ถามจริงค่ะ มีคนบรรลุวิชาธรรมกาย ของหลวงพ่อสดเยอะขนาดไหนคะ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 2 กรกฎาคม 2006.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คำว่า “ธรรมกาย” ใน พระบาลีพระสูตรที่ ๔ ขุททกนิกาย อปทาน อัตถสันทัสสกเถราปทาน ที่ ๗ ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ ว่า


    ธมมกายญจ ทีเปนติ เกวลํ รตนากรํ
    วิโกเปตุ น สกโกนติ โก ทิสวา นปปสีทติ.

    แปลว่า อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงแสดง ธรรมกาย อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งสิ้น กิเลสทั้งหลายไม่สามารถทำให้ทรงอ่อนกำลังได้ ใครเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า


    คาถานี้ ท่านพระอัตถสันทัสสกเถระ ระลึกถึงการสร้างบารมีในอดีตชาติ ในครั้งที่ท่านเกิดเป็นพราหมณ์ แล้วกล่าวสรรเสริญพระปทุมมุตระพุทธเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าจะอธิบายความตามนัยยะแห่งพระสูตร อรรถกถา และนัยยะแห่งครูธรรมกายทั้งหลาย เฉพาะคำที่ควรอธิบาย ดังต่อไปนี้...


    คำว่า ทรงแสดงธรรมกาย ได้แก่ ทรงประกาศ คือทรงทำภาวลักษณะแห่งธรรมกาย ให้ปรากฏ


    คำว่า เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ ได้แก่ เป็นที่เกิด เป็นที่สถิตหรือเป็นที่ปรากฏแห่งรัตนะ คือพระรัตนตรัย แห่งรัตนะคือโพชฌงค์ ๗ และแห่งรัตนะคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ


    อธิบายว่า ธรรมกาย ย่อมเป็นที่สถิตเป็นที่ปรากฏอยู่แห่งพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะอันยอดเยี่ยมจะหารัตนะใดในภพสามเสมอมิได้เลย ดังที่ตรัสไว้ในรัตนสูตรนั้นถ้าว่า บ่อเกิดแห่งรัตนตรัยคือ ธรรมกาย



    ธรรมกาย ก็คือพระพุทธเจ้า เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะเช่นกัน ดังที่ท่านพระเสลเถระกล่าวไว้ในอปทาน ว่า


    พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นที่อาศัยแห่งมนต์คือความรู้ เป็นบุญเขตของผู้แสวงหาความสุข เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ


    แท้จริง เพราะความปรากฏแห่งธรรมกาย จึงทำพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายให้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพุทธรัตนะได้ เพราะความปรากฏแห่งธรรมกาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงตรัสรู้ธรรมได้คือทั้งรู้ทั้งเห็นธรรม เป็นธรรมรัตนะ เป็นพระธรรมดวงแก้ว สามารถกำจัดมลทินคือกิเลสทั้งหลายได้จริง และเพราะความปรากฏแห่งธรรมกาย พระสงฆ์จึงเป็นอริยสงฆ์ เป็นสังฆรัตนะอย่างแท้จริง และเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกได้ เพราะฉะนั้นธรรมกาย จึงเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนตรัยด้วยประการฉะนี้ฯ



    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธรรมกาย คือพระตถาคตเจ้าปรากฏ รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ จึงปรากฏ ดังที่ตรัสไว้ในจักกวัตติสูตร ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรคว่า


    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมา
    สัมพุทธเจ้าปรากฏ รัตนะคือ โพชฌงค์ ๗ จึงปรากฏ" ฯ


    อนึ่ง ธรรมกาย เป็นบ่อเกิดแห่งธรรมวินัยย่อมมีรัตนะมากมาย คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม อันเป็นธรรมฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ๓๗ ประการ ย่อมมีในธรรมกาย นี้เหมือนกันฯ


    คำว่า กิเลสทั้งหลายไม่สามารถทำให้ทรงอ่อนกำลังได้ มีอธิบายว่า กิเลสทั้งหลายไม่อาจทำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายให้พินาศ คือให้พ่ายแพ้ได้อีก ดังที่ตรัสไว้ในขุททกนิกายธรรมบทว่า


    “กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระองค์ใดทรงชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้อีก” ฯ


