อนุโมทนา กับ มุฑิตา มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แปะแปะ, 10 มีนาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ตามนั้นแหละค่อยๆคิด อย่ารุนแรง มากนัก
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ถามดีๆ ก็ไม่ต้องกลัวรุนแรง
    มีแต่พวกลองภูมิ ถึงโดนแรงๆ

    อนุโมทนา คือ ยินดีในการกระทำของบุคคลอื่น
    มุทิตา คือ ยินดีในผลที่คนอื่นได้รับ
     
  3. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อ้าวกลับเจอพวกอวดภูมิ
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    การมีมุทิตา อย่าเห็นเป็นเรื่องเล่นๆ ตัวนี้ประหารความอิจฉาริษยาได้ดี

    คนอนุโมทนา มีอยู่ทั่วไป เพราะมันยังไม่เห็นอะไร แค่เห็นการกระทำความดี ก็มีจิต อนุโมทนา

    แต่พอเจอคนที่ได้ผลดีกว่าตน ยศมากกว่าตน ฉลาดกว่าตน ปั๊บ ขาดมุทิตาทันที
     
  5. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อนุโมทนาครับ...........สาธุ
    แล้วสาธุอย่างเดียวล่ะเหมือนกันหรือเปล่า
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ก๊อปปี้มา

    อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ

    อนุโมทนา อาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่นเมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัดหรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้นสาธุเป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย

    เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า อนุโมทนากถา (ดูสัมโมทนียกถา)

    เรียกหนังสือรับรองการบรอจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า อนุโมทนาบัตร หรือ ใบอนุโมทนา

    เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า อนุโมทนามัยบุญ

    เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า "อนุโมทนามัยบุญ"

    และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อยคำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา

    ธรรมเนียมของพระภิกษุสามเณร เมื่อได้รับถวายปัจจัยสี่ ไม่ว่าจะเป็นภัตตาหาร หรือทานวัตถุใดๆ ก็ตามจากทายกทายิกา จะต้องทำพิธีอนุโมทนาทานนั้น ไม่ว่าจะได้รับรูปเดียวหรือหลายรูปก็ตาม ต้องอนุโมทนาทุกครั้ง จะละเว้นเสียมิได้ถือว่าผิดพระพุทธานุญาต ต่างแต่ว่าอนุโมทนาต่อหน้าหรือลับหลังเท่านั้น

    ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ฉะนั้นการอนุโมทนาทานจึงเป็น ประเพณีมานานในหมู่สงฆ์ การประกอบพิธีอนุโมทนาลับหลังทา ยกทายิกามีวิธีเดียว คือ การบิณฑบาตที่ต้องออกรับในสถานที่ต่างๆ ทั่วไปไม่จำกัด กรณีเช่นนี้ไม่ต้อง อนุโมทนาต่อหน้าขณะที่รับบิณฑบาต แต่กลับมาถึงวัดฉันอาหารเรียบร้อยแล้ว จึงอนุโมทนา หรือยกไปอนุโมทนาในช่วงทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็นก็ได้

    ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ ๒ หัวข้อคือ

    ๑. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน

    ๒. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษ คือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง

    สำหรับคำว่า"สาธุ" แปลว่า"ดีแล้ว ชอบแล้ว" ดังนั้นการเปล่งวาจาว่าสาธุ ก็เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วยชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ เพื่ออนุโมทนาในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นั่นเอง

    ในพระไตรปิฎกได้พูดเรื่องผลบุญของการอนุโมทนาที่ทำให้ไปเกิดในวิหารวิมานว่า

    ท่านพระอนุรุทธเถระได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า เหตุใดมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ มีเสียงอันเป็นทิพย์น่าฟัง รื่นรมย์ใจ มีกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ เสียงของเครื่องประดับผมก็ดังเสียงไพเราะดุจเสียงดนตรี แม้พวงมาลัยบนศีรษะก็มีกลิ่นหอมชวนให้เบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ?

    นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นสหายของดิฉัน อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันเห็นมหาวิหารนั้น แล้วมีจิตเลื่อมใสอนุโมทนา ก็วิมานอันเป็นที่รักนี้อันดิ ฉันได้แล้ว เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น วิมานนี้เป็นวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม โดยรอบสูง ๑๖ โยชน์ เลื่อนลอยไปในอากาศ ได้ตามความปรารถนาของดิฉัน ดิฉันมีปราสาทเป็นที่อยู่อาศัย อันบุญกรรมจัดแจง เนรมิตให้เป็นส่วนๆ งามรุ่งโรจน์ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบทิศ วิมานอันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ น่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชมเช่นนี้ เกิดแต่ดิฉันเพราะกุศลกรรมทั้งหลาย ควรทำบุญโดยแท้

    สรุปแล้วการอนุโมทนาเป็นสิ่งดี แต่สิ่งที่ดีกว่าก็คือ การลงมือทำความดี สร้างบุญกุศลนั้นๆ ด้วยตนเอง

    คัดมาจาก
    ผู้จัดการออนไลน์ 26 กรกฎาคม 2548 16:43 น.

    http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=1000
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    มุทิตา แปลว่า ความยินดี, ความเป็นผู้มีความยินดี
    มุทิตา หมายถึงความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คือเมื่อผู้อื่นได้รับความสำเร็จ มีความสุขความเจริญก้าวหน้า ก็พลอยชื่นชมยินดีในสิ่งที่เขาได้รับ ไม่มีความอิจฉาริษยาในความสำเร็จของเขา ด้วยการพูดแสดงความยินดีบ้าง ส่งบัตรอวยพรไปแสดงความยินดีบ้าง มอบของขวัญมอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีบ้างเป็นต้น
    ลักษณะของผู้มีมุทิตา คือเป็นคนไม่ริษยา ยอมรับในความดีและความสำเร็จของคนอื่น แสดงความชื่นชมยินดีกับความสำเร็จของคนอื่นได้ด้วยความเต็มใจ
    มุทิตา เป็นคุณธรรมของผู้ใหญ่และเป็นหลักที่ผู้ใหญ่พึงประพฤติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะกำจัดความไม่ยินดี ความขึ้งเคียด ความอิจฉาริษยาลงได้

    มุทิตา - วิกิพีเดีย
     
  8. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อนุโมทนาสาธุครับ K. ขวัญ

    และทั้ง ๒ อย่างๆไหนควรเป็นอย่างยิ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2012
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ควรทำทั้งสองอย่าง มันต่างกรรมต่างเรื่องต่างกาละเทศะ
    เห็นคนอื่นทำบุญเราเลื่อมใสในบุญนั้นก็กล่าวอนุโมทนาบุญ สาธุกับเขา
    ส่วนจิตในขณะนั้นก็เกิดมุทิตาจิตอยู่แล้ว เพราะเกิดจิตยินดีไปกับคนอื่นด้วย
    ไม่ได้มีจิตริษยาใดๆ ^.^

    มันแทบจะเป็นแพคเกจนะ ถ้าทำบ่อยๆ ก็ได้ทั้งคู่ เพียงแต่ถ้าไม่มีกิจเรื่องบุญมาเกี่ยวข้อง
    เราก็ไม่ได้อนุโมทนาบุญ เป็นแต่เพียงเกิดมุทิตาจิตยินดีในความสำเร็จของคนอื่น
     
  10. มนุสสเทโว

    มนุสสเทโว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +30
    มุทิตา เป็นภาวะทางใจ ต้องผ่าน เมตตา หรือ กรุณา มาก่อน เกิดกับผู้ที่มีระดับจิตที่สูงกว่า ผู้ที่ถูกมุทิตา
    เช่น เมื่อวานเห็นหมา มันนอนไม่มีแรง เกิดความเมตตา
    พอวันนี้จะเอาข้าวไปให้กิน เห็นมันวิ่งเล่นได้ เพราะมีคนให้กินไปแล้ว ก็ เกิดความ มุทิตากับหมาตัวนั้น เองครับ ไม่ต้องกำหนดทำ หรือตั้งใจทำ มันเกิดขึ้นมาเอง เกิดในใจ (กำหนดทำเอาไม่ไ้ด้)

