สงครามครูเสด ในหนัง Kingdom of Heaven กับ ประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 5 พฤษภาคม 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    [​IMG]

    สงครามศาสนาที่ร้อนระอุในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ดูเหมือนจะห่างไกลจาก เบเลี่ยน (ออแลนโด้ บลูม) ช่างตีเหล็กที่สูญเสียครอบครัวและเกือบสิ้นศรัทธา แต่แล้ว เขากลับถูกดึงเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่นั้นด้วย ท่ามกลางความเอิกเกริก และเสน่ห์ของเยรูซาเล็มยุคกลาง เขาตกหลุมรัก เติบใหญ่สู่ความเป็นผู้นำ และท้ายที่สุดได้ใช้ความกล้าหาญและทักษะทั้งมวล เพื่อปกป้องเมืองจากคู่ต่อสู้ ที่มีจำนวนมากกว่าอย่างไม่อาจเทียบได้

    ชะตาลิขิตตามหาเบเลี่ยนพบในการมาถึงของอัศวินผู้ยิ่งใหญ่ ก็อดฟรีย์แห่งอิบีลิน (เลียม นีสัน) ทหารครูเสดที่กลับมาบ้านในฝรั่งเศสเป็นช่วงเวลาสั้นๆ หลังการรบทางตะวันออก หลังจากเปิดเผยว่าตนเป็นบิดาของเบเลี่ยน ก็อดฟรีย์ก็ได้แสดงถึงความหมายที่แท้จริงของการเป็นอัศวิน และพาเขาเดินทางข้ามทวีปไปสู่นครศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มีตัวตน

    ในเยรูซาเล็มตอนนั้น
     
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    copy มาจากเวปไทยอิสลามครับ

    สงครามครูเสด
    คำว่า " ครูเสด " นำคำมาจากภาษาอังกฤษ คือ " Crusade " สำหรับความหมายของคำว่า ครูเสด มีดังนี้ " Crusade " Any of the military expeditions undertaken by the Christians of Europe in the 11 th , 12 th , and 13 th centuries for the recovery of the Holy Land from the Moslems.

    " ครูเสด " หมายถึง กองทหารที่ไปปฏิบัติการนอกประเทศซึ่งเริ่มโดยชาวคริสต์เตียนในทวีปยุโรป ในช่วงศตวรรษที่ 11 , 12 , และ 13 เพื่อกอบกู้แผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมาจากมุสลิม

    นายสอ เศรษฐบุตร ได้ให้ความหมายของคำว่า " Crusade " ในพจนานุกรม New Model English - Thai Dictionary , มีใจความว่า " ครูเสด " การสงครามที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 11 ถึง 13 แห่งคริสต์กาลโดยชาวคริสเตียนในทวีปยุโรปพากันยกทัพไปตีพวกที่นับถือศาสนาอิสลามในตุรกี เพื่อเอาเมืองเยรูซาเล็ม อันเป็นแหล่งของคริสต์ศาสนาคืน แต่ไม่สำเร็จ

    สัญญลักษณ์ของชาวคริสต์เตียนในสงครามครูเสด คือ ไม้กางเขน ( Cross ) ส่วนมุสลิมเรียกสงครามนี้ว่า " สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ " " สงครามการต่อสู้เพื่อเสียสละในหนทางของอัลลอฮ์ "

    สาเหตุของสงครามครูเสด

    กองทัพที่ชาวคริสต์เตียนส่งมาปะทะกับมุสลิมในระหว่าง ค.ศ. 1096 - 1273 นั้น โดยทั่วไปเรียกว่า สงครามครูเสด สาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามครูเสดพอสรุปได้ดังนี้

