ประกาศรายชื่อแจกสมเด็จองค์พระปฐมและพระเกศา พระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย aetipp, 18 พฤษภาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. หลานเเม่

    หลานเเม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,201
    ค่าพลัง:
    +7,248
    ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เป็นสิ่งมนุษย์ทุกคนต้องเผชิญกับมันหลีกหนีไม่ได้ เเต่ก็สามารถที่จะเเก้ไขได้หากเกิดขึ้น
     
  2. Doksil

    Doksil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +1,136
    สังขารธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่
    เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    สั้นๆครับ ไม่ต้องมากความครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  3. apichetch

    apichetch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +126
    ทุกข์คือ ไม่สมอยากครับ
     
  4. ธัญวา

    ธัญวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,099
    ค่าพลัง:
    +770
    ทุกข์เกิดจากอะไร

    ทุกข์ในอริยสัจ 4
    ก็คือทุกขเวทนาหรือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ซึ่งก็คือความทุกข์ในความหมายของคนทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ทุกขเวทนามี 2 ทางคือ ทุกข์ทางกาย กับทุกข์ทางใจ
    ทุกข์ทางกาย หมายถึงทุกข์ที่มีกายเป็นเหตุ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากความหนาว ความร้อน ความป่วยไข้ ความบาดเจ็บ ความหิวกระหาย ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ทุกข์ที่เกิดจากการที่ต้องคอยประคบประหงม ดูแลบำรุงรักษาทำความสะอาดร่างกาย และความทุกข์อื่น ๆ อันมีกายเป็นต้นเหตุอีกเป็นจำนวนมาก ทุกข์ทางกายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับร่างกาย เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก ตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ต้องทนกับทุกข์ทางกายนี้เรื่อยไปไม่มีวันพ้นไปได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่สร้างสมบุญบารมีมาอย่างมากมาย มากกว่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ก็ยังต้องทนทุกข์ทางกายนี้จนกระทั่งถึงวันปรินิพพาน สมกับคำที่ว่า การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป
    ทุกข์ทางใจ หมายถึงทุกข์ที่เกิดจาก การปรุงแต่งของใจ ทุกข์ทางใจนี้ส่วนหนึ่งมีทุกข์ทางกายเป็นสิ่งเร้าให้เกิด เช่น เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือป่วยไข้ขึ้นมาทำให้เกิดทุกข์ทางกายขึ้นแล้ว ต่อมาก็เกิดความกังวลใจ ความหวาดกลัวขึ้นมาอีกว่าอาจจะรักษาไม่หาย อาจจะต้องสูญเสียอวัยวะไป หรืออาจจะต้องถึงตาย ซึ่งความกังวลความหวาดกลัวเหล่านี้จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นมา ทุกข์ทางใจอีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีทุกข์ทางกายเป็นต้นเหตุ เช่น ความทุกข์จากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความทุกข์จากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์จากการไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ทุกข์จากความโกรธความขัดเคืองใจ ทุกข์จากความกลัว ทุกข์จากความกังวลใจ ความคับแค้นใจ ทุกข์จากความกลัวว่าความสุขที่มีอยู่จะต้องหมดไป ทุกข์จากความกลัวความทุกข์ยากลำบากที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต ทุกข์จากการกลัวความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมสรรเสริญ และทุกข์ทางใจอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน
    กล่าวโดยสรุป ทุกข์ทางใจทั้งหมดล้วนมีต้นเหตุมาจากความโลภ ความโกรธ และความยึดมั่นถือมั่น .