    ผมเข้าใจอย่างนี้ครับ
     
  11. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ในความเห็นของหนูนะคะอาแปะ
    การที่เรายินดีกับผู้อื่นได้อย่างจริงใจเมื่อเห็นเค้าได้ดีนั้น
    จิตใจของเราจะค่อยๆ พ้นจากความริษยาลงไปได้บ้าง
    ที่นี้มันจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ไม่เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก
    ซึ่งจิตที่พัฒนาแล้ว เป็นฐานเบื้องต้นของการปฏิบัติวิปัสสนา
    เรียกว่า ทำธรรมน้อยที่ล้อมรอบธรรมใหญ่ให้ดีเสียก่อน

    มรรค8อยู่ตรงกลาง มีธรรมน้อยโอบล้อมรอบ
    เราต้องทำธรรมน้อยเหล่านั้นให้ดีก่อน ธรรมน้อยเหล่านั้นมีเยอะ
    เก็บทำให้ได้ดีขึ้นบ้าง พัฒนาให้ดีไปเรื่อยๆ
    เช่น ทาน ศีล ฉันทะ สัมมัปปทาน เป็นต้น
    เช่นพรหมวิหาร4 เรื่องมุทิตานี้ทำยาก ต้องทำให้ได้ดีขึ้น
    จนเลิกเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกกับทุกๆ คนได้ในระดับที่พัฒนาแล้ว
    ไม่ใช่เคยยินดีกับคนแบบ อาการทางกายยินดี แต่ใจหมั่นไส้
    ถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่ ก็อย่าหวังไปปฏิบัตตนให้เข้าไปถึงมรรคได้
    ไม่มีทางค่ะ

    เรื่องทานนั้น ไม่ใช่ให้กันแต่วัตถุภายนอก วัตถุภายในเท่านั้น
    ยังมีอภัยทาน ต้องทำให้ได้บ้าง เห็นใครทำอะไรไม่ถูกใจก็ปรี่เข้าไป
    เล่นงาน จิตที่เมตตาไม่มี เห็นเค้าทำดีก็หมั่นไส้ จิตมุทิตาไม่มี
    เอาง่ายๆ ลองทำกับคนที่คุณไม่ชอบขี้หน้าดูสิค่ะ ลองฝึกดู แล้วดูสิว่า
    ใจมันยอมรับมั้ยที่ไปมุทิตากับเค้า กับคนที่คุณไม่ชอบขี้หน้า
    ถ้ายังทำไม่ได้ ต้องฝึกทำก่อน ก่อนที่จะไปหาธรรมใหญ่ก่อนที่จะไปวิปัสสนาค่ะ
     
  12. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ขออนุโมทนาและขอบคุณ มนุสสเทโว กับ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->JitJailove <!-- google_ad_section_end -->ที่มาร่วมสนทนาและร่วมแสดงความคิดเห็นครับ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5830692", true); </SCRIPT>
    ผมมาลองใคร่ครวญพิจารณาตามองค์ธรรมดูว่า ทั้ง ๒ นั้นต่างกันที่
    อนุโมทนาเป็นเหตุ มุฑิตาเป็นผล ก็หมายถึงว่า
    การอนุโมทนา คือ ยินดีพอใจกับผู้ที่ได้มีโอกาสทำบุญ
    มุฑิตา คือ ยินดีพอใจกับผู้ที่ได้รับผลบุญ

    อนุโมทนา เป็นการทางวาจาเช่น "สาธุ" คือเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่ได้ร่วมอนุโมทนา(ปัตตานุโมทนามัย)
    <!--colorc--><!--/colorc-->เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ
    ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

    มุฑิตา ยังเป็นที่อยู่ของพรหม คือ พรหมวิหาร ๔
    เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา

    เมตตา องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก
    กรุณา องค์ธรรมได้แก่ กรุณาเจตสิก
    มุฑิตา องค์ธรรมได้แก่ มุฑิตาเจตสิก (กรุณา มุฑิตา ทั้ง๒นี้คืออัปปมัญญาเจตสิก๒ )
    อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตตรมัชฌัชตาเจตสิก (ไม่ใช่เวทนาที่เป็นอุเบกขา)

    ทั้ง ๒ เหมือนกันก็คือ กุศลที่ยังไม่เกิดก็ทำให้กุศลเกิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2012
  13. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ถูกแล้ว ถูกแล้วข้อนั้นเป็นอย่างนั้น
     