    สงครามครูเสดเป็นผลของความขัดแย้งกันเป็นเวลาช้านาน ระหว่างคริสต์จักรทางภาคตะวันตกกับอาณาจักรมุสลิมทางภาคตะวันออก ( Western - Eastern ) ต่างฝ่ายต่างก็พยายามที่จะมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากการที่อิสลามแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นทั่วไปในหมู่ชาวคริสเตียนในยุโรป ด้วยเหตุดังกล่าว ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์เตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม
    ความกระตือรือร้นในการแสวงบุญของชาวคริสต์เตียนยังนครเยรูซาเล็มมีมากกว่าที่เคยเป็นมา ในช่วงนั้น เยรูซาเล็มตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิม ผู้แสวงบุญชาวคริสต์เตียนจึงมีความต้องการดินแดนเยรูซาเล็มเป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกในการแสวงบุญมากยิ่งขึ้น
    ช่วงเวลาระหว่างนั้น เป็นระยะเวลาที่ระส่ำระสายอยู่ทั่วไปในยุโรป พวกเจ้าเมืองต่างๆ ต่างก็ต่อสู้ทำสงครามซึ่งกันและกัน พระสันตะปาปา ( POPE ) มีความเห็นว่า ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวคริสต์เตียนในยุโรปต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิมแทนโดยอ้างว่าจะได้รับกุศลผลบุญ และเพื่อเอานครอันศักดิ์สิทธิ์ เยรูซาเล็มกลับคืนมา
    มุสลิมได้กลายเป็นมหาอำนาจทางการค้าแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา การค้าพาณิชย์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนจึงตกอยู่ในความควบคุมของมุสลิมอย่างเต็มที่ ดังนั้นชาวคริสต์เตียนในยุโรปจึงต้องทำสงครามกับมุสลิมเพื่อหยุดยั้งความเจริญก้าวหน้าของมุสลิม
    สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 ( Urban 2 th ) ได้เรียกประชุมชาวคริสต์เตียนที่เมืองเลอมองค์ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 และรบเร้าให้ชาวคริสต์เตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม ความประสงค์ของท่านในเวลานั้นก็คือต้องการจะรวมคริสต์จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่านด้วย ท่านได้สัญญาว่าผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู่จะได้รับการยกเว้นจากบาปที่เคยทำมา และผู้ที่ตายในสงครามก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์ ( Frank ) และนอร์แมน ( Norman ) คนเหล่านี้ได้มาชุมนุมกันที่เมืองเยรูซาเล็ม
    FRANK ชื่อย่อของ Frances , Francis หมายถึง ชนชาติที่อาศัยอยู่ในแถบแม่น้ำไรน์ในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของฝรั่งเศสสมัยนี้ แต่เดิมมาจากเยอรมันนี , ชื่อซึ่งชาวทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนแถบตะวันออก เรียกชาวยุโรปตะวันตก อันเป็นที่มาของคำว่า " ฝรั่ง " ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้

    NORMAN ชนที่อาศัยอยู่ในแคว้น นอ - เมินดี ( Normandy ) ในฝรั่งเศสแต่ก่อน

    ผลของสงครามครูเสด

    สงครามครูเสด มีผลสำคัญในประวัติศาสตร์โลก เพราะสงครามครูเสดนี่เอง ที่ทำให้ยุโรปได้มีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับโลกมุสลิม ดังนั้น จึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกและตะวันตกขึ้น อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างดินแดนทั้งสองนี้ ความรู้ของประชาชนที่มีความเจริญก้าวหน้าในแถบตะวันออก เป็นแรงดันทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญาขึ้นในแถบตะวันตก สงครามครูเสด จึงมีบทบาทสำคัญในการนำมาซึ่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป สงครามครูเสดได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่สงครามครูเสดแบบใหม่ยังไม่จบลง เราพร้อมที่จะสู้แล้วหรือยัง



    อ.ประเสริฐ วันเอเลาะ (โรงเรียนอิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ) <!--MsgEdited=1-->
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    [​IMG]

    สงครามครูเสด .....

    ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีรอยจารึกอันยิ่งใหญ่ที่พยายามลบเท่าไรก็ไม่เลือนหาย แห่งสงครามศาสนาอยู่รอยหนึ่ง มีชื่อชัดเจนว่า สงครามครูเสด หรือ สงครามไม้กางเขน โดยที่สงครามใหญ่ครั้งนี้มีไม้กางเขน อันเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ เป็นตรา คือนักรบจากแผ่นดินยุโรป ทั้ง นาย ไพร่ ที่จะบุกบั่นมารบกับพวกแขกในอาหรับนั้น มีตราไม้กางเขนติดที่หน้าอกเสื้อโดยทั่วไปทุกตัวคน ซึ่งตรานี้มีความสำคัญมากใครหลวมตัวคลั่งไคล้ไปติดตรานั้นเข้าแล้ว จะต้องมาร่วมรบโดยเด็ดขาด เปลี่ยนใจไม่ได้ ถ้าเปลี่ยนใจแล้ว จะต้องถูกขับออกให้เป็นคนนอกศาสนาทันที ซึ่งเท่ากับถูกลงโทษประหารทางศาสนานั่นเอง

