ดวงตาเห็นธรรม - หลวงปู่ชา สุภัทโท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 19 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    พวกเราบางองค์ที่มาอาศัยการปฏิบัตินั้น อยู่ไปตั้งสองปีก็ยังไม่รู้เรื่องกันเลยก็มี ไม่รู้เรื่องว่าเขาทำอะไรกัน เพราะความเข้าใจตั้งใจจดจ่อไม่มี

    ความจริงการเป็นผู้ปฏิบัติใจเรานั้น เมื่อเราดูใจเราเมื่อใดก็ให้มีสติจ้องอยู่อย่างนั้น เมื่อมีสติมันก็มีปัญญา มองเห็นว่า ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นใครพูดอะไรก็ตาม มันล้วนแต่เป็นธรรมทั้งนั้น ถ้าเรารู้จักนำมาคิด

    ธรรมะทั้งหลาย คือธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ของมัน มันล้วนแต่เป็นธรรมะทั้งหมด ทีนี้เมื่อเราได้รู้ข้อปฏิบัติ

    ไม่ว่าสิ่งทั้งหลาย คือธรรมะ เราจึงอาศัยแต่การอบรมจากครูบาอาจารย์ แต่ความจริงแล้วเราควรพิจารณาสภาวธรรมชาติรอบตัวทุกอย่าง อย่างต้นไม้อย่างนี้ ธรรมชาติของมันก็เกิดขึ้นมาจากเมล็ดของมัน แล้วมันก็โตขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าเราพิจารณาเราก็จะได้ธรรมจากต้นไม้ แต่เราไม่สามารถเข้าใจว่าต้นไม้ก็ให้ธรรมะได้ เมื่อมันใหญ่ขึ้นมา ใหญ่ขึ้นมาจนเป็นดอก จนมันออกผล เราก็รู้เพียงแต่ว่าต้นไม้มันเป็นดอก มันออกผลมา แต่ไม่รู้จักน้อมเข้ามาเป็น โอปนยิโก คือ น้อมเข้ามาในใจของเรา

    เลยไม่รู้ว่าต้นไม้ก็เทศน์ให้เราฟังได้

    พวกเราไม่พากันรู้จักต้นไม้นั้น มันเกิดเป็นผลขึ้นมาให้เราได้เคี้ยว ได้ฉัน ได้กินตามธรรมชาติ เราก็กินไปเฉยๆ กินด้วยการไม่พิจารณารสเปรี้ยว รสหวาน รสมัน รสเค็ม เรียกว่าไม่รู้จักพิจารณาธรรมะจากต้นไม้ จากธรรมชาติ เราไม่พากันเข้าใจถึงธรรมชาติของมัน เมื่อต้นไม้มันแก่ขึ้นใบของมันก็ร่วงลง เราก็เห็นเพียงว่าใบไม้นั้นมันร่วงลง แล้วเราก็เหยียบไป กวาดไปเท่านั้น การจะพิจารณาให้คืบคลานไปอีกก็ไม่มี

    [​IMG]


    อันนี้ก็คือ ไม่รู้จักว่าธรรมชาตินั้น คือธรรมะ

    พอใบไม้ร่วงแล้ว ทีนี้ก็จะมียอดเล็กๆ โผล่ขึ้นมา เราก็เห็นเพียงแค่ว่ามันโผล่ขึ้นมาเท่านั้น ไม่ได้พิจารณาอย่างอื่นอีก นี่ก็ไม่เป็น โอปนยิโก คือไม่น้อมเข้ามาหาในตน นี่เป็นเช่นนั้น

    ถ้าน้อมเข้ามาหา เราจะเห็นว่าความเกิดของเรากับต้นไม้ก็ไม่แปลกอะไรเลย
    สกลร่างกายของเราเกิดขึ้นมาด้วยเหตุด้วยปัจจัยของมัน อาศัยดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน มันก็เหมือนกับเรา มันก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะเราก็เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกสิ่งทุกส่วนของมันก็เจริญขึ้นเรื่อยๆ มันเปลี่ยนสภาวะของมันไปเรื่อยๆ เหมือนกับต้นไม้ ถ้าเราน้อมเข้ามาดูแล้วจะเห็นว่าต้นไม้เป็นอย่างไร เราก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน มนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมา เบื้องต้น ท่ามกลางแล้วก็แปรไป ขน เล็บ ฟัน หนัง มันก็แปรไป มันไม่อยู่เหมือนเดิม