    ทุกข์จากความโลภ ตามหลักอภิธรรมแล้วความโลภจะไม่ประกอบด้วยความทุกข์ เพราะความโลภจะเกิดขึ้นพร้อมกับความดีใจ หรือเกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉย ๆ ( อุเบกขา ) เท่านั้น ที่กล่าวว่าความทุกข์ที่มีต้นเหตุมาจากความโลภในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าความทุกข์นั้นเกิดพร้อมกับความโลภ แต่เป็นความทุกข์อันมีความโลภเป็นเบื้องต้น และมีความทุกข์เป็นเบื้องปลาย อันได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากความกลัวจะไม่ได้ในสิ่งที่ตนอยากได้ ทุกข์จากการที่ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนอยากได้ เป็นต้น
    ทุกข์จากความโกรธ ความโกรธนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็นำทุกข์มาให้เมื่อนั้น เพราะความโกรธจะทำให้จิตใจต้องเร่าร้อนดิ้นรน เกิดความกระทบกระทั่งภายในใจ ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ความโลภนั้นในเบื้องต้นยังพอจะนำความสุขมาให้ได้บ้าง ( ในขณะที่เกิดความเพลิดเพลินยินดี ) แต่ความโกรธนั้นนำมาแต่ความทุกข์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างของความทุกข์จากความโกรธเช่น ทุกข์จากความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ คับแค้นใจ กังวลใจ ความกลัว ความหวาดระแวง ความมองโลกในแง่ร้าย ความไม่สบายใจ ความอิจฉาริษยา ความพยาบาทอาฆาตแค้น เป็นต้น
    ทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่น สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็ตาม ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นเข้าแล้วก็ล้วนนำทุกข์มาให้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะยึดว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ยึดว่าเป็นเขา เป็นของของเขา ยึดว่าเป็นสิ่งที่เราชอบใจ เป็นสิ่งที่เราไม่ชอบใจ ยึดว่าเป็นคนที่เคยทำร้ายเรา เคยด่าเรา ยึดว่าเป็นญาติพี่น้อง เป็นศัตรู เป็นครูอาจารย์ เป็นผู้ที่เราเคารพนับถือ ยึดว่าเป็นนาย เป็นบ่าว เป็นเพื่อน เป็นหน้าที่การงาน ฯลฯ ไม่มีสิ่งใดเลยที่ยึดมั่นถือมั่นแล้วจะไม่นำทุกข์มาให้ แม้แต่ยึดในบุญกุศล ความดี มรรค ผล นิพพาน ก็ตามที ( อริยบุคคลนั้นไม่ยึดในรูปนามทั้งหลาย ไม่ยินดีในการเกิดก็จริง แต่ก็ไม่ได้ยึดมั่นในมรรค ผล นิพพาน )
    เพราะการยึดในสิ่งที่เราไม่ชอบใจก็ย่อมจะทำให้เกิดความขัดเคืองใจ โกรธ ไม่พอใจ คับแค้นใจ กลัว ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นต้นเหตุของความทุกข์จากความโกรธนั่นเอง ส่วนการยึดในสิ่งที่เราชอบใจก็จะทำให้เกิดทุกข์อันมีต้นเหตุมาจากความโลภ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดทุกข์จากความกลัวการพลัดพรากสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป ทุกข์จากการต้องคอยทนุถนอม บำรุงรักษา เก็บรักษาไว้ ต้องคอยปกป้อง ห่วงใย ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ไม่เป็นอิสระ และถ้าต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไปก็จะยิ่งเป็นทุกข์ขึ้นไปอีกมากมายนัก ส่วนการยึดในบุญนั้นก็ต้องเป็นทุกข์จากการรอคอยว่าเมื่อไรผลบุญถึงจะตอบสนอง ยึดในบาปก็เป็นทุกข์กลัวกรรมจะตามสนอง
    กล่าวโดยสรุปก็คือ ยึดสิ่งไหนก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น ถ้าเราไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดเลยความทุกข์ทางใจทั้งหลายก็ไม่อาจจะเกิดขึ้น กับเราได้เลย .

    ทุกข์ในไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ก็คือสามัญลักษณะ 3 ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คำว่าทุกข์ในไตรลักษณ์ก็หมายถึงทุกขัง ในไตรลักษณ์หรือที่เรียกว่าทุกขลักษณะนั่นเอง ซึ่งหมายถึงการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงยกเว้นนิพพาน ล้วนอยู่ในสภาวะที่ถูกเหตุถูกปัจจัยทั้งหลาย บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป (ดูเรื่องทุกขเวทนากับทุกข์ในไตรลักษณ์ ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ)
    ทุกข์ในไตรลักษณ์นี้เป็นลักษณะอันเป็นสามัญ คือเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารธรรมทั้งหลายที่จะต้องเป็นไปอย่างนั้น เป็นกฎอันเป็นพื้นฐานของธรรมชาติ เพราะสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นเพียงผลของเหตุของปัจจัยเท่านั้นเอง ไม่มีสิ่งใดเลยที่มีอำนาจเหนือตน ตราบใดที่ยังไม่เข้าสู่สภาวะแห่งนิพพานแล้ว ก็จะต้องเผชิญกับทุกข์ในไตรลักษณ์นี้ด้วยกันทั้งสิ้น
    ทุกข์ในอริยสัจ 4 ก็อยู่ในสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย นอกจากนี้สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาก็ยังไม่พ้นจากทุกข์ในไตรลักษณ์ เพราะทั้งสุขและอุเบกขาก็ล้วนถูกเหตุปัจจัยต่าง ๆ บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
     
