เสี้ยววินาทีก่อนบรรลุธรรม จะพิจารณาได้อย่างไรว่า "แจ้งแล้วจริง"?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย น้องหน่อยน่ารัก, 2 กันยายน 2007.

  1. กายในกาย

    กายในกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +1,265
    การสนทนาธรรมดีครับ แต่ปัญญาผมไม่ถึงเลย คำศัพท์ทางธรรมเราต้องไปศึกษาตรงไหน แนะนำผมด้วยครับ แค่ ปรมัตถ์ ผมยังแปลไม่ออกเลย
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ศัพท์ ทางธรรม ไม่ต้องไปสนใจ แต่ถ้าอ่านที่เขาพูดกันแล้วไม่เข้าใจก็ค่อยๆ ศึกษา เช่น ไปหาใน พจนานุกรม
    คำว่า ปรมัต นี้ หมายความว่า เมื่อ มีภูมิธรรม พ้นจากวิสัยของโลกๆ ที่คิดกันอยู่ บุคคลผู้นั้น พิจารณาอะไรก็เห็นเป็นอีกแบบหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การเห็นภาพในคอมพิวเตอร์ เราเห็นเป็นภาพ แต่ คนเขียนโปรแกรม ก็จะพิจารณาเป็น สัญญาณไฟฟ้า เป็นตรรกะ 1หรือ 0 การพิจารณาเข้าสู่ความจริงที่มากขึ้นนั้นเรียกว่า ปรมัตถ์
    แต่ถ้าพิจารณาอย่างโลกๆ ก็เรียกว่า สมมติ คือพิจารณาตามโลกๆ ที่เขาคิดกันทั่วๆไป

    ยกตัวอย่างเช่นว่า โลกเขาบอกกันว่า เราเป็นตัวเป็นตน แต่ละคนแตกต่างกันคิดไม่เหมือนกัน แต่ถ้าพิจารณาในเชิงปรมัตธรรมแล้ว เราเห็นว่าเหมือนกัน เพราะว่า เรามีโกรธเหมือนกัน เราจำได้เหมือนกัน เรารักเหมือนกัน เคยพิจารณาไหมว่าทำไมเราถึงมีสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน ก็เพราะว่า มันคือ ธาตุเดียวกัน เรามีธาตุดินเหมือนกัน เรามีธาตุน้ำเหมือนกัน เรามีกลัวเหมือนกัน เรามีการจำ เรามองเห็นเหมือนกัน
    สิ่งนี้ คือความเป็นจริงอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะยังไม่เข้าใจชัดเจน แต่ สิ่งที่ไม่เหมือนกัน คือ เราสมมติ หรือ คิดไปว่ามันไม่เหมือนกัน ตรงสมมตินี้แหละคือ ความแตกต่าง
     
  3. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    อธิบายธรรมะเสียยืดยาว
     
  4. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อ ไม่ให้เชื่องมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดี ก่อนเชื่อ มี ๑๐ ประการคือ
    ๑. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
    ๒. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
    ๓. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
    ๔. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
    ๕. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
    ๖. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
    ๗. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
    ๘. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
    ๙. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
    ๑๐.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
     
  5. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763

    จริงๆ ไม่อยากยุ่งกับกระทู้นี้ เพราะเห็นว่ามีจุดอ่อนค่อนข้างมาก

    แล้วก็เข้าใจเจตนาดีของคุณขันธ์ว่าจะสื่ออะไร
    คือแกก็พอมีความเข้าใจอยู่... แต่การให้ความรู้ประกอบนี่มั่วไป
    เลยไม่รู้ว่า แกเข้าใจปรมัตถ์ขนาดไหน???

    ดิฉันเองก็ไม่ได้แม่นยำอะไรมาก แล้วก็ไม่อยากไปยุ่งกับคุณขันธ์ด้วย เพราะเห็นแกฟังคนอื่นไม่เป็นนัก คนอื่นเข้ามาอธิบายเพราะบางทีมีความรู้ในเรื่องนั้น ก็พลอยไม่อยากจะยุ่ง...