    สิ่งเหล่านี้ถ้าเราไม่รู้จักต้นไม้ เครือเขาเถาวัลย์เหล่านั้น ก็เหมือนกับเราไม่รู้จักตัวของเรา ถ้าเราน้อมเข้ามาเป็น โอปนยิกธรรม จึงจะรู้จักว่าต้นไม้เครือเถาวัลย์นั้นก็เหมือนกับเรา คนเราเกิดมาผลที่สุดแล้วก็ตายไป คนใหม่ก็เกิดมาต่อไป อย่างผม ขน เล็บ หลุดร่วงไปก็งอกขึ้นมาใหม่สลับเปลี่ยนกันไปอย่างนี้ ไม่หยุดสักที

    ความเป็นจริงนั้น ก็หากเราเข้าใจข้อปฏิบัติ ก็จะเห็นว่าต้นไม้ก็ไม่แปลกไปจากเรา จะเห็นของสะอาดของสกปรก ก็ไม่แปลกไปจากเรา เพราะมันเป็นอย่างเดียวกัน ถ้าเราเข้าใจธรรมะ เข้าใจฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์ มันเปรียบเหมือนกับที่ข้างในกับข้างนอก สังขารที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง นี่มันก็เหมือนกัน ไม่ได้แปลกอะไร ถ้าเราเข้าใจว่ามันเหมือนกันแล้ว เราเห็นต้นไม้ว่าเป็นอย่างไร เราก็จะเห็นขันธ์ของเรา คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ก้อนสกลร่างกายของเรานี้ก็เช่นกัน มันก็ไม่ได้แปลกอะไรกัน

    ถ้าเรามีความเข้าใจเช่นนี้ เราก็จะเห็นธรรม

    เห็นอาการของขันธ์ห้าของเราว่า มันเคลื่อนมันไหว มันพลิก มันแพลง มันเปลี่ยนมันแปลงไปไม่มีหยุดทีนี้ไม่ว่าเราจะยืน จะเดินหรือนั่งหรือนอน ใจของเราก็จะมีสติคุ้มครองระวังรักษาอยู่เสมอ เมื่อเห็นของภายนอกก็เห็นของภายใน ถ้าเห็นของภายใจก็เห็นของภายนอก เพราะมันเหมือนกัน ถ้าหากว่าเราเข้าใจอย่างนี้ เราก็ได้ฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้าแล้ว

    ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็เรียกว่า “พุทธภาวะ” คือผู้รู้เกิดขึ้นมาแล้ว เกิดขึ้นมาแล้ว มันรู้แล้ว รู้อาการภายนอก รู้อาการภายใน รู้ธรรมทั้งหลายต่างๆ ที่มันเป็นมา

    ถ้าเข้าใจอย่างนี้ แม้เรานั่งอยู่ใต้ร่มไม้ก็เหมือนกันกับพระพุทธเจ้าท่านเสด็จมาเทศน์โปรดเรา เราได้ฟังเทศน์ของพระพุทธองค์อยู่เสมอ เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ได้ฟัง เราจะได้เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันนี้เราก็ได้ฟังเทศน์อยู่เสมอเหมือนกับพระพุทธเจ้าเทศน์ให้เราฟัง

    พระพุทธเจ้าก็คือ ผู้รู้อยู่ในใจของเรานี้แหละ รู้ธรรมเหล่านี้แล้วเห็นธรรมเหล่านี้แล้ว ก็พิจารณาธรรมอันนี้ได้ ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าท่านนิพพานไปแล้ว ท่านจะมาเทศน์ให้เราฟัง

    พุทธภาวนาคือ ตัวผู้รู้ คือดวงจิตของเรานี้เกิดรู้ เกิดสว่างมาแล้ว ตัวนี้แหละจะพาเราพิจารณาธรรมทั้งหลายเหล่านั้น

    ธรรมก็คือพระพุทธเจ้าองค์นี้แหละ ถ้าตั้งพุทธะเอาไว้ในใจของเรา คือความรู้สึกมันมีอยู่อย่างนี้เราเห็นหมด เราก็พิจารณาไป มันก็ไม่แปลกจากเรา เห็นสัตว์ก็ไม่แปลกจากเรา เห็นต้นไม้ก็ไม่แปลกจากเรา เห็นคนทุกข์คนจนก็ไม่แปลกกัน เห็นคนร่ำรวยก็ไม่แปลกกัน เห็นคนดำคนขาวก็ไม่แปลกกัน เพราะสิ่งเหล่านี้มันตกอยู่ในสามัญลักษณะอันเดียวกัน คือลักษณะอันเดียวกัน
    ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ ก็เรียกว่าผู้นั้นอยู่ไหนก็สบาย จะได้มีพระพุทธเจ้าเทศน์โปรดเสมอเลยทีเดียว