  5. คุณชัชช์

    คุณชัชช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    833
    ค่าพลัง:
    +725
    ตอบปัญหาธรรมะ
    พุทธศาสนามีการแบ่งประเภทของความทุกข์ออกเป็นอย่างนี้
    ถ้าพูดในภาพรวม ความทุกข์เป็นเรื่องที่เราต้องเจอะเจอกันทุกคน ดังคำกล่าวที่ว่า "ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง" ทุกข์เพราะการเกิด ทุกข์เพราะความแก่ ทุกข์เพราะความตาย หรือจะเรียกว่าทุกข์ประจำก็ได้ นอกจากนั้นความทุกข์ก็ยังมีทุกข์จร เช่น ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์เพราะความไม่สบายกายไม่สบายใจ หวังแล้วไม่ได้สิ่งที่หวัง เป็นต้น
    แต่ถ้าจะลงรายละเอียด อรรถของทุกข์มี 3 อย่างเรียกว่า ทุกขตา 3 อย่าง คือ หนึ่ง ทุกขทุกข์ คือสภาพของความทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ สอง วิปริณามทุกข์ คือเป็นทุกข์ที่เกิดจากความแปรปรวน และสาม สังขารทุกข์ คือความทุกข์เพราะสังขาร ตัวสภาวะของสังขาร กล่าวคือสิ่งทั้งปวงเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ และทำให้เกิดทุกข์แก่ผู้ที่ยึดถือ เช่น หากยังยึดกาย ก็ทุกข์กาย หากยึดใจ ก็ยังเป็นทุกข์ทางใจนั่นเอง
     
  6. จิตพุทธ

    จิตพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    763
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ทุกข์...คือความไม่สบายกาย...ไม่สบายใจ..ความไม่ชอบใจ...ทั้งหมดทั้งปวง..
     
  7. tudsanai047

    tudsanai047 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +1,291
    ทุกข์เป็นผลอันเกิดจากจิดที่ส่งออกนอก แล้วกระเพื่อมไหวตามกิเลส โดยอาจแบ่งเป็นมองทุกข์ตามไตรลักษณ์ (ไม่สามารถทนอยู่ในสภาวะเดิมหรือสภาพเดิมได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา)และมองทุกข์ที่เกิดผ่านอายตนะภายใน
    หรือ อาจเป็นทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ

    ...ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น

    ....ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมไป

    ....นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด

    ....นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ


    ....พุทธพจน์....

    ขออนุญาตร่วมตอบด้วยครับ ด้วยปัญญาอันน้อยหนึ่ง รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะครับ.ขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ
     
  8. thaiisuzu

    thaiisuzu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2011
    โพสต์:
    838
    ค่าพลัง:
    +777
    ทุกข์ คือ ความอยากมีอยากได้ ความไม่รู้จักพอ ความยินดี
     
  9. มิ่งมังคลา

    มิ่งมังคลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +403
    ตอบปัญหาธรรม "ทุกข์"

    ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
    ทุกลมหายใจเข้าคือทุกข์
    ทุกลมหายใจออกคือทุกข์
    แม้ไม่มีลมหายใจก็คือทุกข์

    ---------------------------

    ขอให้ท่านเจริญในโลกและเจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2012
  10. sarayut_ori

    sarayut_ori เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +158
    ความทุกข์ คือการคาดหวังสิ่งที่พึงอยากได้ อยากมี อยากเป็น แล้วไม่สมหวัง จึงเป็นทุกข์ ส่วนความสุข เกิดจากความสมหวังในการอยากได้ อยากมี อยากเป็น ซึ่งไม่ว่าความทุกข์หรือความสุข มันคือกิเลสนั่นเอง ความทุกข์คือกิเลสอย่างหยาบส่วนความสุขก็คือกิเลสอย่างละเอียด เมื่อทราบอย่างนี้แล้วควรละกิเลส และมุ่งแสวงหาพระนิพพานกันเทอญ
     