    อ้างอิง.. การเห็นภาพในคอมพิวเตอร์ เราเห็นเป็นภาพ แต่ คนเขียนโปรแกรม ก็จะพิจารณาเป็น สัญญาณไฟฟ้า เป็นตรรกะ 1หรือ 0 การพิจารณาเข้าสู่ความจริงที่มากขึ้นนั้นเรียกว่า ปรมัตถ์

    การเห็นอย่างสมมุติ คือเห็นเป็นบัญญัติ เป็นตัวเป็นตน เป็นสิ่งเรียกที่ให้เข้าใจร่วมกันว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้
    ไม่ใช่ว่าเห็นจริงมากขึ้นแล้วเรียกปรมัตถ์ ความจริงที่มากขึ้นบางอย่างก็ยังอยู่ในบัญญัติ
    เช่น คนเขียนโปรแกรมเห็นเป็นสัญญาณไฟนี่ ไม่รู้ว่าคนเขียนโปรแกรมเห็นว่าเป็นแต่คลื่นพลังงานงานหรือเปล่า แกเห็นไปถึงพลังงานนี่ที่ว่าสักแต่ว่าเป็นธาตุนี่ (ไม่ทราบว่าธาตุไฟไหม?? หรืออะไรบ้าง) ขนาดไปถึงไหน เห็นแต่ความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปไหม คือไม่รู้ว่า คนเขียนโปรแกรมเห็นไปถึงปรมัตถ์ไหม


    อ้างอิง.. โลกเขาบอกกันว่า เราเป็นตัวเป็นตน แต่ละคนแตกต่างกันคิดไม่เหมือนกัน แต่ถ้าพิจารณาในเชิงปรมัตธรรมแล้ว เราเห็นว่าเหมือนกัน เพราะว่า เรามีโกรธเหมือนกัน เราจำได้เหมือนกัน เรารักเหมือนกัน เคยพิจารณาไหมว่าทำไมเราถึงมีสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน ก็เพราะว่า มันคือ ธาตุเดียวกัน เรามีธาตุดินเหมือนกัน เรามีธาตุน้ำเหมือนกัน เรามีกลัวเหมือนกัน เรามีการจำ เรามองเห็นเหมือนกัน

    ถ้าเรื่องโกรธ เรื่องรักนี่ ไม่ใช่ปรมัตถ์ เรียกสังขารขันธ์ เกิดการปรุงแต่งไปตามความคิดความเชื่อของจิตที่ยังมีกิเลส สิ่งเหล่านี่ต่างยังมีอยู่ เพราะยังมีอวิชชา คือมีกิเลสตัณหาอุปาทาน
    เรามีโกรธ - รัก ไม่ใช่เกิดเพราะ เรามีธาตุเหมือนกันคือดินน้ำ ฯลฯ แต่เกิดจากมโนธาตุหรือจิต ที่ต่างยังมีกิเลส
    พิจารณาตามปรมัตถ์ มนุษย์เรานั้น มีธาตุหก มหาภูตรูปสี่ อากาศธาตุ(ช่องว่างไม่ใช่ลมนะ) และวิญญาณธาตุ แยกกันแล้ว จะเรียกว่าเป้นคนนั้นคนนี้ไม่ได้ ล้วนแต่เสื่อมไปตามเหตุปัจจัย..
    ส่วนจิตเดิมกับกิเลส (จิตสังขาร) นี่แยกกัน กิเลสนี่เป็นต้นเหตุของสมมุติมายาทั้งหมด..

    ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2007
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    กังขา ณ ปลาย มาพูดอะไรเนี่ย ไม่รู้เรื่องอะไรก็อย่ามาพูดเลยนะ ฉลาดไปหมดแบบนี้ ตกเหวนะ
    คำพูดที่กล่าวไป คือ เชิงเปรียบเทียบ ในลักษณะที่ว่า มองเห็นความจริงที่มากกว่า การปกปิดภายนอก ของโลก
    เท่านั้นก็จบ กังขา ฉลาดมากเกินไปไง เลยปรุงแต่งไปเองว่าอย่างนั้นอย่างนี้

    ธรรมะนั้นมีมากนะ แต่ให้ดูคนถามด้วยว่าเขามีภูมิรู้แค่ไหน เขาถามมานี่ไม่รู้อะไรเลยว่า ปรมัตถ์ธรรมคืออะไร แล้วถ้าหากว่าจะไปอธิบาย บ้าๆบอ มันก็ต้องใช้สมมติทั้งนั้นแหละ แล้วถ้าอธิบาย ปรมัตธรรมอย่างลึกนี่เขาจะเข้าใจหรือเปล่า คิดด้วยก่อนพูด ไม่ใช่คิดครึ่งหนึ่งแล้วพูด
    อวดดีไม่มีใครเกิน คุณกังขา แต่ถ้ากังขา อยากจะรู้ปรมัตธรรมลึกๆ ก็ถามมา ผมจะตอบให้

