เมืองนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สุริยันจันทรา, 14 สิงหาคม 2007.

  1. สุริยันจันทรา

    สุริยันจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +4,588
    เมืองนิพพาน


    ใครอยากรู้ว่าเมืองนิพพานเป็นอย่างไร เชิญอ่าน​
    ผมได้หนังสือมาเล่มหนึ่ง ด้วยความเมตตาของ ดร.ศักดิ์สมิทธิ์ ปธ.๘ คราวไปพักอาศัยภาวนาที่สำนักกัมมัฏฐาน ภัททันตะ หนองปรือ ชลบุรี ช่วงปลายปี 2549 ที่ผ่านมา เมื่อนำมาอ่านก็ชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง แน่ใจว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เข้าถึงธรม คือบรรลุธรรมจริง ๆ ทุกเรื่องที่ท่านเขียน นอกจากเล่าจากประสบการณ์แล้ว ยังมีพระไตรปิฎกอ้างอิง และมีความเห็นของครูบาอาจารย์พระป่าที่ท่านบรรลุแล้วมาเล่าให้อ่านกันอีกด้วย
    หนังสือเล่มนี้ชื่อ
     
  2. สุริยันจันทรา

    สุริยันจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +4,588
    ผู้ปฏิบัติ พระเสขบุคคลคือพระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามี จะรู้สึกได้ถึงธรรมนี้เป็นครั้งคราว เพียงแต่ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งถึงธรรมนี้ และไม่ทราบว่าจะใช้ประโยชน์ใด ๆ ได้ เพราะจิตยังไม่เลิกแสวงหาความหลุดพ้น สภาวธรรมนี้จึงถูกมองข้ามไปอย่างรวดเร็ว ส่วนปุถุชนที่อยากจะทราบร่องรอยของความรู้สึกของสภาวะนี้ก็มีสภาวะอยู่อย่างหนึ่งที่ใกล้เคียงกับสภาวะนี้ คือความรู้สึกแปลก ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่ออ่านหนังสือเซน เช่นหนังสือของท่านเว่ยหล่าง และท่านฮวงโป เป็นต้น เป็นควมรู้สึกที่เห็นโลกว่างจากความเป็นตัวตนเพาะหยุดความคิดนึกดิ้นรนทางใจ แต่แม้จะพอรู้สึกได้บ้าง ก็ไม่สามารถกำหนด แตะต้อง หรือทำความเข้าใจได้ เพราะมันเป็นสภาวะแห่งการหยุดและรู้ หากพยายามทำความเข้าใจ สภาวะนี้จะดับไปทันที ผู้ที่สัมผัสสภาวะนี้จึงไม่ทราบประโยชน์ใด ๆ ของความรู้สึกนี้เลย นอกจากทราบว่ามีความรู้สึกแปลก ๆ เกิดขึ้นเท่านั้น
    ผู้ปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว ย่อมเห็นธรรมที่เคยเห็นก่อนหน้านี้มาแล้ว ปรากฎแจ่มจ้า บริสุทธิ์ บริบูรณ์ อยู่ต่อหน้าต่อตา และเข้าใจถ่องแท้ถึงที่สุดแห่งทุกข์และการเดินทาง โดยเมื่อเห็นรูปนามเป็นสิงราบเรียบเสมอกน และปล่อยวางจิต คือไม่หมาย และไม่หยิบฉวยจิตขึ้นมาอีกแล้ว ก็จะเห็นแจ้งสภาวธรรมอีกอยางหนึ่ง

    *สภาวะนี้ไม่เกิดไม่ดับ ไม่เหมือนสภาวะของธรรมชาติคือรูปนามที่มีความเกิดดับ

    *สภาวะนี้ทนอยู่ได้ ไม่มีความเสื่อม ไม่เก่าคร่ำคร่า ไม่ดับสลาย เพราะไม่มีสิ่งกระทบกระเทือนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ช่องว่าง วิญญาณ และไม่มีอะไรปรุงแต่งได้ อยู่ได้เองโดยไม่ต้องอิงอาศัยจิต กรรม อุตุ หรืออาหาร