  14. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    กราบอนุโมทนา สาธุ ขอบพระคุณค่ะอาแปะ
    อ่านแล้วได้อรรถรสทันทีค่ะ

    อนุโมทนา สาูธุ ถ้าเป็นการกล่าวต่อหน้าผู้ที่ทำบุญ
    เราควรยกมือขึ้นไหว้ และกล่าวให้เสียงดังออกมาด้วย
    อย่างอ่อนโยน และใจให้เป็นมุทิตาจริงๆ
    ครบเครื่องทุกอย่างเลยค่ะ แบบนี้
     
  15. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ขออนุโมทนา สาธุค่ะ
    นี่แหละค่ะทานกุศลที่ให้แก่สัตว์เดรัจฉานที่เป็นกุศลจริงๆ ซึ่งต่างจากการเลี้ยง
    สุนัขในบ้าน กระแสจิตเราจะไหลไปที่โลภะ โทสะ โมหะ ง่ายมากแบบไม่รู้ตัว
    เกิดกุศลอ่อนๆแป๊บเดียวและขาดปัญญาด้วยค่ะ เพราะเป็นการให้แบบโลภะ
    คือความน่ารักที่เราได้เล่นได้มองเค้าด้วยความเพลินเพลินค่ะ หรือบางครั้ง
    ขี้เกียจรำคาญต้องมาหาของให้เค้ากิน เป็นต้น
    ดังนั้นเวลาให้อาหารสุนัขในบ้าน
    ประคองจิตให้อยู่ในเมตตากรุณาขณะใ้ห้อาหาร ปราถนาให้เค้าได้รับประโยชน์
    มีความสุขขณะที่อยู่กับเรา และสงสารที่เค้าเกิดมาทำกุศลไม่ได้เหมือนเรา
    ให้ความปราถนาดีด้วยการให้ขอให้บุญกุศลที่เค้าเคยทำมาในอดีตทุกภพทุกชาติ
    ส่งผลให้เค้าได้ไปเกิดในสุคติภูมิในชาติต่อไปค่ะ
     
  16. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    อนุโมทนากับมุทิตา ก็คือ สิ่งเดียวกันนั่นแหละ จริงๆ มุทิตา ไม่ได้จำกัดความหมายเฉพาะ ยินดีที่เห็นผู้อื่นดีกว่าเรา หากแต่หมายรวมถึง ยินดีหรือปลื้มปิติในความดีของผู้อื่น ในการทำความดีของผู้อื่นด้วยครับ

    เพราะฉะนั้น อย่างเวลาที่เราให้ส่วนบุญกับอีกฝ่าย ถ้าอีกฝ่ายเค้าไม่ยินดีหรือปลื้มปิติในความดีของเรา ในผลบุญที่เราหยิบยื่นให้ เค้าก็ไม่ได้รับอานิสงส์ผลบุญนั้น

    และเมื่อเค้ายินดีหรือปลื้มปิติกับความดีของเรา กับบุญของเรา เค้าก็อาจจะแสดงความยินดีนั้นออกมาด้วยการกล่าวคำว่า "สาธุ" หรือ "อนุโมทนา" นี่แหละ มันเป็นอย่างนี้แหละครับ

    แล้วมุทิตา ไม่ใช่จะเริ่มต้นมาจากเมตตา แล้วค่อยมากรุณา แล้วค่อยมาเป็นมุทิตา ไม่ได้เป็นขั้นบันไดอย่างนั้น แต่เปรียบเสมือนทางสี่สายวิ่งเข้าหากัน รวมแล้วเรียกว่า พรหมวิหาร 4 นั่นเอง
     
