รู้มากยากนาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nouk, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หลวงพ่อทูล ขิปฺปปัญโญ

    สมัยก่อน ๆ คนไม่มีความรู้มากขนาดนี้ ก็เป็นพระอริยเจ้ากันได้มากมาย พระพุทธเจ้าสอนประโยคสองประโยค ท่านเอาไปปฏิบัติ
    สมัยนี้รู้มาก ลังเลมาก เรียกว่ารู้มากยากนาน เหมือนอาหารมากเครื่องปรุงมากกลับไม่อร่อย เพราะเครื่องปรุงไม่สมบูรณ์แบบ
    *************************************


    หลวงพ่อสุวัจน์ สุวโจ
    http://www.openbase.in.th/audio/download/8138/06.mp3
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    ปริยัติ-ปฏิบัติ


    ในหมู่ผู้สนใจศึกษาศาสนาจะมีข้อโต้แย้งกันเสมอระหว่าง การศึกษาจากตำรา คือศึกษาด้านปริยัติ กับอีกฝ่ายหนึ่งเน้นการปฏิบัติและไม่เน้นการศึกษาจากตำรา ว่าแนวทางใดจะให้ผลดีกว่ากัน

    สำหรับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านเสนอแนะให้ดำเนินสายกลาง นั่นคือถ้าเน้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง แล้วละเลยอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นการสุดโต่งไป

    หลวงปู่ท่านแนะนำลูกศิษย์ลูกหาที่มุ่งปฏิบัติธรรมว่า ให้อ่านตำรับตำราส่วนที่เป็นพระวินัยให้เข้าใจ เพื่อที่จะปฏิบัติไม่ผิด แต่ในส่วนของพระธรรมนั้นให้ตั้งใจปฏิบัติเอา

    จากคำแนะนำนี้แสดงว่าหลวงปู่ถือเรื่อง การปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระวินัยเป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องมาก่อน ศึกษาให้เข้าใจ และปฏิบัติตนให้ถูก แล้วเรื่องคุณธรรมและปัญญาสามารถสร้างเสริมขึ้นได้ถ้าตั้งใจ

    ยกตัวอย่างในกรณีของ หลวงตาแนน

    หลวงตาแนนไม่เคยเรียนหนังสือ ท่านมาบวชพระเมื่อวัยเลย กลางคนไปแล้ว ท่านเป็นพระที่มีความตั้งใจดี ว่าง่ายสอนง่าย ขยัน ปฏิบัติกิจวัตรไม่ขาดตกบกพร่อง เห็นพระรูปอื่นเขาออกไปธุดงค์ก็อยากไปด้วย จึงไปขออนุญาตหลวงปู่

    เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว หลวงตาแนนก็ให้บังเกิดความวิตกกังวล ปรับทุกข์ขึ้นว่า “กระผมไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ภาษาพูดเขา จะปฏิบัติกับเขาได้อย่างไร”

    หลวงปู่จึงแนะนำด้วยเมตตาว่า

    “การปฏิบัติไม่ได้เกี่ยวกับอักขระ พยัญชนะ หรือคำพูดอะไรหรอก ที่รู้ว่าตนไม่รู้ก็ดีแล้ว สำหรับวิธีปฏิบัตินั้น ในส่วนวินัยให้พยายาม ดูแบบเขา ดูแบบอย่างครูบาอาจารย์ผู้นำ อย่าทำให้ผิดแผกจากท่าน ในส่วนธรรมะนั้นให้ดูที่จิตของตัวเอง ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้วอย่างอื่นก็เข้าใจได้เอง”

    เนื่องจากหลวงปู่ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ผู้ปฏิบัติมามากต่อมาก ท่านจึงให้ข้อสังเกตในการปฏิบัติธรรมระหว่างผู้ที่เรียนน้อยกับผู้ที่เรียนมากมาก่อนว่า

    “ผู้ที่ยังไม่รู้หัวข้อธรรมอะไรเลย เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจังมักจะได้ผลเร็ว เมื่อเขาปฏิบัติจนเข้าใจจิต หมดสงสัยเรื่องจิตแล้ว หันมาศึกษาตริตรองข้อธรรมในภายหลัง ก็จะรู้แจ้งแทงตลอดแตกฉานน่าอัศจรรย์”

    “ส่วนผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน แล้วจึงหันมาปฏิบัติต่อภายหลัง จิตจะสงบเป็นสมาธิยากกว่าเพราะชอบใช้วิตกวิจารมาก เมื่อจิตวิตกวิจารมาก วิจิกิจฉาก็มาก จึงยากที่จะประสบผลสำเร็จ”

    อย่างไรก็ตามข้อสังเกตดังกล่าว หลวงปู่ย้ำว่า “แต่ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปทีเดียว” แล้วท่านให้ข้อแนะนำต่อไปอีกว่า