    *สภาวะนี้ว่างจากความเป็นตัวตน ไม่ใช่อัตตา เพราะเป็นอนัตตา คือไม่เป็นไปในอำนาจของใคร และไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองได้ แต่ผู้ที่เห็นสภาวะนี้ก็ไม่กำหนดหมายว่าสภาวะนี้เป็นอัตตาหรือนัตตา เพราะปราศจากตัณหาที่จะกำหนดหมาย สภาวะนี้ก็เป็นสภาวะนี้อยู่อย่างนี้เอง

    *สภาวะนี้ครอบงำรูปนามทั้งปวงอยู่นั่นเอง แต่รูปนามทั้งปวงไม่อาจปนเปื้อนเข้าถึงสภาวะนี้ได้เลย เหมือนดอกบัวอยู่กับน้ำ แต่ไม่เปียกน้ำ

    *สภาวะนี้ไม่ใช่ภพอีกชนิดหนึ่งที่เที่ยงแท้ถาวร เพราะพ้นจากรูปนามจึงไม่ใช่ภพ และภพที่เที่ยงแท้ถาวรก็ไม่เคยมีอยู่จริง

    *สภาวะนี้ว่างอย่างยิ่ง เป็มหาสุญญตา คือตัวมันเองก็ว่าง และยังว่างจากรูปนามและบัญญัติอีกด้วย จึงไมมสิ่งปรุแต่งใด ๆ ที่จะปนเปื้อนเข้ามาถึงได้

    *สภาวะนี้เมเปี่ยมบริบูรณ์ด้วยวมสันติ ว่าง สว่าง และบริสุทธิ์อยู่เป็นนิจ

    *สภาวะนี้คือสิ่งท่ควรทำให้แจ้ง (สัจฉิกิริยากิจ) เมื่อแจ้งแล้วจะพบว่านี้เป็นที่สิ้ทุกข์ เพราะพ้นจากความเสียดแทงของขันธ์จริง ๆ เหมือนคำโบราณว่า ต้นมะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน นอกทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไมต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง นอกทะเลขี้ผึ้ง ถึงแต่ผู้พ้นกรรม

    *สภาวะนี้เองคือธรรม คือที่พึ่งอันเกษม ที่แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงมีธรรมนี้เป็นสรณะ ผู้ใดเห็นธรรมนี้ก็จะร้ทันทีว่า ไม่มีที่พึ่งอื่นใดยิ่งกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว เพราะมีแต่ธรมนี้เท่านั้น ที่พ้นจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง

    จิตที่ได้ประจักษ์รู้สภาวะธรรมนี้จะรู้สึกเต็มอิ่ม และรู้ว่าที่สุดแห่งทุกข์อยู่ที่ตรงนี้เอง คืออยู่ตรงที่สิ้นตัณหา (วิราคะ) สิ้นความปรุงแต่ง (วิสังขาร) และหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส เพราะไม่ถือมั่นในขันธ์ (วิมุตติ) กิจเพื่อการแสวงหาที่สุดแห่งทุกข์ที่ยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว สภาวะนี้ปรากฎอยู่ต่อหน้าต่อตาแท้ ๆ ไม่เคยหายไปไหน แต่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเห็น หรือเคยเห็นก็ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ จึงต้องเที่ยวแสวงหาทางพ้นทุกข์อย่างไมมีที่สิ้นสุด ต่อเมื่อปล่อยวางความยึดถือจิตได้แล้ว จึงหมดการแสวงหา และเข้าใจถึงสภาวะนี้ได้ แต่ก็ไม่มีการหยิบฉวยสภาวะนี้ไว้ เหมือนคนที่เที่ยวแสวงหาเหมืองเพชร แม้เคยเดินผานแต่ไม่รู้ ต่อมาจึงรู้ว่าที่นี่คือเหมืองเพชร แต่เมื่อพบเข้าจริง ๆ กลับยืนดูอยู่เฉย ๆ อย่างมีความอิ่มเต็ม ไม่คิดจะครอบครองเหมืองเพชรไว้ เพราะไม่มีตัวเราที่ไหนจะให้ไปเป็นเจ้าของเหมืองเพชรนั้น

    ผู้เข้าถึงธรรมนี้แล้ว จะเข้าใจเส้นทางธรรมได้ตลอดสาย และอาจอุทานด้วยความร่าเริงว่า