    ส่วนเรื่องที่ผมไม่ฟังใคร หรือว่า ผมไม่ฟังคุณ แค้นไม่หายละสิท่า ตามมาถึงนี่แหนะ เรื่องการไม่ฟังใครนี่ ต้องดูนะว่า คนพูดเขาพูดมามีเหตุผลหรือเปล่า ถ้าไม่มีเหตุผล แล้วมันจะไปฟังยังไง ไม่เข้าใจว่า กำลังให้ผมฟังอะไร
    ก่อนจะไปว่าคนอื่นเขานะ ดูตัวเองให้มันดีก่อน กิเลสตัวเองนะ ดูให้มันชัดเสียก่อน ก่อนจะมาดูผม แต่ถ้าดูไม่เป็น จะสอนให้ ฟรี
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    สำหรับคนที่ถามว่า อะไรคือหนึ่ง ผมจะตอบให้ว่าอะไรคือหนึ่ง

    ตอบว่า จะต้องไปสนอะไรกับคำว่าหนึ่ง คุณคิดขึ้นเองของคุณว่าอะไรคือหนึ่ง มันก็มีร้อยแปดพันเก้า เพ้อเจ้อ
     
  8. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    โมทนากับคุณขันธ์ ที่พยายามอธิบายธรรมที่เข้าถึงได้ยาก (โคตรภูญาณ) โดยอาศัยประสพการณ์จริงและพยายามถ่ายทอดผ่านปริยัติธรรม ให้ผู้ที่พยายามเข้าถึง ได้พยายามเข้าใจ
     
  9. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** บรรลุธรรม หนทางของพระพุทธเจ้า ****

    ธรรม...คือ ธรรมชาติ คือ ความจริง คือ สัจจะธรรม คือ หลักสัจจะธรรม
    บรรลุ....ก็คือ เข้าใจจริง

    แล้วท่าน...เข้าใจความหมายที่แก่นสารของคำว่า "สัจจะธรรม" หรือไม่ !!!!
    คนเรา....มักพูดคำว่า "สัจจะธรรม" ..."หลักสัจจะธรรม" กันบ่อยๆ
    มักถูกอ้างกันบ่อยๆ...แต่ไม่มีใครเข้าใจความหมายที่แท้จริง

    หากเราเข้าใจคำว่า..."หลักสัจจะธรรม" อย่างแท้จริงแล้ว
    การกระทำทุกย่างก้าว...เราก็จะไม่ประมาท
    และ ก็ต้องหาเครื่องป้องกันในวันที่กรรมกำลังจะมาถึง

    สุดท้าย...เราทุกคนก็ต้องมาปฏิบัติตนด้วย "สัจจะ"
    เพราะ เราหวังที่จะพ้นทุกข์ รอดพ้นภัย พ้นกรรมกันทั้งสิ้น
    แล้วยิ่งผู้ที่มุ่งหลุดพ้นนิพพาน....ถ้าไม่ขจัดกิเลสนิสัยด้วย "สัจจะ"
    แล้วท่านจะเอาอะไรมาขจัดได้อีก

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2007
  10. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** ไม่ปิดกั้นตนเอง ****

    อย่าไปคิดว่า...ธรรม เป็นเรื่องยาก
    ธรรม เป็นเรื่องธรรมชาติ...คนไม่เรียนหนังสือ อ่านหนังสือไม่ออก ก็เข้าใจได้...บรรลุได้

    การขจัดกิเลส ....ยากกว่า
    แต่...ยังไง ก็ต้องทำ....ค่อยเป็นค่อยไป
    เดินสายกลาง...จากเริ่มต้นตั้งหลักน้อยๆ ก่อน
    เมื่อพอไหว ก็ค่อยก้าวเร็วขึ้น

    กิเลส...ในสมัยพุทธกาล พระท่านขจัดด้วย
     
  11. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763

    การถกธรรมของคุณขันธ์หนะ เป็นได้แค่นี้ละ
    คือว่าเขาได้เท่านั้น

    บางที ไปอ้างคำพูดพระแล้วมาใส่คำด่าตัวเองต่อท้ายอีก ก็มี แย่จริงๆ

    ดิฉันล่ะแปลกใจ ทำไมหลายกระทู้ มีคนอยากถกธรรมกับคุณ โจทย์เยอะดี

    แต่ก็ได้นะ ชักน่าสนุก

    :)