    ถ้าผู้ไม่เข้าใจอย่างนี้ ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ก็ให้นึกอยากจะฟังเทศน์กับอาจารย์อยู่เรื่อยไป เลยไม่รู้จักธรรมะ

    ที่สมเด็จพระบรมศาสดาของเราท่านตรัสว่า ตรัสรู้ธรรมนั้นก็คือ รู้ธรรมชาติเหล่านั้นแหละ ธรรมชาติที่มันเป็นอยู่นี้แหละ ถ้าเราไม่รู้จักธรรมชาติธรรมดาอันนี้ พอเราเห็นเข้า เราก็กระตือรือร้นตื่นเต้น มีความร่าเริงจนหลงอารมณ์ จึงมีโศกเศร้า เสียใจ เพราะหลงอารมณ์ หลงธรรมชาติเหล่านี้แหละ เมื่อมัวหลงธรรมชาติอันนี้ มันก็คือไม่รู้จักธรรมะนั่นเอง

    สมเด็จพระบรมศาสดาท่านทรงชี้ธรรมชาติ คือธรรมชาติหรือธรรมดาว่ามันเป็นของอยู่อย่างนั้น เกิดมาแล้วก็เปลี่ยนไปแปรไปแล้วดับไปเป็นธรรมดา จะเป็นตัวว่าสุขก็เหมือนกัน จะเป็นตัวว่าทุกข์ก็เหมือนกัน

    อย่างวัตถุที่เราปั้นขึ้นมา เช่น ถ้วยหม้อต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้เมื่อถูกปั้นขึ้นมา ก็เกิดจากเหตุจากปัจจัย คือ ความปรุงแต่งของเราขึ้นมาอีกทีหนึ่งเช่นกัน ครั้นได้ใช้ไปมันก็เก่าไป แตกไป สลายไป มลายไปได้ เพราะเป็นธรรมดาของมัน ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ต่างๆ ก็เหมือนกัน ตลอดจนมนุษย์สัตว์เดียรฉานก็เหมือนกัน มีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น มีความแปรไปเป็นธรรมดาเช่นนั้น
    เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะท่านฟังเทศน์เป็นปฐมสาวกนั้น ท่านไม่ได้เข้าใจอะไรมากมาย ท่านเข้าใจว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น แล้วมีความแปรไปเป็นธรรมดา แล้วผลที่สุดก็มีความดับเป็นธรรมดาของมัน เมื่อก่อนนี้พระอัญญาโกณฑัญญะนั้นไม่เคยได้มีความนึกหรือความคิดอย่างนี้เลย หรืออักนัยหนึ่งก็คือไม่เคยพิจารณาให้แจ่มแจ้งเลยสักครั้ง

    ฉะนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะจึงไม่ได้ปล่อยหรือไม่ได้วาง คือมีอุปทานในขันธ์ทั้งห้านี้อยู่ ต่อเมื่อได้มาฟังเทศน์ของสมเด็จพระบรมศาสดาของเรา ขณะนั่งฟังมีพุทธภาวนาเกิดขึ้นได้มองเห็นธรรมว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่แน่นอน มันเป็นธรรมชาติหรือธรรมดานี่เอง ท่านจึงบอกได้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเบื้องต้น แล้วมีความแปรไป สิ่งเหล่านี้ดับไปเป็นธรรมดา ธรรมชาติอันนี้มันเป็นอยู่อย่างนี้เสมอ

    ความเห็นของพระอัญญาโกณฑัญญะในขณะที่ฟังนั้นเป็นความรู้สึกแปลก แปลกจากในอดีตหรือในกาลก่อนที่ได้เคยพิจารณา อันนี้รู้เท่าถึงดวงจิตจริงๆ เป็นได้ว่าพุทธะ คือผู้รู้เกิดขึ้นมาในเวลานั้น สมเด็จพระบรมศาสดา ท่านทรงเรียกว่าพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว

    ดวงตาเห็นธรรมนั้นคือ ดวงตาเห็นอะไร คือ ดวงตาเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นเบื้องต้นความแปรไปเป็นท่ามกลาง ความดับเป็นที่สุด สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือทั้งหมด จะเป็นรูปก็ช่าง จะเป็นนามก็ตามสิ่งใดสิ่งหนึ่งครอบรวบเลยทีเดียว ได้แก่ธรรมชาติทั้งหมดเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นรูปธรรมก็ช่าง จะเป็นนามธรรมก็ตาม เกิดขึ้นแล้วก็แปรดับไป

