โรคกรดไหลย้อน ต้นตอ"มะเร็ง"ผ่อนส่ง

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 27 ธันวาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>โรคกรดไหลย้อน ต้นตอ" มะเร็ง"ผ่อนส่ง

    อภิมาศ พงษ์ไพบูลย์ รายงาน

    </TD><TD vAlign=top align=right>
    [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]หากจะพูดถึงโรค "กรดไหลย้อน" หลายคนอาจบอกว่าไม่เคยได้ยินหรือคิดว่าจะมีโรคนี้เกิดขึ้นมาในโลกใบนี้ แต่ในวงการแพทย์ทั่วโลก โดยเฉพาะวงการแพทย์ไทยและวงการแพทย์ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ได้ให้ความสำคัญและใส่ใจในการศึกษา วิจัย ค้นคว้า เพื่อหาวิธีกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากโลกให้จงได้

    แต่ถ้าพูดถึงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว คงถึงบางอ้อกัน เพราะอาการของโรคที่ว่ามานี้นั้นทุกคนน่าจะมีประสบการณ์มาบ้างไม่มากก็น้อย ยิ่งในปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของคนเราเต็มไปด้วยการแข่งขันสูง อีกทั้งต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้

    เมื่อเร็วๆ นี้มีการจัดประชุมแพทย์ระบบทางเดินอาหารภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก 2006 (Asian Pacific Digestive Week 2006) ขึ้นที่เกาะเซบู (Cebu) ประเทศฟิลิปปินส์ มีแพทย์จาก 21 ประเทศ รวมถึงคณะแพทย์ชั้นนำของไทยที่เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหารมาร่วมประชุมด้วย นำทีมโดย รศ.น.พ.อุดม คชินทร หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผศ.น.พ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ จากสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยมี ดร.สุทธิชัย โชคกิจชัย ผอ.ฝ่ายการแพทย์ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และคุณวราภรณ์ นาคศุภมิตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคระบบทางเดินอาหาร บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เป็นผู้นำคณะของไทยเข้าร่วมประชุม

    คุณหมอสมชายเผยว่า โรคกรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) มีสาเหตุมาจากการคลายตัวของหลอดอาหารส่วนปลายบ่อยกว่าในคนผิดปกติ แล้วทำให้ปริมาณของที่อยู่ในกระเพาะ ทั้งกรด ด่าง หรืออะไรก็แล้วแต่ไหลย้อนขึ้นมา แล้วไปรบกวนในส่วนของหลอดอาหาร อาจมีการอักเสบหรือไม่อักเสบของหลอดอาหารส่วนปลายก็ได้ แต่อาการที่เกิดขึ้นมีอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือ อาการที่เกิดจากหลอดอาหาร เช่น แสบยอดอก (heartburn) โดยเฉพาะแสบจากลิ้นปี่ขึ้นมาถึงคอ หรือเรอเปรี้ยว (acid regurgitation) เรอบ่อยๆ หลังการรับประทานอาหาร และอาการที่เกิดนอกหลอดอาหาร เช่น เสียงแหบ หรือเจ็บคอเรื้อรัง หลายเดือนแล้วรักษายังไม่ดีขึ้น <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ทุกวันนี้คนไทยรู้จักโรคนี้น้อยมาก พอบอกว่าเป็นกรดไหลย้อนยิ่งงงเข้าไปใหญ่ หรือบอกว่าฟันผุ กล่องเสียงมีปัญหา เสียงแหบ จะเป็นกรดไหลย้อนได้อย่างไร

    มีข้อมูลจากต่างประเทศ ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า อาการเรอเปรี้ยวมากกว่าการแสบยอดอก จากการตรวจคนไข้ 220 รายคนไทย ถ้าส่องกล้องแล้วเจออาการกรดไหลย้อนนั้น มีอาการอักเสบ ถ้าถามคนไข้จะพบว่ามีอาการแสบยอดอก เรอเปรี้ยวน้อยกว่าต่างประเทศ ส่วนอาการนอกหลอดอาหารยังพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเสียงแหบ ไอ เจ็บคอเรื้อรัง ที่พบบ่อยๆ คืออาการด้านปอด หอบหืด ฟันผุ เจ็บหน้าอกที่ไม่ใช่สาเหตุจากเรื่องหัวใจ

