กรมการศาสนาโต้โผใหญ่ ซีดี-หนังสือพระไตรปิฎก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 15 มิถุนายน 2008.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    กรมการศาสนาโต้โผใหญ่ ซีดี-หนังสือพระไตรปิฎก

    คอลัมน์ สกู๊ปข่าวสด




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "กรมการศาสนา" กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือและจัดทำซีดีหนังสือพระไตรปิฎก ประกอบด้วย 1.หนังสือพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ตอนว่าด้วยพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เรียบเรียงโดย อาจารย์สุชีพ ปัญญานุภาพ โดยมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย

    2.ซีดีหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชา ชน ตอนว่าด้วยพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

    3.หนังสือพระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ The Pali Canon What a Buddhist Must Know เรียบเรียงโดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

    ในการนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ขอมอบหนังสือพระไตรปิฎก ซีดีหนังสือพระไตรปิฎก และหนังสือพระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ ให้คณะรัฐมนตรีไว้ใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหลักธรรมคำสอนทางพระ พุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก และนำหลักธรรมไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นโดยทั่วกัน

    ความสำคัญของพระไตรปิฎก

    พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่คำสั่งสอนของพระพุทธ เจ้า หรือพระธรรมวินัย สถิตอยู่คำว่า ติปิฎก ในภาษาบาลีแปลว่า "ตะกร้า 3 ใบ (ที่บรรจุคำสอน)" หมายถึงหลักคำสอนหมวดใหญ่ 3 หมวด คือ

    1.พระวินัยปิฎก ได้แก่ ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี

    2.พระสุตตันตปิฎก ได้แก่ ประมวลพระสูตรหรือคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยักเยื้องไปต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคลสถานที่เหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ

    3.พระอภิธรรมปิฎก ได้แก่ ประมวลคำสอนที่เป็นเนื้อหาหรือหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เนื่องจากพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์ล่วงลับไปแล้ว พระไตรปิฎกจึงเป็นที่ที่ชาวพุทธยังสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดาของตนและศึกษาพระปริยัติศาสน์ แม้พระองค์จะเสด็จปรินิพพานไปกว่า 2,500 ปีแล้วก็ตาม

    การสังคายนาครั้งแรก มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมและจัดหมวดหมู่พุทธพจน์ ได้จัดขึ้นภายหลังจากพุทธปรินิพพาน 3 เดือน เนื่องจากเป็นการดำเนินการโดยที่ประชุมพระอรหันตเถระ 500 องค์ ดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ในระหว่างการสังคายนา เมื่อมีการลงมติยอมรับคำสอนส่วนใดแล้ว ที่ประชุมก็จะสวดพร้อมกัน เนื้อหาที่สวดนี้จึงถือเป็นการรับรองว่าให้ใช้แบบแผนที่จะต้องทรงจำชนิดคำต่อคำเพื่อถ่ายทอดแก่ผู้อื่นและสืบทอดแก่อนุชน

    คำสอนดังที่สืบทอดกันมาด้วยปากเปล่าเช่นนี้ได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในคราวสังคายนาครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นในประเทศศรีลังกา เมื่อราวปี พ.ศ.460

    หลังจากเวลาผ่านไป 2,500 ปีและภายหลังการสังคายนาครั้งสำคัญ 6 ครั้ง พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และถูกต้องแม่นยำที่สุด ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

    ในฐานะที่เป็นแหล่งอ้างอิงขั้นสุดท้ายสูงสุด พระไตรปิฎกใช้เป็นมาตรฐานหรือเกณฑ์ตัดสินว่าคำสอนหรือวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นของพระพุทธศาสนาจริงหรือไม่ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของชาวพุทธทุกคนที่จะรักษาปกป้องพระไตรปิฎก ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการอยู่รอดของพระพุทธศาสนา และดังนั้นจึงหมายถึงต่อประโยชน์สุขของชาวโลกด้วย

    ประโยชน์จากการได้ศึกษาพระไตรปิฎก

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    1.ได้รับคำตอบสำหรับปัญหาแห่งความทุกข์ทั้งมวลของมวลมนุษย์ ทุกข์ใจ ปัญหาชีวิต ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม พระพุทธศาสนามีคำสอนที่เหมาะสมอย่างที่สุดในการกำจัดปัญหาชีวิตขั้นสุดท้าย คือ ความทุกข์ในใจ

    2.เกิดการพัฒนากาย (กายภาวนา) พัฒนาความประพฤติ (ศีลภาวนา) พัฒนาจิต (จิตตภาวนา) และพัฒนาปัญญา (ปัญญาภาวนา)

    3.เข้าใจในพระพุทธศาสนาตามหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง สอนผู้อื่นให้เกิดความเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องแจ่มแจ้งชัดเจน และช่วยปกป้องพระพุทธศาสนาเมื่อเกิดปรัปวาทขึ้น

    4.ทำให้เกิดความสนใจค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ ทั้งฉบับบาลีและฉบับแปลภาษาไทย รวมถึงคัมภีร์อื่นๆ ในพระพุทธศาสนาต่อไป

    ประโยชน์เหล่านี้จักเกิดขึ้น เมื่อท่านได้อ่านและปฏิบัติตามแล้วเท่านั้น

    ในการนี้ กรมการศาสนาได้มอบหนังสือพระไตรปิฎกให้องคมนตรี ถวายให้พระสังฆาธิการ และแจกจ่ายหนังสือพระไตรปิฎกให้หน่วยงานราชการ 20 กระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด หอสมุดแห่ง ชาติ หอสมุดประชาชนจังหวัด หอจดหมายเหตุ เรือนจำจังหวัด โรงพยาบาลของรัฐ สถาบันการศึกษา ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

    เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน การค้นคว้าหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกโดยทั่วกัน

    นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า กรมการศาสนาได้จัดทำซีดี-รอม บรรจุชุดหนังสือพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ฉบับสำหรับประชาชน จำนวน 40,000 ชุด โดยมีเป้าหมายให้เป็นสื่อการเรียนการสอนและการค้นคว้าหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ของสถานศึกษาต่างๆ และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ทั่วประเทศ

    กรมการศาสนา คาดหวังว่าสถานศึกษาต่างๆ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎกได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงได้จัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย สามารถค้นคว้าได้ง่าย โดยเนื้อหาของซีดี-รอม ชุดหนังสือพระไตรปิฎกฯ นี้เป็นฉบับของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ โดยมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย แต่เพิ่มเติมในส่วนของพระราชประวัติ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชกรณียกิจแห่งการทรงผนวช พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชประวัติในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชประวัติในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชประวัติในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

    ประชาชนที่สนใจทั่วไปสามารถดาวน์โหลด ซีดี-รอม บรรจุชุดหนังสือพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ได้ในเว็บไซต์กรมการศาสนา www.dra.go.th ได้ ทั้งนี้ การศึกษาพระไตรปิฎก เป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ในชีวิตประจำวันอีกทางหนึ่งด้วย หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่หลักธรรม สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เลขที่ 666 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร.0-2422-8816


    http://www.matichon.co.th/khaosod/vi...MHdOaTB4TlE9PQ==
     

แชร์หน้านี้

Loading...