    ขอให้เรามาดูเรื่องราวของสงครามใหญ่ ..... ที่มีเครื่องหมายของศาสนาประกาศความเป็นสงครามศาสนาชัดๆ นี้ กันสักนิดนึง โดยอาศัยเอกสารที่เชื่อถือได้ คือประวัติศาสตร์สากลของ พลตรี หลวงวิจิตวาทการ และ ผลงานการศึกษาเรื่องสงครามครูเสดนี้ไว้โดยเฉพาะ ของ รองศาสตราจารย์ สาคร ช่วยประสิทธิ์ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งศึกษาจากเอกสารต่างประเทศหลากหลายเป็นหลักฐานอ้างอิง

    สงครามศาสนาที่ตีตราไม้กางเขนนี้ ..... เพียงดูระยะเวลาที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๖๓๙ ถึง ๑๘๑๓ เท่านั้น ก็ชวนให้เห็นถึงความเหี้ยมเกรียมในจิตใจคน ภายใต้เงาของศาสนาชนิดนั้นอยู่มิใช่น้อย จนแทบจะไม่น่าเชื่อว่าบทบาทนั้น เป็นบทบาทที่ซึ่งเรียกกันว่า ศาสนา ได้ก่อขึ้น เพราะเป็นการสงครามที่มีระยะเวลาข้ามศตวรรษกันเลยทีเดียว รบกันแล้วรบกันเล่าอยู่ได้ตั้งนมนานเกือบ ๒๐๐ ปี ซึ่งความจริงแล้ว ความรู้สึกเช่นนี้ มิใช่จะเกิดมีแก่เราและท่านทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในฐานะคนวงนอกเท่านั้น แม้พวกฝรั่ง ซึ่งเป็นคนวงในของเขา และเป็นนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก เขาก็เคยรู้สึกกันมาแล้ว เช่นที่ รองศาสตราจารย์ สาคร ท่านได้อ้างไว้ คือ นักประวัติศาสตร์ฝรั่งชื่อว่า แอนเน เฟรแมนเติล (Anne Fremantle) ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง ยุคศรัทธา (Age of Faith) หน้า ๕๓ ของเขาดังนี้ .....