    คำว่า ใครเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า มีอธิบายว่า คำว่า “ใคร” ในที่นี้หมายเอาบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีบุญสมภารอันสั่งสมไว้มากมายในพุทธศาสนา และไม่เป็นผู้มากด้วยความริษยา เห็นพระสัมพุทธเจ้าแล้วย่อมเกิดความเลื่อมใส ผู้ไม่เลื่อมใสมีประมาณน้อยนัก
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สวัสดีครับคุณสมถะยินดีครับสนธนาในนี้ก็ได้ผมชินเวปนี้แล้วครับ....การฝึกฝนแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว.. สมัยเริ่มเรียนมัธยม การเรียนยังมีสายวิทย์ สายศิลป์ ซึ่งโดยย่อมีอยู่ สองอย่าง ก็เปรียบ กับ การฝึกสมถะนำวิปัสนา(สายศิลป์ ..ตัณหาจริต)
    การฝึกวิปัสนานำสมถะ(สายวิทย์..ทิฐิจริต) ซึ่งแต่ละคนก้ชอบไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อเบื้องต้น ฝึกสายไดสายหนึ่ง นำแล้ว พอเมื่อไม้ผลัดที่สามในระยะวิ่งผลัด สี่ คูณ ร้อย จะเริ่มวิ่งในระกับเดียวกัน ว่าคือจะตามกันทัน อยู่ที่ความตั้งใจไม้สุดท้ายว่าใครวิ่งเร็วกว่าเข้าเส้นชัยได้ พอไม้สามนี่ล่ะ มันจะกลายเป็น วิปัสนากรรมฐานควบคู่สมถะ หรือสมถะควบคู่วิปัสนา มันจะควบไปพร้อมกันเลยจะไม่แบ่งว่าสายใดสายหนึ่งดีกว่า ไม่ดีกว่า เพราะเมื่อไม้ผลัดสาม มันจะไปควบกัน ไม่รู้ว่าคนอ่านจะเข้าใจที่ผมเขียนหรือป่าวก็ขอขมาด้วยครับ....
     
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    งั้นก็ขออภัยด้วยนะครับ เชิญสนทนากันตามสบาย ส่วนตัวผมไม่มีแบ่งสีครับ ผมเป็นกลางเรื่องแบบนี้ครับ ต้องการให้บ้านเมืองสงบอย่างเดียวครับ...


    ส่วนเรื่องลูกแก้วอะไรนั่นถ้าใช้เป็นคำบริภาสกันก็ฟังเฉยๆ นะครับ เพราะความจริงแล้วการฝึกสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายเขาไม่ได้ไปยึดที่ลูกแก้ว เพียงแต่ดวงแก้วเป็นบริกรรมนิมิตเท่านั้น เขาพิจารณาที่สภาวะความหยุด ความนิ่ง ของใจ เพื่อกำจัดนิวรณ์ ๕ นะครับ ให้ตรงกับ นัตถิสันติปะรังสุขขัง นะครับ


    ผมเองก็ไม่เคยไปใส่ใจตรงลูกแก้วนะ ผมมุ่งปฏิบัติทั้งสมถะวิปัสสนาไปเป็นลำดับให้ใจหยุด ใจนิ่ง ใจสงบเป็นเบื้องต้นนะครับ
     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    นิมิต หรือ นิมิตต์ หมายถึง เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน ภาพที่เห็นในใจอันเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน นิมิตมี ๓ อย่าง คือ


    ๑. บริกรรมนิมิต คือ นิมิตแห่งบริกรรม นิมิตตระเตรียม หรือ นิมิตแรกเริ่ม ได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่กำหนดเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจ เป็นต้น บริกรรมนิมิตได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐


    ๒. อุคคหนิมิต คือ นิมิตที่ใจเรียน นิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตนั้น ที่เพ่งหรือนึกกำหนดจนเห็นแม่นในใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น เป็นต้น อุคคหนิมิตได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐


    ๓. ปฏิภาคนิมิต คือ นิมิตเสมือน นิมิตเทียบเคียง ได้แก่นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตนั้น แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากสัญญา เป็นเพียงอาการปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิ จึงบริสุทธิ์จนปราศจากสีเป็นต้น และไม่มีมลทินใดๆ ทั้งสามารถนึกขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา


    ปฏิภาคนิมิตนี้ได้เฉพาะในกรรมฐาน ๒๒ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ และอานาปานัสติ ๑ เมื่อเกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น จิตย่อมตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ จึงชื่อว่าปฏิภาคนิมิตเกิดพร้อมกับอุปจารสมาธิ เมื่อเสพปฏิภาคนิมิตนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ ก็จะสำเร็จเป็นอัปปนาภาวนา



    --->>> อย่างไรก็ตาม นิมิตที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเกิดของสมาธินั้น ไม่ใช่นิมิตในความหมายที่กล่าวข้างต้น แต่เป็นนิมิตที่หมายถึงภาพที่เห็นในใจ ซึ่งมีความหมายกว้างมาก กล่าวคือ เป็นภาวะจิตหนึ่งที่ไม่ตื่นตัวเต็มที่ คนที่อยู่ในภาวะจิตเช่นนี้จึงอาจจะเห็นภาพในใจซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของจิตได้ หรือไม่ก็เป็นภาพที่เกิดจากสัญญา (สัญญาในที่นี้หมายถึงภาพของสิ่งเก่าๆ ที่จิตเคยกำหนดหมายจำไว้) คือ อาจเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาเก่าหรือภาพที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ซึ่งโดยทั่วไปจะได้ประสบมากที่สุด ก็คือในภาวะหลับที่ไม่สนิท จะมีนิมิตปรากฏขึ้นมาที่เรียกเต็มๆ ว่า สุบินนิมิต แปลว่า ภาพในฝัน สุบินนิมิตนี้จะเกิดในลักษณะที่เรียกว่าตื่นอยู่ก็ไม่ใช่ หลับอยู่ก็ไม่เชิง หรือจะเรียกว่า ครึ่งหลับครึ่งตื่นก็ได้ กล่าวคือเป็นภาวะจิตที่ไม่ถึงกับหลับ แต่เป็นภาวะอีกอย่างหนึ่งที่ไม่อยู่ในภาวะตื่นเต็มที่


    คนที่ฝึกสมาธิก็สามารถจะเกิดนิมิตดังกล่าวนี้ได้เช่นกัน คือเกิดภาพในใจขึ้น ถ้าหากเป็นภาพนิมิตที่เป็นปกติธรรมดา ก็คือภาพที่เกิดจากสิ่งที่ตนกำหนด เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธินั้น (คือเป็นบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวข้างต้น) หรือเกิดจากการที่ตนเอาจิตไปจดจ่อกับมันกลายเป็นสัญญากำหนดหมายจำเกิดเป็นนิมิต เป็นภาพในใจ แต่ทีนี้มันไม่ใช่เท่านั้น คือมันมีการปรุงแต่งต่อ หรือว่าจิตไม่ได้อยู่กับสิ่งที่กำหนดนั้น เกิดภาพอื่นเข้ามา เช่น ภาพที่ตนไปพบไปเห็นไว้เป็นความจำเก่าๆ ผุดขึ้นมาในจิตใจ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า ขณะนี้จิตเริ่มจะเขว คือ จิตไม่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ที่กำหนดหรืออารมณ์กรรมฐาน แต่กลับมีภาพของสิ่งอื่นเกิดขึ้นมาเป็นนิมิต เรียกว่า --> นิมิตนอกตัวกรรมฐาน <-- จึงอาจเห็นภาพต่างๆ ภาพเหล่านี้ก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการฝึกสมาธิ



    ภาพนิมิตเหล่านี้อาจเป็นภาพสวยๆ งามๆ เป็นแสงสีอะไรต่างๆ ที่ถูกใจ พอใจ ชื่นชม อาจจะเป็นสีที่สดใสสวยงาม ชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจ ติดใจ หรือเป็นภาพของสถานที่ บุคคล สิ่งที่น่ารักน่าชมก็ได้ จิตใจก็จะไปติดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เมื่อจิตใจไปติดเพลินก็คือการที่ออกจากการฝึกสมาธิแล้ว จิตเวลานั้นก็จะไม่เป็นสมาธิ จะไปหลงเพลิดเพลินอยู่กับภาพนิมิตนั้นในลักษณะนี้จึงเรียกว่า ปัญหา เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการฝึกสมาธิ



    ในทางตรงข้าม ถ้าภาพที่เห็นนั้น ไม่ได้เป็นภาพที่สวยงาม แต่กลับเป็นภาพของสิ่งน่าเกลียดน่ากลัว เพราะว่าตนเคยมีความทรงจำอะไรบางอย่างหรือจิตผูกพันกับอะไรบางอย่างที่ตนปรุงแต่ง เป็นภาพที่น่ากลัว เป็นต้นว่าเห็นเป็นงูจะมากัด เป็นภาพผีสางอะไรต่างๆ สุดแล้วแต่จะเกิดขึ้นก็ทำให้ตกใจด้วยคิดว่าเป็นความจริง ถ้าร้ายแรงก็อาจจะทำให้สติวิปลาสหรือเสียจริตไปก็ได้ นี้ก็เป็นปัญหาแก่การฝึกสมาธิ --->>> เพราะฉะนั้นจะต้องรู้เท่าทันว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาพนิมิตและหันกลับมากำหนดสิ่งที่เป็นอารมณ์กรรมฐานต่อไป...
     
  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนได้ที่นี่นะครับ...http://www.khunsamatha.com/
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คุณนิวรณ์ครับ เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตที่คุณกล่าวถึงเจตนาเจตสิกนั้น ผมว่าเป็นสำนวนพระอภิธรรมที่ไพเราะดีนะครับ ก็ถามว่าการทำใจให้หยุด ให้นิ่ง ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมถะ นั้นเราจำเป็นต้องมาเจตนาเจตสิกไหมล่ะครับ ผมก็ตอบว่าต้องให้ได้ "จิตตังภาวิยะติ" ครับ ถ้ายังไม่ถึง จิตตังภาวิยะติ มันก็ได้แค่บริกรรมนิมิตเท่านั้น เมื่อถึงภาวะจิตตังภาวิยะติเมื่อใด นิวรณ์บรรเทาแล้วครับ
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    โกรธก็โกรธนะครับ มันเห็นความเร็วเมื่อ อ่าน นะครับ เห็นกิเลสทันทีเลย ท่าน นิวรณ์เป็นครูที่ส่งอารมณ์ผมดีมากเลยครับ เห็นกิเลสได้บ่อยดีครับ
    ผมเองก็ไหว้ยักษ์ ไหว้พรหม เทวดานะครับ ยักษ์อย่างท้าวเวสสุวรรณ ท่านก็เป็นพระโสดาบัน พระอินทร์ ท่านก็เป็นพระโสดาบัน เด็กไหว้ผู้ใหญ่ก็ไม่แปลกหรอกครับ ...ถึงผมจะไหว้ ยักษ์ แต่ ไตรสรณะ ผมก็อยู่กับตัวนะครับ ...พุทธภูมิเป็นอย่างไรครับอธิบายให้ฟังหน่อย อันนี้ไม่รู้จริงๆเห็นเค้าพูดมาหลายคนแล้วแต่ไม่ได้สนใจไหนๆก็ไหนๆตอบให้ด้วยครับ
     
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ใจเย็นๆ ซีครับ เมื่อเราเริ่มปฏิบัติทุกอย่างเป็นไปตามลำดับนะครับ ถ้าถึงขึ้นใจหยุด ใจนิ่ง นิวรณ์มันสงบลงแล้วล่ะครับในขณะแห่งสภาวะธรรมนั้น แต่ความหยุด ความนิ่งอันเป็นเบื้องต้นของสมถะนี้ มันต้อง หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง เข้าไปกลางของหยุด กลางของนิ่ง ไม่ถอยหลังกลับ แปลว่าเราต้องปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไปและให้เป็นวสีด้วย...


    แหม..คุณครูนิวรณ์จะมาสอบอารมณ์กันหรือครับ การปฏิบัตินั้นผมมีครูบาอาจารย์คอยควบคุมอยู่แล้วครับ ขอเล่าเฉพาะเบื้องต้นแค่นี้ก็แล้วกัน เดี๋ยวสำนวนมันคนละพื้นฐานกันต้องมานั่งอธิบายศัพท์เพิ่มอีก...
     