    อ้างอิง.. แต่ให้ดูคนถามด้วยว่าเขามีภูมิรู้แค่ไหน เขาถามมานี่ไม่รู้อะไรเลยว่า ปรมัตถ์ธรรมคืออะไร แล้วถ้าหากว่าจะไปอธิบาย บ้าๆบอ มันก็ต้องใช้สมมติทั้งนั้นแหละ

    การดูคนถาม เขาจะมีภูมิขนาดไหน เราจะตอบง่าย หรือตอบยาก ไม่ได้หมายถึงจะต้องตอบให้ความจริงบิดเบือน ปรมัตถ์ที่ต้องใช้สมมุติหนะ มีเหรอ ??? คุณขันธ์เลยทำให้เป็นในแบบที่ทำอยู่ ใช่ไหม ?? มันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เอามาทำให้เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะดูถูกภูมิคนอื่น ไม่งามเลย เรื่องปัญญานั้น ไม่เกี่ยวกับความฉลาดหรือโง่ เกี่ยวกับเห็นถูกทางไม่ถูกทางต่างหาก โดยเฉพาะ คุณน้องมิวสิก แค่เขายังไม่ได้เรียนรู้เรื่องนี้เท่านั้นเอง และเรายังไม่รู้จักเขาเลย ว่าเขาจะฉลาดกว่าเราด้วยซ้ำไปหรือเปล่า??


    อ้างอิง.. แล้วถ้าอธิบาย ปรมัตธรรมอย่างลึกนี่เขาจะเข้าใจหรือเปล่า คิดด้วยก่อนพูด ไม่ใช่คิดครึ่งหนึ่งแล้วพูด

    อย่างตื้น คุณยังทำไม่ได้ ไม่ต้องอย่างลึกนะ คุณหนะ ไม่ใช่ไม่คิดอะไรเลยแล้วพูด มันไม่งาม


    อ้างอิง .. เรื่องการไม่ฟังใครนี่ ต้องดูนะว่า คนพูดเขาพูดมามีเหตุผลหรือเปล่า ถ้าไม่มีเหตุผล แล้วมันจะไปฟังยังไง ไม่เข้าใจว่า กำลังให้ผมฟังอะไร
    การที่คุณไม่ฟังใครหนะ คุณแน่ใจเหรอเขาไม่มีเหตุผล ? คุณเคยหาเหตุผลที่แท้จริงไหมว่าทำไมคุณไม่ฟังใคร คุณคิดว่าคุณสูงกว่าคนอื่น คุณเข้าถึงธรรม คุณไปทางตรง ... เหอๆๆๆ แต่ขอเตือนนะ อาจไม่ใช่อย่างที่คุณคิด


    อ้างอิง.. ก่อนจะไปว่าคนอื่นเขานะ ดูตัวเองให้มันดีก่อน กิเลสตัวเองนะ ดูให้มันชัดเสียก่อน ก่อนจะมาดูผม แต่ถ้าดูไม่เป็น จะสอนให้ ฟรี

    ปกติดิฉันไม่ว่าใครด้วยอารมณ์ แต่ออกมายุ่งด้วยเกรงจะมีผลเสียต่อส่วนรวม อยากออกมายุ่งกับใครที่ไหน ดิฉันชอบมาคุยสนุกๆ มากกว่า ไม่เที่ยวด่าใครต่อใครเหมือนคุณ .. คำว่านี้ ถ้าไม่รับ คงไม่เสียหายนะ

    ที่สำคัญ เห็นมีแต่คุณนั่นแหละ ว่าคนอื่น
    เขาพูดอะไร คุณก็เข้าต่อว่าเขาได้หมด จนใครต่อใคร และคนนอก ก็อยากจะลองคุณสักที ว่าเจ๋งไหม ที่ไปเที่ยวว่าใครต่อใครแบบนี้

    (})

    ใครเอา ปรมัตถสภาวะสูตรมาแปะ จะขอบคุณมากเลย ดิฉันขี้เกียจอยู่

    :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2007
  12. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763