  11. oracle_Park

    oracle_Park เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2012
    โพสต์:
    393
    ค่าพลัง:
    +813
    ทุกข์คือ สภาวะการทำงานของจิตรูปแบบหนึ่ง ทุกข์คือความไม่สบายไม่สบายใจของจิต จิตใจรับรู้ถึงความทุกข์ทรมาน เจ็บปวด ความทุกข์เกิดจากสิ่งที่มากระตุ้นความรู้สึกในใจ ความไม่สมหวัง ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตามความอยาก หรือกิเลสของมนุษย์ ทุกข์มีหลายสภาวะ ไม่มีก็ทุกข์ มีก็ทุกข์ ทุกข์เพราะเกิดจากความกังวล ใจที่เกิดความกลัว ทุกข์ที่เกิดกิเลสตัณหา ทุกข์ที่เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง การยึดในตัวตน การยึดมั่นถือมันว่าตนเองดีกว่าผู้อื่น การหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ ทุกข์ที่เกิดจากโทสะ โมหะ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ ฉะนั้นเมื่อเราพิจารณาเห็นพร้อมและรับรู้ถึงความทุกข์ที่อยู่ในกาย ในจิต ทุกข์เกิดได้ทุกข์สถานที่ทุกเวลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ โดยมีกิเลส หรือมีจิตเป็นตัวกระตุ้นความคิดให้รับรู้ถึงการทุกข์ในรูปแบบต่างๆ การเกิดทุกข์จะทำให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ เกิดความเครียดและสภาวะการบีบบังคับ ทำให้ในบางครั้งไท่สามารถประครองจิตสามันสำนึกของคนได้ ทำให้เกิดการกระทำที่เป็นด้านลบไป อาจไปทำร้ายร่างกายคนอื่นให้บาดเจ็บหรือตายได้ ดังเรียกว่าจิตขาดการควบคุมสามันสำนึกในด้านบวกก็จะลดลง เราก็สามารถที่จะปล่อยวางทุกข์ของเราได้โดยพิจารณาให้เห็นต้นเหตุแห่งทุกข์และหาหนทางในการดับทุกข์ ทุกข์อยู่ที่ใจของเราเอง เมื่อละได้ก็จะสละความทุกข์ทั้งปวงได้ ขจัดความรู้สึกต่างๆออกไป ไม่ยินดียินร้าย จึงทำให้คนเราสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ....ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  12. มโนมนต์

    มโนมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    266
    ค่าพลัง:
    +470
    ทุกข์ คือ การยึดติดในเหตุแห่งทุกข์ ถ้าปล่อยวางด้วยจิต ชีวิตก็จะไม่ติดทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  13. pho2601

    pho2601 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    879
    ค่าพลัง:
    +1,061
    ทุกข์ คือ ความทรมาน ความไม่สบาย ความไม่สมหวัง
    แท้จริงแล้วทั้งหลายทั้งปวง อยู่ที่จิตใจของเรา ถ้ามองโลกในแง่บวก ไม่ยึดติด รู้จักพอ เราก็จะมีความสุขและพ้นทุกข์เอง

    วรุณ บุษราคัมวดี
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก
    90 หมู่ 7 ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000

    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  14. เพื่อนใหม่

    เพื่อนใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +341
    ทุกข์ คือ รัก โลภ โกธร หลง
    ไม่รัก ไม่โลภ ไม่โกธร ไม่หลง ก็ไม่ทุกข์
    ดังคำขององค์พระสัมมาพุทธเจ้าที่กล่าวว่า
    ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์
    เจริญในธรรม
     
  15. jittir

    jittir เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +116
    คำว่า ทุกข์ ในความเข้าใจของเรา คือ การไม่รู้จักปล่อยวาง ดังนั้นไม่ว่า เรื่องดีหรือไม่ดี สุขหรือทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจ เมื่อไม่รู้จักปล่อยวาง ยึดมั่นถือมั่นไว้กับตัว ก็ล้วนแต่จะทำให้เกิดทุกข์ได้ทั้งสิ้น ขออนุโมทนากับ จขกท.ด้วยค่ะ
     
  16. sumaree

    sumaree Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +62
    ทุกข์ก็คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มันเกิดจากใจ
    ดังนั้นสรรพสิ่งที่ไม่มีใจครองมันจึงไม่มีทุกข์
    ที่เราไม่สบายกายไม่สบายใจเพราะ เราไม่เห็นทุกข์และไม่เห็นเหตุแห่งทุกข์
    เมื่อเห็นทุกข์และเห็นเหตุในไตรลักษณ์ ก็จะรู้ว่าทุกข์ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ลักษณะความเป็นทุกข์ของกายใจ
     