    อย่างตัวสกลร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเกิดแล้วก็แปรไปตามธรรมดาของมัน แล้วก็ดับไป อย่างเด็กก็แปรจากเด็ก ดับจากเด็กมาเป็นหนุ่ม จากหนุ่มก็ดับไปเป็นแก่ จากแก่ก็ดับไปเป็นชรา จากชราก็ตาย ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ก็เหมือนกัน เบื้องต้นก็เหมือนกัน มันแปรไป แล้วก็แก่ไป สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นหรือความเข้าใจอันเกิดมาจากผู้รู้ในคราวที่นั่งฟังธรรมอยู่นั้น เข้าไปถึงใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ จนเป็นเหตุให้ถอนตัวอุปธิ หรืออุปาทานออกจากสังขารทั้งหลายทั้งปวงนั้นได้ เป็นต้นว่า สักกายทิฏฐิ คือ อาการที่ไม่ถือเนื้อถือตัวทั้งหลายนี้ เห็นตามสกลร่างกายของเรา แล้วก็ไม่เห็นว่าเป็นตัวเป็นของเรา เห็นชัดลงไปจนเป็นเหตุให้ถอนจากอุปาทานนั้น ไม่ถือตัวซึ่งเป็นสักกายทิฏฐิและไม่มีวิจิกิจฉา

    เมื่อถอนอุปาทานออกมาจากความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็มิได้สงสัยเลยในธรรมทั้งหลาย หรือในความรู้ทั้งหลาย เมื่อเข้าไปเห็นธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแล้วก็เปลี่ยนออกไปเลยทีเดียวรู้ว่า นี่วิจิกิจฉา นี่สีลัพพตปรามาส

    การปฏิบัติของท่านนั้นแน่แน่วตรงเข้าไป ไม่ได้เคลือบแคลงสงสัย ไม่ได้ลูบหรือไม่ได้คลำ ถึงแม้ว่าสกลร่างกายมันจะเจ็บ มันจะไข้เป็นอย่างใด ท่านก็ไม่ลูบคลำมัน ไม่ได้สงสัยเสียแล้ว

    การที่ไม่ได้สงสัยนี้ก็คือ ถอนอุปทานออกมาแล้ว

    ถ้ามีอุปทานอยู่ก็ต้องไปลูบไปคลำในสกลร่างกายนี้ อาการลูบคลำในสกลร่างกายนี้เป็นสีลัพพตปรามาส เมื่อถอนสักกายทิฏฐิออกจากกายนี้ สีลัพพตปรามาสก็หมดไป วิจิกิจฉาก็เลิก สีลีพพปรามาสก็เลิก

    ถ้ายังมีสีลัพพตปรามาสอยู่ วิจิกิจฉาก็อยู่อุปทานก็ยังอยู่

    ดวงตาเห็นธรรม - โพสต์ทูเดย์ ข่าวธรรมะ-จิตใจ
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วิญญาณคือผู้รู้เดียว คือดวงจิตของเราผู้รู้นี้แหละจะเป็นเหตุให้มีอำนาจ สามารถรู้สภาวะหรือธรรมชาติตามความเป็นจริง

    ถ้าตัวนี้ยังมีเครื่องปกปิดอยู่เมื่อใด รู้อันนี้ท่านเรียกว่า โมหะธรรม คือรู้ไปในทางที่ผิด รู้ผิด เห็นผิด ก็ตัววิญญาณตัวเดียวนี้แหละ ผู้รู้ตัวเดียวนี้เอง ไม่เป็นตัวอื่นอีก

    รู้ผิด เห็นผิด รู้ถูกเห็นถูกก็ตัวเดียวนี้เอง

    เพราะเช่นนี้ท่านจึงว่าเป็นมิจฉาทิฐิ สัมมาทิฐิไม่มีสองตัว มีตัวเดียว ผิดก็เกิดขึ้นจากตัวเดียว ถูกก็เกิดจากตัวเดียว เมื่อโมหะเกิดในทางที่ผิดก็เรียกว่า โมหะมันกำบังความรู้อันนี้ มันก็ผิดไป เมื่อความรู้ผิด มันก็มีความเห็นผิด ดำริผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด ผิดไปหมด เป็นมิจฉาทิฐิ คือ ความเห็นผิด ความเห็นชอบก็เกิดจากผู้รู้ผู้เดียว