    ด้านหมออุดมกล่าวว่า ปกติน้ำย่อยหรือกรดจะไม่ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ จะอยู่ในกระเพาะอย่างเดียว ยกเว้นช่วงกลืนอาหารหรือกล้ามเนื้อหูรูดหย่อนระหว่างรอยกระเพาะอาหาร ทำให้การบีบตัวของหลอดอาหารย่อยลงมา ตัวเยื่อบุอาหารต่างกับเยื่อบุกระเพาะ เนื่องจากไม่มีความคงทนแข็งแรงพอที่จะทนกรดได้ ทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย กรดไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการแสบยอดอก ความรู้สึกไว้ขึ้น เพราะความเข้มข้นของกรดในกระเพาะอาหารนั้นสูงมาก <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    บ้านเราพบเรื่องอาการปวดท้อง แผลในกระเพาะ อาหารไม่ย่อย อาการที่มาเริ่มต้นเหมือนกัน แสบยอดอก ปวดท้อง แต่การรักษาเป็นคนละอย่าง แต่คนไข้คิดว่าเป็นโรคเดียวกัน ถ้ารักษาไม่ถูกต้องจะมีผลต่อเสียต่อคนไข้ เพราะโรคนี้เรื้อรัง การที่อักเสบระยะยาว โดยเฉพาะเกิดอาการหลอดอาหารอักเสบรุนแรงสุด เป็นการเปลี่ยนเนื้อเยื้อบุชนิดหนึ่งของหลอดอาหารเป็นในกระเพาะ สุดท้าย 5-10 ปีมีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งระยะเริ่มต้นสูง สิ่งที่กลัวคือมะเร็งของหลอดอาหาร

    ส่วนกลุ่มที่ไม่มีอาการอักเสบ แต่มีอาการของกรดไหลย้อนนานต่อเนื่องก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งเช่นกัน เพราะสิ่งที่กลัวกันมากที่สุดคือ การเกิดมะเร็งในหลอดอาหาร แต่สิ่งที่มีผลมากกว่านั้นคือ การที่คนไข้มีอาการกรดไหลย้อนเรื้อรังนั้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ชีวิตประจำวันที่ควรมีความสุขก็น้อยลง นอนไม่หลับ เมื่อตีค่าแล้วมีมากกว่าเยอะ และเห็นก่อนการเกิดมะเร็งเพราะมะเร็งต้องใช้เวลา 5-10 ปี

    มี 2 อาการที่สับสนในบ้านเราคือ พอเจ็บหน้าอกจะนึกถึงแต่โรคหัวใจอันดับหนึ่ง แต่เมื่อหมอให้ยาโรคหัวใจแล้วอาการไม่ดีขึ้น ทำให้ส่งมาที่เรามากขึ้น เพราะบางทีอาการเจ็บหน้าอกนั้นแยกไม่ได้ เมื่อเกิดการแน่นหน้าอกเหมือนหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด

    อีกอาการคือ หอบหืด พบว่ามีคนไข้กลุ่มหนึ่งพอไปให้ยาขยายหลอดลมแล้วอาการไม่ดีขึ้น ไปตรวจเกี่ยวกับทางโรคปอดก็ไม่ดีขึ้น พอมาให้ยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor (PPI) ดีขึ้นเลย

    ปัจจุบันยา Esomeprazole เป็นยาดีที่สุดในการรักษาโรคนี้ เพราะเป็นอาการที่เกิดจากการกระตุ้นของตัวกรด เนื่องจากหลอดลมอยู่ด้านหน้าหลอดอาหาร เป็นอวัยวะที่อยู่ติดกัน ดังนั้นอาการอาจเกิดจากกรดย้อนขึ้นมาแล้วร่วงลงไปในหลอดลม เพราะมีทางเปิดเรียกว่า "ทางร่วมลงคอ" ทำให้หลอดลมหดตัว เกิดเป็นหอบหืดได้ง่าย

    สำหรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดจะได้ผลดีที่สุด ร้อยละ 90 ถ้ารักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผลจะต้องรักษาด้วยวิธีส่องกล้องแล้วไปผูกหูรูดหลอดอาหารให้ตึงขึ้น หรือผ่าตัด แต่ปัจจุบันบ้านเรายังทำไม่มาก ที่สำคัญหมอต้องมีฝีมือมาก ต้องผ่าให้พอดี กลืนอาหารสะดวก ไม่ใช่ตึงเกินไป

    วิธีการรักษาหรือการปฏิบัติตัวได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับวิถีดำเนินชีวิต อาทิ ลดอาหารที่มีไขมันสูง หรือช็อกโกแลต หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด หรือการสูบบุหรี่ก็มีผล การเคี้ยวหมากฝรั่งช่วยลดปริมาณกรดได้ เพราะน้ำลายเป็นด่าง หรือถ้ามีน้ำหนักตัวมากๆ ก็ควรลดน้ำหนัก อย่าใส่เสื้อผ้ารัดๆ หรือแม้กระทั่งการนอนตะแคงซ้ายทำให้เกิดกรดไหลย้อนน้อยกว่าการนอนตะแคงขวา เพราะกระเพาะอยู่ซ้ายทำให้เกิดการคลายตัวของหลอดอาหารส่วนล่างน้อยกว่าการนอนตะแคงขวา

    ความจริงโรคกรดไหลย้อนนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว เพียงแต่เราไม่ได้สนใจ เพราะไม่ได้ทำให้ตาย เหมือนไส้ติ่งอักเสบ แต่ถ้าปล่อยไว้เรื้อรังจะเป็นอันตรายต่อระบบของร่างกายได้ ดังนั้นต้องหมั่นดูแลสุขภาพและตรวจเช็กร่างกายอยู่เสมอ
    ref.http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03hea01271249&day=2006/12/27
     
  2. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...