  17. chalakorns

    chalakorns เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +489
    ความทุกข์ คือ รัก โลภ โกรธ หลง
    ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจาก ใจ ความคิด ยึดติด
    เรื่องที่เกิดกับเรา คนหรือสิ่งที่ทำให้เราทุกข์แล้วเขาก็มีความสุขของเขา
    แต่สิ่งที่ทำให้เราทุกข์คือจิตใจเราทั้งนั้น
    ไม่คิดก็ไม่ทุกคิดแต่สิ่งดีๆก็ไม่ทุกข์
    คิดแค่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรานั้นดีแล้วไม่งั้นจะหนักกว่านี้
    เราก็จะไม่ทุกข์
     
  18. ต้องตา

    ต้องตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,282
    ทุกข์ในความเข้าใจของผมนะครับ ทุกข์เกิดจากกาม ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
    และไม่อยากได้ ไม่อยากมี และไม่อยากเป็น ทั้งหมดของกามหรือความอยากก็เพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายนี้ทั้งสิ้น สรุปคือทุกข์คือร่างกายของเรานี่เองต้องคอยดูแลทำความสะอาด ต้องค่อยหาอาหารให้กิน ต้องหายาให้กินเมื่อเจ็บป่วย ต้องหาเสื้อผ้าให้ใสป้องกันความอายและร้อนหนาว ต้องทำงานเหนื่อยทุกวันเพื่อหาปัจจัยมาหาสิ่งต่างๆข้างต้น พระท่านจึงสอนให้เราไม่ยึดติดในร่างกายให้พิจารณา
    ถึงความสกปรก ความไม่เที่ยงของร่างกายความเสื่อมของร่างกายจนในที่สุดก็สลายตัวไปในที่สุด เพื่อให้เบื่อหน่ายในร่างกาย ความพอใจในร่างกายและความพอใจในการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อมุ่งตรงต่อพระนิพพานจุดเดียว นี่คือทุกข์ของจริงในความคิดผมครับ
     
  19. kkookk

    kkookk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +1,326
    "ทุกข์"...ในความคิดของผม คือ การปรุงแต่ง ยึดมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเรา เมื่อเวลาที่ไปยึดไปถือแล้วไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจ หรือคิดเอาไว้จึงเกิดความไม่สาบยกาย ไม่สบายใจหรที่เรียกว่า"ความทุกข์"...

    เราสามารถแก้ความทุกข์ได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เรียกว่า"อริยสัจ 4"
    ประกอบไปด้วย
    ทุกข์= ความไม่สบายกาย สบายใจเกิดจากความยึดมั่น ถือมั่น
    สมุทัย = เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    นิโรธ = การดับทุกข์
    มรรค = วิีธีการดับทุกข์ มี 8 ประการ(เรียกว่า"อริยมรรค 8")

    ซึ่ง"อริยมรรค 8"ประกอบด้วย
    1. สัมมาทิฏิฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง ถ้าเข้าใจถูกก็แก้ได้ถูก
    2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
    3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
    4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
    5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
    6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
    7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
    8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง

    เมื่อเกิดทุกข์ขึ้นก็ใช้"อริยสัจ 4" ในการแก้ไข...แต่ถ้าต้องการจะห่างจากความทุกข์ต้องปฏิบัติตาม"อริยมรรค 8"ครับ....สรุปสั้นๆ ไม่อยากทุกข์ก็ต้องเลิกยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเราครับผม.....

    (อาจจะดูเป็นวิชาการไปหน่อย แต่ผมเรียบเรียงจากการปฏิบัติ และความเข้าใจของผมเองครับ..!!..ถ้ามีผู้เกิดนำไปใช้และเกิดผลก็ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  20. J00M

    J00M เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2012
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +3,263
    ทุกข์ คือทุกสิ่งที่เกิดจากความไม่ชอบ (ไม่ชอบในสิ่งที่ตัวเองหรือคนอื่นเป็น คิดมากก็ทุกข์) ไม่พอใจ (ไม่พอใจในสิ่งที่ได้รับ ก็ทุกข์เพราะอยากได้มากกว่านี้) ไม่อยากทำ (โดนสั่งให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำก็ทุกข์) หรือทำไม่ได้ดั่งใจ (อยากทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ แต่ทำไม่ได้สักทีก็ทุกข์) ทำให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้นค่ะ ถ้าตัดสิ่งพวกนี้ออกไปได้ ก็จะมีความสุขแบบพอเพียง แต่มันยากนะ....:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...