    เมื่อจิตหลุดออกจากโลกของความคิด
    จิตก็รู้รูปนามอันว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน
    เมื่อจิตรู้รูปนามโดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงในการรู้
    จิตก็เห็นเงาของธรรมอันสงบสันติที่แทรกซ้อนอยู่อย่างเร้นลับ
    อันเป็นความสงบท่ามกลางความเคลื่อนไหว อันเป็นความร่มเย็นในทามกลางความเร่าร้อน
    และเมื่อกำลังของปัญญาแก่กล้าพอ จิตจะปล่อยวางรูปนาม
    แล้วเข้าถึงธรรมอันสงบสันตินั้นเองโดยอัตโนมัติ
    เมื่อจะเข้าถึงธรรมอันสงบสันติ จิตก็เข้าถึงของเขาเอง
    เมื่อจะทรงอยู่กับธรรมอันสงบสันติ จิตก็ทรงอยู่ของเขาเอง
    ไม่ต้องพยายามหรือบังคับจิตให้เข้าถึง และทรงอยู่กับธรรมนี้
    หากยังบังคับ หรือเพียงจงใจหมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้กระทั่งจิต
    จิตจะเกิดภพคือการทำงานทางใจ และห่างไกลจากธรรมนี้ออกไปอีก
    ต่อเมื่อรู้แจ้งในความจริงของรูปนาม จนปล่อยวางรูปนามได้นั่นแหละ
    ไม่ต้องทำอะไรเลย ก็เข้าถึงธรรมนี้ได้แล้ว
    เมื่อเข้าถึงธรรมอันสงบสันตินี้แล้ว หากมีกิจที่จะต้องสัมพันธ์กับโลก จิตก็รู้บัญญัติและรูปนาม
    จิตอนุโลมตามโลก หรือคล้อยตามสมมติบัญญัติของโลก
    เช่นโลกเขาเรียกผู้หญิงก็ผู้หญิงกับเขา และปฏิบัติต่อผู้หญิงและผู้ชายไปตามสมมติ
    หรือตามมารยาทของโลก ด้วความรู้เท่าทันว่า ผู้หิงไม่มี ผู้ชายไม่มี มีแต่รูปกับนาม

    ในการดำรงชีวิตอย่นั้น เมื่อหิวก็กิน เมื่อง่วงก็นอน เมื่อปวดอึก็ขับถ่าย เมื่อขบขันก็ยิ้ม
    เมื่อมีเรื่องควรสลดสังเวชก็มีธรรมสังเวช ไม่เสแสร้งสงบสำรวม
    แต่มีอาการทางกายและวาจาไปตามวาสนาที่เคยชิน
    ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นเพียงกิริยาอาการในความว่างเปล่า ไม่กระเทือนเข้าถึงธรรมอันสงบสันติ
    เมื่อหมดกิจที่จะต้องสัมผัส/สัมพันธ์กับโลก จิตก็อยู่กับธรรมอันสงบสันติ ซ่งเป็นอมตธาตุ
    และเมื่อคราวจะตาย จิตก็ทิ้งวามรับรู้รูปนาม หดตัวเข้ามารู้เฉพาะความสงบสันติ
    แล้วรูปนามก็ดับไป
    ธรรมเหล่านี้ ผู้เขียนเคยได้รับฟังมาจากครูบาอาจารย์พระป่าหลายรูป เห็นว่าแปลกดี จึงจำมาเล่าสู่กันฟังในหมู่เพื่อนนักปฏิบัติ
    ท่านที่กลาวถึงนี้ก็เช่น หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ และอีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์
    โดยเฉพาะหลวงปู่สุวัจน์ ทานเล่าประสบการณ์ของท่านให้ฟังว่า “ธรรมนี้เป็นของง่าย เมื่อเข้าใจแล้ว่านถึงกับด่าตนเองว่าโง่แท้ ของเหล่านี้เห็นก็ฌห็นอยู่แต่ไม่เข้าใจ แต่เมื่อเข้าใจแล้ว ท่านบอกว่าจิตใจของท่านมีสุขมาก ไม่นึกไม่ฝันเลยว่า บวชมาแล้วจะมีความสุขได้มากมายถึงขนาดนี้
    เวลานี้ ท่านเหล่านี้มรณภาพไปแล้ว หากท่านหมดกิเลส ท่านก็คงสบายไปแล้ว ยังเหลือก็แต่พวกเรา จะต้องพากเพียรเจริญสติรู้รูปนาม เพื่อเอาตัวรอดกันต่อไป.
    พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช
    6 กรกฎาคม 2548
    <DIR><DIR>เป็นไงครับ อ่านแล้วอยากไปเมืองนิพพานกันมั้ย ถ้ายังไม่เข้าใจก็อ่านกันหลาย ๆ รอบ หลายรอบยังไม่เข้าใจ ก็ต้องเริ่มหัดอ่านจิตอ่านใจตัวเองทุกวี่วัน จึงจะเข้าใจว่าท่านพูดเรื่องอะไร
    </DIR></DIR>
     