  9. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ถ้าภาวนาเพื่อความพ้นทุกข์

    ฝึกสายไหน ทางไหนก็ได้ ที่อยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม
    เพื่อรู้แจ้งในอริยสัจ ปลายทางอยู่ที่เดียวกัน คือความหลุดพ้น

    แต่ถ้านอกจาก กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่รู้แจ้งอริยสัจแล้ว
    สามารถพ้นทุกข์ได้แค่ชั่วคราว แต่ยังไม่ใช่ความพ้นทุกข์จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2008
  10. pheecoke

    pheecoke สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    อืม .... ใช้ใจดูสิ ใส้มันจะแตกได้อย่างไร
     
  11. anuchakpy

    anuchakpy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +46
    ความรู้ที่คุณสมถะนั้นน่าเปิดการเรียนการสอน เพื่อขยายวิชาธรรมกายนะครับ
    ****ผมสงสัยนะครับ แค่อยากรู้เหตุผล ****
    ท่านได้แสดงความรู้ให้คนในเวปได้อ่านและศึกษา จะเกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในส่วนของคนที่เข้าใจก็ดีไป คนที่ไม่เข้าใจก็....หน่อย วันหนึ่งมี 24 ชม. เราใช้เวลาทำมาหากิน กี่ ชม.คับ เวลาทำกิจส่วนตัวรวมๆกันกี่ ชม. ใช้เวลานั่งสมาธิกี่ ชม. เวลาที่เราสอนสมาธิ ชม. และอันดับสุดท้ายเวลามาตอบกระทู้ ให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาธรรมกายใช้เวลากี่ชม. นี่แหละ ท่านมีความสามารถบริหารเวลาได้ดีครับ
    ***ตามที่ผมวิเคราะห์นะ ชาววัดพระธรรมกายส่วนใหญ่เขาใข้เวลาในการบอกบุญสร้างวัดชวนคนทำความดี แค่นี้มันก็แทบไม่เหลือเวลานะ ผมเคยเป็นกัลยาณมิตร อย่างคนใกล้ตัว ผมเป็นทหาร คนรอบตัวมีแต่นักดื่มตัวยง หาจังหวะและเวลาในการทำคนให้เป็นคนดี ก็แทบหมด แค่คนในครอบครัวผมใช้เวลา 10ปี กว่าจะทำให้เป็นชาวธรรมกาย ยิ่งพี่สาวผมปฏิบัติตามแนวหลวงพ่อจรัญ กว่าจะมาพิสูจน์ให้เห็นพระธรรมกาย ใช้เวลา 10 กว่าปี
    ผมนับถือคุณสมถะจริงๆ สามารถตอบกระทู้ต่างๆได้เยอะมากนะ เท่าที่ผมค้นหา ผมบอกก่อนว่า ผมทำงานน้อย มีเวลาเยอะแต่ก็ไม่มาก เพราะต้องดูแลครอบครัว และคนใกล้ตัว
    ช่วยตอบให้ผมกระจ่างด้วยครับ ไม่ได้มีอคติอย่างไรหรือขัดแย้งความเห็นของท่าน
    ด้วยความเคารพ
     
  12. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    สวัสดีครับ คุณanuchakpy

    เรื่องการพูดคุยเกี่ยวกับสมาธิวิชชาธรรมกายตามเวบบอร์ดต่างๆ นี้ ผมทำตา่มสะดวกครับ ไม่ได้ต้องจัดเวลาอะไรมากมาย ทำต่อเนื่องกันมานานพอสมควร

    สำหรับงานสอนของผม และคณะวิทยากร ชมรมพัฒนาใจให้สว่างใส ทำกันต่อเนื่องตาม ที่ปรากฏในลิ้งค์ประชาสัมพันธ์นี้ ห้องประชาสัมพันธ์

    ตอนนี้ทางชมรมฯ ได้เปิดรับท่านผู้สนใจฝึกในหลักสูตรวิทยากรสอนสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายจำนวนมาก ใครสนใจก็ติดต่อเข้ามาได้ตามลิ้งค์ที่ให้ไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    กระทู้นี้เป็นกระทู้ที่ดีมากในการหาข้อมูลในการฝึกสมถะภาวนา และยังได้ความรู้เสริมให้เราพัฒนาความรู้ต่อยอด และยังอธิบายลักษณะของนิมิตต่างๆได้ชัดเจน
     
  14. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2012
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เชิญอ่าน
    ข้อแนะนำการเรียนรู้และวิธีการอ่านตำราทางวิชชาธรรมกาย


     
  16. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

แชร์หน้านี้

Loading...