    จากสงครามทั้งหมดที่มนุษย์เคยรบ ..... ไม่มีครั้งใดที่ได้กระทำไปด้วยใจจดจ่อยิ่งไปกว่าสงครามที่มีศรัทธาเป็นที่ตั้ง และจากสงครามศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ไม่มีครั้งใดที่จะมีการสูญเสียเลือดเนื้อและมีความยืดเยื้อมากไปกว่าสงครามครูเสดในยุคกลาง ครูเสดซึ่งได้มีอิทธิพลเหนือคนในยุคกลางเป็นเวลา ๒๐๐ ปี จากตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ความศรัทธาอย่างแรงกล้าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดขึ้น และจบสิ้นลงด้วยความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง ประกอบทั้งความยุ่งยากนานัปการ ... แน่นอน นักประวัติศาสตร์ผู้นี้ เขียนเรื่องเกี่ยวกับศรัทธา ย่อมเน้นการมองสงครามหฤโหดในแง่ของศรัทธาเป็นหลัก แต่ศรัทธานั้น ในทัศนะที่ใสสะอาดของพระพุทธศาสนาเรียกว่า มิจฉาศรัทธา คือ ศรัทธาที่ผิด เพราะเป็นศรัทธาที่นำไปสู่การล้างผลาญกันอย่างน่าเอน็จอนาถเป็นที่สุด และที่เขากล่าวว่า จบสิ้นลงด้วยความเข้าใจที่แจ่มแจ้งนั้น จะเป็นความเข้าใจในฐานะของผู้สำนึกผิดหรือไม่ ก็ไม่อาจจะทราบได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ถือได้ว่า ถ้อยคำของเขาไม่กี่ประโยคนั้น ก็เป็นการยอมรับอย่างชัดเจนว่า สงครามที่บรรพบุรุษทางศาสนาของเขาสร้างขึ้นไว้เป็นตราบาปอันใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์นี้ มีความเหี้ยมหฤโหดอย่างเหลือเชื่อจริงๆ
    พิษสงของสงครามศาสนาตราไม้กางเขนที่ว่านี้ ..... ในประวัติศาสตร์สากลของท่าน พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ระบุไว้ว่า การไปรบนี้ ก็โดยความขอร้องของพระสังฆราชกรุงโรมชาวยุโรปได้เสียชีวิตไปในสงครามครูเสดราว ๗ ล้านคน โดยที่ไม่สามารถกำจัดหรือกวาดล้างพวกเตอร์กได้ จำนวนคนตั้ง ๗ ล้านคน ในสมัยที่โลกมนุษย์ยังไม่มีมนุษย์ล้นโลกเช่นทุกวันนี้ ย่อมถือได้ว่า มิใช่จำนวนเล็กน้อยเลย ยิ่งคิดกันให้ละเอียดไปถึงฝ่ายอาหรับด้วยแล้ว คงจะต้องเพิ่มจำนวนการสูญเสียแห่งมนุษยชาติเข้าไปอีกนับล้านเช่นกัน ... สงครามครูเสด ที่สังฆราชกรุงโรมเป็นผู้จุดชนวนขึ้นนั้น คงจะล้างผลาญผู้คนไปนับเป็นสิบกว่าล้านอย่างแน่นอน ... น่าสังเวช น่าสลดใจเพียงไร ก็ขอให้ลองคิดกันดู และเมื่อคิดแล้ว ก็อย่าหลับตาตัดบทเสียว่าเป็นเรื่องของอดีตที่ไม่ควรจะหวนคิด เพราะแท้จริงแล้ว มันเป็นเรื่องของวิญญาณทางศาสนาที่สืบทอดลงมาจนถึงทุกวันนี้ อันมีสัจจะที่บ่งชี้ ดังที่เราจะได้ดูกันต่อไป

    สงครามศาสนาตราไม้กางเขนนี้ ..... มีเรื่องราวโดยสรุป
    ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์สากลของท่าน ดังนี้

    ครั้งที่ ๑ ตั้งแต่เมื่อพุทธศักราช ๑๖๓๕ ถึงพุทธศักราช ๑๖๔๒ เป็นครั้งที่ครึกครื้นที่สุด พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ได้ไปในครั้งนี้ และเป็นครั้งเดียวที่เอาชนะพวกเตอร์ก เปิดทางให้คริสต์ศาสนิกชนไปนมัสการที่ฝังศพพระเยซูได้สะดวก

    ครั้งที่ ๒ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๖๙๐ ถึง พุทธศักราช ๑๖๙๒ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ ของฝรั่งเศส กับ พระเจ้าคอนราดที่ ๓ ของเยอรมัน ได้ไปในครั้งนี้ แต่ย่อยยับกลับมา

    ครั้งที่ ๓ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๗๓๒ ถึง พุทธศักราช ๑๗๓๕ พระเจ้าเฟรเดริกที่ ๑ (เยอรมัน) ฟิลิปป์ออกุสต์ (ฝรั่งเศส) และริชาร์ด ไลออนอาร์ (อังกฤษ) ได้ไปในครั้งนี้ พากันแพ้กลับมา และพระเจ้าเฟรเดริกจมน้ำตาย

    ครั้งที่ ๔ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๗๔๕ ถึง พุทธศักราช ๑๗๔๗ ไม่ได้ผลอะไรเลย และแทนที่กองทัพครูเสดจะไปรบพวกเตอร์ก กลับไปรบพวกคริสเตียนด้วยกันเอง

    ครั้งที่ ๕ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๖๐ ถึง พุทธศักราช ๑๗๖๔ เซนเญอร์ของฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ยองเลอเบรียน กับพระเจ้าแผ่นดินฮังการี ไปรบพวกเตอร์กในประเทศอียิปต์ และไม่ได้ผลทางชัยชนะ