    ถ้ามันชอบแล้ว ความไม่ชอบมันก็หายไป ถ้ามันถูกแล้ว ความรับผิดมันก็หายไป

    ฉะนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาท่านประพฤติปฏิบัติอยู่นั้น ทรงทรมานสกลร่างกายของท่าน ด้วยเรื่องอาหารการบริโภคต่างๆ จนร่างกายของท่านซูบผอมลงไปอย่างที่เราเรียนมาฟังมา แล้วท่านก็พิจารณาเข้าไป พิจารณาเข้าไป เข้าไป เข้าไป แล้วก็ถอนออกมาได้ความรู้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ ตรัสรู้ทางจิต เพราะกายนี้มันไม่รู้จักอะไร กายนี้จะให้มันกินอะไร จะไม่ให้มันกินก็ได้ ฆ่ามันทิ้งเมื่อไรก็ได้ เมื่อท่านได้ความรู้แล้วว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบำเพ็ญทางจิตการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่ที่รู้จิต

    [​IMG]


    เมื่อท่านมาพิจารณาถึงจิตของท่าน ท่านก็ได้ออกจากการปฏิบัติทรมานกาย เมื่อท่านแสดงธรรมเรื่อง กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุโยโค ท่านจึงแสดงขึ้นอย่างชัดแจ้งเลยทีเดียว เพราะท่านได้เห็นแล้ว

    ธรรมเทศนาอันนี้มันจึงชัดในใจของพวกคนทั้งหลาย
    กามสุขัลลิกานุโยโค นั้น คือใจของเรามันลุ่มหลงอยู่ในความสุข ลุ่มหลงอยู่ในความสบาย ลุ่มหลงอยู่ในความดีใจ ลุ่มหลงว่าเราดี ว่าเราเลิศ เราประเสริฐ อาศัยอยู่ในความสุขนี้ อันนี้ก็ไม่ใช่หนทางที่บรรพชิตจะพึงเดินเข้าไป เพราะมันเป็นกามสุขัลลิกานุโยค อาการที่ไม่พอใจ อาการที่เป็นทุกข์ใจ อาการที่ไม่ชอบใจ อาการที่กริ้วที่โกรธ

    อันนี้ก็เป็น อัตตกิลมถานุโยโค

    ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร ธรรมสองอย่างนั้นท่านจึงว่าไม่ใช่หนทางของบรรพชิตจะพึงเดิน คำว่าหนทางนั้นก็คือ อาการที่มันดีใจหรือเสียใจที่เกิดขึ้นมา

    คำว่าผู้เดินทางนั้นก็คือ ผู้รู้ของเรานั่นแหละ ไม่ควรเดินไปในอาการที่มันดีใจหรือเสียใจนั้น
    ผู้เดินทางของเราก็คือตัวจิตนี้เอง
    ทางนั้นเรียกว่าอาการ
    ผู้เดินทางก็คือดวงจิต

    ถ้าดีใจก็ไปยึดความดีใจเอาไว้ด้วย นี่เป็น กามสุขัลลิกานุโยโค ถ้าหากว่าอารมณ์ที่ไม่ดีไม่ชอบใจ เราก็เข้าไปยึดหมายอุปาทานว่าไม่ดีใจไม่ชอบใจ นี่ก็เรียกว่ามันเข้าไปเดินในทางอันนี้ เป็น อัตตกิลมถานุโยโค นี่ก็ไม่ดี ข้างนี้ก็สุข ข้างนี้ก็ทุกข์

    ท่านจึงว่า กามสุขัลลิกานุโยโค และ อัตตกิลมถานุโยโค ทางสองอย่างนี้ไม่ใช่ทางของสมณะ เป็นธรรมของชาวบ้าน ชาวบ้านเขาหาสิ่งที่เป็นสุขสนุกสนานอันเกิดจากทุกข์ไม่สบาย เราไม่ชอบ ฉะนั้น พวกชาวมนุษยโลกทั้งหลาย จึงไปอาศัยความสุขและทุกข์ สับเปลี่ยนกันอยู่อย่างนั้น ความสุขและความทุกข์นั้นแหละก็คือทางเดินสายโลกล่ะ มันมีสุขแล้วก็มีทุกข์ มีทุกข์แล้วก็มีสุข ของเหล่านี้เป็นของไม่แน่นอน ปะปนกันไปอยู่ตลอด จนปลายทางฉะนั้นมันจึงเป็นธรรมของบุคคลที่ลุ่มหลงอยู่ในโลก ผู้ที่ไม่สงบ