  3. koro

    koro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +181
    ยังอยากไปคับ
     
  4. putipongb

    putipongb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    594
    ค่าพลัง:
    +3,843
    เท่าที่ทราบมาท่านสำเร็จเป็นพระสกิทาคามีตั้งแต่สมัยหลวงปู่ดูลย์ยังทรงขันฑ์อยู่ครับ(หลวงปู่ท่านรับรองคุณธรรมแล้ว)
     
  5. jainwit

    jainwit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    5,004
    ค่าพลัง:
    +8,699
    สำหรับการบรรลุอรหันต์นั้น มีแบบการปฏิบัติถึง ๔ แบบ คือ ๑. สุกขวิปัสสโก ๒. เตวิชโช ๓.ฉฬภิญโญ ๔. ปฏิสัมภิทัปปัตโต ทั้ง4แบบนี้ ผู้ที่สำเร็จแล้ว ย่อมมีกำลังใจเสมอกัน แยกปฏิบัติตามจริตของผู้ปฏิบัติเอง หลวงปู่ หลวงพ่อ หลายองค์ที่ปฏิติดีปฏิบัติชอบพวกท่านต่างก็ไม่เคลือบแคลงหรือสงสัยซึ่งกันและกันเลยเมื่อกิเลสหมดก็จบ แล้วท่านล่ะ
     
  6. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    โมทนาครับ

    นิิพพานของพระพุทธเจ้าที่แท้ สัมผัสได้ด้วยใจ
    สัมผัสไม่ได้ด้วยกาย แม้กายทิพย์
    เห็นไม่ได้ด้วยตา แม้ตาทิพย์
    ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการเข้า ไม่มีการออก ไม่มีอะไร
    ไม่มีรูป ไม่มีนาม ไม่มีบัญญัติ ไม่มีการยึดถือ
    มีแต่ความปล่อยวางอย่างยิ่ง และความดับแห่งตัณหา อุปาทาน ที่ใจเมื่อสัมผัสพระนิพพาน

    มิใช่เป็นเพราะว่า นิพพานสวยอย่างยิ่ง น่าอยู่อย่างยิ่ง วิจิตรปราณีตอย่างยิ่ง แล้วจึงกล่าวว่า นิิิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นบรมสุข

    มิใช่เป็นเพราะว่า นิพพานน่าใคร่ น่าปราถนา น่าสัมผัส อย่างยิ่ง แล้วจึงกล่าวว่า นิิิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นบรมสุข

    แต่เป็นเพราะความปล่อยวางอย่างยิ่ง และความสิ้นไปแห่งตัณหา อุปาทาน ที่ใจเมื่อสัมผัสพระนิพพาน จึงกล่าวได้ว่า นิิิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นบรมสุข เป็นยอดแห่งความสุขทั้งปวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2007
  7. สุริยันจันทรา

    สุริยันจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +4,588
    หัวใจของสติปัฎฐาน 4 ใจมีสติอยู่กับกายผลลัพท์เท่ากับปกติ(ศีล)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha.gif
      buddha.gif
      ขนาดไฟล์:
      22.3 KB
      เปิดดู:
      517
  8. พยัคฆ์ร้าย

    พยัคฆ์ร้าย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,411
    ค่าพลัง:
    +161
    ใครรู้วิธีปฏิบัติให้ได้พระนิพพานอย่างไรก็มาบอก กล่าวกันด้วยเน้อ ครับ
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นิพพาน เป็นภาวะดับกิเลสได้ หายร้อน จิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ ผ่องใส เบิกบาน ไม่ติดข้อง ไม่ถูกกิเลสครอบงำรัดรึง
     

แชร์หน้านี้

Loading...