    ครั้งที่ ๖ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๗๑ ถึง ปีพุทธศักราช ๑๗๗๒ พระเจ้าเฟรเดริกที่ ๒ (เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่แทนที่จะไปรบ กลับไปทำไมตรีกับพวกอาหรับ ซึ่งมีผลดีกว่าไปรบ เพราะทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเลมได้อีก

    ครั้งที่ ๗ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๙๑ ถึง พุทธศักราช ๑๗๙๒ และ

    ครั้งที่ ๘ ในปีพุทธศักราช ๑๘๑๓ นั้น สงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเตอร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งในสงครามครูเสดทั้งสองครั้งนี้ จนแซงหลุยส์สิ้นพระชนม์เมื่อพุทธศักราช ๑๘๑๓ และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้

    นอกจาก ..... หนังสือประวัติศาสตร์สากล ยังได้ให้ข้อสังเกตอันชวนให้เห็นถึง ความเหี้ยมโหดและบ้าคลั่งของสงครามศาสนาตราไม้กางเขนนี้ไว้ด้วย ... ยังมีเรื่องแปลกๆ เช่นในสงครามครูเสดครั้งที่ ๓ นั้น พระเจ้าริชาร์ด (อังกฤษ) แทนที่จะรบเตอร์กกลับไปทำไมตรีกับเตอร์ก กองทัพทั้งสองฝ่ายแทนที่จะรบกัน ก็กลับมีการเลี้ยงดูกันอย่างสนุกสนาน หัวหน้าเตอร์ก กับ ริชาร์ดเป็นมิตรกัน ถึงกับมีการส่งของขวัญให้กันเสมอ และริชาร์ดถึงกับดำริจะยกน้องสาวให้แก่หัวหน้าเตอร์ก ความทราบถึงพระสังฆราชก็ส่งคำขาดไปยังพระเจ้าริชาร์ดว่า ถ้าทรงทำเช่นนั้น จะถูกปัพพาชนียกรรม เรื่องจึงระงับไป

    ประเด็นที่ท่านผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์สากลท่านเห็นว่าแปลกตามข้อความนี้ ..... คือถูกใช้ให้ไปรบแต่พระเจ้าริชาร์ดกลับไปทำไมตรีถึงขนาดออกพระโอษฐ์จะยกน้องสาวให้ข้าศึก แต่สำหรับผู้เขียนไม่เห็นแปลกในประเด็นนี้ เพราะวิถีทางที่พระเจ้าริชาร์ดทรงปฏิบัตินั้นเป็นวิถีทางที่ถูกต้อง และเป็นหลักนิยมอันสำคัญที่สุดในการสร้างสันติภาพให้แก่สังคมโลก ที่ใช้กันอยู่ในยุคปัจจุบัน คือการระงับข้อพิพาทด้วยการถ้อยทีถ้อยเจรจาเป็นไมตรีกัน ดีกว่าที่จะฆ่ากันให้วอดวายไป ถ้าพระเจ้าริชาร์ดได้รับการสนับสนุนให้ปฏิบัติการไปตามที่ทรงเห็นชอบเห็นควรนั้นแล้ว มนุษย์ตาดำๆ ก็จะรอดพ้นจากคมหอกคมดาบแห่งการรบราฆ่าฟันกันในสงครามครั้งนั้นมากมาย ทรัพย์สินเงินทองก็จะพ้นจากความวอดวายก่ายกอง และวัตถุประสงค์แห่งการยกกองทัพมา ก็บรรลุดังที่ติดป้ายไว้หน้าแกด้วย คือพวกคริสต์ในยุโรปสามารถจาริกแสวงบุญมายังตะวันออกกลางได้โดยปลอดภัย ฉะนั้นผู้เขียน จึงไม่แปลกประหลาดอะไรในพระราชดำริ และ หนทางปฏิบัติที่พระเจ้าริชาร์ดได้ทรงดำเนินไป

