วย

    3. บรรเทาความสงสัยเสียได้ หมายความว่า ตามปกติ ของผู้ไม่มีโอกาสศึกษาหลักพุทธธรรมอย่างลึกซึ้ง ย่อมจะเกิดความสงสัยในเรื่องนามธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น เรื่องบาป บุญ คุณ โทษเป็นอย่างไร มีผลอย่างไร อะไรเป็นบุญกุศล อะไรคือบาปอกุศล ผลของบาปหรือบุญมีจริงหรือไม่ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ เป็นต้น ความสงสัยเช่นนี้ จะบรรเทาลงได้ ถ้าตั้งใจฟังธรรม ซึ่งนับเป็นอานิสงส์ประการที่ 3 ที่ผู้ฟังธรรมจะได้รับทันทีเมื่อฟังธรรมจากพระภิกษุผู้มีความสามารถในการเทศน์ ซึ่งจะอธิบายเรื่องที่เป็นนามธรรม ด้วยการสาธกยกอุปมาเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย

    4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ หมายถึงว่า เพราะคฤหัสถ์ ชาวบ้านบางคนได้นับถือพระพุทธศาสนาตามที่บรรพบุรุษนับถือมา ดังนั้น จึงอาจจะมีความคิดเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรมได้ เช่น เห็นว่าทำดีเมื่อไม่มีคนเห็น ก็ไม่ได้รับผลดี หรือเห็นว่าจะดีหรือชั่ว ก็แล้วแต่โชคชะตาฟ้าลิขิต เป็นต้น

    การมีความคิดเห็นเช่นนี้จะถูกทำลายลงได้ คือเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ต่อเมื่อตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ จากพระภิกษุผู้มีความสามารถในการแสดงธรรม ที่จะพรรณาสาธกยกเหตุผลประกอบจนผู้ฟังนั้นคล้อยตาม ปรับความเห็นให้ถูกต้องอย่างปราศจากข้อโต้แย้งในใจ

    5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส หมายถึงว่า การตั้งใจฟังธรรมนั้น ท่านจัดเป็นส่วนหนึ่งของการภาวนา คือการฝึกอบรมพัฒนาจิตให้ เกิดปัญญา เพราะเมื่อตั้งใจฟัง จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส อันเป็นคุณสมบัติของสมาธิจิต เมื่อจิตผ่องใสตั้งมั่นเป็นสมาธิ ย่อมมีพลานุภาพที่จะคิดอ่านทำการต่างๆ อย่างสร้าง สรรค์ด้วยปัญญา สามารถที่จะรู้และเข้าใจธรรมต่างๆ ที่ลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพได้ง่าย และอานิสงส์ข้อนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากอานิสงส์ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวมา

    พระพุทธศาสนาได้ให้ความสำคัญต่อการฟังธรรมเป็น อย่างมาก เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม ข้อนี้มีพระพุทธภาษิตตรัสรับรองไว้ว่า สุสฺสุสํ ลภเต ปัญญํ ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา

    การฟังธรรมท่านจัดเป็น 1 ในบุญกิริยาวัตถุ 10 (ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการฟัง) ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่ง ความดีในการพัฒนาตนให้มีความคิดสติปัญญาที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ และเจริญงอกงามในพุทธธรรมต่อไป

    แต่การฟังธรรมนั้น ผู้ฟังจะได้รับอานิสงส์หรือจะสำเร็จ ผลได้อย่างแท้จริง ต้องอาศัยความตั้งใจฟังโดยเคารพ คือมีสติสัมปชัญญะคอยควบคุมจิต ให้มุ่งดำเนินไปตามกระแสธรรมที่พระภิกษุท่านนำมาแสดง ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆจึงจะได้รับอานิสงส์ทั้ง 5 ประการดังที่แสดงมา

    แต่หากว่าผู้ฟังแสดงอาการไม่เคารพในการฟัง เช่น ในขณะฟังหรือในขณะที่พระท่านเทศน์ กลับพูดคุยกัน แข่งแย่งกันพูด บ่นว่าปวดเมื่อยหรือรำคาญ แสดงอาการเหม่อ ใจลอย หรือหลับ ไม่ใช้สติปัญญาคิดพิจารณาตามกระแสธรรม การฟังธรรมก็จะไม่สำเร็จประโยชน์เป็นอานิสงส์ใดๆ แก่ผู้ฟังเลย กลับจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

