ภัยพิบัติ....ชีวิตฝากไว้กับเครื่องมือ..และวิธีการ...หรือ?

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NARKA, 18 เมษายน 2012.

  1. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    งง......
    ..เพราะว่า....เจ้าหน้าที่รัฐบาล...คือ นักอุตุนิยมวิทยา....
    ...ที่มีเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวอยู่ในมือ....
    ...รายงานแผ่นดินไหว...ว่าเกิดศูนย์กลางที่ถลาง ภูเก็ต...ต่อมาศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ...จึงเอารายงานนั้น...ไปแจ้งประกาศเตือน.....
    ...ต่อมานักวิชาการ...จากสถาบันหนึ่ง...
    ...ระบุว่า...ไม่ใช่....
    ..เพราะศูนย์กลาง...อยู่ที่ เกาะยาวใหญ่
    ..ท่านอ้างว่า...เครื่องมืออุตุฯทางฝั่งทะเลอันดามัน มีเพียง 4 เครื่อง...ความแม่นยำยังคลาดเคลื่อน...แต่ก็ใกล้เคียง....
    ..เพราะท่านเอารายงานจากศูนย์เตือนภัยฯของอเมริกาที่ตั้งอยู่ในเอเชียแปซิฟิก.....มาบอก....
    ...ประเด็นมันอยู่ที่ตรงนี้......
    ..ถ้านักวิชาการถูก...ว่าศูนย์กลางที่เกาะยาว....นั่นหมายถึงว่า...มันเป็นแค่...รอยเลื่อนเก่า......
    ....แต่ถ้าอุตุฯถูก...มันเป็นเรื่องใหญ่...เพราะมันจะเป็นรอยใหม่สุดๆ....
    ...การขัดแย้งกันนี้...ทำให้การเฝ้าระวัง...มีระดับต่างกัน...จึงทำให้การหาสาเหตุว่า
    1.ทำไมรอยเลื่อนเก่าถึงมีพลัง(นักวิชาการ)
    2.ทำไมจึงเกิดรอยเลื่อนใหม่(อุตุฯ)
    ...ผมไม่ห่วง...ถ้านักวิชาการถูก.....
    ...แต่ผมห่วง...ถ้าอุตุฯถูก.....
    ...เพราะภูเก็ต...เป็นเหมือนภูเขาที่งอกขึ้นจากทะเล....ถ้าเป็นรอยใหม่...มีโอกาสสูงที่จะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงให้พังคล้ายแลนด์สไลด์ได้....
    ...นั่นจะคล้ายนครแอตแลนติสถล่มเลยทีเดียว....
    ...อีกอย่าง...ตอนนี้ที่ห่วงจริงๆก็คือ
    1.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของไทย...ไม่มีสถานะภาพ...ตั้งโดยไม่มีกฏหมายรองรับ...เป็นเพียงคำสั่งทางการบริหาร...ดังนั้น งบประมาณ เครื่องมือ บุคคลากร...ตลอดจนสถานที่ตั้งของหน่วยงาน....ยังมีปัญหา(ตอนนี้ฟังว่าไปอาศัยที่ของกรมอุตุฯอยู่)แต่...รัฐบาล..ดันให้มาดูแลงานใหญ่....มีสิทธิ์พัง(คือประชาชนตายเป็นเบือ)
    2.เครื่องมือ....เช่นเครื่องวัดแผ่นดินไหว...เป็นของอุตุฯ ทุ่นตรวจจับสึนามิ...คงเป็นของศูนย์ฯเอง..เสาสัญญาน6 จังหวัด...โอนไปมาระหว่างท้องถิ่นกับกรมอุตุฯภายหลังตัวเองจึงรับทำ...ในการดูแล..ซึ่งหลายๆเสา..ใน6 จ.ว.ก็ถูกขโมยลักตัดสายไฟ...ไม่ดัง...อย่างนี้ถ้าเกิดตอนดึกๆเช่นสึนามิ...ได้ตายกันยกหมู่บ้าน...
    3.ทุ่นที่วางดักจับสึนามิก็มีน้อยมากแค่2ตัวมั๊ง ด้านเกาะนิโคบาร์ฝั่งตะวันตก......ทางด้านระนอง..ไม่มีทุ่นเลย
    ...ถ้ามันไหวด้านนี้....คนจะตายเป็นแสน..เพราะไม่รู้ตัว...
    4.วิธีการ...สับสน...ระหว่างกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน....บรรเทาสาธารณะภัยในแต่ละจังหวัดและของศูนย์เตือนภัยฯเอง...ไม่เป็นระบบบูรณาการให้เป็นระบบเดียว....เช่น...แผ่นดินไหวในทะเล...เกิดสึนามิ.ผู้อยู่ที่สูงเช่นตึก...ต้องไม่ลงข้างล่าง...แต่ให้ผู้อยู่ข้างล่างขึ้นข้างบน...(แต่เรากลับกัน)
    ส่วนแผ่นดินไหวบนบก...ให้ผู้อยู่ที่สูงลงข้างล่าง..แต่ข้างล่าง ห้ามขึ้นข้างบน...เป็นต้น
    ...ซึ่งการที่ระบบผิดเช่นนี้...ทำให้ล่าสุดญี่ปุ่นออกมาสารภาพว่าเขาวางแผนอพยพผิด...จึงทำให้คนตายไป2หมื่นกว่า(เพราะดันไปวางแผนฯให้คนหนีตามพื้นไปยังจุดปลอดภัย...แต่ไม่รู้ว่าคลื่น...อยู่ที่ไหน..อีกกี่นาทีถึงฝั่ง...จึงทำให้มีคนตายมากมาย...และไทยก็ไปลอกเขามาทั้งดุ้น)
    5.หน้าที่ศูนย์เตือนภัย มีมหาศาล แต่มีอุปสรรคดังกล่าวมาแล้ว...โดยให้ไปทำเรื่องน้ำท่วม แลนด์สไลด์ฯลฯด้วย...น่าจะตัดออกไป...ให้ทำเฉพาะเรื่องที่คนอาจตายเป็นแสนๆคน เช่น สึนามิ และ แผ่นดินไหวบนบก...แล้วจัดตั้งองค์กรให้ถูกกฏหมาย หาคน เครื่องมือ เงิน ให้เขาไป น่าจะดีกว่าปัจจุบัน....
    ....ที่บ่นมาทั้งหมด....รับรองว่า...ผมและครอบครัวไม่ตาย....เพราะรู้ระบบทั้งหมดดีอยู่แล้ว....เป็นห่วงแต่พวกไม่รู้อีกมากมาย....อาจต้องตายไป...ไม่ช้าก็เร็ว.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  2. ญิฐา