    “ผู้ที่ศึกษาทางปริยัติจนแตกฉานมาก่อนแล้ว เมื่อหันมามุ่งปฏิบัติอย่างจริงจัง จนถึงขั้นอธิจิต อธิปัญญาแล้ว ผลสำเร็จก็จะยิ่งวิเศษขึ้นไปอีก เพราะเป็นการเดินตามแนวทางปริยัติ ปฏิบัติ ย่อมแตกฉาน ทั้งอรรถะและพยัญชนะ ฉลาดในการชี้แจงแสดงธรรม”

    หลวงปู่ได้ยกตัวอย่างพระเถระทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อสนับสนุน ความคิดดังกล่าว ก็มีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) แห่งวัดบวรนิวาส กรุงเทพฯ และท่านอาจารย์พระมหาบัว ณานสมฺปนฺโน แห่งสำนักวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น

    ทั้งสององค์นี้ “ได้ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อาจหาญชาญฉลาดในการแสดงธรรม เป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่พระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง”

    โดยสรุป หลวงปู่สนับสนุนทั้งตำรา คือ ปริยัติและปฏิบัติต้องไปด้วยกัน และท่านย้ำว่า

    “ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะ พ้นทุกข์ได้ ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน”

    ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงการสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า ท่านไม่ทิ้งทั้งปริยัติและปฏิบัติ ต้องมีประกอบกัน

    ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการสอนของหลวงปู่จากประสบการณ์ของหลวงพ่อเพิ่ม กิตฺติวฒฺโน (พระมงคลวัฒนคุณ) แห่งวัดถ้ำไตรรัตน์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ขอยกข้อความมาดังนี้
    การศึกษาความรู้กับหลวงปู่ดูลย์เมื่อครั้งที่ท่าน (หลวงพ่อเพิ่ม) ยังเป็นสามเณรน้อย ได้รับการชี้แนะอบรมพร่ำสอนจากหลวงปู่ดูลย์อย่างใกล้ชิด โดยท่านจะเน้นให้ศิษย์ของท่านมีความสำนึกตรึกอยู่ในจิตเสมอถึงสภาวะความเป็นอยู่ในปัจจุบันว่า

    บัดนี้เราได้บวชกายบวชใจเข้ามาอยู่ในบวรพุทธศาสนา เป็นสมณะที่ชาวบ้านทั้งหลายให้ความเคารพบูชา ทั้งยังอุปัฏฐากอุปถัมภ์ค้ำจุนด้วยปัจจัยสี่ ควรที่จะกระทำตนให้สมกับที่เขาเคารพบูชา ถือประพฤติปฏิบัติตามศีลธรรมตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่ฝ่าฝืนทั้งที่ลับและที่แจ้ง

    พระเณรที่มาบวชกับท่าน หลวงปู่จึงให้ศึกษาทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไป

    ด้านปริยัติ ท่านให้เรียนนักธรรม บาลี ไวยากรณ์ ให้เรียนรู้ถึงเรื่องศีลธรรม พระวินัย เพื่อจะได้จดจำนำไปประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง ไม่ออกนอกลู่นอกทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างเหมาะสมเยี่ยงผู้ถือบวช ที่ชาวบ้านเขาศรัทธากราบไหว้บูชา

    ด้านปฏิบัติ ท่านเน้นหนักเป็นพิเศษให้พระเณรทุกรูปทุกองค์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน เพราะการปฏิบัติพระธรรมกัมมัฏฐานนี้ จะเป็นการฝึกกายฝึกจิตให้ผู้ศึกษาธรรม ได้รู้ได้เห็นของจริงโดยสภาพที่เป็นจริง อันเกิดจากการรู้การเห็นของตนเอง ไม่ใช่เกิดจากการอ่านจดจำจากตำรับตำรา ซึ่งเป็นการรู้ด้วย สัญญาแห่งการจำได้หมายรู้ คือรู้แต่ยังไม่เห็น ยังไม่แจ้ง แทงตลอดอย่างแท้จริง

    ข้อธรรมกัมมัฏฐานที่หลวงปู่ดูลย์ ท่านให้พิจารณาอยู่เป็นเนืองนิตย์ก็คือ หัวข้อกัมมัฏฐานที่ว่า สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา

    การพิจารณาตามหัวข้อธรรมกัมมัฏฐานดังกล่าวนี้ หากได้พิจารณาทบทวนอย่างสม่ำเสมอแล้ว ในเวลาต่อมาก็จะ รู้แจ้งสว่างไสว เข้าใจได้ชัดว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ มีการเกิดดับ - เกิดดับอยู่ตลอดเวลา

    เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว จะทำให้เลิกละจากการยึดถือตัวตนบุคคลเราท่าน เพราะได้รู้ได้เห็นของจริงแล้วว่า สังขารที่เรารักหวงแหนนั้น ไม่ช้าไม่นานมันก็ต้องเสื่อมสูญดับไปตามสภาวะของมัน ไม่อาจที่จะฝ่าฝืนได้

    เมื่อสังขารดับได้แล้ว ความเป็นตัวเป็นตนก็จะไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดหายไป ความทุกข์จะเกิดได้อย่างไร

    ที่มา การเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์
    โดย พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

    ประกายธรรม รวบรวมและเรียบเรียง
    ธรรมสภาจัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๔๐


    ::
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  3. wainkam

    wainkam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    757
    ค่าพลัง:
    +881
    "ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะ พ้นทุกข์ได้ ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน"
    กราบนมัสการหลวงปู่ และ หลวงพ่อครับ
     
  4. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ประโยคด้านบนนี้ยังไม่ถูกต้อง

    ถ้าถูกต้องเปลี่ยนจาก รู้มากยากนาน เป็น คิดมากยากนาน

    ผู้ที่มีกิเลส มีความฟุ่งซ่าน มีอวิชชา เพราะความไม่รู้ .....ไม่ใช่เพราะความรู้

    ผู้ที่ไปหาความรู้ จากความนึก คิด ก็ยิ่งไกลจากความรู้มากเท่านั้น

    หากหยุดนึก หยุดคิดได้ เมื่อไร รู้ จึงปรากฎขึ้นชัดเจนแก่จิตเมื่อนั้น

    จิตองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นจิตผู้ตรัสรู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  5. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เหตุที่รู้มากยาวนาน เพราะเข้าไปยึดติดในความรู้ จนไม่ยอมวางลง

    ไม่มองเหตุ และ ผล ที่เกิดขึ้นตามจริง ยึดติดจนไม่รู้สภาวะในปัจจุบัน

    มัวแต่ศึกษา แต่ไม่ปฎิบัติ ย่อมเป็นเหตุให้ยึดติดความรู้ ด้วยเข้าใจว่าตนรู้แล้ว

    ไม่ทดลองให้เห็นด้วยตนเอง แม้แต่การงานทุกชนิด หากไม่ลองกระทำย่อมไม่เป็น

    อนุโมทนา จขกท ครับ

    สาธุครับ
     
  6. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    โมทนาสาธุในธรรมทานขอรับ

    เจริญในธรรมครับ
     
  7. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    คนไม่ได้มีการศึกษาอย่างดีแล้ว เวลาไปปฏิบัติจะเอาอะไรไปปฏิบัติล่ะ อะไรก็ไม่รู้ซักอย่าง งง นะ

    คนที่ศึกษามาอย่างดีย่อมรู้ได้ นำไปปฏิบัติได้ ก็ข้อสำคัญคนที่มันไม่รู้นี่ซิ ศึกษาก็ไม่รู้ยังจะไปปฏิบัติอีก แล้วมันจะไปปฏิบัติได้ถูกต้องหรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  8. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ข้อความนี้ตรงกับผมเลยครับ
    ผมปฏิบัติธรรมแบบคนโง่ๆ ที่ไม่รู้เรื่องอะไรซักอย่าง

    และขอโมทนาสาธุในธรรมทานด้วยครับ


    เจริญในธรรมครับ
     
  9. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ ว่าท่านที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือก็ไม่เป็น เพราะท่านไม่เคยเรียนหนังสือ ท่านปฏิบัติธรรมอย่างไร
    หลวงพ่อสร้อย...พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณเล่าโดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณลองมองคนที่เรียนจบมาสูงๆ กับ คนที่ไม่เคยเรียนมาเลยแต่ทดลองทำจริงๆ

    ใครเก่งกว่ากันครับ ใครมีความสามารถกว่ากันครับ นี่คือสิ่งที่มองเห็นได้ง่ายในโลก

    ไม่ว่าจะเป็นการงานในโลก หรือ การปฎิบัติทางธรรม ก็มีตัวอย่างให้เห็น

    สาธุครับ
     
  11. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +3,165
    อืม คนที่รู้มาก แล้วลังเลมาก ก็จะกลายเป็น รู้มากยากนาน
    เหมือนอาหารมากเครื่องปรุงมากกลับไม่อร่อย เพราะเครื่องปรุงไม่สมบูรณ์แบบ เพราะฉะนั้นใช้เครื่องปรุงมากปรุงให้สมบูรณ์ก็คงจะได้รสอร่อยมาก อยู่ที่การทำให้สมบูรณ์นี่เอง
    อนุโมทนาครับ
     