    ผู้สงบนั้นท่านไม่เดินทางนั้น แต่ว่าทางนั้นท่านก็เห็นอาการที่สุขท่านก็เห็นอาการทุกข์ท่านก็เห็น แต่ท่านไม่มีอุปทานยึดแน่นกับมัน ไม่เอาใจจริงจังกับมัน ท่านไม่เดิน แต่ท่านรู้ รู้หนทางของมัน อาการใดที่ไม่ชอบใจเกิดขึ้นมา นั่นก็เป็นหนทาง ท่านก็เห็นเหมือนกัน แต่ท่านไม่เดินตามมันไป ท่านไม่มั่นหมายมัน ไม่มีอุปาทานกับมัน

    ท่านก็เห็นทางเหมือนกัน แต่ว่าท่านไม่เดิน นี่เรียกว่าท่านเป็นผู้เห็นทาง

    ผู้สงบแล้วก็เห็นทางที่ไม่สงบ จึงเป็นผู้สงบอยู่ได้

    ทางที่เป็นสุขหรือทางที่เสียใจทางที่ดีใจ ล้วนแต่เป็นทางที่ผิดทั้งนั้น
    ท่านทั้งหลายท่านก็รู้จัก รู้อยู่ มันเกิดกับท่านอยู่เหมือนกัน แต่ท่านไม่เอาจริงเอาจังกับมัน ปล่อยมันไป วางมันไป ละมันไป ท่านผู้สงบแล้วคือสงบจากอะไร สงบจากความดี สงบจากความเสียใจ สงบจากความสุข สงบจากความทุกข์ สุขทุกข์นั้นไม่มีหรือมีอยู่ แต่ไม่มีในใจ ก่อนจะมีในใจนั้น ใจก็เป็นผู้รู้เสียแล้ว เป็นผู้รู้จักชอบเสียแล้ว รู้ดีเสียแล้ว อาการสุขก็เกิดขึ้นได้ แต่ก็ไม่ได้หมายถึงสุข อาการทุกข์ก็เกิดขึ้นที่นั่น แต่ก็ไม่ได้หมายถึงทุกข์

    นั่นถ้ารู้อย่างนี้เรียกว่ามีความเห็นชอบ

    นี่ถ้าท่านไม่ยึดไม่หมาย ท่านก็ปล่อย ความสุขความทุกข์เป็นธรรมชาติ ธรรมชาติหรือธรรมดามันเป็นเช่นนั้น ถ้าเรารู้เท่าแล้ว สุขหรือทุกข์มันก็เป็นโมฆะ ไม่มีความหมายกับใคร ไม่มีความหมายกับจิตของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้เข้าไปถึงแล้ว มันมีอยู่แต่ไม่มีความหมายท่านรับทราบไว้เฉยๆ รับทราบไว้ว่าสุขหรือทุกข์ ร้อนหรือเย็น ท่านรับทราบอยู่ ไม่ใช่ว่าท่านไม่รับทราบ

    สมเด็จพระบรมศาสดาท่านจึงตรัสว่า พระอรหันต์ทั้งหลายนั้นไกลจากกิเลส ความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ว่าท่านจะไกลไปไหน ไม่ใช่ว่าท่านจะหนีไปจากกิเลส ไม่ใช่ว่ากิเลสจะหนีไปจากท่าน มันมีอยู่อย่างนั้นแหละ มีอยู่อย่างนั้น

    ท่านจึงเปรียบเหมือนน้ำกับใบบัว ใบบัวก็อยู่กับน้ำ น้ำก็อยู่กับใบบัว ถึงแม้ใบบัวกับน้ำจะอยู่ด้วยกันก็จริง เมื่อน้ำกระเด็นขึ้นมาบนใบบัว น้ำก็กลิ้งถูกกันอยู่เหมือนกัน แต่น้ำไม่สามารถซึมซาบเข้าไปในใบบัวได้ กิเลสทั้งหลายก็เปรียบเหมือนน้ำ จิตของผู้ประพฤติปฏิบัติก็คือใบบัว ถูกกันอยู่ ไม่หนีไป แต่ว่าไม่ซึมซาบเข้าไป จิตของพระโยคาวจรเจ้า ผู้ปฏิบัติก็เหมือนกัน ไม่ได้หนีไปไหน อยู่ที่นั่นแหละ ความดีมาก็รู้ ความชั่วมาก็รู้ ความสุขมาก็รู้ ความทุกข์มาก็รู้ ความชอบมาก็รู้ ความไม่ชอบมาก็รู้ รู้หมด รู้หมดอยู่ที่นั่น แต่ว่าท่านรับทราบไว้เฉยๆ มันไม่ได้เข้าไปในจิตของท่าน เรียกว่า ไม่มีอุปาทานเป็นผู้รับทราบไว้เรื่อยๆ เรื่อยๆ ไป