    ประเด็นที่ผู้เขียนรู้สึกว่าแปลกประหลาดที่สุดก็คือ ..... สังฆราชคาทอลิกที่กรุงโรม บังคับขู่เข็ญให้พระเจ้าริชาร์ด ต้องจำเป็นจำพระทัยทำสงครามต่อไป จนในที่สุดไม่ได้อะไรกลับไปนอกจากความอัปยศในฐานะผู้แพ้สงคราม ... เพราะการบังคับขู่เข็ญให้คนต้องฆ่ากันเช่นนั้น เป็นวิสัยของพวกยักษ์พวกมารมากกว่า ที่จะเป็นวิสัยของนักศาสนาที่อวดอ้างตลอดเวลาว่า มากไปด้วยเมตตา ล้นเหลือไปด้วยความปรารถนาในสันติภาพ ... คนขนาดนั้น ยังประพฤติตนแบบ มือถือสาก ปากถือศีล อย่างนั้น เป็นข้อที่น่าแปลกประหลาดยิ่งนักว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่มันก็เป็นไปแล้วในประวัติศาสตร์ อันเป็นประวัติศาสตร์ที่บอกเชื้อบอกแถวของคนพวกนี้ ... ยิ่งกว่านั้น พฤติกรรมอันแสดงความเหี้ยมโหดในจิตใจอย่างไม่น่าเชื่อ ของสังฆราชกรุงโรมนี้ เมื่อนำไปพิจารณาเทียบเคียงกับแนวทางของศาสดาเองแล้ว จะเห็นว่าเป็นการสวนทางกันอย่างชัดเจนที่สุด คือ ศาสดาเยซูนั้น เดินไปในแนวทางรุกเงียบ ไม่ส่งเสริมให้คนอาฆาตพยาบาทรบราฆ่าฟันกัน จนกระทั่งสอนศาสนาคัดค้านลัทธิ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ของยิวจนเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อตนเอง แต่สาวกใหญ่ต่อมาซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทนของศาสดาโดยตำแหน่ง กลับไปเดินในหนทางยิว คือล้างแค้นด้วยสงครามไม่ยอมมองเห็นความดีงามของไมตรีและสันติภาพ อันจะช่วยให้ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อของมนุษย์ตาดำๆ ... มันน่าแปลกประหลาดเพียงไร ก็ขอให้ผู้อ่านโปรดได้ใช้สติและปัญญาไตร่ตรองดู

    อีกข้อหนึ่ง ..... ที่ท่านผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์สากลท่านสังเกตเห็นว่า เป็นเรื่องที่แปลก คือ ในการสงครามครูเสดครั้งที่ ๔ นั้น พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังทำสงครามกันอยู่จึงมิได้ไปรบ พวกเจ้าครองนครทั้งหลายไปกันเอง และตกลงกันว่าจะไปตีพวกเตอร์ก ในประเทศอียิปต์ เพราะถิ่นชุมนุมสำคัญของพวกเตอร์กอยู่ที่นั่น เมื่อรบชนะทางอียิปต์แล้ว อำนาจของเตอร์กทางปาเลสไตน์กับทางซีเรียก็จะสิ้นไปด้วย พวกนี้ได้พากันไปถึงเมืองเวนิส การที่จะไปอียิปต์ก็ต้องมีเรือข้าม พวกครูเสดไม่มีเรือ จึงต้องว่าจ้างเรือของชาวเวนิสข้ามทะเล พวกเวนิสตกลง และ เรียกค่าจ้างคิดเป็นเงินไทยราวสี่แสนบาท ทั้งมีข้อสัญญาพิเศษว่า พวกครูเสดจะต้องยอมให้พวกเวนิสไปรบด้วย ปล้นได้เท่าไรต้องแบ่งกันคนละครึ่ง พวกครูเสดไม่มีเงินให้ พวกเวนิสจึงมีความคิดขึ้นใหม่ว่า เมืองซามา เป็นเมืองศาสนาคริสต์แท้ๆ เป็นคู่แข่งขันกับเวนิสอยู่ ถ้าพวกครูเสดไปตีเมืองซามา มาให้ได้แล้ว พวกเวนิสจะต่อเรือลำเลียงทหารให้ โดยไม่ต้องเรียกร้องราคาเลย พวกครูเสดตกลงทันที เลยไปรบเมืองซามา จนชนะและยกให้แก่เวนิส