    • 9 จรรยาบรรณของผู้ฟังธรรมที่ดี

    ผู้ฟังธรรมที่ดี จึงควรมีจรรยาบรรณของผู้ฟัง ดังนี้
    1. ไม่พูดมากขณะฟัง
    2. ไม่พูดเรื่องที่คนอื่นเขาพูดมากแล้ว
    3. ไม่พูดถึงคนอื่นในแง่ร้าย
    4. ใช้สติปัญญาขณะฟัง
    5. ยอมรับความจริงว่ายังไม่รู้ไม่เข้าใจในสิ่งที่ฟัง
    6. ไม่ลบหลู่ดูถูกดูหมิ่นผู้เทศน์หรือผู้แสดงธรรม
    7. ไม่มีจิตคิดแข่งดี คือไม่คิดยกตนว่าสามารถพูดได้ดีกว่าผู้แสดง
    8. ไม่มีจิตกระด้าง คอยจ้องจับผิดผู้แสดงธรรม
    9. ไม่ฟังแบบเสียไม่ได้
    เมื่อมีจรรยาบรรณเช่นนี้ ก็จะได้รับประโยชน์จากการฟังธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน

    (จากส่วนหนึ่งของหนังสือคู่มือพุทธศาสนิกชน)


    fly_pig
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 พฤษภาคม 2012
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับการให้ธรรมะเป็นทานด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  3. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    อนุโมทนาค่ะ
    เชื่อและศัทธาในพระพุทธองค์และท่านครูบาอาจารย์
     
  4. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    พระพุทธวจนนี้ ของพระศาสดา เคยได้ยินได้ฟังกันบ้างไหม

    อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๔ ประการ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
    สุตตะ เคยยะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรมะ เวทัลละ
    ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
    แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

    เธอมีสติหลงลืมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
    บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า
    แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้.

    อีกประการหนึ่ง ... เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
    บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
    แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
    เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
    ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น
    สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
    เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่าเสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
    ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ... ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้.

    อีกประการหนึ่ง ... บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
    ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
    แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
    เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า
    แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
    เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
    ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ... ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้.

    อีกประการหนึ่ง ... บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
    แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
    แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือน
    เทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
    เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์ เราระลึกได้ เราระลึกได้ สติบังเกิดขึ้นช้า
    แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว
    ในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่ง พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า
    สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
    ... ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน

    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ
    คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้.
     
  5. Pra_THoNG

    Pra_THoNG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +739
    ฟังสดๆ
    กับฟังจาก CD หรือ mp3 ได้ รับอานิสงส์ เหมือนกับฟังสดๆไหม อ่าครับ พอดีชอบ
    นอนฟัง ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ก่อนนอน บ่อยๆ
     
  6. ตาลเดี่ยว

    ตาลเดี่ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +425
    อนุโมทนา สาธุ ครับที่นำธรรมะดีๆมาฝากกัน ขอขอบพระคุณมากๆครับ
     
  7. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    อนุโมทนา สาธุ กับเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ ที่เสียสละเวลาทำกระทู้ดีๆ ให้สมาชิกเว็ปพลังจิตได้ศึกษาธรรมะกัน :cool:


    [​IMG]

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม 7)

    ผลบุญจากธรรมทาน ซึ่งชนะทานทั้งปวง
    เพราะสร้างปัญญาให้เกิด

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. การให้ธรรมเป็นทาน คือ การให้เขาอ่านหรือฟัง หรือดูแล้วเกิดปัญญา เป็นการเพิ่มปัญญาบารมีให้กับตนเองด้วยและกับผู้อื่นด้วย จักทำให้มีปัญญาตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ เข้าถึงพระนิพพานเร็วเข้า

    ๒. อย่าลืมเราให้ทานอันใด เราย่อมได้ทานอันนั้นตอบสนอง จักหวังผลหรือไม่หวังผลตอบแทนก็ตาม แต่กฎของกรรมก็เที่ยงอยู่อย่างนี้แหละ

    ๓. อนึ่ง แม้เรื่องภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เจ้าเขียนนั้น การเขียนบรรยายธรรมไว้ใต้ภาพ ก็อย่าให้ย่อมากไปจนเสียใจความของธรรมะ ความใดควรยาวก็ให้ยาวเข้าไว้ ความใดควรสั้นก็สั้นตามนั้น ต้องให้ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจในธรรมปฏิบัติได้เป็นสำคัญ นั่นแหละจึงจักมีอานิสงส์ที่สมบูรณ์


    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     

แชร์หน้านี้

Loading...