    ญิฐา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +244
    คง เอาอยู่ เหมือนเดิมมั๊งคะ :'(
     
  3. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    [​IMG]

    มีคำถามจากชาวต่างชาติ

    "I'm skeptical because the USGS didn't report this quake – and still hasn't, now, six hours after it was supposed to have happened.On the other hand, several friends felt a significant jolt around that time in Patong.I've submitted the observation to the USGS. Let's see if they can find two quakes in their data." /Woody Leonhard

    "Why isn't the quake then shown on the USGS Earthquake website?" /thinkabout

    "Seismic experts on Phuket that can detect quakes that the rest of the world can't? Does that sound remotely possible?" /soupdragon

    "Epicentre of yesterday's earthquake was Ko Yao according to the USGS, not Talang. Magnitude was 3.9." /Ned

    จากเวป phuketgazette

    [​IMG]

    ไทยบอกจุดศูนย์กลางอยู่ที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
    USGS แจ้งว่าจริงๆแล้วอยู่ที่ เกาะยาว จ.พังงา

    ไปกันใหญ่แล้ว แล้วชาวบ้านเกาะยาวใหญ่ ยาวน้อย มีรายงานออกมาบ้างมั๊ยนะว่ามีแผ่นดินไหว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,375
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,652
    ลองแลกเปลี่ยนทัศนะกัน...นะครับ (อ่านบทความก่อน)


    เรารู้ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้อย่างไร ?