    ข้อที่ชวนให้เห็นว่า ..... แปลกตามที่ปรากฏในข้อความตอนนี้ ก็คือกองทัพที่ตีตราศาสนาและประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า จะไปรบกับพวกต่างศาสนา เพื่อรับใช้พระเจ้าของตนแท้ๆ ไปๆ มาๆ กลับไปฆ่าฟันล้างผลาญพวกเดียวกันเองเสียฉิบ มันแสดงถึงความโลเลเหลวไหลอย่างน่าอดสูอย่างยิ่งทีเดียว แต่ก็มิใช่เพียงเท่านี้ ยังมีประเด็นที่น่าคิด ซึ่งคิดแล้วก็ชวนให้รู้สึกแปลกอยู่อักโข คือคราวนี้ พอพวกครูเสดจะเดินทางไปอียิปต์ ก็เผอิญมีเจ้ากรีกองค์หนึ่งทรงพระนามว่า อะเล็กซิส พระบิดาของเจ้าองค์นั้น เป็นเจ้าครองนครกรีกนครหนึ่ง ซึ่งถูกพวกโรมันทางกรุงคอนสแตนติโนเปิลมาถอดจากตำแหน่งเจ้ากรีกองค์นั้น ได้มาหาพวกครูเสดแล้วแจ้งว่า ถ้าพวกครูเสดไปรบเมืองคอนสแตนติโนเปิลให้แล้ว จะให้ค่าจ้างอย่างงาม และจะให้กำลังทหารไปรบอียิปต์ พวกครูเสดก็ยอมตกลง ความทราบถึงพระสังฆราชกรุงโรม ก็ทรงพยายามห้ามมิให้พวกครูเสดทำดังนั้น ถ้าขืนทำจะปัพพาชนียกรรม คือเป็นกิจของสงฆ์ทำในการขับไล่ออกจากหมู่ รวมทั้งชาวเวนิสด้วย แต่พวกนี้ก็ไม่เชื่อฟังกัน ไปตีคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งเป็นเมืองคริสเตียนด้วยกัน ขนเอาทรัพย์สมบัติมาจนขนไม่ไหว เป็นครั้งที่ร่ำรวยที่สุด ถึงกับกล่าวกันว่า ตั้งแต่พวกครูเสดยอมสละชีวิตถวายพระเจ้ามา ไม่เคยมีคราวใดที่พระเจ้าตอบแทนงดงามเท่าครั้งนี้
     
  4. Gaze from Darkness

    Gaze from Darkness สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +20
    ...............




    ความจริงก็คือความจริง ไม่ว่าในภาพยนต์หรือบันทึกหรือบทวิเคราะห์ของผู้ใดก็ตามที่ บิดเบือนไป ก็ไม่อาจบิดเบือนความจริงได้หรอก เพียงแต่ว่ามีผู้รู้ในความจริงนั้นหรือไม่เท่านั้นเอง
     
  5. เจ้าโก้

    เจ้าโก้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,221
    ค่าพลัง:
    +939
    งืม ๆ เคยอ่านหนังสือของพ่อผมอยู่นะ ชื่อตำราอะไรไม่รู้ พิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 มั้งนะ ก็เล่าไว้ละเอียดดี คล้ายๆอย่างนี้ล่ะมังครับ คือสรุปว่า เป็นความหลงของทั้ง 2 ฝ่ายล่ะครับ มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แหม สงครามตั้งเป็นร้อยปี นอกจากจะมีศักดินาเป็นผู้นำทัพแล้ว ยังมีอีกหลายครั้ง ที่ไม่ได้ถูกนับรวม ที่ผู้คนยกทัพไปกันเอง โดยไม่มีศักดินานำไป ก็ไปกันได้เยอะนะครับ เป็นแสนคนเหมือนกัน แต่ว่าไปไม่รอด ป่วยตายเองซะง่ายๆ ก็เยอะ บางคนที่รอดก็ตั้งถิ่นฐานที่นั่นซะเลย
     
  6. karain

    karain เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    639
    ค่าพลัง:
    +707
    ยาวจัดเลยครับ อ่านไม่ไหว
     
  7. Bkkianmar

    Bkkianmar Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +55
    เจ๋ง มันดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...