    อ้างอิง ..
    การบรรลุธรรม คือ เห็นสภาวะดับทั้งหมด ด้วยปัจจุบันธรรมนี้ ดับทั้งหมด การคิดปรุงแต่งไปไม่มี ขาดช่วง ก็จะพบว่า ไม่มีอะไรเห็นผ่านมาผ่านไป ขาดจากสภาวะทั้งปวง จุดแรก จุดนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ เป็นเพียงแวบเดียวแล้วบันดาล กลับมามีตัวตนอีก จิตจะรู้ชัดทันทีและระลึกได้ว่า พระพุทธองค์พูดถึงอะไรในพระนิพพาน แต่เนื่องจากบางท่านจิตที่บันดาลกลับมา ยังมีสังโยชน์ร้อยรัดอยู่ รู้แป๊บนึง ก็อาจจะสงสัยต่อ หรือ ยังไม่เข้าใจในการละสักกายทิฎฐิ ก็ยังก้ำกึ่ง ระหว่างปุถุชนและพระริยะ แต่ใจก็ยังจำได้ถึงสภาวะดับทุกอย่างนั้น มีอยู่แต่เหมือนไม่มี ในระหว่างนี้ หากจิตไม่พิจารณาต่อเนื่อง จิตจะกลับเข้าสู่อำนาจของอวิชชา


    ก็ หากถอน และต้องพิจารณาอีกว่าเมื่อใดก็ตามที่จิตติดไม่ว่า สุข ทุกข์ ไม่ใช่เป็นทางถอน อริยมรรคญาณจะเกิดขึ้น รู้ได้ว่า ทางที่ถอนต่างหาก คือ ถูกต้อง เรียกว่า จิตไม่ไปติด คือไม่มีวิตกในองค์ธรรมทั้งหลาย ก็จะสามารถถอนสักกายทิฏฐิได้ เรียกว่า อริมรรคญาณ เป็นโสดาปัตติมรรคญาณ การถอนนี้คือ รู้ว่าสิ่งนั้นสิ่งนั้น เราไปจับยึดไว้ เช่นเวทนา นี้ หากเราไม่จับไว้มันจะดับเอง เป็นตามไตรลักษณ์ พอวางลงได้ก็เท่ากับถอนได้ การวางลงได้ก็ต้องเท่าทันกับมันและรู้ชัดกับมัน ว่า เมื่อไรมันเกิด มันดับ ก็เรียกว่า รู้สมุทัย


    ตกลงข้อความด้านบน นี่ไม่บรรลุใช่ไหม
    ต้องข้อความล่างใช่ไหม ถึงบรรลุ

    ต้องมาบรรลุ เพราะถอนเอาใช่ไหม คือตามถอน จิตไม่ให้ไปติดอะไรใช่ไหม จึงจะว่า อริยมรรคญาณ
    (ถ้าจะเขียนให้หมายถึง ผลญาณ ก็ควรให้ชัดเจน ดีที่มีคำว่า ญาณ (การหยั่งรู้) อยู่ เพราะถ้าไม่ได้ ผลญาณ การตามถอนนี่เรียกมรรคอยู่ เดี๋ยวจะยิ่งคุยกันงง..)

    แบบนั้น แล้วเข้าไปเห็นสภาวะดับทำไม ..
    เห็นแล้ว ออกมา ยังต้องมาตามถอนหนะ

    แล้วเข้าไปทำไม ไม่ทราบ

    ยิ่งพวกไม่ได้เข้าไปเห็นจริง เป็นเพียงโลกียฌานนี่ ยิ่งไม่ต้องพูด

    :)

    แต่ถ้าคุณจะดิ้นไปบอกว่า คุณไม่ได้พูดถึงผลญาณสักหน่อย
    มันก็จะขัดกับข้อความของคุณที่ว่า ... อริยมรรคญาณจะเกิดขึ้น รู้ได้ว่า ทางที่ถอนต่างหาก คือ ถูกต้อง เรียกว่า จิตไม่ไปติด คือไม่มีวิตกในองค์ธรรมทั้งหลาย ก็จะสามารถถอนสักกายทิฏฐิได้

    เพราะชี้ว่า ถอนสักกายทิฎฐิ จึงสื่อว่า คุณกำลังพูดถึงผลญาณ แต่คุณใช้คำว่ามรรคญาณ

    และผลญาณที่คุณกำลังชี้ นั้น ตามถอนไม่ได้
    แบบนั้นปุถุชนตามถอนกันได้สิ มันต้องสังโยชน์ขาดไป
    อย่างดี ก็ทำได้ในขั้นโสดาปัตติมรรค จนต้องเข้าไปเห็นจริงเองนั่นแหละ จึงจะข้ามโคตรปุถุชน
    จิตเดิมที่โสดาบันเห็นนั่น ยังไม่ขาดสังโยชน์ 10 นะ แค่ 3