    เรารู้ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้อย่างไร


    เรารู้ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้อย่างไร Posted by GeoThai.net

    ระบบเครือข่ายสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว (seismograph networks) ที่มีครอบคลุมอยู่ทั่วโลกนั้นสามารถที่จะระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้ แม้ว่าเราจะสามารถหาตำแหน่งดังกล่าวได้จากข้อมูลเพียงสถานีเดียว แต่เพื่อความแม่นยำจึงต้องอาศัยข้อมูลจากสถานีตรวจวัดที่มากกว่าสามสถานีขึ้นไป การระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวนั้นมีความสำคัญมากในแง่ของการประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อการศึกษาทางธรณีวิทยาที่เป็นสาเหตุได้

    เมื่อเกิดแผ่นดินไหว กราฟบันทึกการไหวสะเทือน (seismogram) ของสถานีตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน (seismic station) แต่ละสถานี จะบันทึกช่วงเวลาที่คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave) แรกที่เดินทางมาถึงสถานี ทำให้สามารถคำนวณความแตกต่างช่วงเวลาระหว่างคลื่นทุติยภูมิกับคลื่นปฐมภูมิได้ หรือที่เรียกว่า S-P time ในหน่วยวินาที เมื่อคูณด้วย 8 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วเฉลี่ยที่คลื่นปฐมภูมิเดินทางในเปลือกโลก ก็จะได้ระยะทางในหน่วยกิโลเมตร หรือหาจากกราฟความสัมพันธ์ ดังรูป ที่สามารถหาขนาด (magnitude) ของแผ่นดินไหวได้ด้วย จากการลากเส้นตรงที่มีจุดปลายด้านหนึ่งอยู่บนกราฟ S-P ดังตัวอย่างมีค่าเท่ากับ 24 วินาที และปลายอีกด้านหนึ่งอยู่บนกราฟค่าแอมพริจูด (amplitude) ดังตัวอย่างมีค่า 23 มิลลิเมตร โดยมีกราฟขนาดอยู่ตรงกลาง จุดตัดที่เกิดขึ้นบนกราฟขนาดก็จะบ่งบอกขนาดของแผ่นดินไหวได้ ดังตัวอย่างมีขนาดเท่ากับ 5.0 ส่วนอีกด้านหนึ่งของกราฟ S-P ก็มีการเทียบระยะห่างระหว่างศูนย์กลางแผ่นดินไหวกับสถานีไว้ด้วย ทำให้เราอ่านค่าระยะทางได้เลยในหน่วยกิโลเมตร

    [​IMG]

    กราฟแสดงการใช้ค่า amplitude เพื่อหาขนาด และระยะทางระหว่างแผ่นดินไหวกับสถานีตรวจวัด (จาก Bolt, 1978)

    จากนั้นก็ทำการสร้างวงกลมล้อมรอบสถานีโดยมีรัศมีเท่ากับระยะที่คำนวณได้ ซึ่งเส้นรอบวงที่ได้นี้คือตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่เป็นไปได้รอบสถานี ด้วยข้อมูล S-P time จากสถานีที่สองก็สามารถสร้างวงกลมได้เช่นกัน ซึ่งจะสามารถกำหนดตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวให้แคบลงเหลือเพียงสองจุด คือตำแหน่งที่วงกลมตัดกัน เมื่อทำอย่างเดียวกันกับสถานีที่สามเราก็จะสามารถระบุได้ว่าจากสองตำแหน่งนั้น ตำแหน่งไหนคือตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่แท้จริง ตำแหน่งที่ได้นี้คือตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (epicenter) นะครับ ซึ่งเกิดจากการจำลองตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวใต้ผิวโลก (hypocenter) มายังบนผิวโลกในแนวดิ่ง ถ้าเราทราบความลึกของแผ่นดินไหวเราก็จะสามารถหาตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวใต้ผิวโลกได้ การหาความลึกนั้นผมจะมานำเสนอภายหลังนะครับ