    อาการที่ท่านรับทราบไว้นั้นก็อย่างที่ภาษาเราว่า รับทราบไว้ วางใจเป็นกลาง วางใจเป็นกลางตามภาษาสามัญว่ารับทราบไว้ คือไม่ไปแตะไปต้อง รับทราบไว้เฉยๆ อาการเช่นนี้เหล่านี้มีอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา เพราะสิ่งเหล่านี้มันมีอยู่ในโลก มันมีโลก พระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัสรู้อยู่ในโลก ท่านเอาอาการของโลกนี้ไปพิจารณา

    ถ้าท่านไม่ได้พิจารณาโลก ก็ไม่เห็นโลก ท่านก็จะอยู่เหนือโลกไม่ได้ ฉะนั้นองค์พระบรมครูของเราตรัสรู้ก็ด้วยเอาเรื่องของโลกนี้แหละมารู้เท่าโลกนี่เอง
    โลกก็ยังมีอยู่อย่างนั้น สรรเสริญก็มี นินทาก็มี ลาภมี เสื่อมลาภก็มี ยศก็มี เสื่อมยศก็มี สุขทุกข์ก็มี

    ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีอะไรจะตรัสรู้

    เมื่อท่านตรัสรู้ตามความเป็นจริงแล้ว คือรู้โลกนี่ โลกธรรม ธรรมอันครอบงำสัตว์โลกอยู่ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรม ครอบหัวใจสัตว์ ครอบหัวใจคน มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา เป็นของโลก ถ้าหากว่าใจมนุษย์ทั้งหลายเป็นไปตามอำนาจสุข ทุกข์ นินทา เป็นไปตามอำนาจมัน นั่นแหละคือโลก

    ท่านจึงเรียกว่า โลกธรรม

    โลกธรรมเป็นธรรมอันหนึ่ง ทำให้มองไม่เห็นทางมรรคแปดที่จะเดินไปหาทางพ้นทุกข์นั้น มีแต่โลกท่วมหัวอยู่นี่ ชื่อว่าสัตว์โลกเป็นไปตามธรรม ธรรมนั้นมันให้สัตว์เป็นโลก โลกก็เดินไปตามธรรมนั้น มันจึงเป็นโลกธรรม ผู้อยู่ในโลกธรรมคือ เป็นสัตว์โลก วุ่นวายอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา ฉะนั้นในการประพฤติหรือปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา ท่านจึงสอนว่า ให้เจริญมรรคคือตัวปัญญา

    รวมแล้วคือ ปฏิบัติศีลให้มันยิ่ง สมาธิให้มันยิ่ง ปัญญาให้มันยิ่ง
    นี่คือเครื่องทำลายโลก
    นี่หนทางเดินหลงเข้าไปทำลายโลก
    โลกมันอยู่ที่ไหนล่ะทีนี้

    โลกมันอยู่ที่ใจของสัตว์ที่ลุ่มหลงนั่นแหละ อาการมันติดลาภ ติดยศ ติดสรรเสริญ ติดสุข ติดทุกข์ นั่นแหละ

    เมื่อมีอยู่ในใจเมื่อใด ใจก็เป็นโลก

    เมื่อใจเป็นโลก อยู่ที่ไหนโลกก็อยู่ที่นั่นแหละ

    ต้นเหตุที่โลกจะเกิดขึ้นมาก็เกิดจากความอยาก ถ้าดับความอยาก ก็คือ ดับโลก ความอยากเป็นบ่อเกิดของโลกทั้งหลาย

    ฉะนั้นเมื่อเรามาประพฤติหรือปฏิบัติแล้ว เราจึงเดินทางศีล สมาธิ ปัญญา ที่ท่านว่าโลกธรรมแปดและมรรคแปดเป็นของคู่กัน ทำอย่างไรจึงเป็นของคู่กัน ถ้าหากว่าเราพูดทางปริยัติของเราแล้ว ก็พูดได้ว่า ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา นี่ก็แปดอย่างในทางโลก ส่วนในทางธรรมก็มีมรรคแปด สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ รวมแล้วก็แปดอย่างเหมือนกัน