  12. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    เถียงกันใหญ่
    ทั้งหมดเป็นเรื่องของอินทรีย์ห้า พละห้า ทั้งนั้น
    คนที่มากด้วยการปฏิบัติ ถ้ามากพอก็สามารถทำการได้ตลอด
    คนที่มากด้วยการศึกษา ถ้าไม่ปฏิบัติก็จบ แต่ถ้าปฏิบัติ คือมีแค่ปัญญาพละ กับวิริยะพละ ก็ทำการได้ตลอดแล้ว
    ปัญญาสำคัญยิ่ง
    แต่หากปัญญาด้อยไป พละอย่างอื่นต้องเต็มเปี่ยม
    ลองดูตามนี้แล้วกัน เ็อ้อ

    การเจริญสมถภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี จะต้องให้พละทั้ง ๕ นี้สม่ำ เสมอกัน จึงจะสัมฤทธิผล ถ้าพละใดกำลังอ่อน การเจริญสมถะหรือวิปัสสนานั้น ก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ ถึงกระนั้นก็ยังได้ผลตามสมควร คือ

    ก. ผู้มีกำลังสัทธามาก แต่พละอีก ๔ คือ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นั้น อ่อนไป ผู้นั้นย่อมรอดพ้นจากตัณหาได้บ้าง โดยมีความอยากได้โภคสมบัติน้อยลง ไม่ถึงกับแสวงหาในทางทุจริต มีความสันโดษ คือ สนฺตุฏฺฐี พอใจเท่าที่มีอยู่ พอใจ แสวงหาตามควรแก่กำลัง และ พอใจแสวงหาด้วยความสุจริต

    ข. ผู้ที่มีกำลังสัทธาและวิริยะมาก แต่พละที่เหลืออีก ๓ อ่อนไป ผู้นั้นย่อม รอดพ้นจากตัณหาและโกสัชชะได้ แต่ว่าไม่สามารถที่จะเจริญ กายคตาสติ และ วิปัสสนาภาวนาจนเป็นผลสำเร็จได้

    ค. ผู้ที่มีกำลังสัทธา วิริยะและสติมาก แต่พละที่เหลืออีก ๒ อ่อนไปผู้นั้น ย่อมสามารถเจริญกายคตาสติได้ แต่ว่าเจริญวิปัสสนาภาวนาไม่สำเร็จได้

    ง. ผู้ที่มีกำลังทั้ง ๔ มาก แต่ว่าปัญญาอ่อนไป ย่อมสามารถเจริญฌาน สมาบัติได้ แต่ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาภาวนาได้

    จ. ผู้ที่มีปัญญาพละมาก แต่พละอื่น ๆ อ่อนไป ย่อมสามารถเรียนรู้พระปริยัติ หรือพระปรมัตถได้ดี แต่ว่า ตัณหา โกสัชชะ มุฏฐะ และ วิกเขปะ เหล่านี้มีกำลัง ทวีมากขึ้น

    ฉ. ผู้ที่มีวิริยะพละและปัญญาพละ เพียง ๒ อย่างเท่านี้ แต่เป็นถึงชนิด อิทธิบาทโดยบริบูรณ์แล้ว การเจริญวิปัสสนาก็ย่อมปรากฏได้

    ช. ผู้ที่บริบูรณ์ด้วย สัทธา วิริยะ และสติพละ ทั้ง ๓ นี้ย่อมสามารถที่จะ ทำการได้ตลอดเพราะ

    สัทธาพละ ย่อมประหาร ปัจจยามิสสตัณหาและโลกามิสสตัณหาได้

    วิริยพละ ย่อมประหาร โกสัชชะได้ (ความเกียจคร้าน)
    สติพละ ย่อมประหาร มุฏฐสติ (ความหลงลืม) ได้

    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อจากนั้น สมาธิพละและปัญญาก็จะปรากฏขึ้นตามกำลัง ตามสมควร

    ปัจจยามิสสตัณหา คือ ความติดใจอยากได้ปัจจัย ๔ มี อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

    โลกามิสสตัณหา คือ ความติดใจอยากได้โลกธรรม ๔ มี ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  13. มนุสสเทโว

    มนุสสเทโว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +30
    ({) รู้มากยากนาน
    ({) รู้มากง่ายเร็ว
    ({) รู้น้อยยากนาน
    ({) รู้น้อยง่ายเร็ว

    สำคัญที่ไปรู้ ว่าไปรู้มาอย่างไร รู้แบบผิด รู้แบบถูก รู้แแบบไม่เข้าใจ รู้แบบทางโลก รู้แบบทางธรรม รู้แบบนำปะติดปะต่อได้ รู้แบบนำปะติดปะต่อกันไม่ได้ ฯลฯ (})
     
  14. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    อนุโมทนาครับ กล่าวได้ดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...