    [​IMG]

    จากรูปเป็นตัวอย่างการระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่คำนวณได้จากสถานีตรวจวัดใน Boston, Edinborough และ Manaus ด้วยระยะทางที่แสดงจากวงกลมทั้งสามสามารถตัดกันได้เพียงจุดเดี่ยวคือในบริเวณศูนย์กลางการเปิดออกของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (Mid-Atlantic Ridge spreading center)


    ลองวิเคราะห์...ดู

    - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ / กรมอุตุ คงไม่สามารถสร้างเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวได้เอง ดังนั้นอุปกรณ์วัดแผ่นดินไหวที่ขายกันย่อมมีมาตรฐานพอสมควร

    - จำนวน Sensor ที่มีอยู่ถึง 4 ตัว (และใกล้กับจุดศูนย์กลาง) ย่อมสามารถ plot graph ได้อย่างแม่นยำ (เพื่อคำนวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว)...เพราะไม่ได้ใช้เทคนิคที่ซับซ้อนอะไร

    ยกเว้น... Sensor ทั้ง 4 ตัวของ... ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ / กรมอุตุ...ผลการคำนวณมีการคลาดเคลื่อน...ทำให้จุดตัดของวงกลมคลาดเคลื่อนไป (มีมากว่า 1 จุด)

    เรามาดูว่า Sensor ของสถานีตรวจแผ่นดินไหวอัตโนมัติ...มีอะไรบ้าง

    - สถานีตรวจแผ่นดินไหว ระบบ I 15 แห่ง
    - สถานีตรวจแผ่นดินไหว ระบบ II 25 แห่ง
    - สถานีวัดอัตราเร่งของพื้นดิน 21 แห่ง
    - สถานีวัดระดับน้ำทะเล 9 แห่ง
    - สถานีวัดการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก 5 แห่ง

    ข้อมูลจาก http://www.seismology.tmd.go.th/stations.php

    [​IMG]


    ผมเชื่อว่า Sensor ของ USGS นั้นเป็นแบบที่สามารถคำนวณจุดตัดได้...แต่เนื่องจากแผ่นดินไหวคราวนี้มีขนาดเล็ก และไม่อยู่ในตำแหน่งที่ระบบเฝ้าระวังให้ความสนใจ ต้องให้คนที่รู้สึกถึงการไหวแจ้งไปที่ USGS จึงจะมีการคำนวณศูนย์กลาง และแสดง report ออกมา

    จุดที่ USGS คำนวณได้...อาจมีความแม่นยำกว่า...เพราะจำนวน sensor มีมากกว่า...จำนวนวงกลมที่ได้จึงมากกว่า...การระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวจึงทำได้แม่นยำกว่า

    - ส่วนประเด็นแนวรอยเลื่อนใหม่นั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่อาจเกิดจากการแตก / แขนงของรอยเดิม ซึ่งเราลืมไปว่ามันมีอยู่ และหลายคนไม่เชื่อว่าจะมีแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในประเทศไทยได้ (แต่ก็มีแล้ว)

    - ขอทำความเข้าใจแบบชาวบ้านว่า...คำว่ารอยเลื่อนมีพลังนั้น....คือ...รอยแตก / รอยเลื่อน...ที่มีโอกาสที่มันจะ active (เคลื่อนตัว) ได้

    หากเรามองว่า...ภูเก็ต...ระนอง...กทม...ก็ไม่ได้อยู่ไกลจาก นิโคบา...อินโดเนเซีย...สักเท่าไหร่...เหตุไฉนเราจึงหลอกตัวเองว่า...รอยเลื่อนต่างๆที่เรามีอยู่ประเทศไทยจะไม่ active ?