    ทางสองแปดนี่นะมันอยู่ที่เดียวกัน ไม่ได้อยู่คนละที่

    พวกยินดี ในลาภ ยศ สรรเสริญ ก็อยู่ในใจนี้ ใจผู้รู้นี้ แต่ผู้รู้มีเครื่องปกปิดเอาไว้จึงให้รู้ผิดไป มันก็เลยเป็นโลก ผู้รู้นี้ยังไม่มีพุทธภาวะเกิดขึ้นมา จึงถอนตัวออกไม่ได้ จิตในขณะนี้ก็เลยเป็นโลก เมื่อเราได้มาปฏิบัติ มาทำศีล ทำสมาธิ ทำปัญญา ก็คือเอากาย เอาวาจา เอาใจนี้มาประพฤติปฏิบัติ ที่โลกธรรมมันแฝงอยู่นี้แหละ ที่มันยินดีในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสุข ในทุกข์นี้แหละ มาทำลงที่เดียวกัน ถ้าเมื่อเราได้มาทำลงที่เดียวกันนี้ ก็เลยเห็นกัน เห็นโลกเห็นธรรม มันขวางกันเลยทีเดียว ไม่มีลาภก็คิดอยากได้อยากลอง มียศก็ติดยศ มีสรรเสริญก็ติดสรรเสริญ มีสุขก็ติดสุข มีทุกข์ก็ติดทุกข์ มีนินทาก็ติดนินทา

    ถ้าเรามาปฏิบัติลงที่ใจของเรา มันก็จะได้เห็นโลกเห็นธรรมชัด

    ฉะนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันน่าตระการดุจราชรถ อันพวกคนเขลาทั้งหลายขลุกอยู่ หมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่” ไม่ใช่ว่าท่านให้ไปดูโลกทั้งโลก หรือทั้งประเทศ ไม่ใช่อย่างนั้น
    ให้ดูจิตที่มันอาศัยโลกเป็นอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร ก็ให้ดูโลกอยู่เสมอ ให้ดูจิต พิจารณาถึงโลก เพราะโลกมันเกิดขึ้นอยู่ที่ใจ ความอยากเกิดที่ไหนก็เกิดที่นี้

    ดวงตาเห็นธรรม(2)หลวงปู่ขาว สุภัทโท - โพสต์ทูเดย์ ข่าวธรรมะ-จิตใจ
     
  3. กังหันลม

    กังหันลม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +693
    กราบอนุโมทนาครับ ธรรมิกถาของพ่อแม่ครูอาจารย์แจ่มแจ้งมากครับ
     
  4. ppoonsuk

    ppoonsuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    3,997
    ค่าพลัง:
    +7,068
    อนุโมทนา สาธุ

    กราบหลวงปู่ชาครับ
     
  5. patham

    patham สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +17
    เชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญวิหารทาน<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/818517/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=b2a78f01-1304-47c3-8524-8df944047e53"></SCRIPT>[​IMG] <NOSCRIPT></NOSCRIPT>
    เชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญวิหารทาน และวิทยุเสียงธรรม[/B]
    ผ้าป่า สร้างศาลาปฏิบัติธรรมชาธรรมสถาน และวิทยุเสียงธรรม เพื่อขยายธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น
    ทุนในการสร้าง 300,000 บาท
    สอบถามรายละเอียดได้ที่ 087-949-7861 ท่านพระอาจารย์ สำรวย บ้านไม้ล่าว ต.เมืองหงส์ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด ทอดวันที่ 13 เมษายน มีพระหลวงปู่สรวงสมณาคุณทุกท่าน และพระอีกหลายรุ่นหลายเกจิตามที่ท่านแจ้งขอรับ ขอลงภาพพระบางรุ่น ชาธรรมสถาน เป็นสถานที่ปฏิบัติสายหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ติดต่อรับวัตถุมงคล กับคุณ ธัมวา 084-869-8435


    <!-- google_ad_section_end -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    </FIELDSET>
     
  6. ฟีนิกช์

    ฟีนิกช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +107
    กราบ กราบ กราบพระสุปฏิบันโณ................
     
  7. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ขออนุโมทนา ธรรมะของหลวงปู่ชา เจ้าค่ะ.._/l\_
    และอนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะ..
     
  8. maxillary

    maxillary สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +13
    สาธูครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...