    ส่วนโลกียฌานนี่ จิตที่เห็นนั้น กิเลสไม่ขาด แค่ถูกข่มไว้

    โสดาปัตติมรรคญาณ นี่จะหมายถึง โสดาปัตติผล ใช่ไหม
    ก็ควรเขียนว่า โสดาปัตติผล นะ
    เพราะโสดาปัตติมรรค น่ะ เทียบเท่า กัลยาณปุถุชน เท่านั้น

    คือยังไม่ใช่ บุคคล 7 จำพวก ที่ควรต่อการทำทักขิไนย (เขียนถูกเปล่าไม่ทราบ)


    ที่ตามถอนหนะ เรียกว่ามรรค ไม่ใช่ผล
    ผลญาณหนะ เกิดขึ้นทันที

    แต่การตามถอนของอริยะขั้นต้น ไปสู่อริยะขั้นสูงกว่าแบบนั้นหนะ มีผลในเบื้องต้นแล้ว คือ เป็นโสดาบันแล้ว ถ้าไม่หลงตน ก็เข้าสู่ สกทาคามีมรรค แบบนั้น คือเข้าสู่มรรค ละกิเลสสามให้เบาบางต่อ คือเพียรมากขึ้น มีสติมากขึ้น จะไปตัดได้ไม่ได้จริง ก็ต้องว่ากันที่ผลในเบื้องสูงต่อ

    ถึงบอกว่า อย่ายึดติด ธรรมจะไม่ก้าวหน้าเปล่าๆ

    ขนาดอริยะขั้นพระโสดา กับพระสกทา น่ะ ก็ยังห่างไกลกันมาก
    ถึงต้องสำรวมอยู่ ยิ่งกับพระโพธิสัตต์บารมีมาก ยิ่งต้องสำรวมกับท่าน

    แล้วพระอริยะขั้นสูงหนะ (อนาคาขึ้น) ขอบอก ต้องใช้สมาธิระดับฌานตั้งแต่ปฐมขึ้นไป เป็นฐานเท่านั้น


    ก็อ่านกันไปเล่นๆ นะ อย่าไปยึดติดมาก
    คุณขันธ์ ถ้าคุณจะเสวนา ก็อย่าไปคิดว่าใครจะมาทะเลาะกับคุณ เขาก็มาเสวนาธรรม ไม่ใช่ให้คุณมาด่าเล่น 555

    (})
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2007
  13. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    ถ้าพูดว่า
    พระอรหันต์ มีแบบที่ยังมีเวทนาอยู่ คือ มีเวทนาเมื่อถูกระทบ แบบนั้นมีนะ แต่ไม่ใช่ตามถอนนะ คือมีเวทนา มีคิด แต่ไม่ติด อย่างนั้น..

    มันสลัดคืน ทันทีหนะ

    มีหลายอย่างนะ แต่จำไม่ได้แล้ว

    ไปหาอ่านเอาในพุทธธรรมซิ



    (})
     
  14. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    การบรรลุธรรมมีหนทางเอกสายเดียวอันประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 ประการ ขณะที่บรรลุธรรมองค์ทั้ง 8 จะสมบูรณ์พร้อม ไม่ใช่บรรลุด้วยสัมมาทิฎฐิหรือปัญญาเพียงอย่างเดียว ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ถึงภาวะศีล สมาธิ และปัญญา ว่าเกื้อหนุนกันและกัน
    ในสมัยพุทธกาลที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎกว่าฟังธรรมอย่างเดียวก็บรรลุธรรม แต่จริงๆแล้วผู้ฟังมีใจเป็นสมาธิระดับหนึ่ง เพราะยุคนั้นการฝึกสมาธิเป็นเรื่องปกติเหมือนเราเรียนหนังสือ ก ไก่ ข ไข่ ซึ่งถ้าผ่านไปอีกสักพันปี การเรียน ก ไก่ ข ไข่ อาจต้องไปเรียนระดับปริญญาเอกเหมือนที่เราเรียนภาษาพ่อขุนรามในปัจจุบัน ดังนั้นในพระไตรปิฎกจึงพูดเรื่องสมาธิน้อย เพราะเป็นเรื่องทั่วไปในสังคมที่แทบไม่มีใครนำเรื่องนี้มาถามพระพุทธองค์ บรรดาวิธีฝึกสมาธิทั้งหมดที่เรียนกันในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคซึ่งเขียนขึ้นในยุคหลังที่การฝึกสมาธิเป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำกันทั่วไปในสังคม การอ่านพระไตรปิฎกแบบผิวเผินอาจไม่เข้าใจว่าแค่ฟังพระพุทธเจ้าตรัสก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วเข้าใจว่าสมาธิไม่สำคัญ ใช้ปัญญาตรึกนึกเอา ซึ่งเป็นการอ่านที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ได้พิจารณาบุคคลที่ฟังธรรมว่ามีพื้นฐานอย่างไร
     