  17. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ขอขอบคุณครับที่มาร่วมสนทนาและแสดงความคิดเห็น
    คำว่า อนุโมทนา ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ แต่อนุโมทนามีอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ซึ่งได้แก่ ปัตตานุโมทนา คือมีปิติพลอยยินดีกับผู้อื่นที่ได้กระทำความดี อันตนเองมิได้กระทำ แต่ก็มีส่วนร่วมอนุโมทนาในความดีนั้นด้วย เพียงแต่เห็นไม่ต้องมาบอกก็ร่วมอนุโมทนาได้เช่นกัน เช่น เห็นเขาแห่นาคเพื่อจะเข้าโบสถ์ เราเพียงเดินผ่านไปก็อนุโมทนากับความดีของเขา เป็นต้น ก็โดยที่ไม่ต้องมีใครต้องบอก ส่วนที่มีคนมาบอกให้อนุโมทนานั้น ก็หมายถึงว่าเราไม่รู้ไม่เห็นจึงความดีของเรานั้นมาบอกให้ร่วมอนุโมทนา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้นั้นเอาบุญมาฝาก ที่มาบอกนั้นก็เพื่อให้บุญที่เรายังไม่ได้เกิดให้มีโอกาสได้เกิดนั่นเองแล้วพร้อมอนุโมทนากับบุญที่คนได้กระทำ
    ส่วนคำว่ามุฑิตานั้นมีองค์ธรรมโดยเฉพาะ คือ มุฑิตาเจตสิก ซึ่งหมายถึง มีความยินดีด้วยสมบัติหรือความสำเร็จของผู้อื่น หรือ ลาภ ยศ สรรเสริญ ของผู้อื่นที่เขาพึงได้รับ เหล่านี้เป็นต้น
    มุฑิตา นั้นที่กล่าวไว้ตอนต้นนั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่า เป็นเครื่องอยู่ของพรหม อันได้แก่พรหมวิหาร ๔ ที่มี เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ซึ่งแยกออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ได้หมายความว่าเกิดขึ้นทีละอย่างเพราะเขาเป็นองค์ธรรมรวมกันคือพรหมวิหาร ๔ ถ้าขาดอันใดอันหนึ่งก็ไม่ชื่อว่าพรหมวิหารครับ

    ถ้าสังเกตุให้ดีๆ ว่า อนุโมทนา กับ มุฑิตา นั้นจะไม่เหมือนกันโดยที่อนุโมทนาเป็นการแสดงความยินดีกับผู้กระทำความดี ส่วนมุฑิตานั้น เป็นการแสดงความยินดีกับผู้ได้รับผลของความดี เช่นได้ลาภ ได้ยศ เป็นต้น
    แต่ทั้งสองอย่างเหมือนกันก็คือเป็นกุศลเหมือนกัน
     
  18. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    อ้าว แล้วถ้าไม่อิจฉาในความดีของผู้อื่น จะไปอนุโมทนาบุญกับเค้าได้มั้ย คำว่าอนุโมทนาเนื้อแท้ก็คือมุทิตา เกิดจาก "ใจ" เป็นใหญ่นั่นแหละ ใจที่เห็นดีเห็นงามกับเค้า.....

    เห็นดีเห็นงามในที่นี้ก็คือ เห็นดีเห็นงามที่เค้าเสวยผลดี เห็นดีเห็นงามที่เค้าทำความดี .....
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    อนุโมทนา มักเกิดคู่กับ มุทิตาจิต

    แต่มุทิตาจิต ไม่จำเป็นเป็นต้องเกิดคู่กับ อนุโมทนาบุญ

    ถ้าเรามีจิตยินดีในความสำเร็จของคนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานบุญงานกุศล

    เช่น การเพียรในหน้าที่การงานจนได้รับผลสำเร็จ เรามีจิตยินดีไปกับเขาด้วย

    ก็เรียกว่ามีมุทิตาจิต เห็นผู้น้อยทำกิจบรรลุเป้าหมายได้ผลก้าวหน้าก็มีมุทิตาจิตยินดีไปกับผู้น้อย

    หรือ หากเห็นคนอื่นทำบุญทำกุศล เรามีจิตยินดีที่เห็นเขาทำบุญกุศล

    มีมุทิตาจิตเกิดแต่ไม่ร่วมกล่าวอนุโมทนาบุญกับเขาก็มีเหมือนกัน

    ที่ไม่กล่าวอนุโมทนาไม่ใช่เพราะเขามีจิตริษยาก็หาไม่ แต่เพราะเขามีเหตุปัจจัยของเขา

    ที่จะอนุโมทนาหรือไม่อนุโมทนา ก็ได้เป็นเหตุผลส่วนบุคคล เป็นเรื่องของการทำบุญกิริยาวัตถุ

    เป็นความเห็นส่วนตัวนะ ไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน คิดเหมือนกัน
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...