    - ส่วนเรื่องระบบเตือนภัยนั้น...ขออนุญาติไม่กล่าวถึง...เพราะเป็นความล้มเหลวของนักการเมือง...และความไร้เดียงสาในการทำระบบ...รวมถึงปัญหาของระบบที่ไม่ได้รับการ maintenance เลย

    เราๆท่านๆ...จึงไม่ควรฝากความหวังไว้กับระบบเตือนภัยเหลานั้น...แต่เพียงอย่างเดียว



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 000.jpg
      000.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.8 KB
      เปิดดู:
      365
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2012
  5. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    ข้อมูลแผ่นดินไหวที่ภูเก็ต จุดศูนย์กลางอยู่ที่อ.ถลาง แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบ
    ยังสับสนกับข้อมูล จนพึ่งมาทราบว่าศูนย์กลางอยู่ที่อ.ถลาง ก็ต่อเมื่อมีการสงสัยว่า

    ทำไม แผ่นดินไหวแค่ 5.5 ริชเตอร์ที่อินโดนีเซีย แต่แผ่นดินไหวแรงส่งผลเฉพาะ
    ที่ภูเก็ตแห่งเดียว

    เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดจึงทราบว่าจุดศูนย์กลางอยู่ที่อ.ถลาง จ.ภูเก็ตนี้เอง(4.3)ริชเตอร์
    แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่ายังมีความล่าช้า และองค์ความรู้ในเรื่องแผ่นดินไหว ยังน้อย
    การสั่งการขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไม่มีเอกภาพเท่าที่ควร ขาดการรวมศูนย์
    หากเกิดภัยพิบัติที่ใหญ่กว่านี้จะทำกันอย่างไร ...ต้องแก้ไขและทบทวนโดยด่วน
    และควรเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐจะต้องลงมาควบคุมดูแลและกำกับอย่างใกล้ชิด

    ...ยังไม่สาย ถ้าคิดจะทำ..<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    คุณแซด ๆ
    ผมก็เชื่อไอ้กัน....ไม่ค่อยเชื่อมือคนไทย เครื่องไทย...
    ..แต่ปัจจุบันคือ เกาะยาวใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางนั้น...มีบ้านเรือนตึกรามบ้านช่องอยู่พอสมควร มีโทรศัพท์มือถือใช้งาน....แต่....
    ..ไม่มีรายงานจากชาวบ้านชาวเมืองถึงความเสียหาย ถึงแรงสั่นสะเทือนฯลฯ...ตัวนี้ประหลาดมากๆ......
    ..และทางราชการ นักข่าว ต่างก็เทกันไปที่ภูเก็ต ไปที่ถลาง...แต่ไม่มีใครไปเกาะยาวใหญ่......
    ...ผมสังหรณ์ใจว่า....อันเครื่องไม้เครื่องมือของอเมริกานั้น...งานนี้...ล้มเหลว...
    ....หลักการ..ใกล้กว่า...แม่นกว่า แม้เซ็นเซ่อร์จะน้อยกว่า...น่าจะเกิดขึ้นแล้ว...
    ...ดังนั้นทฤษฎีเซ็นเซอร์ น่าจะมีจุดบกพร่องแล้วล่ะ....ทำไงดี...
     
  7. ยาล้างตา

    ยาล้างตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2007
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +3,539
    สรุปเหมือนเดิมครับ อย่าเชื่อข่าวจากแหล่งเดียว ต้องหาหลายช่องทางมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งผมเชื่อว่าในเวปนี้มีอยู่พอสมควรครับ ถ้าไม่ล่มไปซะก่อน
    ช่องทางรับข่าวสารสำรองก็มีใน facebookอีกทาง ท่านใดมีแนะนำช่องทางเพิ่มเติมก็ช่วยๆบอกกันครับ
     
  8. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,375
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,652

    เอาตามความเป็นจริง...ครับ

    ฝรั่ง (USGS) ไม่รู้สึก...ไม่ report

    เราชาวไทย...เรารู้สึก...เราวัดได้...เรา report

    ดังนั้น...ต้องว่ากันตามจริง

    งานนี้ผมว่า...ข่าววันที่ 28 เมษา...ก็น่าจะมีเค้าลางครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...