  15. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    เฮ้ออออ... หนักใจกับคุณขันธ์ จังเลยนะ ไม่รู้ธรรม อันลึกซึ้งจริงๆ ไม่ได้บรรลุธรรมจริงๆ ก็ปล่อยไก่ซะแล้ว
    แม้กระทั่งว่า
     
  16. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    สนุกดี ที่มีการถก พินิจ พิจารณา เสวนา ธรรม กัน
    นั่นคือ หนทาง แห่งการ รู้แจ้ง
    หรือทั้งหมดนี้คือ
    นักรบ แห่งการ รู้แจ้ง
    (good) (good) (good) (good) :) :) :)
    อย่าท้อถอย คอยสร้าง สิ่งที่ควร
    อย่าเรรวน พะว้าพะวัง คิด..กังขา ณ ปลาย
     
  17. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    ที่ยอมเหนื่อยมาตอบนี่ เพื่อให้คนอ่าน ได้พิจารณากว้างขึ้น
    แต่เหนื่อยแล้ว ก็อาจเอาความซวยไปกอดแทน เหอๆ ประจำอยู่แล้ว..


    ความจริง คนเข้าถึงกระแสนิพพานนี่
    ไม่จำเป็นต้องรู้ ต้องพูดปริยัติ เลยก็ได้

    แต่สิ่งที่จะฟ้อง นั่นคือ พฤติกรรม


    ดิฉันเคยเจอหลวงตาท่านนึง บวชตอนแก่ เอาจริงเอาจังมาก
    ท่านเข้าถึงกระแส อธิบายอะไรไม่ได้ ก็จริง
    แต่ที่ท่านพูด ท่านทำ นี่บอก การกระทำจะบอก

    ..

    อย่างน้อย ถ้าถึงกระแสจริง ต่อให้เป็นคนแรงแค่ไหน ชอบสั่งสอนชาวบ้านแค่ไหน
    แต่การรับฟัง นี่ต้องมี

    :)
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เข้ามาอ่านแล้ว บอกตามตรง เหตุผลของกิเลสทั้งน้าน ไม่รู้จะเถียงอะไรออกไป เพราะว่าไปเถียงกับกิเลส เอาแบบนี้เอาง่ายๆนะ
    ที่คุณ กังขา บอกว่า ธรรมบิดเบือน เลยเสนออวดตัวเป็นผู้ ทรงคุณธรรม มาพยายามแก้ให้ แต่ขอโทษ ที่พูดออกมาแต่ละคำมันไม่ได้แก้ต่างให้พระธรรมเลย มันแก้ต่างให้ตัวเอง มาถึงอัดอั้นตันใจ มาประกาศปาวๆ ว่าคนนั้นคนนี้อยากถกธรรมกับผม หาว่าผมโจทย์เยอะบ้างอะไรบ้าง จะบอกให้ว่าโจทย์ผมมีอยู่อย่างเดียวคือ กิเลส สำหรับพวกคุณนะ อยู่ห่างจากสายตาผม
    อย่างมากก็ทำได้แค่ยิบๆแยบๆ มันไม่เข้าถึงใจหรอก เรียกว่า กิเลสของแต่ละคนที่แสดงออกมามันพวกกิเลสปลายแถว


    ส่วน ปราบไตรจักษ์ เด็กเอ๋ย เด็กน้อย คิดจะเอาปรมัตธรรม จิตหนึ่งมาถามผม ผมก็ตอบในเชิงปรมัตไปยังไม่รู้เรื่องอีก แล้วจะมาบอกว่าผมปล่อยไก่ ก็คนอ่านที่เขามีภูมิธรรมเขาก็หัวเราะเด็กน้อยไตรจักรเอานะสิ แบบนี้

    สำหรับคนที่คิดจะถกธรรมกับผม ผมยินดีทุกเมื่อ แต่ขออย่างเดียวอย่าเป็นไปเพื่อกิเลส อ่านแล้วพิจารณาตามไปด้วย
     
  19. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    ดีแล้วครับที่ผมยังตัวน้อยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2007
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เอาหละ จะอธิบายแต่ละข้อให้ฟัง แต่ก่อนอื่น เรื่องของคนที่ได้แล้วอวดหรือไม่อวด ก็เรื่องของเขา ยกตัวอย่างเช่น พระปิณโฑลที่เหาะไปเอาบาตร ท่านก็อวด และเมื่อ พระพุทธองค์ ตรัสรู้ท่านก็อวด แต่ผมไม่ได้อวด เพราะพูดไปตามตรง และไม่ได้อะไร เพราะมันเป็นแต่ชื่อสมมติในนี้ ใช่ว่าคุณจะเห็นตัวตนจริงผม

    การโกรธ หรือ มานะ เป็นสังโยชน์ ขั้นสูง ถ้าละได้ก็มีแต่ พระอนาคมมีและ อรหันต์ เพราะมันละเอียด

    ข้อแรก กิเลสตัณหาละได้ด้วยอาการใด ผมต้องขอให้ คุณ ถามใหม่ว่า สังโยชน์ละด้วยองค์ปัญญาอย่างไร
    ส่วนกิเลสตัณหา นั้น เมื่อมีสังโยชน์ย่อมเป็นแดนแห่งอวิชชา เมื่อมีอวิชชาไม่เท่าทันในตัณหาที่ละเอียดขึ้น เนื่องจากสังโยชน์ที่ดองอยู่ แบบนี้ เพราะฉะนั้น ละตัณหาไม่ได้ เพราะว่า สังโยชน์ตัวละเอียดยังดองอยู่ ต้องละที่สังโยชน์ จึงจะทันในตัณหา การเห็นวิภวตัณหา หรือ ภวตัณหา นั้นเกิดจาก การที่เราไปสัมผัสอะไรสักอย่างหนึ่ง หากว่าเราทันต่อเวทนา เราก็ดับมันได้ แต่เราไม่อาจจะละมันได้ เพราะแดนเกิดของมันยังมี

    ข้อที่สอง เรื่องที่ว่า ทำไม พระโสดาบัน มีปัญญาเท่าแสงหิ่งห้อย ก็เพราะว่า การละสังโยชน์นั้นเป็นไปเพียงแค่ 3 ตัว ซึ่งสามตัวนี้ ไม่ได้กำจัดกิเลสเลย แต่เป็นการ มองเห็นไม่หลง ไม่แก้ปัญหาผิดทาง ด้วยความกำกวม ใน วิถีทางนั่นเอง ความกำกวมในวิถีทางก็คือ ไม่รู้จักสภาวะธรรมอันแท้จริง คือ ทุกอย่างเป็นองค์รวมประกอบกันขึ้น หาใช่ตัวตนไม่ 2 ถึงแม้ว่าเห็น สักกายทิฎฐิ แต่หากไม่ดำเนินวิปัสสนาอันแจ่มแจ้ง กิเลสที่ดองอยู่ย่อมส่งผลให้เราไม่ถ่องแท้ ซึ่งยังมีวิจิกิจฉาหรือสงสัยอยู่ ตรงนี้ ขอแนะว่า หากว่า ไม่เห็นเวทนาตัวละเอียดแล้ว ไม่สามารถถอนได้ คือ ยึดในเวทนาว่า เรามีเวทนา แต่หากเห็นชัดแล้ว ถอนได้ทันทีหมดวิจิกิจฉา 3 สีลพตรปรามาส ตัวนี้ขออุปเอาไว้ก่อน หากใครสงสัยมาถามได้

    เมื่อเห็นชัดคือ ไม่ยึด ไม่ติด ก็หลุดออกจากสังโยชน์

    ถ้าสงสัยและอยากเรียน ติดข้อสงสัยตรงไหน จะตอบให้ แต่ขอให้ตั้งคำถามให้ดีก่อน พิจารณาด้วยความสงสัยจริงๆ
    อย่าเอาปริยัตมา เพราะว่าคนเรียนปริยัติมันเรื่องของตัวหนังสือ เห็นจริงมันอีกเรื่องหนึ่ง ปฏิจสมุบบาท ถ้าไม่เห็นจริงอย่าเทียบเคียงกับตำรา เพราะว่า ผู้ที่บัญญัติท่าน ตามทันทุกขณะจิต เป็นปฏิสัมภิทาเท่านั้น และปฏิจสมุบาทนี้โยงใยลึกซึ้ง ไม่ใช่เป็นสายเดียว การมองเหตุอันนี้ก็ให้ ดูรูปนามให้เป็นก่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...